ปัจจุบันคุณอูเพาะ-ขยายแค็กตัสไว้จำนวนกว่า 5,000 กระถาง

มีจำนวนสายพันธุ์ที่ตลาดต้องการมากมาย โดยสร้างจุดดึงดูดของแค็กตัสด้วยการพัฒนาประยุกต์รูปแบบเพื่อให้เกิดความสวยงาม หรือสร้างลูกเล่นเพื่อให้มีหลายแบบ ทั้งสีสัน ลวดลาย และสีดอก พร้อมนำพันธุ์ที่น่าสนใจมาผสมเพื่อสร้างมูลค่าราคาขายได้อย่างไม่รู้จบ

คุณอู บอกว่า การปลูกเลี้ยงแค็กตัสไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนเข้าใจ แล้วยังง่ายกว่าพืชไม้ประดับอีกหลายชนิดด้วยซ้ำ เพียงขอให้คนที่สนใจเข้าไปศึกษาความละเอียดของการให้น้ำ อากาศ แสง ตลอดจนวัสดุปลูกเท่านั้น แล้วเมื่อต้นแค็กตัสเจริญเติบโตแข็งแรง การดูแลเหล่านั้นก็ลดน้อยลงไปตามลำดับ เพราะแต่ละสายพันธุ์มีความละเอียดและวิธีปฏิบัติที่ต่างกัน ฉะนั้น การคลุกคลีอยู่ตลอดเวลาจะช่วยทำให้สามารถเรียนรู้ได้เอง

วิธีขยายพันธุ์ที่คุณอูนำมาใช้กับแค็กตัส ได้แก่ การเพาะเมล็ดจากดอกที่ผสมเกสร การปักชำ การต่อยอด (คล้ายการเสียบยอด) ทั้งนี้ การนำแต่ละวิธีมาใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะในแต่ละสายพันธุ์

การใส่ปุ๋ยและอาหารเสริม คุณอูบอกว่า ต้องเริ่มจากการนำวัสดุปลูกที่เหมาะสมมาใช้ ทั้งนี้ กระบองเพชรชอบเนื้อดินร่วนและโปร่ง ไม่แน่น ดังนั้น การปลูกกระบองเพชรในกระถางจึงต้องเตรียมวัสดุปลูกหลายชนิดผสมกัน อย่างที่ทำอยู่ด้วยการใช้วัสดุปลูกที่เป็นใบก้ามปูหมักแล้วบดละเอียด รวมถึงยังใช้หินภูเขาไฟเบอร์ 00 มูลไส้เดือนอย่างละ 1 ส่วน ผสมปุ๋ยเคมี (เล็กน้อย) ประเภทละลายช้าสูตร 3-6 เดือน ขณะเดียวกัน การให้น้ำค่อนข้างน้อย แต่ยังต้องการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปกติจะให้น้ำเพียงเล็กน้อยตามขนาดของต้น ประมาณ 3 วัน/ครั้ง

อย่างไรก็ตาม การเพาะ-ขยายพันธุ์แค็กตัสเพื่อจำหน่ายจะหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเคมี เนื่องจากเมื่อขายให้ลูกค้าไปแล้วจะได้ไม่ทำให้เกิดความยุ่งยากกับลูกค้าต่อการใช้ปุ๋ย ทั้งนี้ โดยธรรมชาติแล้วแค็กตัสสามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีเลยเพราะจะได้อาหารจากวัสดุปลูกที่มีคุณภาพเพียงพอแล้ว ที่เหลือก็ขอให้เอาใจใส่เรื่องการให้น้ำกับแสงแดด และอุณหภูมิเป็นสำคัญ

“สำหรับแสงแดดซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลี้ยงแค็กตัส ผู้เลี้ยงควรทราบก่อนว่าแต่ละสายพันธุ์ต้องการแสงแดดมาก-น้อยต่างกัน อย่างที่ปลูกอยู่จะใช้ซาแรนกรองแดดขนาด 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อต้องการให้แสงแดดส่องประมาณ 4-6 ชั่วโมงในแต่ละวันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ลูกค้าที่ซื้อต้องไม่ลืมที่จะถามผู้ขายว่าพันธุ์ที่ซื้อไปนั้นควรอยู่ในสภาพแดดเท่าไรให้เหมาะสม”

คุณอูนิยมเพาะ-เลี้ยง แค็กตัสแบบมีหนามมากกว่าสายพันธุ์อื่น เขาบอกว่าพันธุ์นี้มีลูกเล่นมาก แล้วยังมีราคาไม่แพง ลูกค้าทุกคนสามารถซื้อไปเลี้ยงได้ โดยเวลานำไปขายจะสร้างมูลค่าด้วยการใช้กระถางปลูกที่มีความสวยงาม ดูเป็นแฟชั่น หรือมีการนำสายพันธุ์หลายชนิดมาตกแต่งไว้ในถาดปลูกเดียวกันเพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่ลูกค้า

“เสน่ห์ของแค็กตัสอย่างแรกอยู่ที่ความสวยที่เกิดจากลักษณะประจำของแต่ละสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นดอก หนาม สี รูปทรง โดยผู้เลี้ยงแต่ละรายก็จะมีรสนิยมความชอบแตกต่างกัน แต่เมื่อได้ลองสัมผัสใกล้ชิดแล้วจะชอบ โดยเฉพาะอย่างพันธุ์ที่มีดอกได้ปีละครั้ง เมื่อเกิดดอกก็จะทำให้ผู้เลี้ยงเกิดความภาคภูมิใจ ทะนุถนอมอย่างเต็มที่ จนดูเหมือนเป็นความผูกพัน”

แหล่งจำหน่ายแค็กตัสของคุณอูจะอยู่ตามบู๊ธงานต่างๆ ที่หน่วยงานราชการ/เอกชนจัดขึ้น หรือตามตลาดนัดชุมชนที่มีขนาดใหญ่ โดยนำไปขายเองจึงทำให้ได้มีโอกาสรู้จักกับเพื่อนกลุ่มใหม่ ได้ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นทุกครั้ง แล้วจะเก็บข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแค็กตัสที่ปลูกให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดทุกครั้ง

สำหรับประเภทลูกค้ามักเป็นข้าราชการ (กลุ่มนี้มาก เพราะไปวางขายตามสถานที่ราชการหลายแห่งในจังหวัด) กับนักเรียน นักศึกษา ลูกค้าที่ซื้อไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์มักนำไปใช้ประดับตามบ้านเรือนที่พักอาศัยหรือสำนักงาน เนื่องจากแค็กตัสเป็นไม้ประดับที่มีขนาดเล็ก เลี้ยงดูง่าย ไม่ยุ่งยากหรือสิ้นเปลือง สามารถนำไปวางตำแหน่งใดก็ได้

ลูกค้าอีกประเภทมักมาซื้อแล้วขอคำแนะนำเรื่องการขยายพันธุ์เพื่อต่อยอดเป็นอาชีพสร้างรายได้เสริม ซึ่งก็ได้แนะนำแล้วให้ความรู้ อีกกลุ่มของลูกค้าที่ได้รับความสนใจมากคือการซื้อเพื่อนำไปใช้เป็นของชำร่วยในงานมงคลต่างๆ โดยจะใช้เป็นกระถางขนาดเล็กที่มีความสวยงามแล้วผูกโบสร้างสีสัน

ความนิยมแค็กตัสโดยทั่วไปอาจมีลักษณะเฉพาะกลุ่มของผู้ที่มีรสนิยมเดียวกัน ดังนั้น คุณอูมองว่าการได้มีโอกาสรู้จักกับเพื่อนใหม่ในทุกครั้งที่นำไปขายยังสถานที่ต่างๆ ถือว่าสำคัญมากเพราะจะช่วยให้มีความรู้กว้างขวาง ได้มีโอกาสรู้ทิศทางการตลาดของพืชชนิดนี้ว่าเป็นอย่างไร หรือรู้ว่าควรเพาะ-ขยายพันธุ์ไหนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในแต่ละช่วงเวลา มิเช่นนั้นหากเพาะ-ขยายพันธุ์แบบขาดการวางแผนก็จะส่งผลต่อความเสียหายแล้วสิ้นเปลืองเงินทุนโดยเปล่าประโยชน์

ราคาจำหน่ายถ้าเป็นกระถางขนาด 2 นิ้ว แล้วเป็นพันธุ์ทั่วไปก็จำหน่ายตั้งแต่ 15 บาทขึ้นไป จนถึง 3,000 กว่าบาท ทั้งนี้ การกำหนดราคามาก-น้อยต้องพิจารณาจากความยาก-ง่ายในการเพาะ-เลี้ยง อีกทั้งราคาซื้อ-ขายไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับความพอใจระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย

ในฐานะรองประธานกลุ่ม Young Smart Farmer เขาชี้ว่าการได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมกับกลุ่ม Young Smart Farmer ในสาขาด้านต่างๆ ถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่ออาชีพนี้มาก เพราะจะได้มีโอกาสรู้จักตลาดที่กว้างมากขึ้น รู้จักผู้คนหลายอาชีพ ได้ความรู้ใหม่ ได้ข้อคิดและมุมมองที่ดี

“อยากให้ทุกท่านลองหาซื้อแค็กตัสไปปลูกเลี้ยง อาจไม่จำเป็นต้องซื้อราคาแพง เพราะไม้พันธุ์นี้เลี้ยงดูแลง่าย สร้างความเพลิดเพลินให้กับท่าน โดยเฉพาะท่านที่ต้องการฝึกขยายพันธุ์ ผสมพันธุ์ หากประสบความสำเร็จอาจทำให้ท่านเกิดความชอบ หลงใหลในความสวยงามจนต้องไปสรรหาพันธุ์อื่นๆ มาเลี้ยงเพิ่มเติมอีกแน่” คุณอู กล่าว

คุณบุญเลิศ จันทคุณ อยู่บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 3 ตำบลวังหิน อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. (095) 474-6662 เจ้าของสายพันธุ์มะขามหวาน “บุญเลิศ” ซึ่งนำชื่อตัวเองมาตั้งชื่อมะขามหวานสายพันธุ์ใหม่นี้

คุณบุญเลิศ เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้ต้นแม่พันธุ์บุญเลิศ อายุได้ 10 ปี ซึ่งแต่เดิมนั้นตนเองได้นำต้นพันธุ์กิ่งทาบมะขามหวานพันธุ์ตาแป๊ะ หรือพันธุ์ประกายทองมาปลูก ปรากฏว่ายอดพันธุ์ดีหรือพันธุ์ตาแป๊ะเกิดตายไป โดยที่ตนเองไม่ได้สังเกต แต่ยอดของต้นตอกลับเจริญเติบโตขึ้นมาแทน ซึ่งในตอนแรกคิดว่าน่าจะเป็นต้นตอมะขามเปรี้ยว (ซึ่งนิยมนำมาเพาะใช้เป็นต้นตอสำหรับทาบกิ่ง) ก็ปล่อยให้เจริญเติบโตมากว่า 7 ปี จนออกดอกและติดฝักตามธรรมชาติ

พบว่า ฝักมีลักษณะที่แตกต่างจากมะขามหวานที่ตนเองรู้จัก พอได้รับประทานพบว่า รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง รสชาติและกลิ่นหอมโดดเด่นมาก ขั้วผลยาว ฝักค่อนข้างตรง โค้งงอเล็กน้อย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยนำไปส่งประกวดในประเภทมะขามหวานสายพันธุ์อื่นๆ ในปีนั้นฝักมะขามยังไม่ค่อยสวยสมบูรณ์มากนัก

แต่ก็อยากรู้ว่าผลตอบรับเป็นอย่างไรสำหรับมะขามหวานพันธุ์ใหม่ ผลปรากฏว่าแม้ฝักจะไม่สวยแต่ได้เรื่องรสชาติที่ดี ก็ได้รางวัลชมเชยกลับมาในการประกวดมะขามหวานของจังหวัดเพชรบูรณ์ อนาคตก็กำลังจะขอรับรองสายพันธุ์

มะขามหวานสายพันธุ์ “บุญเลิศ” มีการติดผลดกพอสมควร แต่ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วย ให้ต้นมีความสมบูรณ์ ในช่วงต้นมะขามอายุ 5 ปี ที่เริ่มให้ผลผลิต อาจจะให้ผลผลิตราวๆ 5-10 กิโลกรัม ต่อต้น แต่เมื่อต้นโตขึ้น ทรงพุ่มใหญ่ขึ้น อย่างต้นอายุ 7 ปี เคยเก็บตัวเลขน้ำหนักคร่าวๆ ได้ผลผลิตต่อต้นประมาณ 60-100 กิโลกรัม ทีเดียว

การดูแลรักษามะขามหวานไม่ค่อยยุ่งยาก เนื่องจากเป็นพืชที่ทนแล้งมาก ให้น้ำในช่วงที่ต้นเล็กๆ ปลูกใหม่ แต่เมื่อต้นโตแล้วส่วนใหญ่เกษตรกรก็แทบจะไม่ได้ให้น้ำเลย ซึ่งสังเกตได้ว่าสวนมะขามหวานส่วนใหญ่จะไม่มีระบบน้ำ ฉีดพ่นปุ๋ย ฮอร์โมน และสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงบ้างในช่วงที่สำคัญ เช่น ช่วงแตกใบอ่อน ช่วงก่อนออกดอก ช่วงดอก (โดยเฉพาะช่วงดอก จะระวังหนอนกินดอกมากเป็นพิเศษ ที่จะสร้างความเสียหายได้อย่างรวดเร็วมาก ก็จะฉีดพวกสารอะบาเม็กติน เช่น โกลแจ็กซ์ ไลท์เตอร์ แจคเก็ต เป็นต้น)

และช่วงติดผลอ่อน ซึ่งถ้าคิดเป็นตัวเงินในการดูแลมะขามหวานนั้นถือว่าน้อย ถ้าเทียบกับพืชอื่น ตอนนี้ต้นทุนหลักๆ กับไปอยู่ที่การจ้างเก็บมะขามสุกลงจากต้น ซึ่งค่าจ้างเก็บมะขามตอนนี้ กิโลกรัมละ 10 บาท ทั้งนี้ต้องใช้คนรับจ้างเก็บที่มีประสบการณ์ ที่จะเก็บมะขามหวานลงจากต้นได้ไม่แตกเสียหายและสุกพอดี ที่จะนำไปจำหน่ายได้ โดยแรงงานจ้างเก็บที่เก่ง ประกอบกับมะขามติดผลค่อนข้างดก บางคนมีรายได้จากการรับจ้างเก็บมะขาม 400-600 บาท ต่อวัน ทีเดียว

การเก็บเกี่ยว มะขามหวาน จะแก่เก็บได้ในฤดูแล้งประมาณเดือนธันวาคม-มีนาคม ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพดินฟ้าอากาศ ปีใดฝนตกต้นฤดูและหมดเร็วมะขามก็จะแก่เร็ว และพันธุ์เบา ฝักเล็ก คุณภาพปานกลาง จะแก่เก็บได้ก่อน ส่วนพันธุ์ดีๆ นั้นจะเก็บได้ตอนกลางฤดู คือประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ หรือต้นเดือนมีนาคม

ซึ่งมะขามหวานส่วนมากจะแก่และเก็บเกี่ยวได้ในระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคมของปีถัดไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแหล่งปลูกและสภาพดินฟ้าอากาศ การเก็บฝักมะขามควรใช้กรรไกรตัดขั้วให้หลุดออกจากกิ่ง ไม่ควรใช้มือปลิด จะทำให้ฝักแตกได้ง่าย หากมีฝักแตกแล้วโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าทำลายก็จะมีมาก

การเก็บเกี่ยวมะขามหวาน ต้องพิจารณาดูเป็นต้นๆ หรือเป็นฝักๆ ไป บางทีอาจจะแก่เก็บได้ไม่พร้อมกัน ฝักปลายๆ หรือด้านนอกพุ่มมักจะแก่ก่อน โดยสังเกตจากสีของฝัก ความเหี่ยวของก้านฝัก และลักษณะอื่นๆ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญ หรือประสบการณ์ จะต้องเก็บทีละฝัก โดยใช้มีดหรือกรรไกรตัดออกจากต้น นำฝักมะขามหวานที่เก็บได้ไปกองผึ่งอากาศไว้สัก 2-3 วัน เพื่อให้ความชื้นในฝักมีอยู่พอสมควร จึงตัดแต่งก้านหรือขั้วฝักแล้วบรรจุภาชนะจำหน่ายได้

การเก็บเกี่ยวมีวิธีสังเกตคือ ดูที่เปลือกของฝัก จะแห้งกรอบ สีซีดลงคล้ายมีนวลที่ผิว ดีดหรือเคาะเบาๆ จะมีเสียงกลวงๆ ไม่แน่น ก้านหรือขั้วของฝักจะแห้งเหี่ยวและแข็งแรง เปราะหักง่าย น้ำหนักเบา การเก็บเกี่ยวต้องทิ้งช่วงทุกๆ 7-10 วัน โดยใช้บันไดพาดกิ่ง หรือปีนต้นขึ้นไปใช้กรรไกรสำหรับตัดฝักมะขามหวานโดยเฉพาะที่มีแหนบสำหรับหนีบขั้วของฝักไว้ ไม่ให้ฝักร่วงหล่น โดยคัดเลือกตัดเฉพาะฝักที่สุกจริงๆ และพยายามอย่าให้กระทบกระเทือนฝักที่ยังไม่สุก หรือให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้ฝักช้ำ

ระยะปลูกมะขามหวาน

คุณบุญเลิศ เล่าว่า ตนเองใช้ระยะปลูก 8×8 เมตร 1 ไร่ จะปลูกมะขามหวานได้ 25 ต้น ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมกับมะขามหวาน เนื่องจากเป็นไม้ผลอายุยืน มีขนาดทรงพุ่มที่ใหญ่ แต่ก็สามารถตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงพุ่มได้ ซึ่งมะขามหวานพันธุ์บุญเลิศ นอกจากจะปลูกเพิ่มด้วยการขยายพันธุ์แบบทาบกิ่ง ส่วนหนึ่งก็เปลี่ยนยอดพันธุ์มะขามหวานต้นใหญ่ในสวนตัวเอง ซึ่งได้ผลดี สามารถให้ผลผลิตหลังเปลี่ยนยอดเพียง 3 ปีเท่านั้น นับว่าเป็นการย่นระยะเวลาได้มากทีเดียว หากบางท่านที่มีต้นมะขามเปรี้ยว หรือ ต้นมะขามหวานขนาดใหญ่อยู่แล้ว ก็สามารถเปลี่ยนยอดมะขามหวานพันธุ์ใหม่ได้

สำหรับฤดูปลูกควรจะปลูกต้นฤดูฝน เพราะเมื่อปลูกเสร็จแล้วต้นมะขามที่ยังเล็กอยู่จะได้รับน้ำฝนสามารถตั้งตัวได้ดีก่อนจะเข้าถึงฤดูแล้ง ต้นมะขามที่ปลูกใหม่ควรจะผูกยึดกับหลัก เพื่อให้ต้นมะขามขึ้นตรงไม่โค่นล้ม เนื่องจากลมแรงก่อนจะปลูก หากปลูกด้วยกิ่งทาบจำเป็นต้องตรวจดูก่อนว่าแกะเอาเชือกฟางหรือพลาสติกตรงรอยต่อออกแล้ว ถ้าทิ้งไว้จะทำให้แคระแกร็นหรือคอดรัดเนื้อไม้จนต้นมะขามจะตายได้

ตัดแต่งกิ่งต้นมะขามหวานมีไม่มากนัก

คุณบุญเลิศ เล่าว่า ถ้าต้นมะขามหวานที่ปลูกต้นยังเล็กอยู่จะปล่อยให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ จะตัดแต่งกิ่งที่โคนต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นิยมตัดให้มีลำต้นโคนเดียว โดยทั่วไปจะนิยมไว้โคนต้นสูง ประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วให้แตกกิ่งแขนง 4 กิ่ง และบังคับกิ่งแขนงแตกเป็นแขนงย่อยไปเรื่อยๆ จนได้ทรงพุ่มเตี้ย เมื่อมะขามหวานให้ผลแล้วการตัดแต่งกิ่งก็ทำไม่มากเช่นกัน ส่วนมากแล้วจะตัดแต่งกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่ถูกโรคแมลงทำลาย กิ่งฉีกหัก กิ่งที่แตกออกไขว้กันจนแน่นทึบ การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง จะช่วยให้ออกดอกติดฝักกระจายทั่วถึง ช่วยให้มีคุณภาพดี และลดปัญหาเรื่องการหักของกิ่งเมื่อฝักโตมากขึ้น

นิสัยของมะขามหวานนั้นเหมือนกันทุกสายพันธุ์

คุณบุญเลิศ อธิบายว่า มะขามหวานเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุยืน แผ่กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มทรงกลม ลำต้นเหนียวหักโคนยาก และรากลึก ทนแล้ง เป็นไม้ผลกึ่งเขียวตลอดปี แต่จะค่อยๆ สลัดใบแก่ร่วงในฤดูร้อน ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี พร้อมกันนั้นก็จะผลิใบใหม่ขึ้นมาแทน เมื่อใบเริ่มแก่ก็จะออกดอก คือประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม ติดฝักอ่อนพอมองเห็นได้ราวๆ ปลายเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และฝักจะแก่เก็บได้ประมาณปลายเดือนธันวาคม-มีนาคม ซึ่งจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสายพันธุ์มะขามหวาน ปริมาณของฝน และความชื้นประกอบกันไปในแต่ละปี

การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูมะขามหวาน

แมลงศัตรูมะขามที่สำคัญและทำความเสียหายให้แก่มะขามหวาน เช่น แมลงนูน หรือ แมลงปีกแข็ง กัดกินใบอ่อนและดอก จะระบาดในระยะมะขามผลิใบอ่อนและออกดอก แมลงจะทำลายในตอนเย็นหรือกลางคืน ควรใช้ยาเซฟวิน 85 พ่นขณะที่มีการระบาด ควรพ่นยาในตอนเย็นให้ถูกตัวแมลง และพ่นยาป้องกันไว้ทุกเดือน

หนอนคืบสีเทา เป็นศัตรูสำคัญที่ทำความเสียหายให้แก่สวนมะขาม ตัวหนอนจะระบาดในช่วงฤดูฝนระยะมะขามกำลังผลิใบจวนแก่และกำลังออกดอกถึงติดฝักอ่อน หนอนจะอยู่ใต้ใบ กัดกินใบ ดอก และฝักอ่อน ทั้งกลางวันและกลางคืน และจะชักใยทิ้งตัวลงเมื่อได้รับความกระเทือน ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด เช่น สารอะบาแม็กติน (เช่น โกลแจ็กซ์) หรือสารไซเพอร์เมทริน (เช่น โกลน็อค 35%) ควรพ่นยาป้องกันไว้เมื่อถึงระยะการระบาด

หนอนเจาะฝัก จะเข้าทำลายโดยเจาะฝักมะขาม ตั้งแต่ฝักเริ่มอายุ 2 เดือน ขึ้นไป ทำให้ฝักเสียหายมาก หนอนเจาะมะขาม เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บนฝักมะขามตั้งแต่ยังเป็นฝักอ่อนจนถึงฝักสุก วางไข่ตามรอยหักหรือแตกมากกว่าฝักปกติ เมื่อตัวพัฒนาเป็นตัวหนอน ถ้าเป็นฝักอ่อนจะทำให้ฝักลีบ ส่วนฝักมะขามแก่จะกัดกินเนื้ออ่อนภายในและถ่ายมูลออกมาเป็นขุยอยู่บนฝักมะขาม
การป้องกันกำจัด หมั่นสำรวจและเก็บฝักมะขามที่ถูกทำลายทิ้ง หากพบการระบาด พ่นด้วยสารอะบาแม็กติน หรือสารไซเพอร์เมทริน

ฉีดพ่นฮอร์โมนแคลเซียม-โบรอน

ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆ ให้แคลเซียม-โบรอน 1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ ผสมติดดี

บำรุงดอกช่วงฝนชุก ให้เน้น “สังกะสี และแคลเซียม-โบรอน” โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้ว หรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก ให้แบบเดี่ยวๆ หรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆ ก็ได้ และจะฉีดพ่นแคลเซียม-โบรอน ทุกๆ 10-15 วัน

ช่วงดอกบาน ควรงดการฉีดพ่นทางใบ โดยเฉพาะช่วงกลางวัน (08.00-12.00 น.) เพราะอาจทำให้เกสรเปียกชื้นจนผสมไม่ติดได้

ฝักแก่จัด เซลล์ที่เปลือกจะห่างหรือมีช่องว่างจนอากาศผ่านเข้าได้ เมื่ออากาศเข้าได้ เชื้อราก็เข้าสู่ภายในผลได้ด้วยเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้เนื้อในเกิดเชื้อรา ได้รับความเสียหาย กรณีนี้แก้ไขด้วยวิธีบำรุงผลตั้งแต่ระยะผลขนาดกลางด้วยธาตุรอง ธาตุเสริม โดยเน้น แคลเซียม-โบรอน อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เซลล์ที่เปลือกอัดตัวกันแน่น หรือเปลือกแข็งเหนียวจนอากาศผ่านเข้าไปไม่ได้

มะขามหวานสายพันธุ์บุญเลิศ ตอนนี้ราคาขายรวมไม่คัดเกรด จำหน่ายกิโลกรัมละ 120-150 บาท แต่ถ้าคัดพิเศษ กิโลกรัมละ 300 บาท ได้การตอบรับที่ดีมาก มีลูกค้าเก่าที่เคยได้รับประทาน โทร.มาสั่งจองไว้ล่วงหน้าก็มี ซึ่งตอนนี้ที่สวนก็ขยายพื้นที่ปลูกสายพันธุ์บุญเลิศมากขึ้น เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่ในการบริโภคมะขามหวาน ส่วนหนึ่งก็เริ่มขยายพันธุ์จำหน่ายให้ผู้ที่สนใจมะขามหวานสายพันธุ์บุญเลิศ ราคาต้นละ 150-300 บาท และขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผลผลิตมีรองรับกับความต้องการมากขึ้น

อากาศร้อน มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราดำ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน เริ่มแรกจะพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เช่น ใบ กิ่ง ก้านดอก ช่อดอก ขั้วผล และร่องขน หากมีคราบราดำที่บนใบ จะส่งผลให้พืชรับแสงได้ไม่เพียงพอ กรณีพบราดำขึ้นปกคลุมช่อดอก จะทำให้ไม่สามารถผสมเกสรได้ และมีดอกร่วง ถ้ามีราดำขึ้นปกคลุมผล จะทำให้ผิวผลไม่สวย ผลดูสกปรก จำหน่ายไม่ได้ราคา

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราดำ หากพบโรคให้เกษตรกรพ่นด้วยน้ำเปล่าล้างคราบราดำที่ติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นสะสม ไม่ให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค และทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปากดูด หากพบเพลี้ยแป้ง ให้พ่นด้วยสารกำจัดแมลงคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หลีกเลี่ยงการพ่นสารในช่วงที่ดอกเงาะบานหรือเริ่มติดผลอ่อน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแมลงช่วยผสมเกสร

นอกจากนี้ มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูดขับถ่ายไว้ในช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง โดยเพลี้ยแป้งบางชนิดอาจอาศัยอยู่ในดินบริเวณโคนต้นพืชหรือรากวัชพืช ซึ่งมีมดเป็นตัวพาหนะช่วยเคลื่อนย้ายตัวอ่อนของแมลงนำพาไปยังส่วนต่างๆ ของพืช ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งเงาะเพื่อลดปริมาณมด จากนั้น ให้ใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น เพื่อป้องกันมดและเพลี้ยแป้งที่อาศัยอยู่ในดินไต่ขึ้นมาบนต้นเงาะ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

ชาวบ้านที่อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 และเขียวเสวย เป็นการปลูกมะม่วงนอกฤดูที่ยึดถือเกณฑ์ตามมาตรฐานอินทรีย์ด้วยการรวมกลุ่มปลูกแปลงใหญ่เพื่อส่งออกเป็นหลัก

แม้ที่ผ่านมาพวกเขาจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งจนทำให้มะม่วงยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความมุ่งมั่น ตลอดจนได้รับความช่วยเหลือจากภาคราชการ จึงทำให้ชาวบ้านสามโก้สามารถพัฒนาคุณภาพมะม่วงจนกลับมาเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศได้อีกครั้ง

คุณสุนทร สมาธิมงคล บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 1 ตำบลมงคลธรรมนิมิต อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ประธานศูนย์เรียนรู้กลุ่มมะม่วงส่งออกตำบลธรรมนิมิต ได้รับแต่งตั้งเป็นปราชญ์ชาวบ้าน แล้วยังพ่วงตำแหน่งเกษตรกรดีเด่น ปี 2552 พร้อมชักชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกันปลูกมะม่วงคุณภาพส่งออกตามมาตรฐาน

คุณสุนทร เล่าว่า เดิมใช้พื้นที่ปลูกมะม่วง จำนวน 40 ไร่ เนื่องจากดูแลไม่ทั่วถึงแล้วทำให้มะม่วงได้คุณภาพไม่เพียงพอ จึงปรับลดเหลือเพียง 30 ไร่ ในปัจจุบัน ส่วนที่เหลือใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำนา

ลักษณะพื้นที่ปลูกมะม่วงในสวนของคุณสุนทรเป็นแบบยกร่อง ขนาดกว้าง 8 เมตร โดยปลูกระยะห่างต้น ประมาณ 4 คูณ 4 เมตร เน้นการปลูกต้นเตี้ย สามารถยืนทำงานได้อย่างสบาย เป็นสวนมะม่วงที่ได้มาตรฐานตามระบบการทำ GAP ด้วยการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดทุกขั้นตอน ตั้งแต่การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การดึงดอก รวมถึงการดูแลใส่ปุ๋ยบำรุงต้นในช่วงเวลาต่างๆ

การประสบปัญหาภัยแห้งแล้งที่ผ่านมา มีผลทำให้มะม่วงเขียวเสวยในสวนของคุณสุนทรตายไปเกือบ 20 ไร่ ทำให้ขณะนี้คุณสุนทรคงปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง กับน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 เพียง 2 พันธุ์ เท่านั้น

ทำไม มะม่วงสามโก้จึงเน้นปลูกเพื่อส่งออก

จากการนำดินเหนียวที่ใช้ปลูกมะม่วงในพื้นที่ไปวิเคราะห์ พบว่ามีธาตุอาหารตัวกลางและตัวท้ายสูง นั่นหมายถึงช่วยให้มะม่วงมีความหวานหอมเท่านั้น แต่การมีตัวหน้าต่ำมาก ทำให้ผลมะม่วงมีขนาดเล็ก ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ด้วยเหตุนี้ทางเกษตรอำเภอสามโก้จึงได้แนะนำให้ปรับสูตรปุ๋ย ด้วยการเพิ่มปุ๋ยตัวหน้าเพื่อให้ดินเกิดความสมดุลมีธาตุอาหารครบ ช่วยสร้างคุณภาพมะม่วง หลังจากนั้น มะม่วงสามโก้จึงมีรสหวาน หอม ขนาดผลมาตรฐาน ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ

มะม่วงนอกฤดูของคุณสุนทร กำหนดไว้ปีละ 2 ครั้ง จะเริ่มดูแลมะม่วงหลังตัดแต่งกิ่งทรงพุ่ม โดยใส่ปุ๋ยสูตรตัวหน้าสูง อย่าง 24-7-7 หรือถ้าใส่สูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 จะต้องคลุกเคล้าด้วยยูเรีย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเร่งแตกใบอ่อน ถ้าเป็นต้นมะม่วงที่มีอายุสัก 10 ปีขึ้นไป จะใส่ปุ๋ยต้นละครึ่งกิโลกรัม แต่ต้องพิจารณาความสมบูรณ์ของมะม่วงแต่ละต้นควบคู่ไปด้วย ขณะเดียวกันในช่วงนั้นอย่าขาดน้ำ เนื่องจากน้ำมีความสำคัญมากในช่วงมะม่วงแตกใบอ่อน

หลังจากใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการแตกใบอ่อนแล้ว จะราดสารเพื่อบังคับเป็นมะม่วงนอกฤดู โดยใส่ทิ้งไว้ ประมาณ 45 วัน จากนั้นให้ใส่ปุ๋ย 8-24-24 เพื่อให้ต้นสะสมแป้งน้ำตาลแล้วเปลี่ยนมาเป็นดอก พร้อมไปกับการฉีดปุ๋ยทางใบ สูตร 5-12-34 ร่วมกับการให้ฮอร์โมนไข่ควบคู่ไปด้วย

มะม่วงส่งออก ควรเก็บผลสมบูรณ์ที่สุดไว้ แล้วต้องห่อ

คุณสุนทร บอกว่า การควบคุมคุณภาพมะม่วง ควรเริ่มตั้งแต่การเป็นช่อดอก อย่าให้มีโรค/แมลง มารบกวน พอมีผลอ่อนอายุสัก 40 วัน (ขนาดผลมะนาว) ต้องคัดเลือกผลเฉพาะที่สมบูรณ์ไว้ แล้วจัดการห่อผล อย่างถ้ามีผลอ่อนสัก 5 ผล จะตัดออกให้เหลือเพียง 2 ผล ก่อน ปล่อยให้โตอีกเล็กน้อยเพื่อดูว่ามีผลใดสมบูรณ์ที่สุด แล้วตัดให้เหลือผลเดียว เพื่อจัดการห่อ จะต้องพ่นสารกันแมลง/เชื้อรา ก่อนห่อ โดย น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 ควรห่อเมื่ออายุ 25-30 วัน และมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจะห่อผลเมื่อมีอายุ ประมาณ 35-40 วัน เนื่องจากลักษณะผิวมะม่วงมีความต่างกัน

ชี้ว่าปุ๋ยที่ใช้จะผสมผสานระหว่างเคมีกับอินทรีย์ ทั้งนี้เคมีจะใส่น้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เนื่องจากมีกฎเกณฑ์ควบคุมปริมาณการใส่ ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ที่จะใส่เป็นส่วนใหญ่จะผลิตไว้ใช้เองจากมูลสัตว์ แกลบดิบ และอื่นๆ ที่หาได้ในชุมชน โดยได้รับการแนะนำจากทางกรมพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ จำนวนปุ๋ยที่ใส่ทั้งหมด 6 ครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่ตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลผลิต ไม่เน้นใส่ปุ๋ยจำนวนมาก แต่จะใส่ให้บ่อยครั้งเพื่อให้มะม่วงได้กินตลอดเวลาในปริมาณที่เหมาะสม

มะม่วงจะใช้เวลาตั้งแต่ดอกเริ่มบานไปจนเก็บผลผลิต ประมาณ 95 วัน และมีคุณภาพความสมบูรณ์ ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับลูกค้าที่ต้องการสั่ง ว่าจะเอาประมาณเท่าไร ขณะเดียวกันก็จะหยุดใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นสารทุกชนิด แล้วจะดึงน้ำออกก่อนเก็บผลผลิต ประมาณ 1 เดือน หรือในช่วงที่ผลผลิตมีอายุสัก 60 วัน ทั้งนี้เพื่อไม่ต้องการให้มะม่วงฉ่ำน้ำจนเกิดการเน่าเสียภายหลัง

ดังนั้น จึงต้องบริหารจัดการน้ำให้ดี โดยเฉพาะในหน้าฝน เพราะช่วงใดที่ไม่ต้องการน้ำจะต้องสูบออกจากร่องเพื่อปล่อยให้น้ำจากธรรมชาติเข้าแทน จากแนวทางนี้จึงส่งผลให้มะม่วงสามโก้ในสวนคุณสุนทรมีสีสวย ผิวเรียบนวล ขนาดผลได้มาตรฐาน แล้วที่สำคัญมีรสอร่อยและหอม

สวนมะม่วงของคุณสุนทรเน้นผลิตมะม่วงนอกฤดูเป็นหลัก โดยจะทำปีละ 2 ครั้ง เก็บผลผลิตครั้งแรกเดือนสิงหาคม และครั้งที่สองราวเดือนมกราคม ทั้งนี้จะผลิตกันเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ เพราะต้องการเลี่ยงภาวะปัญหาธรรมชาติที่ไม่แน่นอน จึงคิดวางแผนปลูกนอกฤดูเท่านั้น อีกเหตุผลคือ การปล่อยให้ผลผลิตออกมาในช่วงฤดูมะม่วงจะสร้างปัญหาล้นตลาดจนราคาตกต่ำ

สำหรับผลผลิตที่ได้ต่อไร่ ประมาณ 1.2-1.5 ตัน เป็นมะม่วงที่คัดคุณภาพจริงเท่านั้น แต่ถ้าไม่คัดคุณภาพ คือไม่ได้เน้นส่งออก จะได้ผลผลิตต่อไร่เกือบ 2 ตัน

คุณสุนทร บอกว่า สมัยที่เริ่มทำตลาดครั้งแรก ส่งมะม่วงขายหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทาง อียู จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี หรือแม้แต่ส่งเขียวเสวยไปขายที่เวียดนาม ถือว่าช่วงนั้นตลาดต่างประเทศบูมมาก พอมาเจอปัญหาภัยแล้งหนักทำให้ผลผลิตเสียหาย

“ตอนนี้ถึงจะเหลือส่งออกไม่กี่ประเทศ ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะต้องการพัฒนาคุณภาพให้สมบูรณ์ จะไม่เน้นปริมาณ ฉะนั้น จึงไม่ได้ตั้งเป้าว่าแต่ละต้นต้องให้ผลผลิตสัก 40-50 กิโลกรัม เพียงแต่ต้องการพัฒนาคุณภาพผลให้สมบูรณ์มากที่สุด เพื่อเน้นส่งออกเพียงอย่างเดียว”

เจ้าของสวนมะม่วงรายนี้ชี้ว่า การทำมะม่วงส่งออกถึงแม้จะยุ่งยากและมีความพิถีพิถัน แต่เมื่อมองถึงราคาขายที่สูงแล้ว ถือว่าคุ้มค่ามากกับการทุ่มเท ทั้งนี้ยังบอกว่าคงไม่เกินความพยายามของเกษตรกรไทย เพราะไม่ว่าจะปลูกอะไร ถ้าตั้งใจทำจริงจังแล้วต้องสำเร็จอย่างดี จริงอยู่ตอนเริ่มใหม่จะคิดว่ายากเพราะยังไม่ชิน แต่ภายหลังที่ทำบ่อยๆ จะเกิดความชินและคล่องตัวจนเป็นความชำนาญ

ปัจจุบัน สมาชิกในกลุ่มมี จำนวน 56 ราย มีพื้นที่ปลูกมะม่วงจำนวนกว่า 500 ไร่ แต่ละรายจะมีพื้นที่ตั้งแต่ 10 ไร่ ไปจนถึง 100 ไร่ อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านเหล่านี้มีอาชีพเดิมด้วยการทำนา แล้วระยะหลังแบ่งพื้นที่มาปลูกมะม่วง หรือบางรายทำแบบผสมผสานที่ปลูกมะม่วงกับไม้ผลและพืชผักชนิดอื่นด้วย

ย้ำ…มะม่วงส่งออก ต้องผลิตแบบการรับรอง มาตรฐาน GAP เท่านั้น

ประธานกลุ่มฯ บอกว่า สมัคร Royal Online วิธีการทำให้สมาชิกเครือข่ายสามารถปลูกมะม่วงได้อย่างมีคุณภาพแล้วเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยจะต้องให้ทุกคนเข้าร่วมการอบรมอย่างเข้มข้น พร้อมกับเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับเรื่องการวางแผนปลูก การจดบันทึก การทำปุ๋ยอินทรีย์ การดูแลบำรุงต้น การใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง ไปจนถึงการเก็บผลผลิต เพราะขั้นตอนและวิธีการเหล่านี้จะนำไปสู่การปลูกมะม่วงแบบการรับรองมาตรฐาน GAP จึงกำหนดเป็นแปลงเรียนรู้ตามระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ “มะม่วง” จังหวัดอ่างทอง ในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงส่งออก

คุณสุนทร บอกว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ในตอนนี้เด็กรุ่นใหม่เข้ามาทำเกษตรกรรมกันเป็นจำนวนมาก ทั้งพืชไร่ พืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ เนื่องจากคนวัยนี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวงการเกษตรกรรมให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับหลายประเทศในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มได้เปิดอบรมให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปที่สนใจ เกี่ยวกับกระบวนการปลูกมะม่วงที่มีคุณภาพส่งออก โดยใช้เวลาอบรม 3 วัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุนทร สมาธิมงคล โทรศัพท์ (080) 107-8499

ทางด้าน คุณถาวร แก้วขาว เกษตรอำเภอสามโก้ กล่าวว่า การส่งเสริมความรู้ด้านเกษตรเพื่อรองรับการพัฒนาคุณภาพสู่เกษตรแปลงใหญ่ ได้จัดให้มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

ลดต้นทุน
เพิ่มผลผลิต
สร้างคุณภาพ
การบริหารจัดการ และ
การตลาด
โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มผู้ที่ปลูกอยู่แล้ว กับกลุ่มที่เริ่มปลูก เพราะฉะนั้นจะใช้แนวทางให้กลุ่มแรกที่มีประสบการณ์อยู่แล้วเป็นพี่เลี้ยงให้กับกลุ่มสอง