ปัจจุบันในพื้นที่อำเภอจะนะ มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูก

จะนะไว้ทั้งสิ้น 65 ราย คิดเป็นพื้นที่ 162 ไร่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เน้นปลูกส้มจุกจะนะปลอดสารเคมี แต่ยังพบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง รวมถึงปัญหาแมลง ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงอนุมัติงบประมาณ 200,000 บาท สำหรับขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ถุงห่อส้มจุกป้องกันแมลง ทั้งนี้ ส้มจุกจะนะเป็นผลไม้โบราณที่หารับประทานได้ยาก และมีพื้นที่ปลูกน้อย อีกทั้งรสชาติของส้มจุกที่ปลูกในพื้นที่อำเภอจะนะยังมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ทำให้สำนักงานเกษตรอำเภอ ร่วมกับ จังหวัด ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา

ความพิเศษของ “ส้มจุกจะนะ” คือ ผิวส้มมีกลิ่นหอม ผลสุกจะหวานอมเปรี้ยว ไม่หวานจัด สุกจัดด้านในผลจะกลวง ด้านบนของผลเป็นจุกขึ้นไป จึงเรียกตามลักษณะว่า ส้มจุก

คุณดนกอนี เหลาะหมาน เจ้าของสวนส้มจุกจะนะที่เข้าถึงง่ายที่สุด ให้เราเรียกเขาด้วยความสนิทสนมว่า “บังนี” มีสวนส้มจุกอยู่ที่หมู่ 7 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

บังนี มีภูมิลำเนาเป็นชาวอำเภอจะนะ เติบโตมาพร้อมๆ กับต้นส้มจุกที่เขาบอกว่า เห็นมีรายรอบบ้าน ทั้งบ้านตนเอง บ้านญาติ และละแวกใกล้เคียง ขึ้นในลักษณะไม่ใช่สวน แต่เป็นต้นไม้ที่มีไว้ประดับและเก็บผลกินเป็นผลไม้ข้างจานข้าว หลังอิ่มจากมื้อหลัก

บังนี เรียนจบจาก สาขาพืชศาสตร์ (พืชสวน) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพราะรักในการทำสวนมาตั้งแต่เด็ก แต่หลังเรียนจบก็ทำงานตามสาขาที่เรียนมาในบริษัทเอกชน กระทั่งมีเหตุให้ต้องกลับมาอยู่บ้าน ก็ยังทำงานบริษัทเอกชนใกล้บ้าน ส่วนความสนใจด้านการทำสวนที่ยังมีอยู่ก็ยังไม่ทิ้ง

“ภาพที่มีเด็กวิ่งขายส้มจุกจะนะ ร้อยด้วยเส้นลวด หิ้วขายตามสถานรถไฟจะนะ เป็นภาพที่ติดตา อยากให้มีแบบนี้อีก เลยคิดว่าวันหนึ่งผมจะปลูกส้มและทำแบบนั้นบ้าง”

ปี 2544 บังนี เริ่มคิดจริงจังกับการทำสวน และส้มจุกเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจ พื้นที่เพียง 1 ไร่เศษ บังนี ปรับให้เป็นสวนส้มจุกทั้งหมด ปลูกแบบยกร่อง ระยะห่าง 5×5 เมตร ซึ่งระยะที่เหมาะจริงควรเป็น 5×6 เมตร ติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ หากผู้ปลูกไม่ได้ยกร่อง ก็ควรพูนโคกให้กับต้น เพื่อการระบายน้ำที่ดี เพราะส้มจุก เป็นพืชที่ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบแฉะ ดังนั้น หากน้ำมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรครากเน่าหรือโคนเน่าได้

พื้นที่ 1 ไร่เศษ ของบังนี ปลูกส้มจุกได้มากถึง 50 ต้น

ในสวนที่ดูแลใกล้ชิด เพียง 4-5 ปีก็เริ่มติดผล

แต่ระยะแรกสำหรับบังนี ดูเหมือนจะไม่ได้ผล ทำให้บังนีเริ่มท้อ และนึกถึงเหตุที่คนไม่นิยมปลูกส้มจุกในพื้นที่ ว่าเป็นเพราะการดูแลที่ยุ่งยากและการเอาใจใส่ที่ใกล้ชิด หากปล่อยปละละเลยจะได้ผลผลิตส้มจุกที่ไม่มีคุณภาพ แต่ด้วยใจรักของบังนีที่มีต่อการทำสวนส้มจุก ทำให้สวนส้มจุกไม่ได้ถูกปรับไปปลูกพืชชนิดอื่น และหมั่นดูแลอย่างใกล้ชิดจนส้มจุกให้ผลผลิตออกจำหน่ายได้

“น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกส้ม แม้ส้มจะชอบน้ำเยอะ แต่ก็ไม่ควรให้แฉะจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาโรคตามมา ช่วงที่ฝนตกอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องรดน้ำเลย ให้สังเกตจากใบ หากใบเหี่ยว ม้วน งอ หมายถึง ขาดน้ำ ควรให้น้ำจนสภาพใบสดชื่น หรือดูจากสภาพดินมีความชุ่มชื้นก็เพียงพอแล้ว”

การดูแลสวนส้มจุกโดยบังนี เน้นการปลูกแบบปลอดสารเคมี จึงใช้ปุ๋ยคอก และ ปุ๋ยชีวภาพ เป็นตัวเสริม

ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยมูลไก่ ก่อนนำมาใช้ต้องนำมูลไก่ไปหมักก่อนจึงนำมาใช้ ส่วนมูลวัวนำมาใช้ได้ทันที การใส่ปุ๋ยควรให้ช่วงก่อนติดดอก ประมาณเดือนมกราคมของทุกปี จากนั้นงดให้น้ำ ภายใน 60 วัน จะเริ่มแตกยอดใหม่และติดดอก หลังติดดอกประมาณ 30 วัน จะเริ่มติดผล

การติดผลของส้มจุก จะติดช่อละ 2-3 ผล

หลังออกดอกประมาณ 8 เดือน เก็บผลจำหน่ายได้

เมื่อสุกจัด ตรงกลางจะกลวง
แมลงและหนอนเจาะผล มักจะเจาะผลก่อนผลสุก ประมาณ 60 วัน ดังนั้น การห่อควรเริ่มตั้งแต่ผลส้มจุกขนาดเท่าผลมะนาว ใช้ถุงกระดาษห่อ หรือจะใช้โฟมก็ได้ ไม่ต่างกัน เพราะแม้จะห่อผลไว้ ก็ไม่สามารถป้องกันแมลงเจาะผลได้ 100 เปอร์เซ็นต์

“แมลงเจาะผล เป็นแมลงปีกแข็งคล้ายบุ้ง จะเจาะเข้าไปในผล ดูดน้ำเลี้ยงในผลและทำลายผล ภายใน 15-20 วัน ผลจะหลุดจากขั้ว ร่วงทิ้ง การกำจัดใช้สมุนไพรฉีดพ่น ช่วยไล่แมลงได้เช่นกัน”

การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บผลผลิตเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่สำหรับบังนี มีเวลามากบ้างน้อยบ้าง จึงตัดแต่งบ้างและปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องผิด

การขยายพันธุ์ส้มจุก ทำได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และ การตอนกิ่ง ซึ่งทั้ง 2 วิธี แตกต่างกันเพียงแค่ การปลูกด้วยการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ช้ากว่าเท่านั้น

ต่อข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดจึงมีชาวสวนปลูกส้มจุกไม่มากนัก บังนี บอกว่า น่าจะเป็นเพราะการดูแลที่ต้องใส่ใจในรายละเอียด มีหลายรายที่คิดปลูก แต่ไม่นานก็ล้มเลิก ต้องมีใจรักการทำสวนผลไม้จริงๆ จึงจะอยู่ได้ โดยเฉพาะเมื่อสำนักงานเกษตรอำเภอ ต้องการให้การปลูกส้มจุกปลอดสารเคมี จึงเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้งดใช้สารเคมี แต่เมื่อเกิดโรคและแมลงเข้าทำลาย ชาวสวนส่วนใหญ่ไม่อดทน เพราะเห็นว่าการใช้สารเคมีทำให้ผลผลิตอยู่รอดจากโรคและแมลง ทำให้หลายรายเปลี่ยนปลูกพืชชนิดอื่น เหลือเพียงไม่กี่สิบรายที่ปลูกส้มจุกโดยไม่ใช้สารเคมี

นับจากปีที่เริ่มปลูกมาถึงปัจจุบัน บังนีทำสวนส้มจุกมานาน 16 ปีแล้ว เมื่อได้ผลผลิตก็จำหน่ายให้กับผู้สนใจ เข้ามาซื้อถึงสวนในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปี แทบไม่เหลือพอจะนำไปร้อยเส้นลวดเดินขายที่สถานีรถไฟจะนะ ตามที่บังนีฝัน ส่วนใหญ่จะถูกจับจองไว้ตั้งแต่เริ่มติดผล และมีมากจนต้องรอคิวกันทีเดียว

“ปี 2558 ผลผลิตได้เยอะมาก มีพ่อค้าคนกลางมารับถึงสวน ส่งไปขายที่มาเลเซีย ก็ได้รับการตอบรับดี เพราะส้มจุกเป็นผลไม้ที่รูปทรงสวย เปลือกมีกลิ่นหอม ทั้งยังถือว่าส้มจุกเป็นผลไม้มงคล นำไปไหว้เจ้าหรือเทพมงคลจะดี ที่ผ่านมาเคยได้ปริมาณผลผลิตมากถึงตันกว่าๆ ต่อพื้นที่ไร่เศษที่ปลูก”

ทุกปี ส้มจุกที่สวนบังนี ถูกจองล่วงหน้าไว้เรียบร้อย ทำให้บังนี เริ่มขยายพื้นที่ปลูก โดยลงปลูกไปแล้วแต่ยังไม่ถึงอายุให้ผลผลิต อีกเกือบ 3 ไร่ แต่ก็ปลูกลองกอง ทุเรียน มังคุด และเงาะร่วมด้วย

ความพิเศษที่มั่นใจได้ว่า สวนส้มจุกของบังนี มีให้ได้มากกว่าคุณภาพ คือ ปลอดสารพิษ และดูแลโดยยึดธรรมชาติเป็นตัวหลัก และมั่นใจได้ว่าเป็นส้มจุกจะนะโดยคนอำเภอจะนะ 100 เปอร์เซ็นต์

ท่านใดสนใจศึกษาวิธีการปลูก การดูแล ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณดนกอนี เหลาะหมาน โทรศัพท์ 098-671-4066 หรือเข้าไปชมถึงสวน ที่หมู่ 7 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

พื้นที่จังหวัดชลบุรี เดิมเป็นแหล่งใหญ่หนึ่งที่มีเกษตรกรทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง เหตุผลจากการขยายตัวของสาธารณูปโภคที่เจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง

แม้พื้นที่ปลูกจะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังมีสวนมะพร้าวที่ดีหลงเหลืออยู่ ปลายปี 2559 ที่ผ่านมา สวนมะพร้าวจำนวนหนึ่งถูกทำลายจากการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวอย่างรุนแรง ทำให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรต้องออกมารณรงค์ให้เลี้ยงแตนเบียน เพื่อปล่อยเข้าทำลายหนอนหัวดำมะพร้าว

ถามถึงสวนมะพร้าวน้ำหอม ในพื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการยืนยันจากคุณบุญลือ คงสูงเนิน เกษตรอำเภอบางละมุง ว่า เหลืออยู่เพียง 2 สวนเท่านั้น ที่มีคุณภาพ

สวนคุณประวิทย์ ประกอบธรรม ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นสวนหนึ่งที่ขึ้นชื่อได้ว่า ผลิตมะพร้าวน้ำหอมได้คุณภาพ

ลุงประวิทย์ มีพื้นที่สวนรวมกับพื้นที่บ้าน 10 ไร่ และมีพื้นที่สวนมะพร้าว ตั้งอยู่ถัดไปอีกกว่า 10 ไร่ เป็นแปลงที่ไม่ติดกัน แต่ทุกแปลงปลูกมะพร้าวเป็นผลไม้หลักสร้างรายได้ ส่วนผลไม้ชนิดอื่นปลูกไว้รับประทาน

“ผมเป็นลูกชาวสวนโดยแท้ พ่อแม่ก็ทำสวนมะพร้าวมาก่อน มาซื้อที่ตรงนี้ 10 ไร่ ก็เริ่มปลูกมะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน อย่างมะพร้าวน้ำหอม คือ หอมใบเตย ถ้ามะพร้าวน้ำหวาน ก็จะหวานธรรมชาติแบบพันธุ์โบราณ พวกหมูสีหรือนกคุ่ม”

พื้นที่สวนเกือบ 20 ไร่ มีมะพร้าวทั้งหมดประมาณ 200 ต้น

เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คุณประวิทย์ นำมะพร้าวน้ำหอมจากสวนส่งไปประกวดความหวาน ผลที่ได้คือ มะพร้าวน้ำหอมของสวนได้รับรางวัลมะพร้าวน้ำหวานที่สุดระดับภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และฉะเชิงเทรา) ภายใต้รางวัลชนะเลิศ การประกวดมะพร้าวน้ำหอม ในการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ซึ่งเป็นกำลังใจอย่างดีให้กับชาวสวนเก่าอย่างคุณประวิทย์

ที่ผ่านมามะพร้าวแกง ปลูกระยะห่าง 10×10 เมตร ทำให้มีระยะห่างระหว่างต้นมาก คุณประวิทย์ จึงปลูกเสริมด้วยมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวน้ำหวาน แทรกระหว่างกลาง ทำให้ปัจจุบันมีมะพร้าวทั้งที่ให้ผลผลิตแล้วเกินกว่า 30 ปี ไล่ลำดับปีลงมาถึงมะพร้าวที่เพิ่งปลูก ยังไม่ถึงอายุการให้ผลผลิต

การปลูกมะพร้าวหากพื้นที่ไม่ต่ำก็ไม่ต้องยกร่อง ขุดหลุมความลึกพอดีกับผลมะพร้าว พิจารณาดินปลูก หากพื้นที่ปลูกสมบูรณ์อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องรองก้นหลุม แต่ถ้าดินทรายควรใช้ขี้วัวรองก้นสักหน่อย แต่ละหลุมปลูกควรห่าง 5X5 เมตร เมื่อต้นมะพร้าวโต ใบมะพร้าวจะจรดถึงกันพอดี หลังนำต้นลงปลูกกลบผลมะพร้าวไม่ต้องมิดมาก แต่เมื่อถากหญ้าหรือเก็บกวาดสวนก็ให้สุมไปที่โคนต้นมะพร้าว

น้ำ เป็นปัจจัยปลูกที่สำคัญยิ่งสำหรับการทำสวนมะพร้าว โชคดีที่สวนของคุณประวิทย์ ติดกับลำห้วยที่มีฝายทดน้ำอยู่ใกล้ ทำให้มีน้ำตลอดปี ในฤดูฝน เป็นที่รู้กันว่า ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ฤดูอื่นหากเห็นว่าดินเริ่มขาดน้ำ ก็นำถัง 200 ลิตร บรรทุกน้ำใส่ท้ายรถกระบะ รดสัปดาห์ละครั้ง แต่ละครั้งของการรด ควรรดให้ดินชุ่ม ซึ่งคุณประวิทย์ บอกว่า การรดน้ำแบบที่สวนคุณประวิทย์ทำ ไม่ได้เป็นวิธีมาตรฐาน หากต้องการให้ได้มาตรฐาน ควรติดสปริงเกลอร์หรือติดตั้งระบบน้ำหยด และควรเริ่มลงปลูกมะพร้าวราวเดือนมิถุนายน เพราะเป็นช่วงฤดูฝนของทุกปี

คุณอุไร ประกอบธรรม ภรรยาของคุณประวิทย์ ผู้มีประสบการณ์การทำสวนมะพร้าวมากพอกัน บอกว่า การใส่ปุ๋ยให้กับมะพร้าว จะเริ่มให้เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ควรให้ 4 ครั้งต่อปี ในระยะห่างของเวลาที่เท่ากัน ซึ่งบางสวนอาจจะใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ผลที่ตามมาอาจทำให้ผลมะพร้าวไม่สมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า มะพร้าวขาดคอ ยกเว้นในช่วงที่มะพร้าวยังไม่ติดผล ควรให้ปุ๋ยทุก 3 เดือน

การทำมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน ให้ได้คุณภาพดี คุณประวิทย์ บอกเทคนิคอย่างง่าย ว่า ไม่ควรซื้อปุ๋ยที่ผสมสูตรสำเร็จมาใช้ เพราะจะมีส่วนผสมของดินเปล่าที่ไม่มีประโยชน์ปนมามากถึง 3 กิโลกรัม แต่ใช้วิธีซื้อแม่ปุ๋ย ที่มีความเข้มข้นของธาตุแต่ละตัว นำมาผสมเพื่อให้ได้สูตรตามการใช้ประโยชน์ ต้นมะพร้าวจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใส่ปุ๋ย

“เราซื้อแม่ปุ๋ยมาเอง แล้วเอามาผสม ต้องการสูตรอะไรก็ผสมให้ได้อย่างนั้น ผมซื้อปุ๋ยสูตร 0-0-60, 18-24-0 และ 46-0-0 ใช้ 3 ตัวนี้มาผสมกันให้ได้ตามสูตรที่ต้องการ ซึ่งสูตรที่ต้องการไม่มีขายในท้องตลาดทั่วไปอยู่แล้ว ถ้าต้องการให้ต้นมะพร้าวเจริญเติบโตเร็ว ก็เน้นตัวหน้าสูง ถ้าต้องการให้ผลมะพร้าวหอมหวานก็เน้นไปที่ตัวหลังสูง เท่านั้นเอง”

โรคและแมลง เป็นเรื่องที่หนักใจที่สุด สำหรับชาวสวนมะพร้าว

คุณประวิทย์เองยังเอ่ยปากว่า ตั้งแต่ทำสวนมะพร้าวมานานหลายสิบปี ปัญหาที่พบและเป็นอุปสรรคมากที่สุด คือ ปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าว และ ด้วง

“ในอดีตไม่เคยมีปัญหาเหล่านี้ มะพร้าวปลูกทิ้ง ใส่ใจดูแลรดน้ำให้ปุ๋ยบ้าง ก็ได้ผลผลิตที่ดี แต่ปัจจุบันไม่ใช่ หากปลูกทิ้ง ไม่มีทางที่จะได้ผลผลิตที่ดีแน่นอน ซึ่งปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าวก็เพิ่งพบการระบาดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงด้วงแรดและด้วงงวงที่ทำลายมะพร้าวจนเสียหาย และเป็นปัญหาที่เกษตรกรไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดได้ประสบความสำเร็จ”

แต่วิธีที่สวนมะพร้าวคุณประวิทย์ทำ คือ 1.ปล่อยแตนเบียนให้ทำลายหนอนหัวดำมะพร้าว ซึ่งวิธีนี้ ใช้ได้ดีกับมะพร้าวต้นเตี้ย หรือต้นที่สูงไม่เกิน 10 เมตร

2.หมั่นสั่งเกตใบมะพร้าว หากพบว่าใบมีทางลายและเริ่มแห้ง ให้คลี่ใบมะพร้าวดู พบหนอนหัวดำมะพร้าวก็นำมาบี้ทิ้ง จากนั้นก็ตัดใบนำไปเผาทำลาย

3.ก่อไฟรมควันภายในสวนมะพร้าว ช่วยลดจำนวนหนอนหัวดำที่เข้ามาภายในสวนมะพร้าว

4.สำหรับต้นมะพร้าวสูงเกิน 10 เมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวแกง จำเป็นต้องฉีดสารเข้าที่ลำต้น ซึ่งวิธีนี้เลือกใช้เฉพาะต้นมะพร้าวที่อยู่ในแปลงถัดไปเท่านั้น

5.ทำเครื่องดักด้วง นำไปแขวนไว้กับต้นมะพร้าว โดยการใช้สารฟีโรโมนเป็นตัวล่อ

ทั้ง 5 วิธี ต้องทำร่วมกัน ไม่สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งได้ เพราะจะทำให้การป้องกันและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวและด้วง ไม่ได้ประสิทธิภาพ คุณประวิทย์ บอกว่า การใช้สารกำจัดแมลงจะใช้เฉพาะอีกำแปลงถัดไป ส่วนแปลงมะพร้าวที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับบริเวณบ้าน จะงดใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด เพราะต้องการอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสวนมะพร้าวธรรมชาติ ส่วนมะพร้าวบางต้นที่ถูกแมลงเข้าทำลาย หากใช้วิธีตามธรรมชาติในการป้องกันและกำจัดแล้วยังไม่ได้ผล ก็ยอมรับในปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ได้

“สวนนี้ ผมไม่ได้ปลูกแค่มะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน เท่านั้น ผมยังปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสี มะพร้าวนกคุ่ม เอาไว้อีกด้วย ซึ่งหากพบสายพันธุ์แปลกๆ ที่พอเก็บรักษาสายพันธุ์ไว้ได้ ก็จะนำมาปลูกไว้เป็นการรักษาพันธุ์” การเก็บผลจำหน่าย สำหรับมะพร้าวแกง จะเก็บเองและปอกเปลือกให้ มีพ่อค้ามารับจากสวน ในราคาลูกละ 20 บาท แต่ละรอบของการเก็บมะพร้าวแกง สามารถเก็บได้ครั้งละ 3,000-3,500 ลูก

มะพร้าวน้ำหอม และ มะพร้าวน้ำหวาน สามารถเก็บจำหน่ายได้ทุกวัน ในราคาลูกละ 15 บาท แต่ละวันเก็บได้ในปริมาณไม่เท่ากัน และไม่ว่าจะเก็บได้จำนวนเท่าไหร่ก็มีลูกค้ารับซื้อจากสวนไปหมด

ส่วนมะพร้าวชนิดอื่น เช่น มะพร้าวกะทิ ก็มีเก็บขายได้ประปราย ได้ราคาดี ผลเล็กราคา 30-40 บาท ผลใหญ่ราคา 80 บาท รวมถึงมะพร้าวทึนทึกที่ขายได้ทุกครั้งที่เก็บ

สวนมะพร้าวคุณประวิทย์ ยินดีต้อนรับผู้มาเยือนทุกทิศ หรือ ต้องการสอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ก็ยินดี ติดต่อคุณประวิทย์ ประกอบธรรม ชะอมเป็นพืชผักพื้นบ้านที่ให้ วิตามินเอสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ โดย ยอดชะอม 100 กรัม ให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี่ เส้นใย 5.7 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม

ชะอมที่ปลูกกัน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชะอมมีหนาม กับชะอมไม่มีหนาม หรือ ชะอมไร้หนาม

การขยายพันธุ์ นิยมใช้วิธีการตอนหรือตัดกิ่งไปปักชำ

การขยายพันธุ์และการปลูกชะอม เลือกกิ่งชะอมที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ตัดเป็นท่อนยาวระหว่าง 25-30 เซนติเมตร ชำลงในถุงเพาะชำ วัสดุเพาะชำประกอดด้วย ดินร่วน 3 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน

จากนั้นฝังท่อนพันธุ์ลงในวัสดุเพาะ 1 ใน 3 ส่วน เอียงทำมุมกับพื้นดินเล็กน้อย จะช่วยให้แตกใบอ่อนเร็วขึ้น

เมื่อครบ 3 เดือน นำปลูกลงในแปลงปลูกได้ SBOBET ขุดหลุมกว้าง และลึก 30 เซนติเมตร เท่ากัน รองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าแห้ง หรือฟางข้าว เพื่อช่วยดูดซับความชื้นและระบายน้ำได้ดีในเวลาเดียวกัน ผสมดินที่ขุดจากหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 1 ปุ้งกี๋ ต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเกลี่ยกลับลงหลุม

จากนั้นฉีกถุงเพาะชำปลูกกิ่งพันธุ์ลงในหลุม กลบดินพอแน่น พูนดินให้สูงกว่าผิวดินเล็กน้อย ปักหลักไม้ผูกกับกิ่งพันธุ์ให้แน่นป้องกันลมโยก ระยะปลูกใช้ได้ทั้ง 1×1 เมตร หรือ 1×2 เมตร

บำรุงด้วยปุ๋ย สูตร 46-0-0 หรือสูตรเสมอ เป็นประจำทุกเดือนอัตราต้นละ 2-3 กำมือ และ ใส่ปุ๋ยคอกเก่าครึ่งปุ้งกี๋ ต่อต้น ทุก 3 เดือน พร้อมพรวนดินและรดน้ำตาม

การเก็บยอดควรใช้มีดที่คมและสะอาด ในฤดูฝนเก็บยอดอ่อนได้ทุกวัน ส่วนฤดูแล้งเก็บ 1 ครั้ง เว้นไปอีก 3 วัน จึงเก็บยอดได้อีก

เมื่อปลูกครบ 4 ปี ควรรื้อแปลงทิ้งและปลูกใหม่ จะให้ผลผลิตดีกว่า

ถ้าไม่อยากต้องซื้อชะอมจากตลาด …การปลูกชะอมไว้ในบ้านนับเป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจ… “ไผ่จีน” หรือไผ่ปักกิ่ง เป็นไผ่พื้นเมืองของประเทศจีนชนิดหนึ่ง ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอดีต ไผ่จีนปลูกได้ง่าย ให้หน่อดก หน่อมีรสชาติดี กรอบและกรุบ ไผ่จีนปักกิ่ง มีช่วงระยะเวลาในการให้หน่อนาน โดยจะเริ่มให้หน่อหลังจากหมดฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤศจิกายน เรียกว่า ให้หน่อเกือบตลอดปี จะพักตัวเพียงช่วงหนาวเท่านั้น ในขณะที่ไผ่ตงที่ปลูกในไทยจะให้หน่อในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนพฤศจิกายนเท่านั้น

ไผ่จีนมีลำไผ่ตรงสีสวย นิยมใช้กับงานก่อสร้าง เช่น บ้านเรือน รั้ว เก้าอี้ ทำฝาบ้านนั่งร้านก่อสร้าง บันได เฟอร์นิเจอร์ ชาวเขาในพื้นที่ภาคเหนือนิยมนำลำไผ่มาผ่าซีกทุบแตกทำพื้นบ้านยกสูง ใบไผ่ชนิดนี้มีขนและมีขนาดใหญ่ นิยมใช้ห่อขนม บ๊ะจ่าง ขนมตาล ฯลฯ ส่วนหน่อไม้ไผ่จีนมีคุณสมบัติเนื้ออ่อนนิ่มเหมาะสำหรับแปรรูปเป็นหน่อไม้ตากแห้ง ซึ่งทำได้แบบง่าย ๆ เริ่มจาก นำหน่ออ่อนไปปอกเปลือก ล้างน้ำจนสะอาดก่อนนำไปต้มน้ำเดือดจนเนื้อสุกหลังจากนั้นนำหน่อไม้ไปแช่น้ำเย็นทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ก่อนนำไปต้มต่ออีกด้วยไฟอ่อนๆ สัก 30 นาที หลังจากนั้น นำหน่อไปแช่น้ำเย็นประมาณหนึ่งคืน รุ่งขึ้นเทน้ำทิ้ง เอาหน่อขึ้นผ่าตามยาว เอาส่วนที่เป็นเยื่อขาวๆออก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นแว่นเฉียงๆบางๆ ใช้ปรุงอาหารในเมนูแกงจืด หรือผัดกับกุ้ง หมู ก็ได้รสชาติที่อร่อยไม่แพ้กัน

ผักหวานป่า ถือเป็นผักพื้นบ้านอีกชนิดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากรสชาติที่อร่อย ยังเป็นพืชพันธุ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นฤดูที่ราคาจำหน่ายจะสูงมาก

ทั้งนี้ มีเคล็ดลับการปลูกผักหวานป่า ที่จะทำให้ให้รอดตายและเจริญเติบโตเร็ว คือเริ่มจากการเตรียมหลุมปลูกและปรับปรุงดินปลูกให้ร่วนซุย นอกจากนี้ยังเตรียมต้นกล้าที่สมบูรณ์และกรีดถุงต้นกล้าลงหลุม ระวังอย่าให้ตุ้มดินแตกและ แปลงปลูกต้องมีพืชร่มเงาให้แสงแดดรำไร รวมถึงในช่วงช่วงแล้งปีที่ 1 และ 2 อย่าให้ต้นผักหวานป่าขาดน้ำและร่มเงา โดยเมื่อพ้นแล้งที่ 2 จะสังเกตเห็นต้นผักหวานป่าเติบโตได้เร็ว

การปลูก จะเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

ขุดหลุม ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ผสมวัสดุปลูกโดยใช้ดิน ปุ๋ยคอก แกลบดิบที่ย่อยสลายแล้ว อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วกลบลงในหลุมปลูก การเตรียมวัสดุปลูกที่ดีจะทำให้ต้นผักหวานป่าเจริญเติบโตได้เร็ว ระยะปลูกสามารถปลูกได้หลายระยะ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก ได้ตั้งแต่ 1×1 เมตร หรือ 1.5×1.5 เมตร ซึ่งเป็นการปลูกระยะชิดเพื่อเพิ่มจำนวนต้น ควรมีการตัดแต่งกิ่งไม่ให้ต้นสูงและสร้างทรงพุ่มให้เล็ก เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว หรือจะปลูกแซมพืชเติมในสวนก็ได้