ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งพื้นเมืองและชันโรง

อำเภอบ้านคา มีสมาชิกประมาณ 300 คน หน้าที่ของวิสาหกิจคือ เน้นการส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องผึ้งและชันโรงที่ถูกต้องโดยได้รับการถ่ายทอดจาก มจธ.ราชบุรี โดยวิสาหกิจชุมชนฯ ได้รวบรวมน้ำผึ้งจากสมาชิกเพื่อส่งขายต่อให้กับศูนย์วิจัยฯ เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ Beesanc โดยน้ำผึ้งโพรงทางศูนย์รับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 500-600 บาท น้ำผึ้งชันโรงรับซื้อที่กิโลกรัมละ 1,000 บาท นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนฯ ยังมีทำกล่องหรือบ้านผึ้งส่งขายด้วย โดยมีออร์เดอร์ในแต่ละเดือนประมาณ 200-300 ใบต่อเดือน ซึ่งอาชีพดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่นอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านแล้ว ยังช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรเรื่องลดการใช้สารเคมี เป็นการดูแลรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

หากใครสนใจเรื่องการเลี้ยงผึ้งและชันโรง สามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้ที่อุทยานการเรียนรู้เรื่องผึ้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี โทรศัพท์ 032-726-510-13 เชื่อหรือไม่…ผึ้งและชันโรง แมลงตัวเล็กๆ จะมีบทบาทเปลี่ยนแปลงโลกและสิ่งแวดล้อม แถมสร้างอาชีพและรายได้อย่างน่าทึ่งทีเดียว สิบปากว่าไม่เท่ากับตาเห็น อยากให้ทุกท่านมาพิสูจน์ความจริงกัน ที่ศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี (มจธ.ราชบุรี) เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานการเรียนรู้เรื่องผึ้ง หรือ “Bee Park” ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ศูนย์วิจัยฯ แห่งนี้ ศึกษาเรื่องผึ้งมากว่า 15 ปี เน้นศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์จากผึ้งพื้นเมืองเอเชีย การประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ มีบริการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเกษตรกรที่สนใจพัฒนาการเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ คือ รศ.ดร.อรวรรณ ดวงภักดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมผึ้งและภาษาผึ้งคนแรกของไทย ล่าสุด ยังเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรติ “Regional President of Asia” ของสภาบริหารของสมาคมผึ้งโลก

รศ.ดร.อรวรรณ กล่าวว่า ทางศูนย์มุ่งศึกษาวิจัยเรื่องผึ้งใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1. พฤติกรรมผึ้ง ความหลากหลายของผึ้งและปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผึ้งทางการเกษตรและการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ (climate change) 2. สร้างเครื่องมือที่ชื่อว่า รังผึ้งฉลาด (smart hives) เพื่อศึกษาภาษาผึ้งผ่านแอปพลิเคชั่น beeconnex โดยทำร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. 3. ใช้ประโยชน์จากผึ้งเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และ 4. สร้างน้ำผึ้งมูลค่าสูงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจำหน่ายผ่านแบรนด์ “BEESANC” ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับผลผลิตน้ำผึ้งของเกษตรกรที่ผ่านการอบรมจากทั่วประเทศไทย

ที่ผ่านมาทางศูนย์ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้ง ตั้งแต่ชนิดของผึ้งในประเทศไทย การคัดเลือกชนิดผึ้ง การเลี้ยง การปลูกพืช อาหารผึ้ง การออกแบบสวน ขั้นตอนการเก็บ การแยกขยายกล่อง ไปจนถึงกระบวนการผลิตน้ำผึ้งแบบธรรมชาติเพื่อให้ได้น้ำผึ้งคุณภาพที่ดีที่สุดในเวลาที่ดีที่สุด การวิเคราะห์คุณสมบัติอาหารฟังก์ชั่นของน้ำผึ้ง จนถึงการทำตลาด โดยเน้นการเลี้ยงผึ้งแบบเลี้ยงไว้กับพื้นที่และสามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี จัดหลักสูตรอบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรงให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจ กระทั่งสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเครือข่ายทั่วประเทศได้เป็นจำนวนมาก อาทิ เกษตรกรกลุ่มเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองและชันโรง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี, กลุ่มมละบริภูฟ้า ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังได้อบรมการเลี้ยงผึ้งชันโรงให้กับครูและเด็กโรงเรียนชายขอบระดับชั้น ป.1-ป.6 เพื่อเสริมทักษะการเลี้ยงผึ้งให้กับเด็กๆ ที่ขาดโอกาส เด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจนจะได้มีวิชาติดตัว สามารถนำรายได้จากน้ำผึ้งและชันโรงไปเรียนต่อได้ หรือเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว โมเดลนี้เราเริ่มทำกันแล้วในพื้นที่ที่อยู่ชายขอบราชบุรีและค่อยๆ ขยายออกไปยังจังหวัดข้างเคียงทั้งเพชรบุรีและกาญจนบุรี

สร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงผึ้งไทย

ที่ผ่านมา สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (AGRITEC) สนับสนุนทุนวิจัยให้ ผศ.ดร.อรวรรณ ดำเนินโครงการ “การพัฒนาเครือข่ายผู้เลี้ยงผึ้งไทยระดับท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมอาชีพผลิตน้ำผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทย”

โดยทางศูนย์วิจัยฯ ได้สร้างโมเดล BEESANC เพื่อเป็นมาตรฐานใหม่น้ำผึ้งไทย เพื่อเกษตกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมที่มีเป้าหมายหลักในการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ความรู้จากงานวิจัย Beesanc Model เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) และนวัตกรรม มาเป็นกลไกในการพัฒนาน้ำผึ้งมูลค่าสูงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับ BEESANG กลุ่มตลาด Hi-End บนพื้นฐานของการเป็นน้ำผึ้งออร์แกนิกแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับการรับรองจากศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร ของ มจธ.

เป้าหมายของ BEESANC คือ สร้าง The Social Enterprise จากโมเดลการเลี้ยงผึ้งเพื่อออกแบบน้ำผึ้ง สู่การเป็นธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีการดำเนินการใน 3 ด้าน คือ

1. สร้างรายได้ ส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชน : พัฒนาโมเดลเลี้ยงผึ้ง สำหรับผู้มีรายได้น้อย-พัฒนากระบวนการเลี้ยงผึ้งให้ได้มาซึ่งน้ำผึ้งที่มีคุณภาพและมูลค่าสูง-ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้ง ให้กับผู้สนใจกลุ่มต่างๆ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านน้ำผึ้งจากผู้ผลิตที่เข้าเกณฑ์ของ BESSANC ไปสู่ผู้บริโภค

2. สุขภาพและทางเลือกที่ดีกว่าของผู้บริโภคเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารพิษ และให้เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้บริโภค-เป็นทางเลือกแหล่งให้ความหวานเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าการใช้น้ำตาลทราย-เป็นกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ด้านรสชาติและคุณค่า ที่สามารถแข่งขันกับกลุ่มน้ำผึ้งในตลาดบนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถออกแบบตามความต้องการของผู้บริโภคได้

3. สร้างความยั่งยืนของระบบนิเวศและผลกระทบเชิงบวกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กระบวนการผลิตปราศจากการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอน เพราะกระบวนการเลี้ยงผึ้งและชันโรงมีส่วนช่วยเพิ่มความหลากหลายและการติดผลของพืช ทั้งพืชเกษตรและพืชป่า นอกจากนี้ รูปแบบการเลี้ยงผึ้งช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ปลอดสารพิษให้กับชุมชน

สำหรับเครือข่ายผู้เลี้ยงผึ้งพื้นเมืองและธุรกิจเพื่อสังคม Beesanc ที่ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองของกลุ่มวิจัยผึ้งพื้นเมือง มจธ.ราชบุรี ทำให้เกิดเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งโพรง ผึ้งมิ้ม และชันโรง กว่า 783 คน จาก 567 ครัวเรือน 245 หมู่บ้านทั่วประเทศ

กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายผลิตน้ำผึ้งเอกลักษณ์จากป่าธรรรมชาติ วิธีธรรมชาติทำให้น้ำผึ้งทุกขวดผลิตจากฟาร์มเลี้ยงผึ้งพื้นเมืองไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เครือข่ายดำเนินการขายน้ำผึ้งเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ให้กับลูกค้าที่ชื่นชอบน้ำผึ้งแท้ และก่อตั้งเป็นธุรกิจเพื่อสังคมในนามบริษัท BeeSanc ซึ่งปัจจุบันมีหน้าร้านอยู่ที่ร้านค้ามูลนิธิชัยพัฒนา สาขาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน สร้างรายได้ให้เครือข่ายในหมวดเลี้ยงผึ้งและผลิตภัณฑ์ผึ้งเพิ่มขึ้นกว่า 28.5% ต่อไป

เลี้ยงผึ้ง สร้างอาชีพยั่งยืน

คุณแมนรัตน์ ฐิติธนากุล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เข้าร่วมอบรมความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งกับ มจธ.ราชบุรี เล่าให้ฟังว่า เดิมที ครอบครัวทำอาชีพปลูกสับปะรดและผักมานานหลายปี แต่ประสบปัญหาภาวะหนี้สินและปัญหาสุขภาพ เนื่องจากการใช้สารเคมีตกค้างในร่างกายทำให้ร่างกายเจ็บป่วย จึงปรับมาทำการเกษตรในรูปแบบวนเกษตร ปลูกพืชผสมผสานร่วมกับปลูกไม้ป่าและเลี้ยงผึ้งชันโรงทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ผู้ใหญ่แมนรัตน์เป็นแกนนำชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งและชันโรง อำเภอบ้านคา เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องผึ้งและชันโรงให้แก่ผู้สนใจทั่วไป โดยมี ผศ.ดร.อรววรณ ดวงภักดี และอาจารย์ปรีชา รอดอิ่ม ผู้เชี่ยวชาญวิจัยด้านชีววิทยาผึ้ง ห้องปฏิบัติการวิจัยผึ้งพื้นเมือง มจธ.ราชบุรี เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ

ผู้ใหญ่แมนรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เดิมทีอำเภอบ้านคา เป็นพื้นที่สีแดง ชาวบ้านเพาะปลูกพืชโดยใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย หลังจากได้อบรมความรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งและชันโรง มจธ.ราชบุรี จนประสบความสำเร็จ สร้างรายได้ที่ดีและมีสุขภาพที่ดีขึ้นก็พยายามชักชวนชาวบ้านในชุมชนหันมาเลี้ยงผึ้งและชันโรง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งเกิดปัญหาวิกฤตโควิด-19 เกิดปัญหาแรงงานตกงานจำนวนมาก จึงชักชวนให้มาเลี้ยงผึ้งและชันโรง ปรากฏว่าขายได้เงินกลับมาเลี้ยงครอบครัว เกิดกระแสบอกต่อปากต่อปากทำให้เห็นคุณค่าของการเลี้ยงผึ้งและชันโรง มีคนสนใจมาเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น จึงค่อยๆ ลดการใช้สารเคมีไปโดยปริยาย

นอกจากนี้ ผู้ใหญ่แมนรัตน์ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายโรงเรียนใกล้บ้านอบรมหลักสูตรการเลี้ยงผึ้ง หลังจากนั้นมีการเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็กๆ ในชุมชนแห่งนี้ หลังจบ ป.6 ก็ไม่ได้เรียนต่อ วิธีนี้ช่วยดึงเด็กเข้ามาในระบบด้วยการฝึกอบรมอาชีพให้เขา เพราะใครๆ ก็สามารถเลี้ยงผึ้งและชันโรงได้ เพียงแค่บริเวณนั้นต้องเป็นการทำเกษตรอินทรีย์เท่านั้น ผึ้งดูดน้ำหวานจากผลไม้หรือดอกไม้ที่ไม่มีสารเคมี ซึ่งทางกลุ่มได้มีการฝึกอบรมอาชีพการเลี้ยงผึ้งและชันโรงฟรีมาโดยตลอด เพื่อให้ครอบครัวมีรายได้และลดการใช้สารเคมีในชุมชนให้มากที่สุด

ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งพื้นเมืองและชันโรงอำเภอบ้านคา มีสมาชิกประมาณ 300 คน หน้าที่ของวิสาหกิจคือ เน้นการส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องผึ้งและชันโรงที่ถูกต้องโดยได้รับการถ่ายทอดจาก มจธ.ราชบุรี โดยวิสาหกิจชุมชนฯ ได้รวบรวมน้ำผึ้งจากสมาชิกเพื่อส่งขายต่อให้กับศูนย์วิจัยฯ เพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ Beesanc โดยน้ำผึ้งโพรงทางศูนย์รับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 500-600 บาท น้ำผึ้งชันโรงรับซื้อที่กิโลกรัมละ 1,000 บาท นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนฯ ยังมีทำกล่องหรือบ้านผึ้งส่งขายด้วย โดยมีออร์เดอร์ในแต่ละเดือนประมาณ 200-300 ใบต่อเดือน ซึ่งอาชีพดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่นอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านแล้ว ยังช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกรเรื่องลดการใช้สารเคมี เป็นการดูแลรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

“จังหวัดกาญจนบุรี” ได้ชื่อว่า เป็นดินแดนอีสานแห่งภาคตะวันตก เพราะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงและอากาศร้อนอบอ้าวมากในฤดูร้อน ด้านตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นเขตแดนไทย-พม่า อิทธิพลจากเทือกเขานี้ทำให้พื้นที่ราบทางด้านตะวันออกของจังหวัดเป็นเขตพื้นที่อับฝน มีฝนน้อย ปริมาณฝนรวมตลอดปีน้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับตอนกลางของจังหวัด ที่มีฝนรวมตลอดปี ประมาณ 1,200-1,600 มิลลิเมตร

“มะขามเทศ” นับเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าจับตามองของเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี เพราะทนร้อน ทนแล้งได้ดี ปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 500-700 กิโลกรัม ราคาขายส่ง ประมาณกิโลกรัมละ 50-60 บาท ปลูกมะขามเทศ 1 ไร่ จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 40,000-60,000 บาท ต่อปี

“มะขามเทศฝักสีชมพู” ไม้ผลทำเงิน “ไร่สวนขวัญ”

คุณไพฑูรย์ สุนทรวิภาต พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง (อบต. วังด้ง) ใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดทำสวนมะขามเทศเป็นรายได้เสริม ชื่อ “ไร่สวนขวัญ” บนเนื้อที่ 3 ไร่ ตั้งอยู่พื้นที่บ้านหนองสามพราน หมู่ที่ 9 ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โทร. (086) 162-0365

คุณไพฑูรย์ เริ่มสนใจทำสวนมะขามเทศ เมื่อ 6-7 ปี ที่แล้ว หลังเขามีโอกาสลงพื้นที่ไปพูดคุยกับชาวบ้านในท้องถิ่น พบว่าชาวบ้านนิยมปลูกมะขามเทศกันอย่างแพร่หลาย เพราะไม้ผลชนิดนี้ปลูกดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง ที่สำคัญเป็นผลไม้ที่ทนแล้ง ให้ผลผลิตมาก น้ำหนักดี ขายง่าย ได้ราคาดี เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง ในกลุ่มผู้รักสุขภาพ

มะขามเทศฝักสีชมพู…ครองแชมป์ความอร่อย

เมืองไทยมีมะขามเทศหลายพันธุ์ที่ปลูกกันทั่วไป ได้แก่ สายพันธุ์พื้นเมือง ที่มีลักษณะใบขนาดเล็ก และพันธุ์ดีที่มีขนาดใบใหญ่ ที่หน่วยงานราชการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกคือ มะขามเทศฝักใหญ่พันธุ์พระพุทธบาท นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์เกิดขึ้นใหม่ซึ่งกลายพันธุ์มาจากพันธุ์พระพุทธบาทอีกหลายพันธุ์

ทั้งนี้ จากการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมะขามเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า ทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูก 10,026 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 21 จังหวัด โดยแหล่งปลูกมะขามเทศ อันดับ 1 คือ จังหวัดราชบุรี รองลงมาคือ นครราชสีมา นครสวรรค์ สมุทรสาคร และจังหวัดอื่นๆ ผลผลิตรวม 5,069 ตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 747 กิโลกรัม เมื่อจำแนกสายพันธุ์พบว่า มะขามเทศฝักใหญ่ มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุด ครอบคลุม 15 จังหวัด โดยแหล่งที่ปลูกมากที่สุดคือ จังหวัดนครราชสีมา

ปัจจุบัน มะขามเทศ ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ได้แก่ มะขามเทศยักษ์ พันธุ์พระพุทธบาท มะขามเทศฝาด มะขามเทศมัน แต่ทุกสายพันธุ์อร่อยสู้ “มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู” ไม่ได้ เพราะพันธุ์ฝักสีชมพูมีรสชาติหวาน มัน อร่อยกว่าทุกสายพันธุ์ ทุกวันนี้ยังไม่มีมะขามเทศสายพันธุ์ไหนมาลบสถิติความอร่อยของมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูได้เลย เรียกว่า ผู้บริโภคนิยมเลือกซื้อมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูมากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนมะขามเทศพันธุ์พระพุทธบาท แม้จะมีขนาดฝักโต รสชาติมัน แต่ไม่หวาน จึงได้รับความนิยมน้อยกว่า มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู

ช่วงปี 2554 คุณไพฑูรย์ ได้นำกิ่งพันธุ์มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู คุณภาพดี จำนวน 35 ต้น มาปลูกบนที่ดินของไร่สวนขวัญ โดยซื้อกิ่งพันธุ์ในราคา ต้นละ 25 บาท หลังจากเตรียมหลุมปลูก ที่มีขนาดกว้างxยาว 50×50 เซนติเมตร ปลูกในระยะห่างต่อต้น ประมาณ 10 เมตร ปรากฏว่า ปลูกไปได้ 6 ปี ทรงพุ่มเริ่มชนกันแล้ว กลายเป็นจุดสะสมเชื้อโรค และไม่มีผลผลิตในบริเวณดังกล่าว วิธีแก้ไขคือ ต้องรีบตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง รับแสงแดดได้สะดวก

ความผิดพลาดดังกล่าวกลายเป็นบทเรียนสอนใจ ที่คุณไพฑูรย์นำไปใช้บอกต่อเพื่อนเกษตรกรมือใหม่ ที่อยากปลูกต้นมะขามเทศว่า ควรปลูกในระยะห่างต่อต้น ประมาณ 12 เมตร ตั้งแต่ลงทุนครั้งแรก เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการสวนในอนาคต

มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู เป็นไม้ผลที่ดูแลง่าย หลังปลูกแค่ดูแลตัดแต่งกิ่งที่รกออกไป คอยตรวจสอบโรคแมลงเป็นระยะๆ ในช่วงที่ให้ปุ๋ยให้น้ำว่า ต้นมะขามเทศเกิดอาการผิดปกติตรงไหนบ้าง ทั้งนี้ ต้นมะขามเทศ มักออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ทยอยบานเรื่อยๆ ผลแก่ประมาณเดือนธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคม-เมษายน

แม้มะขามเทศจะเป็นไม้ผลทนแล้ง แต่ต้องคอยดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควรงดให้น้ำในช่วงก่อนออกดอก เพื่อพักตัวสะสมอาหารเตรียมความพร้อมก่อนออกดอก หลังต้นมะขามเทศติดดอกออกฝักแล้ว จึงค่อยให้น้ำตามปกติ ช่วงที่ฝักเริ่มแก่ ระวังอย่าให้น้ำมาก เพราะจะทำให้คุณภาพฝักไม่ดี ฝักแตกเร็วขึ้น เนื้อไม่แน่นและรสชาติไม่ดี ช่วงฤดูฝน คอยดูแลใส่ปุ๋ยคอกบำรุงต้น ก่อนหมดช่วงฤดูฝน คอยดูแลตัดแต่งกิ่งให้ต้นเตี้ย เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการผลผลิตในรุ่นต่อไป ช่วงเดือนพฤศจิกายนดูแลฉีดยาป้องกันแมลงพร้อมให้ปุ๋ยให้น้ำ พร้อมสอดส่องแมลงศัตรูพืชเป็นระยะ

“ก่อนปลูกมะขามเทศพันธุ์นี้ ผมได้ศึกษาสายพันธุ์มะขามเทศทั้งหมด พบว่า มะขามเทศพันธุ์อื่นๆ หากเจอฝน ผลผลิตมักจะเสียหายทั้งหมด แต่มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูทนแล้ง ทนฝน ได้ดีเยี่ยม แถมให้ผลผลิตรสชาติอร่อย ถูกใจผู้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ” คุณไพฑูรย์ กล่าว

โรค และแมลง

แมลงศัตรูพืชที่เจอในไร่สวนขวัญ ได้แก่ “ไรแดง” มักพบในช่วงฤดูร้อน สังเกตได้จากต้นมะขามเทศมีอาการใบเหลือง และฝักมีขนาดแคระแกร็น สามารถแก้ไขได้ โดยฉีดพ่นยาป้องกันไรแดงที่หาซื้อได้ในร้านขายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรทั่วไป

ในช่วงที่ฝนตก นอกจากทำให้เกิดโรคราสนิมแล้ว ยังเจอแมลงปีกแข็งอีกชนิด ที่มีลักษณะคล้ายมอด ซึ่งคุณไพฑูรย์ก็ยังไม่รู้ว่าชื่ออะไร แมลงศัตรูพืชชนิดนี้ทำให้ฝักเน่าเสีย ตรวจเจอแมลงชนิดนี้อยู่ในฝักมะขามเทศสีแดงที่เก็บลงจากต้นไม่หมด ทำให้แมลงชนิดนี้มีโอกาสขยายพันธุ์ได้ ปัจจุบันสวนมะขามเทศของเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ต่างได้รับความเสียหายจากปัญหานี้ด้วยเช่นกัน แมลงชนิดนี้จะกัดกินผลผลิตตั้งแต่ระยะฝักอ่อน เมื่อฝักแก่เนื้อในจะเน่าเสียทันที จนถึงขณะนี้เกษตรกรยังไม่สามารถกำจัดแมลงชนิดนี้ได้ เพราะแมลงชนิดนี้ค่อนข้างดื้อยาสารเคมีกำจัดแมลง

“ฝน” คือ จุดอ่อนของมะขามเทศ

ผู้เขียนได้ทดลองชิมมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู ก็รู้สึกชอบใจ เพราะมีรสชาติหวาน มัน อร่อย แต่คุณไพฑูรย์บอกว่า มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูมีรสชาติหวานมันมากกว่านี้ สาเหตุที่ผลผลิตมีค่าความหวานลดลง เนื่องจากเจอพายุฝนก่อนช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตนั่นเอง

“ต้นมะขามเทศจะกลัว “ฝน” มาก เจอฝนเมื่อไร ผลผลิตเสียหายทุกที สวนของผมเก็บผลผลิตคุณภาพดี รสชาติอร่อยออกขายได้เต็มที่ ผลผลิตไม่มีเสียหายเลย เพราะไม่มีปัญหาฝนตกในช่วงเก็บเกี่ยว แต่ช่วงหลังเจอผลกระทบจากภาวะอากาศแปรปรวน ทำให้รสชาติผลผลิตเพี้ยนตามไปด้วย แถมเจอพายุฝนอีกต่างหาก ปีนี้เก็บผลผลิตออกขายได้เท่านี้ ผมถือว่าโชคดีแล้ว” คุณไพฑูรย์ กล่าว

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

จุดเด่นของมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู คือ ผลอ่อน ฝักดิบ จะมีสีเขียวอ่อน เนื้อในสีขาว เมื่อฝักสุกแก่เต็มที่ เปลือกและเนื้อจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู ฝักสวยสีสวย น่ารับประทาน โดยทั่วไปช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ต้นมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูจะให้ผลผลิตสวยมาก และมีรสชาติดี ต้นมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูของไร่สวนขวัญเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ 1-2 ปีแรกของการปลูก หากบำรุงรักษาที่ดี สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ตั้งแต่ปีแรกที่ปลูกได้เลย เนื่องจากคุณไพฑูรย์ทำงานประจำ ไม่ค่อยมีเวลาดูแลไร่สักเท่าไร จึงปล่อยให้ต้นมะขามเทศเติบโตสมบูรณ์เต็มที่เสียก่อน จึงค่อยเก็บผลผลิตรุ่นแรกออกขายในปีที่ 3

ผลผลิตรุ่นแรกและรุ่นสอง สร้างรายได้เข้ากระเป๋าถึงปีละ 1.5 แสนบาท ส่วนผลผลิตรุ่นที่สามที่เก็บเกี่ยวช่วงปีที่แล้ว สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนบาท ทุกวันนี้ ไร่สวนขวัญมีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อย ส่วนใหญ่เป็นค่าจ้างแรงงานสอย เฉลี่ยวันละ 2-4 คน โดยมีค่าจ้างแรงงาน วันละ 250-300 บาท หลังหักลบต้นทุนแล้ว ยังเหลือผลกำไรหลักแสนต่อไร่

“ช่วงแรกที่ผมปลูกมะขามเทศ มะขามเทศซื้อขายในท้องถิ่น อยู่ที่กิโลกรัมละ 20-30 บาท เท่านั้น หลังปลูกไปได้ 2 ปี ราคาขายเพิ่มขึ้นเป็น กิโลกรัมละ 80-100 บาท ผมเก็บผลผลิตไปขายในงานเจียไต๋แฟร์ ปรากฏว่าขายดี เพราะนักท่องเที่ยวนิยมซื้อมะขามเทศกันมาก เพราะเป็นไม้ผลที่มีวิตามินซีสูง ดีต่อสุขภาพ” คุณไพฑูรย์ กล่าว

ผลผลิตช่วงที่ผ่านมา ในหมู่บ้านของคุณไพฑูรย์ มีแม่ค้าเข้ามารับซื้อมะขามเทศในราคาหน้าสวน ที่กิโลกรัมละ 50-60 บาท ช่วงต้นฤดู ราคารับซื้อหน้าสวน อยู่ที่กิโลกรัมละ 70 บาท แต่หลังจากสวนมะขามเทศโดนพายุฝน ราคารับซื้อหน้าสวนปรับตัวลดลง เหลือแค่กิโลกรัมละ 50 บาท เท่านั้น

คุณไพฑูรย์ คิดว่า หากขายส่งผ่านแม่ค้าคนกลาง จะต้องถูกกดราคารับซื้อตามเกรดและขนาดฝัก ทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ราคาเต็มเม็ดเต็มหน่วย เขาจึงตัดสินใจเปิดแผงขายผลผลิตของ “ไร่สวนขวัญ” ริมถนนทางหลวงแทน เพราะทำเลที่ตั้งของไร่สวนขวัญอยู่ใกล้กับเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวสัญจรผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก เขาคัดสินค้าสวย เกรด เอ เบอร์ใหญ่ ออกขายในราคากิโลกรัมละ 60-80 บาท

“เกษตรกรมักนิยมเก็บฝักสีเขียวที่เปิดแย้มด้านใน healthsecrets.net มองเห็นเมล็ดฝักสีดำ เพื่อขายส่งให้กับแม่ค้าที่มารับซื้อผลผลิตหน้าสวน ซึ่งมะขามเทศจะเริ่มสุกมีสีชมพูแดงในช่วงที่วางขายในตลาดพอดี แต่ไร่สวนขวัญ มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง จึงทยอยเก็บผลผลิตที่กำลังเริ่มสุก ฝักมีสีชมพูแดงออกวางขายได้ทุกวัน ตลอดระยะเวลา 3 เดือนเต็ม ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี ช่วยสร้างผลกำไรได้ดีกว่าขายส่งให้แม่ค้าคนกลาง” คุณไพฑูรย์ กล่าว

“ขายกิ่งพันธุ์” เพิ่มรายได้

ปัจจุบัน เกษตรกรที่ปลูกต้นมะขามเทศ นอกจากจำหน่ายผลผลิตในช่วงฤดูกาลแล้ว หากเกษตรกรรายใดมีฝีมือด้านเพาะขยายพันธุ์พืช สามารถผลิตกิ่งพันธุ์มะขามเทศออกจำหน่ายได้อีกทางหนึ่ง เมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ราคาซื้อขายกิ่งพันธุ์มะขามเทศ เฉลี่ยกิ่งละ 25 บาท เนื่องจากต้นมะขามเทศขยายพันธุ์ได้ยาก แถมเจอวิกฤตภัยแล้ง ราคาซื้อขายกิ่งพันธุ์เมื่อปีที่แล้ว จึงปรับเพิ่มเป็น 35 บาท

สำหรับปีนี้ ตลาดมีความต้องการกิ่งพันธุ์เพิ่มสูงขึ้น แต่มีจำนวนกิ่งพันธุ์น้อยกว่าความต้องการของตลาด ทำให้ราคาซื้อขายขยับขึ้นเป็นกิ่งละ 50 บาทแล้ว ขณะที่ราคาซื้อขายกิ่งพันธุ์ในท้องตลาดทั่วไป (นอกจังหวัดกาญจนบุรี) สูงถึงกิ่งละ 80-100 บาท ขณะนี้มีเกษตรกรหลายรายสนใจสั่งซื้อกิ่งพันธุ์มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู ของ “ไร่สวนขวัญ” ซึ่งคุณไพฑูรย์จะเริ่มตอนกิ่งออกขายในช่วงฤดูฝน เพื่อให้กิ่งพันธุ์ติดรากได้ดีขึ้น หากใครสนใจก็ติดต่อสั่งซื้อกับ คุณไพฑูรย์ สุนทรวิภาต ได้ที่เบอร์โทร. (086) 162-0365

ท่ามกลางวิกฤตปุ๋ยแพงและปริมาณทุเรียนที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น การแข่งขันจะมีผลต่อราคาที่ปรับลง ขณะที่เกษตรกรต้องแบกภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตั้งแต่ปลายปี 2564 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และยังไม่แน่ใจในอนาคตว่าจะมีการปรับราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ บรรดาเกษตรกรได้หาทางออกเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการพึ่งพาปุ๋ยเคมี 100% แม้แต่เกษตรกรรายใหญ่ได้กลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับปุ๋ยเคมี และพบว่าได้ผลผลิตมีคุณภาพ ดีกว่าใช้ปุ๋ยเคมี 100% และลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 50%

คุณวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ เกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีประสบการณ์การทำสวนมามากกว่า 30 ปี และหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้ผลมาร่วม 10 ปี พร้อมที่จะเป็นต้นแบบขยายผลให้เกษตรกรทั่วไป