ปัญหาทุเรียนอ่อน ส่วนหนึ่งขาดแคลนมือตัดอาชีพ

ส่วนใหญ่จะเป็นมือตัดของล้ง สำนักงานเกษตรจังหวัดตราดจึงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานตราด สร้างมือตัดทุเรียนอาชีพอิสระ โดยรับสมัครคนรุ่นใหม่ทั่วๆ ไป เจ้าของสวนหรือผู้ต้องการประกอบอาชีพตัดทุเรียนได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติ เพื่อนำไปใช้ได้จริงในสวนของตัวเองหรือสร้างอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างสูงวันละ 1,200-1,500 บาท ที่สำคัญสร้างจิตสำนึกให้รักในอาชีพตัดทุเรียนคุณภาพ ด้วยคุณธรรม เพื่อให้ทุเรียนตราดออกก่อน อ่อนไม่มี” คุณชยุทกฤติ กล่าว

คุณการะเกษ สังเวียนทอง นักวิชาการ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานตราด กล่าวถึงหลักสูตร “เทคนิคการตัดและคัดแยกผลทุเรียน” ใช้เวลา 30 ชั่วโมงว่า จุดประสงค์คือ สร้างองค์ความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ดีในการทำงานสาขาอาชีพการตัดและคัดแยกผลทุเรียน ให้รู้วิธีการเก็บเกี่ยวผลทุเรียนและฝึกปฏิบัติตัดคัดแยกทุเรียนในสวน ผู้สมัครเข้าอบรม 24 คน มีทั้งกลุ่มเกษตรกรและแรงงานคืนถิ่นเป็นคนรุ่นใหม่ ทุกคนผ่านเกณฑ์ประเมินผลได้รับวุฒิบัตรกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในอนาคตอาชีพมือตัดทุเรียนต้องผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนเป็นการยกระดับฝีมือแรงงาน

“ภาคทฤษฎี ได้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องทุเรียน ดร.พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จากนั้นให้ศึกษาจากสวนทุเรียน ลุงอิ๊ด หรือ คุณบรรจง บุญวาที ปราชญ์ชาวบ้าน มีประสบการณ์เรื่องทุเรียนร่วม 50 ปีที่ตำบลห้วงน้ำขาว พื้นที่ที่ผลผลิตออกช่วงต้นฤดูก่อนที่อื่นๆ ทุกปี และผลผลิตอยู่ในช่วงแก่ตัดได้ ฝึกเรียนรู้ดูทุเรียนแก่ ฝึกการขึ้นต้น ปีนต้น ตัด-โยน การขนส่ง เรียงผลทุเรียน เมื่อผ่านการอบรมแล้วนำไปประกอบอาชีพได้เลย ตัดเองหรือรับจ้างตัด เพราะทุเรียนทั่วไปจะตัดได้ช่วงเมษายน-มิถุนายน มือตัดมีรายได้ 1,200 บาทต่อวัน ถ้าฝึกรับ 800 บาทต่อวัน” คุณการะเกษ กล่าว

หลังเก็บเกี่ยวทุเรียนให้คุณภาพดีเพื่อส่งออก

ดร.พีรพงษ์ แสงวนางค์กูล วิทยากรภาควิชาการ จากศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เริ่มต้นการเข้าสู่เนื้อหาเชิงวิชาการและสรุปเชื่อมโยงความสำคัญ สู่ประเด็นหลักของความรู้ เรื่อง “การจัดการผลผลิต เก็บทุเรียน ทำอย่างไรให้คุณภาพดีเพื่อส่งออก” จากตั้งคำถามน่าสนใจ 5-6 ข้อ เริ่มจากทําไมทุเรียน ตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลอ่าวใหญ่ จังหวัดตราด เก็บเกี่ยวได้ก่อน 2. ทําไมต้องคัดเปอร์เซ็นต์แป้ง (น้ำหนักเนื้อแห้ง) 32 เปอร์เซ็นต์ การตัดทุเรียนแก่อายุ 110-120 วัน หนามแห้ง ปลิงบวม แต่ทำไมแป้งยังน้อย สุกแล้วไม่อร่อย 3. ส่งออกใช้ทุเรียนแก่ไปแล้วแตกหมด จริงหรือไม่ 4. ซื้อทุเรียนไปขายได้หมดไม่เน่าเสียแล้วทําไมขาดทุน 5. คัดทุเรียนสวยจากสวน ทําไมไปขาย (จีน) แล้วเน่า มีหนอน 6. ทุเรียนบ่ม ใช้สารเร่งสุก (เอทีฟอน) อันตรายหรือไม่

“ถ้าตัดทุเรียนอ่อนจะได้น้ำหนักและราคาแพงเพราะต้นฤดูผลผลิตมีปริมาณน้อย แต่ทุเรียนที่ออกมาทีหลังปริมาณมหาศาลจะถูกดัมพ์ราคาเราต้องรับผิดชอบร่วมกัน มาตรฐานทุเรียนที่สำคัญ 2 อย่าง คือ คุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร ดังนั้น ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวต้องเหมาะสม ไม่วางทุเรียนบนพื้นหญ้าจะมีเชื้อราได้ สารเร่งสุกใช้มากเกินผลจะแตกเน่าเสีย ทุกอย่างต้องมีการจัดการที่ดี เมื่อตัดทุเรียนแก่ต้องรีบจำหน่ายเพื่อลดความสูญเสียของน้ำหนักและคุณภาพ สินค้าคุณภาพดีจะทำให้มีการซื้อซ้ำ น้ำหนักเปอร์เซ็นต์แป้งหมอนทองขั้นต่ำ 32 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าอร่อยต้อง 35 เปอร์เซ็นต์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นี้ ถ้าให้ความสนใจ เข้าใจและนำไปใช้ผสมผสานกับการตลาดได้” ดร.พีรพงษ์ กล่าว

ปราชญ์ชาวบ้าน

คุณบรรจง บุญวาที หรือ ลุงอิ๊ด อยู่บ้านเลขที่ 123 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด อายุ 69 ปี เริ่มต้นจากมือตัดทุเรียนตั้งแต่อายุ 17-18 ปี สร้างสมประสบการณ์ร่วม 50 ปี ทั้งนายหน้ารับเหมาทุเรียน และสร้างทีมรับจ้างตัดทุเรียนร่วม 100 คน และเป็นเจ้าของสวนทุเรียน ปัจจุบันแบ่งให้ลูกชายไปดูแลส่วนหนึ่ง ที่ทำเองเป็นแปลงดั้งเดิมพื้นที่ 30 ไร่ เกือบทั้งหมดเป็นหมอนทอง บางต้นอายุ 40-50 ปี มีการปลูกแซมต้นที่ตายไป ปี 2565 มีผลผลิตประมาณ 150 ตัน สร้างรายได้ประมาณ 40 ล้านบาท เพราะทุเรียนมีราคาสูงกิโลกรัมละ 250 บาท

ลุงอิ๊ดเปรียบเปรยชื่อ “ทุเรียน” ว่า คือ เรียนไม่จบ มีเทคนิค เคล็ดลับ ความแตกต่างมาก มีปัญหามาให้แก้ไขอยู่ตลอด ไม่มีสูตรสำเร็จ เฉพาะเรื่องการตัดทุเรียนแก่ หลักวิทยาศาสตร์ใช้นับวันดอกบานถึงเป็นลูกตัดได้และวัดเปอร์เซ็นต์แป้งตามมาตรฐาน เช่น กระดุมระยะเวลาดอกบาน 90 วัน เปอร์เซ็นต์แป้ง 27 เปอร์เซ็นต์ พวงมณีดอกบาน 90-100 วัน ชะนี 105-110 วัน เปอร์เซ็นต์แป้ง 30 เปอร์เซ็นต์ และหมอนทองดอกบาน 110-125 วัน เปอร์เซ็นต์แป้ง 32 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับผู้มีประสบการณ์ดูด้วยสายตา เคาะด้วยนิ้ว ไม่ต้องทดสอบ เปอร์เซ็นต์แป้ง รับรองแก่เกินมาตรฐานทุกลูก

“คนเก่งจริงๆ สามารถทำเงินจากทุเรียนได้วันละ 100,000 บาท แต่ถ้าไม่เก่งจริงก็ขาดทุนวันละ 1,000,000 บาทได้เช่นกัน ถ้าเราตัดทุเรียนอ่อนไปส่งล้งและล้งให้เรารับผิดชอบ ทำทุเรียนต้องใจรักกว่าจะถึงวันนี้เคยพลาดมาก่อนและนำมาเป็นบทเรียน ต้องศึกษากันจริงๆ กว่าจะชำนาญ เพราะสภาพพื้นที่ อากาศแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน ต้องรอบคอบ ไม่ประมาท หมอนทองที่ตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลอ่าวใหญ่ 80-90 วัน เปอร์เซ็นต์แป้งตัดได้ แต่จะใช้กับที่อื่นๆ ไม่ได้” ลุงอิ๊ด กล่าว

เทคนิค เคล็ดลับการตัดทุเรียนแก่

ลุงอิ๊ด บอกว่า ทุเรียนตำบลห้วงน้ำขาว ตำบลอ่าวใหญ่ จะสุกก่อนที่อื่นๆ จึงใช้เกณฑ์การนับวันดอกบานไม่ได้ จึงต้องอาศัยประสบการณ์ ความชำนาญเฉพาะตัวของมือมีดไม่ให้ตัดทุเรียนอ่อน โดยดูลักษณะผลภายนอก 4-5 องค์ประกอบ คือ 1. ดูขั้ว จับขั้ว ขั้วแข็งไม่นิ่ม ตัดออกมาแล้วเห็นขอบขั้ววงในชัดเจน 2. ดูร่องหนาม (พู) จะเป็นร่องพูชัดเจน หนามบีบยุบนิ่ม สีอมเหลือง 3. ดูผิวแห้ง ถ้าทุเรียนถูกแดดจะดูสีไม่ได้ 4. การเคาะผิวฟังเสียง เลือกพูเต็มๆ หนามเขียวๆ เคาะฟังเสียงหรือใช้มือดีดตรงพูเฉียงๆ ฟังเสียงหลวมๆ โปร่ง เพราะเนื้อทุเรียนแก่จะคายน้ำ เนื้อจะยุบ ถ้าอ่อนเสียงจะแน่น และ 5. การดูก้นทุเรียน ขึ้นรูปก้นหอยสีเข้ม ร่องสาแหรกชัด

“ทุเรียนดีต้องสุกพร้อมกันทั้งลูก ต้นเดียวกันจะแก่ไม่พร้อมกัน เพราะสภาพอากาศ บางต้นมี 3-4 รุ่น หรือพวงเดียวกัน 3 ลูกจะมี 3 รุ่น อ่อนแก่ห่างกัน 7-10 วัน เราต้องใช้เชือกฟางที่มัดโยงเต้าลูกทุเรียนคนละสี แยกไว้จะชัดเจนที่สุด เพราะถ้าได้เวลาตัดระยะห่างกัน 3-4 วันจะแยกกันไม่ออก” ลุงอิ๊ด เผยเคล็ดลับ

ลุงอิ๊ด ทิ้งท้ายว่า ถ้าชาวสวนไม่ช่วยกัน อย่างไรทุเรียนอ่อนก็แก้ไม่สำเร็จ อาชีพมือตัดทุเรียนทำงาน 3-4 เดือน มีเงินใช้ทั้งปีหรือเป็นเจ้าของสวนทุเรียนได้ สนใจสอบถามลุงอิ๊ด โทร. 087-135-1207

ผู้เข้าอบรมมีทั้งเจ้าของสวน มือตัดทุเรียนรับจ้างที่มีประสบการณ์ และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่คลุกคลีอยู่กับสวนทุเรียนของครอบครัว ล้วนแต่พร้อมจะก้าวสู่มือตัดทุเรียนอาชีพ

คุณมนัส ญาติพิบูลย์ เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ก่อนหน้านี้ขายให้ล้งมาตัด เมื่อเข้าอบรมทดลองตัดมั่นใจว่าเป็นมือตัดส่งล้งที่ส่งออกได้เพราะจะได้ราคาดีกว่า สอดคล้องกับ คุณพงษ์ศักดิ์ เติมศิริรัตน์ หรือ ไก่ ที่ครอบครัวภรรยาเป็นเจ้าของสวนสะละสมโภชน์ที่เป็นสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร รับนักท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันดี มีสวนทุเรียนส่วนใหญ่ขายให้ล้งหรือขายแกะเนื้อขายออนไลน์บ้าง ด้วยทุเรียนทั้งเบญจพรรณของไทย มูซันคิง จึงคิดตัดทุเรียนคุณภาพวางขายในสวนบ้าง

คุณวัชรพล รูปคมสัน เจ้าของสวน “จ่าแดง” อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จบปริญญาตรี ปี 2558 ช่วยพ่อทำสวน เงาะ มะยงชิด อะโวกาโด และมีทุเรียน 400 ต้น ต้องจ้างแรงงานตัดทุเรียนขายให้ล้ง ใช้วิธีนับวันดอกบานและกรีดดูเนื้อ เมื่ออบรมได้รับความรู้ด้านการบริหารจัดการ การเก็บเกี่ยวที่เป็นหลักวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับการฝึกปฏิบัติในสวน รู้เทคนิค เคล็ดลับการดูทุเรียนแก่เป็นความรู้ที่สุดยอดมาก คิดว่าจะสร้างแรงงานในสวนเป็นมือตัดเองเพิ่มการขายออนไลน์

คุณสุชาติ อิม มือตัดทุเรียนจากอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เรียนรู้ประสบการณ์มือตัดจากล้ง ต้องสังเกต จดจำเองไม่มีการสอน ฝึกอยู่ 1 ปีเต็ม ออกมารับจ้าง-เหมาตัดทุเรียนเอง ขึ้นปีที่ 3 เมื่อเข้าอบรมอาศัยพื้นฐานที่มีอยู่ เมื่อลุงอิ๊ดมาสอนเทคนิค เคล็ดลับ ทำให้มีความมั่นใจเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น คิดว่าความแม่นยำ 90 เปอร์เซ็นต์ อาชีพมือตัดทุเรียนทำเงินได้ดี 1 ปีทำงาน 3-4 เดือนมีรายได้ 300,000-500,000 บาท และยังมีเวลาไปทำอาชีพเจาะไม้หอมได้อีกด้วย

และทีมเยาวชนโรงเรียนอ่าวใหญ่พิทยาคาร ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด มี อาจารย์จักรกฤษณ์ แท่นยั้ง และนักเรียน 3 คน คือ คุณภานุวัฒน์ เอิบสภาพ อายุ 17 ปี ชั้น ม.5 คุณกรีฑา อินทโชติ อายุ 16 ปี ชั้น ม.4 ซึ่งได้ความรู้ไปช่วยพ่อแม่ทำสวนทุเรียน และ คุณณรงค์กร วินาถา อายุ 14 ปี ชั้น ม.2 ช่วยทำสวนของอาจารย์จักรกฤชณ์ ทั้งหมดกล่าวว่า ได้รับความรู้เบื้องต้นเชิงวิชาการและการปฏิบัติในสวนที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน หากฝึกเป็นมือตัดอาชีพต้องมีใจรักมุ่งมั่นจริงๆ และต้องใช้ระยะเวลาสร้างสมประสบการณ์

นายการุณย์ มะโนใจ เกษตรอำเภอเชียงม่วน และ นายสุรชัย ณ มา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ รับผิดชอบตำบลสระ ลงพื้นที่แปลง1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ของ นางนิภา ไชยลังกา หมู่ที่ 1 บ้านท่าฟ้า ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีการปลูก ไม้ผล และหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินรอบคันสระ

อาจไม่ใช่ผลไม้ยอดฮิตติดอันดับเหมือนอย่างทุเรียน เงาะ ลำไย ส้มโอ แต่สำหรับ “กระท้อน” นับเป็นไม้ผลซุ่มเงียบที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างดี

สุราษฎร์ธานี นอกจากจะมีชื่อเสียงในเรื่องของเงาะโรงเรียนนาสาร ที่หวาน กรอบ อร่อยแล้ว “กระท้อน” ของจังหวัดนี้ยังมีรสชาติอร่อย เนื้อฟู นุ่ม ที่สำคัญต้องเป็นกระท้อนที่ปลูกในพื้นที่ตำบลคลองน้อย ดังนั้น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จึงเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านนำผลผลิตกระท้อนออกมาวางขายตามริมทาง และตลาดชุมชนทั่วไป

คุณพงศธร อนุจันทร์ หรือ คุณต้า บ้านเลขที่ 24/1 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 096-634-9225 เล่าว่า พันธุ์กระท้อนที่ปลูกคือ อีล่า และปุยฝ้าย คุณพ่อเป็นผู้ที่เริ่มปลูกกระท้อน โดยได้ต้นพันธุ์อีล่า มา 1 ต้น จากนั้นนำมาขยายพันธุ์ด้วยการติดตา โดยจะใช้เมล็ดกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองปลูกไว้สักประมาณ 5 เดือน หรือต้นมีขนาดประมาณนิ้วหัวแม่มือ แล้วนำกิ่งพันธุ์ อีล่ามาติดตาเข้ากับต้นพันธุ์พื้นเมือง

“เหตุผลที่ทำเช่นนี้เพราะต้องการให้ต้นกระท้อนที่ปลูกมีรากแก้ว จะได้สมบูรณ์ แข็งแรง ทนทาน หากใช้กิ่งพันธุ์กระท้อนที่มีขายทั่วไปจะเป็นรากฝอยที่เสี่ยงต่อการล้มเสียหายง่ายเมื่อมีแรงลม ส่วนพันธุ์ปุยฝ้ายใช้วิธีขยายพันธุ์เช่นเดียวกัน”

กระท้อนคลองน้อย ปลูกแบบอินทรีย์
สวนกระท้อนคุณต้าปลูกพันธุ์อีล่า จำนวนกว่า 20 ต้น และปุยฝ้ายจำนวนประมาณ 6 ต้น อีล่ามีลักษณะผลโต เนื้อแน่น เนื้อในฟู รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีความต้านทานโรคดี ผลไม่แตกง่าย ส่วนปุยฝ้ายมีขนาดเล็กกว่าอีล่า มีจุดเด่นตรงเนื้อฟูมาก นิ่ม ข้อเสียคือผลแตกง่ายถ้าเจออากาศเปลี่ยนกะทันหัน ถึงแม้ปุยฝ้ายจะมีรสอร่อยกว่าอีล่า แต่เมื่อพบข้อเสียตรงผลแตกง่ายจึงไม่เป็นที่สนใจของเกษตรกรนัก แล้วจะปลูกในจำนวนที่น้อยกว่าอีล่า

การปลูกกระท้อนใช้เวลาไม่เกิน 3 ปี ก็จะได้ผลผลิต ตอนเริ่มปลูกจะใส่ปุ๋ยคอกเป็นมูลวัวที่เลี้ยงไว้ โดยจะทยอยใส่ตั้งแต่เริ่มปลูกจนประมาณ 1 ปี ปุ๋ยคอกใส่จำนวน 3 ครั้ง ต่อปี รวมทั้งปีประมาณ 3 กระสอบ ส่วนปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 แบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 กิโลกรัม ครั้งแรกใส่ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ส่วนอีกครั้งใส่ก่อนเข้าหน้าแล้ง หรือประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ขณะเดียวกันพื้นที่ภายในสวนต้องดูแลให้เป็นระเบียบ ตัดหญ้าและวัชพืช อย่าปล่อยให้รก เพื่อป้องกันศัตรูพืช เพราะไม่ใช้สารเคมี

เมื่อเข้าปีที่ 3 เริ่มมีผลผลิตรุ่นแรก ยังไม่ต้องเก็บขายทั้งหมด ควรเลือกเก็บเฉพาะผลสมบูรณ์เท่านั้น ส่วนผลอื่นๆ ให้เด็ดทิ้ง เพราะต้องการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ แข็งแรง ต่อไปอีก

กระท้อนออกดอกประมาณเดือนเมษายน ในช่วงนี้ต้องให้น้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ดอกมีความสมบูรณ์ติดผลดี พอเข้าเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม สามารถเก็บผลผลิตขายได้ ทั้งนี้ การเก็บผลผลิตใช้วิธีสังเกตจากผลจะต้องเป็นสีเหลืองทองทั้งหมด อีกทั้งก้นผลข้างใต้จะเรียบเสมอไม่มีร่องแล้วเป็นสีเหลือง แสดงว่าสามารถตัดเก็บได้แล้ว

ปัญหาโรค/แมลง
ความที่เกษตรกรทุกรายใส่ใจกับการปลูกโดยไม่ใช้เคมีทำให้ลูกค้ามีความสนใจและมั่นใจในความปลอดภัยขณะเดียวกันแนวทางนี้กลับไม่สร้างปัญหาโรค/แมลงเข้ามารบกวน เนื่องจากผู้ปลูกทุกรายดูแลบริหารจัดการสวนตัวเองอย่างเต็มที่ ใส่ปุ๋ยตามความเหมาะสม ไม่มีวัชพืช ดูแลการห่อผลอย่างมีคุณภาพ แล้วตัดแต่งกิ่งช่วยให้แสงผ่านไม่สะสมโรค

อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่กลับเป็นเรื่องแรงงานที่หายากและค่าแรงสูง โดยเฉพาะช่วงห่อผลที่มีความจำเป็นต้องจ้างแรงงาน ดังนั้นแนวทางคือการใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นจากวัสดุง่ายๆ ใกล้ตัวราคาถูก ซึ่งเมื่อนำมาใช้ก็ได้ผลและบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง

กระท้อนห่อ สร้างมูลค่าเพิ่มราคา
การห่อเป็นการช่วยป้องกันแมลงมาเจาะผล อีกทั้งยังช่วยให้ผิวของผลสวยไม่มีตำหนิ ขายได้ราคาดี ทั้งนี้ การห่อผลจะเริ่มประมาณเดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่ผลมีขนาดประมาณกำมือ แล้วต้องห่อผลที่มีสีเขียวเข้มเท่านั้น หากห่อผลที่มีสีเขียวอ่อนแมลงวันทองจะเข้ามาเจาะผลเสียหาย เนื่องจากที่สวนไม่ได้ใช้สารเคมีเลย

คุณต้า บอกว่า ก่อนห่อผลจะต้องตัดแต่งผล หมายถึงการใช้ดุลพินิจเลือกผลกระท้อนที่มีความสมบูรณ์เก็บไว้ แต่หากมีมากกว่า 1 ผล จะต้องดูว่าผลเบียดกันมากเกินไปหรือไม่ และผลมีความสมบูรณ์เพียงพอต่อการเก็บไว้หรือไม่ หากมีลักษณะดังกล่าวก็จะต้องตัดทิ้ง เพื่อรักษาผลที่เหลือให้มีความสมบูรณ์ต่อไป

“ในกรณีที่มีผลใหญ่และผลเล็กต้องแยกห่อโดยใช้สีถุงห่อต่างกัน โดยผลขนาดใหญ่ใช้ถุงห่อสีขาว ส่วนผลขนาดเล็กลงมาใช้ถุงห่อสีดำ เนื่องจากจะต้องเก็บผลที่ห่อถุงสีขาวให้หมดทั้งสวนก่อนแล้วจึงค่อยมาเก็บผลที่ห่อด้วยถุงสีดำภายหลังตามเวลาที่เหมาะสม แนวทางนี้เพื่อสะดวกต่อการจดจำแล้วเก็บไม่ผิดพลาด”

ราวกลางเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงผลผลิตกระท้อนเริ่มตัดเก็บขายได้ คุณต้า เผยว่า ให้สังเกตถุงห่อที่เปิดด้านล่างไว้ ถ้าพบว่าผลกระท้อนมีสีเหลืองทองเสมอทั้งหมดแล้วก้นผลเรียบเสมอกันแสดงว่าเก็บได้ ขณะเดียวกันถ้าต้นโตสมบูรณ์เต็มที่จะให้ผลผลิตประมาณ 1,000 ลูก ต่อต้น หรือประมาณ 1 ตัน โดยเก็บใส่ตะกร้า จำนวน 50 ใบ ใบละ 20 กิโลกรัม วิธีเก็บจะอยู่บนต้น 1 คน ด้านล่าง 1 คน ใช้อุปกรณ์ตัดผลแล้วปล่อยลงมาให้คนด้านล่างรับโดยอย่าให้ผลกระทบกับสิ่งใด มิเช่นนั้นจะเสียหายขายไม่ได้

เมื่อเก็บผลผลิตเสร็จ จะพักต้นด้วยการตัดแต่งกิ่งที่เกะกะออกเพื่อให้แสงผ่านสะดวก พร้อมกับใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 เพื่อบำรุงและฟื้นฟูต้น จากนั้นจึงใส่ปุ๋ยคอกตาม หากต้นใหญ่ใส่จำนวน 3 กิโลกรัม ต่อต้น ต้นเล็กใส่ 1 กิโลกรัม ต่อต้น จากนั้นเว้นไปใส่อีกครั้งในตอนเดือนมกราคม โดยใส่ในจำนวนเพียงครึ่งเดียวของครั้งแรก ต้นไหนที่มีขนาดใหญ่ อายุมาก แล้วผลผลิตเริ่มด้อยคุณภาพก็จะจัดการตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่มเพื่อทำสาว

รวมกลุ่มปลูกกระท้อนคลองน้อย หวังสร้างภาพลักษณ์
สกัดปัญหากระท้อนปลอม
ช่วงที่ผ่านมา ภายหลังกระท้อนคลองน้อยได้รับความสนใจจากลูกค้ามาก ขายดีจนทำให้ราคาสูง จึงมีกลุ่มคนฉวยโอกาสแอบนำกระท้อนจากที่อื่นมาหลอกลูกค้าว่าเป็นกระท้อนคลองน้อย พอลูกค้าชิมแล้วรสชาติเปลี่ยนไปจึงเลิกซื้อทำให้กระท้อนคลองน้อยขายได้ลดลง

ดังนั้น แนวทางการแก้ไขด้วยการชักชวนชาวบ้านผู้ปลูกกระท้อนคลองน้อยมารวมตัวกันสร้างเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น พร้อมผลักดันเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกใบรับรองกระท้อนคลองน้อยที่ได้มาตรฐานเพื่อนำไปแสดงไว้ที่แผงขายเป็นการสร้างความเชื่อมั่น โดยลูกค้าควรเลือกซื้อกระท้อนคลองน้อยจากแผงขายที่แสดงใบรับรองเท่านั้นจึงไม่ผิดหวัง

“มีลูกค้าซื้อกระท้อนไปแล้วผิดหวังเลยถูกต่อว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยมาก ทำให้ผู้ปลูกกระท้อนคลองน้อยได้รับผลกระทบ ขายไม่ได้หรือได้ราคาต่ำ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาจึงกำหนดให้ผู้ขายแสดงใบรับรองให้ลูกค้าเห็นอย่างเด่นชัด”

แนวโน้มตลาดยังดีอยู่ ถ้าปีไหนผลผลิตออกมาไม่ตรงกับช่วงไม้ผลอื่น ราคาดีมาก
คุณต้า เล่าว่า ราคาขายกระท้อนในแต่ละรอบการผลิตไม่คงที่ และมีปัจจัยเดียวที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงคือผลผลิตกระท้อนออกตรงกับผลไม้ชนิดอื่นหรือไม่ แต่ภาพรวมราคาขายที่ผ่านมาเกษตรกรพอใจ และคาดว่าปีนี้ (2562) ราคาขายจะดีกว่าเดิม เนื่องจากมีการรวมตัวผู้ปลูกกระท้อนคลองน้อยเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พัฒนาการปลูกให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นอีก

“ทำให้ผลผลิตรวมของกลุ่มทั้งปีไม่ต่ำกว่า 100 ตัน njcarpet-cleaning.com ตลอดจนยังพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน โดยคาดว่าราคาขายจะอยู่ระหว่าง 50-80 บาท ต่อกิโลกรัม รวมถึงทางสำนักงานเกษตรจังหวัดยังให้ความช่วยเหลือด้วยการผลักดันให้กระท้อนคลองน้อยเป็น GI พร้อมไปกับการสร้างแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย”

คุณต้า กล่าวทิ้งท้ายว่า จุดเด่นความอร่อยของกระท้อนคลองน้อยเกิดจากสภาพทางภูมิประเทศ เนื่องจากบริเวณที่ปลูกได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำสำคัญที่ไหลมาบรรจบกันบริเวณปากคลองน้อยและเกิดการทับถมของแร่ธาตุอาหาร ดังนั้น จึงทำให้พื้นที่บริเวณนี้ปลูกพืชไม้ผลอะไรก็สมบูรณ์รวมถึงกระท้อน

ขอขอบคุณ สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำนวยความสะดวกในการทำรายงานพิเศษครั้งนี้

“งานกระท้อนคลองน้อย” จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนกรกฎาคม ณ วัดธาราวดี (วัดดอนตะโก) หมู่ที่ 8 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกิจกรรมภายในงานมีการประกวดกระท้อนยักษ์ การประกวดผลไม้ การประกวดแปรรูปกระท้อน มีการแข่งขันกินกระท้อน และการแข่งขันไก่แจ้ นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับกระท้อน และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของของชุมชน พร้อมเปิดสวนกระท้อนให้เข้ามาเยี่ยมชมด้วย

ต้องย้อนไปโน่นเลยปี 2532 ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน ร่วมเดินทางไปทำข่าวศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ผู้ดำรงตำแหน่งศูนย์วิจัยแห่งนี้คือ คุณอานุภาพ ธีระกุล สิ่งที่เห็นตื่นตาตื่นใจมาก เพราะมีการรวมพันธุ์มะพร้าวไว้กว่า 10 พันธุ์ มีปลูกมะพร้าวระยะชิดเพื่อตัดยอดมาแกง รวมทั้งผสมคัดเลือกมะพร้าวให้ได้พันธุ์ใหม่…สารระบบมะพร้าวในประเทศไทยต้องที่นี่

เวลาผ่านไป ยังติดตามงานของศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร อย่างต่อเนื่อง ทราบว่า ผอ.อานุภาพ มีหน้าที่การงานใหญ่โตและรับผิดชอบมากขึ้น จนกระทั่งทราบว่า ท่านเกษียณจากราชการ

เมื่อปี 2559 มีโอกาสได้พบกับ ผอ.อานุภาพ เพราะร่วมเดินทางไปเก็บดีเอ็นเอมะพร้าวเกาะสมุย เกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดูแล้ว ผอ.อานุภาพยังแข็งแรง สอบถามได้ความว่า ท่านยังเป็นที่ปรึกษาให้กับศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ขณะเดียวกัน ก็ทำสวนอยู่ห่างจากศูนย์ไม่มากนัก

บุคลากรระดับผู้อำนวยการทางด้านพืชสวน เกษียณแล้วมาทำสวน ต้องมีอะไรเด็ดๆ แน่ เนื่องจากช่วงรับราชการสั่งสมประสบการณ์ไว้มาก คงมีอะไรดีแน่นอน เมื่อมีโอกาสจึงแวะลงไปพูดคุย สิ่งที่พบเห็นยังตื่นตาตื่นใจดังเดิม

พื้นที่เกษตรของ ผอ.อานุภาพ อยู่เลขที่ 15/4 หมู่ที่ 8 ตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร มีทั้งหมด 24 ไร่เศษ ปลูกผสมผสาน มีมะพร้าว หมาก มังคุด ส้มโอ กระท้อน มะม่วง รวมทั้งไม้ป่า อย่างมะฮอกกานี ตะเคียน พะยูง

“ผมเรียนจบคณะเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาทำงานที่นี่ปี 2515 อยากทำสวน ซื้อที่ไว้ก่อน ที่ซื้อตรงนี้เพราะใกล้ที่ทำงาน แต่ดินไม่ดี ไม่มีใครต้องการ เป็นนาร้าง ที่ลุ่ม ดินแน่น เมื่อก่อนเขาใช้เลี้ยงวัวเลี้ยงควายกัน ผมมาทำเหนื่อย เกือบถอดใจ ช่วงทำงาน เราอยากทำบางอย่าง แต่ไม่ได้ทำ เขาบอกว่าโลว์เทคโนโลยี อย่างการใช้เกลือกับมะพร้าว ผมศึกษาข้อมูล มาทำเองได้ผลดี” ผอ.อานุภาพ บอก