ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในช่วงน้ำท่วม สำหรับการเพาะเลี้ยงปลา

คุณภาพของน้ำที่ไหลผ่านกระชังจะเน่า ทำให้ปลาขาดออกซิเจนและอาจตาย ซึ่งการป้องกันจะทำได้ยาก เนื่องจากน้ำที่ไหลผ่านเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณมาก มีของเสียไหลรวมลงมา ซึ่งไม่สามารถควบคุมคุณภาพของน้ำได้

การฟื้นฟูปลาในกระชัง เราจะทำได้ก็ต่อเมื่อน้ำลดระดับลงเป็นปกติ โดยเราจะต้องทำความสะอาดกระชังปลาพักไว้ระยะหนึ่ง และต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณที่จะเพาะเลี้ยงก่อนจะทำการเพาะเลี้ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ส่วนการเลี้ยงปลาในบ่อดิน หลังจากที่น้ำลดลงแล้ว อันดับแรกควรจะระบายน้ำออกจากบ่อเลี้ยง พร้อมกับทำความสะอาดบ่อให้เรียบร้อย เนื่องจากในช่วงที่น้ำท่วมศัตรูที่เป็นอันตรายกับปลาอาจจะเข้ามาภายในบ่อเพาะเลี้ยง และสร้างความเสียหายได้ พอระบายออกหมดเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องพักบ่อไว้ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มเพาะเลี้ยงใหม่อีกครั้ง

วิธีการฟื้นฟูเหล่านี้ อาจจะเป็นเพียงการฟื้นฟูเบื้องต้น ที่เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติก่อนได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ไผ่เลี้ยง เชื่อว่าเป็นไม้นำเข้า เนื่องจากไม่พบตามธรรมชาติในป่าลึก ไผ่เลี้ยงมีลักษณะลำต้นตรง เนื้อหนา จึงเหมาะสำหรับใช้ทำบันได โป๊ะ หลักไม้สำหรับเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ และใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ อีกทั้งหน่ออ่อนก็ใช้บริโภค มีรสชาติดี ไผ่เลี้ยง เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นตรง สีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม เนื้อลำหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 3-7 เซนติเมตร สูง 8-12 เมตร หน่อสีเขียวอมเหลือง ไม่มีขนที่กาบใบ ต่างกับไผ่รวกที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

วิธีขยายพันธุ์ ดีที่สุดคือการแยกเหง้า เริ่มแยกได้เมื่อไผ่มีอายุ 2-3 ปี หากอายุเกิน 3 ปี ต้นที่แยกออกไปจะไม่แข็งแรง คัดเลือกต้นหรือลำที่แข็งแรง ตัดให้สั้นเหลือตอไว้ สูง 50-80 เซนติเมตร บำรุงต่อไปให้ผลิใบ และแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ แล้วใช้เสียมคม และสะอาด ตัดแซะออกชำในถุงเพาะชำ มีแกลบดำ หรือดินขุยไผ่เป็นวัสดุเพาะ ดูแลรักษาให้แข็งแรง เมื่ออายุ 8-12 เดือน นำปลูกลงแปลงได้

แปลงปลูกถ้าเป็นที่นา จำเป็นต้องยกร่องสวน แต่ถ้าหากเป็นที่ดอน ปรับที่แล้วปลูกได้เลย ช่วงปลูกดีที่สุดคือ ต้นฤดูฝน ใช้ระยะปลูก 4×4 เมตร ใน 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น หรือ 100 กอ

ระยะ 1-2 ปีแรก ที่ว่างระหว่างต้น และระหว่างแถว ใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้น นอกจากมีรายได้แล้วยังช่วยควบคุมวัชพืชอีกทางหนึ่ง หลังปลูกให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่า อัตรา กอละ 1 บุ้งกี๋ ปีละ 2 ครั้ง หรืออาจเสริมด้วยปุ๋ย สูตร 15-15-15 บ้างเป็นครั้งคราว ย่างเข้าปีที่ 2 จะเริ่มให้หน่อ

การเก็บเกี่ยวหน่อไม้ ช่วงต้นไผ่ให้หน่อ อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน เลือกหน่อมีขนาดความยาว 25-40 เซนติเมตร ใช้มีดหรือเสียมที่คม และสะอาด ตัดหน่อที่อยู่ภายในออกมา เหลือหน่อรอบนอกไว้ 5-6 หน่อ เพื่อให้พัฒนาเป็นลำต่อไป

การเก็บเกี่ยวลำไผ่ เมื่อต้นไผ่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ให้ตัดเข้าไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นรูปเกือกม้า เพื่อสะดวกในการตัดต้นภายในกอออกมา นำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ เริ่มแรกให้ปลูกในพื้นที่ 1-3 ไร่ ก่อน แล้วขยายพื้นที่ในปีต่อๆ ไป ต้องการข้อมูลอื่นๆ สอบถามที่ สำนักส่งเสริมปลูกป่าเศรษฐกิจ กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. ในวัน และเวลาราชการ

แหล่งปลูกส้มโอสำคัญของบ้านเรา เดิมทีพบในที่ลุ่มภาคกลาง แต่เพราะการสื่อสารและเทคโนโลยีการเกษตรที่ก้าวหน้าขึ้น จึงมีแหล่งปลูกส้มโอใหม่ๆ ซึ่งก็ทำได้ดี ถึงขั้นส่งออกได้ อย่างส้มโออำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ส้มโออำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ

ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก งานเกษตรที่นี่ขึ้นชื่อมากคือ ทำนา และไร่ข้าวโพด ตามด้วยมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง หากบอกว่า ที่นี่เกษตรกรปลูกส้มโอได้ผลดี แทบจะไม่มีใครเชื่อ

งานปลูกส้มโอ ต่างจากทำไร่ข้าวโพด เพราะปลูกเพียงครั้งเดียว เก็บกินยาว 20-30 ปี ระยะแรกๆ ก่อนที่ส้มโอจะให้ผลผลิต เจ้าของที่ดินสามารถปลูกพืชแซม สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

เดิมที่นี่ปลูกส้มโอไม่กี่ราย แต่เพราะขายได้ดีจึงปลูกเพิ่มขึ้น คุณสหเขต ชัยชนะ อยู่บ้านเลขที่ 188 หมู่ที่ 3 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการปลูกส้มโอ เขาปลูกพันธุ์ขาวแตงกวาเป็นส่วนใหญ่ พันธุ์ท่าข่อย มีอยู่ราว 20 ต้น

ตำบลชมพู อยู่ห่างจากถนนสายอินทร์บุรี-วังทอง พอสมควร ทีมงานไปถึงบ้านคุณสหเขต จากนั้นขับรถต่อไปยังแปลงปลูกส้มโอ อยู่ห่างจากบ้านราว 4 กิโลเมตร ถนนหนทางแรกๆ ราดยาง เกือบถึงสวนเป็นทางลูกรัง การเดินทางเพลิดเพลินมาก ได้เห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ มีป่าที่สมบูรณ์สองข้างทาง มีมอเตอร์ไซค์จอดอยู่เป็นระยะๆ คุณสหเขต บอกว่า รถคนมาหาหน่อไม้ หาเห็ด มากันไกลๆ จากตำบลอื่น

วิถีชีวิตการหากินที่นี่ส่วนหนึ่งได้จากป่า มีไม่น้อยได้จากลำน้ำ สวนของคุณสหเขต ล้อมรอบด้วยธารน้ำใส มีแก่งหิน ขณะที่สัมภาษณ์ได้ยินน้ำไหลริน ชวนลงไปเล่นเป็นอย่างมาก คุณสหเขต เล่าว่า ที่มาปลูกส้นโอนั้นเป็นเพราะใจรักและอยากลองปลูก ปัจจุบันปลูกส้มโอมาได้ 10 ปีแล้ว ปลูกทั้งหมด 60 ไร่

ตอนนี้ให้ผลผลิตทั้งหมด 12 ไร่ ผลผลิตปีที่แล้วได้ 45 ตัน ผู้ที่เข้ามาซื้อเป็นคนนครปฐม ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท บางครั้งก็มีชาวต่างชาติมาซื้อบ้าง

วิธีการปลูกและดูแลส้มโอ

ในเรื่องของการปลูกและดูแลนั้น คุณสหเขต เล่าว่า ที่ต้องดูแลจริงๆ คือช่วงที่ต้นส้มโอยังเล็กๆ อยู่ ช่วงอายุประมาณ 1-2 ปีแรกต้องให้น้ำฤดูแล้ง แต่หากต้นเริ่มโตขึ้นแล้วการให้น้ำก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ หรือรอช่วงที่ฝนตก แต่ถ้าอยู่ในช่วงฤดูแล้งก็ต้องลงมาดูแลบ้างเป็นบางครั้ง

ระยะการปลูก…ระหว่างต้นระหว่างแถว ห่างกัน 8 เมตร ดังนั้น ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกส้มโอได้ทั้งหมด 25 ต้น การที่จะได้ผลผลิตที่ดีปัจจัยหลักๆ ก็คือ ดินที่ดีอุดมสมบูรณ์และน้ำ เนื่องจากที่ดินตรงนี้เป็นพื้นที่ที่ติดกับภูเขาและป่าไม้ทำให้สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์มาก

การขยายพันธุ์…จะขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่งแล้วจึงนำมาปลูก

ปุ๋ย…ใช้สูตร 15-15-15 ในพื้นที่ของการให้ผลผลิต 12 ไร่ การให้ปุ๋ยนั้นจะตกอยู่ที่ 8 กระสอบ หรือ 400 กิโลกรัม ส่วนศัตรูพืช…จะเป็นแมลงวันทองที่ชอบเข้ามาเจาะผลส้มโอและทำให้เกิดความเสียหาย ผลที่ถูกเจาะจะเน่าทำให้ไม่สามารถตัดนำไปขายได้ พวกหนอนชนิดต่างๆ ไม่ค่อยมีศัตรูพืชตัวที่สำคัญจริงๆ ที่พบเห็น และเป็นปัญหาตอนนี้ก็คือแมลงวันทอง เจ้าของใช้วิธีป้องกัน คือใช้กับดัก ซึ่งช่วยลดการระบาดได้มาก

ส้มโอ จะเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุ 5 ปี

การให้ผลผลิตของส้มโอนั้น ในสวนของคุณสหเขต ส้มโอจะเริ่มให้ผลในปีที่ 5

จริงๆ แล้วก่อน 5 ปี ก็มีผลผลิต แต่ยังไม่มากนัก แต่ละต้นจะมีความดกของผลต่างกันออกไป ต้นที่มีขนาดใหญ่ๆ จะมีผลดกมากกว่า และให้ผล 300-400 ผล เลยทีเดียว แต่ถ้าต้นไม่ได้ใหญ่มากก็จะให้ผล ประมาณ 200-300 ผล โดยทั่วไปแล้วเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์นี้

ส้มโอ 1 ผล น้ำหนักจะอยู่ที่ 2 กิโลกรัม ถึง 3 กิโลกรัมต้นๆ เจ้าของบอกว่า หากพื้นที่การผลิตให้ผลเต็มที่ แต่ละปีจะมีผลผลิตเก็บขายไม่น้อยกว่า 100 ตัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า สวนแห่งนี้ใช้ปัจจัยการผลิตน้อย โดยเฉพาะเรื่องปุ๋ย สาเหตุเพราะดินอุดมสมบูรณ์ ศัตรูพืชก็มีไม่มาก เพราะเป็นสวนใหม่ ปัจจุบันนี้ หลายคนสนใจปลูกมะนาวเป็นงานอาชีพหรือเป็นงานอดิเรกในยามว่าง โดยปลูกต้นมะนาวลงดิน บางคนนิยมปลูกต้นมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ในวันนี้ขอนำเสนอการปลูกมะนาวในโอ่ง เป็นอีกทางเลือกใหม่สำหรับผู้สนใจปลูกมะนาว

ข้อดีของการปลูกมะนาวในโอ่ง คือ สามารถเคลื่อนย้ายหรือยกไปปลูกที่อื่นได้ วิธีนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ต้นมะนาวสามารถเจริญเติบโตได้ดี ดูแลรักษาง่าย ใส่ปุ๋ยและให้น้ำเช่นเดียวกับการปลูกในวงบ่อซีเมนต์ และสามารถบังคับให้มะนาวติดดอกออกผลนอกฤดูได้ด้วย

การเลือกโอ่งเป็นภาชนะปลูก แนะนำให้เลือกโอ่งที่ใส่ดินปลูกได้ 5-10 ปี๊บ ด้านข้างสูงจากก้นโอ่งขึ้นมา 2-3 นิ้ว จะเจาะรูขนาด 1/2-2 นิ้ว หรือขนาดเท่ากับผลมะนาว 2-3 รู เพื่อให้เป็นช่องทางระบายน้ำ จากนั้นนำกาบมะพร้าวสับมารองก้นโอ่ง สูงประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือสูง 4-6 นิ้ว เพื่อให้ก้นโอ่งโปร่ง จากนั้นนำดินปลูกที่มีส่วนผสมของ ดิน 1 ส่วน ใบไม้แห้ง 2 ส่วน และปุ๋ยคอกแห้ง 1/2 ส่วน ผสมคลุกเคล้ากันให้ทั่วแล้วใส่ลงในโอ่งส่วนหนึ่ง

การปลูกมะนาวในโอ่ง สามารถปลูกมะนาวได้ทุกสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นมะนาวแป้นรำไพ ตาฮิติ มะนาวด่านเกวียน ฯลฯ เมื่อได้ต้นพันธุ์มะนาวคุณภาพดีมาแล้ว ให้นำต้นพันธุ์มะนาวลงปลูก แล้วใส่ดินปลูกเติมลงไป โดยให้มีพื้นที่เหลือสูงถึงปากโอ่ง ประมาณ 2 ฝ่ามือ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

การเตรียมปุ๋ยขี้หมู
การเตรียมปุ๋ยน้ำมูลหมู ซื้อมูลหมูแห้งจากแหล่งจำหน่าย เช่น จากแหล่งที่มีการทำบ่อก๊าซชีวภาพ หรือจากฟาร์มเลี้ยงหมู มูลหมูแห้งบรรจุในถุงกระสอบปุ๋ย หนัก 15 กิโลกรัม จะซื้อในราคาเฉลี่ย 60 บาท ต่อถุง ถ้ามูลหมูแห้งที่ไล่ก๊าซออกแล้วเมื่อนำมาหมักน้ำจะไม่มีกลิ่น แต่ถ้าเป็นมูลหมูแห้งชนิดที่ไม่ไล่ก๊าซออก เมื่อนำมาหมัก น้ำจะมีกลิ่นเหม็น

วิธีการทำปุ๋ยน้ำมูลหมู จะใช้อัตราส่วนผสมดังนี้ นำมูลหมูแห้ง 1 กิโลกรัม ใส่ในถังพลาสติก แล้วเติมน้ำลงไป 10 ลิตร นำไม้มากวนหรือคนให้ทั่ว ปิดฝาแล้วหมักทิ้งไว้ 1 วัน 1 คืน

การใช้ปุ๋ยน้ำมูลหมู ถ้าราดโคนต้นจะนำปุ๋ยน้ำมูลหมู 1 ส่วน ผสมกับน้ำ 10 ส่วน กวนหรือคนให้ทั่ว นำไปราดรอบโคนต้น อัตรา 2 ลิตร ต่อต้น จากนั้นฉีดพ่นทางใบ โดยนำปุ๋ยน้ำมูลหมู 1 ส่วน ผสมกับน้ำ 20 ส่วน กวนหรือคนให้ทั่ว กรองเอากากออก เทใส่ภาชนะ นำไปฉีดพ่นทางใบรอบทรงพุ่ม ระยะเวลาในการราดโคนต้นและฉีดพ่นทางใบ จะทำ 15-30 วัน ต่อครั้ง

การดูแลหลังปลูก
นอกจากใส่ปุ๋ยน้ำมูลหมูแล้วจะต้องใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ ในอัตรา 1 ช้อนแกง หรือ 1 กำมือ ต่อต้น ต่อเดือน โดยโรยปุ๋ยรอบโคนต้นแล้วกลบ รดน้ำให้ชุ่ม และรอบโคนต้นมะนาวสามารถปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นและเมื่อพรวนดินกลบต้นถั่วจะถูกย่อยสลายเป็นปุ๋ย นอกจากนี้ จะต้องคอยสังเกตติดตามตรวจตราและป้องกันกำจัดโรค แมลง อย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้มาทำลายผลผลิตมะนาว

การปลูกมะนาวนอกฤดูในโอ่ง
การปลูกมะนาวนอกฤดูในโอ่ง แนะนำให้ใช้พลาสติกปิดคลุมรอบโคนต้นมะนาว และรอบปากโอ่ง จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ 5-10 วัน เพื่อให้ต้นมะนาวขาดปุ๋ยและน้ำหรือสังเกตเห็นว่าใบเริ่มเหี่ยวก็จะเปิดพลาสติกออก จากนั้นก็จะบำรุงต้นโดยการให้น้ำและปุ๋ย

ส่วนปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยน้ำมูลหมูที่ผสมตามอัตราส่วน นำไปราดโคนต้นและฉีดพ่นทางใบให้รอบทรงพุ่ม จะทำทุก 15-30 วัน ต่อครั้ง นอกจากนี้ ก็จะใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ 1 กำมือ ต่อต้น ทุกเดือน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม การปลูกมะนาวในโอ่งปุ๋ยและน้ำที่ใส่ลงไป ต้นมะนาวจะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ทำให้ลดต้นทุนการผลิต

การผลิตมะนาวนอกฤดู แนะนำให้เริ่มทำตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อให้ต้นมะนาวติดดอกออกผล ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เพื่อได้เก็บผลมะนาวไว้บริโภคในครัวเรือนหรือนำออกขายในช่วงฤดูแล้งพอดี

การปลูกมะนาวในโอ่ง ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพราะช่วยลดต้นทุนการผลิต สามารถบังคับให้มะนาวติดดอกออกผลนอกฤดูได้ สำหรับผู้ที่มีพื้นที่เล็กน้อยจะใช้เวลาในยามว่างปลูกมะนาวเป็นงานอดิเรก 1-2 โอ่ง เพื่อเก็บผลมะนาวไปบริโภคในครัวเรือน เป็นการเลือกใช้วิถีแบบพอเพียงในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง เพื่อลดรายจ่าย ส่วนผู้ผลิตในเชิงธุรกิจสามารถนำวิธีเดียวกันไปผลิตมะนาวนอกฤดู เพื่อให้ได้ผลมะนาวพอกับความต้องการของผู้บริโภค เป็นการเสริมสร้างให้มีรายได้ต่อเนื่องทั้งปี

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอปัญหาการเรียกชื่อพืชพันธุ์ผักไม่เหมือนกันมาบ้างนะครับ

เมื่อลองไล่ๆ ดูแล้ว ก็พบว่ามีหลายกรณีทีเดียว เช่นว่า ผู้คนรุ่นเก่าๆ ในเขตภาคเหนือและบางส่วนของภาคกลาง มักเรียก ขึ้นฉ่าย ว่า “ตั้งโอ๋” เสมอ เมื่อเข้าร้านอาหารสั่งปลาช่อนผัดใบตั้งโอ๋ ก็จะเป็นผัดขึ้นฉ่ายทุกครั้ง

ใบเบย์ (bay leaf) ถูกเรียกในครัวไทยว่า “ใบกระวาน” มาตลอด ทั้งๆ ไม่ใช่เป็นใบของต้นกระวาน (cardamom) แต่อย่างใด

เม็ดยี่หร่า (cumin) ซึ่งเป็นพืชตระกูล “เทียน” ชนิดหนึ่งในกลุ่มสมุนไพรไทยโบราณนั้น ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเมล็ดของต้นไม้ใบฉุนที่คนภาคใต้เรียกยี่หร่า (tree basil) กระทั่งหนังสือตำราอาหารภาษาไทยหลายเล่มก็ยังเขียนไว้เช่นนั้น เลยกลายเป็นความเข้าใจผิดที่แก้ไขยากที่สุดไปอีกข้อหนึ่ง

ส่วนกรณี “ใบยี่หร่า” ที่ร้านข้าวแกงปักษ์ใต้เรียกสั้นๆ ว่า “ใบรา” พบได้ในแกงเนื้อ หรือแกงปลาดุกนั้น แถบภาคกลางมีหลายชื่อ อย่างเช่นแถบกาญจนบุรี เรียก “กะเพราควาย” บ้าง “กะเพราช้าง” บ้าง ทว่าส่วนใหญ่เมื่อเอ่ยถึงยี่หร่าก็จะเข้าใจร่วมกันได้ว่าคือต้น tree basil นี้

แต่มีอีกชื่อหนึ่งที่คนภาคเหนือใช้เรียกใบยี่หร่าด้วย คือเรียกว่า “ใบจันทน์” เรื่องการเรียกใบยี่หร่าว่าใบจันทน์นี้ เป็นที่เข้าใจร่วมกันในวงค่อนข้างกว้างนะครับ มีการอธิบายขยายความต่อไปด้วยว่า บางแห่งถึงกับเรียก “จันทน์หมาวอด” คือถ้าได้ใส่ในผัดเผ็ดเนื้อหมาละก็ เป็นถูกกันดีนัก จน “วอด” คือกินกันหมดกระทะอย่างรวดเร็วทีเดียว

อย่างไรก็ดี มีสูตรกับข้าวของหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ อยู่สูตรหนึ่ง คือ “ผัดเผ็ดเนื้อสับใบจันทน์” คุณชายถนัดศรีให้เอาเนื้อวัวสับหยาบมาผัดน้ำมันกับพริกแกงเผ็ดและพริกขี้หนูสับ เม็ดพริกไทยอ่อน สุดท้ายจึงใส่ใบจันทน์ ท่านว่าผัดเผ็ดกระทะนี้ “หากใครไม่ชอบเผ็ดก็ไม่ต้องใส่พริกขี้หนู เพราะใบจันทน์มีรสเผ็ดร้อนอยู่แล้ว รับประทานหน้าหนาวเรียกเหงื่อดีนัก” และว่า ใบจันทน์นั้น “ถ้าหาไม่ได้ ให้ใส่ใบยี่หร่าแทน”

ถ้าเป็นอย่างที่ท่านเขียนหมายเหตุ ใบจันทน์ ในความรับรู้ของคุณชายถนัดศรีก็ต้องเป็นคนละใบกับใบยี่หร่าแน่ๆ

แต่ว่าคือใบอะไรล่ะครับ พอลองค้นดู ปรากฏว่า ผักแพว (Vietnamese Coriander) ที่ทางภาคเหนือเรียก ผักไผ่ อีสานเรียก พริกม้า นั้น มีที่เรียกในแถบโคราชว่า “จันทน์โฉม” ด้วย ภาคใต้บางแห่งเรียก “หอมจันทน์” รสชาติผักแพวนั้นเผ็ดร้อน หอมฉุนรุนแรง แถมมีสูตรผัดเผ็ดปลาดุกที่ใส่ผักแพวเพิ่มความฉุนร้อนด้วย เรียกว่าผักแพวก็ถูกใช้ปรุงรสผัดเผ็ดด้วยเช่นกัน

ผมเลยอยากเดาว่า ใบจันทน์ของคุณชายถนัดศรีน่าจะคือผักแพวนี้เองน่ะครับ

ตัวอย่างการเรียกต่างๆ กันไปต่อกรณีใบจันทน์ที่ผมยกมานี้ ไม่ได้แปลว่าจะสามารถชี้ว่าใครเรียกผิดเรียกถูกนะครับ มันบอกได้แต่เพียงว่า ความรับรู้ของคนเกี่ยวกับนิยามพืชใบฉุนสองสามชนิดนี้ มีความต่างกันไปในแต่ละแห่ง

คล้ายๆ อีกกรณีหนึ่ง คือ “กะเพราควาย” ซึ่งผมเพิ่งได้เห็นตัวแปรสำคัญอีกตัวหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง ตามที่เล่าไว้ตอนแรก คืออันว่ากะเพราควาย กะเพราช้างนั้น รับรู้กันทั่วไปว่าคือใบยี่หร่า ที่มักใส่เอากลิ่นฉุนในผัดเผ็ดหรือแกงป่า ผมจำได้เลยว่า เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน เคยกินแกงป่าร้านหนึ่งในเขตตัวเมืองนครนายก เป็นแกงน้ำใสๆ สีแดงๆ ใส่เนื้อวัวสดนุ่มๆ โดยปรุงใส่ใบยี่หร่าในตอนท้าย เมื่อยกมาให้ซดหรือราดข้าวสวยร้อนๆ กินกับน้ำปลาพริกขี้หนู ก็รู้สึกหอมแปลกลิ้นมากๆ ในเวลานั้น

อย่างไรก็ดี พี่อู๊ด – คุณชวิศา อุตตะมัง ชาวเวียงแหง เชียงใหม่ ได้เคยบอกพวกผมว่า กะเพราควายที่เวียงแหงไม่ได้หมายถึงยี่หร่า แต่เป็นพืชตระกูล basil อีกชนิดหนึ่ง ที่แม้มีลักษณะต้น ใบ และดอกคล้ายยี่หร่ามาก แต่ก็ไม่ใช่อย่างเดียวกันแน่ๆ โดยเฉพาะกลิ่นจะต่างกันโดยสิ้นเชิง

กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมไปเที่ยวเมืองเชียงรุ่ง – สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน บ่ายวันหนึ่ง ระหว่างทางที่นั่งรถออกไปเมืองลา คณะเราแวะซื้อภาชนะเครื่องจักสานสวยๆ ริมทาง ผมเองเดินเลี่ยงไปชมทิวทัศน์ข้างถนน และพบว่า พงไม้ข้างถนนลูกรังแดงๆ นั้น มีต้นอะไรอย่างหนึ่งที่หน้าตาน่าจะกินได้แน่ๆ ลักษณะต้น ทรงพุ่ม ใบ ดอกของมันคล้ายยี่หร่ามากๆ เมื่อลองเด็ดใบมาขยี้ดม พบว่ากลิ่นของมันเทียบเท่าใบกะเพราฉุนร้อนระดับเกรดเยี่ยมๆ ที่ผมเองก็พบในเมืองไทยอยู่เพียงไม่กี่แห่ง

ไม่มีกลิ่นหอมแรงๆ แบบยี่หร่า มีแต่ความฉุนร้อนสาหัสสากรรจ์เท่านั้น น่าพิศวงจริงๆ

ผมหักกิ่งเด็ดใบเอากลับมาที่รถให้ชาวคณะดู ทำให้พี่อู๊ด ซึ่งมาด้วยกันในคราวนี้ด้วย ตื่นเต้นมากๆ “นี่แหละๆ กะเพราควายแบบเวียงแหงที่พี่อู๊ดบอก ใช่เลยๆ เห็นมั้ยพี่บอกแล้วว่ามันไม่ใช่ยี่หร่าๆ” ดูพี่อู๊ดจะโล่งใจมากที่ทำให้พวกเราเข้าใจเรื่องนี้ได้เสียที ผมเลยเก็บช่อดอกแก่มาหลายช่อ กะว่ากลับไปจะลองเพาะต้นอ่อนปลูกไว้ทำกับข้าวกินที่เมืองไทยดู

เช่นเดียวกับกรณีใบจันทน์นะครับ คือนี่ไม่ได้แปลว่า ใครที่เรียกยี่หร่าว่ากะเพราควายจะเข้าใจผิด มันเป็นการนิยามนามเฉพาะถิ่น กับพืชที่ปรากฏเชื้อพันธุ์ขึ้นงอกงามในแผ่นดินนั้นๆ เท่านั้นเอง

“กะเพราควาย” นี้ พี่อู๊ด บอกว่า แถวบ้านเธอเอามาผัดกับเนื้อวัว แกงคั่วเนื้อ หรือใส่ต้มเนื้อแซ่บๆ จะอร่อยมาก

เดี๋ยวถ้าผมปลูกขึ้นงามดีจนพอจะเอามาปรุงกับข้าวกินได้ สมัครเว็บจีคลับ ค่อยมาว่ากันอีกทีว่าจะทำอะไรกินดี หรือว่าอยากจะเรียกชื่อมันใหม่ว่าอะไรดีนะครับ ค่ำวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2564 มีการเสวนาย่อย หัวข้อ ทุเรียนปลอดภัยจากสารเคมีไหม ภายใต้หัวข้อใหญ่จักรวาลทุเรียน จัดโดยมูลนิธิชีววิถี ซึ่งสามารถรับฟัง on line ย้อนหลังได้ที่เพจของ Biothai นะครับ

บางประเด็น เช่น เรื่องทุเรียนสวนเมืองนนทบุรี ผมเคยสรุปมาเสนอไว้บ้างแล้ว สำหรับเสวนาย่อยเรื่องทุเรียนและสารเคมีนี้ เป็นการชวนคนทำสวนทุเรียน นักวิชาการเกษตร และผู้ปฏิบัติงานเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในผัก ผลไม้ มานั่งคุยกันถึงสภาวะความเป็นไปได้ของสวนทุเรียนอินทรีย์ในปัจจุบัน ซึ่งก็นับว่าเป็นคำถามที่ท้าทาย ไม่เฉพาะวงการทุเรียนหรอกครับ หากเป็นโจทย์ทางเลือกสำคัญของเกษตรกรในอนาคตด้วย

ถ้าใครได้ลองเข้าไปฟังหัวข้อนี้มาแล้ว คงรู้สึกเหมือนผม ว่าเหมือนเราได้ก้าวเข้าไปเหยียบบนทางสองแพร่งสามแพร่ง โดยมีผู้ที่เหยียบย่างผ่านไปแล้วมาคอยบอกเล่านานาประสบการณ์อย่างออกรส โดยเฉพาะ “คำถามใหญ่” เรื่องความเป็นไปได้/ไม่ได้ ของการทำเกษตรอินทรีย์ในกรณีทุเรียน ผลไม้ที่ดูเหมือนต้องการการดูแลประคบประหงมละเอียดลออทุกขั้นตอน ทั้งมีมูลค่าผลผลิตสูงสุดในปัจจุบัน

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ฟัง ผมคิดว่าคงไม่สามารถย่นย่อการสนทนาหัวข้อนี้ลงได้ในพื้นที่จำกัด ทว่าผมกลับเห็นว่ามีประเด็นน่ารู้และชวนคิดต่อ จากคำบอกเล่าของ คุณสุธี ปรีชาวุฒิ เจ้าของสวนทุเรียนอินทรีย์เขาคิชฌกูฎ หรือ Sutee Organic Farm อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ดูเหมือนคุณสุธีตอบคำถามสำคัญเบื้องต้นของผู้สนใจเกษตรอินทรีย์ได้อย่างชัดเจนมากๆ ตรงที่ว่า “ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์” ผมเลยคิดว่า จะขอย่อยเอาเฉพาะเนื้อหาตรงส่วนนี้ของคุณสุธี เท่าที่ผมเข้าใจ มาชวนคุยกันถึงสิ่งที่อาจเรียกได้ว่า “แนวคิดเกษตรอินทรีย์เบื้องต้น” โดยสังเขป เท่าที่พื้นที่จะอำนวยให้ครับ