ปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า จากเหตุการณ์ครั้งนี้ปริมาณ

น้ำท่วมสูงอย่างรวดเร็วใน 3 ตำบล ของ อ.โพนนาแก้ว กรมปศุสัตว์ ไม่ได้นิ่งนอนใจได้สั่งการมายังตนให้เร่งออกสำรวจ เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในช่วง วันที่ 29-30 กรกฎาคม 2560 เนื่องจากสัตว์เลี้ยงขาดอาหารและเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคที่มากับน้ำ เช่น สัตว์มีพิษ และอาการเจ็บป่วยต่างๆ จึงต้องนำเสบียงมาช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น พร้อมกับจัดตั้งศูนย์อพยพสัตว์เลี้ยงให้เกษตรกรนำมาเลี้ยงไว้ในที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันหากมีสัตว์เลี้ยงที่ป่วยอ่อนแอ จะมีสัตวแพทย์คอยตรวจอาการและรักษาอาการเจ็บป่วยจากวิกฤตน้ำท่วมในครั้งนี้

เมื่อ วันที่ 30 ก.ค. ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยอำเภอโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ได้รับแจ้งจากผู้ปกครองท้องที่ว่า เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.โพนทอง หลายจุด เนื่องจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้ลำน้ำยังเอ่อล้นพื้นที่การเกษตร นายวัลลภ จินดาเงิน นายอำเภอโพนทอง จึงสั่งการให้ฝ่ายความมั่นคง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกสำรวจตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น

จากการสำรวจพบว่า ลำน้ำได้เอ่อล้นท่วมพื้นที่การเกษตรในหลายหมู่บ้าน และกำลังไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร ซึ่งระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ต.โคกกกม่วง ต.สว่าง ต.โนนชัยศรี และ ต.หนองใหญ่ ศูนย์อำเภอโพนทอง จึงประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ โดยให้ราษฎรขนย้ายข้าวของและสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว

ส่วนจุดเสี่ยงคือ บริเวณบ้านหนองเขื่อน ต.โพธิ์ทอง เนื่องจากน้ำไหลแรง ทำให้หูช้างฝายน้ำล้นแจ้งดงน้อยชำรุดนั้น เบื้องต้นราษฎรในพื้นที่ได้นำกระสอบทรายปิดกั้นบริเวณที่น้ำกัดเซาะแล้ว จากการคาดการณ์หากฝนยังไม่หยุดตก น้ำจะท่วมใหญ่เหมือนปีที่ผ่านมา ในเบื้องต้นอำเภอโพนทองได้รายงานเหตุด่วน เพื่อให้จังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินแล้ว

นายสุรเชษฐ์ โคตรบรรเทา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลโคกกกม่วง อ.โพนทอง เปิดเผยว่า ตอนนี้มวลน้ำที่ล้นตลิ่งมาจากลำน้ำยังและฝนตกสะสม ทำให้น้ำท่วมขังในเขตพื้นที่ 4 ตำบล โดยเฉพาะบ้านโนนเชียงหวาง หมู่ 7 ต.โคกกกม่วง ซึ่งมีราษฎร 66 ครัวเรือน และบ้านหนองบุ่งอีก 44 ครัวเรือน

“ขณะนี้ น้ำกำลังเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าคืนนี้น้ำจะท่วมบ้านเรือนราษฎรอย่างแน่นอน เพราะพรุ่งนี้น้ำน่าจะท่วมสูงขึ้นอีกประมาณ 50 เซนติเมตร ตอนนี้ 2 หมู่บ้าน ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเรียบร้อยแล้ว ส่่วนนาข้าวจมน้ำแล้วกว่า 5 พันไร่” นายสุรเชษฐ์ กล่าว

เมื่อ วันที่ 30 ก.ค. ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยอำเภอโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ได้รับแจ้งจากผู้ปกครองท้องที่ว่า เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.โพนทอง หลายจุด เนื่องจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้ลำน้ำยังเอ่อล้นพื้นที่การเกษตร นายวัลลภ จินดาเงิน นายอำเภอโพนทอง จึงสั่งการให้ฝ่ายความมั่นคง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกสำรวจตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น

จากการสำรวจพบว่า ลำน้ำได้เอ่อล้นท่วมพื้นที่การเกษตรในหลายหมู่บ้าน และกำลังไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร ซึ่งระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ต.โคกกกม่วง ต.สว่าง ต.โนนชัยศรี และ ต.หนองใหญ่ ศูนย์อำเภอโพนทอง จึงประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ โดยให้ราษฎรขนย้ายข้าวของและสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว

ส่วนจุดเสี่ยงคือ บริเวณบ้านหนองเขื่อน ต.โพธิ์ทอง เนื่องจากน้ำไหลแรง ทำให้หูช้างฝายน้ำล้นแจ้งดงน้อยชำรุดนั้น เบื้องต้นราษฎรในพื้นที่ได้นำกระสอบทรายปิดกั้นบริเวณที่น้ำกัดเซาะแล้ว จากการคาดการณ์หากฝนยังไม่หยุดตก น้ำจะท่วมใหญ่เหมือนปีที่ผ่านมา ในเบื้องต้นอำเภอโพนทองได้รายงานเหตุด่วน เพื่อให้จังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุกเฉินแล้ว

นายสุรเชษฐ์ โคตรบรรเทา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลโคกกกม่วง อ.โพนทอง เปิดเผยว่า ตอนนี้มวลน้ำที่ล้นตลิ่งมาจากลำน้ำยังและฝนตกสะสม ทำให้น้ำท่วมขังในเขตพื้นที่ 4 ตำบล โดยเฉพาะบ้านโนนเชียงหวาง หมู่ 7 ต.โคกกกม่วง ซึ่งมีราษฎร 66 ครัวเรือน และบ้านหนองบุ่งอีก 44 ครัวเรือน

“ขณะนี้ น้ำกำลังเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าคืนนี้น้ำจะท่วมบ้านเรือนราษฎรอย่างแน่นอน เพราะพรุ่งนี้น้ำน่าจะท่วมสูงขึ้นอีกประมาณ 50 เซนติเมตร ตอนนี้ 2 หมู่บ้าน ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเรียบร้อยแล้ว ส่่วนนาข้าวจมน้ำแล้วกว่า 5 พันไร่” นายสุรเชษฐ์ กล่าว

เมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม ที่จังหวัดบึงกาฬ มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องทั้ง 8 อำเภอ ท้องฟ้าปิดมืดครึ้มตลอดเวลา กระทั่งวันนี้ในช่วงบ่ายท้องฟ้าเปิดมีแดดออกเป็นครั้งแรก ในรอบกว่า 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำสะสมตามพื้นที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า มีน้ำจำนวนมากไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านทั้ง 8 อำเภอ นับ 1,000 ไร่ เช่น ที่ อำเภอบึงโขงหลง บริเวณท้ายเขื่อนบ้านดอนกลางข้าวนาปีต้องจมน้ำอย่างน้อยกว่า 300 ไร่

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจปริมาณน้ำในแม่น้ำสงคราม ที่บริเวณจุดวัดระดับน้ำ บ้านท่ากกแดง ต.ท่ากกแดง อ.เซกา พบว่า แม่น้ำสงครามมีระดับสูงขึ้น โดยวัดได้ที่ 12.15 เมตร ทำให้บางจุดมีน้ำเอ่อล้นไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะนาข้าว ในพื้นที่ตำบลท่าสะอาด, อำเภอพรเจริญ ซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำสงคราม มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรที่บ้านสันติสุข หมู่ 5 ต.ดอนหญ้านาง อีกหลายร้อยไร่, อำเภอศรีวิไล มีน้ำเอ่อล้นลำห้วยลึก ลำห้วยทราย ในตำบลชมพูพร ลำห้วยฮี้ ในตำบลศรีวิไล น้ำได้ไหลท่วมนาข้าว สวนยางพารา ที่อยู่ติดลำห้วยด้วย และยังมีรายงานว่ามีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรในอำเภอโซ่พิสัย อีก 2 ตำบลคือตำบลบัวตูมและตำบลหนองพันทา เช่นกัน

ส่วนอำเภอบุ่งคล้า อำเภอเมืองบึงกาฬ และอำเภอปากคาด ที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขง ก็มีน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านเช่นกัน เพราะฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องประกอบกับระดับน้ำในแม่โขงที่หนุนลำน้ำสาขา จนไม่สามารถระบายน้ำจากลำห้วยสาขาให้ไหลลงสู่แม่น้ำโขงได้

ด้าน นายประชา เกษลี ผู้อำนวยการโครงการชลประทานบึงกาฬ โครงการชลประทานบึงกาฬ ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำสงครามล้นตลิ่ง ซึ่งเหลือเพียง 0.33 เมตร โดยขอให้ประชาชนที่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยติดกับแม่น้ำสงคราม และลำห้วยสาขา ให้เคลื่อนย้ายทรัพย์สิน สิ่งของมีค่า ตลอดจนสัตว์เลี้ยง ไปยังสถานที่ปลอดภัย ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม

“โอท็อปสงขลา” ลุยเปิดตลาดเชิงรุก-เชิงรับ ทั้งโรดโชว์-โอท็อปนวัตวิถี ตั้งเป้า ปี 2561 กวาดเม็ดเงิน 1,500 ล้านบาท พร้อมอัดเพิ่มผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 รายการ

นายพงศ์สวัสดิ์ ยอดสุรางค์ ประธานคณะกรรมการกลุ่มเครือข่ายโอท็อปจังหวัดสงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในปีนี้กลุ่มเครือข่ายโอท็อปจังหวัดสงขลาพยายามทำการตลาดทั้งในเชิงรุกและรับ เพื่อกระตุ้นยอดขาย โดยช่วงครึ่งแรก ปี 2561 ได้ทำตลาดโรดโชว์โอท็อปทั่วไทย 3 ครั้ง ครั้งแรกจัดที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ครั้งต่อมาจัดที่ห้างโรบินสัน จ.ตรัง และครั้งหลังสุดจัดที่ จ.กระบี่ โดยแต่ละครั้งจัดขึ้นรวม 10 วัน แต่ละพื้นที่มียอดขายสะพัด 60-70 ล้านบาท ถืออยู่ว่าในเกณฑ์ดี

เทียบกับ ปี 2560 ยอดขายหดตัวประมาณ 10% ดังนั้น ในช่วงครึ่งหลัง ปี 2561 ได้เตรียมแผนจัดงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อปใหญ่ที่สุดของภาคใต้ วันที่ 1-7 พ.ย. จ.ภูเก็ต ส่วนวันที่ 30 พ.ย.-9 ธ.ค. 61 งานส่งท้ายปีเก่า 2561 จัดขึ้นที่ อ.หาดใหญ่ โดยตั้งเป้าลูกค้าทั้งคนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ให้ความนิยมผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อปมาก และภายในงานมีการเจรจาธุรกิจ ทั้งนี้มีสินค้าโอท็อปเข้าร่วมกว่า 500 บู๊ธ ตั้งเป้ายอดขายงานโรดโชว์ ปี 2561 ประมาณ 500 ล้านบาท

“สำหรับสถานการณ์การตลาดปีนี้ มูลค่ายอดขายลดลง แต่ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะ จ.สงขลา เมื่อกรมการพัฒนาชุมชนมีนโยบายโอท็อปนวัตวิถี พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน พานักท่องเที่ยวเข้าไปซื้อสินค้าในชุมชน ถือเป็นนโยบายเชิงตั้งรับ เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด ลดต้นทุนการเดินทาง 30% รวมถึงมีปริมาณสินค้าโอท็อปเพิ่มขึ้น 390 รายการ จากเดิม 790 รายการ สำหรับการโรดโชว์โอท็อปทั่วไทย เป็นกลยุทธ์เชิงรุก ดังนั้น สินค้าโอท็อป จึงได้ช่องทางการตลาด ทั้ง 2 ช่องทาง รอบด้านเข้ามาส่งเสริมนับเป็นทิศทางที่ดีขึ้น สำหรับ จ.สงขลา มียอดจำหน่ายสินค้าโอท็อปถึง 1,500 ล้านบาท/ปี โดยบางปีมีรายได้บวก-ลบ อยู่ที่ประมาณ 10% โดยสินค้าขายดีเป็นโอท็อปสมุนไพร ยาสีฟัน สบู่ โลชั่น แชมพู ตลาดตอบรับอื้อ และกลุ่มอาหาร” นายพงศ์สวัสดิ์ กล่าว

นายพงศ์สวัสดิ์ กล่าวว่า ส่วนพื้นที่ภาคใต้ โครงการโอท็อปนวัตวิถีที่ประสบความสำเร็จแล้ว คือ จ.ตรัง และ จ.พัทลุง จากการไปดูงาน เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาดำเนินการที่ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา ก่อน ซึ่ง ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อม มีทรัพยากรทางธรรมชาติ ทะเล สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่ออยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาขาดการพัฒนาบริหารจัดการ

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ที่อาคารผันน้ำสปริงเวย์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว หรือเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่เข้าติดตามสถานการณ์น้ำ หลังมีรายงานว่า เพียง 3 วัน ที่ผ่านมา มีน้ำไหลเข้าอ่างถึง 150 ล้านลูกบาศก์เมตร ( ลบ.ม.) โดยมี นายฤาชัย จำปานิล ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาวจังหวัดกาฬสินธุ์ รายงานสถานการณ์ พบว่า ปริมาณน้ำถึง 150 ล้าน ลบ.ม. เป็นมวลน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาภูพาน ด้านอำเภอสมเด็จ อำเภอคำม่วง เนื่องจากมีปริมาณฝนตกชุก ทำให้วันนี้เขื่อนลำปาวมีน้ำอยู่ที่ 1,187 ล้าน ลบ.ม. จากความจุ 1,980 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่าง

นายไกรสร กล่าวว่า ขณะนี้เขื่อนลำปาวได้เพิ่มการระบายน้ำขึ้น เป็นวันละ 10 ล้าน ลบ.ม. จากเดิมเมื่อสัปดาห์ก่อน ระบายวันละ 7 ล้าน ลบ.ม. ลงสู่แม่น้ำปาว เพื่อเตรียมการรองรับน้ำในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนนี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนหรือฤดูน้ำหลาก อีกทั้งต้องปรับสถานการณ์ เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำปาวและแม่น้ำชียังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าตลิ่งอยู่มาก และสามารถรับน้ำได้ วันละกว่า 15 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งขณะนี้เขื่อนลำปาวยังสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 800 ล้าน.ลบ.ม. ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง แต่สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่ง ขณะนี้ปริมาณน้ำเริ่มเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เกินกักเก็บแล้ว 10 แห่ง แต่ยังไม่น่าเป็นห่วง ซึ่งทางชลประทานจังหวัดเริ่มพร่องน้ำเพื่อไม่ให้เกินร้อยละ 80 ของความจุอ่าง แต่เนื่องจากมีฝนตกชุก จึงทำให้เกิดภาวะน้ำท่วม รวม 15 อำเภอ 72 ตำบล 285 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมกว่า 3 หมื่นไร่ และมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้ว 5,512 ครัวเรือน

สำหรับการช่วยเหลือด้านถนนสายรองและถนนพืชผลทางการเกษตรเบื้องต้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าแก้ไข และหากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้แจ้งเรื่องมาทางจังหวัดเพื่อดำเนินการต่อไป

ปัจจุบัน คำว่า “Smart Farmer” เรามักได้ยินได้ฟังกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีความหมายถึงบุคคลที่มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกร โดยครอบคลุมด้านความรู้ในการเกษตร สามารถบริหารจัดการทั้ง การผลิต การตลาด จะมีการนำเทคโนโลยีเข้าไปผสมผสานในการทำการเกษตรอย่างจริงจัง ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอยู่ไม่น้อย ทำให้ปัจจุบันมี Smart Farmer มีมากขึ้นเกือบทุกพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ และความร่วมมือของสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคเอกชนอื่นๆ

เช่นเดียวกับ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ที่เป็นกลุ่มจังหวัดที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์ มีความพร้อมทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรบุคคล รวมถึง แหล่งเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ดังนั้น จึงมี Smart Farmer เกษตรกรยุคใหม่ เกิดขึ้นหลายราย โดยมีกระบวนการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่น่าสนใจ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

ในงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัยและของดีทวารวดี 61 ซึ่งจัดโดย กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้นำผลผลิตสินค้าทางการเกษตรปลอดภัยและของดีอื่นๆ มาจัดแสดงและจำหน่ายเป็นระยะเวลารวม 4 วัน โดยได้ให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน รวมถึง Smart Farmer, Young smart Farmer นำสินค้าทางการเกษตรมาจัดแสดงและจำหน่ายในงาน วันนี้เราได้นำตัวอย่าง Smart Farmer, Young smart Farmer บางส่วนที่จะมาจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงานมาให้เกร็ดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับผลผลิตของพวกเขา พร้อมเชิญชวนทุกท่านเที่ยวชมงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัยและของดีทวารวดี 61 กันด้วย

เริ่มกันที่ คุณราเชนทร์ สุขหวานอารมณ์ เจ้าของสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ จังหวัดราชบุรี เป็นเกษตรกรยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีในการดูแลรักษาทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ จนกลายเป็นผู้ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้ สู่ต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จอีกรายหนึ่ง

“การเป็น Smart Farmer คือเราต้องมีความรู้ในเรื่องของการดูแลรักษาสินค้าด้วยเทคโนโลยี ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพ อย่างมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ที่ผมทำอยู่นั้นมันมีคุณภาพ ปลอดภัย ถูกใจผู้บริโภค ซึ่งผมทำส่งต่างประเทศเป็นหลัก ที่เหลือก็ส่งตามซุปเปอร์มาร์เก็ต และส่งแปรรูปด้วย ที่เด่นๆ ก็จะเป็นไอศกรีมมะม่วง”

นอกจากนี้ คุณราเชนทร์ ยังบอกอีกด้วยว่า หากใครอยากรับประทานมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ก็มาชิมกันได้ที่งานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัยและของดีทวารวดี 61 ที่จะจัดขึ้น ในวันที่ 31 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม นี้ ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ซึ่งนอกจากผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองแบบผลสดแล้ว ยังมีในส่วนของข้าวเหนียวมะม่วง ไอศกรีมมะม่วง อีกด้วย

คุณอิสรีย์ ทองรอด เจ้าของผลิตภัณฑ์ปลาร้าผง และชาสมุนไพร วิสาหกิจชุมชนเขาคีรี จังหวัดสุพรรณบุรี เกษตรกรอีกหนึ่งรายที่ได้นำเอานวัตกรรมการแปรรูปอาหารมาใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเองจากเดิมที่เพียงแค่ปลาร้าสดธรรมดา จนขึ้นแท่นเป็นปลาร้าแปรรูปแบบผงพร้อมรับประทาน

“แรกเริ่มเดิมทีประธานกลุ่มฯ ของเรามีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักร จึงได้สร้างเครื่องอบขึ้นมา เมื่อเรามีเครื่องอบแล้วเราก็ดูผลผลิตทางการเกษตรที่เรามีอยู่ในท้องถิ่นเราก่อน เช่น ปลาร้าสด ซึ่งเรามองไปถึงว่าในปัจจุบันนี้ปลาร้าสด มีขั้นตอนในการขนส่งที่ค่อนข้างยากลำบาก จึงคิดเอาปราล้าสดมาอบดู ปรากฏว่าใช้ได้ออกมาเป็นปลาร้าผงใส่น้ำร้อนพร้อมรับประทาน”

คุณอิสรีย์ บอกอีกว่า นอกจากปลาร้าผงแล้ว ยังมีน้ำพริก เช่น น้ำพริกเผา น้ำพริกแจ่ว รวมไปถึงสินค้าประเภทสมุนไพรเพื่อสุขภาพอื่นๆ ส่วนในงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัยและของดีทวารวดี 61 ทางกลุ่มจะนำสินค้าเหล่านี้ไปจำหน่ายและยังมี กาแฟหม่ามุ้ย ส้มตำหลอด ที่จะนำไปโชว์และจำหน่ายในงานนี้ด้วย

ด้าน คุณธรา นุชสมบัติ ผู้ผลิตไม้ประดับ ผักงอก และผักสลัด จากบ้านฮักกาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรี อีกหนึ่งเกษตรกรตัวอย่าง ที่มีการพัฒนาตัวเองและรูปลักษณ์ของสินค้าจนได้เป็น Young Smart Farmer ของจังหวัดกาญจนบุรี

“ในส่วนของผมที่ทำอยู่นั้นจะผลิตพวกไม้ประดับ เช่น กระบองเพชรพวกแคนตัส ผักงอก และผักสลัด อย่างกระบองเพชร แคนตัส หากพูดถึงในส่วนของที่เป็น Young Smart Farmer จะมีอยู่สองถึงสามรายที่ทำในประเทศ และจะเป็นรายเดียวที่นำมาแสดงและจำหน่ายในงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัยและของดีทวารวดี 61 สิ่งที่จะนำไปโชว์ในงานนี้จะเป็นกระบองเพชร แคนตัส ผักงอก และผักสลัด ระหว่างขายผมก็มีการแนะนำการปลูก การขยายพันธุ์ เพื่อเป็นความรู้ให้กับผู้ที่สนใจด้านนี้ด้วย”

หากใครที่สนใจอยากจะเป็นเกษตรยุคใหม่ Smart Farmer สามารถไปศึกษาแนวทางจากเกษตรกรทั้ง 3 ราย นี้ได้ในงานมหกรรมสินค้าเกษตรปลอดภัยและของดีทวารวดี 61 ในระหว่าง วันที่ 31 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2561 ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูล Smart Farmer ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ท่านมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน

แตงโมจิ๋ว สรรพคุณเต็มเปี่ยม ในไซซ์สบายกระเป๋า พกพาได้ทุกที่
เมื่อวันที่ 31 ก.ค. เพจเฟซบุ๊ก ไชน่าซินหั่ว รายงานว่า ร้านค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน วางจำหน่าย แตงโมจิ๋ว แม้แตงโมจะมีขนาดเล็ก แต่ราคานั้นไม่ได้เล็กตามขนาดไปด้วย

โดยราคาของแตงโมแบบพิเศษนี้ เริ่มต้น ขีดละ 30 หยวน (ประมาณ 150 บาท) ทั้งนี้ แตงโมอุดมไปด้วยน้ำ โดยมีน้ำอยู่ 91.5 เปอร์เซ็นต์ และยังเป็นแหล่งของ ‘ไลโคปิน’ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แตงโมเป็นของว่างที่เติมความสดชื่นได้ดีในวันที่อากาศร้อน

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยความคืบหน้ากรณีกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียได้ออกระเบียบพืชสวนฉบับใหม่ ยกเลิกการกำหนดช่วงเวลานำเข้าพืชสวนมายังอินโดนีเซีย ซึ่งมีลำไยไทยอยู่ในกลุ่มถูกห้ามนำเข้าก่อนหน้านี้ ว่า ระเบียบใหม่จะส่งผลให้ไทยส่งออกลำไยไปอินโดนีเซียได้ตลอดทั้งปี จากเดิมอินโดนีเซียกำหนดช่วงเวลาห้ามนำเข้าลำไยไทยในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

ตรงกับผลผลิตของไทยออกมาก และมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2561 แต่จากการที่สำนักงานพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สอบถามผู้นำเข้าลำไยรายใหญ่ของอินโดนีเซีย ที่พยายามยื่นขออนุญาตการนำเข้าลำไยในเดือนมิถุนายถึงธันวาคมนี้ ปรากฏว่าผู้นำเข้าทุกรายยังได้รับการปฏิเสธ โดยระบุว่าในระเบียบฉบับใหม่ อำนาจในการพิจารณาให้ใบอนุญาตการนำเข้าอยู่ที่อธิบดีกรมพืชสวน กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียเท่านั้น ส่งผลให้ลำไยไทยยังไม่สามารถส่งออกไปอินโดนีเซียในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเช่นเดิม

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า รัฐมนตรีการค้าของอินโดนีเซียได้ส่งหนังสือมายังตน ยืนยันว่ากระทรวงเกษตรอินโดนีเซียได้ยกเลิกมาตรการจำกัดระยะเวลาการนำเข้าพืชสวนแล้ว แต่ทางปฏิบัติอาจมีข้อจำกัดในบางเรื่อง และอาจต้องใช้เวลาในการดำเนินการ ก็จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ไทยส่งออกพืชสวนทั้ง 3 ชนิด โดยเฉพาะลำไยไปอินโดนีเซียให้ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปี 61 กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียได้ใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าพืชสวน ทำให้ลำไย ทุเรียน และหอมแดงไทย ได้รับผลกระทบ โดยลำไยไทยส่งออกลำไยไปอินโดนีเซียไม่ได้ เสียหายเกือบ 700 ล้านบาท ส่วนทุเรียนอนุญาตให้นำเข้าได้เฉพาะเดือนกรกฎาคม เสียหายเกือบ 200 ล้านบาท และหอมแดงห้ามการนำเข้าตลอดปี เสียหายเกือบ 150 ล้านบาท รวมความเสียหายทั้งหมด 1,000 ล้านบาท