ปัจจุบัน กลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย มีเกษตรกรสมาชิก

ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร จำนวน 38 ราย รวมถึงสร้างเกษตรกรต้นแบบในพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทุเรียน และสนับสนุนการแสดงเครื่องหมาย Q การสร้างเอกลักษณ์และเรื่องราว (Story) ของทุเรียนกลุ่มแปลงใหญ่ ทุเรียนท่ากุ่ม-เนินทราย

ในปีนี้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ตั้งเป้าขยายการรับรองมาตรฐาน GAP ในพื้นที่จังหวัดตราด ออกไป 4 ตำบล 2 อำเภอ ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลชำราก ตำบลวังกระแจะ ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราด และตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ มีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเข้าร่วมโครงการ 120 ราย พื้นที่ 1,295 ไร่ ปริมาณผลผลิต 2,700 ตัน มูลค่าผลผลิต 324 ล้านบาท

นอกจากนี้ มกอช. ได้สนับสนุนนำร่องการแสดงเครื่องหมาย Q จำนวน 100 ราย และเกษตรกรสนใจใช้ระบบ QR Trace รวมทั้งได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ DGTFarm.com เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในยุคโควิด-19 อีกด้วย

ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของ “สวนลุงชอบ” ที่ปลูกทั้งพืชไร่ สวนไม้ผลนานาชนิด รวมถึงเลี้ยงวัวเนื้อ บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ เรียกได้ว่าเป็นสวนรุ่นบุกเบิกมาหลายสิบปี ตั้งแต่รุ่นคุณตา ส่งไม้ต่อให้คุณพ่อ จนถึงตอนนี้ อยู่ในความดูแลของทายาทรุ่นที่ 3 นั่นคือ “คุณปั้น-ณัฐภัทร ชัยชนะสงคราม” เกษตรกรรุ่นใหม่ วัย 29 ปี ดีกรีได้รับรางวัล Young Smart Farmer ของจังหวัดนครราชสีมา คนหนุ่มไฟแรง กับภารกิจสุดท้าทาย ในการสานต่องานไร่ของครอบครัว

แม้จะอายุน้อย แต่ความรู้ที่มีไม่ใช่ย่อย คุณปั้นจบการศึกษาปริญญาตรี จากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรางวัล Young Smart Farmer ที่เขาได้รับก็สะท้อนการเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ และวิธีการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก แม้เจ้าตัวจะตั้งใจเรียนเกษตรเพื่อสานต่องานจากคุณตาและคุณพ่อ แต่กว่าจะได้รับการยอมรับจากครอบครัวก็ใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองถึง 2 ปี

ดึง ‘เทคโนโลยี’ ช่วยเพาะปลูก-ใส่ปุ๋ย
ลดต้นทุนงานไร่
หลังจากศึกษาจบ คุณปั้นก็นำวิชาความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัย บวกกับความสนใจส่วนตัว มาพัฒนาสวนลุงชอบให้มีระบบมากขึ้น จากสมัยคุณตา ที่ใช้คนงาน 100 กว่าคน ในการดูแลพื้นที่กว่า 500 ไร่ คุณปั้นนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างการบินโดรนเพื่อฉีดพ่นยา และเครื่องจักรอื่นๆ มาใช้ในการจัดการพื้นที่เพาะปลูก ใส่ปุ๋ย ทำให้สามารถควบคุมต้นทุน ประหยัดเวลา และลดแรงงานเหลือเพียง 6 คนเท่านั้น

“ผมปรับวิธีบริหารจัดการใหม่ คือใช้แรงงานคนให้น้อยลงและนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ในพื้นที่เพาะปลูก 500 ไร่ สมัยก่อนใช้คน 100 กว่าคน เพราะค่าแรงถูก แต่พอมารุ่นผมใช้แรงงานคนเพียง 6 คน หลักๆ จะมีผู้จัดการไร่ที่อยู่มาตั้งแต่รุ่นคุณตา เขาจะรู้ภาพรวมของไร่ ช่วงเวลาไหนจะต้องทำอะไร ส่วนผมจะลงลึกในรายละเอียด เช่น ฉีดยา ให้ปุ๋ย หาเทคนิคใหม่ๆ และอีก 4 คน เป็นรุ่นลูกหลานของคนงานตั้งแต่รุ่นตา ส่วนงานอื่นๆ ที่เหลือก็ใช้เครื่องมือมาช่วย เช่น ใช้รถช่วยปลูก ใส่ปุ๋ย หรือใช้โดรนบินเพื่อพ่นยา กำจัดหนอนและแมลง รวมถึงการเก็บเกี่ยวด้วย

“ที่ผมเปลี่ยนมาใช้โดรน เพราะสามารถฉีดได้ครอบคลุม 100% ซึ่งโดรนหนึ่งตัวสามารถบินฉีดยาได้ถึงวันละ 100 ไร่ และโดรนเข้าถึงพืชได้ทั่วถึงทุกต้น ทำให้ได้ผลเทียบเท่ากับใช้คนฉีด ซึ่งกรมวิชาการเกษตรก็ยืนยันข้อมูลที่ว่าคนกับโดรนประสิทธิภาพเท่ากัน แต่โดรนใช้เวลาน้อยกว่า ซึ่งนอกจากโดรนจะบินในไร่ผมได้แล้ว ผมยังรับจ้างบินโดรนให้กับเกษตรกรแถวนี้ด้วย”

“ผมอัพเดทความรู้ทางวิชาการกับเทคโนโลยีเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา บวกกับเรียนรู้ภูมิศาสตร์และสภาพพื้นที่จากภูมิปัญญาคนรุ่นก่อน เช่น เรารู้ว่าไร่นี้ฝนจะมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เราดูพยากรณ์อากาศของศูนย์นครราชสีมาไม่ได้ ต้องดูจากนครนายก และสระบุรี เพราะพื้นที่ของเราเป็นช่วงร่องฝน ซึ่งคนรุ่นก่อนรู้จากการสังเกต ขณะเดียวกันก็มีข้อมูลทางวิชาการที่ทันเหตุการณ์มาสนับสนุน ผมรู้ว่ามีเอลนีโญและฝนจะทิ้งช่วงแน่นอน ผมรู้เรื่องนี้ก่อนที่จะเข้าประเทศไทยเพราะอัพเดทข่าวสารอยู่ตลอด ก็เตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวนได้” ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งสวนลุงชอบ กล่าว

เมื่อถามว่าวิธีการเพาะปลูกแบบ Young Smart Farmer อย่างคุณปั้น มีความแตกต่างจากรุ่นคุณตาและคุณพ่อหรือไม่? คุณปั้นอธิบายสั้นๆ ว่า วิธีการเพาะปลูกแทบไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ วิธีลดต้นทุนด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ และใช้ข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนการเพาะปลูก เช่น ก่อนเพาะปลูกคุณปั้นจะนำดินที่ไร่ไปตรวจวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง มีการทดลองใส่ปุ๋ย ว่าช่วงไหนพืชสามารถดึงไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ คุณปั้น ยังมีแนวทางการทำงานของตัวเอง เช่น พยายามทดสอบการใช้ยาด้วยตัวเอง “ยกตัวอย่างเช่น ข้าวโพดที่มีหนอน ผมจะยังไม่ฉีดยาทันที รอให้หนอนกินจนเกือบจะเตียน ส่วนหนึ่งที่ยังไม่ฉีดเพราะต้องการยืดอายุข้าวโพด พอถึงจุดที่เราคิดว่าใช่ ก็ใช้โดรนฉีดพ่นทีเดียว ซึ่งทำแค่ 1-2 รอบ ก็เอาอยู่” คุณปั้น เผยเคล็ดลับ

“การตลาด” สิ่งสำคัญของการเกษตรยุคใหม่
เนื่องจากปัจจุบันในตลาดมีการแข่งขันสูง สิ่งสำคัญของการทำการเกษตรยุคใหม่จึงเป็นเรื่องของ ‘การตลาด’ สำหรับเรื่องนี้ คุณปั้น มองว่า เกษตรกรยุคนี้ต้องมองเรื่องการตลาดเป็นตัวนำ เพราะหากเพาะปลูกโดยไม่คำนึงถึงตลาดรองรับ มีความเสี่ยงสูงที่ผลผลิตจะล้นตลาดและราคาตกต่ำ ดังนั้น คุณปั้นจึงใช้แนวทางใหม่ ด้วยการหาตลาดก่อนเพาะปลูก เพื่อให้มั่นใจว่า ผลผลิตของสวนลุงชอบจะเป็นที่ต้องการและขายได้อย่างแน่นอน

เราต้องรู้ว่าความต้องการของตลาดคืออะไร ถ้าปลูกสิ่งที่ตลาดไม่ต้องการ ก็ขายไม่ได้ ยกตัวอย่างปีหน้าข้าวโพดขายเมล็ดอาจจะน้อยลงหรือราคาจะตกลง ผมก็จะทำข้าวโพดบดต้นสด ที่ปลูกเพื่อตัดทั้งต้นทั้งฝัก ทำข้าวโพดหมักเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ที่ได้ราคาดีกว่า จากนั้นผมลุยไปหาตลาดอื่นที่มีความต้องการสูงกว่า เข้าไปคุยกับแหล่งที่ต้องการรับซื้อ นำเสนอว่าเรามีพื้นที่และให้ผลผลิตได้เท่าไร โดยจะขอทดลองปลูกก่อน เช่น เขาบอกว่าพันธุ์ที่ต้องการ ให้ผลผลิตได้ไร่ละ 8 ตัน ผมก็กลับมาทดลองปลูก เริ่มก่อน 10 ไร่ ซึ่งสามารถเสียครึ่งหนึ่งก็ยังได้ไร่ละ 6,000 บาท ต้นทุน 5,500 บาท ต่อไร่ ผมจะคิดทุกอย่างเป็นต้นทุน ใช้ราคากลางทั้งหมด ถึงแม้จะค่าแรงตัวเอง ค่าเช่า หรืออุปกรณ์ รวมทุกอย่างอยู่ในต้นทุน ทำให้เราเห็นผลกำไรที่แท้จริง”

เทคนิคทำเกษตรผสมผสาน
แบบ Young Smart Farmer
จากสวนผลไม้ที่ปลูกรุ่นคุณตา รุ่นคุณพ่อก็เปลี่ยนมาทำพืชไร่ เพราะวงจรของไม้ผลราคาต่ำลง พืชอายุมาก และในขณะนั้นผลผลิตของพืชไร่ราคาดีกว่า ทายาทรุ่นที่ 3 คุณปั้นมารับช่วงต่องานไร่ จึงปรับวิธีการทำงานเล็กน้อย

“อย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 200 ไร่ รุ่นพ่อจะให้ฮอร์โมนเพื่อให้โต ฝักใหญ่ แต่การฉีดต้องใช้คนเข้าไป ต้องฉีดตั้งแต่ 1 ฟุต จนกระทั่งข้าวโพดออกดอกสูงเกินหัว วิธีนี้ทำแล้วได้ผลผลิตน้ำหนักเพิ่มมา 100- 200 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อมาคำนวณต้นทุนทุกอย่างแล้วไม่คุ้ม ผมเปลี่ยนเลย ไม่ฉีดฮอร์โมนแต่เน้นกระบวนการไถแปลงให้ดี พื้นดินที่ดี ใช้ปุ๋ยที่ดี คุมหญ้า การทำแบบนี้ของเราอาจเพิ่มต้นทุนบางส่วนในช่วงแรก แต่ลดค่าแรงงานและคุมต้นทุนได้ในระยะยาว”

“ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะมีช่วงเวลาในการปลูก คือ ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี เพราะเป็นช่วงที่ฝนตก เคล็ดลับการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลดี ผมใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-20-0 ใส่พร้อมกับเมล็ดตั้งแต่ตอนปลูกเลย ช่วยให้ต้นโตสวย แตกกอเร็ว และระบบรากดี นอกจากนี้ ยังมีรถฉีดสารควบคุมหญ้า โดยช่วงที่ปลูกข้าวโพดเราคุมหญ้าไว้ก่อน หลังจากข้าวโพดโตได้สักพัก หญ้าถึงจะงอกพอได้รับแสงน้อยก็โตไม่ทัน พอข้าวโพดอายุได้ 25-30 วัน เราใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 46-0-0 เพื่อบำรุงต้น พอต้นแข็งแรงก็ได้ฝักใหญ่ น้ำหนักดี กำไรงาม”

ส่วน แก้วมังกร ต้นงามและเนื้อหวานแสนอร่อยนั้น มีเคล็ดลับพิเศษ คุณปั้นเผยเทคนิคว่า จะเน้นใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกใส่ตอนตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 2 ใส่ตอนก่อนออกดอก และครั้งที่ 3 ใส่ตอนติดผล ปุ๋ยคอกจะช่วยให้ต้นโต แข็งแรง ช่วยบำรุงทุกส่วนของแก้วมังกร ที่สำคัญต้องใช้ปุ๋ยตรากระต่ายเพื่อให้พืชไร่งดงามเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะถ้าผลผลิตงดงามรายได้ก็ดีแน่นอน

เลือกปุ๋ยที่มั่นใจ ได้กำไรงาม
สิ่งที่ทำให้เกษตรกรหนุ่มดีกรี Young Smart Farmer มั่นใจในปุ๋ยตรากระต่าย ก็เพราะใช้มายาวนานตั้งแต่รุ่นพ่อ อีกทั้งเขาเคยทดลองใช้ของเจ้าอื่น แต่สุดท้ายก็กลับมาใช้ปุ๋ยตรากระต่ายเหมือนเดิม
“ผมเป็นคนชอบทดลอง เคยเปลี่ยนปุ๋ยมาบ้างเพราะอยากทดสอบเพื่อลดต้นทุนแต่ก็ผิดพลาด ซึ่งได้ผลออกมาไม่ดีอย่างที่คิด คำว่าลองของผมไม่ได้ใช้กับพื้นที่ทั้งหมด เราทำในพื้นที่ 10 ไร่ ลองเป็นแปลงๆ การลองแต่ละครั้งต้องใช้เวลา 4 เดือน เพื่อให้รู้ผลเปรียบเทียบจริงๆ เพราะถ้าจะเทียบกันธาตุอาหารไม่ต่างกันมาก แต่คุณสมบัติอื่นๆ เช่น การละลายของปุ๋ย ผมว่าปุ๋ยตรากระต่ายละลายได้ดีกว่า ทำให้พืชกินได้ดีกว่า” คุณปั้น กล่าวปิดท้าย

ความใฝ่ฝันของเกษตรกรยุคใหม่คือ การไม่เป็นหนี้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำน้อยแต่ได้มาก ซึ่งคุณปั้นเป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้ในการเกษตรจนได้ผลดี มีตลาดแน่นอน ลดต้นทุน ทุ่นแรงงาน รู้จักผสมผสานระหว่างภูมิปัญญารุ่นก่อน กับวิชาการสมัยใหม่ นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างถูกจังหวะ ก็จะประสบความสำเร็จได้

เพื่อนบ้านบอกสองผัวเมียปลูกทุเรียนบนดินทรายเป็นบ้า แต่เวลาผ่านไปไม่กี่ปี ต้องเปลี่ยนความคิด เมื่อทุเรียนออกผลสร้างรายได้ให้ปีละหลายแสนบาท ภาครัฐเข้าหนุนสร้างช่องทางทำกินให้ชาวบ้านในละแวกเดียวกัน

วันนี้ จะพาไปชมสวนทุเรียนที่เดียวในอีสาน หรือในประเทศก็ว่าได้ที่ปลูกต้นทุเรียนราชาแห่งผลไม้ในดินทราย โดยเริ่มแรก คุณสมัย หรือเพื่อนบ้านเรียก พ่อสมัย สายเสน อายุ 63 ปี เกษตรกรชาวนา หมู่บ้านโคกใหม่พัฒนา หมู่ ที่ 10 ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี เบื่ออาชีพทำนาปลูกข้าว ที่ยึดมาตั้งแต่รุ่นพ่อ รุ่นแม่ เพราะผืนนาเป็นนาโคก และพื้นดินยังเป็นดินทรายปนดินเหนียว ปีหนึ่งๆ ต้องรอฟ้าฝน เพื่อเอาน้ำมาปลูกข้าวได้เพียงปีละครั้ง และไม่มีความแน่นอนเรื่องผลผลิตข้าวด้วย

ในช่วงวัยหนุ่ม พ่อสมัย นอกจากทำนาปลูกข้าว ยังตระเวนไปรับจ้างเป็นคนงานตามสวนผลไม้แถวภาคใต้ มีครอบครัวก็กลับมาทำอาชีพขายรองเท้าตามตลาดนัดกับภรรยา และปลูกข้าวปีละครั้ง พอมีรายได้เลี้ยงครอบครัวและมีข้าวไว้กินในแต่ละปี

แต่เมื่ออายุสูงขึ้น ก็เริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมถอย การขับรถตระเวนไปขายรองเท้าตามตลาดนัดก็เริ่มมีอุปสรรค ตาฝ้าฟางกลัววันไหนเกิดพลาดท่ามีอุบัติเหตุขึ้น จะทำให้ครอบครัวเดือดร้อน ครั้นจะกลับไปทำนาปลูกข้าวแบบเดิมที่เก็บเกี่ยวได้เพียงปีละครั้ง ก็กลัวว่าเงินทุนที่เก็บหอมรอมริบมาทั้งชีวิตเพียง 2 แสนบาทเศษ ต้องหมดไปกับค่าจ้างไถนา ซื้อปุ๋ยใส่นาข้าวเหมือนที่ผ่านมา

จึงคิดปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบใหม่ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยแบ่งที่นาที่รับสืบทอดมากว่า 22 ไร่ ใช้ทำนา 12 ไร่ อีก 10 ไร่ ลุยปลูกพืชสมุนไพร พืชผักสวนครัว และผลไม้นานาชนิด ทั้งละมุด ลำไย สับปะรด ส้มเขียวหวาน เงาะ มะม่วง กล้วย รวมทั้งทุเรียน เพื่อให้มีรายได้เข้ามาตลอดทั้งปี

แต่การปลูกอะไรไม่สำคัญเท่าปลูกทุเรียน เพราะเป็นผลไม้ที่ปลูกยากในพื้นดินที่เป็นดินทราย โดยเริ่มแรกในปี 2553 ได้ซื้อพันธุ์ทุเรียนหมอนทอง จำนวน 20 ต้น มาทดลองปลูกลงในที่นาของตนเอง แต่ก็เอาประสบการณ์ความรู้สมัยหนุ่มๆ ที่ไปเป็นคนงานในสวนผลไม้ทางภาคใต้ ประยุกต์ปรับใช้กับดินทรายในที่นาของตนเอง

โดยขนเอาดินจากใต้สระน้ำที่มีตะกอนดินของดินเหนียวสะสมทับถมเป็นเวลานานและมีจำนวนมากมาผสมกับดินทรายบนที่นา จึงเอาพันธุ์ต้นทุเรียนลงปลูก ซึ่งการปลูกช่วงแรก ก็มีเพื่อนบ้านแวะเวียนเข้ามาดูการปลูกทุเรียนบนดินทรายด้วยความสมเพช บางรายก็เข้าขั้นว่าคุณสมัยเป็น “บ้า” ไปเลยทีเดียว เพราะนอกจากไม่เดินตามรอยทำนาข้าวเหมือนบรรพบุรุษ ยังเอาพันธุ์ผลไม้นานาชนิดมาปลูกแทนข้าว แล้วอย่างนี้ ชีวิตบั้นปลายคุณสมัยจะไปรอดหรือเปล่า

แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปกว่า 3-4 ปี ทุเรียน จำนวน 20 ต้น เริ่มให้ผลผลิต โดยมีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ยตั้งแต่ 3-5 กิโลกรัม มีเนื้อหอม หวาน กรอบ กลิ่นไม่ฉุน สามารถเก็บออกขายผสมกับผลไม้ชนิดอื่นๆ ด้วย
มาถึงวันนี้ พ่อสมัยก็ได้ขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนบนดินทรายจาก 20 ต้น เป็นเกือบ 300 ต้น และเก็บผลผลิตที่งอกเงยออกขายทุกปี แต่ด้วยพื้นที่ที่แห้งแล้ง แม้มีผลทุเรียนให้เก็บเกี่ยวได้เพียง 1 ใน 3 ในแต่ละปี แต่ก็ทำเงินให้กับพ่อสมัยปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 แสนบาท

ซึ่งไม่รวมถึงพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร และผลไม้อีกหลากชนิดที่มีอยู่ในสวน “ตายาย” ของคุณสมัยและคุณราตรี ผู้เป็นภรรยา ทุกวันนี้ สองตายายแค่นั่งๆ นอนๆ อยู่ในสวนของตัวเอง ก็มีคนเข้าไปจับจองขอซื้อผลผลิตที่หมุนเวียนออกตามฤดูกาล ไม่ต้องเหนื่อยยากไปขายรองเท้าตามตลาดนัดอีกแล้ว โดยเฉพาะช่วงนี้ที่มีโรคระบาดไวรัส โควิด-19 ก็ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อรายได้ของสองผัวเมียคู่นี้

แต่ก่อนจะไปเที่ยวชมสวน หรือเลือกซื้อผลผลิตหลากชนิด ก็ให้โทรศัพท์สอบถามล่วงหน้า ที่หมายเลข 081-062-6470 จะได้ไม่เสียเที่ยวกลับมามือเปล่า แต่สำหรับทุเรียน ผลหนักขนาด 4-5 กิโลกรัม ขณะนี้ ยังพอมีเหลือจากการจองให้ซื้อกลับไปกินได้ ราคาเพียงกิโลกรัมละ 150 บาท เท่านั้น ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ ต้องเข้าไปตามฤดูกาลจะได้ผลไม้ที่สดใหม่จากต้นเลยทีเดียว

ขณะที่ คุณชินวัต ทองปรีชา นายอำเภอสำโรง พร้อมเจ้าหน้าที่เกษตรที่เข้าเยี่ยมชมดูผลผลิตในสวนทุเรียนของพ่อสมัย กล่าวถึงผลสำเร็จของเกษตรกรที่มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจนประสบความสำเร็จในการสร้างรายได้ให้ครอบครัวมีชีวิตดีขึ้นว่า เป็นสวนทุเรียนเพียงแห่งเดียวของอำเภอในขณะนี้ ที่ปลูกบนดินทราย และเป็นทุเรียนที่มีลักษณะพิเศษต่างจากที่อื่นคือ เนื้อมีความหอม ออกรสหวาน แต่กลิ่นไม่ฉุน เนื้อแห้ง ราคาไม่แพง

ส่วนการต่อยอดขณะนี้ มีเกษตรกรรายอื่นที่อยู่ใกล้กับสวนพ่อสมัย และเห็นความสำเร็จได้เริ่มปลูกทุเรียนสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่ง คุณสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ให้เกษตรอำเภอเข้าสนับสนุน เพื่อเพิ่มช่องทางการประกอบอาชีพแก่เกษตรกรที่ประสบปัญหาการระบาดของโรคไวรัส โควิด-19 ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

เมื่อเร็วๆ นี้ เครือข่าย OTOP จังหวัดสงขลา และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลา ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ หมู่ที่ 2 ตำบลบางกล่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ของอำเภอบางกล่ำ โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางกล่ำ ได้ให้คำแนะนำในการพัฒนากลุ่มให้มีมาตรฐาน สามารถขยายการจำหน่ายให้ได้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น

วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวน ลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP กับอำเภอบางกล่ำ ในปี 2561 ได้พัฒนากลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนา ที่ผ่านมา อบต. บางกล่ำ ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่พรุนางตุง เนื้อที่ 900 ไร่ โดยปลูกต้นเสม็ดขาวเป็นจำนวนมาก จึงส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนเข้าไปใช้ประโยชน์ โดยวางรังเลี้ยงชันโรงและผึ้งโพรง ทำให้ได้น้ำผึ้งแท้จากธรรมชาติ 100% ออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนที่สนใจ เฉลี่ยเดือนละ 150 ขวด จำหน่ายผลผลิตในราคาขวดละ 600 บาท

ทางกลุ่มฯ ตั้งใจใช้เป็นชื่อ “อุง” และ “ญิงยวน” ซึ่งเป็นภาษาพื้นบ้านภาคใต้ เนื่องจาก คำว่า “อุง” แปลว่า “ชันโรง” และ “ญิงยวน” แปลว่า “ผึ้ง” นั่นเอง ปัจจุบัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้หลักจากการขายรังเลี้ยงชันโรง รังเลี้ยงผึ้งโพรง เสน่ห์ผึ้ง น้ำผึ้งชันโรง ผึ้งโพรง สบู่น้ำผึ้งชันโรง ขณะเดียวกันทางกลุ่มฯ มีจัดการศึกษาดูงานการเลี้ยง ล่อ ต่อ ขยาย ชันโรงและผึ้งโพรงให้แก่สมาชิกและผู้สนใจ

โดยทั่วไปการเลี้ยงผึ้งชันโรง มีต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะผึ้งชันโรงมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ แค่ลงทุนเรื่องอุปกรณ์การเลี้ยง และคอนผึ้งสำหรับเลี้ยงผึ้งชันโรง ช่วยให้เกษตรกรเก็บน้ำผึ้งได้ง่ายและได้น้ำผึ้งที่สะอาด โดยไม่สูญเสียประชากรผึ้งชันโรงและตัวอ่อนผึ้งชันโรง เกษตรกรสามารถเก็บน้ำผึ้งได้ทันที ไม่ต้องสร้างรังใหม่ การเลี้ยงผึ้งชันโรง ลงทุนแค่ครั้งแรก แต่เกษตรกรสามารถเก็บน้ำผึ้งออกขายได้ตลอด มีรายได้เข้ามาต่อเนื่อง

ปัจจุบัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงอุงและญิงยวนบางกล่ำ บริหารงานภายใต้การนำของ นายเอกวิวิชย์ ถนอมศรีมงคล และ นายธนพล พรหมวิสุทธิคุณ มีสำนักงานตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 2 ถนนบางกล่ำ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 089-466-4919

สมาชิกส่วนใหญ่มีอาชีพหลักทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และปลูกไม้ผลแบบผสมผสานโดยไม่ใช้สารเคมี ทางกลุ่มสามารถตั้งรังผึ้งชันโรงในสวนผลไม้ของสมาชิกได้ โดยมีระยะเวลาการผลิตน้ำผึ้ง ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ผลผลิตที่ได้เน้นขายตรงกับผู้บริโภค ผ่านตลาดออนไลน์ และการนำสินค้าไปวางขายในตลาดสินค้าสีเขียว งานแสดงสินค้าต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐจัดขึ้น ในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา ออกพรรษา

เคล็ดลับการเลี้ยงผึ้งชันโรง (ผึ้งจิ๋ว)

รศ.ดร. สมนึก บุญเกิด สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สมัครยูฟ่าเบท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หนึ่งในนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงผึ้งชันโรง (ผึ้งจิ๋ว) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เล่าให้ฟังว่า น้ำผึ้งชันโรงแต่ละชนิดมีรสชาติจำเพาะ มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน รสชาติไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะกลิ่นของน้ำผึ้งชันโรงเป็นผลมาจากนางพญาแม่รังปล่อยกลิ่น (hive pheromones) คอยควบคุมพฤติกรรมของผึ้งชันโรงงาน ใช้กลิ่นเป็นสื่อติดต่อระหว่างพลรังเดียวกัน แต่ละรังมีกลิ่นจำเพาะรัง กลิ่นนี้จะจางหมดไปจากตัวผึ้งชันโรง จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเศษ ขาดความเป็นญาติพี่น้องกันไปโดยปริยาย ไม่รู้จักกัน เป็นที่มาของการผสมพันธุ์ในหมู่เครือญาติ

ข้อควรระวัง การเก็บเกี่ยวน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งชันโรงหลังลายแต่ละรังนั้น มนุษย์ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้ แต่ผึ้งชันโรงสามารถจำกลิ่นน้ำผึ้งของตัวเองได้ ยิ่งเป็นน้ำผึ้งตกค้างอยู่ในรังนานๆ ก็จะเป็นกลิ่นเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่ากลิ่นที่ตัวผึ้งชันโรงงาน กลิ่นน้ำผึ้งที่ดูดกลิ่นได้ดี และกลิ่นชันผึ้ง วิธีการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งชันโรงหลังลาย ทั้ง 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์เชียงใหม่และสายพันธุ์ภาคกลาง มีข้อระวังคือ พยายามอย่าให้ผึ้งงานในรังตายขณะแซะถ้วยน้ำผึ้งออกจากรัง เพราะอาจเกิดการหมกตัวของผึ้งชันโรงงานตัวเต็มวัยที่เดินไปมา เพราะความอยากรู้อยากเห็นสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่ภายในรังผึ้ง อาจถูกถ้วยน้ำผึ้งหมกทับตายขณะแซะถ้วยน้ำผึ้ง

รศ.ดร. สมนึก ให้คำแนะนำว่า เกษตรกรควรลดกิจกรรมการเดินไปมาในรังด้วยการทำให้สลบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แล้วใช้ลมเป่าพวกผึ้งชันโรงที่สลบให้ปลิวไปกองรวมกันในที่ที่ไม่มีถ้วยน้ำผึ้ง ซึ่งจะมีเวลาเก็บน้ำผึ้งในรัง ไม่เกิน 15 วินาที/รัง โดยแซะถ้วยน้ำผึ้งใส่ภาชนะที่สะอาด แล้วนำไปกรองสะอาดอีกทีหนึ่ง

โดยทั่วไป รังผึ้งชันโรงหลังลายสายพันธุ์เชียงใหม่ สามารถเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งได้มากกว่าสายพันธุ์ภาคกลางเล็กน้อย แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไป การเก็บเกี่ยวดูเหมือนจะง่าย สะดวกกว่ารังสายพันธุ์ภาคกลาง เพราะโครงสร้างภายในรังแยกส่วนระหว่างถ้วยน้ำผึ้งกับแผงตัวอ่อนค่อนข้างชัดเจน เปิดรังมาก็จะเห็นทันที ส่วนมากจะติดตั้งอยู่คนละมุม เพราะรังยังมีประชากรไม่หนาแน่นมากเท่าไรนัก แต่ถ้ารังเลี้ยงมานานเป็นปีๆ โดยไม่เคยถูกเก็บน้ำผึ้งออกไป ก็จะมีแผงตัวอ่อนล้อมรอบ การเก็บเกี่ยวไม่ง่ายเช่นเดียวกับสายพันธุ์ภาคกลาง

ที่ผ่านมา รศ.ดร. สมนึก ได้ออกแบบรังผึ้งชันโรงไว้คือ ขนาด เอ 4 การเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งในช่วง เอ 4 มีความสะดวก จะไม่มีเซลล์นางพญาเกิดขึ้น เพราะสภาพรังยังไม่แออัดภายในระยะเวลา 1 ปี จึงไม่มีพฤติกรรมออกเรือน ก็ไม่สูญเสียประชากรพลรังแต่อย่างใด