ปัญหาการขาดแคลนช็อกโกแลตมีสูงขึ้น กล่าวกันว่า

ปี ค.ศ. 2033 ความนิยมของผู้บริโภคจากตลาดใหม่ที่ประชากรชอบบริโภคของหวานเพิ่มมากขึ้น จากความนิยมของประเทศเกิดใหม่ที่มีประชากรเป็นพันล้านคนได้ อาทิ ประเทศจีน อินเดีย รัสเซีย บราซิล และอินโดนีเซีย การที่จะผลิตต้นโกโก้ต่อคน ต้องใช้จำนวนต้นโกโก้ 10 ต้น ต่อจำนวน 286 คน ช็อกโกแลตบาร์ กับเนย ถึงกับพอเพียงในการผลิตโกโก้ขึ้นมา

ความคาดหมายของความกังวลของผู้เชี่ยวชาญนั้น ว่าสถานการณ์การผลิตช็อกโกแลตโลกจะหมดไปในอีก 30-40 ปี ในปีที่ผ่านมาเริ่มขาดแคลน เพราะผู้ผลิตมิได้เก็บกักตุนไว้แต่อย่างใด แต่ความนิยมของคนฝั่งตะวันตกที่บริโภคช็อกโกแลตเป็นหลัก บวกกับคนรุ่นใหม่ของประเทศพัฒนาแล้วที่หันมานิยมบริโภคช็อกโกแลตกันมาก และมีจำนวนพลเมืองมาก อย่างที่กล่าวว่า ประเทศอย่างจีน อินเดีย ประชากรพันกว่าล้านคน มาบวกกับรัสเซียและอินโดนีเซีย ไม่แปลกใจเลยว่าจำนวนประชากรกับความนิยมช็อกโกแลตเกิดขึ้นกับสังคมคนรุ่นใหม่ หันมาบริโภคของหวานกันมากขึ้น

ลองมาปลูกพืชแซมต้นโกโก้ในสวนยางพารา หรือปลูกพืชหลักเป็นโกโก้ให้กับเกษตรกรป้อนตลาดโลกของช็อกโกแลต กำลังเกิดปัญหาขาดแคลน

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสกันเถอะ เกษตรอินทรีย์ หมายถึง ระบบการจัดการ การผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ รวมทั้งไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม

มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน ดังเช่น คุณอนิวรรตน์ พาน้อย เกษตรกรที่ผ่านประสบการณ์จากการไปค้าแรงงานต่างประเทศ อาชีพผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยหันหลังให้กับอาชีพดังกล่าว กลับมาพลิกพื้นดินที่เป็นมรดกของพ่อแม่ ให้เป็นแผ่นดินที่ปลอดภัยจากสารเคมี มาเป็นเกษตรอินทรีย์หนึ่งเดียวของจังหวัดหนองบัวลำภู

คุณอนิวรรตน์ พาน้อย เดิมทีมีอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง รับสร้างบ้าน เกิดปัญหาสภาวะความผันผวนทางด้านการเงิน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรงงาน ทำให้อาชีพผู้รับเหมาก่อสร้างมีปัญหามากมาย แต่ไม่คิดย่อท้อต่อชะตาชีวิต สู้ไปเรื่อยๆ เมื่อ ปี พ.ศ. 2556 จึงได้วางแผนมาทำการเกษตรในพื้นที่ของตนเองต่อจากพ่อและแม่ ในพื้นที่ จำนวน 25 ไร่ และได้ตั้งโจทย์ให้กับตัวเองไว้ว่า

“พ่อแม่มีที่ดินมรดกมอบให้พอประมาณ ถ้าเราไม่ทำแล้วพี่น้องคนไหนจะทำ”
จึงต้องทดลองทำ แต่มีคำถามในใจเสมอว่า “อาชีพการเกษตร จะเลี้ยงเราได้ไหม” โดยเริ่มต้นจากการศึกษาจากประสบการณ์คนอื่น และจากตำราการเกษตรที่ค้นคว้าหนังสือ ทาง internet facebook ลองผิดลองถูกประสบการณ์มาเรื่อยๆ จากที่เคยทำงานเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มาสู่ทำการเกษตรทำให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องเดินทางไปทำงานทุกวัน เราทำการเกษตรเราอยู่กับไร่กับนา และเกิดแนวคิดว่า ตนเองมีความสุขมากขึ้น ได้เห็นผลผลิตที่เราปลูกเอง ออกดอกออกผล เกิดความสบายใจ ที่ดินที่พ่อแม่ให้มาเราควรจะปรับปรุงและพัฒนาเป็นเกษตรอินทรีย์บ้าง

ในปี 2557 จึงได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเกษตรอำเภอศรีบุญเรือง สำนักพัฒนาที่ดินหนองบัวลำภู เป็นต้น เพื่อนำเอาความรู้มาพัฒนาแปลงไร่นาของตนเองให้ดีกว่าเดิม

คุณอนิวรรตน์ เล่าให้ฟังอีกว่า ลองมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่ผ่านมา ว่าเราได้ทำการเกษตรของเราอย่างมีความสุขแล้วหรือไม่ ว่าจะทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ประมง สิ่งที่ทำอยู่สามารถให้ชีวิตเป็นสุขอย่างยั่งยืนจริงอยู่ แต่เกษตรกรบางคนใช้สารเคมีสังเคราะห์ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง อย่างเดิม แล้วขายผลผลิตได้จำนวนมาก ผลกระทบที่ตามมาคือ การเจ็บป่วยของตนเองและครอบครัว ตลอดจนถึงผู้บริโภค ทำให้ชาติต้องเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยปีละไม่น้อย และยังเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

หลังจากอบรมการเกษตรแล้ว ทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดความมุ่งมั่น มีความคิดริเริ่มที่จะปรับปรุงไร่นาของพ่อแม่ที่ให้มา จำนวน 25 ไร่ เป็นแปลงเกษตรไร่นาสวนผสม
ได้มีการออกแบบพื้นที่อย่างเป็นทางการ ตามสัดส่วนเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเน้นการมีแหล่งน้ำมากๆ และให้เพียงพอตลอดฤดูกาลผลิต

ทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญ การน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามคำสอนของพ่อ (รัชกาลที่ 9) มาเป็นหลักคิดและน้อมนำหลักปฏิบัติในทำการเกษตร ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งคุณอนิวรรตน์ก็สนใจอยู่ จึงได้พยายามและเพียรทดลองทำตามคำสอนของพ่อ คือ ขยัน อดทน ประหยัด อดออม และคุณอนิวรรตน์ก็ภูมิใจและซาบซึ้งในวิถีนั้น จึงได้พยายามเจริญรอยตามพ่อ โดยการแนะนำ ทำให้ดู สั่งสอน มอบแต่สิ่งดีด้วยใจ

หลังจากปรับเปลี่ยนพื้นที่แล้ว ก็เข้ารับการฝึกอบรมกับสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น ได้ขอคำปรึกษาเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ และได้คำแนะนำให้ทำเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน ตั้งแต่ ปี 2557-2560 ในปัจจุบันนี้ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000 เล่มที่ 1-2552 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แหล่งผลิตอินทรีย์ รหัสรับรอง TAS : 5440 เป็นแปลงเกษตรอินทรีย์แปลงแรกระดับจังหวัดหนองบัวลำภู

พืชที่ปลูกในแปลง ได้แก่ กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 จำนวน 2 ไร่ ฝรั่งกิมจู จำนวน 3 ไร่ มะพร้าวน้ำหอม 1 งาน มะม่วง 1 ไร่ ข่า 2 งาน ตะไคร้ จำนวน 2 งาน กล้วยน้ำว้า 2 ไร่ กล้วยหอมทอง 1 ไร่ กะหล่ำปลี 2 งาน กระเทียม 2 งาน หอมแดง จำนวน 1 งาน มะเขือเทศ 1 งาน รวมพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์ จำนวน 11 ไร่ 3 งาน

ผลตอบแทนการลงทุน

กิจกรรม รายได้/วัน/บาท รายได้/เดือน/บาท รายได้/ปี/บาท

พืชผัก 600 18,000 216,000

ไม้ผล 700 21,000 252,000

รวม 1,300 39,000 468,000

โดยวัตถุดิบต้องจากกระบวนการผลิตด้วยเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรอง ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐานที่รับผิดชอบด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในการบรรจุหีบห่อควรใช้วัตถุที่ใช้ปลอดภัยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ตลาดที่ขายส่งหรือมารับซื้อ ห้างสรรพสินค้าท็อปส์ (Tops Supermarket) และ บริษัท บ้านผักสวย อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะมารับผลผลิตสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

เกษตรอินทรีย์ วิถีหนองบัวลำภู

คุณชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดหนองบัวลำภู ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีหนองบัวลำภูตามหลักศาสตร์พระราชา กิจกรรมหลัก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจการเกษตรอินทรีย์ วิถีหนองบัวลำภูมุ่งสู่แปลงใหญ่แบบครบวงจร จำนวน 3 กิจกรรม คือ

1. กิจกรรมการจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐาน

2. กิจกรรมการจัดฝึกอบรมและศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์

3. กิจกรรมการสนับสนุนวัสดุการเกษตร

โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
1. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตอาหารเกษตรปลอดภัย
2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร
3. เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
4. เพื่อพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตอาหารเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์ โดยเน้นเกษตรกรที่ได้รับบ่อบาดาลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 174 บ่อ มีเกษตรกรเข้าอบรม จำนวน 3,800 ราย และได้คัดเลือกเกษตรกร จำนวน 300 ราย เพื่อเข้ามารับการฝึกอบรมเข้มด้านเกษตรอินทรีย์และศึกษาดูงานเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จด้านเกษตรอินทรีย์ที่จังหวัดขอนแก่น

เกษตรกรผ่านการอบรมแล้ว จังหวัดได้สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรไปดำเนินการเป็นแบบอย่างในรูปแบบไร่นาสวนผสม ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมี คุณอนิวรรตน์ พาน้อย เป็นคนหนึ่งที่เข้ารับการฝึกอบรมโครงการดังกล่าวด้วย ได้รับคัดเลือกเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์วิถีหนองบัวลำภูของจังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อใช้เป็นแปลงศึกษาเรียนรู้และเป็นแปลงตัวอย่างให้แก่เกษตรกรได้ไปศึกษาดูงานด้วย

ใช้สารชีวภาพ-สารชีวภัณฑ์ ป้องกันกำจัดแมลง

คุณวีรสุทธิ์ โฮสูงเนิน หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช พร้อมด้วย คุณสุธาริน แก้วภิภพ ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ออกตรวจเยี่ยมและติดตาม พร้อมได้แนะนำการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้สารชีวภาพและสารชีวภัณฑ์ (บิวเวอเรีย เมตาไรเซียม) เพื่อป้องกันกำจัดแมลง ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

การใช้เศษฟางคลุมแปลงและเป็นปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน การใช้โดโลไมค์และปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินให้ดินมีความเหมาะสมกับการปลูกพืช วางระบบน้ำใต้ดินให้ทั่วทั้งแปลง เพื่อให้สามารถปลูกพืชได้ตลอดปี และขอให้วางแผนการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยยึดหลักที่ว่า “ตลาดนำการผลิต”

ปัจจุบันนี้ คุณอนิวรรตน์ พาน้อย ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตร นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายความรู้แก่เกษตรกร จากหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดหนองบัวลำภู และเป็นแหล่งศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดใกล้เคียง

หากเกษตรกรท่านใดสนใจ อยากจะมาเยี่ยมชมศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณอนิวรรตน์ พาน้อย โทร.080-747-6099 หรือติดต่อได้ที่ บ้านเลขที่ 130 หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองใหม่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู รหัสไปรษณีย์ 39000

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมเดินทางไปต่างจังหวัดหลายแห่ง พบมีเกษตรกรเผาถ่านไม้เป็นอาชีพเสริม ทั้งที่จังหวัดชัยนาทและภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดเลย ที่มีการโค่นต้นมะขามหวาน แล้วนำมาเผาถ่าน ผมสอบถามชาวบ้านได้รับคำตอบว่าเป็นที่ต้องการของตลาด และสงสัยว่า เพราะเหตุใดเกษตรกรจึงนิยมตัดโค่นต้นมะขามหวานนำมาเผาถ่าน ขอคำแนะนำด้วยครับ

จังหวัดชัยนาท เป็นแหล่งผลิตถานไม้ไผ่เป็นอาชีพเสริม หลายอำเภอ โดยเฉพาะอำเภอวัดสิงห์ ด้วยที่นี่มีป่าไผ่ธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ข้อดีของถ่านไม้ไผ่ เป็นถ่านไม้ที่ให้ความร้อนสูงและไม่มีควัน เหมาะสำหรับไปใช้ในกระบวนการตีเหล็กทำมีดพร้า หรือจอบ เสียม

ส่วนที่ จังหวัดเลย ซึ่งเคยเป็นแหล่งปลูกมะขามหวานเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยครอบคลุมพื้นที่มากถึง 49,881 ไร่ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน เกษตรกรชาวสวนมะขามหวานมีการตัดฟันโค่นต้นมะขามหวานที่ปลูกไว้ในสวน แม้ให้ผลผลิตแล้วก็ตาม เนื่องจากมีปัญหาหลายประการ คือ มะขามหวานเป็นพืชที่ดูแลรักษายาก ต้องฉีดสารเคมีป้องกันโรค และแมลงศัตรูหลายครั้ง การเก็บเกี่ยวผลผลิตสิ้นเปลืองแรงงานมาก ประการสำคัญเนื่องจากกระแสความต้องการปลูกยางพารามากขึ้น เกษตรกรจึงลดความสำคัญของมะขามหวานลงดังกล่าว ถึงขั้นการตัดโค่นแล้วจำหน่ายให้ผู้มีอาชีพเผาถ่านนำไปใช้ประโยชน์

การผลิตถ่านไม้มะขามหวาน เริ่มจากการทำเตาเผาถ่านอย่างง่าย มีโครงสร้างทำด้วยอิฐทนไฟ แล้วฉาบภายนอกและภายในด้วยดินเหนียว ขนาดบรรจุประมาณ 2-3 คิวบิกเมตร มีประตูสำหรับใส่เนื้อไม้เข้าและออกจากเตาเพียงประตูเดียว มีช่องขนาดเล็กเปิดไว้ 2 ช่อง ตอนท้ายของเตา เพื่อปล่อยควันออกจากเตา และทำท่อดักน้ำส้มควันไม้ไว้ที่ช่องใดช่องหนึ่ง

เมื่อบรรจุเนื้อไม้เต็มเตาแล้วจึงจุดไฟและปิดประตูด้านหน้า พร้อมฉาบด้วยดินเหนียวที่บานประตู เนื้อไม้จะแปรสภาพเป็นถ่าน ใช้เวลาเผาไหม้ รวม 4 วัน ด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยที่อุณหภูมิระหว่าง 800-1,000 องศาเซลเซียส เพื่อให้ไฟในเตาดับลง ให้ปิดช่องเล็กทั้ง 2 ช่อง พร้อมกับละเลงผนังเตาด้วยดินเหนียวทั่วทั้งเตา เพื่อลดอุณหภูมิของเตาเผาอีกทางหนึ่ง หลังจากไฟในเตาเผาดับสนิทแล้ว จึงเปิดประตูเตาเผานำเอาส่วนไม้ออก ผลผลิตแต่ละรอบจะได้ถ่านไม้ 10 กระสอบ พลาสติกที่ใหญ่กว่าถุงปุ๋ยพอประมาณ ส่งจำหน่ายตามร้านอาหารในราคากระสอบละ 250 บาท

ความนิยมการใช้ถ่านไม้มะขามหวาน เพราะเป็นถ่านไม้ที่ให้ความร้อนสูง ประมาณ 700-800 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัม และมีควันน้อยมาก ดังนั้น อาชีพการผลิตไม้มะขามหวานยังจะดำเนินการไปได้อีกหลายปีอย่างแน่นอน

อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง มีสภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเนินสูงสลับต่ำ และที่ราบสูง สลับด้วยภูเขา มีป่าไม้ ลำธาร ลำคลอง และห้วยสั้น ไหลสู่ทะเลอันดามัน ด้านตะวันตก มีสภาพเป็นป่าชายเลน สภาพดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ความสมบูรณ์ต่ำ อาชีพส่วนใหญ่ของชาวสิเกา คือเกษตรกรรม ทั้ง กสิกรรม การประมงจับสัตว์น้ำ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้านการท่องเที่ยวทางทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ร้อยละ 80 รับจ้าง ร้อยละ 15 อื่นๆ ร้อยละ 5 มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 232,633 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 66.23 และส่วนใหญ่จะเป็นสวนปาล์มน้ำมันและยางพารา ซึ่งเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

แต่หากคิดถึงภาพการปลูกผักของเกษตรกรในอำเภอสิเกา เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกไว้ข้างบ้าน แค่พอมีพอกินในครัวเรือน และยิ่งหากเป็นผักเมืองหนาว เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และ บร็อกโคลี่ แน่นอนว่าจะนึกถึงภาพบรรยากาศของพื้นที่ภูเขาในแถบภาคเหนือ ที่มีอากาศหนาวเย็น เอื้อต่อการปลูกพืชผักเมืองหนาว ซึ่งเป็นภาพที่เกษตรกรคุ้นชิน

คุณกันยารัตน์ หมุนเวียน ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ตำบลกะลาเส เกษตรกรที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการปลูกผักเมืองหนาวในพื้นที่ข้างบ้าน เนื้อที่ 2 ไร่ โดยเฉพาะกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และบร็อกโคลี่ ซึ่งเป็นผักที่จะปลูกได้ในเขตหนาว

คุณกันยารัตน์ เล่าว่า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อกโคลี่ จะใช้พันธุ์เดียวกับที่ปลูกทางภาคเหนือ เพราะมีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ การเตรียมดินสำหรับปลูกกะหล่ำปลี ไถพรวนดินลึก ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-14 วัน ย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาว ในอัตราส่วน 100-300 กิโลกรัม/ไร่ จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2,000 กิโลกรัม/ไร่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ พรวนดินอีกครั้งให้เข้ากัน ก่อนปรับดินให้เรียบ พร้อมยกแปลงสูง 30 เซนติเมตร x กว้าง 1.20 เมตร x ความยาวตามพื้นที่ เพาะกล้าในถาดเพาะพลาสติก หลังจากต้นกล้างอกได้ 25-30 วัน ให้เลือกถอนต้นที่สมบูรณ์ย้ายไปปลูก หลังจากเตรียมแปลงปลูกแล้วให้เริ่มขุดหลุมปลูกระยะห่างระหว่างต้น 50-70 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 100-120 เซนติเมตร จากนั้นนำต้นกล้าที่แข็งแรงย้ายจากแปลง เพาะลงปลูก โดยขณะย้ายควรใช้ดินติดรากมาด้วยและต้องระวังไม่ให้รากขาดแล้วรีบนำลงปลูก แล้วกดดินรอบโคนให้แน่นทันทีก่อนรดน้ำให้ชุ่ม ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 1-2 ครั้ง

ในระยะแรกให้รดน้ำด้วยการฉีดเป็นฝอยในช่วงเช้าและเย็นทุกวัน จนกระทั่งหัวเริ่มเข้าปลีให้ลดปริมาณการรดน้ำลงเพื่อป้องกันไม่ให้หัวปลีแตกง่ายหลังจากปลูกได้ 15 วัน ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กำมือ/ต้น รดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพให้ชุ่มเพื่อให้ใบสวยงาม ร่วมกับการใส่ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากย้ายปลูก 7-10 วัน จากนั้นเมื่ออายุครบ 20 วัน ให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ และหลังการปลูก 40 วัน (ก่อนกะหล่ำปลีเข้าหัว) ควรใส่ปุ๋ย 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ อายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 55 วัน ผลผลิตที่ได้น้ำหนักเฉลี่ย 1.2 กิโลกรัม ต่อหัว และหมุนเวียนกันปลูกไปตามฤดูกาลเพื่อลดความเสียหายและได้คุณภาพมากที่สุด สามารถปลูกได้ทั้งปี

ผลผลิตผักกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และบร็อกโคลี่ มีรสชาติหวานกรอบ อร่อย สด และสะอาด โดยผลผลิตเฉลี่ยของกะหล่ำปลี ประมาณ 300 กิโลกรัม/เดือน กะหล่ำดอก ประมาณ 180 กิโลกรัม/เดือน บร็อกโคลี่ ประมาณ 300 -500 กิโลกรัม/เดือน ส่วนราคาผลผลิต กำหล่ำปลี 60-70 บาท/กิโลกรัม กะหล่ำดอก 80 บาท/กิโลกรัม บร็อกโคลี่ 130-150 บาท/กิโลกรัม คุณกัลยารัตน์ บอกต่อไปว่า แปลงผักจะไม่ใช้สารเคมี แต่จะใช้กาวดักแมลง และสารชีวภาพอื่นๆ แทนการใช้สารเคมี เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคผักที่มีความปลอดภัย และตัวเกษตรกรเองก็จะลดความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช จนได้รับมาตรฐาน Q จากสำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เมื่อปี 2556 ทำให้ผู้บริโภคและเกษตรกรที่มีความสนใจต่างมาศึกษาดูงานและซื้อผักไปรับประทาน

ปัจจุบัน ยังสมาร์มฟาร์มเมอร์ ได้มีการทำข้อตกลงกับโรงพยาบาลวังวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ในการผลิตผักปลอดภัย เพื่อส่งให้กับโรงพยาบาล นำไปประกอบอาหารให้กับผู้ป่วยที่มารักษาตัว ทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงด้านการตลาด และสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างดี

หลายคนประสบความสำเร็จกับคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

คุณชาญ มั่นฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านหาดใหญ่ ตำบลหนองหอม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ก็เช่นกัน คุณชาญ ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร จากการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง แต่คุณชาญก็ให้ข้อคิดว่า ไม่ใช่ทุกคนที่ประสบความสำเร็จจากการทำเกษตร ด้วยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะนั่นอาจจะเป็นเพียงแนวทาง แต่ไม่ใช่การดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจริง เช่น การลงทุนสูง การไม่มีใจรักเมื่อเริ่มต้นทำเกษตร แต่ทำเพราะกระแส เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่ได้สร้างความพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

การทำการเกษตรของคุณชาญ cerrochapelco.com ก็เริ่มต้นจากเกษตรกรทำนาเช่นเดียวกับเพื่อนบ้านรายอื่นๆ ที่มีผืนนาเป็นของตนเอง และทำนาตามฤดูกาล ในอดีตทำนาปีละครั้ง โดยอาศัยน้ำฝนในฤดูกาล ไม่มีระบบชลประทานมาเกื้อหนุน การปลูกข้าวที่ทำอยู่ก็ทำเหมือนเกษตรกรรายอื่น ระบบการปลูก ดูแล เก็บเกี่ยว ขาย ไม่แตกต่าง เมื่อไม่เกิดความแตกต่าง ผลที่ได้ก็เหมือนกันคือ ประสบภาวะขาดทุน

คุณชาญ เป็นผู้ที่สนใจใฝ่รู้ จึงเริ่มศึกษาระบบการทำการเกษตรด้วยวิธีต่างๆ และเคยเข้ารับการอบรมการทำเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง แต่ไม่ได้สนใจและให้ความสำคัญ เพราะคิดเองว่า เมื่อเราเป็นหนี้ การจะเริ่มทำเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่คำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ กระทั่งการทำนาแบบเดิมดำเนินต่อไป และในทุกปีเกิดภาวะขาดทุน เป็นหนี้หลายแสนบาท

“ผมเคยไปอบรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหลายครั้ง แต่ไม่เชื่อว่าทำแล้วจะอยู่ได้ แล้วเราเองเริ่มต้นจากติดหนี้หลายแสน คำว่าพอเพียง จะทำให้เราปลดหนี้แล้วมีกินได้ยังไง” เพราะทุกวันเหมือนเดิม หนี้สินก็พอกพูนขึ้น ทำให้คุณชาญ ตัดสินใจลองเสี่ยงกับคำว่า “พอเพียง”

ที่นาทั้งหมด 15 ไร่ เริ่มต้นจากที่นาเพียง 1 ไร่ ลงปลูกชะอม 1,000 กิ่ง ลงทุน 5,000 บาท ไม่ต้องปรับที่นา เพราะเป็นนาดอน หลังจากนั้นเพียง 1 เดือน ชะอมแตกกิ่งติดยอด ตัดขายได้ ก็เริ่มเก็บยอดชะอมมัดกำ นำไปขายให้กับพ่อค้าที่ตลาดสดพรหมพิราม ได้เงินครั้งแรกวันละ 50 บาท ต่อมาเมื่อชะอมเริ่มแตกกิ่งติดยอดมากขึ้น ก็เริ่มตัดยอดชะอมขายได้มากขึ้น รายได้จากวันละ 50 บาท เพิ่มเป็นวันละ 300 บาท

จำนวนชะอมที่เก็บไปขาย 1 ไร่ เริ่มไม่พอต่อความต้องการของตลาด มีพ่อค้าแม่ค้าจากหลายแหล่งมาถามขอซื้อ จึงตัดสินใจเพิ่มพื้นที่ปลูกชะอมอีก 1 ไร่ รวม 2 ไร่ และตัดขาย มีรายได้ทุกวันคูณ 2 เมื่อมองเห็นช่องทางการตลาด ว่าการขายพืชผักเช่นนี้ สามารถทำเงินได้ทุกวัน จึงเริ่มขุดบ่อ เลี้ยงปลา 3 บ่อ พื้นที่รวม ประมาณ 1 ไร่ และตัดสินใจปลูกพืชผักชนิดอื่นเพิ่ม ได้แก่ พริก ตะไคร้ ถั่วพลู มะเขือ กะเพรา โหระพา มะพร้าวน้ำหอม ขนุน กล้วยหอมทอง มะละกอ ไผ่ เป็นต้น

ภายในบ่อน้ำ ก็เลี้ยงปลานิล ปลาหมอชุมพร 1 ปลาดุกในกระชัง กบในกระชัง