ปัญหาที่ถาถม นำไปสู่ เส้นชัยแห่งความสำเร็จปี 2527 เริ่มทำส่งออก

และยังคงศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งความรู้จากการปลูกส้มโอนี้ คุณทิมได้มาจากการศึกษาด้วยตนเอง จากการฟังวิทยุ อ่านจากเอกสารความรู้ต่างๆ พูดคุยกับนักวิชาการที่มีความรู้ และค้นพบด้วยตัวเองจากการแก้ไขปัญหาจากความผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ยกตัวอย่าง สาเหตุที่คุณทิมเคยพบ จนนำมาสู่องค์ความรู้ที่ค้นพบด้วยตัวเองคือ เมื่อส้มโอประสบปัญหาโรคและศัตรูพืช จำพวกหนอน พบว่าเมื่อฉีดยาเข้าไป นานเข้าจะเกิดการดื้อยา ฉีดเท่าไหร่ก็ไม่หายขาด ตอนนั้นคุณทิมได้มีการปรึกษาผู้รู้และนักวิชาการ ถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่แล้วเมื่อนักวิชาการนำตัวยาที่แรงที่สุดมาฉีดให้ กลับแก้ไขปัญหาไม่ได้อยู่ดี คุณทิมได้คิดหาวิธีแก้ไขอยู่นาน กลับมาสังเกตส้มโอที่บ้าน เกิดความสงสัยว่า ทำไม บริเวณโคนต้นขึ้นไปฉีดยาจึงหาย ตัดสินใจปีนขึ้นไปบนยอดต้นส้มโอ พบว่าเราเองที่ฉีดยาไม่ถูกวิธี ฉีดไม่ทั่วถึง จึงทำให้โรคและศัตรูพืชไม่หายขาด

ถึงแม้ปัญหาบางเรื่องจะถูกแก้ไขได้สำเร็จ แต่การทำสวนส้มโอไม่ง่ายและสุขสบายอย่างที่คุณทิมคิดไว้แต่แรก 4 ปี หลังจากเริ่มทำสวน คุณทิมพบแต่ปัญหา จึงเกิดความท้อ และคิดว่าตนทำไม่สำเร็จแน่ จากนั้นได้มีเพื่อนมาชักชวนให้ไปทำแร่ดีบุกที่ภาคใต้ ตนจึงตัดสินใจไปทำ ทำไปทำมากลับแย่ลงอีก เกิดความเครียดอย่างมาก คิดโทษตัวเองว่าทำอะไร ลงทุนอะไร ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้มานั่งคิดทบทวนลำดับภาพว่า พลาดตรงไหน มองภาพแม่น้ำนครชัยศรี พบว่าไม่มีใครที่ทำสวนแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ดีมากดีน้อยแล้วแต่คนว่าขยันหรือไม่ คุณทิมสรุปความตอนนั้นได้ทันทีว่า “เพราะเราศึกษาข้อมูล รายละเอียดของสิ่งที่ทำไม่มากพอ”

คิดได้เช่นนั้น คุณทิมขึ้นฝั่งทันที และกลับมาสามพรานบ้านเกิดอีกครั้ง เริ่มเก็บข้อมูลการทำสวนส้มโออย่างจริงจัง ไปทุกสวน สอบถามทุกเรื่อง ประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จ สอบถามหมด ทำแล้วไม่สำเร็จก็เป็นความรู้ ทำให้เราไม่ทำแบบนั้น ลุยหาข้อมูลอยู่พักใหญ่ จนบรรลุข้อมูลตามที่ต้องการ

“ต้นไม้ที่เป็นโรคก็เหมือนคนที่ป่วยเรื้อรัง เราจะไม่อยากกินอะไร ก่อนหน้านี้เวลาต้นส้มโอเป็นโรค จะฉีดทั้งยาและให้ทั้งปุ๋ยไปด้วย แต่ก็พบว่าไม่ช่วยอะไร ใบไม่เขียวขึ้น จึงเกิดความคิดเปรียบเทียบกับคน เวลาที่คนป่วย แม้อาหารโต๊ะจีนก็กินไม่ลง เวลาหายป่วยน้ำพริกธรรมดาก็กินได้อร่อย จึงหยุดการให้ปุ๋ยในช่วงที่ต้นส้มโอเป็นโรค ลองปรับเปลี่ยนเป็นการฉีดยาและให้น้ำ เป็นเวลา 1 เดือน ผลปรากฏว่า ใบเขียวขึ้นผิดหูผิดตา จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยตาม” คุณทิม กล่าว

พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกส้มโอ
“ผมชิมส้มโอมาทั่วไทยแล้ว พบว่า ส้มโอที่ปลูกในที่ที่น้ำมากและอากาศหนาว รสชาติจะขมและซ่า เคยแก้ปัญหาด้วยการใช้ ปุ๋ย สูตร 0-0-60 และ 0-0-50 ลองใส่ไป 1 เดือนกว่าๆ ความหวานเพิ่มขึ้นจาก 9 บริกซ์ เป็น 11 บริกซ์ ก็จริง แต่พอได้ชิมรสชาติด้วยปาก พบว่าจืดชืดไม่มีรสชาติ ไม่มีรสขมซ่าก็จริงแต่จืดมาก เพราะความเปรี้ยวหายไปด้วย เหลือแต่รสหวาน ไม่มีรสที่จะมาช่วยชูรสชาติ”

แต่ถึงอย่างไร เกษตรกรที่สนใจและมีพื้นที่ปลูกส้มโอที่ไม่ค่อยเอื้อ เนื่องจากเป็นที่น้ำขังหรือมีอากาศหนาว คุณทิมยังคงแนะนำว่า ควรมีการใช้ปุ๋ยตัวท้ายสูง เพื่อช่วยทำให้ขมซ่าและความเปรี้ยวน้อยลง แต่อย่าให้รสชาติดังกล่าวหายไป เพราะถ้าหายรสชาติส้มโอจะจืดทันที และควรมีการเสริมด้วยขี้แดดนาเกลือ และกระดูกสัตว์บดละเอียด

“พื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกส้มโอคือ ทางภาคเหนือเรื่อยมา กาญจนบุรีก็ปลูกได้ ซึ่งปัจจุบันพบว่า การซื้อขายส้มโอเพิ่มขึ้นถึง 10% แต่การขยายตัวไม่ถึง แต่การขยายตัวของพื้นที่ปลูกกลับน้อยกว่า 1% เพราะคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ไม่ค่อยสนใจ ไม่อยากทำอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนมากกลับเป็นคนที่ไม่รู้ว่าจะทำอะไร จึงเลือกมาทำการเกษตร ซึ่งก็ทำไปโดยไม่ค่อยมีจุดหมาย ไม่จริงจัง คนที่เรียนมา พอเห็นการทำงานของเกษตรกร ที่ต้องมีความอดทนและต้องขยันอย่างมาก จึงไม่อยากทำ กลายเป็นว่าตลาดของส้มโอดี ราคาสูง ความต้องการเยอะขึ้น แต่คนปลูกน้อย” คุณทิม กล่าว

ภารกิจยกเลิกส้มแถม
ในปี 2527 คุณทิม ได้รวมกลุ่มกันรณรงค์เลิกส้มแถม ซึ่งก่อนหน้านี้การขายส้มโอ หากพ่อค้ามาซื้อส้มโอไป 100 กิโลกรัม เกษตรกรจะแถมส้มโอให้อีก 6 ลูก เพื่อสำรองเผื่อเสียเผื่อแตก มีการหารือแก้ไขปัญหา ทั้งการเพิ่มคุณภาพให้กับผลผลิตจนเกิดความมั่นใจว่าผลผลิตจะไม่แตก ไม่เสีย เพื่อต้องการยกเลิกส้มแถมให้สำเร็จ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแย่งซื้อ โดยให้ราคาเท่ากับพ่อค้า แต่ไม่รับส้มแถม จนในที่สุดส้มแถมก็ลดลงและหายไปในที่สุด ส่งผลไปยังผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ที่เคยมีการแถม เช่น กล้วย มะพร้าว ไข่ ก็ได้มีการถูกยกเลิกการแถมด้วยเช่นกัน

ลดต้นทุน แถมสุขภาพดี
ที่สวนส้มโอไทยทวี นอกจากจะเป็นพื้นที่ปลูกส้มโอคุณภาพที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP แล้ว ยังเป็นศูนย์การศึกษาให้นักศึกษามาฝึกงาน โดยที่สวนส้มโอไทยทวีแห่งนี้มีการผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อปรับสภาพโครงสร้างดิน ย่อยสลายธาตุอาหารในดิน ซึ่งทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ถึง 70% อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อผู้ปลูกและผู้บริโภค เมื่อไม่ใช้สารเคมีก็จะลดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว ส่วนผู้บริโภคก็จะได้ส้มโอที่มีคุณภาพและปลอดภัย

“ปี 2554 น้ำท่วมใหญ่ ท่วมทั้งสวน ต้นไม้แช่น้ำนานถึง 2 เดือน แต่แปลกที่ต้นส้มโอไม่เป็นอะไรเลย แม้แต่ต้นขนุน ที่ไม่ทนน้ำ ถูกแช่สูงเกือบศอกก็ไม่ตาย ผมสังเกตด้วยตัวเองว่า เพราะการที่เราทำสวนแบบอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ ปล่อยตามธรรมชาติ ต้นไม้จึงแข็งแรงด้วยตัวของมัน” คุณทิม กล่าว

ตลาดในประเทศยังไปได้สวย
ด้านตลาด คุณทิมได้ให้ คุณธนกฤต ไทยทวี ซึ่งเป็นลูกชาย ได้เข้ามาดูแล โดยคุณธนกฤตบอกว่า “ปัจจุบัน เน้นที่ตลาดในประเทศ เพราะราคาใกล้เคียงกัน ส่งออกตอนนี้อยู่ที่ประมาณ ปีละ 100 ตัน สำหรับส้มโอจากสวนส้มโอไทยทวี มีจำหน่ายที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน ดิเอ็มโพเรี่ยม และร้าน Tops (สาขาทองหล่อ) เป็นต้น นอกจากจะขายตามห้างสรรพสินค้าแล้ว ยังมีการออกร้านตามงานของส่วนราชการและภาคเอกชนต่างๆ จัดขึ้น โดยจะมีรถโมบายให้บริการ เป็นส่วนหนึ่งในการโปรโมตส้มโอ โดยเป็นส้มโอจากสวนของคุณทิมเองและสวนของเกษตรกรในเครือข่ายอีก 3-4 ราย ปัจจุบัน พันธุ์ส้มโอที่ยังครองตลาด คือ พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ราคาเกรดปกติอยู่ที่ลูกละ 200 บาท”

ผลผลิตส้มโอของนครชัยศรี อยู่ที่ประมาณ 100 ลูก ต่อต้น ต่อปี ซื้อขายเป็นลูก ราคาจากสวนแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ราคาหน้าสวน อยู่ที่ลูกละ 120-150 บาท ราคาซื้อปลีก ลูกละ 180-200 บาท พันธุ์ทองดีส่งขายต่างประเทศ ราคาลูกละ 90-100 บาท ราคาในประเทศ ลูกละ 100 บาท

สำหรับพื้นที่ปลูกส้มโอทั้งจังหวัดนครปฐม ปัจจุบัน มีพื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ เน้นการทำตลาดในประเทศ เพราะให้ผลผลิตไม่เพียงพอ อีกทั้งราคาขายในประเทศมีแนวโน้มที่ดีกว่าส่งออกต่างประเทศ

จุดเด่นของส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ของอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม คือรสชาติหวานอมเปรี้ยว ที่เป็นเอกลักษณ์ สังเกตว่าเป็นของแท้หรือไม่ จากต่อมน้ำมันที่ผิว หากเป็นขาวน้ำผึ้งสามพรานแท้จะมีต่อมน้ำมันละเอียด แต่ถ้าขาวน้ำผึ้งจากที่อื่น ต่อมน้ำมันจะโตกว่า และมีเปลือกหนา

แผนตลาด
“อุปสรรคในการปลูกส้มโอ ที่ทำให้ชาวสวนหลายรายท้อและต้องเลิกทำสวนไปในที่สุดคือ ปัญหาเรื่องของดิน เวลาดินมีปัญหาจะส่งผลต่อการปลูกโดยตรง รากจะไม่ไป ไม่มีการแตกราก ต้นไม่เจริญเติบโต ซึ่งได้มีการศึกษาหาวิธีมาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตจะยังคงศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ณ ตอนนี้ ยังไม่พบวิธีที่สามารถช่วยได้เต็มที่ 100% แต่ก็จะทำการศึกษาต่อไป ต้องมีการใช้เชื้อรามาช่วยหลายๆ ตัว มาราดใต้ต้น” คุณทิม กล่าว

นอกจากนี้ คุณทิม ได้วางแผนว่าจะจัดตั้งศูนย์ส้มโอนครชัยศรีแท้ เนื่องจากปัจจุบันพบปัญหาการย้อมแมวส้มโอจากที่อื่นมาจำหน่ายเป็นส้มโอนครชัยศรี ส่งผลต่อชื่อเสียงจากรสชาติที่ไม่อร่อย และยังคงจะศึกษาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับส้มโออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องของดิน โดยตั้งโจทย์ไว้ว่าจะปรับปรุงโครงสร้างดินอย่างไร ให้มีคุณภาพ

รางวัลการันตีความสำเร็จ ความสำเร็จจากการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ และศึกษาคิดค้นจนเชี่ยวชาญ ทำให้คุณทิมได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อาทิ

– ปี 2526 ได้รับโล่การประกวดส้มโอ รางวัลที่ 1 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน

– ได้รับพระราชทานรางวัลผลไม้ชนะเลิศ 5 ปีซ้อน จากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี 2 ปี จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 2 ปี และจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 1 ปี

– ปี 2532 ได้รับรางวัลจาก สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสวนดีเด่น ผลิตเพื่อการส่งออก

– ปี 2535 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งภาคตะวันออก จากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

– ปี 2541 ได้รับโล่จากสมาคมชาวนครปฐม เป็น “คนดีศรีนครปฐม”

– ปี 2548 ได้รับการเชิดชูเกียรติ เป็น “ครูภูมิปัญญาไทย รุ่น 4” ด้านเกษตรกรรม จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย

และในปี 2559 นี้ คุณทิม ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพียงคนเดียวเท่านั้น จากสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ปัจจุบัน คุณทิมยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมส้มโอไทยอีกด้วย

“ซื่อสัตย์ ขยัน กตัญญู ขอให้ทุกคนยึด 3 สิ่งนี้เท่านั้น อดทน ไม่ต้อง เพราะคนที่ขยันคือคนที่อดทน คนขี้เกียจ เขาไม่ทนอยู่แล้ว” คุณทิม กล่าวทิ้งท้าย ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต 6 กรมส่งเสริมการเกษตร โดยมี คุณรัตนาภรณ์ กัญญาราช ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี 2523 มีบทบาทภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรด้านการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจในเขตภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

นอกจากส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งแล้ว แมลงเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร นั่นคือ ชันโรง คุณปริวรรต ปันจะ นักวิชาการเกษตร ศูนย์ฯ ให้รายละเอียดว่า ชันโรง มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ภาคเหนือ เรียก ขี้ตังนี หรือ ขี้ตึง ชนิดตัวใหญ่เรียก ขี้ย้าดำ ขี้ย้าแดง ภาคใต้ เรียก ชันโรง ทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ว่า แมลงอุ่ง ภาคอีสาน เรียกว่า ขี้สูด ภาษากลาง เรียก ชันโรง ภาคตะวันออก เรียก ตัวชำมะโรง หรือ อีโลม ภาคตะวันตก เรียก ตัวตุ้งติ้ง หรือ ติ้ง

ชันโรง แบ่งตามที่อยู่อาศัย ได้แก่
ชันโรงป่า อาศัยอยู่ตามโพรงหรือต้นไม้ขนาดใหญ่ เป็นชันโรงกลุ่มที่โบราณที่สุด ในโพรงไม้ อุณหภูมิจะเย็นสบายตลอดเวลา ไม่สามารถนำมาเลี้ยงได้ เพราะไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

ชันโรงกึ่งป่ากึ่งบ้าน อาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ที่ไม่ใหญ่โตมากนัก หรืออาศัยตามรอยแตกของฝาบ้าน ซอกตึก กล่องไม้หรือวัตถุที่มีลักษณะเป็นโพรง ที่ตัวชันโรงสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ได้ ได้แก่ ชันโรงใต้ดิน ชันโรงปากแตร

ชันโรงบ้าน เป็นชันโรงในโรงเทียมที่เกิดตามอาคารบ้านเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ในภาชนะเครื่องมือและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ทิ้งไว้ในร่ม สภาพเป็นโพรง เพราะเป็นที่อยู่อาศัยกันแดดกันฝนได้ เช่น ชันโรงหลังลาย ชันโรงขนเงิน ชันโรงรุ่งอรุณ

ชันโรง เป็นสัตว์สังคม แยกออกเป็น 3 วรรณะ ได้แก่

นางพญาชันโรง เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว มีหน้าที่ในการวางไข่และควบคุมการทำงานของชันโรงงานภายในรังทั้งหมด

ชันโรงงาน มีขนาดเล็ก อกและท้องสีเหลืองกว่านางพญา มีหน้าที่ตั้งแต่การทำความสะอาดรัง สร้างกลุ่มไข่ ซ่อมแซมรัง เป็นพี่เลี้ยงช่วงนางพญาวางไข่ ป้องกันรัง ตลอดจนการออกหาอาหาร ได้แก่ น้ำหวาน เกสรและยางไม้ ชันโรงตัวผู้ มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับชันโรงงาน มีตาและท้องสีน้ำตาลเข้ม ชอบจับกลุ่มอยู่บริเวณหน้ารังที่กำลังจะมีนางพญาใหม่ออกเรือน มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับนางพญาพรหมจรรย์ที่จะออกเรือน

ประโยชน์ของการเลี้ยงชันโรง เป็นการอนุรักษ์แมลงที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยผสมเกสรพืชทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชที่ผสมเกสรติดยาก เช่น ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ มะพร้าว แตงกวา ฟักทอง เมล่อน ทานตะวัน สตรอเบอรี่ ช่วยให้อัตราการติดผลเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 80-90 การติดเมล็ดดีขึ้นกว่าการผสมเกสรตามธรรมชาติ เมล็ดพันธุ์มีความสมบูรณ์ ผลผลิตไม่มีรูปร่างบิดเบี้ยว ได้น้ำผึ้งชันโรงที่มีส่วนประกอบหลักคือ น้ำผึ้ง อาจมีชันผึ้งละลายปนอยู่ สีค่อนข้างดำหรือเข้ม มีความเป็นกรดค่อนข้างสูงจึงมีรสเปรี้ยว มีคุณสมบัติเป็นสารยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารปฏิชีวนะรักษาโรคบางโรคที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของคนรักสุขภาพ

ได้ชันผึ้ง ที่มีคุณสมบัติหลักคือ เป็นสารป้องกันและกำจัดโรคของมนุษย์ เป็นสารยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือโรคผิวหนัง รวมถึงโรคในช่องปาก กล่องเสียง และลำไส้ใหญ่ อีกทั้งได้รับการพัฒนาให้เป็นเครื่องสำอาง น้ำหอม โลชั่น ครีมและสบู่ ผลิตภัณฑ์มีราคาสูง สามารถเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้แบบยกรัง ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท ต่อรัง บริการให้เช่ารังชันโรงนำไปวางในสวน เพื่อให้ชันโรงช่วยผสมเกสรในสวนของตนเอง ปัจจุบันราคาให้เช่า 30-50 บาท ต่อรัง ช่วยเป็นงานอดิเรกแก่ผู้เลี้ยง เป็นการคลายเครียดอีกทางหนึ่ง

การเริ่มต้นเลี้ยงชันโรง เริ่มจากเลือกกล่องเลี้ยงชันโรง ต้องเป็นกล่องที่หาง่าย ราคาถูก ใช้ประโยชน์ได้ดี สะดวกในการปฏิบัติงาน รังจะต้องควบคุมอุณหภูมิได้คงที่ คงทนต่อสภาพแวดล้อมและอากาศได้ดี ชันโรงแต่ละชนิดมีความต้องการขนาดของรังแตกต่างกัน จำเป็นต้องให้มีความเหมาะสมของชันโรงแต่ละชนิด รังจะต้องประกอบและแยกขยายได้ง่าย สามารถเปิดรังสังเกตพฤติกรรมของชันโรงได้ง่ายและสะดวก พันธุ์ของชันโรงต้องมีคุณลักษณะที่สามารถนำมาเลี้ยง ได้แก่ เป็นชนิดที่สามารถปรับตัวและทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ด้วย ไม่ดุร้ายและไม่รบกวน มีความกระตือรืนล้น ขยายพันธุ์ได้ง่าย นางพญามีประสิทธิภาพในการวางไข่ได้ปริมาณมาก ทนต่อสภาพแวดล้อมเข้ากับที่อยู่ใหม่ได้ ขนาดของรังชันโรงต้องไม่ใหญ่เกินไป และสามารถแยกขยายได้ง่าย สะดวก เลือกสายพันธุ์ที่ทนทานต่อศัตรูได้ดี

ชันโรง สามารถแยกขยายได้ประมาณปีละ 2 ครั้ง พิจารณาจากความหนาแน่นของประชากรชันโรง รวมถึงอาหารที่สะสมไว้ในรัง การแยกขยายรังจะต้องสำรวจดูนางพญาหรือหลอดนางพญาชันโรงให้สัมพันธ์กับกลุ่มหลอดไข่และหลอดดักแด้ เพื่อให้หลอดนางพญาออกมาเป็นนางพญาพรหมจรรย์ และพร้อมสำหรับการผสมพันธุ์กับชันโรงตัวผู้ จึงจะประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์ชันโรง

ขั้นตอนการแยกรัง สำหรับผู้เริ่มเลี้ยงใหม่ มีขั้นตอนดังนี้
ทำความสะอาดรังแยกหรือรังใหม่ เตรียมรังพ่อแม่พันธุ์ การล่อให้ชันโรงออกมาจากรังก่อนเพื่อจะได้ไม่รบกวนขณะทำงาน เปิดรังสำรวจปริมาณไข่ ดักแด้ และตัวเต็มวัย ให้มีปริมาณสมดุลพอสมควรก่อนแยกรัง ที่สำคัญต้องมีไข่นางพญา คัดแยกมาวางที่ด้านหลังของรังที่เตรียมไว้ ตัดแยกกลุ่มอาหารวางไว้ด้านหน้าของรังที่ทางเข้า-ออกของชันโรง แยกกลุ่มไข่จากรังพ่อพันธุ์ ประมาณ 200 ฟอง วางไว้ใกล้ไข่นางพญา แล้วปิดด้วยพลาสติกใส นำไขหรือขี้ชันโรงจากรังเดิมมาปิดไว้ที่ทางเข้า-ออก เพื่อล่อให้ตัวเต็มวัยออกไปเก็บเกสรและน้ำหวานมาเข้าไว้ในรังเพาะขยาย ปิดทางเข้าด้วยไขชันโรง จากนั้นจึงย้ายรังชันโรงออกไปวางห่างกันจากจุดเดิม ประมาณ 300 เมตร

ข้อดีของการเลี้ยงชันโรง ได้แก่ ไม่มีพฤติกรรมการทิ้งรัง ไม่เลือกตอมดอกไม้ที่ชอบ ไม่ดุร้ายหรือไม่ต่อย รัศมีการบินหากินไม่เกิน 300 เมตร มีสัดส่วนในการเก็บเกสร ร้อยละ 80 และน้ำต้อย ร้อยละ 20 สามารถเลี้ยงแบบอยู่กับที่หรือเคลื่อนย้ายได้ ทนต่อสภาพการปิดรังได้นานนับ 10 วัน เพื่อการเคลื่อนย้ายรังไปหาอาหาร การเลี้ยงแต่ละรังมีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ถ้าเป็นรังที่เลือดชิด หรือเกิดจากการไม่คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ จะเลี้ยงอยู่ได้ 1-2 ปี มีพฤติกรรมการเก็บยางไม้ น้ำผึ้งที่ได้จากชันโรงมีคุณสมบัติทางยา

ชันโรง เป็นแมลงผสมเกสรที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในภาคการเกษตรที่เน้นการลดการใช้สารเคมี ได้ประโยชน์จากผลผลิตและผลพลอยได้ ช่วยให้เกิดความหลากหลายทางธรรมชาติ อีกทั้งเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน เกษตรกรหันมาปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัยจากสารเคมี ฯลฯ การเลี้ยงชันโรงในพื้นที่ จึงเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผลผลิตของตนเอง ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปริวรรต ปันจะ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร ด้านแมลงเศรษฐกิจ เชียงใหม่ 082-629-7867

กรมวิชาการเกษตร เปิดตัว “ตากฟ้า 7” ฝ้ายใบขนพันธุ์ใหม่ให้ผลผลิตฝ้ายปุยสูง สมอใหญ่ เก็บเกี่ยวง่าย ที่สำคัญทนทานเพลี้ยจักจั่น ต้านทานโรคใบหงิก ส่งผลช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง ตอบโจทย์ผลิตฝ้ายปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้ให้ชนบทแบบครบวงจรและอย่างยั่งยืน

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ฝ้ายเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรในชนบท อย่างไรก็ตาม วิถีการผลิตฝ้ายในปัจจุบันของเกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงจากการปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ติดต่อกัน ซึ่งทำให้การปฏิบัติ ดูแล รักษาไม่ทั่วถึงปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ขนาดเล็กไม่เกิน 1 ไร่ต่อครอบครัว รวมทั้งนิยมใช้พันธุ์ฝ้ายที่ทนทานต่อแมลงศัตรู เพื่อลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา และปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ผลิตและผู้บริโภค

ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบรับต่อความต้องการของเกษตรกร Royal Online V2 ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ กรมวิชาการเกษตร จึงทำการคัดเลือกสายพันธุ์ฝ้ายที่มีลักษณะทนทานต่อโรค และแมลงศัตรูฝ้ายสำคัญที่รวบรวมไว้ในแหล่งเชื้อพันธุกรรมมาทำการประเมินผลผลิตในสภาพการปลูกแบบปลอดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย เพื่อคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์ฝ้ายใบขนพันธุ์ใหม่ ที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อเพลี้ยจักจั่น และต้านทานต่อโรคใบหงิก สำหรับเป็นทางเลือกให้เกษตรกรสามารถปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก ปราศจากการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค และแมลง เพื่อรองรับแนวความคิดในการผลิตฝ้ายที่ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลอดจนอนุรักษ์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 7 ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ดสูง 196 กิโลกรัมต่อไร่ สมอมีขนาดใหญ่โดยมีน้ำหนักปุยสูงถึง 4.91 กรัมต่อสมอ ซึ่งการที่สมอมีขนาดใหญ่ทำให้เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวได้สะดวก และง่ายกว่าการเก็บเกี่ยวฝ้ายที่มีสมอขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์หีบ ความยาว และความละเอียดอ่อนของเส้นใยดี โดยมีเปอร์เซ็นต์หีบ 36.4 % มีความยาวเส้นใย 1.02 นิ้ว ที่สำคัญเป็นพันธุ์ฝ้ายที่มีความทนทานต่อเพลี้ยจักจั่นฝ้ายและต้านทานต่อโรคใบหงิก สามารถปลูกได้ในแหล่งผลิตฝ้ายของประเทศไทยทั่วไป

จากการประเมินการยอมรับพันธุ์ฝ้ายตากฟ้า 7 โดยจัดทำแบบสอบถามเกษตรกรในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี เชียงใหม่ มุกดาหาร และเลย สรุปได้ว่าเกษตรกรมากกว่า 95% มีความชอบมากในด้านผลผลิตสูง สมอมีขนาดใหญ่ ทรงต้นโปร่ง ต้านทานต่อโรคใบหงิก เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์งอกที่ดี เจริญเติบโตดี ดูแลรักษาง่าย ทนทานต่อโรคแมลงศัตรู และเก็บเกี่ยวง่าย

“ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 7 ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรสามารถนำไปปลูกได้ในพื้นที่ขนาดเล็กปราศจากการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์มีความพร้อมของเมล็ดพันธุ์คัดของฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 7 จำนวน 50 กิโลกรัม ซึ่งเมล็ดพันธุ์คัดดังกล่าวสามารถที่จะใช้ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์หลักได้ถึง 25 ไร่ ซึ่งจะผลิตเมล็ดพันธุ์หลักได้ประมาณ 2,500 กิโลกรัม

รวมทั้งยังรองรับแนวคิดการผลิตฝ้ายที่ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอรูปแบบใหม่ๆ เป็นการสร้างงานให้แก่ชนบทแบบพึ่งพาตนเอง เริ่มจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกไปจนถึงกลุ่มผู้แปรรูปผลผลิต ตั้งแต่การปั่นด้าย การทอผ้า การออกแบบ และการตัดเย็บ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนแบบครบวงจรและยั่งยืน” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์