ปีทองธุรกิจสวนส้ม”เชียงใหม่-กำแพงเพชร”ราคาหน้าสวนพุ่ง

50บาทรายย่อยแห่ปลูกรับตลาดขึ้นฟื้นธุรกิจ “สวนส้ม” เชียงใหม่-กำแพงเพชร ราคาดีจูงใจรับซื้อหน้าสวน กก.ละ 40-50 บาท เกษตรกรเผยควบคุมโรคกรีนนิ่งที่เคยระบาดได้อยู่หมัดแล้ว คาดปี”60 พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 20% ด้านไร่ส้มชาญลดา เมืองชากังราวเฮ ราคาพุ่ง ผลผลิตส้มเขียวหวานเพิ่ม 50% ชี้รายใหม่แห่ปลูกแทนพืชเศรษฐกิจอื่นราคาตกต่ำเชียงใหม่คุมโรคกรีนนิ่งได้แล้ว

นายครรชิต ตติปาณิเทพ เจ้าของสวนส้ม ช.เจริญ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ธุรกิจสวนส้มสายน้ำผึ้งของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดใน 3 อำเภอคือ ฝาง แม่อาย และไชยปราการ เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากเกิดปัญหาโรคแมลงในสวนส้ม หรือโรคกรีนนิ่ง (Greening Disease) ที่ระบาดในส้มมาตลอดกว่า 10 ปี ซึ่งเกษตรกรรายย่อยกว่า 3,500 ราย ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนการดูแลรักษา และทยอยเลิกทำสวนส้มและหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน ส่งผลให้พื้นที่ปลูกจากเดิม 100,000 ไร่ ลดเหลือราว 40,000 ไร่

ทั้งนี้ พบว่าเกษตรกรรายย่อยเริ่มหันกลับมาฟื้นสวนส้มอีกครั้งตั้งแต่ปี 2558 โดยมีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นราว 10% เนื่องจากสามารถจัดการและควบคุมโรคแมลงหรือโรคกรีนนิ่งได้แล้ว ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ขณะที่ปริมาณผลผลิตจากจำนวน 40,000 ไร่ ซึ่งมีปริมาณไม่มาก สามารถขายได้ราคาดี เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันกลับมาขยายกิจการสวนส้มกันเพิ่มมากขึ้น

สำหรับผลผลิตส้มของเชียงใหม่ในช่วงกว่า10ปีที่ผ่านมามีประมาณ3.5 แสนตัน/ปี แต่หลังจากได้รับผลกระทบโรคแมลงระบาด ทำให้ผลผลิตลดเหลือเพียง 3 หมื่นตัน/ปี โดยฤดูกาลผลผลิตส้มในปี 2560 ซึ่งให้ผลผลิตมาตั้งแต่ปลายปี 2559 ค่อนข้างติดผลน้อยจากผลกระทบภัยแล้งในช่วงเดือนมษายน-พฤษภาคม ซึ่งปีนี้ผลผลิตส้มของทั้ง 3 อำเภอลดเหลือเพียง 1 ตัน/ไร่ จากในปี 2558 ผลผลิตอยู่ที่ราว 5 ตัน/ไร่ ทำให้ราคาขายในฤดูกาลปีนี้ค่อนข้างดี โดยราคาขายหน้าสวน (คละไซซ์) อยู่ที่กิโลกรัมละ 40-50 บาท

นายครรชิตกล่าวว่า ในปีนี้คาดว่าพื้นที่ปลูกส้มจะขยายเพิ่มขึ้นไม่เกิน 20% จากพื้นที่ปลูกปัจจุบัน 40,000 ไร่ ซึ่งในส่วนของสวน ช.เจริญมีพื้นที่ปลูกราว 500 ไร่ คาดว่าผลผลิตในปีนี้จะอยู่ที่ราว 600 ตัน ขณะเดียวกันก็ยังมีพื้นที่ปลูกพืชชนิดอื่นควบคู่กันไปด้วย อาทิ มะม่วง (พันธุ์มหาชนก) และลำไยกว่า 100 ไร่

ด้านนายสุชาติ วงศ์ชื่น เกษตรอำเภอฝาง เปิดเผยว่า สวนส้มของอำเภอฝางมีพื้นที่ปลูกในปี 2559 จำนวน 13,784 ไร่ และคาดว่าปี 2560 พื้นที่ปลูกจะเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหลายร้อยไร่ ซึ่งจะทราบจำนวนที่แน่ชัดเมื่อมีการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกส้ม โดยปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์ธุรกิจสวนส้มเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็คือ การจัดการควบคุมโรคแมลงในส้มได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะต้านไวรัสและแบคทีเรียผสมน้ำฉีดเข้าต้นส้ม ซึ่งสามารถลดการแพร่ระบาดโรคแมลงลงไปได้มาก อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรเริ่มหันกลับมาปลูกส้ม เพราะต้นทุนลดลงอยู่ที่ 10 บาท/กิโลกรัม แต่สามารถขายได้ในราคา 40-52 บาท/กิโลกรัม

ราคาดี – สถานการณ์ราคาส้มสายน้ำผึ้งและส้มเขียวหวานปี 2560 ปรับตัวดีขึ้น และผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น 50% จากปัจจัยอากาศที่ไม่ร้อนจัดและศัตรูพืชลดลงทำให้เกษตรกรใน จ.เชียงใหม่ และกำแพงเพชรเตรียมปลูกเพิ่มรับตลาดโต

นางลดาวัลย์ ศิริคุม เจ้าของไร่ส้มชาญลดา จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ปลูกและจำหน่ายส้มเขียวหวาน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ไร่ส้มชาญลดามีพื้นที่ปลูกในอำเภอโกสัมพีนครจำนวน 112 ไร่ ผลผลิตส่งมาจำหน่ายยังตลาดไท ภาคอีสานและภาคใต้ และยังนำส้มมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งสถานการณ์ผลผลิตในปี 2560 จะออกสู่ตลาดมากกว่าปี 2559 ถึง 50% เนื่องจากส้มติดดอกมากขึ้น และผลผลิตมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด

นอกจากนี้ปัญหาเรื่องโรคระบาด เช่น โรคเพลี้ยไฟ โรคกรีนนิ่งลดลง ทำให้ผลผลิตออกมาเต็มที่ และราคาปรับตัวดีขึ้นเฉลี่ยราคารับซื้อหน้าสวนจะอยู่ที่ 20-40 บาท/กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับเกรด ซึ่งถือว่าปรับตัวดีขึ้นจากปี 2559 ราคาอยู่ที่ 15-35 บาท/กก. โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ปัจจุบันตลาดมีความต้องการต่อเนื่องเพราะส้มไทยมีรสชาติดีกว่าส้มจากประเทศจีนที่เข้ามาตีตลาด แม้ว่าจะมีราคาที่สูงกว่า แต่ผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่นิยมสินค้าที่มีคุณภาพ

“ปีนี้เป็นปีทองของผู้ปลูกส้ม แหล่งปลูกที่สำคัญคือจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก พิจิตร กำแพงเพชร ผลผลิตจะออกมากกว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมา แถมยังราคาดีอีกด้วยเพราะตลาดมีความต้องการสูง ทำให้ชาวสวนส้มกลับมามีกำลังใจอีกครั้งหลังจากหลายปีที่ผ่านมาเจอกับปัญหาโรคระบาด สภาพอากาศร้อนจัดเกินไป ดูแลรักษายากเพราะส้มต้องใช้เวลาปลูกถึง 3 ปีจึงจะให้ผลผลิต ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาหลายอย่างที่รุมเร้าทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย” นางลดาวัลย์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ราคาส้มเขียวหวานที่ปรับตัวสูงขึ้นและปริมาณผลผลิตปี 2560 ที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น จากปัจจัยบวกโรคระบาดลดลง สภาพอากาศที่เย็นสบาย ทำให้ปีนี้มีเกษตรกรในอำเภอโกสัมพีนคร คลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร หันมาปลูกส้มเขียวหวานรับตลาดที่เติบโตแทนการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงด้านศัตรูพืช และราคาที่ผันผวน

“เกาะช้าง” แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามสุดตะวันออก จังหวัดตราด เป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ก่อนที่จะพัฒนาด้านการท่องเที่ยว อาชีพหลักชาวบ้านทำสวนผลไม้ ยางพารา ประมง

ทุเรียนพันธุ์ชะนีนั้น ปลูกกันมานานร่วม 50 ปี ระยะหลังหลายคนปรับเปลี่ยนไปปลูกพันธุ์หมอนทองตามความนิยมของตลาดบ้าง หรือปลูกยางพาราทดแทน เพราะราคาดีกว่า ชาวสวนทุเรียนจึงเหลือเพียง 111 ราย พื้นที่ปลูก 843 ไร่ มีพันธุ์ชะนีที่ปลูกดั้งเดิมอายุ 30-50 ปี เหลืออยู่ 348 ไร่ กระดุม 52 ไร่ พวงมณี 5 ไร่ และหมอนทอง 437 ไร่ ปริมาณทุเรียนเกาะช้างปีละ 476.43 ตัน เป็นทุเรียนชะนีเกาะช้าง ประมาณ 100 ตัน

ตรวจพบ วิตามินอี-ไอโอดีน อพท. ต่อยอดลดปริมาณคาร์บอน ประมูล กิโลกรัมละ 4,000 บาท

ช่วงปี 2553-2555 “ทุเรียนชะนีเกาะช้าง” เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เมื่อปี 2553 คุณมานพ ทองศรีสมบูรณ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาเกาะช้าง เห็นว่าทุเรียนชะนีเกาะช้างอายุ 30-50 ปี ปลูกในพื้นที่สภาพดินเป็นดินภูเขาไฟ ลาดเอียง มีไอน้ำทะเล อากาศโปร่ง ให้ผลเร็ว เนื้อสีเหลืองสวย เนียนเหนียว รสชาติหวานอร่อย จึงส่งไปทดสอบจาก บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย)จำกัด พบว่า มีวิตามินอี 9.45 mg/100 กรัม และธาตุไอโอดีน 54.27 ug/100 กรัม

ปี 2555 พล.ต. หญิง จรัสพิมพ์ ธีรลักษณ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), (อพท.) ได้พัฒนาต่อยอดผลวิจัยภายใต้ธีม (Theame) โลว์คาร์บอน เนื่องจากต้นทุเรียนชะนีอายุ 40-50 ปี สูง 10-20 เมตร ดูดซับคาร์บอนได้ดี และสวนส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ต้องการให้ชาวสวนได้อนุรักษ์ จึงช่วยประชาสัมพันธ์และสร้างเพิ่มมูลค่าให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เปิดตัวจัดประมูลทุเรียนชะนีเกาะช้างคุณภาพ งาน “เทศกาลผลไม้และของดีเกาะช้าง ประจำปี 2555” ได้ราคาสูงสุด ถึงลูกละ 15,000 บาท ตกกิโลกรัมละ 4,000 บาท สร้างความฮือฮาให้ทุเรียนชะนีเกาะช้าง นับจากนั้นมา เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาเกาะช้างได้แวะชิมและซื้อเป็นของฝาก ราคาทุเรียนที่เคยขายกัน กิโลกรัมละ 20-30 บาท เพิ่มขึ้นเรื่อยๆล่าสุดปี 2559 ราคาเฉลี่ย อยู่ที่ 70-100 บาท/กิโลกรัม เป็นราคาที่ชาวสวนทุเรียนเกาะช้างไม่เคยขายได้มาก่อน

ปี 2560 ชูแบรนด์ ขายตลาดออนไลน์ ทุเรียนชะนีเกาะช้าง ต้องกินที่เกาะช้าง

ดร. ประธาน สุรกิจบวร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า ทุเรียนชะนีเกาะช้างมีคุณภาพและมีปริมาณไม่มากนัก แต่ต้องขายตามราคาท้องตลาด บางครั้งเหมาสวนทำให้เสียโอกาสทางการตลาด 3-4 ปีที่ผ่านมาทุเรียนชะนีเกาะช้างเริ่มมีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่นิยมกับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะช้างทั้งคนไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะชาวจีน จังหวัดจึงมีแนวคิดชูแบรนด์ ทุเรียนชะนีเกาะช้าง ต้องกินที่เกาะช้าง และขายตลาดออนไลน์ จึงตั้งคณะทำงานแบบ 3 ประสาน คือ ภาครัฐ เอกชน และประชาชน เช่น สำนักงานเกษตรทำคุณภาพ พาณิชย์จังหวัด ททท. สำนักงานตราด บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตราด (วิสาหกิจเพื่อชุมชน) จำกัด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ช่วยด้านการตลาด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ด้านสินเชื่อ รวมทั้งเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนที่ต้องพัฒนาคุณภาพ

“เมื่อทำคุณภาพทุเรียนชะนีเกาะช้างได้มาตรฐาน จะเชื่อมโยงไปกับการท่องเที่ยว ปี 2560 นำร่องแบรนด์ทุเรียนชะนีเกาะช้าง โดย ททท. สำนักงานตราด มีแผนการตลาดดึงนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะช้างมากินทุเรียนชะนีที่เกาะช้าง อีกทางหนึ่งส่งเสริมให้ชาวสวนขายผ่านออนไลน์ เปิดจองตั้งแต่เริ่มออกดอกจนผลสุกโดยเจ้าของสวนจะดูแล ลูกค้าสามารถมาเที่ยวชมสวนที่จองไว้รู้สึกเหมือนเป็นเจ้าของ นอกจากช่วยเพิ่มมูลค่าแล้วยังตัดปัญหาคนกลาง การตัดทุเรียนอ่อน และช่วยให้เกษตรกรทำสวนทุเรียนต่อไป จริงๆ แล้วส่งเสริมให้ชาวสวนทำคุณภาพและขายทุเรียนออนไลน์ทุกอำเภอที่มีสวน แต่ทุเรียนชะนีที่เกาะช้างมีลักษณะพิเศษเฉพาะสีเหลืองสวย เนื้อเนียนละเอียด รสชาติอร่อย จึงมีเป้าหมายให้คนอยากกินทุเรียนชะนีเกาะช้างต้องมากินที่เกาะช้าง ถ้าทำได้เกษตรกรจะอยู่ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าว

เกษตรกรหัวไว สมัครทำตลาดออนไลน์ บริษัท ประชารัฐฯ ตราด รับซื้อ กิโลกรัมละ 150 บาท

คุณพงษ์ศักดิ์ เอมดวง เกษตรจังหวัดตราด กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพทุเรียนชะนีเกาะช้าง เริ่มจากการรับสมัครเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนชะนีเกาะช้าง ที่ได้ใบรับรองมาตรฐานการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP แล้ว และดำเนินการให้สวนที่เข้าร่วมให้ได้ใบรับรอง GAP ต่อไป จากนั้นจะดูแลอย่างครบวงจร เริ่มตั้งแต่ออกดอก การผสมเกสร ดอกบานการตกแต่งดอก การบำรุง รักษา มีการเยี่ยมสวน ติดตามผลไปจนกระทั่งผลผลิตเก็บได้ จะคัดเลือกทุเรียนคุณภาพทุกลูกส่งจำหน่าย ส่วนการทำตลาดหน่วยงานพาณิชย์จังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด และ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตราด (วิสาหกิจเพื่อชุมชน) จำกัด สมาคม ชมรมต่างๆ จะช่วยกัน

“มั่นใจว่าเกษตรกรประเภทหัวไว ใจสู้ สนใจทำตลาดทุเรียนคุณภาพและขายออนไลน์ที่ผ่านมามีทำอยู่บ้างแล้ว ขณะที่มีเจ้าของสวนร่วมทำทุเรียนชะนีเกาะช้างคุณภาพ 27 ราย เบื้องต้น บริษัท ประชารัฐฯ จะรับซื้อสวนละ 100 ลูก โดยทำตลาดที่เกาะช้าง คาดว่าจะรับซื้อได้ 30-50 ตัน ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งเกษตรกรอาจจะขายเองโดยเปิดจองผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เฟซบุ๊ก ไลน์ เว็บไซต์ ที่อัพเดทข้อมูลกระบวนการผลิตทุกระยะทำให้ลูกค้าสนใจ สร้างความรู้สึกให้ลูกค้าเป็นเจ้าของสวน และมั่นใจคุณภาพแม้ว่าจะราคาสูง ตัดคนกลาง ช่วยแก้ปัญหาการตัดทุเรียนอ่อน” คุณพงษ์ศักดิ์ กล่าว

คุณพิทยา หอมไกรลาศ ผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตราด (วิสาหกิจเพื่อชุมชน) จำกัด กล่าวว่า ตอนนี้มีพันธมิตรที่ช่วยทำการตลาด คือ อำเภอเกาะช้าง เกษตรอำเภอเกาะช้าง ททท. สำนักงานตราด บริษัททัวร์ โรงแรมต่างๆ เนื่องจากเป็นปีแรกจึงรับซื้อไม่มาก แนวทางเบื้องต้นคือ ซื้อจากชาวสวนที่เป็นสมาชิกสวน สวนละ 100 ลูก ราคากิโลกรัมละ 150 บาท โดยทำตลาดจากอีเว้นท์ต่างๆ บนเกาะ การจัดทัวร์สวนผลไม้ เป้าหมายใหญ่คือ ดึงให้นักท่องเที่ยวมากินทุเรียนชะนีเกาะช้างที่เกาะช้าง ระยะยาวขึ้นอยู่กับผลผลิตและปริมาณความต้องการและราคาทุเรียนบนเกาะช้างต้องสูงกว่าบนฝั่ง จึงจะทำให้ชาวสวนขายทุเรียนที่เกาะช้าง

ด้านผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดตราด คุณวรรณประภา สุขสมบูรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ททท. ช่วยประชาสัมพันธ์และหาตลาดให้บริโภคทุเรียนจังหวัดตราด แคมเปญ “ตราดอร่อยทุกไร่ ชิมไปทุกสวน” ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ทุกปี ส่วนทุเรียนชะนีเกาะช้างที่มีความพิเศษและมีชื่อเสียงอยู่แล้วการทำตลาดจะง่ายขึ้น ปี 2560 ททท. ได้จัดลงปฏิทินท่องเที่ยวจังหวัดตราด “วันทุเรียนชะนีเกาะช้าง” ในช่วงปลายเดือนเมษายน-ต้นพฤษภาคม 2560 และอยู่ในแพกเกจ ตราดราคาเดียวเที่ยวทุกเกาะ

“เป้าหมายให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเกาะช้างกินทุเรียนชะนีเกาะช้าง ททท. ร่วมกับชมรมธุรกิจนำเที่ยวจังหวัดตราด เตรียมจัดทำแพกเกจเที่ยวสวนทุเรียนและกินทุเรียนในสวน นักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่เดินทางเข้ามาเที่ยวเองที่เกาะช้าง ปีละ 20,000 คน นิยมกินทุเรียนมาก เฉลี่ยคนละ 2-3 ลูก จะหาซื้อได้ตามแผงร้านหน้าสวนริมทาง ส่วนนักท่องเที่ยวคนไทยมีการบอกกันปากต่อปาก ที่ผ่านมาและมีการจองข้ามปีทางเฟซบุ๊ก ไลน์” ผอ. ททท. สำนักงานตราด กล่าว

เกษตรกรขานรับทำคุณภาพ อนาคตขายทุเรียน ต้นละ 50,000 บาท

ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาเกาะช้าง และเจ้าของสวนทุเรียนชะนีเกาะช้างคีรีบัญชร กล่าวว่า การเพิ่มมูลค่าทุเรียนชะนีเกาะช้างจะช่วยให้เกษตรกรอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะที่ผ่านมาทุเรียน ราคากิโลกรัมละ 30-40 บาท ชาวสวนทุเรียนมีรายได้เฉลี่ยเพียงเดือนละ 10,000 บาท หรือปีละ 120,000 บาท การทำคุณภาพทุเรียนนี้ ธ.ก.ส. เข้าไปช่วยด้านสินเชื่อให้เกษตรกรสวนขนาดกลาง ขนาดย่อม จึงเป็นโอกาสของเกษตรกรจะทำทุเรียนคุณภาพขายเป็นต้นๆ ดีกว่าทำปริมาณมาก แต่ต้องขายเหมาทั้งสวน

“ปีนี้ตลาด บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีตราด ซื้อ 100 ลูก หากมีคุณภาพดีจริง ปีหน้าอาจจะเพิ่มขึ้นเป็นสวนละ 200-300 ลูก สวนทุเรียนที่เกาะช้างเล็กขนาด 2-5 ไร่ ถ้ากิโลกรัมละ 150-200 บาท ขายทุเรียน 1 ลูก ลูกละ 4 กิโลกรัม มีทุเรียน 5-6 ต้น ต้นละ 100 ลูก เฉลี่ยลูกละ 4 กิโลกรัม มีรายได้ ต้นละ 40,000-50,000 บาท ปีหนึ่งจะมีรายได้อยู่ที่ 200,000-300,000 บาท ชาวสวนอยู่ได้ต่อไปจะไม่คิดขายที่ดิน หรือเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น”

พื้นที่ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นที่เลื่องลือถึงคุณภาพความเป็นพริกพื้นเมืองที่ซึ่งปลูกโดยฝีมือเกษตรกรในพื้นที่ ประเมินได้ว่า “พริกขาวชัยบุรี” เป็นพริกพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมมากที่สุดใน 14 จังหวัดภาคใต้ เพราะเหตุผลว่า พริกชนิดนี้ เป็นพริกที่มีความเผ็ด เมื่อนำไปปรุงในเครื่องแกงอาหารใต้ จะมีสีสวย ที่สำคัญ เมื่อปรุงเป็นอาหาร จะได้กลิ่นหอมชวนลิ้มรสของพริกในอาหารนั้นๆ

ชาวบ้านเรียกพริกพื้นเมืองของตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ชนิดนี้ว่า “พริกขาวชี” หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ “พริกขาวชัยบุรี” ที่มาที่ไปของชื่อ “พริกขาวชัยบุรี”

ลุงคุณจำรัส สงกลิ่น อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง บอกว่า พริกชนิดนี้เมื่อติดผล แรกเริ่มเม็ดพริกจะเป็นสีขาว จากนั้นค่อยๆ เป็นสีเหลือง ส้ม และท้ายที่สุด คือ ส้มเข้ม และพื้นที่ปลูกพริกชนิดนี้มากที่สุดอยู่ที่ตำบลชัยบุรี จึงเรียกพริกชนิดนี้ว่า “พริกขาวชัยบุรี”

เดิมพื้นที่ตำบลชัยบุรี ส่วนหนึ่ง เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก บางส่วนเป็นพรุ จึงยากแก่การทำเกษตร โดยทั่วไป เกษตรกรจำนวนหนึ่งเลือกปลูกปาล์มแบบยกร่อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากที่เกิดขึ้นเป็นประจำในฤดูฝน

เกษตรกรผู้ปลูกพริกจึงเลือกปลูกพริกและเก็บเกี่ยวผลผลิตตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงฤดูฝน ที่ตามมาด้วยภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก จึงหยุดปลูก แต่มีเกษตรกรบางส่วนมองการณ์ไกล เลือกใช้วิธีปลูกพริกยกร่อง หลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วม เช่นเดียวกับการปลูกปาล์ม ทำให้มีรายได้จากการปลูกพริกตลอดทั้งปี

คุณอุทัย รัตนชัย ชาวบ้านหมู่ 7 ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เลือกวิธีปลูกพริกแบบยกร่อง เพื่อให้มีรายได้ตลอดทั้งปี

คุณอุทัย เล่าว่า ตั้งแต่บรรพบุรุษก็ปลูกพริกขาวชัยบุรี เมื่อถึงฤดูฝน พริกจะเหลือเก็บขายได้น้อย เพราะเมื่อถูกน้ำฝน พริกจะเน่า ผลออกได้ไม่มาก เกษตรกรจึงเลือกปล่อยทิ้งหรือไถดินตาก เพื่อรอลงกล้าพริกต้นใหม่ โดยเฉพาะระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงที่มี น้ำท่วมสูง ไม่สามารถปลูกพริกได้ เกษตรกรผู้ปลูกพริกจะเริ่มเพาะกล้าพริกไว้ เพื่อลงปลูกในช่วงน้ำลด ประมาณเดือนมกราคม ของทุกปี

พื้นที่ปลูกพริกของคุณอุทัย เป็นพื้นที่ยกร่องสูง หน้ากว้าง 6 เมตร ความยาวตลอดพื้นที่ไร่ที่มี คือ 13 ไร่

การเพาะกล้าพริก เพาะในหลุมเพาะกล้า หลุมละ 3-4 เมล็ด เมื่อกล้าพริกเริ่มเติบโต ให้เลือกต้นกล้าที่แข็งแรงที่สุดไว้เพียงต้นเดียว และปล่อยให้กล้าพริกเติบโตในถาดเพาะกล้า ประมาณ 25 วัน ระหว่างเพาะกล้าพริก ให้เตรียมไถแปลงปลูก เพื่อตากดินไว้

หลังน้ำลด ปลายเดือนธันวาคม หรือ ต้นเดือนมกราคม ของทุกปี เกษตรกรจะนำกล้าพริกลงปลูกยังแปลงปลูก โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพที่หมักจากสมุนไพรในท้องถิ่นรองก้นหลุม หรือ ใช้ขี้วัว ขี้ไก่ ฟางข้าว ตามแต่จะหาวัตถุดิบได้ในท้องถิ่น ระยะห่างระหว่างต้น อยู่ที่ 50 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว อยู่ที่ 100 เซนติเมตรเหตุผลที่ไม่ปลูกต้นพริกชิดเกินไป เพราะจะทำให้แสงแดดส่องไม่ถึงโคนต้น ส่งผลให้ไม่ติดดอกและผล

คุณอุทัย ให้ปุ๋ยเดือนละครั้ง การให้ปุ๋ยเลือกใส่ที่โคนต้น โรยให้รอบ ใช้ปุ๋ยชีวภาพเป็นหลัก หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี จะนำมาผสมกับปุ๋ยชีวภาพตามสัดส่วน ปุ๋ยชีวภาพ : ปุ๋ยเคมี ในอัตรา 9 : 1 เพื่อลดต้นทุน และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้าง รวมทั้งช่วยให้ดินปลูกมีสภาพดี ไม่สูญเสียแร่ธาตุในดินไปมากเหมือนกับการใช้สารเคมีทั่วไป

การรดน้ำ ใช้เครื่องรดน้ำทยอยรดน้ำไล่จากต้นแปลงถึงปลายแปลง คุณอุทัย บอกว่า การรดน้ำไม่ควรรดให้ชุ่มเกินไป หากดินแฉะมาก จะทำให้รากพริกเน่า ควรรดพอประมาณ เหมือนรดผ่านๆ เพราะรดน้ำทั้งเช้า-เย็น และทุกวัน พริกจึงได้รับน้ำมากเพียงพอแล้ว

เมื่อพริกเริ่มออกดอก ให้ระวังโรคและแมลง โดยเฉพาะเพลี้ยไฟ แอนแทรกโนส และโรคราขาว ซึ่งที่ผ่านมา โรคและแมลงศัตรูพริก ไม่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรผู้ปลูกพริกในเขตพื้นที่ตำบลชัยบุรีเลยแม้แต่น้อย เพราะพื้นที่นี้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ยิ่งเมื่อเกษตรกรลดการพึ่งพิงสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้ว ยิ่งทำให้ธรรมชาติดูแลกันเองได้อย่างไม่มีปัญหา

เลือกปลูกแบบปลอดสาร ดูแลง่าย รายได้งาม

ลุงคุณจำรัสจรัส ให้ข้อมูลว่า พื้นที่เกษตรกรรมของตำบลชัยบุรี เป็นพื้นที่ที่มีการรณรงค์ลดละเลิกสารเคมีในพื้นที่เกษตรกรรม โดยเลือกใช้สารชีวภาพในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมาแทน เช่น น้ำหมักสมุนไพร ใช้สำหรับฉีดในช่วงที่พริกขาวชัยบุรีออกดอก และสมุนไพรสามารถนำมาฉีดพ่นเพื่อป้องกันศัตรูพืชได้ตลอดเวลา ไม่มีสารสะสมในเม็ดพริก และประโยชน์ที่ได้รับ คือ ผู้บริโภคได้บริโภคผักปลอดสาร ส่วนผู้ผลิตอย่างเกษตรกรก็ได้ลดต้นทุนการผลิตลง

“พริกขาวชัยบุรี ปลูกง่าย ดูแลง่าย โรคและแมลงศัตรูพริกพบน้อยมาก การใช้สมุนไพรฉีดพ่นเมื่อพริกเริ่มออกดอก ได้ผลดีมาก น้อยครั้งที่ประสบปัญหาเพลี้ยไฟ ซึ่งปัญหาโรคและแมลงชาวบ้านที่ปลูกพริกไม่กังวล แต่ปัญหาที่กังวลมากที่สุด คือ ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งทำให้ขาดรายได้จากการปลูกพริกนาน 2-3 เดือนทีเดียว” คุณอุทัย กล่าว

วิธีแก้ปัญหาของคุณอุทัย ซึ่งคุณอุทัยคาดว่าได้ผล คือ การปลูกพริกแบบยกร่อง เป็นการยกแปลงปลูกให้สูงจากพื้น และสูงจากระดับน้ำท่วมทุกปี โดยความสูงของแปลงอาศัยการประเมินความสูงของระดับน้ำที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การปลูกพริกยกร่องสูง หลายแปลงในตำบลชัยบุรี ประสบความสำเร็จไปแล้ว ส่วนแปลงของคุณอุทัย จะเริ่มในฤดูกาลหน้า

คุณอุทัย อธิบายว่า หลังจากการลงกล้าพริก ประมาณ 90 วัน พริกจะเริ่มติดผล เมื่อเม็ดพริกเริ่มมีสีเหลืองหรือสีส้มจางๆ บนเม็ดพริก แสดงว่าเริ่มเก็บขายได้แล้ว ซึ่งการเก็บพริกในพื้นที่ 13 ไร่ของคุณอุทัย จำเป็นต้องจ้างแรงงานเก็บ 15-20 คน เก็บพริกหมดทั้ง 13 ไร่ ใช้เวลาประมาณ 3 วัน จากนั้นเว้นช่วงให้พริกสุกเก็บจำหน่ายได้ ประมาณ 1-2 วัน ก็เริ่มเก็บพริกจำหน่ายได้ใหม่

“ในการเก็บแต่ละครั้ง ใช้เวลา 3 วัน เก็บเม็ดพริกได้ครั้งละประมาณ 600 กิโลกรัม แบ่งค่าเก็บให้กับแรงงานที่จ้างมา กิโลกรัมละ 10-20 บาท ขึ้นกับราคาพริกที่จำหน่ายได้ในช่วงนั้นๆ สำหรับพริกที่เก็บแล้ว ไม่จำเป็นต้องนำมาคัดขนาดใหม่ เพราะแม่ค้ารับซื้อทุกขนาดคละกันไป และเข้ามารับซื้อพริกถึงแปลง การให้ราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาล หากเป็นช่วงที่พริกขาวชัยบุรีให้ผลผลิตจำนวนมาก ราคาพริกอาจตกลง เหลือเพียงกิโลกรัมละ 50 บาท แต่ถ้าพริกขาวชัยบุรี ให้ผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย อาจได้ราคากิโลกรัมละ 220 บาททีเดียว”

ที่ผ่านมา ราคาพริกขาวชัยบุรีในแปลงของคุณอุทัย ให้ราคาต่อกิโลกรัมสูงมาก เนื่องจากคุณอุทัยสามารถทำให้พริกขาวชัยบุรีให้ผลผลิตนอกฤดูกาล จึงจำหน่ายได้ราคาดี ซึ่งพริกขาวชัยบุรี ก็ให้ผลผลิตตลอดปี ทำให้คุณอุทัยมีรายได้ในแต่ละปีหลายล้านบาท

พื้นที่ปลูกพริกขาวชัยบุรี ในพื้นที่ตำบลชัยบุรี โดยเฉพาะหมู่ 2 หมู่ 4 หมู่ 5 และหมู่ 7 เคยมีพื้นที่ปลูกมากเกือบ 2,000 ไร่ แต่จากปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในทุกปี เกษตรกรผู้ปลูกพริกบางรายถึงกับถอดใจ เปลี่ยนไปปลูกปาล์มแทน ทำให้ปัจจุบันเหลือพื้นที่ปลูกพริกประมาณ 600 ไร่เท่านั้น

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกพริกขาวชัยบุรี พริกพื้นเมืองที่การันตีความเผ็ด -หอม ในเครื่องแกงของชาวใต้ ได้ที่ คุณลุงจำรัส สงกลิ่น อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง หรือโทรศัพท์สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 08-7107-1146

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย (พืชสวน) นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการปลูกผักไร้ดิน โดยไม่ต้องใช้สารละลายธาตุอาหารพร้อมกับเลี้ยงปลา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ว่าที่ร้อยตรี ดร. สมสวย ปัญญาสิทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย (พืชสวน) ได้ดำเนินการศึกษาทดลองการปลูกผักไร้ดินโดยไม่ต้องใช้สารละลายธาตุอาหารร่วมกับการเลี้ยงปลา เพื่อลดต้นทุนและได้ผลสำเร็จ เกษตรกรสามารถทำได้ไม่ยุ่งยาก

โดย นายสมถวิล ขัดสาร ผู้อำนวยการศูนย์ให้รายละเอียดว่า การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์นั้นหลายคนคิดว่าได้ผักออร์แกนิกส์/ปลอดสาร ซึ่งในความจริงแล้ว ไม่ได้ปลอดสาร เนื่องจากสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นปุ๋ยเคมี ที่ถูกนำมาผสมดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกโดยไม่ต้องใช้ดิน และไม่ทำอันตรายกับระบบรากของพืช ปัจจุบันได้มีระบบใหม่ในการผลิตอาหารปลูกผักอย่างยั่งยืน เรียกว่า ระบบอควาโพนิกส์ (Aquaponics) แนวคิดของระบบนี้ก็คล้ายกับการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์โดยทั่วไป เพียงแต่สารอาหารที่ส่งให้พืชนั้น นำมาจากของเสียจากระบบการเลี้ยงปลา ซึ่งสามารถอธิบายโดย วัฏจักรไนโตรเจน (Nitrogen Cycle) ในระบบได้ ดังนี้

ปลาขับของเสีย เช่น ขี้ปลา เมือกปลา หรืออาหารที่เหลือในตู้ปลา เป็นต้น ของเสียเหล่านี้จะถูกย่อยสลายจนเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียซึ่งมีพิษต่อปลา
จากนั้นแบคทีเรีย (Nitrosomonas Bacteria) ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกลุ่ม Aerobic Bacteria ที่มีอยู่ทั่วไปในระบบ ก็จะย่อยสลายแอมโมเนียให้เป็นไนไตรต์ ซึ่งตัวไนไตรต์เองนั้นมีพิษกับปลา ต้องถูกขจัดออกไป

หลังจากนั้นแบคทีเรีย (Nitrobacter Bacteria) สมัครจีคลับ ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกลุ่ม Aerobic Bacteria เช่นกัน จะย่อยสลายไนไตรต์ให้เป็นไนเตรต ซึ่งไม่มีพิษทางตรงกับปลา และพืชเองก็สามารถนำไปใช้เป็นสารอาหารได้เลยเช่นกัน แต่ผลเสียทางอ้อมในกรณีที่ไนเตรตในระบบมากเกินไป จะทำให้ค่า ph ของน้ำเปลี่ยนเป็นกรด ทำให้แบคทีเรีย Nitrosomonas Bacteria และ Nitrobacter Bacteria มีจำนวนที่ลดลง เป็นผลทำให้การย่อยสลายของเสียต่างๆ หยุดลงได้ แต่หลังจากที่ได้ไนเตรตจากระบบเลี้ยงปลาแล้ว ไนเตรตจะถูกส่งผ่านไปยังระบบการปลูกผัก และผักก็จะดูดซึมไนเตรตออกไปก็เหมือนกับได้ถูกกรอง บำบัดให้น้ำกลับมาสะอาดเหมาะกับการเลี้ยงปลาอีกครั้ง ถือเป็นการเกื้อกูลกันได้เป็นอย่างดี ได้ทั้งปลูกผักและเลี้ยงปลาไปในเวลาเดียวกัน