ปลูก-จำหน่าย ผักสลัด ที่อุทัยธานี สด ปลอดภัย ใส่ใจต่อสุขภาพ

ถ้าโฟกัสไปเรื่องการตลาดของผักสลัดในตอนนี้ ต้องบอกว่ากำลังได้รับความนิยมมาก มีเมนูอาหารต่างประเทศหลายชนิดที่เป็นจุดกำเนิดของผักสลัดจนได้รับความนิยมมากในไทย โดยเฉพาะผู้ที่ดูแลสุขภาพร่างกายจะให้ความสำคัญกับผักเหล่านี้เป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กูรูอาหารหลายแห่งดัดแปลงเมนูสุขภาพที่ใช้ผักสลัดเป็นองค์ประกอบ

ผักสลัดเป็นพืชไม้ใบเมืองหนาวที่นิยมปลูกแถบจังหวัดภาคเหนือในช่วงแรก เนื่องจากพื้นที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเริ่มแพร่กระจายไปปลูกหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เนื่องจากสามารถปรับวิธีปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในแต่ละแห่งได้ ผักชนิดนี้ปลูกได้ทั้งในดินหรือโรงเรือน ซึ่งแนวทางการปลูกแต่ละแบบมีทั้งข้อดี/ข้อเสียต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของลักษณะแต่ละพื้นที่และทุน

“อุทัยไลฟ์ ไฮโดร์ฟาร์ม” เป็นสถานที่ปลูก-จำหน่ายผักสลัดไฮโดรโปนิกที่มีคุณภาพของจังหวัดอุทัยธานี โดยปลูกในโรงเรือนเพื่อต้องการผลิตผัดสลัดและผักใบหลายชนิดให้เป็นผักที่มีความสด ใหม่ ปลอดภัยได้คุณภาพมาตรฐาน (GAP) รองรับกับตลาดในจังหวัดตลอดทั้งปี

คุณชยุต สุขพิบูลย์ (เล็ก) กับ คุณปัญจพัฒน์ ธนาสุขพิบูลย์ (นก) สามี-ภรรยา ที่ยึดอาชีพปลูกผักสลัดและผักใบในโรงเรือนมานานกว่า 3 ปี โดยแบ่งพื้นที่ภายในบริเวณบ้านพักอาศัยกลางใจเมือง เลขที่ 521 ถนนศรีอุทัย ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อสร้างโรงเรือน จากจุดเริ่มต้นเพียงต้องการหารายได้เสริม จนทุกวันนี้กลายเป็นรายได้หลักเพราะปลูกขายเฉพาะในจังหวัดอุทัยธานีเท่าไรก็ไม่พอ รวมถึงยังต่อยอดสร้างชุดปลูกสำเร็จจำหน่ายควบคู่ด้วย พร้อมกับสร้างแบรนด์ในชื่อ “อุทัยไลฟ์ ไฮโดร์”

“อุทัยไลฟ์ ไฮโดร์ฟาร์ม” ปลูก-จำหน่ายผักสลัดจำนวน 6 ชนิดเป็นหลัก ได้แก่ คอส บัตเตอร์ ฟิลเลย์ เรดโครอล กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค นอกจากนั้น ยังมีผักชนิดอื่นอย่าง ขึ้นฉ่าย คะน้า กวางตุ้ง และผักบุ้ง มีเป้าหมายต้องการผลิตผักให้มีความสด ใหม่ สะอาด ปลอดภัย เพราะใส่ใจต่อสุขภาพของผู้บริโภค จนได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP

คุณเล็กกับคุณนกกล่าวยอมรับว่า การปลูกผักสลัดในระบบโรงเรือนมีความละเอียด พิถีพิถัน ในทุกกระบวนการผลิต ดังนั้น ในช่วงเริ่มต้นจึงพบปัญหาอุปสรรคต่างๆ มากมายทั้งโรค/แมลง ส่งผลทำให้ผลผลิตมีคุณภาพไม่เพียงพอ แต่พวกเขาไม่ท้อ พยายามศึกษาหาความรู้จากหลายแห่งเพื่อนำมาปรับใช้กระทั่งได้รับการแนะนำและความช่วยเหลือจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานีในเรื่องการนำสารชีวภัณฑ์มาใช้ ช่วยสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ผักทุกชนิดเป็นอย่างดี

“ภายหลังที่นำสารชีวภัณฑ์มาใช้กับผักสลัดและผักชนิดอื่นแล้ว พบว่าแมลงศัตรูลดน้อยลงจนแทบไม่มี ผลผลิตเคยได้สูงสุดถึง 41 กิโลกรัม จากเมื่อก่อนใช้ได้เพียงครึ่งเดียว เพราะคุณสมบัติของสารชีวภัณฑ์ช่วยสร้างให้พืชแข็งแรงมีความสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่นำสารชีวภัณฑ์มาใช้ผู้ปลูกต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อจะได้เห็นผลอย่างชัดเจน แล้วยังได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด”

คุณเล็ก เสริมว่า ปัญหาการปลูกผัดสลัดไฮโดรโปนิกของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพต่างกัน ทำให้โรค/แมลงที่พบในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ความสำเร็จของการแก้ปัญหาจากแห่งหนึ่งอาจไม่ใช่สูตรสำเร็จของแห่งอื่น ซึ่งจะนำวิธีมาใช้ร่วมกันไม่ได้ ยกเว้นตรวจสอบแล้วว่าเกิดจากปัญหาเดียวกัน ฉะนั้น จึงไม่มีมาตรฐานใดที่สามารถนำมาวัดหรือกำหนดเป็นเกณฑ์ตายตัว

คุณนกอธิบายขั้นตอนการปลูกดูแลผักสลัดในโรงเรือนว่า เมื่อสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์จากร้านจำหน่ายที่เชื่อถือได้ในจังหวัดระนครศรีอยุธยา แล้วนำมาเพาะให้เป็นต้นกล้าในฟองน้ำก่อน รดน้ำแล้วคลุมผ้าทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน จึงเปิดผ้าออกจะพบว่ามีต้นอ่อนขึ้น แล้วย้ายภาชนะที่เพาะมาวางไว้ในที่ร่ม รดน้ำพอสมควรทั้งเช้า-กลางวัน-เย็น จำนวน 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์ จากนั้นค่อยย้ายลงแปลงปลูกในโรงเรือนระบบปิดที่ได้มาตรฐาน แล้วใช้ระบบการให้น้ำแบบหมุนเวียน

การวางแผนปลูกจะปลูกทุกชนิดพร้อมกัน แต่สำหรับกรีนโอ๊คและเรดโอ๊ค เป็นผักสลัดที่ได้รับความนิยมจากตลาดผู้บริโภคมากกว่าชนิดอื่น เนื่องจากมีความเหมาะสมในการนำไปใช้กับการประกอบอาหารฝรั่งหลายรายการ แต่อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งจะต้องปลูกผักสลัดให้ครบทั้ง 6 ชนิด เพื่อหวังให้ชาวอุทัยธานีได้รู้จักแล้วสัมผัสกับผักเมืองหนาวทุกอย่าง

“ตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บผลผลิตใช้เวลารวมประมาณ 45 วัน ซึ่งระหว่างที่ผักเจริญเติบโตจะต้องหมั่นวัดค่า EC ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณการให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารที่ละลายในน้ำให้ได้ตามมาตรฐาน โดยจะต้องวัดค่า EC ตลอดเวลา ขณะเดียวกัน ยังต้องหมั่นตรวจสอบความเป็นกรด-ด่างของน้ำด้วยการใช้เครื่องวัดค่า pH เนื่องจากผัดสลัดทุกชนิดมีความอ่อนไหวต่อความเป็นกรด-ด่างของน้ำมาก มิเช่นนั้นจะทำให้รากเน่าเสียหากขาดการควบคุมตลอดเวลา”

ลักษณะการปลูกผักสลัดกับผักอื่นของ “อุทัยไลฟ์ ไฮโดร์” จะใช้พื้นที่ภายในบริเวณบ้านพักเพื่อสร้างโรงเรือนขนาด 2 คูณ 6 เมตร จำนวน 15 โรงแล้วกำลังวางแผนเพิ่มอีก ซึ่งแต่ละโรงเรือนสามารถปลูกผักได้จำนวน 300 ต้น ทั้งนี้ โรงเรือนจะตั้งอยู่บนพื้นดิน เนื่องจากต้องการให้มีหญ้าขึ้นบ้างเพื่อต้องการล่อให้แมลงมากินหญ้าแทนที่จะเข้าไปกินใบผัก

สำหรับตลาดจำหน่ายผักสลัด คุณนกบอกว่า แหล่งขายของเธอมีหลายช่องทาง ไม่ว่าจะมีวางขายที่ตลาดสดในจังหวัด หรือมีกลุ่มลูกค้าที่ผลิตสลัดโรลกับสเต๊กมารับซื้อ ขณะที่ตัวคุณนกยังนำไปขายเองที่ตลาดถนนคนเดินในเมือง แล้วยังมีวางขายที่หน้าร้านของตัวเองพร้อมกับนำผลิตภัณฑ์ที่ปลูกนำไปประกอบอาหารให้ลูกค้าด้วย นอกจากนั้น ยังมีลูกค้านิยมให้นำผัดสลัดจัดเป็นกระเช้าของขวัญอีกด้วย ส่วนราคาขายอยู่ที่ 100-120 บาท

ตอนนี้ผลิตขายในจังหวัดยังไม่พอเลย กำลังวางแผนเพิ่มการผลิตเพราะต้องการรักษาคุณภาพให้คงที่ เนื่องจากการออกแบบโรงเรือนที่สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี แล้วสม่ำเสมอทั้งคุณภาพและปริมาณ จึงไม่กังวล

คุณเล็กชี้ว่า อาชีพนี้ต้องเริ่มจากใจก่อน ต้องมีความอดทน ทุ่มเท ละเอียดรอบคอบ ถึงจะมีทุนก็ไม่สำคัญ เนื่องจากหลายคนล้มเหลวจากอาชีพปลูกผักสลัดเพราะมองว่าคงไม่ยาก โดยเฉพาะคนที่เริ่มต้นใหม่ๆ จะรู้สึกเกิดความท้อแท้ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความใส่ใจ เฝ้าสังเกต ตลอดจนแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา แต่หากผ่านจุดนั้นได้แล้วทุกอย่างจะง่ายไปหมด มีความคล่องแคล่ว จะเกิดความสนุก เพลิดเพลิน มีความสุข

“เชิญชวนผู้อ่านที่สนใจบริโภคผักไฮโดรโปนิกให้มาชมและชิมผักปลอดสารขนานแท้ที่ใหม่ สด แล้วปลอดภัยต่อสุขภาพ พร้อมไปกับยังเลือกซื้อกลับบ้านได้ หรือถ้าสนใจปลูกก็ยังมีชุดอุปกรณ์ปลูกผักสลัดสำเร็จรูปทั้งชุดเล็ก-ใหญ่เตรียมไว้จำหน่ายด้วย” คุณนกและคุณเล็ก กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเล็กกับคุณนก ที่โทรศัพท์ (081) 785-3070, (098) 767-7678 หรือ Fb : ไกรจิตต์ Krijit Sukpiboon Fb : ปัญจพัฒน์ ธนาสุขพิบูลย์

ทั่วพื้นที่ประเทศไทย สมุนไพรพื้นบ้าน เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในอดีต แต่ปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนที่มาหรือพื้นที่ปลูกไปเกือบหมด ด้วยการที่มนุษย์นำมาปลูกเอง ปลูกใส่ภาชนะที่แตกต่างออกไป ในกรณีที่พื้นดินปลูกมีความเหมาะสมไม่เพียงพอ หรือปล่อยให้สมุนไพรเฉพาะถิ่นขึ้นได้เฉพาะที่จริงๆ ขึ้นในพื้นที่เดิมต่อไป และทำได้เพียงการอนุรักษ์ไว้ ไม่ให้สูญหายไปเท่านั้น

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำทะลุ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความเข้มแข็ง แม้จะมีสุภาพสตรีเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มนี้ ก่อตั้งขึ้น เพราะเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สมุนไพร และประโยชน์จากสมุนไพรในท้องถิ่น ในการสร้างรายได้เสริมให้กับครัวเรือน โดยมีผู้หญิงหรือแม่บ้าน ที่ว่างจากงานประจำรวมตัวกันก่อตั้งขึ้น ก่อนจะมีพ่อบ้านหรือผู้ชายมาสมทบ ช่วยจัดการในงานที่เหมาะสำหรับผู้ชาย

คุณอุสมาน แกสมาน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร พาสมาชิกกลุ่ม กว่า 10 คน มาให้การต้อนรับ เมื่อผู้เขียนไปถึง จำนวน 1 ในนั้น เป็นครูของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) แต่เป็นครูที่ดูแลระดับอำเภอ ทำให้เกิดข้อสงสัย ว่า เพราะเหตุใดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ จึงมีครูร่วมด้วย

คุณเนาวรัตน์ ศรีหมั่น ครู กศน.อำเภอควนโดน บอกกับเราว่า เหตุที่ต้องมาพร้อมๆ กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ในครั้งนี้ เพราะสมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ เกือบทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็นลูกศิษย์ของกศน.ทั้งสิ้น อีกทั้ง ตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่ม ลูกศิษย์ก็มาขอคำปรึกษาจากครู

ซึ่งครูกศน.ก็ต้องทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานทุกหน่วยงานที่เห็นว่าเกี่ยวข้องและมีประโยชน์ เพื่อให้กิจกรรมของลูกศิษย์ก้าวหน้า แม้จะไม่ใช่หน้าที่โดยตรง แต่เพื่อสร้างความสามัคคี กระชับความแน่นแฟ้นให้เกิดขึ้นภายในกลุ่ม ก็เป็นสิ่งที่กศน.ควรทำอยู่แล้ว

“ลูกศิษย์มาปรึกษาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ว่า อยากจะรวมกลุ่มปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร จะทำอย่างไร ด้วยหน้าที่ของครู และ กศน.เองก็เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาจากระดับรากหญ้าก้าวไปในจุดที่เป็นที่รู้จัก ยิ่งเมื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนตามที่กลุ่มตั้งใจ ก็เป็นเรื่องที่ครูอย่างเราจะนิ่งเฉยไม่ได้ ประกอบกับ คนที่มาปรึกษาเป็นลูกศิษย์ที่เราสอน แม้หลายคนจะจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม หน้าที่ระหว่างครูกับศิษย์ก็จะยังคงอยู่เสมอ”

คุณสาเปี๊ยะ สามัญ เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร เล่าให้ฟังว่า พื้นที่บ้านถ้ำทะลุ เป็นพื้นที่ที่แต่ละครัวเรือนปลูกสมุนไพรไว้อยู่แล้ว ครัวเรือนละจำนวนไม่มาก มีไว้สำหรับรักษาเยียวยา เมื่อสมาชิกภายในครัวเรือนเจ็บป่วย และสามารถใช้สมุนไพรในการรักษา โดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์

เพราะในอดีตพื้นที่ถ้ำทะลุเองอยู่ห่างไกลจากความเจริญมากพอสมควร การดูแลกันเองภายในชุมชนจึงเป็นเรื่องที่ทำมานาน
นอกจากนี้ ยังมีหมอพื้นบ้านที่เป็นบุคคลสำคัญในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาประยุกต์ในการรักษา บ้านถ้ำทะลุ จึงให้ความสำคัญกับสมุนไพรมาโดยตลอด

ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ของเราก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2558 ถือว่าเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แต่เพราะเห็นความสำคัญของวัตถุดิบในชุมชน คิดรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ เพราะหากเห็นความสำคัญเพียงอย่างเดียว สมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในชุมชนก็จะหมดไป

“ไพล เป็นสมุนไพรที่มีมากที่สุดในท้องถิ่น เมื่อเห็นความสำคัญก็ต้องอนุรักษ์ไว้ ซึ่งการอนุรักษ์ที่กลุ่มทำอยู่ คือ การปลูกเพิ่ม ซึ่งเมื่อเรียนรู้ว่าสมุนไพรเดิมในอดีตขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสารเคมี เราจึงมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ต้องการปลูกให้เป็นอินทรีย์ ไม่ต้องการให้มีเคมีหรือชีวภาพใดๆ มาเจือปน จึงเริ่มศึกษาการปลูกด้วยวิธีอินทรีย์ ซึ่งได้ปรึกษากับสำนักงานเกษตรอำเภอควนโดน ก็ได้รับคำแนะนำให้ปรับพื้นที่ปลูก ให้ปลอดสารเคมีนานอย่างน้อย 3 ปี ผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่นั้นจึงจะเป็นอินทรีย์อย่างแท้จริง และยังได้รับคำแนะนำอื่นอีกมากมาย ซึ่งสมาชิกของเราได้นำไปปฏิบัติ ทำให้ปัจจุบันแปลงปลูกสมุนไพรที่มีปลอดสารเคมี เรียกได้ว่า เป็นสมุนไพรอินทรีย์แล้ว”

คุณอุสมาน บอกว่า ไพล เป็นสมุนไพรที่มีมากที่สุดของกลุ่ม มีสมาชิกปลูกในพื้นที่รวมกันไม่ต่ำกว่า 10 ไร่ เมื่อผลผลิตสามารถจำหน่ายได้ จะขุดหัวไพลมารวมกันเพื่อขายหัวไพลสด สำหรับสมาชิกที่มีพื้นที่น้อย หรือพื้นที่ยังไม่ปลอดสารเคมี ก็ใช้วิธีปลูกในกระถาง กระสอบ หรือภาชนะปลูกที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังปลูกสมุนไพรชนิดอื่นอีก เพราะมองถึงเป้าหมายของกลุ่มที่ต้องการอนุรักษ์สมุนไพรไว้ และต้องการให้กลุ่มเป็นจุดศูนย์รวมของสมุนไพรหลากหลายชนิด รวมถึงอนาคตที่คาดว่าจะเปิดสปาชุมชน รองรับกลุ่มคนรักสุขภาพ ผู้สูงอายุ ใช้สมุนไพรในท้องถิ่นหรือชุมชนที่มี ลดการใช้สารเคมี

เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร บอกว่า ไพล เป็นพืชหัวสด ต้องใช้เวลาปลูกกว่าจะเก็บผลผลิตได้ นานประมาณ 18 เดือน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปลูกพืชสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อให้มีจำหน่ายหมุนเวียน และนำมาแปรรูปจำหน่ายได้ เช่น ขมิ้นชัน ใช้เวลาปลูกประมาณ 12 เดือน เพชรสังฆาต ทองพันชั่ง ว่านชักมดลูก เป็นต้น

การดูแลรักษา เนื่องจากเป็นสมุนไพรอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องดูแลมากนัก แต่ต้องระวังแมลงศัตรูพืชที่อาจมาทำลายในบางช่วง โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เลือกใช้น้ำหมักในการป้องกันหรือกำจัด ซึ่งน้ำหมักดังกล่าวทำจากสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น เช่น สะเดา ยาสูบ และหัวกลอย เป็นต้น

“หัวไพลสด และสมุนไพรอื่นๆ ปัจจุบันมีลูกค้าที่รับซื้อประจำ ได้แก่ โรงพยาบาลละงู จังหวัดสตูล โรงพยาบาลห้วยยอด และโรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง โดยโรงพยาบาลนำสมุนไพรทื่ซื้อไป ไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำลูกประคบ ซึ่งมีผู้สนใจเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในแบบของแผนไทยจำนวนมาก”

แม้จะเป็นกลุ่มที่พยายามส่งเสริมการปลูกสมุนไพร อนุรักษ์สมุนไพร ไว้ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าสมุนไพรบางชนิดไม่สามารถนำมาปลูกได้ จำเป็นต้องปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันยังคงมีอยู่ในผืนป่าใกล้เคียงชุมชน เช่น ย่านนมแมว เทพทาโร โหนดดง เลือดปลาไหล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ จึงพยายามย้ำเตือนชาวบ้านด้วยกันให้รู้รักษ์สมุนไพรเหล่านั้น เมื่อเข้าไปตัดนำออกมาใช้ ก็ให้นำออกมาเฉพาะที่ต้องใช้ ปล่อยให้สมุนไพรที่ขึ้นเองในป่าได้ขยายพันธุ์และคงอยู่ต่อไป

คุณอาชีด สามัญ หมอพื้นบ้าน บ้านถ้ำทะลุ วัย 72 ปี เล่าว่า อาชีพหมอพื้นบ้านได้รับการถ่ายทอดมากจากบรรพบุรุษตั้งแต่เด็ก ให้ใช้สมุนไพรในการรักษา เช่น ต้มกิน ทา นำรากไม้ป่า สมุนไพรที่เก็บจากป่า มาทำให้อยู่ในรูปของการบำบัด บรรเทา เช่น สมานกระดูก เอ็นพลิก เคล็ด

คุณสาเปี๊ยะ บอกด้วยว่า เมื่อหมอพื้นบ้านมีแนวทางในการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ให้เห็น จึงเป็นแนวคิดในการนำไปต่อยอด โดยนำสมุนไพรมาแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้งานได้ง่าย เช่น น้ำมันนวด ยาดม ยาหม่อง ครีมนวด แชมพู พิมเสน ช่วยเสริมรายได้ให้กับกลุ่มได้เช่นกัน

ปัจจุบัน สมาชิกของกลุ่มมีจำนวน 25 คน โดยคุณสาเปี๊ยะ บอกว่า ยังเปิดรับสมาชิกเพิ่มได้อีกมาก เพราะกลุ่มเพิ่งก่อตั้งมาเพียง 2 ปีเศษ ยังมีกิจกรรมอีกหลายอย่างที่ต้องส่งเสริมและดำเนินการต่อ โดยมีค่าสมัครสมาชิกเพียงคนละ 100 บาท ไม่มีจำนวนหุ้นให้ถือ ซึ่งเงินค่าสมาชิกนั้นจะนำไปใช้หมุนเวียนภายในกลุ่ม และหากสมาชิกนำผลิตภัณฑ์แปรรูปของกลุ่มไปจำหน่ายก็จะได้รับเงินปันผลจากยอดนั้นๆ ด้วย หรือเมื่อสมาชิกมีเวลาว่างมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ ก็จะได้ค่าจ้างในแต่ละวันอีกเช่นกัน

ทุกเดือน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ จะประชุมกลุ่ม 1 ครั้ง เพื่อติดตามความคืบหน้า และเผยแพร่ นัดอบรมความรู้ที่สมาชิกควรได้รับ เพื่อนำไปสานต่อหรือประยุกต์ใช้กับการปลูกสมุนไพร

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ กลุ่มนี้ จะเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน แต่ความเข้มแข็งของกลุ่มแสดงให้เห็นว่า กลุ่มสามารถดำเนินต่อไปได้ อีกทั้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่กลุ่มผลิตขึ้นมา รวมถึงสมุนไพรสดหลายชนิดที่มี มีลูกค้าจากหลายจังหวัดสนใจและออเดอร์ไปจำนวนมาก

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร ยังมีความสามารถในเรื่องของการแปรรูปสมุนไพรอีกมาก หากท่านใดสนใจ ติดต่อผ่านคุณสาเปี๊ยะ สามัญ เลขานุการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรและแปรรูปสมุนไพร โทรศัพท์ (098) 712-0380 หรือ เฟซบุ๊ก Sapiah Saman ได้ตลอดเวลา

มะนาว ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน มักมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดในปริมาณน้อย ทำให้มะนาวช่วงหน้าแล้งมีราคาสูงกว่าปกติ หากใครมีพื้นที่อยู่แล้วแต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกปลูกมะนาวพันธุ์ใด ก็ขอแนะนำ “มะนาวแป้นสิรินนท์” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในใจคุณ

อาจารย์แป๊ะ หรือ คุณบุญเกื้อ ชมฉ่ำ อดีตข้าราชการครู ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี เล่าให้ฟังว่า “มะนาวแป้นสิรินนท์” ถูกค้นพบด้วยความบังเอิญ ในย่านนนทบุรี สวนแห่งหนึ่งถูกเลิกเช่าที่ มีต้นมะนาวพันธุ์ดี ลูกใหญ่มาก เจ้าของเดิมอนุญาตให้ขุดต้นมะนาวไปปลูก อาจารย์แป๊ะตัดกิ่งมะนาวไปเพียงแค่ 5 กิ่ง นำมาเสียบกิ่งบนตอส้มโอ ปรากฏว่า ต้นมะนาวให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีมาก มะนาวพันธุ์นี้เจ้าของเดิมไม่เคยตั้งชื่อ ไม่เคยขายกิ่งพันธุ์นี้ให้ใครมาก่อน

อาจารย์แป๊ะ ถามพ่อค้าผู้จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะนาวและเกษตรกรหลายราย ปรากฏว่า ไม่มีใครเคยรู้จักต้นมะนาวที่มีลักษณะแบบนี้มาก่อน อาจารย์แป๊ะจึงตั้งชื่อมะนาวพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบนี้ว่า แป้นสิรินนท์ ตามถิ่นกำเนิด คือ จังหวัดนนทบุรี

มะนาวแป้นสิรินนท์ เป็นพันธุ์มะนาวที่ให้ดอกออกผลได้ตลอดปี ผลมีขนาดใหญ่ ทรงผลแป้น เปลือกบาง มีกลิ่นหอม สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะสภาพร่วนซุย มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุผสม และมีแหล่งน้ำที่เหมาะสม มะนาวแป้นสิรินนท์ จะสามารถเจริญงอกงาม มีผลดก และคุณภาพดี

2. แป้นสิรินนท์ มีโครงสร้างใบ 3 ส่วน

มะนาวสายพันธุ์ทั่วไป จะมีโครงสร้างใบ 2 ส่วน คือ แผนใบ และ ก้านใบ แต่แป้นสิรินนท์ มีส่วนประกอบของใบที่เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ส่วน คือ หูใบ เป็นระยางค์คู่หนึ่งที่อยู่ตรงฐานของก้านใบ กล่าวได้ว่ามะนาวแป้นสิรินนท์ มีลักษณะใบสั้นและมีหูใบ เป็นลักษณะเด่นที่แตกต่างจากต้นมะนาวสายพันธุ์ทั่วไป

3. แป้นสิรินนท์ มีผิวมันเหมือนมีแว็กซ์เคลือบผิว

มะนาวแป้นสิรินนท์มีผิวสวยมาก ผิวมันเหมือนมีแว็กซ์เคลือบผิว หากซื้อผลมะนาวพันธุ์อื่นจากตลาดเก็บไว้ข้ามคืน ผิวมะนาวมักจะด้าน แต่ผลมะนาวแป้นสิรินนท์เก็บไว้ข้ามคืน ผิวก็ยังคงมันวาวเช่นเดิม

มะนาวแป้นสิรินนท์ผลแก่ ยังคงมีผิวสีเขียวสดตลอด ซึ่งแตกต่างจากมะนาวพันธุ์ทั่วไป หากเป็นมะนาวแก่จะมีผิวสีเหลือง ขายไม่ได้ราคา 4. ผิวบาง ให้น้ำเยอะ

มะนาวทั่วไป ต้องปล่อยให้ผลมะนาวลืมต้น สัก 2-3 วัน เสียก่อน จึงค่อยนำมาใช้งาน จึงจะได้น้ำมะนาวในปริมาณมาก แต่มะนาวแป้นสิรินนท์ หลังเก็บผลจากต้นแล้ว ไม่ต้องรอให้ลืมต้น นำมาใช้งานได้ทันที เพราะแป้นสิรินนท์มีผิวบางเหมือนกับกลีบส้มเขียวหวานนั่นเอง

มะนาวแป้นสิรินนท์ มีปริมาณน้ำเยอะมาก เคยทดลองนำผลมะนาวแป้นสิรินนท์ไปลอยน้ำเปรียบเทียบกับมะนาวพันธุ์อื่นๆ ปรากฏว่า ผลมะนาวสายพันธุ์อื่นลอยน้ำหมด ยกเว้น แป้นสิรินนท์เพียงชนิดเดียวที่จมน้ำ บ่งบอกว่า มีปริมาณน้ำเยอะมากกว่ามะนาวสายพันธุ์อื่นๆ แม้นำมะนาวแป้นสิรินนท์ผลเล็กที่ยังไม่โตเต็ม 100% เคยทดลองนำมาลอยน้ำเปรียบเทียบ ปรากฏว่า ผลมะนาวจมน้ำเช่นกัน นี่เป็นเรื่องจริงที่ท้าพิสูจน์กันได้

ผู้บริโภคส่วนใหญ่เชื่อว่า มะนาวแท้คุณภาพดี ต้องมีน้ำมะนาวสีขาว ซึ่งตรงกับคุณสมบัติของมะนาวแป้นสิรินนท์ ซึ่งมีน้ำมะนาวสีขาว มีเมล็ดน้อยและเปลือกบาง ขณะที่มะนาวสายพันธุ์อื่น มีปริมาณเมล็ดมากกว่า แถมมีน้ำมะนาวสีเหลืองและเปลือกหนา

คนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่า น้ำมะนาวคั้นจากผลสด ต้องมีรสเปรี้ยว ไม่ขม มีกลิ่นหอมของมะนาวสด และน้ำมะนาวต้องมีสีขาว ซึ่งน้ำมะนาวแป้นสิรินนท์มีคุณสมบัติครบถ้วน ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้อย่างครบถ้วน

คุณเล็ก หรือ คุณฉัตราพร สิงหราช น้องสาวอาจารย์แป๊ะ เล่าเพิ่มเติมว่า น้ำมะนาวแป้นสิรินนท์ มีรสชาติความเปรี้ยวสูงแล้ว ยังมีความหอมของรสมะนาว หากนำผลมะนาวแป้นสิรินนท์ที่เด็ดจากต้นมาบีบเค้นจะได้กลิ่นหอมของมะนาวติดจมูก ลูกค้าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่เป็นกลิ่นมะนาวที่ทุกคนต้องการ มะนาวต้องเป็นกลิ่นนี้แหละ

การปลูกดูแล

มะนาวแป้นสิรินนท์ เหมาะสำหรับปลูกเชิงการค้า เพราะปลูกดูแลง่ายให้ผลตอบแทนต่อไร่สูง ยิ่งปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ จะทำให้ต้นมะนาวไม่สูงมาก ดูแลจัดการง่าย ตั้งแต่การควบคุมปัญหาโรคและศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิต ตัดแต่งกิ่งได้ง่ายและบังคับให้ต้นมะนาวมีผลผลิตนอกฤดูได้ง่ายและให้ผลผลิตที่ดี

การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ควรใช้วงบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80-100 เซนติเมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีฝาท่อปิดก้นวงบ่อ ใช้วัสดุปลูก สูตร “ไฮโดรโปนิกส์” (hydroponics) แบบแห้ง ที่อาจารย์แป๊ะได้แนวคิดจากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 27 หน้าที่ 161-163 โดยประยุกต์ใช้วัสดุในท้องถิ่นที่หาได้ง่าย คือเปลือกมะพร้าวขนาดกระสอบใหญ่ ดินที่บรรจุถุงขาย จำนวน 1 ถุง ขี้วัว 1 ถุง ดินประมาณ 10%

การปลูกต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์โดยทั่วไป มักจะมีปัญหาเรื่องการทรุดตัว อาจารย์แป๊ะแนะนำให้แก้ไขปัญหาโดยนำกิ่งพันธุ์มะนาวใส่กระถางดำ เจาะรูรอบกระถาง นำกระถางตั้งไว้กลางบ่อซีเมนต์ และใส่วัสดุปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์แบบแห้งไว้รอบกระถาง

ในปีแรกควรนำไม้พร้อมเชือกฟาง ผูกมัดกับต้นมะนาวไม่ให้ล้มหรือเอียง พอเข้าปีที่สอง รากต้นมะนาวแข็งแรงก็ไม่จำเป็นต้องค้ำยันต้นอีก หลังจากนั้น ค่อยเติมเปลือกมะพร้าวเพียงปีละ 1 ครั้ง หากสวนมะนาวตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ลำคลอง มักมีสภาพดินอ่อน บ่อซีเมนต์ที่วางไว้บนพื้นอาจจะทรุดจมดินได้ในที่สุด ควรแก้ไขปัญหาได้โดยนำยางล้อรถยนต์เก่ามารองใต้ถังปูนอีกชั้นหนึ่ง วิธีนี้อาจารย์แป๊ะทดลองมาแล้วได้ผลดีเต็ม 100%

มะนาวพันธุ์แป้นสิรินนท์ สามารถเจริญเติบโตได้ดีได้ทุกแห่ง เพียงนำต้นมะนาวพันธุ์นี้ไปเสียบกับตอส้มโอ แต่ไม่แนะนำปลูกกับตอมะขวิด เนื่องจากตอมะขวิดเติบโตไม่ดี เพราะมีรากฝอยน้อย

การดูแลมะนาวแป้นสิรินนท์ใช้หลักการเดียวกับมะนาวพันธุ์ทั่วไป เพียงใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพ เปลือกมะพร้าว และสารปรับสภาพ และให้น้ำผ่านระบบสปริงเกลอร์ หัวดอกเห็ด 100 ลิตร วันละประมาณ 10 นาที ไม่ต้องให้น้ำมาก แค่ให้เปลือกมะพร้าวมีความชื้นอยู่ตลอดเวลาก็เพียงพอแล้ว และให้ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 ใส่โรยรอบต้นมะนาวที่มีขนาดใหญ่ ใส่ปุ๋ยต้นละประมาณ 3 ช้อน ทุกๆ 15 วัน

หากต้องการให้ต้นมะนาวออกดอกในช่วงใด ต้องปล่อยให้ต้นมะนาวอดน้ำสัก 2-3 วัน ต้นมะนาวจะเริ่มออกดอกสีขาวพราวเต็มต้น หลังจากต้นมะนาวออกดอก สามารถให้น้ำวันเว้นวันได้ ระวังอย่าให้น้ำเยอะ เมื่อกลีบร่วงเห็นเป็นผลชัดเจน จึงค่อยให้น้ำอย่างเต็มที่ หากต้องการให้ต้นมะนาวมีผลผลิตเรื่อยๆ ควรให้น้ำเป็นงวดๆ ขึ้นอยู่กับเราต้องการให้มีปริมาณผลผลิตมากน้อยแค่ไหน

หากตัดแต่งกิ่งต้นมะนาวอยู่เสมอ จะทำให้ต้นมะนาวแตกกิ่งออกมาใหม่ ให้ตัดแต่งกิ่งลักษณะนี้สัก 3 ครั้ง แต่กิ่งฝอยข้างใน ไม่ต้องตัดทิ้งเพราะเป็นกิ่งที่ต้นมะนาวออกลูก หากตัดออกก็เท่ากับตัดเงินทองทิ้งหมดเลย อาจารย์แป๊ะได้เรียนรู้เทคนิคการตัดแต่งทรงพุ่มลักษณะนี้มาจากสวนเจริญวีรวัฒน์ จ.ระยอง ที่ใช้วิธีตัดปลายกิ่งภายนอกพุ่มทิ้งหมดเลย แต่ข้างในต้น จะไม่ตัดเพราะเป็นกิ่งออกลูก

ปัญหาโรคแมลง

ช่วงที่ต้นมะนาวแตกใบอ่อนใหม่ สมัคร Sa Gaming มักเจอปัญหาเรื่องหนอนผีเสื้อ หากปลูกต้นมะนาวจำนวนน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลง แค่จับไข่ผีเสื้อทิ้งไปก็ใช้ได้ หากสวนใดปลูกต้นมะนาวจำนวนมาก ก็ควรฉีดสารเคมีกำจัดแมลง ชื่อ อะบาเม็กติน (abamectin) ประมาณ 30-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

อาจารย์แป๊ะ ยอมรับว่า มะนาวแป้นสิรินนท์ ก็เจอโรคแคงเกอร์รบกวนบริเวณลำต้นเหมือนกับต้นมะนาวพันธุ์ทั่วไป แต่สามารถหยุดการแพร่ระบาดของโรค โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่ผลิตจากไพล จำนวน 15 ก.ก. หนอนตายหยาก 5 ก.ก. ใบสะเดาแก่ 2-3 ก.ก. รวมทั้งหญ้าสาบเสือ กากน้ำตาล 5 ก.ก. ใส่น้ำจนท่วมถังหมักขนาด 50 ลิตร ร่วมกับสารเร่ง พงด. 2 ของกรมพัฒนาที่ดิน จำนวน 1 ซอง หมักเป็นระยะเวลา 1 เดือน จะได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพสูงในการกำจัดโรคและแมลง

เมื่อต้องการนำไปใช้งาน เพียงผสมน้ำ ในอัตราส่วน 1: 150 นำไปใช้ฉีดพ่นต้นมะนาวที่มีปัญหาโรคแคงเกอร์ ปรากฏว่า ได้ผลดี แผลแห้งสนิทในระยะเวลาอันสั้น ก่อนหน้านี้ได้ทดลองนำน้ำหมักสูตรนี้ไปทดลองใช้กับต้นลีลาวดีที่มีปัญหาโรคสนิมเหลือง ก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน

ให้ผลผลิตสูงกว่าแป้นพิจิตร 10%

อาจารย์แป๊ะ กล่าวว่า แป้นสิรินนท์ ออกเป็นพวงน้อยกว่าแป้นพิจิตร สิรินนท์จะออกผลกระจายรอบต้น หากคำนวณผลผลิตแล้ว มะนาวแป้นสิรินนท์จะให้ผลผลิตมากกว่าแป้นพิจิตร ประมาณ 10%

เทคนิคปลูกมะนาวนอกฤดู

การปลูกมะนาวแป้นสิรินนท์แบบนอกฤดู แค่ใช้วิธีอดน้ำอย่างเดียวก็ได้ผลแล้ว หากปลูกใส่วงบ่อซีเมนต์ใช้วิธีบังคับให้ต้นมะนาวออกลูกได้ง่ายมาก โดยใช้วิธีนับถอยหลังไป 6 เดือน ช่วงก่อนเดือนกันยายน ดูแลให้ปุ๋ยและน้ำจนต้นมะนาวเติบโตงามเต็มที่ ใบเริ่มแก่ ควรเริ่มอดน้ำสัก 5 วัน สำหรับต้นมะนาวที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบแห้ง หากหยุดให้น้ำ 5 วัน ต้นมะนาวก็เหี่ยวหมดแล้ว เพราะต้นมะนาวสุขสบายมีความชื้นตลอด หากใช้วิธีนี้ ก็จะมีผลผลิตออกมาในช่วงฤดูแล้ง