ปัจจุบัน บางโครงการของรัฐบาลไทยแทนที่จะช่วยเหลือเกษตรกร

กลับกลายเป็นซ้ำเติมสร้างภาระหนี้สินทับทวีคูณให้กับเกษตรกรจนไม่สามารถสลัดความยากจนออกจากตัวได้ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 500,000 บาท บางหมู่บ้านนำเงินไปซื้อปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์เคมี ให้เกษตรกรในหมู่บ้านตนเองซื้อเงินเชื่อ ซึ่งก็ดูดีอยู่ถ้าหากว่าปุ๋ยที่คณะกรรมการหมู่บ้านซื้อมามีคุณภาพดีตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรจริง ไม่ใช่จริงแต่เอกสาร แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการจัดซื้อดำเนินการโดยผู้ที่ไม่มีความรู้ หรืออะไรก็แล้วแต่ ปรากฏว่าปุ๋ยที่จัดซื้อไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด เพราะไม่มีการส่งตัวอย่างให้กรมวิชาการเกษตรตรวจวิเคราะห์ก่อนนำไปใช้ เกษตรกรที่ซื้อแล้วนำไปใช้ผลผลิตที่ได้ก็ไม่ดี หรือผลผลิตต่ำ

ซ้ำร้ายกว่านั้นราคาของผลผลิตในท้องตลาดก็ต่ำอยู่แล้ว เกษตรกรเลยโดนไม่รู้กี่เด้ง จนซับจนซ้อน จนแบบไม่มอง แท้จริงแล้วเกษตรกรไทยไม่ได้โง่ บางคนก็จำใจต้องซื้อเพราะเกรงใจ หรือถูกกดดันให้ช่วยซื้อ แต่ส่วนมากเขาไม่ซื้อเพราะเขารู้ทัน ปุ๋ยจึงเหลือกองบานเบอะอยู่ทุกหมู่บ้านที่จัดซื้อ บางหมู่บ้านขายได้ไม่ถึง 50 กระสอบ ปุ๋ยที่เหลืออยู่กระสอบบรรจุหมดอายุ เปื่อยแตก น่าเสียดายเงินงบประมาณ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก กรรมการหมู่บ้านก็คนละชุดกัน แต่ทำไมใจตรงกัน บางอำเภอ หรือบางจังหวัด ซื้อปุ๋ยยี่ห้อเดียวกัน เหมือนกันทั้งหมด นี่คือ ตัวอย่างหนึ่งที่ทำร้ายเกษตรกรและประเทศชาติ จนชาติอื่นรอบๆ บ้านเขาจะแซงหน้าเราไปกันหมดแล้ว “ฤๅเราจะเป็นมอดเป็นปลวกกัดกินไม้ที่เราอยู่อาศัย”

คุณยวน สกุลวา หรือ ลุงยวน บ้านเลขที่ 72 หมู่ที่ 9 ตำบลซับเปิบ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. (063) 803-2137 ปลูกทุเรียนมานานกว่า 15 ปี ในพื้นที่อำเภอวังโป่งแห่งนี้ เป็นเกษตรกรรายแรกในพื้นที่ที่ปลูกทุเรียนและเงาะ ซึ่งถือว่าเป็นพืชต่างถิ่น เป็นพืชชนิดใหม่ในพื้นที่ที่ไม่มีใครเคยปลูกมาก่อน

ลุงยวน เล่าว่า ในตอนนั้นก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าการนำทุเรียนและเงาะมาปลูกจะสามารถออกดอกติดผลหรือไม่ แต่ตนเองชอบการทำสวนจึงหาพันธุ์ทุเรียนและเงาะมาปลูก อย่างทุเรียนก็จะเน้นปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองเป็นหลัก และก็มีทุเรียนพันธุ์ก้านยาว ชะนี หลงลับแลบ้าง ตามที่จะหาซื้อพันธุ์มาได้ ในตอนนั้นคนที่ทราบว่าตนเองปลูกทุเรียน แน่นอนหลายคนคิดว่าตนเองถ้าจะบ้า แต่หลังจากปลูกไว้เพียง 4-5 ปี ต้นทุเรียนก็มีการเจริญเติบโตเป็นอย่างดี เริ่มออกดอกติดผลมาให้เห็น ก็สร้างความดีใจให้กับตนเองเป็นอย่างมาก

“ต้นทุเรียนเริ่มทยอยออกดอกติดผลมากขึ้นในแต่ละปี ซึ่งผลผลิตที่เก็บได้ถูกสั่งจองและขายแค่ในพื้นที่ก็หมดแล้ว ไม่ได้ออกไปขายที่ไหนเลย ซึ่งเป็นมาอย่างนี้นานนับ 10 ปี คนซื้อก็จะบอกกันปากต่อปาก ราคาขายทุเรียนก็จะอ้างอิงราคาตามท้องตลาดในแต่ละปี” ลุงยวน อธิบายอย่างภูมิใจ

ฤดูกาลที่ผ่านมา (ปี 2560) ต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตเพียง 20 กว่าต้นเท่านั้น ตนเองมีรายได้ราวๆ 150,000 บาท เลยทีเดียว ซึ่งเป็นปีที่ทุเรียนในท้องตลาดมีราคาสูงมาก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80-120 บาท ซึ่งคิดว่าอีกสัก 2-3 ปี ข้างหน้า ต้นทุเรียนที่ปลูกเพิ่มขึ้นมาอีก 100 กว่าต้น ก็จะเริ่มให้ผลผลิตตามมาและน่าจะสร้างรายได้ให้กับครอบครัวมากขึ้น

ลุงยวน เล่าว่า ในช่วงของการปลูกก็เพียงแค่รดน้ำให้ต้นทุเรียนไม่ขาดน้ำ มีให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพที่หมักเองบ้างแค่นั้นเอง ค่อนข้างจะเลี้ยงปล่อยแบบธรรมชาติ แต่พอทุเรียนเริ่มมีผลผลิตเราก็มาดูแลบ้าง เช่น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอให้บ้างหลังการเก็บผลผลิตหมด เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้ต้นทุเรียน ซึ่งไม่ได้ให้มากมายอะไรนัก หรือจะให้ช่วงติดผลบ้างตามเหมาะสม อย่างต้นที่ให้ผลผลิตตอนนี้มีเพียง 20 กว่าต้นเท่านั้น จากการสังเกตจะติดผลประมาณ 30-40 ผล ต้นหนึ่งก็จะให้น้ำหนักรวมของผลผลิตประมาณ 80-100 กิโลกรัม โดยประมาณ เนื่องจากผลทุเรียนอย่างพันธุ์หมอนทอง ผลหนึ่งเฉลี่ยน้ำหนักที่ได้ประมาณ 3 กิโลกรัม

ส่วน “เงาะ” ที่นำต้นมาปลูกพร้อมกับทุเรียนเมื่อ 15 ปีก่อนนั้นก็เช่นกัน เป็นอีกพืชที่สร้างรายได้คู่กันมากับทุเรียน เช่นเดียวกันที่ลุงยวนเป็นคนแรกในพื้นที่ที่นำเอาเงาะมาทดลองปลูก จำนวน 60 ต้น ซึ่งเป็นเงาะสี หลังปลูกเพียง 3-4 ปี เงาะก็เริ่มให้ผลผลิต เก็บขายได้ราคาตามท้องตลาดในแต่ละปีเช่นกัน อย่างปีนี้เงาะราคา 20-25 บาท ต่อกิโลกรัม รายได้รวมจากการขายเงาะสูง 50,000-70,000 บาท ทีเดียว

ลุงยวน เล่าว่า เงาะของที่สวนค่อนข้างหวานมาก กรอบ เนื้อล่อนแห้งไม่ติดเปลือกเลย ทำให้ลูกค้าชอบและสั่งซื้อหรือจองเอาไว้ล่วงหน้าเช่นเดียวกับทุเรียน แทบจะไม่ได้เก็บขายนอกพื้นที่เลย การเจริญเติบโตของต้นเงาะก็ดี เป็นพืชที่ค่อนข้างทน อย่างการออกดอกที่นี่ก็จะออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมในแต่ละปี และมาเก็บเกี่ยวได้ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน อย่างเงาะก็เก็บขายได้ทุกวัน เก็บคนเดียววันประมาณ 100 กิโลกรัม

“ถ้าเฉลี่ยราคากิโลกรัมละ 20 บาท ก็ได้เงินวันละประมาณ 2,000 บาท ไล่เก็บไปเรื่อยๆ ในช่วงเก็บผลผลิตประมาณ 2 เดือน ซึ่งผลผลิตเงาะต่อต้นก็ประมาณ 100 กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตค่อนข้างน้อย เนื่องจากทำสวนคนเดียวไม่ได้จ้างแรงงาน ไม่ได้ฉีดสารป้องกันกำจัดแมลงเลย จะมีฉีดเพียงฮอร์โมนอาหารเสริมให้บ้างในช่วงก่อนการออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอให้บ้างในช่วงให้ผลผลิต 1 กระสอบ หรือ 50 กิโลกรัม ก็เต็มที่แล้วในแต่ละปี”

ลุงยวนบอกว่า ถ้ามีแหล่งน้ำหรือระบบน้ำดีก็สามารถปลูกได้ทั้งปี แต่ที่สวนตนเองจะปลูกต้นไม้ช่วงต้นฤดูฝนเพื่อลดภาระการให้น้ำ หลังต้นไม้ผ่านช่วงฤดูฝนไปก็สามารถตั้งตัวได้ มีความแข็งแรงระดับหนึ่ง การเตรียมพื้นที่การปลูกทุเรียน ถ้าเป็นพื้นที่ใหม่ก็ต้องปรับไถ ขุดตอ ขุดรากไม้เก่า ออกจากแปลง ถ้าเป็นพื้นที่ดอนไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง ก็ไถกำจัดวัชพืชอย่างเดียว แต่ถ้าพื้นที่ดอน มีแอ่งที่ลุ่มน้ำขัง ไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ ถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มหรือต่ำมีน้ำท่วมขังก็ต้องทำทางระบายน้ำหรือยกร่องแบบลูกฟูกให้เกิดการระบายน้ำดี เนื่องจากทุเรียนอ่อนแอต่อสภาพน้ำขังแฉะ และอ่อนแอต่อโรคไฟท็อปทอร่า

การปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมปลูก

ขุดหลุมให้มีขนาดกว้างยาวและลึก ด้านละ 30 เซนติเมตร ผสมปุ๋ยคอกเก่า ประมาณ 2-3 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมา กลบกลับคืนไปในหลุม สูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคไม่มีแมลงทำลายและมีใบยอดคู่สุดท้ายแก่ (ถ้าใบเป็นระยะใบอ่อนต้องรอให้ใบแก่เสียก่อน) ใช้มีดกรีดก้นถุงออก ถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดออก วางถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ววางลงตรงกลางหลุม จัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆ พร้อมทั้งปรับระดับสูงต่ำของต้นทุเรียนให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นหรือระดับดินปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน ดึงถุงพลาสติกออก ระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม อย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอด หรือรอยทาบ แล้วปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้ว พร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยก กดดินบริเวณโคนต้น หาวัสดุคลุมโคนต้นแล้วรดน้ำตามให้โชก จัดทำร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูก โดยใช้ทางมะพร้าว ทางจาก แผงหญ้าคา ทางระกำ หรือตาข่ายพรางแสง

เมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออก หรืออาจปลูกไม้เพื่อให้ร่มเงา เช่น กล้วย ก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศแห้งและมีแสงแดดจัด นิสัยทุเรียนไม่ชอบที่โล่งแจ้ง ดังนั้น จึงควรมีไม้บังร่มให้แก่ทุเรียนบ้าง โดยเฉพาะทุเรียนในปีแรกที่ยังเล็กอยู่ต้องการร่มเงามาก สามารถบังร่มได้โดยปลูกต้นไม้บังร่มหรือใช้ซาแรนบังแดดก็ได้ นอกจากนี้ ประโยชน์ของไม้บังร่มอาจปลูกเพื่อเป็นรายได้จุนเจือ พืชที่เหมาะสมที่สุดคือ กล้วย เพราะกล้วยให้ร่มเงาเร็วที่สุดในการใช้เป็นไม้บังร่มเงาชั่วคราว ยิ่งถ้าเป็นสวนทุเรียนที่มีทุนน้อยถ้าได้กล้วยขายเป็นรายได้ไปพลางๆ อย่างน้อยก็พอเป็นค่ารักษาสวน ค่าปุ๋ย ใส่ทุเรียนหรือไม่ก็เป็นการป้องกันกำจัดวัชพืช เพราะเมื่อมีกล้วยขึ้นปกคลุมแล้ว พวกวัชพืชก็จะขึ้นน้อยลง อย่าลืมแกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้ว ประมาณ 1-2 เดือน เพื่อไม่ให้รัดคอดต้นทุเรียน

การปฏิบัติดูแลทุเรียน ในช่วงก่อนให้ผลผลิต

เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิตในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้ ซึ่งลุงยวนเลือกปลูกกล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นไม้พี่เลี้ยงให้กับต้นทุเรียน โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง แสงแดดจัดมาก จะทำให้ใบทุเรียนไหม้ได้ หรือกรณีที่ต้นกล้วยยังโตไม่ทันก็ควรทำร่มเงาให้

เมื่อตรวจพบทุเรียนตายหลังปลูก ให้ปลูกซ่อม การให้น้ำนั้น ช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝน ถ้ามีฝนตกหนักควรทำทางระบายน้ำ และตรวจดูบริเวณหลุมปลูก ถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีน้ำขังต้องพูนดินเพิ่ม ถ้าฝนทิ้งช่วง ควรรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ ในปีต่อๆ ไป ควรดูแลรดน้ำให้ต้นไม้ผลอย่างสม่ำเสมอและในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง

การตัดแต่งกิ่ง ปีที่ 1-2 ไม่ควรตัดแต่ง

ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ตามธรรมชาติ ปีต่อๆ ไป ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งกระโดงในทรงพุ่ม กิ่งเป็นโรคออก เลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่งมุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสม โดยให้กิ่งล่างสุดอยู่สูงจากพื้นดิน ประมาณ 80-100 เซนติเมตร การป้องกันกำจัด ช่วงแตกใบอ่อนถ้ามีความจำเป็นมีแมลงศัตรูทำลายก็ควรป้องกันกำจัดตามการระบาดหรือเลือกใช้น้ำหมักไล่แมลง

ช่วงฤดูฝนควรหมั่นเดินสำรวจ มีการควบคุมวัชพืชโดยการปลูกพืชคลุมดินและอาจจะกำจัดโดยการถอนหรือตัดหญ้า เพื่อป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าและพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพราะต้นทุเรียนยังเล็กอยู่ละอองสารเคมีอาจจะไปทำลายต้นทุเรียนได้ง่าย

การใส่ปุ๋ย

ควรทำดังนี้ ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทำโคนคือ ถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่ม หว่านปุ๋ย และพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่มให้มีลักษณะเป็นหลังเต่า และขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรงพุ่มหรือจะใส่ปุ๋ย โดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุมเป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม วิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยจากการระเหย หรือถูกน้ำชะพา หว่านปุ๋ยคอกก่อนและตามด้วยปุ๋ยเคมี

ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบ และให้ห่างจากโคนต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกับขนาดทรงพุ่มปริมาณและเวลาใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในปีที่ 1-3 เน้นการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2-5 กิโลกรัม ต่อต้น ในปีที่ 4 ขึ้นไป ใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มขึ้น ราว 5-10 กิโลกรัม ต่อต้น ใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 150-200 กรัม ต่อต้น ตามความเหมาะสม

การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงให้ผลแล้ว

เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลมาก และให้ผลผลิตคุณภาพดี การเตรียมต้นให้พร้อมที่จะออกดอกคือ การเตรียมต้นให้พร้อม มีความสมบูรณ์ อาหารสะสมมีเพียงพอ ควรจะต้องมีใบแก่ทั้งต้น และสภาพแวดล้อมเหมาะสม ฝนแล้ง ดินมีความชื้นต่ำ อากาศเย็นลงเล็กน้อยทุเรียนก็จะออกดอก ขั้นตอนต่างๆ จะต้องรีบดำเนินการภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนี้

การตัดแต่งกิ่ง หลังเก็บเกี่ยวให้รีบตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งแขนง ด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็ว ทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สารเมทาแลคซิล หรือปูนแดงกินกับหมาก เพื่อป้องกันการทำลายของเชื้อรา

ก่อนการออกดอก แนะนำว่า ควรงดการให้น้ำสัก 10-15 วัน เมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มสลดลงต้องเริ่มให้น้ำทีละน้อยเพื่อกระตุ้นให้ตาดอกเจริญ อย่าปล่อยให้ขาดน้ำนานจนใบเหลืองใบตก เพราะตาดอกจะไม่เจริญ และระวังอย่าให้น้ำมากเกินไป เพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้ วิธีให้น้ำที่เหมาะสม คือให้น้ำแบบโชยๆ แล้วเว้นระยะ สังเกตอาการของใบและดอก เมื่อเห็นดอกระยะไข่ปลามากพอแล้ว
ก็เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนสู่สภาวะปกติ

เลือกเก็บเกี่ยวเฉพาะผลทุเรียนแก่เต็มที่แล้วเท่านั้น

โดยสังเกตจากลักษณะของผลและนับอายุ สีเปลือกจะเปลี่ยนจากสีเขียวสดเป็นสีน้ำตาลหรือสีเขียวแกมเทา แต่ผลที่อยู่นอกทรงพุ่มที่โดนแสงแดดมากจะมีสีน้ำตาลมากกว่าผลที่อยู่ในทรงพุ่ม ก้านผลสีเข้มขึ้นเป็นสีน้ำตาลคล้ำ สาก ตรงรอยต่อของระหว่างก้านผลตอนบนกับก้านผลตอนล่าง (ปลิง) จะบวมใหญ่ เห็นรอยต่อชัดเจน ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาล หนามกางออก ร่องหนาค่อนข้างห่าง สังเกตรอยแยกบนพูจะเห็นได้ชัดเจน ยกเว้นพันธุ์ก้านยาวจะเห็นไม่ชัด การเคาะเปลือกหรือกรีดหนาม ผลทุเรียนที่แก่จัดจะมีเสียงดังหลวมๆ ทั้งนี้เมื่อผลทุเรียนในต้นเริ่มแก่สุกและร่วงก็เป็นสัญญาณเตือนว่าทุเรียนที่เหลือซึ่งเป็นรุ่นเดียวกันเริ่มแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้วการนับอายุ

การนับอายุทุเรียนนั้นจะนับจำนวนจากวันหลังจากดอกบานจนถึงวันที่ผลแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ คือพันธุ์หมอนทอง ใช้เวลา 140-150 วัน พันธุ์ชะนี ใช้เวลา 110-120 วันพันธุ์ก้านยาว ใช้เวลา 120-135 วัน การนับอายุนี้อาจจะคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อย ขึ้นกับอุณหภูมิของอากาศ เช่น อากาศร้อนและแห้งแล้งทุเรียนจะแก่เร็วขึ้น หากมีฝนตกชุกและความชื้นสูงทุเรียนจะแก่ช้า

ดังนั้น เพื่อสะดวกในการจดจำและไม่เกิดความผิดพลาดในการตัดทุเรียนอ่อน เกษตรกรควรจดบันทึกวันที่ดอกบาน และทำเครื่องหมายรุ่น ดังนี้ จดบันทึกวันที่ดอกทุเรียนบานของแต่ละพันธุ์ และแต่ละรุ่น ทำเครื่องหมายรุ่นไว้ในขณะที่มีการโยงกิ่งด้วยเชือก และควรใช้สีที่แตกต่างกันในการโยงกิ่งแต่ละรุ่น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการตัดทุเรียนที่แก่มีคุณภาพดี

หลายท่านที่ใช้ถนนสายรังสิต-นครนายก อยู่เป็นประจำ ต่างทราบกันเป็นอย่างดีว่าตลอดเส้นทาง จะพบเห็นร้านจำหน่ายต้นไม้และพันธุ์พืชตั้งอยู่เป็นระยะ แต่ที่มีจำนวนร้านมากเป็นพิเศษคือบริเวณคลองสิบห้า ซึ่งรู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นถนนต้นไม้ หรือตลาดไม้ดอก ไม้ประดับ คลองสิบห้า

หากผ่านเลยคลองสิบห้า มาอีกเล็กน้อยจะได้พบกับร้านจำหน่ายสนประดับขนาดใหญ่ ชื่อว่า “สวนนันทวัน” ที่เพาะพันธุ์สนประดับชื่อดังกว่า 10 ชนิด รวมถึงพันธุ์ไม้ประดับชนิดอื่น อย่างชวนชมหรือต้นปรง เพื่อขายให้แก่ร้านต้นไม้ย่านบางใหญ่และทั่วประเทศ

คุณพงษ์เดช รักษาสกุล เจ้าของสวนที่นั่งอยู่บนรถวิลแชร์ บอกเล่าเรื่องราวชีวิตพร้อมความเป็นมาของสวนแห่งนี้ว่า เป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เข้ามาเรียนปริญญาตรีสาขาพืชไร่ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบการศึกษาเมื่อปี 2516 รุ่นที่ 29

หลังจากเรียนจบได้ไปทำงานที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดนราธิวาส ทำงานได้ประมาณ 5 เดือน เกิดเหตุการณ์ถูกคนร้ายยิง กระสุนตัดไขสันหลังระดับหน้าอก จนทำให้ร่างกายส่วนล่างพิการมาตั้งแต่ปี 2517 ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลถึงปีเศษ

คุณพงษ์เดชกำพร้าพ่อ-แม่ มาตั้งแต่เด็ก เหลือแต่ญาติผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก ระหว่างรักษาตัวไม่รู้จะไปไหน ครั้นหันไปพึ่งญาติพี่น้องก็ไม่มี คิดว่าอนาคตถ้าไม่ตายก็ต้องไปอยู่สถานสงเคราะห์ แต่โชคดีกลับได้รับความเมตตาจากครอบครัวของเพื่อนจึงมีโอกาสเข้าไปพักอาศัยในบ้านที่กรุงเทพฯ โดยไม่รังเกียจ จึงได้นับถือเป็นพ่อ-แม่

เส้นทางชีวิตของคุณพงษ์เดชที่ต้องต่อสู้กับความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย รวมไปถึงความพยายามที่จะใช้ชีวิตด้วยตัวเองโดยไม่รบกวนและสร้างปัญหาให้แก่คนอื่น จึงทำให้เขาตัดสินใจขอมาอยู่ในที่ดินของคุณพ่อจำนวน 50 ไร่ ริมถนนสายรังสิต-นครนายก ระหว่างคลองสิบห้า-คลองสิบหก พร้อมกับนำความรู้เรื่องเกษตรจากที่ร่ำเรียนมาขยายพันธุ์ไม้ผล อย่างขนุนและมะม่วงหลายชนิด เป็นงานอดิเรก แล้วแจกจ่ายแก่คนที่ต้องการโดยไม่ได้จำหน่าย

กระทั่งเกิดกระแสความนิยมต้นสนปฏิพัทธ์ขึ้น แล้วคุณพงษ์เดชเห็นว่ามีอยู่เป็นจำนวนมากในย่านนี้ เลยลองนำมาขยายพันธุ์ขาย โดยไม่ได้คาดหวังว่าจะขายได้หรือไม่ก็ตาม

จนเมื่อตลาดต้นไม้คลองสิบห้า เกิดขึ้น ต้นสนปฏิพัทธ์ที่ตั้งวางอยู่ด้านหน้าร้านก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าที่ผ่านไป-มาพอสมควร แล้วต่อมาเมื่อตลาดต้นไม้คลองสิบห้า เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มีลูกค้ารู้จักร้านต้นไม้เพิ่มมากขึ้นด้วย จากนั้นคุณพงษ์เดชจึงต่อยอดขยายพันธุ์สนอีกหลายชนิด อีกทั้งจัดวางรูปแบบให้สวยงาม พร้อมกำหนดชื่อร้านต้นไม้ตัวเองว่า “สวนนันทวัน”

การขายต้นไม้และพบปะลูกค้าทำให้คุณพงษ์เดชได้มีโอกาสสะสมความรู้ ประสบการณ์มากขึ้น อีกทั้งยังได้เรียนรู้ การทำตลาดซื้อ-ขายต้นไม้เป็นอย่างดี สามารถจับทางการค้าขายได้ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่ยังมองว่าเป็นหนทางการหารายได้ไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายภายในสวน แบบพึ่งพาตัวเองโดยไม่ต้องเป็นภาระรบกวนคนอื่น ฉะนั้น ความเพียรพยายาม อดทน วิริยะต่อการใช้ชีวิตแม้ร่างกายไม่เอื้อเช่นนี้จึงทำให้คุณพงษ์เดชได้รับฉายาจากหมู่เพื่อนรักว่า “สู้”

ปัจจุบันสวนนันทวัน ที่มีคุณพงษ์เดชเป็นเจ้าของเพาะ-ขายพันธุ์สนประดับกว่า 10 ชนิดเป็นหลัก ได้แก่ สนแผง สนมังกร สนเลื้อย สนบลู สนไพรเงิน สนแซมทอง สนสามร้อยยอด สนฉัตร สนดินสอ สนไทรเงินบลู และสนทรายทอง นอกจากนั้น ยังเพาะไม้ประดับชนิดอื่นไว้ด้วย อย่างชวนชม ต้นปรง หรือแม้กระทั่งส้มจี๊ด

ลูกค้าของคุณพงษ์เดชเป็นกลุ่มคนขายต้นไม้อยู่ทางบางใหญ่ โดยขายส่งต้นละ 25-30 บาท พ่อค้าเหล่านี้เมื่อซื้อไปแล้วจะนำไปเปลี่ยนใส่กระถางขนาดใหญ่แล้วตั้งราคาขายที่สูง นอกจากนั้น ก็มีพ่อค้าตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศมารับซื้อไปขายเช่นเดียวกัน

ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ยกเว้นสนฉัตรต้องเพาะเมล็ด

คุณพงษ์เดช บอกว่า ขยายพันธุ์ต้นสนด้วยการปักชำ ยกเว้นสนฉัตรต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเท่านั้น ทั้งนี้ เคยลองปักชำต้นสนฉัตรแล้ว แต่ไม่ได้ผลแล้วขาดคุณภาพ ดังนั้น จึงต้องสั่งต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดมาขายในทุกปี คราวละจำนวน 3-4 หมื่นต้น จากนั้นนำมาเลี้ยงต่ออีกเป็นเวลา 2 ปี ทำให้ต้นสูงสัก 40 เซนติเมตร ขายในราคาต้นละ 50 บาท

ส่วนต้นสนที่ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำจะต้องเลือกยอดที่มีขนาดและความสมบูรณ์เต็มที่ โดยใช้ทักษะและความชำนาญของผู้ปลูก เหตุผลที่ต้องเลือกยอดเพราะต้องการให้ต้นสนที่ลูกค้านำไปปลูกมีความสวยงามสมบูรณ์ทั้งต้นและใบ โดยแต่ละครั้งที่มีการขยายพันธุ์รวมทั้งหมดเป็นแสนต้น

นอกจากเทคนิคการเลือกยอดปักชำเพื่อให้ได้ต้นที่สวยงามสมบูรณ์แล้ว การใช้ดินปลูกก็มีส่วนสำคัญด้วย ขณะที่เจ้าของสวนสวนนันทวันเองก็มีความรู้ทางด้านพืชไร่ ดังนั้น จึงนำหลักทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับอาชีพตัวเองได้อย่างไม่ยาก

ส่วนผสมดินปลูก มีความพิเศษตรงใช้ละอองข้าว

คุณพงษ์เดช เผยว่า ดินปลูกต้นไม้ได้มาจากส่วนผสมของละอองข้าวหรือฝุ่นข้าวที่โรงสีเป่าออกมาแล้วมีข้าวลีบปนมาด้วย จากสมัยก่อนเคยใช้แกลบดิบ แต่มาในช่วงหลังแกลบราคาแพงเพราะมีการนำไปใช้เกี่ยวกับพลังงาน ดังนั้น จึงลองนำละอองข้าวมาใช้แทน เพราะเป็นของที่เหลือและมีราคาถูก

แต่การนำละอองข้าวมาใช้แทนแกลบดิบก็ต้องมีการคำนวณและทดลอง จนในที่สุดพบว่าส่วนผสมของดินปลูกที่ลงตัว ได้แก่ ละอองข้าว 2 ส่วน มะพร้าวสับ 3 ส่วน ขุยมะพร้าว 1 ส่วน และหน้าดินเล็กน้อย โดยจะมีการผสมดินปลูกครั้งละหลายสิบตัน

สำหรับปัญหาโรคที่เกิดกับต้นสนนั้น มักพบว่าสนไทรเงินกับสนเลื้อยจะเจอเพลี้ยไฟ ส่วนสนฉัตรมักพบเป็นเชื้อรา แต่อย่างไรก็ตาม โรคที่เจอมีส่วนน้อยมาก แล้วไม่ค่อยใช้ยาป้องกัน อาจเป็นเพราะว่าต้นสนมีความทนต่อโรค แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีการปลูกและดูแลอย่างถูกต้องและเอาใจใส่ประกอบกันไปด้วย

ชี้…แห่เพาะต้นไม้ตามกระแส ทำให้ราคาตกวูบ

คุณพงษ์เดช มองว่า ตลาดซื้อ-ขายต้นไม้มักเป็นไปตามกระแสที่ถูกกำหนดโดยผู้ซื้อ พอมีกระแสนิยมก็แห่กันไปขยายพันธุ์ขายจนล้นตลาด อย่างที่เห็นได้ชัดว่าไม้ดอกหลายชนิดที่เคยโด่งดังในอดีตพอถึงเวลานี้ราคาตกต่ำอย่างมากแล้วตกต่ำมายาวนานด้วย อย่างไทรเกาหลี ชวนชม ลีลาวดี ซึ่งสามารถเพาะได้ง่ายจึงผลิตกันออกมาจำนวนมากจนล้นตลาด

“สำหรับแนวคิดของผมคืออย่าไปทำตามกระแส เลยมาจับเรื่องต้นสนที่เน้นสนประดับกว่า 10 ชนิด เนื่องจากพบว่าไม่ค่อยมีใครสนใจปลูก อาจเพราะเป็นพืชที่ติดเงื่อนไขต้องใช้เวลานานกว่าจะเจริญเติบโตเพื่อขายได้เงิน จนทำให้ผู้ปลูกรอไม่ได้ ขณะที่ทางสวนมีข้อได้เปรียบเรื่องขนาดพื้นที่ จึงเป็นข้อดีของการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้สะดวกในจำนวนมาก อีกทั้งยังมีคู่แข่งน้อย” คุณพงษ์เดช กล่าว

สนใจชมต้นสนประดับหรือต้องการสั่งซื้อแวะไปได้ที่ สวนนันทวัน ตั้งอยู่ระหว่างคลองสิบห้า-คลองสิบหก ถนนรังสิต-นครนายก (เลยปั๊มน้ำมัน ปตท. เล็กน้อย) สอบถามเส้นทางติดต่อ คุณพงษ์เดช รักษาสกุล หรือ คุณสู้ โทรศัพท์

หลังจากเกษียณราชการ ได้ปลูกสับปะรด พันธุ์ MD-2 จากปี 2556 ถึงปัจจุบัน ทั้งขยายหน่อปลูกจากรุ่นแรกซึ่งเริ่มปลูกเพียง 100 ต้น ต่อมาสั่งหน่อจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูกเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง เวลาผ่านไปได้เก็บผลผลิตไป 4 รุ่นแล้ว แม้จำนวนผลจะไม่มาก แต่ก็เห็นว่าสับปะรดพันธุ์นี้มีศักยภาพในเชิงการค้าหรือธุรกิจ จะต่อยอดได้หลายช่องทาง เพราะคุณลักษณะที่โดดเด่นทางพันธุกรรมที่แสดงออกมาให้เห็น (phenotype)

เอาเป็นว่าผมขอแสดงตัวเลขน้ำหนักผลสับปะรดในแต่ละรุ่น ดูครับว่าสภาพที่ปลูกในถุงพลาสติกนั้นยังให้น้ำหนักผลเป็นที่น่าพอใจ ดังนี้

รุ่นที่ 1 เก็บเกี่ยวสับปะรด จำนวน 80 ผล น้ำหนักรวม 103.46 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักเฉลี่ย 1.29 กิโลกรัม/ผล

รุ่นที่ 2 เก็บเกี่ยวสับปะรด จำนวน 20 ผล น้ำหนักรวม 32.32 กิโลกรัม คิดเป็นน้ำหนักเฉลี่ย 1.61 กิโลกรัม/ผล รุ่นที่ 3 เก็บเกี่ยวสับปะรด จำนวน 100 ผล น้ำหนักรวม 144.25 กิโลกรัม คิดเป็นน้ำหนักเฉลี่ย 1.44 กิโลกรัม/ผล

รุ่นที่ 4 เก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่าง วันที่ 21 พฤษภาคม-15 มิถุนายน 2560 จำนวน 99 ผล น้ำหนักรวม 132.5 กิโลกรัม น้ำหนักเฉลี่ย 1.33 กิโลกรัม/ผล

เมื่อคิดน้ำหนักผลสับปะรดทั้ง 4 รุ่นแล้ว ได้ค่าเฉลี่ย 1.41 กิโลกรัม/ผล ซึ่งจัดว่าเป็นผลสับปะรดขนาดกลาง หรือ ใหญ่ ซึ่งได้มาตรฐานของตลาดในประเทศ และเพื่อการส่งออก สำหรับผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวในแต่ละรุ่นนั้นมีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักระหว่าง 1.5-2 กิโลกรัมกว่าๆ มากกว่าร้อยละ 50 และผลสับปะรด MD-2 ที่มีน้ำหนักสูงสุดที่ชั่งได้ คือ 2.4 กิโลกรัม/ผล ตรงนี้เป็นฐานการคิดที่ว่า หากปลูกลงแปลงดินแบบทั่วไป น่าจะได้ผลสับปะรดที่มีน้ำหนักและผลขนาดใหญ่กว่าปลูกในถุงพลาสติก (ดูตารางข้อมูลน้ำหนักผล)

รุ่นที่ 4 เก็บเกี่ยวผลผลิต ระหว่าง วันที่ 21 พฤษภาคม-15 มิถุนายน 2560

จำนวน 99 ผล น้ำหนักรวม 132.5 กิโลกรัม น้ำหนักเฉลี่ย 1.33 กิโลกรัม/ผล

หากคิดน้ำหนักผลสับปะรดทั้ง 4 รุ่น ได้น้ำหนักโดยเฉลี่ย 1.41 กิโลกรัม/ผล จัดว่าเป็นผลสับปะรดขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งได้มาตรฐานของตลาดในประเทศและเพื่อการส่งออก

นอกจากขนาดและน้ำหนักของผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว สับปะรด MD-2 ยังมีจุดเด่นอีกหลายด้านที่ประเมินได้ เช่น

การเจริญเติบโตที่เร็วและตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ผลผลิตต่อไร่ที่สูงกว่าเพราะน้ำหนักดี ผลใหญ่ เนื้อแน่น ผลที่แก่สุกในฤดูหนาวให้รสชาติที่หวานกว่าพันธุ์อื่นๆ จากการวัดค่าน้ำตาลด้วย Hand refractometer ในสับปะรดแต่ละรุ่น พบว่ามีค่าความหวานอยู่ระหว่าง 16-17 องศาบริกซ์ เมื่อกินจะไม่แสบลิ้นและไม่แสบปาก บังคับการออกดอกง่าย เพราะตอบสนองต่อฮอร์โมนเร่งดอกได้ดีมาก โดยเมื่อฉีดพ่นอีเทรล (สารเอทิลีน) เพียงครั้งเดียวจะออกดอกเกือบทุกต้น ทำให้สะดวกต่อแผนการเก็บเกี่ยวที่น้อยครั้ง

เนื้อมีรสชาติหวานนำและมีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองเข้มตลอดผล ผิวเปลือกเมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองสวยงาม เปลือกบางปอกง่าย และแข็งทนทานต่อการขนส่ง ตาใหญ่และตาตื้นไม่ต้องเจียนซ้ำ ลักษณะผลเป็นรูปทรงกระบอก ไหล่เต็ม ก้านผลสั้นผลอยู่ในทรงพุ่มจึงไม่ค่อยหักล้ม อายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 130-135 วัน นับแต่ที่ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการออกดอก และผลผลิตเก็บไว้ได้นานในการวางจำหน่ายที่อุณหภูมิห้อง เป็นต้น

สภาพแวดล้อมแตกต่าง ปรับตารางวิธีการปฏิบัติดูแลรักษา

จากประสบการณ์ที่ได้ปลูกสับปะรด พันธุ์ MD-2 มาระยะหนึ่งนั้น มีข้อมูลที่น่าสนใจอีกหลายอย่างที่ได้จากการปฏิบัติกับสับปะรดพันธุ์นี้ โดยเฉพาะที่บ้านสวนเป็นการปลูกในถุงพลาสติก จึงมีความแตกต่างไปจากคำแนะนำ ตามที่ชาวไร่ทั่วไปปฏิบัติกันอยู่ ดังนี้

การปลูกด้วยจุกและหน่อ ก่อนปลูกควรปลิดใบย่อยที่ส่วนล่างของจุกและหน่อที่หุ้มรากอยู่ออกไปบางส่วน เมื่อนำไปปลูกจะทำให้รากบริเวณนั้นได้สัมผัสกับดิน และได้รับน้ำทันที ทำให้ตั้งตัวได้เร็ว และเติบโตได้รวดเร็วพอๆ กันทั้งการปลูกด้วยจุกและหน่อ
การใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบลงในดินก่อนการปลูกในอัตราที่เหมาะสม ช่วยให้ดินร่วนซุย ไม่แข็งตัว มีการอุ้มน้ำที่ดี โดยเฉพาะในช่วงแล้งต้นสับปะรดไม่แสดงอาการเหี่ยว ขี้ไก่แกลบไม่มี
เมล็ดหญ้า ทำให้ลดปัญหาวัชพืช ซึ่งหากใส่ขี้วัวจะมีหญ้าขึ้นมาก และในปุ๋ยขี้ไก่แกลบยังให้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และธาตุรองอื่นๆ ในปริมาณที่มากกว่าปุ๋ยจากมูลสัตว์ทุกชนิด เป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงไปได้อีกส่วนหนึ่ง

การตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีที่ดีมาก Royal Online V2 จากการที่ใช้ปุ๋ยเคมีผสมน้ำฉีดพ่นลงในทรงพุ่ม/ทางใบ เดือนละ 2 ครั้ง โดยไม่ใส่ปุ๋ยแบบเม็ดเลย พบว่าต้นสับปะรดมีการเจริญเติบโตที่ดี/ต่อเนื่อง ใบมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างและหนา สร้างทรงพุ่มและลำต้น (สะโพก) ที่ใหญ่ได้รวดเร็วขึ้น สามารถบังคับการออกดอกได้ภายในเวลา 7-8 เดือน และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ใน 12-13 เดือน นับจากวันที่ลงปลูก (ปลูกด้วยหน่อกลาง/จุกใหญ่)

การให้น้ำ สับปะรด พันธุ์ MD-2 ต้องการน้ำที่สม่ำเสมอ และพอเหมาะ แต่ไม่มากจนดินชุ่มแฉะ ดังนั้น จากการให้ปุ๋ยผสมน้ำฉีดพ่นในทรงพุ่มทางใบ สับปะรดจะได้น้ำไปพร้อมกับปุ๋ยเป็นระยะๆ จึงเจริญเติบโตได้ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะผ่านในฤดูหนาวและฤดูร้อนก็ตาม
การผลิตสับปะรดคุณภาพให้ได้ผลขนาดใหญ่หรือกลาง เนื้อสีเหลืองทองและมีความหวานสม่ำเสมอตลอดปีนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่พันธุ์สับปะรดที่มาจากแหล่งพันธุ์ที่ต่างกัน (สังเกตว่า นอกจาก พันธุ์ MD-2 แล้วยังมีพันธุ์ MG-3 ที่เป็นเครือญาติกัน แต่ให้ลักษณะบางอย่างที่ดีเด่นแตกต่างกัน)
การคัดแยกจุกและหน่อไปปลูกตามขนาด คือหน่อใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ไม่ปลูกปะปนกันเพื่อการเติบโตที่เสมอหรือเท่าๆ กัน
การปรับสภาพดินปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราที่เหมาะสม