ปัจจุบัน ตัวสินค้าได้เป็นที่ยอมรับของตลาด มีคนรู้จักกัน

อย่างแพร่หลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่อมน้ำมันโดยมีการเข้าเครื่องสลัดน้ำมัน การที่ไม่อมน้ำมันของผลิตภัณฑ์นอกจากจะเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าแล้วยังทำให้ยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ด้วย จากที่เก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 อาทิตย์ สามารถเก็บได้หลายเดือนโดยไม่มีกลิ่นหืน มีลูกค้าทั้งในหมู่บ้านต่างอำเภอและต่างจังหวัด ถึงต่างประเทศ มาติดต่อขอสั่งซื้อถึงบ้าน มีทั้งนำไปเป็นของฝากและนำไปขายต่อ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลจะมีการมาต่อคิวเพื่อซื้อไปเป็นของฝากจนผลิตไม่ทัน และมีบริษัทจากกรุงเทพฯ มาติดต่อขอให้เป็นผู้ผลิตสินค้าให้

คุณอชิรา บอกว่า ยิ่งหน้าเทศกาลยิ่งมีลูกค้าเข้าตลอด ไม่ได้ว่างเลย ทำให้ปัจจุบันทางกลุ่มมีรายได้ที่มั่นคง มีสวัสดิการกลุ่ม มีเงินออมไว้บริหารจัดการในกลุ่ม ทุกวันนี้คุณอชิรา ทุ่มเททำงานผลิตกล้วยหอมทองยัดเยียดอย่างมาก นอนประมาณ 5 ทุ่ม ตื่นตอนตี 3 เพื่อมาปรุงรสกล้วยให้ทันกับความต้องการของตลาดที่หลั่งไหลเข้ามา ที่หน้าบ้านก็เปิดเป็นร้านค้าเพื่อจำหน่ายปลีกให้กับลูกค้า

จากวันที่กลุ่มได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2548 นั้น ทางกลุ่มได้เน้นย้ำในคุณภาพ ความสะอาด ของทุกขั้นตอนการผลิตสินค้า มีการทำความสะอาดสถานที่ผลิตเป็นประจำทุกวัน และทุกสิ้นเดือนจะมีการทำความสะอาดทั้งระบบ แม้กระทั่งมุ้งลวดยังต้องแกะออกมาทำความสะอาดด้วย โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ได้ตรวจเยี่ยมเป็นประจำ ทำให้สินค้าได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา ทะเบียนเลขที่ 56-2-01646-2-001 และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. เลขที่ 1038/2544

ท้ายนี้ คุณอชิราฝากขอบคุณลูกค้าที่มาอุดหนุนสินค้าทุกท่าน ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพ ความสะอาด ความสดใหม่ทุกวัน และเนื่องจากสินค้าทำวันต่อวัน หากต้องการสั่งซื้อสินค้า ขอรบกวนโทรศัพท์ติดต่อกันก่อนจะได้เตรียมสินค้าให้ทุกท่านได้โดยไม่ผิดหวัง

นอกจากส้มเขียวหวานและส้มโอที่มีการปลูกในประเทศมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ในระยะเวลาต่อมาเกษตรกรได้ทำการคัดเลือกต้นพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ รวมทั้งมีการนำพันธุ์ส้มชนิดและสายพันธุ์ต่างๆทั้งส้มโอ ส้มติดเปลือก และโดยเฉพาะส้มเปลือกล่อนจากต่างประเทศ เข้ามาทดลองปลูกอีกหลายสายพันธุ์ ส้มบางสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวและการพัฒนาที่ดี สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้ บริโภค ทำให้ปัจจุบันมีสายพันธุ์ของส้มเปลือกล่อน และส้มที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านลักษณะคุณภาพ และรสชาติ ให้เลือกบริโภคตามความต้องการ

ปัจจุบันมีส้มเปลือกล่อนที่เกษตรกรนิยมปลูกในประเทศ ได้แก่
1.ส้มเขียวหวาน พันธุ์บางมด (บางล่าง/กิ่งอ่อน)
2.ส้มเขียวหวาน พันธุ์แหลมทอง (บางบน/กิ่งแข็ง)
3.ส้มสีืองหรืส้มผิวทองซึ่งตามความเป็นจริง คือส้มเขียวหวาน หรือพันธุ์แหลมทอง ที่นำไปปลูกจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่ หากแต่ผลส้มที่มีสีของเปลือกผลเป็นสีส้มแดง แทนที่จะมีเปลือกเป็นสีเขียว เนื่องจากอิทธิพลของอากาศเย็น
4.ส้มฟรีมองต์
5.ส้มสายน้ำผึ้ง (หรือส้มโชกุน)
6.ส้มออร่า (พวงทอง/ออร่า 9)
7.ส้มซัสซุมา
8.ส้มพองแกน

นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ปัตตาเวีย เขียวมรกต หอมหาดใหญ่ ขาวกรุ่น และพันธุ์อื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์ ทั้งที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์ที่มีการปรับปรุงพันธุ์โดยการคัดเลือกและพัฒนาขึ้นใหม่

คุณค่าทางโภชนาการส้ม

ส้มโดยเฉพาะส้มเขียวหวานเป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักดีเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มี ผลผลิตตลอดทั้งปี มีจำหน่ายในตลาดทั่วไป ราคาไม่แพงสำหรับผู้บริโภคทุกชนชั้น และมีคุณค่าทางอาหารสูง ผลการวิเคราะห์สารอาหารจากส้มเขียวหวาน 100 กรัม โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก ได้แก่

คาร์โบไฮเดรต 9.90 กรัม
โปรตีน 0.60 กรัม
ไขมัน 0.20 กรัม
แคลเซียม 31.00 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.80 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 18.00 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 4,000 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม
วิตามินซี 18.00 มิลลิกรัม
เส้นใย 0.02 กรัม
ความชื้น 88.70 กรัม
แคลอรี่ 44.00 หน่วย

ดังนั้น ผลส้มเขียวหนัก 100 กรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักเฉลี่ยของผลส้ม 1 ผล ประกอบด้วยสารอาหารที่สำคัญ คือแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม วิตามินซี 18 มิลลิกรัม วิตามินเอ 4,000 หน่วยสากล จึงจัดว่าส้มเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพชนดหนึ่งที่มีราคาไม่แพง และเหมาะสำหรับการบริโภคประจำวัน

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ นอกจากมีวิตามินซีสูง อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสแล้ว ที่ผิวเปลือกผลชั้นนอกสุดซึ่งมีสีเขียว ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย และเปลือกผลส่วนกลางที่เป็นสีขาว มีสารแพกตินในปริมาณค่อนข้างสูง จากการวิเคราะห์ของกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ หาปริมาณสารอาหารจากเนื้อส้มโอ 100 กรัม หรือ 1 กลับ พบว่าส้มโอประกอบด้วยสารอาหารที่สำคัญและมีประโยชน์ ดังนี้

แคลอรี 61.0 หน่วย
ไขมัน 0.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม
โปรตีน 0.5 กรัม
แคลเซียม 21.00 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.50 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 18.00 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 10 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.01 มิลลิกรัม
วิตามินซี 58.00 มิลลิกรัม
เส้นใย 0.6 กรัม
ความชื้น 81.0 กรัม

เนื่องจากส้มโอมีเปลือกหนามากเป็นพิเศษกว่าส้มชนิดอื่นๆ ดังนั้นเมื่อปอกส้มโอแล้ว คนไทยจึงนิยมนำเปลือกมาแช่น้ำน้ำตาล เชื่อมจนอิ่มตัวเพื่อใช้รับประทานเป็นของหวาน เรียกว่า “เปลือกส้มโอแช่อิ่ม”

ช่วงที่ยางพาราราคาตกต่ำต่อเนื่อง เกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ต่างหาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ทดแทน ในจำนวนนั้นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับการยืนยันจาก “พิโชติ ผุดผ่อง” ผู้ประกอบการและเกษตรกร ผู้นำเครือข่ายปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ว่าสามารถสร้างรายได้ดีกว่าการปลูกยาง และประสบความสำเร็จงดงาม ถึงขั้นที่ห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ “เทสโก้ โลตัส” เลือกให้เป็นคู่ค้ารายใหญ่

“พิโชติ” เล่าให้ฟังว่า ตนเองเรียนจบทางด้านเกษตรกรรม แต่ไม่มีความคิดจะทำสวนยาง เพราะเห็นว่าราคายางตกต่ำ หลังจบการศึกษาจึงประกอบอาชีพด้านการเกษตรโดยเป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ และที่นี่เองที่ทำให้ได้มีโอกาสสะสมองค์ความรู้ด้านการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ ตลอดระยะเวลาที่ใช้ชีวิตเป็นพนักงานบริษัท 5 ปีเต็ม

ขณะเดียวกันก็ใช้เวลาศึกษาข้อมูลความต้องการของตลาดไปด้วยพร้อม ๆ กัน พบว่า ขึ้นฉ่ายไฮโดรโพนิกส์ มีราคาดี ขณะที่รอบการปลูกใช้เวลาไม่นาน นอกจากนั้น การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ยังใช้อุปกรณ์ปลูกที่ยกสูงจากพื้น ทำให้การป้องกันโรคพืชทำได้ง่าย เพราะการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ไม่ต้องใช้ดิน แต่พืชจะถูกหล่อเลี้ยงโดยน้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ อีกทั้งยังช่วยประหยัดพื้นที่ในการปลูก และไม่ปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ ในดิน

“ผมเริ่มปลูกผักไฮโดรโพนิกส์เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เริ่มแรกมีเพียงไม่กี่โต๊ะ เงินทุนประมาณหลักแสนบาท ช่วงนั้นเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะคนยังไม่ค่อยรู้จักผักไฮโดรโพนิกส์ โดยเดิมเลือกปลูกเป็นผักไฮโดรฯจำพวกผักสลัด แต่เปลี่ยนมาเป็นขึ้นฉ่ายเพราะราคาสูง และตลาดล่างนิยมซื้อด้วย”

ส่วนช่องทางการจำหน่ายเริ่มจากฝากขายที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำใน จ.สงขลา จากนั้นมีโอกาสได้พูดคุยกับทางเทสโก้ โลตัส จึงได้ปลูกส่งให้กับทางเทสโก้ โลตัสส่วนกลาง นำไปกระจายทั่วประเทศ ซึ่งทางเทสโก้ โลตัส ประกันราคาให้ 75 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นกำไรประมาณเกือบ 50%

“พิโชติ” บอกว่า การประกันราคาทำให้ผู้ประกอบการอย่างตนสามารถคำนวณต้นทุนและวางแผนการผลิตแต่ละรอบได้ จึงดีกว่าการส่งตลาดที่ราคาไม่นิ่ง หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ขยายกำลังการผลิตเรื่อย ๆ ถึงปัจจุบันมี 70 โต๊ะ ตอนนี้ผลิตได้อาทิตย์ละกว่า 600 กิโลกรัม แต่อนาคตวางแผนไว้ว่าจะผลิตให้ได้อาทิตย์ละ 1 ตัน

สำหรับรายได้ที่ได้เฉลี่ยต่อโต๊ะขนาด 2×7 เมตร จะตกประมาณ 3 พันบาท เทียบกับต้นทุนการผลิตประกอบด้วย ค่าน้ำ และค่าปุ๋ยอยู่ที่ประมาณ 500 บาทต่อโต๊ะ ใช้เวลาปลูก 35-40 วัน หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วสามารถปลูกต่อได้เลย

ปัจจุบันจึงได้ตั้งศูนย์ถ่ายทอดความรู้การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ให้ชาวบ้านในพื้นที่ด้วย โดยร่วมมือกับทาง จ.สงขลา อบรมให้ความรู้ชาวบ้าน เป้าหมายเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตมากพอต่อความต้องการของเทสโก้ โลตัส และถือเป็นการสร้างให้ชุมชนเป็นแหล่งปลูกไฮโดรโพนิกส์ จนเป็นที่รู้จักไปยังคู่ค้ารายอื่น ๆ

โดยจังหวัดจะส่งเกษตรกรชาวสวนยางที่ผ่านการคัดเลือกแล้วว่ามีรายได้น้อย คือมีพื้นที่สวนไม่เกิน 5 ไร่ หรือเป็นลูกจ้างกรีดยาง แต่มีความขยัน รับผิดชอบ สามารถทำงานกลุ่มได้ มาเรียนรู้วิธีปลูกผักไฮโดรโพนิกส์

วันนี้ทุกคนสามารถปลูกผักเพื่อส่งให้กับเทสโก้ โลตัส ทำให้มีรายได้เสริมจากการทำสวนยาง สภาพคล่องในครอบครัวก็ดีขึ้น ไม่เป็นหนี้นอกระบบ

โดยตนจะช่วยดูแล และให้คำปรึกษากับชาวบ้านในทุกขั้นตอน และชาวบ้านสามารถให้ตนไปติดตั้งระบบการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ให้ได้ โดยราคาอยู่ที่โต๊ะละ 35,000 บาท รวมชุดอุปกรณ์ถาวร สอนปลูก แนะนำช่องทางการตลาด และดูแลคุณภาพให้ สามารถคืนทุนได้ภายใน 1 ปี ตอนนี้มีสมาชิก 22 รายแล้ว

“ผมเดินตามรอยในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเองในด้านเกษตร เพราะโตมาก็เห็นพระองค์ท่านอยู่กับการเกษตรมาตลอด พระองค์ท่านเห็นความสำคัญว่าสังคมเกษตรต้องมาก่อน ต้องทำให้เกษตรกรเข้มแข็ง เวลาผมเป็นพี่เลี้ยงให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้ ผมมักจะบอกเสมอว่า อย่าท้อ ถ้าท้อแล้วจะถอย ก็ทำอะไรไม่ได้ เหมือนในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านทรงทดลอง เก็บข้อมูล พิสูจน์แล้วทุกอย่าง เกษตรกรของพระราชา จะต้องพึ่งพาตัวเองได้”

“สลิลลา สีหพันธุ์” รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการ “เทสโก้ โลตัส” กล่าวว่า การได้มาเป็นคู่ค้ากับเกษตรกรโดยตรงเป็นหนึ่งในการสนับสนุนนโยบายประชารัฐ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยโครงการรับซื้อขึ้นฉ่ายกางมุ้งจากกลุ่มเกษตรกรบ้านคลองหอยโข่ง เป็นหนึ่งใน 22 โครงการ “เทสโก้ โลตัส ประชารัฐร่วมใจ” ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันของภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน

“ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรนำโดยคุณพิโชติ ผุดผ่อง ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในโมเดล “ยัง สมาร์ท ฟาร์เมอร์” (Young Smart Farmer) เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ และขยายองค์ความรู้สู่ชาวสวนยางให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพนอกเหนือไปจากกรีดยาง เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนในยามที่ราคายางตกต่ำ สามารถส่งผักขายเทสโก้ โลตัส ได้ถึง 500-1,000 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด การที่จะเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จต้องสามารถส่งสินค้าให้คู่ค้าได้สม่ำเสมอ ได้ปริมาณตามต้องการ ดังนั้นหากผู้ประกอบการในพื้นที่มีการรวมกลุ่มกัน ก็จะทำให้การค้าส่ง เป็นไปได้โดยง่าย”

เทสโก้ โลตัส จึงร่วมมือกับ จ.สงขลา นำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด คุณทรงพล สวาสดิ์ธรรม หานวัตกรรมเพิ่มผลผลิตเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตได้ไม่ตามเป้า เป็นเพราะสภาพฝนในภาคใต้ ทำให้ปริมาณขึ้นฉ่ายที่ปลูกไม่สม่ำเสมอ จึงแนะนำให้ปลูกผักไฮโดรโพนิกส์แบบกางมุ้ง เพราะนอกจากสามารถเพิ่มผลผลิตคุณภาพให้ผู้บริโภคแล้ว ยังได้เพิ่มรายได้ให้คนในชุมชนอีกด้วย

ในอนาคตเทสโก้ โลตัส มีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการรับซื้อผักปลอดภัยในภาคใต้เพิ่มขึ้น ไม่เพียงแค่ขึ้นฉ่าย แต่ผักประเภทอื่น ๆ ก็ยังเป็นที่ต้องการด้วย โดยจะใช้แนวทางประชารัฐซึ่งเป็นการร่วมมือกับทั้งรัฐและชุมชนต่อไป

และจะใช้การตลาดเป็นตัวนำ เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นรูปแบบที่สร้างความสำเร็จ โดยมีเทสโก้ โลตัส เข้ามาช่วยวางแผนประเภทและปริมาณผักที่ต้องการส่งเสริมให้ปลูก รวมทั้งวางแผนการจัดส่ง ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารต้นทุนได้ดี มีกำไร และเติบโตอย่างต่อเนื่อง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามพระราชปณิธานของพ่อหลวงอันที่รักของคนไทยทั้งชาติ

ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คุณจันทร์ที ประทุมภา138 หมู่ที่ 6 บ้านโนนรัง ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เดิมคุณจันทร์ที ประกอบอาชีพเป็นช่างซ่อมรถยนต์ ทำอยู่ประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นได้แต่งงานมีครอบครัว สร้างโรงสีข้าวและเลี้ยงหมูแม่พันธุ์ โดยมีหมู 80 ตัว นอกจากนั้นก็ทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว โดยทำนาเพียงอย่างเดียว รายได้จากการทำนาในปีแรกพอมีพอใช้ในครอบครัว ส่วนในปีที่สองจำเป็นต้องเอาหลักทรัพย์ไปจำนองสหกรณ์เพื่อนำเงินที่ได้มาลงทุนและใช้จ่ายในครอบครัว ผลจากการทำนาซึ่งเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว ก่อให้เกิดหนี้สินและไม่มีเงินออม

ต่อมาคุณจันทร์ทีได้ไปศึกษาดูงานแปลงเกษตรผสมผสานของ พ่อผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้แนวความคิดการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จากนั้นจึงนำมาเผยแพร่ให้กับสมาชิกในครอบครัว และร่วมกันตัดสินใจที่จะเริ่มต้นทำการเกษตรผสมผสานและดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ปัจจุบันได้ทำการเกษตรผสมผสานโดยการลดต้นทุนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป

รูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร

คุณจันทร์ที ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมีความโดดเด่นในเรื่อง เพาะต้นกล้าผักหวานป่า

การเพาะต้นกล้าผักหวานป่า มีสิ่งจำเป็นที่ต้องเตรียม ได้แก่ เมล็ดผักหวานป่าที่สุกแล้ว (การเก็บเมล็ดผักหวานป่าสามารถเก็บได้ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ปุ๋ยคอก แกลบดิบ แกลบดำ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ดินร่วน ถุงเพาะ ขนาด 3×7 นิ้ว และแผ่นผ้ายาง

โดยจะต้องเตรียมดินในการเพาะปลูกผักหวานป่า 1. นำปุ๋ยคอก แกลบดิบ แกลบดำ และดินร่วนมาผสมให้เข้ากัน ในอัตรา 1 ต่อ 1 2. นำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน รดกองปุ๋ยหมักที่เตรียมไว้ 3. นำถุงเพาะที่เตรียมไว้นำดินกรอกใส่ให้เต็ม 4. นำผ้ายางปูพื้นรองวางถุงเพาะต้นกล้าผักหวานป่า วิธีการเพาะเมล็ดผักหวานป่า นำเมล็ดผักหวานป่าที่ได้นำมาบีบให้เปลือกแตกออกเหลือแต่แกน นำมาคลุกปูนขาวเพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง แล้วจึงนำไปปลูกในถุงเพาะที่เตรียมไว้ โดยวางเมล็ดเพียงครึ่งแกนเมล็ดไม่ต้องกลบให้มิดและรดน้ำ ผักหวานป่าไม่ชอบน้ำขัง และห้ามรดน้ำบริเวณใบ ให้รดน้ำบริเวณราก และไม่ควรใช้สารเคมีใดๆ ทิ้งไว้ 3-7 วัน เมล็ดจะแตกคล้ายถั่วงอก หลังจากนั้นทิ้งไว้ 30-40 วัน เมล็ดถึงจะแทงยอดขึ้นบนดิน ผักหวานป่าเมื่อแตกใบ 4-5 ใบ ก็สามารถขายต้นกล้าได้ โดยจะขายส่งราคา ต้นละ 15 บาท ขายปลีก ต้นละ 20 บาท ผักหวานป่าเมื่อมีอายุ 2-3 ปี ก็สามารถเก็บผลผลิตเพื่อนำมารับประทานหรือจำหน่ายได้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ

คุณจันทร์ที ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก ความพอประมาณ โดยเริ่มจากทำอย่างไรให้ครอบครัวพอมีพอกินก่อน ปลูกอะไรก็กินสิ่งนั้น ทำให้มีใช้มีกินในครอบครัว ลดต้นทุนในการผลิต ไม่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก ในด้านความรู้และคุณธรรม เป็นผู้ที่มีใจนักสู้ไม่ย่อท้อต่อความลำบาก มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีครอบครัวที่อบอุ่น

ขอบคุณข้อมูล จากหนังสือ การเพิ่มรายได้เกษตรกร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “สมุย” เมื่อเอ่ยชื่อนี้ขึ้นมาครั้งใด คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเมืองท่องเที่ยว หลับตามองเห็นภาพชายหาด มีทิวมะพร้าวเรียงราย เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนุ่งน้อยห่มน้อย เดินนวยนาดเล่นน้ำทะเลกันอย่างสนุกสนาน

น้อยคนนักที่จะนึกถึง “งานเกษตรกรรม” โดยเฉพาะการเพาะปลูกพืชอย่างอื่นนอกจากมะพร้าว อันที่จริง สมุยมีพืชเกษตรจำพวกไม้ผลขึ้นชื่อ อาทิ ทุเรียน ลางสาด มีสวนเงาะและมังคุดอยู่ไม่น้อย อาจมียางพารา ปาล์มน้ำมันอยู่บ้างในระยะหลังๆ นี้

โดยเฉพาะบ้านเลขที่ 151/9 หมู่ที่ 1 บ้านสระเกษ ตำบลตลิ่งงาม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นี่คือบ้านของ ร.ต.ต.ไตรวิช สุขไชยศรี และคุณอุทัยวรรณ สุขไชยศรี เมื่อได้พบสวนข้างบ้านอันร่มรื่น เห็นแล้วชวนหลงใหลย่อมรับประกันว่า ใครไปเยือนก็จะหลงใหลไม่ต่างกัน ยิ่งได้เจอเจ้าของบ้านมีอัธยาศัยไมตรีแล้วยิ่งประทับใจ

ร.ต.ต.ไตรวิชในวัย 63 ปี ทว่ายังกระฉับกระเฉง คุยเก่ง กับศรีภริยาคือคุณอุทัยวรรณ อดีตคุณครูโรงเรียนเซนต์โยเซฟเกาะสมุย ผู้เป็นเจ้าของบ้านยิ้มแย้มแจ่มใสต้อนรับ และตอบทุกคำถามที่สงสัย

“ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” ข้อความเขียนต้อนรับแขกผู้มาเยือนอยู่ทางเข้าบ้าน บริเวณที่เป็นส่วนเก็บสัมภาระ วัสดุอุปกรณ์การทำสวน

อันที่จริงบริเวณนี้คือถังเก็บน้ำสูงตระหง่าน เดิมมีเพียงอาคารเป็นเสาคอนกรีตสูงค้ำยันถังน้ำประมาณ 20,000 ลิตร ด้านบนซึ่งติดที่ดิน 2 ไร่ ที่เจ้าของเดิมสร้างไว้แล้ว แต่เมื่อ ร.ต.ต.ไตรวิชซื้อที่ดินมาก็ได้หอสูงถังน้ำนี้มาด้วย เขาได้ต่อเติมหลังคาให้สามารถใช้คุ้มแดดฝนได้ ใช้เก็บวัสดุอุปกรณ์การทำสวนได้ ต่อเติมฐานของถังน้ำให้เป็นห้องสำหรับเก็บอุปกรณ์ที่มีค่า ด้านหลังต่อเติมเป็นห้องน้ำและใช้กระเบื้องที่เหลือจากงานสร้างบ้านมาปู-ปิดพื้นและผนัง ทำให้เป็นห้องน้ำที่มีกระเบื้องหลากสีหลายแบบ แม้แต่รั้วบ้าน เสารั้ว ก็ใช้กระเบื้องที่เหลือจากงานสร้างบ้านพักมาปิดไว้ ไม่ต้องทิ้งกระเบื้องที่เหลือกองไว้โดยเปล่าประโยชน์

“ที่เดิม 5 ไร่ ในรั้วบ้าน ส่วนข้างนอกอีก 2 ไร่ เพิ่งซื้อเพิ่มเติม” ร.ต.ต.ไตรวิช อดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายการเงิน สภ.เกาะสมุย เจ้าของบ้าน อธิบายถึงที่ดินที่ตั้งบ้านซึ่งมีรั้วกั้นแบ่งแยกจากกัน แต่ที่ดินทั้งสองแปลงที่ข้างบ้านนั้นเต็มไปด้วยไม้กินได้หลากชนิด ไม่ว่าจะเป็นกล้วย มะละกอ ชะอม มังคุด ลองกอง มะนาว สับปะรด เตย

เสื้อกันแดดสีส้มคลุมรูปร่างสันทัดไว้ มีสีหน้าแววตาผ่องใส ยิ้มแย้มสดชื่น ร.ต.ต.ไตรวิช ละจากสวนมาคุยด้วย “ลงสวน 2 ช่วง ตื่นเช้า 2 ชั่วโมง เย็นห้าหกโมงเย็นจนค่ำ อีกรอบหนึ่ง” ร.ต.ต.ไตรวิชเผยถึงกิจวัตรประจำวัน

ก่อนเกษียณอายุราชการ เขาและภริยาพักอยู่ที่บ้านตำบลแม่น้ำ ต้องข้ามภูเขาแหลมใหญ่ที่คั่นสองตำบลมาทำงานและกลับที่ตำบลอ่างทองที่ตั้งของ สภ.เกาะสมุย แต่เมื่อใกล้เกษียณก็เริ่มหาลู่ทางขยับขยายที่อยู่ ด้วยว่าที่อาศัยอยู่เดิมในตลาดบ้านแม่น้ำมีรถราวิ่งขวักไขว่แม้ยามกลางคืน

เขาเริ่มปลูกไม้ยืนต้นไว้ในที่ดินที่ภริยารับมรดกมาจากพ่อ เพราะเห็นว่าบริเวณนี้สงบกว่า เหมาะแก่การอยู่อาศัย

เริ่มปลูกต้นไม้ เริ่มสร้างบ้าน เมื่อมีเวลาว่าง เช้าหรือเย็น ในวันราชการบ้าง วันเสาร์-อาทิตย์บ้าง จะพกข้าวห่อมากินกลางวันและทำสวนเตรียมไว้ ช่วงที่ช่างมาก่อสร้างบ้านก็มาควบคุมงานก่อสร้าง กระทั่งบ้านสร้างเสร็จ พอดีกับไม้ยืนต้นเติบโตให้ร่มเงา

ที่สุดเมื่อเกษียณอายุในปี 2556 เขาจึงชักชวนภริยาย้ายมาอยู่ที่นี่เป็นการถาวร ส่วนบ้านที่ตลาดแม่น้ำมีผู้มาเช่าทำการค้าขาย ด้วยว่าเป็นทำเลตลาดของชุมชนบ้านสวน “วิชชุวรรณนาวิน” ชื่อบ้านมาจากชื่อตัวเองและภริยา

ส่วน “นาวิน” เป็นชื่อของลูกชาย

ทั้งสองสามีภริยาแต่งงานอยู่กินด้วยกันเป็นครอบครัวหลายปีกว่าจะมีบุตรได้ใช้เงินไปไม่น้อย ร.ต.ต.ไตรวิชกล่าวถึงความพยายามกว่าจะมีบุตรได้ ที่สุดจึงมีลูกชายลูกสาวฝาแฝดสมใจ ตอนนี้กำลังเรียนมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 4 ใกล้สำเร็จการศึกษา ลูกชายเรียนด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มหาวิทยาลัยมหิดล ลูกสาวเรียนด้านไอทีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ร.ต.ต.ไตรวิชเป็นข้าราชการบำนาญ แม้คุณอุทัยวรรณจะไม่ได้รับราชการ แต่สองตายายไม่มีอะไรต้องห่วง อยู่บ้านทำสวนรอบๆ บ้านด้วยกันอย่างมีความสุข ยิ่งเมื่อพืชผลที่ปลูกไว้เติบโตให้ผลทุกวัน กินได้ทุกวัน ขายได้ทุกวัน หรือหยิบฉวยมาประกอบอาหารภายในครอบครัวได้ทุกวัน ย่อมเป็นการลดรายจ่ายไปในตัว

“เศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง” เป็นอีกข้อความที่เขาเขียนไว้ บ่งบอกถึงสิ่งที่เขากำลังทำอยู่รอบๆ บ้าน

ต้นมะพร้าวบริเวณรอบๆ บ้าน บางต้นมีความจำเป็นต้องตัดออกไป ร.ต.ต.ไตรวิชเลือกจะทิ้งตอไว้โดยไม่ขุดตอออก แล้วใช้วิธีปลูกพืชล้อมรอบเอาไว้

“ถ้าขุด ก็ต้องจ่ายค่าจ้างขุด ค่าต้องขนไปทิ้ง ตั้งกี่ตอละ” เขาให้เหตุผล สะท้อนความเป็นคนคิดถี่ถ้วน ก่อนจะอธิบายต่อว่า ครั้นเมื่อไม่ขุดแต่ปล่อยทิ้งไว้ก็เกรงจะมีใครถอยรถมาชนจนเกิดความเสียหาย (แก่รถ) จึงปลูกพืชอื่นๆ ล้อมไว้

ในบริเวณบ้านจึงมีหย่อมพืชล้อมตอมะพร้าวไว้หลายแห่ง สับปะรดมีรอบๆ บ้าน ทั้งบริเวณรั้วบ้าน และที่รวมกลุ่มเป็นแปลงปลูก เมื่อมีหน่อแตกออกมาจากกอก็นำไปขยายพันธุ์นำไปปลูกเพิ่มเติม

ปลูกข้างบ้านเป็นแนวบริเวณชายคา ใกล้กับห้องนอนเมื่อเดินเฉียดเข้าไปใกล้ส่งกลิ่นหอม รอให้ตัดไปขาย และยังมีที่อื่นๆ กระจายไปทั่ว

กล้วยมีอยู่หลายจุด ทั้งกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม ออกเครือใหญ่ลำต้นทานไม่ไหวต้องใช้ไม้ค้ำยันช่วย

มะละกอต้นเตี้ย ออกลูกอวดอยู่เต็มต้น

มะรุมต้นเดียวแต่ให้ฝักสอยไปแกงส้มแก่ผู้มาเยือนไม่เว้นวัน

มะแว้งหรือมะเขือพวงวันนี้ ใครไปใครมาก็มีให้เด็ดไปแกงได้

มะนาวในวงบ่อแม้ไม่มากนักแต่กำลังมีลูกให้ทำน้ำพริกได้เมื่อต้องการ ตะลิงปลิงข้างบ้านกำลังโต มะม่วงต้นโตขนาดให้ผลได้แล้ว ลองกอง มังคุดกำลังโตใกล้จะให้ผลได้ในเวลาอีกไม่นาน

วันที่ไปเยือน สะตอกำลังหย่อนฝักสองสามต้น หลากหลายวัย หลากหลายขนาด ทั้งวัยอ่อน วัยเด็ก และที่แก่จัดได้ที่แล้ว ผลผลิตจากสวนรอบบ้านไม่ได้คิดเก็บขาย เจ้าของบ้านบอกว่าเริ่มต้นปลูกไว้เพียงหวังใช้สอย กินเอง และเผื่อแผ่พรรคพวกเพื่อนฝูงที่แวะเวียนมาเยี่ยม แต่ไม่วายมีแม่ค้ามาถามหารับซื้อถึงบ้าน โดยเฉพาะสับปะรดหลังๆ เมื่อออกมากจะมีแม่ค้ามารับซื้อถึงบ้าน

ต่อไปกล้วย มะละกอที่มีมากต้น ย่อมจะมากผล นอกจากแบ่งปันแล้วคงมีให้ได้ขายด้วย ยังไม่นับกระท้อนพุ่มใหญ่ๆ ข้างบ้านที่พร้อมจะออกลูกให้ได้ชิมในเวลาไม่นาน

ร.ต.ต.ไตรวิชเผยว่า ตอนสร้างบ้านได้ขุดบ่อเก็บน้ำใต้ดินไว้ ปริมาณน้ำ 30,000 ลิตร เก็บน้ำฝนเตรียมไว้ใช้เผื่อถึงหน้าแล้ง กับมีน้ำในถังบนหอสูงความจุอีก 20,000 ลิตร รวมแล้วเป็นปริมาณน้ำสำรอง 50,000 กว่าลิตร สามารถใช้ดูแลพืชผลในสวนรอบๆ บ้านยามฝนทิ้งช่วง

นี่คืองานหลังเกษียณของครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งบนสมุย ที่ใครๆ อาจนึกภาพเห็นเพียงกิจกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยว หรือทำสวนมะพร้าวเพียงอย่างเดียว แต่ครอบครัวนี้ทำเกษตรพอเพียง ปลูกพืชผลกินได้รอบๆ บ้าน

นอกจากได้ออกกำลังกาย ได้เก็บเกี่ยวพืชผลรอบๆ บ้าน กินด้วยความมั่นใจว่าปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง และแบ่งปันแจกจ่ายเพื่อนบ้านแล้ว อาจมีผลผลิตเหลือขายบ้างเล็กๆ น้อยๆ เป็นรายได้เสริม

ร.ต.ต.ไตรวิช นับเป็นข้าราชการตัวอย่างคนหนึ่งในการปฏิบัติราชการ ในการวางตัว ในการใช้ชีวิต ตั้งแต่สมัยรับราชการไม่เที่ยวเตร่เฮฮา ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เก็บหอมรอมริบตลอดมา สามารถสร้างครอบครัวได้อย่างเข้มแข็ง

เขาไม่ใช่คนพื้นเพสมุย หากเป็นคนจังหวัดกาญจนบุรี สำเร็จการศึกษาโรงเรียนพลตำรวจ แล้วมารับราชการที่สมุยตลอดกระทั่งเกษียณอายุ วันนี้มีครอบครัวที่สมุยกลายเป็นชาวสมุยไปแล้ว

ข้าราชการที่ปฏิบัติดี เตรียมตัวมาดี เมื่อถึงวัยเกษียณอายุราชการก็มีความสุขได้ ที่ตลาดน้ำดอนหวาย มีของกิน ผัก ผลไม้ และสินค้าอื่นๆ วางขายอยู่เป็นจำนวนมาก มะละกอจาก”สวนนายปรุง” เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่สร้างชื่อให้กับตลาดแห่งนี้

ปัจจุบันคุณปรุง ป้อมเกิด อยู่บ้านเลขที่ 45/3 หมู่ 4 ตำบลลานตากฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม คุณปรุง ปลูกมะละกอมานานกว่า 20 ปีแล้ว แรกเริ่มเดิมที แม่ค้าในตลาด มีมะละกอแขกดำรสชาติดี จึงนำผลให้คุณโสภา ภรรยานายปรุงเพื่อชิมเนื้อ แล้วก็ลองนำเมล็ดไปปลูก คุณปรุงและภรรยาชอบใจ จึงปลูกมะละกอที่แม่ค้าให้มา เมื่อมีผลผลิตเขาชิมดู ปรากฏว่าอร่อยมาก ผลผลิตที่ได้เจ้าของนำออกจำหน่าย แต่ขายได้เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทเท่านั้น

คุณปรุงไม่ย่อท้อ พยายามปลูกรุ่นใหม่ เมื่อมีผลผลิตก็นำออกทดลองตลาดอีก ระยะหลังๆราคากระเตื้องขึ้น ทุกวันนี้ เท่าที่ทราบ คุณปรุงขายมะละกอจากสวนได้ราคาดีที่สุดในประเทศไทย คือกิโลกรัมละ 25-30 บาทมีบวกลบบ้างเล็กน้อย

มะละกอที่ปลูกอยู่เป็นสายพันธุ์แขกดำ เจ้าของได้คัดพันธุ์ โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากดูที่ผลมีความยาวพอประมาณ โคนผลเล็ก ตรงกลางใหญ่ ปลายเรียว แต่ไม่แหลมจนเกินไป ปลายควรทู่พอสมควร ผิวผลสวย ขนาด 1.5-2 กิโลกรัมต่อผล นี่เป็นลักษณะภายนอก เมื่อผ่าผลสีเนื้อต้องแดง สำคัญที่สุดรสชาติต้องหวาน คุณปรุงคัดพันธุ์มานานกว่า 20 ปี สามารถบอกได้เลยว่า มะละกอสวนนี้เป็น”มะละกอแขกดำสายพันธุ์นายปรุง”

คุณปรุงปลูกมะละกออยู่ริมถนนสายพุทธมณฑล-นครชัยศรี คนทั่วไปรู้จักกันดี ซึ่งเป็นละที่กับบ้านัพักอาศัย

นอกจากคุณปรุงแล้ว ปัจจุบันทายาทของเขา คุณสมจินต์ ป้อมเกิด ได้มาช่วยพ่อปลูกมะละกอ ขณะเดียวกันก็ขยายพื้นที่ออกไปไม่น้อย

คุณสมจินต์ เล่าให้ฟังว่า ตนเองช่วยพ่อปลูกมะละกอตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเรียนจบก็ไปทำงานเปลี่ยนบรรยากาศอยู่ที่นวนครพักหนึ่ง เมื่อแต่งงาน จึงกลับมาหาพ่อ พร้อมลงมือปลูกมะละกออย่างจริงจัง ซึ่งรายได้นั้น ปลูกมะละกอดีกว่ามาก

คุณสมจินต์เล่าถึงการปลูกมะละกอว่า เมื่อได้เมล็ดจากผลสุก นำมาล้างน้ำเอาเมือกที่หุ้มเมล็ดออก ผึ่งลมในสภาพห้อง 2-3 คืน แล้วคลุกยากันรา จึงห่อด้วยผ้าที่ชุบน้ำ เป็นเวลา 4 คืน ทุกวันนี้ทางสวนเพาะในถาดที่มี 60 หลุม หยอดเมล็ดลงหลุมละ 2 เมล็ด ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนปลูกได้ใช้เวลาราวเดือนครึ่ง

ราคาเมล็ดพันธุ์ที่เจ้าของจำหน่ายอยู่ เมล็ดละ 1 บาท ต้นที่เพาะในถาด 5 บาท หากแยกลงถุงดำต้นละ 10 บาท ดินที่ปลูก เจ้าของบอกว่า ระดับน้ำควรห่างจากสันแปลงไม่น้อยกว่า 1 เมตร หากน้ำใกล้รากมะละกอเกินไป อาจเหี่ยวเฉาได้ มะละกอต้องการความชื้น แต่ไม่ชอบดินแฉะ วิธีเตรียมดิน ใช้รถตีดิน เป็นการพรวนดินนั่นเอง

เกษตรกรรายนี้ ปลูกมะละกอโดยใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 2 เมตร

ใน 1 หลุม ปลูกมะละกอ 2 ต้น เมื่อมีดอกก็คัดเพศ ดอกที่มีลักษณะรูปขวดเรียวๆ เหมือนขวดเหล้า เป็นดอกกระเทย ผลออกมายาว เป็นที่ต้องการของผู้ปลูก

ต้นที่ดอกเหมือนดอกบัวตูม เป็นต้นตัวเมีย ผลที่ออกมาอ้วนป้อม ขายไม่ได้ เจ้าของจะตัดทิ้ง

ใน 1 หลุม มี 2 ต้น เมื่อพบว่ามีดอกกระเทยทั้งสองต้น ตัดทิ้งต้นหนึ่ง หากพบว่ามีดอกกระเทยและดอกตัวเมีย ตัดต้นตัวเมียทิ้ง แต่หากพบว่า มีเป็นต้นตัวเมียทั้งคู่ ตัดทิ้งทั้งคู่แล้วปลูกใหม่ ในระยะเวลา 3 เดือน เจ้าของบอกว่า เร่งให้ทันกันได้ แต่หากช้ากว่านั้น เจ้าของบอกว่าไม่ทัน

เรื่องการดูแลรักษา หน้าแล้งเจ้าของรดน้ำให้วันเว้นวัน

ปุ๋ย ต้นเล้กๆใส่สูตร 25-7-7 Royal Online ปริมาณขนาด 1 ช้อนกาแฟทุกๆ 7 วัน เมื่อมีผลใส่สูตร 8-24-24 เดือนละครั้ง ต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ เมื่อเก็บผลผลิตใส่สูตร 13-13-21 จำนวน 2 ครั้งต่อเดือน ส่วนปุ๋ยคอก ใส่ขี้ไก่ ช่วงที่ยังไม่เก็บผลผลิต เมื่อมีผลผลิตใส่ขี้ค้างคาว ช่วยให้เนื้อมีคุณภาพดี รสชาติหวาน ข้อควรพิจารณาในการใส่ปุ๋ย หากต้นมะละกอใบยังเขียวเข้มอยู่ แสดงว่าอาหารยังมีมาก อาจจะลดปริมาณปุ๋ยลง หากผลผลิตดก ใบไม่สมบูรณ์ อาจจะเพิ่มปุ๋ยให้มากขึ้น

โรคมะละกอที่น่ากลัวมาก คือโรคใบด่างวงแหวน ไม่มีทางรักษา เพียงแต่ป้องกัน โดยป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ หากพบว่ามะละกอเป็นโรคต้องรีบตัดทิ้ง ห้ามเสียดายเป็นอันขาด

คุณปรุงและลูกชาย ปลูกมะละกอแล้วห่มผ้าให้ที่ผลมะละกอ โดยใช้ผ้าซับในกระโปรง สีขาว(ยังไม่เคยใช้ ซื้อมาใหม่) ห่อรอบบริเวณที่ติดผล ผ้าที่ห่อหรือห่มให้ ช่วยป้องกันแมลงได้ส่วนหนึ่ง ทำให้คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น ป้องกันแสงแดดที่ร้อนจัดทำลายผิวผล