ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการต่อกิ่ง หรือการเสียบยอด

พืชที่นำมาเสียบเข้าด้วยกันต้องเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่อาจต่างพันธุ์กันได้ เช่น นำยอดมะนาวเสียบกับต้นตอส้มต่างประเทศ หรือ ต้นตอส้มโอ เป็นต้น
กิ่งพันธุ์ดีจะต้องมีความสดอยู่เสมอ ซึ่งควรเก็บรักษาไว้ในห้องเย็นในกรณีที่นำสายพันธุ์มาจากที่อื่น แต่หากตัดสดแล้วนำมาต่อกิ่งหรือเสียบยอดเลยจะดีที่สุด
รอยแผลที่เสียบจะต้องแนบกันสนิทให้เนื้อเยื่อเจริญของพืชทั้งสองส่วนสัมผัสกันมากที่สุด เพื่อจะได้เชื่อมประสานกันได้รวดเร็ว
เลือกตาพันธุ์ที่กำลังพักตัว คือ พร้อมที่จะแตกยอดใหม่ ถ้าเป็นมะเดื่อฝรั่ง ตาจะต้องปูดโปนคล้ายๆ กำลังจะแตกยอด

ใช้แถบพลาสติกขยายพันธุ์พันทับรอยต่อ ไม่ให้น้ำและเชื้อโรคเข้าแผลได้
รอยแผลจะต้องรักษาความสะอาดให้มากที่สุด ระวังอย่าให้สัมผัสน้ำ หรือความชื้นมากเกินไป

ลิดใบพันธุ์ดีทิ้ง และใช้พลาสติกคลุม ป้องกันการคายน้ำ และรักษาความชื้น หรือใช้แผ่นพาราฟิล์ม (Parafilm) ซึ่งไม่ต้องคลุมถุงเพื่อรักษาความชื้น ซึ่งสวนคุณลีจะเลือกใช้แผ่นพาราฟิล์มในส่วนการพันยอดพันธุ์ดี เพราะมีข้อดีหลายประการ คือนอกจากจะรักษาความชื้นของยอดพันธุ์แล้ว ยังกันน้ำได้ดี แล้วเมื่อยอดพันธุ์แตกตาผลิใบใหม่ออกมาก็สามารถแทงผ่านแผ่นพาราฟิล์มออกมาได้โดยที่ไม่ต้องใช้มีดกรีดช่วยเหมือนการใช้พลาสติกขยายพันธุ์ แล้วแผ่นพาราฟิล์มนั้นก็จะย่อยสลายไปเอง

ข้อควรพิจารณาในการต่อกิ่ง
ได้แก่ การเลือกต้นตอ
จะต้องให้มีขนาดเหมาะสมกับกิ่งพันธุ์ดี มีความแข็งแรง ปราศจากศัตรูพืช มีระบบรากแข็งแรง และหาง่าย แต่ก็ไม่ได้จำกัดเรื่องของขนาดซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนได้

การเลือกกิ่งพันธุ์ ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีตา (ที่ไม่ใช่ตาดอก)

การเตรียมต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ในการเฉือนแผลต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ควรจะให้รอยแผลเรียบ และไม่ช้ำ (เกิดจากการผ่า หรือเฉือนหลายครั้ง จึงต้องมีความชำนาญในการเฉือนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีช้ำ)

การป้องกันเชื้อโรค การทำให้เกิดบาดแผลแก่ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี เป็นช่องทางที่ทำให้เกิดเชื้อโรค จึงต้องระวังในเรื่องของความสะอาด โดยเฉพาะมีดต้องสะอาดและคม

การวางแนวเยื่อเจริญระหว่างต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ต้องอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อให้รอยประสานเกิดได้เร็วขึ้น เช่น กรณีต้นตอใหญ่กว่าแผลยอดพันธุ์ดีก็ต้องเสียบยอดพันธุ์ดีให้แผลชิดด้านใดด้านหนึ่ง ให้เนื้อเยื่อต้นตอกับยอดพันธุ์ดีตรงกัน

ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับต่อกิ่ง ควรเป็นระยะที่พืชมีการเจริญเติบโตดี โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว รองลงมาคือ กลางฤดูฝน

เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อกิ่ง ส่วนของพืชที่จะขยายพันธุ์ คือ กิ่งพันธุ์ดี ส่วนของพืชที่เป็นระบบราก คือ ต้นตอ มีดขยายพันธุ์ หรือ คัตเตอร์ กรรไกรตัดแต่งกิ่ง พลาสติกพันกิ่ง วัสดุที่ใช้ในการคลุมกิ่ง เช่น เชือก ถุงพลาสติกขนาดเล็ก ถุงกระดาษคลุมกิ่ง แผ่นพาราฟิล์ม

ขั้นตอนการขยายพันธุ์แบบต่อกิ่งมะเดื่อฝรั่ง บนต้นตอมะเดื่อพื้นบ้าน หรือป่า
การเตรียมต้นตอมะเดื่อพื้นบ้าน หรือมะเดื่อป่า เลือกยอดของต้นตอ หรือกิ่งแขนงตามลำต้นที่มีขนาดใกล้เคียงกับกิ่งมะเดื่อฝรั่งพันธุ์ดี เช่น มะเดื่อพันธุ์ญี่ปุ่น, บราวน์ตุรกี, โคนาเดีย เป็นต้น เลือกตัดกิ่งแขนงของต้นตอมะเดื่อพื้นบ้าน หรือมะเดื่อป่าบริเวณที่ไม่มีข้อ หรือตา ให้เป็นมุมฉากเพื่อใช้มีดผ่าง่าย และแผลเรียบ สวย ผ่าต้นตอตามยาว ให้ลึกประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของกิ่ง
การเตรียมกิ่งพันธุ์ดี และเลือกกิ่งพันธุ์ดีให้มีขนาดใกล้เคียงกับต้นตอ ใช้มีดปาดเฉือนโคนกิ่งมะเดื่อฝรั่งพันธุ์ดีให้เฉียงลงทั้งสองข้างให้เป็นรูปลิ่ม ให้แผลมีความยาว ประมาณ 1-1.5 นิ้ว

การเสียบกิ่งพันธุ์ดีบนต้นตอ ใช้มีดผ่ากลางบนต้นตอ ลึก 1-1.5 นิ้ว ให้ใกล้เคียงกับแผลยอดมะเดื่อพันธุ์ดี จากนั้นเสียบโคนกิ่งพันธุ์ดีให้แนวเนื้อเยื่อเจริญของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีทับแนบกันให้มากที่สุด แต่ในกรณีที่ขนาดแผลของต้นตอใหญ่กว่ายอดมะเดื่อฝรั่งพันธุ์ดี ก็จะต้องเสียบยอดให้แผลของเนื้อไม้ชิดกันด้านใดด้านหนึ่ง พันด้วยเทปพลาสติกให้แน่นบริเวณจากด้านล่างขึ้นบน พันบริเวณรอยต่อให้แน่นไม่ให้น้ำเข้าแผลได้ ส่วนเหนือแผลขึ้นมาคือตายอดพันธุ์ดี จะใช้แผ่นพาราฟิล์มพันส่วนยอดเอาไว้เพื่อรักษาความชื้นของยอดมะเดื่อฝรั่ง (ซึ่งแผ่นพาราฟิล์มจะนำมาใช้แทนถุงพลาสติก (ถุงร้อน) มาครอบยอดเอาไว้) ไม่นานหลังเสียบยอดประมาณ 7-10 วัน ยอดมะเดื่อฝรั่งก็จะแตกยอดอ่อนแทงทะลุแผ่นพาราฟิล์มออกมาโดยที่เราไม่ต้องไปกรีดช่วยแต่อย่างใด แล้วแผ่นพาราฟิล์มก็จะย่อยสลายไปเองโดยที่ไม่ต้องไปทำอะไรเลย

หลังเปลี่ยนยอดได้ สัก 4-8 เดือน ยอดมะเดื่อฝรั่งที่เปลี่ยนยอดก็พร้อมจะให้ผลผลิต แต่สิ่งที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ คือ การลิดใบของมะเดื่อพื้นบ้าน หรือมะเดื่อป่า ต้นตอที่จะแตกออกมา ซึ่งอาจจะแย่งอาหารมะเดื่อฝรั่งที่เราเสียบเอาไว้

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทำหน้าที่องค์กรกลางดูแลบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน บทบาทหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การพัฒนางานวิจัยด้านยางพาราให้เกิดนวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการยาง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ยางพาราในเชิงพาณิชย์ สร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

มหกรรมยางพารา 2564 : นครฯ แห่งนวัตกรรม

กยท. มีเป้าหมายการพัฒนาสู่ “องค์กรชั้นนำระดับสากลในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ” โดยบูรณาการทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบ กว่า 1.8 ล้านคนทั่วประเทศ ประกอบด้วย เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า และนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาด้านงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิชาการให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นำไปสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์ พร้อมยกระดับผลิตภัณฑ์ยางพาราสู่มาตรฐานสากล ได้แก่ GMP/GAP, FSC เป็นต้น

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กยท. วางแผนจัดงาน “มหกรรมยางพารา 2564 : นครฯ แห่งนวัตกรรม” ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2565 ณ สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้น

การจัดงานมหกรรมยางพาราครั้งนี้ กยท. มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีการแปรรูปยางพารา เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณภาพ มาตรฐาน การวิจัย และแนวคิดการต่อยอดพัฒนานวัตกรรมให้เกิดความหลากหลายในการใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยางพารามีช่องทางการจำหน่าย และแสวงหาพันธมิตรคู่ค้าใหม่ในตลาดยางพาราระดับนานาชาติ

การจัดงานในครั้งนี้ กยท.ใช้รูปแบบการบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับวงการยางพาราของไทย ได้แก่ เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยางทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสได้รับรู้ศักยภาพความเป็นผู้นำของไทยในฐานะผู้ผลิตยางคุณภาพและธุรกิจการส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก ขณะเดียวกันเกษตรกรและประชาชนทั่วไปเรียนรู้และเข้าใจประโยชน์ของยางพารามากขึ้น

“การจัดงานมหกรรมยางพาราที่ผ่านมา ต้องยกเครดิตให้กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านพินิจ จารุสมบัติ และ บมจ.มติชน ที่สนับสนุนการจัดงานมหกรรมยางพารามาอย่างต่อเนื่อง กยท.มีส่วนร่วมในการจัดงานมหกรรมยางพาราทุกปี ในรูปแบบนิทรรศการกระบวนการผลิตและนวัตกรรมทางด้านยางพารา ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงการแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาอาชีพการทำสวนยางพาราให้มีความมั่นคงและยั่งยืน สำหรับปีนี้ ท่านพินิจ เสนอให้เปลี่ยนสถานที่จัดงานจากภาคอีสานไปยังจังหวัดอื่น เพราะยางพาราสามารถปลูกได้ทั่วประเทศ สาเหตุที่เลือกพื้นที่จัดงานที่ภาคใต้ เพราะเป็นต้นกำเนิดการปลูกยางพาราในประเทศไทยและจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นแหล่งปลูกยางพาราสำคัญในพื้นที่ภาคใต้” นายณกรณ์ กล่าว

โชว์นวัตกรรมสระน้ำยางพาราเก็บกักน้ำสู้ภัยแล้ง น้ำท่วม

เนื่องจากภาครัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น กยท.จึงมีนโยบายการพัฒนานวัตกรรมทั้งด้านแนวคิด การสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างความหลากหลายของสินค้า เน้นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน เพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศและขยายตลาดส่งออก

กยท.ได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมการแปรรูปจากยางพารารูปแบบใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบที่ใช้ได้จริง ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องในงานมหกรรมยางพารามาอย่างต่อเนื่องทุกปี เช่น บล็อกปูพื้นจากยางพารา กรวยจราจรยางพารา หุ่นยางพาราฝึกช่วยชีวิต (CPR) ที่นอนและหมอนยางพารา ถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ ฯลฯ ผลงานนวัตกรรมดังกล่าว สามารถเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ รวมทั้งสร้างเพิ่มมูลค่ายางพารา ช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมั่นคง

“สำหรับการจัดงานในปีนี้ กยท.มุ่งถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ ทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์จากน้ำยางและผลิตภัณฑ์จากยางแห้ง เช่น เทคโนโลยีการผลิตน้ำยางคอมพาวนด์สำหรับนำไปเคลือบบนแผ่นใยสังเคราะห์ และเทคโนโลยีการเคลือบน้ำยางคอมพาวนด์บนแผ่นใยสังเคราะห์ ที่สามารถรับน้ำแรงสูง ทนทานต่อการใช้งาน เหมาะสำหรับการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำดิบสำหรับช่วงฤดูฝนเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้ง ปัจจุบัน กยท.ได้ถ่ายทอดนวัตกรรมดังกล่าวให้กับกรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทาน นำไปใช้ในการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ สร้างแหล่งน้ำ หรือแนวฝายกั้นน้ำ สำหรับระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำเพื่อการชลประทานได้มากขึ้น” นายณกรณ์ กล่าว

เปิดตลาดขายยางล่วงหน้า แบบส่งมอบจริง

นอกจากนำเสนอนวัตกรรมยางพาราในการจัดงานครั้งนี้แล้ว กยท.ยังเปิดให้บริการตลาดซื้อขายยางล่วงหน้า แบบส่งมอบจริง และเปิดเวทีเจรจาธุรกิจให้แก่เกษตรกร/สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง ได้มีโอกาสขยายช่องทางการตลาดทั้งในประเทศและส่งออกไปพร้อมๆ กัน คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมจับคู่ธุรกิจและเจรจาการค้า จำนวนไม่น้อยกว่า 50 ราย

ในปีนี้รูปแบบการจัดงานเป็นแบบ New Normal พิธีการเป็นไปอย่างเรียบง่าย มีการเว้นระยะสำหรับผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ กยท.เปิดโอกาสให้สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงาน เช่น ปุ๋ย ปัจจัยการผลิต อุปกรณ์การกรีดยาง ฯลฯ รวมทั้งประกวดแข่งขันการกรีดยาง คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงาน ไม่น้อยกว่า 10,000 คน

โดยผู้สนใจสามารถเข้ามาเที่ยวชมงาน และร่วมกิจกรรมต่างๆ ในงานมหกรรมยางพารา 2564 : นครฯ แห่งนวัตกรรม ได้ตั้งแต่วันที่ 8-10 เมษายน 2565 ณ สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ระยะที่มีอากาศร้อนและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกขิงให้เฝ้าระวังโรคเหี่ยว ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นขิง อาการเริ่มแรกใบแสดงอาการม้วนห่อ สีของใบซีด ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้ง บริเวณโคนต้นมีอาการฉ่ำน้ำ ลำต้นเน่าหลุดออกจากเหง้าได้ง่าย หักพับ แต่ไม่มีกลิ่นเหม็น หากตรวจดูที่ลำต้นจะพบส่วนของท่อลำเลียงน้ำและอาหารมีสีน้ำตาลเข้ม เมื่อผ่าลำต้นตัดตามขวางและนำมาแช่ในน้ำสะอาดประมาณ 5-10 นาที จะพบของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมไหลออกมา

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นขิงที่เริ่มแสดงอาการของโรคเหี่ยว ให้ขุดต้นที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค จากนั้นให้โรยด้วยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง ส่วนในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูกทันที

สำหรับการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในฤดูปลูกถัดไป เกษตรกรควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยพบการระบาดของโรคนี้มาก่อน และควรทำแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี อีกทั้งเกษตรกรควรเตรียมดินก่อนปลูก โดยการไถพรวนดินให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก

กรณีในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ก่อนปลูก ให้อบดินเพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วยการโรยยูเรียผสมปูนขาว อัตรา 80 : 800 กิโลกรัม ต่อไร่ จากนั้นให้ไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้นและทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกขิง อีกทั้งให้เลือกใช้หัวพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือ มันฝรั่ง พริก และถั่วลิสง รวมถึงควรสลับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค

ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยพื้นที่ปลูกยางพารามีมากในหลายจังหวัดของประเทศ จึงทำให้พืชอย่างยางพาราสามารถใช้ประโยชน์ทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้งานวิจัยและการสนับสนุนส่งเสริมในพืชชนิดนี้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเกิดรายได้ที่ยั่งยืน และสามารถสร้างความมั่นคงทางอาชีพที่ส่งต่อไปให้กับลูกหลานสามารถทำกินบนที่ดินของตัวเองได้

คุณกุลเดช พัวพัฒนกุล ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า การยางแห่งประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีการจัดการกระบวนเกี่ยวกับยางพาราทั้งประเทศ โดยบทบาทที่สำคัญมีทั้งการทำงานทางด้านการวิจัยและงานสนับสนุนส่งเสริมเพื่อยางพาราของไทยมีคุณภาพ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งการทำงานนี้เองเป็นผลอันเกิดจากการทำงาน รวมกันของ 3 องค์กร ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง องค์การสวนยาง และสำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยาง มีการทำงานกันอย่างเป็นระบบที่ช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตหรือปัญหาต่างๆ ในแต่ละปี

“อย่างช่วงโควิดที่ผ่านมาในระยะแรกๆ ธุรกิจยางพารามีการซื้อขายลดลงบ้าง เพราะในหลายๆ ประเทศ มีการปิดประเทศ จึงทำให้การส่งออกมีการขนส่งที่ไม่เพียงพอ ทำให้เส้นทางการเดินเรือมีช้าลง ทำให้ส่งผลกระทบต่อราคายางพารา เพราะในบ้านเรา ผลผลิตยางพารากว่า 70 เปอร์เซ็นต์เป็นสินค้าส่งออกเป็นส่วนใหญ่ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์เป็นสินค้าที่ใช้เองภายในประเทศ จึงทำให้ราคายางพารามีบางช่วงที่ยังไม่มีเสถียรภาพในเรื่องของราคา การยางแห่งประเทศไทยจึงได้เข้าไปดูแลและมีการพยุงราคา เพื่อให้ราคายางพาราเป็นราคาที่เกษตรกรยังสามารถอยู่ได้ และมีผลกำไรจากการจำหน่าย” คุณกุลเดช กล่าว

จากการแก้ปัญหาราคายางที่ไม่เสถียรภาพนี้เอง คุณกุลเดช กล่าวต่อให้ฟังว่า จึงเกิดโครงการที่เป็นรูปธรรมเพื่อทำให้เกษตรกรยังมีความมั่นคงทางรายได้จากการจำหน่ายยางพารา อาทิ โครงการชะลอขายยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคายางพารา รวมไปถึงในเรื่องของการปรับเปลี่ยนอัตราการปลูกยางพาราต่อไร่ ให้มีจำนวนที่น้อยลงหรือเหมาะสมและสามารถนำพืชชนิดอื่นเข้าไปปลูกรวมกับยางพาราได้ ไม่ว่าจะเป็นพืชจำพวกกาแฟ โกโก้ หรือพืชอย่างกระท่อมที่ปลดล็อกไม่นานมานี้ ก็ช่วยให้เกษตรกรเกิดรายได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการปลูกยางพาราได้ดี

ซึ่งจากการวิจัยที่ได้ทดลองการปลูกยางพาราให้มีจำนวนต้นที่เหมาะสมนั้น จากเดิมที่เคยปลูกอยู่ที่ 70 ต้นต่อไร่ ลดจำนวนต้นปลูกลงมาให้เหลืออยู่ที่ 40 ต้นต่อไร่ สามารถให้น้ำยางที่ไม่แตกต่างกัน และเกษตรกรชาวสวนยางพารายังสามารถปลูกพืชอื่นๆ ร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อีกด้วย โดยเฉพาะตอนนี้มีเกษตรกรในหลายพื้นที่มีการเลี้ยงปศุสัตว์ภายในสวนยางพารา จึงช่วยให้เกษตรกรเกิดรายได้หลากหลายช่องทางจากการทำเกษตรที่ไม่ได้รับจากการกรีดยางเพียงอย่างเดียว จึงเป็นการสร้างความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“เรามีศูนย์วิจัยเกี่ยวกับยางพารา มีงานวิจัยและทำการวิจัยกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของการแปรรูปยางพารา เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยมากขึ้น รวมทั้งหาช่องทางการใช้ยางพาราให้มากขึ้น เพื่อเป็นการรักษาระดับของราคายางพาราให้ได้ ปัจจุบันเราได้ร่วมกับกระทรวงคมนาคม ใช้ยางพารามาทำอุปกรณ์ด้านการจราจรต่างๆ รวมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เอง ก็ได้ให้ทางกรมชลประทานใช้ยางพาราไปเป็นส่วนผสมกับการทำถนนเหนือคลองชลประทาน ทำให้ถนนมีความแข็งแรงมากขึ้น จากเดิมที่เป็นถนนที่มีฝุ่นก็ปราศจากฝุ่น ทำให้สะดวกต่อการสัญจรมากขึ้น จุดนี้เองจึงทำให้ผลผลิตทางยางพาราได้ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และเป็นการช่วยให้ยางพาราได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องภายในประเทศ” คุณกุลเดช กล่าว

สำหรับในเรื่องของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ คุณกุลเดช กล่าวว่า ยางพาราที่ชาวสวนผลิตออกมา ทางการยางแห่งประเทศไทยได้มีการสร้างมาตรฐานและควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีคุณภาพสูงสุด จึงได้มีการพัฒนายางพาราให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในต่างประเทศ โดยมีการผลิตยางเครปซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่ายางแท่งและมีราคาที่ถูกกว่า เป็นสินค้าที่ผู้ผลิตล้อรถยนต์ค่อนข้างให้ความสนใจเป็นอย่างมากในยางเครป

ดังนั้น ในการจัดงานมหกรรมยางพาราในครั้งนี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นอกจากจะจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงานวิจัย และนวัตกรรมที่เกี่ยวกับยางพาราแล้ว ยังได้เชิญชวนผู้ที่ทำธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ให้มีการเจรจาร่วมจับคู่ธุรกิจทางการค้าได้มาพบปะเจอกันภายในงานนี้ เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยาง นักธุรกิจ นักลงทุนในสายต่างๆ ได้มาติดต่อซื้อขายกันภายในงานนี้ วิธีนี้จึงถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางการขยายตลาดให้กว้างขึ้น เพื่อให้มีการใช้ยางพาราทั้งในและต่างประเทศได้ต่อเนื่องและเกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง

“ในอนาคตต่อไป ทางการยางแห่งประเทศไทย เราเองก็เตรียมความพร้อม เตรียมเสริมความแกร่งให้กับการยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของเรามีความเข้มแข็ง จากนั้นก็เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ไปให้กับพี่น้องเกษตรกรต่อไป การจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีการทำงานที่เป็นระบบและได้มาตรฐาน เพื่อให้ราคายางพารามีเสถียรภาพ ดังนั้น ในเรื่องของการตลาดเราจึงใส่ใจและมุ่งมั่นที่จะดูแลพี่น้องชาวสวนยางได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ดังนั้น ก็ขอเชิญชวนนะครับงานมหกรรมยางพารา ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรชาวสวนยาง พี่น้องประชาชนทั่วไป หรือภาคธุรกิจ ให้มาเที่ยวงานมหกรรมครั้งนี้ด้วยกัน” คุณกุลเดช กล่าว

สำหรับท่านที่สนใจเกี่ยวกับองค์ความรู้และข้อมูลการปลูก และการแปรรูปยางพาราแบบครบวงจร ห้ามพลาด! “มหกรรมยางพารา” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2565 ณ สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการยางแห่งประเทศไทย

ยางพารา นับเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ทำรายได้อย่างสม่ำเสมอ และเป็นพืชที่กรีดได้เกือบทุกวัน มีต้นทุนการจัดการภายในสวนไม่สูงมาก ใช้เวลาทำงานไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน อีกทั้งยังเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีตลาดมารองรับอยู่ตลอด แต่เนื่องด้วยในสถานการณ์ปัจจุบันราคายางค่อนข้างมีความผันผวนสูง อาจส่งผลกระทบกับรายได้ในบางช่วงของเกษตรกรหายไป ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางต้องปรับตัวหาทางรอดด้วยการหาพืชอย่างอื่นมาปลูกเสริมในสวนยาง เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนมาใช้จ่ายในครอบครัว และอีกส่วนเก็บเป็นเงินออมไว้

คุณถนอมชัย กล่อมปัญญา หรือ พี่หนอม อยู่บ้านเลขที่ 80/3 หมู่ที่ 1 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เกษตรกรหัวสมัยใหม่ จากเมื่อก่อนทำสวนยางพาราเพียงอย่างเดียว ปรับตัวตามสถานการณ์มองหาพืชเศรษฐกิจหลากหลายชนิดมาปลูกแซมในสวนยาง บนแนวคิด วันสต็อป เซอร์วิส ครบจบในสวนเดียว ที่มีกระบวนการปลูก-แปรรูป และทำการตลาดเอง ทำให้สามารถจัดสรรรายได้จากพืชได้ทั้งแบบรายวัน รายเดือน และรายปี มีเงินหมุนใช้ในครอบครัวอย่างไม่ขัดสน

พี่หนอม เล่าถึงจุดเริ่มต้นปลูกพืชแซมในสวนยางว่า ก่อนหน้านี้ตนเป็นเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง ควบคู่ไปกับการขายอาหารสัตว์มาก่อน ต่อมามีโอกาสได้เข้ามารับช่วงดูแลสวนยางพาราต่อจากพ่อตา จำนวน 18 ไร่ ซึ่งยางพาราถือเป็นพืชที่จัดการง่าย ใช้เวลาทำงานต่อวันไม่กี่ชั่วโมง เปรียบเสมือนพืชหยอดกระปุก จึงทำให้ได้มองเห็นถึงโอกาสจากช่วงเวลาที่เหลือมาศึกษาเพื่อที่จะหาพืชอย่างอื่นมาปลูกเพิ่มในสวนยาง

โดยเริ่มต้นจากการนำกาแฟมาปลูกแซมในสวนยาง ด้วยจุดประสงค์ในตอนแรกที่มองเห็นว่า กาแฟเป็นพืชที่มีมูลค่า และเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูง จึงตัดสินใจนำกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าเข้ามาปลูก ด้วยมีการศึกษาข้อมูลมาแล้วว่า กาแฟสายพันธุ์นี้ เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคใต้มากกว่าสายพันธุ์อื่น และมีการจัดการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก แต่ให้ผลตอบแทนดี

เจ้าของบอกว่า สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางท่านใดสนใจอยากหาพืชอย่างอื่นมาปลูกในสวนยางเพื่อสร้างรายได้เสริมสามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องมีการจัดสรรพื้นที่ปลูกอย่างเหมาะสม และควรมีการวางแผนการปลูกเป็นลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างที่สวนของตนอาจจะเริ่มต้นผิดไปสักหน่อย ตรงที่ใจร้อนนำกาแฟมาปลูกก่อน ด้วยมองเห็นว่ากาแฟเป็นพืชที่มีมูลค่า ทำให้พอถึงช่วงฤดูยางผลัดใบ ต้นกาแฟที่ปลูกไว้ไม่มีร่มเงา อุณหภูมิเปลี่ยน ทำให้กาแฟของที่สวนจะสุกเร็วกว่าของที่อื่นร่วงหน้าประมาณ 1-2 เดือน ทำให้ต้องเร่งกระบวนการผลิต และรสชาติกาแฟที่ได้จะเบาไปสักนิด

แต่หลังจากที่มีประสบการณ์และเรียนรู้จากข้อผิดพลาดตรงนี้แล้ว Royal Online จึงได้หาพืชอย่างอื่นมาปลูกเสริมเข้าไป เพื่อเป็นร่มเงาให้กับต้นกาแฟในยามที่ยางผลัดใบ ก็คือการนำโกโก้เข้ามาปลูกแซม โดยสาเหตุที่เลือกปลูกโกโก้ เนื่องจากโกโก้เป็นพืชที่ให้ผลผลิตตลอดปี และสามารถให้ร่มเงาต้นกาแฟได้ อีกทั้งยังได้มีการนำไม้ป่าเข้ามาปลูกเสริมไปอีกชั้น สำหรับเป็นเงินเก็บในอนาคต หรือถ้าหากจะให้อธิบายให้เข้าใจอย่างถูกต้อง สำหรับใครที่สนใจจะปลูกพืชแซมในสวนยางพาราคือ ต้องเริ่มจากการปลูกไม้ป่าก่อน แล้วอันดับถัดมาคือ โกโก้ และกาแฟนั่นเอง

เทคนิค การปลูกกาแฟแซมสวนยาง
และการจัดสรรพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด พี่หนอม บอกว่า การปลูกกาแฟอาราบิก้าในพื้นที่ต่ำทำได้ในสวนยาง สวนปาล์ม ภาคใต้ ระยะปลูกระหว่างต้นใช้ระยะ 2×2 เมตร ปลูก 2 แถว ในร่องยาง ขนาด 7×3, 8×3 เมตร ถ้ายางปลูกในระยะ 6×3 เมตร ให้ปลูกกาแฟแถวเดียว 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น โดยอายุต้นกล้าควรใช้ช่วง 8-14 เดือน

การเตรียมพื้นที่

การปลูกกาแฟอาราบิก้าโดยทั่วไปจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก หลักๆ ต้องทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง เตรียมทำแนวปลูก หลุมปลูกขนาด กว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 30-50 เซนติเมตร

การเตรียมพื้นที่ส่วนมากเริ่มเตรียมในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกกาแฟในฤดูฝน (ประมาณเดือนพฤษภาคม มิถุนายน) ดินมีความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ และสามารถระบายน้ำได้ดี

การให้น้ำ ทางภาคใต้ไม่ต้องทำระบบน้ำ เพราะปริมาณน้ำที่ต้นกาแฟต้องการอยู่ในช่วงมากกว่า 1,500 มิลลิเมตร เฉลี่ยต่อปี และมีการกระจายของฝนตั้งแต่ระยะเวลา 5-8 เดือน ในรอบ 1 ปี นอกจากนั้น ยังมีสภาพอากาศ และความชื้นสูง จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบการให้น้ำกับต้นกาแฟ และปลูกกาแฟร่วมกับไม้ยืนต้น หรือปลูกกาแฟภายใต้สภาพร่มเงาร่วมกับยาง หรือปาล์มน้ำมัน มีผลทำให้กาแฟโตเร็วกว่าปกติ รวมถึงการคลุมโคนห่มดินที่ต้นก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ปลูกไม่ต้องพึ่งพาระบบน้ำ

การใส่ปุ๋ย ควรเน้นเป็นอินทรีย์เป็นหลัก แต่ควรใส่ปุ๋ยยูเรียในช่วงแรกปลูกรอบต้นกล้ากาแฟ ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ หลังจากนั้นอีก 2-3 เดือน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ช่วง 12 เดือน หลังจากปลูกจะเริ่มเห็นดอกและผลกาแฟ หลังจากผลสุกให้รูดผลกาแฟออก (เอามาลองทำกะลา หรือสารกาแฟก็ได้ แต่ยังขายไม่ได้) พอกาแฟอายุได้ 2 ปี ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 ร่วมด้วยใส่ช่วงหน้าแล้งก่อนฝนตก ปีหลังจากนี่ก็ใส่ปุ๋ยแบบเดิม ระหว่างปีจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วยจะดีมากๆ