ปีทอง ‘ผลไม้ไทย’ ชาวสวนยิ้มร่า ราคาพุ่ง/ใน-นอกปท. ออเดอร์ล้น

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคเกษตรไตรมาส 2 ปี 2560 จะขยายตัวได้มากกว่า 2% เนื่องจากช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน เป็นช่วงผลผลิตโดยเฉพาะผลไม้ในภาคตะวันออกเกือบทั้งหมดออกสู่ตลาด เช่น ทุเรียน มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ โดยผลผลิตปีนี้มากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ราคาไม่ได้ต่ำลง เพราะมีความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ จึงส่งออกได้มากขึ้น และคาดการณ์ตัวเลขจีดีพีภาคเกษตรทั้งปีนี้ขยายตัว 3%

“ราคาปีนี้ไม่ได้ตกต่ำลง เห็นได้จากทุเรียน คาดว่าผลผลิตปีนี้อยู่ที่ 633,540 ตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา 30-40% แต่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 60-65 บาท ต่อกิโลกรัม ไม่ได้ตกต่ำอย่างที่หลายฝ่ายกังวล ราคายังสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 อยู่ที่ 40-50 บาท ต่อกิโลกรัม ขณะที่มังคุดปีนี้คาดผลผลิตที่ 217,039 ตัน มากกว่าปีที่ผ่านมาราว 20,000 ตัน แต่ราคาอยู่ที่ 78 บาท ต่อกิโลกรัม จากปีก่อน 56 บาท ต่อกิโลกรัม นับเป็นปีทองของผลไม้ไทยต่อเนื่องจาก 3 ปีก่อน และนับเป็นปีที่ 4 ที่ภาครัฐไม่ต้องใช้งบประมาณเข้าไปรับซื้อ หรือแทรกแซงราคา แสดงว่ากลไกตลาดและระบบบริหารจัดการผลไม้ทำได้ดี และภาครัฐ่จะพยายายมส่งเสริมการทำแปลงใหญ่เพื่อให้เกษตรกรลดต้นทุนลงด้วย”

จากโมเดล Thailand 4.0 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของรัฐบาลนั้น ส่งผลให้ทุกหน่วยงานภาครัฐต้องปรับระบบการทำงาน ให้ตอบรับกับสภาวการณ์บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) หรือ Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินงานในเส้นทางการวิจัยและพัฒนาของประเทศมาเป็นเวลารวม 54 ปี มีนโยบายที่ชัดเจนและได้ ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการบริหารองค์กรใหม่ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Thailand 4.0 และ TISTR 4.0 เพื่อให้มีความเหมาะสมคล่องตัวและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน นำไปสู่การผลักดันให้เกิดผลงานในมิติต่างๆ ด้วยการใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ช่วยเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ดังนี้

7การให้บริการวิจัยและพัฒนายุค 4.0 ได้แก่ การขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม โดยการจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมด้านเกษตร อาหาร สมุนไพร และศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีกลไกการทำงานที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางด้วยการใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนให้แก่สินค้า

ทำการวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตหุ่นยนต์ แขนกล ระบบการผลิต/การตรวจสอบอัตโนมัติ ที่มีความเฉพาะ (customization) สำหรับแต่ละสายการผลิต/การตรวจสอบมาตรฐาน และการผลิตพลังงานชีวภาพ/เคมีชีวภาพ (ไบโอดีเซล ไบโอมีเทน ไบโอเจท และไบโอเมทานอล)

รวมถึงการใช้กลไกของภาครัฐต่างๆ ได้แก่ คูปองนวัตกรรม, ITAP, STIM หรือกลไกของ วว. เช่น STIM หรือ OTOP Product Champion โดยบูรณาการความร่วมมือกับจังหวัดต่างๆ ในการดำเนินงานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงการส่งเสริม/สนับสนุนผู้ประกอบการด้านแหล่งทุน การจัดทำรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่เหมาะสม ตลอดจนการสร้าง/ขยายตลาดของสินค้า ฯลฯ ด้วยกลไก TISTR & Friends ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ตุ๊กตา เครื่องประดับ และของใช้จากเซรามิค และถุงมือผ้าเคลือบยาง ตัวอย่างเครื่องมือ เช่น แม่พิมพ์และโต๊ะพิมพ์ผ้าบาติก ตู้อบแห้งสมุนไพร เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการลงทุนด้านงานวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นยังมีการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น ธนาคาร บริษัทไปรษณีย์ไทย และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อช่วยผลักดันผู้ประกอบการให้ประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้จะมีการจัดทำ Technology Roadmap เพื่อชี้นำทิศทางนวัตกรรมและการวิจัยพัฒนาให้ก้าวหน้าภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

การสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ได้แก่ โครงการ Food Innopolis การพัฒนาเครื่องจักรกลอาหาร การเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ (เพื่อช่วยลดต้นทุนการปลูก เพิ่มผลผลิต) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างครบวงจร การทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยทั้งในระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลองตามมาตรฐานสากล การทดสอบ Biocompatibility ของเครื่องมือแพทย์ได้ครบวงจรแห่งเดียวของประเทศ

รวมทั้งดำเนินงานโดยตรงด้านวิจัย พัฒนา บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ในอุตสาหกรรมเป้าหมายกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และกลุ่มหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ทั้งในลักษณะรายอุตสาหกรรมตามความต้องการของภาคเอกชน/อุตสาหกรรม หรือเชิงพื้นที่ เช่น Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) ที่อยู่ระหว่างพัฒนาตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น การสำรวจ/การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน/โรงงาน/อุตสาหกรรมต่างๆ การผลิตพลังงานทดแทนจากของเสีย/วัสดุเหลือทิ้ง/น้ำทิ้งจากอุตสาหกรรม การผลิตวัสดุเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้ง การพัฒนาวัสดุเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ

7การให้บริการภาคอุตสาหกรรมยุค 4.0 ได้แก่ การทดสอบอาหารนวัตกรรม วว. โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ให้บริการการทดสอบด้านอาหารมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ และสามารถแข่งขันในตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ วว. ทดสอบอาหารนวัตกรรมด้วยวิธีวิเคราะห์ทดสอบตามมาตรฐานสากล มาตรฐาน มอก. และมาตรฐาน codex ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ(functional food) อาหารใหม่ (novel food) ส่วนผสมหรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหาร (Food ingredient) วัสดุสัมผัสอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารทางการเกษตร นอกจากนี้ยังทำความร่วมมือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการแก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตเพื่อมุ่งสู่ Thailand 4.0

วว. โดย ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ ศพว. มีหน้าที่ช่วยสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในห่วงโซ่คุณภาพ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์ทดสอบ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรองรับการพัฒนาด้าน Thailand 4.0 โดยการเพิ่มขีดความสามารถด้วยการปรับตัวให้เป็น “โซลูชั่นทั้งหมดสำหรับการทดสอบวัสดุและการบริหารความเสี่ยง” โดยมีเป้าหมายในการให้บริการของ ได้แก่ การให้บริการทดสอบ ด้วยเครื่องมือร่วมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยใช้ไอทีมาช่วย เพิ่มความรวดเร็วในการบริการ โดยสามารถให้บริการกระบวนการทดสอบที่เป็นเฉพาะความต้องการ (customized) สอดรับกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การให้คำปรึกษาด้านการออกแบบการทดสอบและการปรับปรุงคุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยงานบริการที่มีความชำนาญ ได้แก่ การวิเคราะห์ความเสียหาย การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ด้วยวิธีต่างๆ การประเมินอายุการใช้งานที่เหลือ การทดสอบการกัดกร่อน การทดสอบการสึกหรอ การตรวจสอบหม้อน้ำและภาชนะรับความดัน และการให้บริการด้าน Risk Based Inspection (RBI) / Risk Base Maintenance (RBM)

นอกจากนี้ยังมุ่งเป็นแหล่งข้อมูลทางการทดสอบตั้งแต่ต้นน้ำ (วัตถุดิบ) จนถึงปลายน้ำ (ผู้ใช้) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคอกชน ในการสร้างเครือข่ายการวิเคราะห์ทดสอบที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร รวมทั้งการเพิ่มทักษะของบุคลากรภาคอุตสาหกรรมโดยผ่านการอบรมเทคโนโลยีหลักสูตรต่างๆ ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง เพื่อเปลี่ยนจาก Traditional SMEs ไปสู่การเป็น Smart Enterprises

บริการบำบัดทางชีวภาพสำหรับแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืช การตกค้างของสารเคมีอันตรายในสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญของหลายประเทศในโลก สาเหตุหนึ่งมาจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชหลากหลายชนิดอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงการปนเปื้อนของสารเหล่านี้ในน้ำทิ้งจากโรงงานผู้ผลิตหรือจัดจำหน่าย แม้ว่าจุลินทรีย์ในพื้นที่จะสามารถย่อยสลายสารเคมีอันตรายได้บางส่วนแต่ก็ไม่สามารถย่อยสลายได้หมดในระยะเวลาอันสั้น วว. โดย ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีการบำบัดทางชีวภาพ (Bioremediation) โดยการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมของกลุ่มจุลินทรีย์ในการลดปริมาณและความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในน้ำ สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในพื้นที่ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ เป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ปลอดภัย ส่งผลดีต่อสุขภาพและอนามัยของประชาชน

งานวิจัยด้าน Intelligent packaging วว. โดย ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ศบท.) กำลังดำเนินการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฉลาด (Intelligent packaging) 2 โครงการ คือ โครงการบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะบ่งชี้ความหืนอาหารทอดน้ำมันท่วม เป็นการพัฒนาอินดิเคเตอร์เพื่อใช้วัดระดับความหืนของอาหารทอดน้ำมันท่วมซึ่งได้แก่ทุเรียนทอด โดยอินดิเคเตอร์ที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้งานง่ายจากการเปลี่ยนแปลงสีได้เมื่อทำปฏิกิริยากับสารเมทาบอไลท์ที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันซึ่งเป็นสาเหตุของความหืนของอาหารทอด โครงการวิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฉลาดบ่งชี้ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไยเพื่อการส่งออก โดยพัฒนาอินดิเคเตอร์เพื่อตรวจสอบปริมาณสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เหลือตกค้างบนผิวลำไย เมื่อก๊าซระเหยสัมผัสกับอินดิเคเตอร์ ปฏิกิริยาบนอินดิเคเตอร์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี

วว. โดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง ยกระดับห้องปฎิบัติการเป็น Smart Integrative Test Laboratory โดยใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศในการให้บริการงานทดสอบด้านระบบรางอย่างมีมาตรฐานในระดับสากล ครอบคลุมวัสดุและผลิตภัณฑ์ในงานโครงสร้างทางและตัวรถไฟ

การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการรับรองผลิตภัณฑ์และบริการ วว. โดยสำนักรับรองระบบคุณภาพ ขยายขอบข่ายการบริการตรวจประเมินและให้การรับรองผลิตภัณฑ์และบริการด้านบริการการท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ผลิตภัณฑ์เกษตรตามหลัก GAP (Good agricultural practice)และ เกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture) ที่มีการดำเนินงานสอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล ISO/IEC 17065 เพื่อการให้บริการแบบครบวงจรทำให้เกิดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และบริการทั้งต่อผู้บริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้า

“54 ปี วว.” พร้อมนำพาองค์กรสู่ Thailand 4.0 และ TISTR 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุน ส่งเสริมและผลักดันให้ก้าวสู่ “องค์กรชั้นนำระดับอาเซียนในด้านการวิจัย พัฒนา และบริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม”

“น้ำมันปาล์ม” เป็นน้ำมันพืชอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในบ้านเรา เนื่องจากมีราคาไม่แพงมากนัก ทนความร้อนได้สูง ไม่เกิดควันเมื่อผัด ทอด หรือปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูง ทอดอาการได้กรอบนาน ไม่เกิดกลิ่นหืนง่าย มีกรดไขมันอิ่มตัวมากกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น

กระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มบริโภค หรือที่เรียกว่าน้ำมันปาล์มโอเลอีน มีขั้นตอนการทำให้น้ำมันปาล์มดิบบริสุทธิ์เพื่อให้ได้น้ำมันที่มีสีเหลืองใส และไม่เกิดการตกตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งกระบวนการผลิตดังกล่าวทำให้ปริมาณสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพที่มีอยู่ในน้ำมันปาล์มดิบลดลงไปอย่างมาก เช่น แคโรทีนอยด์ลดลงจาก 6,000-8,000 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม เหลือ 600-700 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม วิตามินอีลดลงจาก 600-1,000 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม เหลือ 500-800 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม และสารโคเอ็นไซม์คิวเท็นลดลงจาก 10-80 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม เหลือ 10-20 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม เป็นต้น

การคงสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ไว้สามารถทำได้ โดยผลิต “น้ำมันปาล์มแดง” ซึ่งเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพชนิดใหม่ ที่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย น้ำมันปาล์มแดงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกำจัดยาวเหนียว ฟอสฟอรัส และกรดไขมันอิสระออกจากน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มแดงยังคงสารที่มีประโยชน์ที่มีอยู่ในน้ำมันปาล์มดิบไว้ได้มากกว่า ร้อยละ 80 จึงเป็นน้ำมันที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคบางโรคได้ ซึ่งจากผลการศึกษาเรื่อง การลดภาวะการขาดวิตามินเอในประเทศอินเดีย แทนซาเนีย และบางประเทศในแถบแอฟริกาใต้ พบว่า การบริโภคน้ำมันปาล์มแดง สามารถป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากการขาดวิตามินเอได้เป็นอย่างดี

น้ำมันปาล์มแดงสามารถนำไปบริโภคได้โดยตรงในรูปอาหารเสริม หรืออาจนำไปผสมกับน้ำมันพืชชนิดอื่น เพื่อปรับรสชาติ และเพิ่มความหลากหลายของสารที่มีประโยชน์ น้ำมันปาล์มแดงผสมที่ได้ นอกจากจะใช้ทอดอาหารแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตอาหารหลายชนิด เช่น ขนมอบ และน้ำสลัด เป็นต้น นอกจากนี้ น้ำมันปาล์มแดงยังมีวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมาก เหมาะกับภาคการผลิตของไทยซึ่งจำนวนไม่น้อยมีขนาดธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

จากกระแสความต้องการบริโภคอาหารสุขภาพในขณะนี้ คาดว่าอีกไม่นานจะมีน้ำมันปาล์มแดงที่ผลิตวางจำหน่ายในท้องตลาด และคาดว่าจะได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

นอกจากนี้ ยังมีข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภค ไม่ควรเลือกใช้น้ำมันชนิดเดียวกันซ้ำๆ แต่ควรเลือกใช้น้ำมันหลายประเภทสับเปลี่ยนกัน เลือกชนิดน้ำมันที่เหมาะสมกับวิธีการทำอาหารแต่ละประเภท อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด ซึ่งเหมาะกับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนปานกลาง เช่น ผัด ทำน้ำสลัด และมาการีน ส่วนการทอดอาหารที่ใช้น้ำมันมากและใช้ความร้อนสูง เช่น ไก่ทอด ปลาทอด ควรใช้น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันหมู ไม่ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เพราะจะทำให้เกิดควันได้ง่าย น้ำมันเหม็นหืน เป็นต้น ซึ่งการเลือกใช้น้ำมันให้ถูกกับวิธีการปรุงอาหาร ก็จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายได้เช่นกัน

โรคเกาต์ เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกของกรดยูริก (monosodium urate) ในข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ (tophi) ของร่างกาย ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง (hyperuricemia) อยู่เป็นเวลานาน มีอุบัติการณ์ร้อยละ 1-2 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบอัตราของโรคเกาต์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายกลุ่มอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ส่วนในเพศหญิงพบมากในวัยหลังหมดประจำเดือน

ปัญหาหลักในการรักษา คือ ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม มีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน (Acute gouty attack) เกิดขึ้นเป็นระยะ และมีผู้ป่วยที่มีอาการโรคข้ออักเสบเรื้อรัง (Chronic tophacous gout) อยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีภาวะไตพิการ หรือไตวายร่วมอยู่ในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 70 มักพบร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเกาต์เสียชีวิต อีกทั้งยาที่ระงับหรือป้องกันอาการอักเสบเฉียบพลันที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs; NSAID) เช่น Ibuprofen, indomethacin ก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการกินยาในปริมาณสูง เป็นสาเหตุให้เกิดแผลหรือเลือดออกในกระเพาะ มีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เป็นผลเสียต่อผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหัวใจร่วมด้วย

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเกาต์ที่มีอาการไตเสื่อมอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันขึ้น ซึ่งยาในกลุ่ม NSAID นี้มีกลไกในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxygenase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างสาร prostanoids ซึ่งร่างกายผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองและกำจัดสิ่งแปลกปลอม ส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้น แต่การยับยั้งเป็นแบบไม่เฉพาะเจาะจง ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่นแผลในกระเพาะอาหารขึ้นได้ มีรายงานการวิจัยที่กล่าวถึงศักยภาพของเห็ดในการต้านการอักเสบ รวมถึงลดการหลั่งของสารที่เกี่ยวข้องกับกลไกการอักเสบของร่างกาย อาทิ interferon-g (IFN-g), IL-2, and IL-6 นอกจากนี้เมื่อนำมาทดสอบในสัตว์ทดลอง ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์

จากข้อมูลข้างต้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญเกษตรสร้างสรรค์ ร่วมกับคณาจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย ผศ. อุษณา พัวเพิ่มพูนศิริ และ ผศ.วริษฎา ศิลาอ่อน ทำการวิจัยเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเห็ด เพื่อลดสภาวะปวด อักเสบของข้อที่เกิดจากอาการโรคเกาต์ และเพื่อเป็นอีกทางเลือกในการบรรเทาอาการอักเสบที่เกิดเนื่องจากสภาวะของโรคเกาต์

ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพรูปแบบเม็ด ผลิตจากวัตถุดิบที่ผ่านขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (สายพันธุ์เห็ดนางรม เห็ดหอม และนางฟ้า ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสารเบต้ากลูแคนสูง รวมถึงวัสดุเพาะที่ปรับปรุงสูตรเฉพาะเหมาะสำหรับการผลิตเบต้ากลูแคน) โดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ผ่านมาตรฐานการผลิตยาเม็ดตามเภสัชตำรับ มีปริมาณเบต้ากลูแคน 0.16 % w/w ( ประมาณ 0.5 มก./ เม็ด) ปริมาณ Total phenolic compound มีค่าระหว่าง 1.99±0.07 ถึง 3.26±0.05 mgGAE/g Extract ทดสอบ Cytotoxicity ด้วยวิธี MTT assay ต่อ human monocyte U-937 พบว่าค่า CC50 ต่อเซลล์ U-937 มีค่ามากกว่า 82.68 mg/ml. ทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ของ crude extract ของเห็ดทั้งสามชนิด ต่อ การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านการอักเสบ พบว่า crude extract ของเห็ดหอม ที่ความเข้มข้น 60 ug/ml สามารถลดการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการอักเสบ TGF- β1 และ IRF5 เช่นเดียวกับผลของ crude extract ของเห็ดนางฟ้าที่สามารถเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอักเสบ ในเซลล์ U-397 ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดสภาวะอักเสบด้วย PMA ในขณะที่สารสกัดจากเห็ดนางรม สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในสภาวะปกติ โดยการเพิ่มการแสดงออกของยีน TGF- β1

คอทุเรียนเฮต่อ เมืองชุมพรให้ผลผลิตเกือบ 1.3 แสนตัน ออกสู่ตลาดเยอะเดือนมิถุนายน-ตุลาคม สร้างรายได้เข้าจังหวัดกว่า 6,000 ล้านบาท ต่อปี ผู้ว่าฯ เข้ม งัดกฎหมายลงโทษคนค้าทุเรียนอ่อน หวั่งทำลายตลาดส่งออก ด้านเกษตรจังหวัดเร่งปั้นมาตรฐาน GAP ทุเรียน

นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า steelexcel.com จังหวัดชุมพรเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของประเทศ มีเนื้อที่ปลูกเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดจันทบุรี ซึ่งข้อมูลปี 2560 จังหวัดชุมพรมีเนื้อที่ปลูกทุเรียน 164,099 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 114,572 ไร่ ประมาณการผลผลิตมีจำนวน 128,894 ตัน ผลผลิตออกสู่ตลาดกระจายตัวเกือบทั้งปี สร้างรายได้ให้แก่จังหวัดไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ต่อปี และเกษตรกรปลูกทุเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ประกอบกับช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ทุเรียนในตลาดภายในและส่งออกมีราคาสูงมาก จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนกันเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม จังหวัดชุมพรมักประสบปัญหาเรื่องการตัดทุเรียนอ่อน เนื่องจากมีการออกดอกหลายรุ่นในต้นเดียวกัน เกษตรกรขาดความชำนาญในการตัด และราคาทุเรียนต้นฤดูกาลมักจะแพง เกษตรกรจึงรีบตัดทั้งที่ยังสุกไม่ได้ที่ เพื่อให้ขายได้ราคา

นอกจากนี้ ยังมีทุเรียนอ่อนจากต่างจังหวัดปะปนมาในพื้นที่จังหวัดชุมพรด้วย เนื่องจากมีโรงคัดบรรจุผลไม้ แผงร้านค้า พ่อค้าต่างถิ่น ได้รวบรวมทุเรียนจากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้มาคัดแยกคุณภาพ เพื่อส่งออกต่างประเทศ หรือส่งไปจังหวัดต่างๆ เพื่อบริโภคภายในประเทศ

“ทุเรียนอ่อนมักพบวางขายตามแผงค้าผลไม้ริมทาง หากมีการส่งทุเรียนอ่อนไปต่างประเทศจะมีผลทำให้ราคาทุเรียนทั้งระบบตกต่ำ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจของจังหวัดและของประเทศ โดยในฤดูกาลผลิตปี 2560 ทุเรียนจะออกสู่ตลาดมากตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2560 จังหวัดจึงต้องมีมาตรการในการควบคุมไม่ให้มีการซื้อขายทุเรียนอ่อนในจังหวัดโดยเด็ดขาด

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องบังคับใช้แก่ผู้ซื้อ ผู้ขาย ทุเรียนอ่อน ได้แก่ 1. มาตรา 271 ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47 ผู้ใดเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จ หรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับเกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.3-2556 ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดไว้ดังนี้ ทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง มีน้ำหนักแห้งขั้นต่ำ ร้อยละ 27 พันธุ์ชะนี มีน้ำหนักแห้งขั้นต่ำ ร้อยละ 30 พันธุ์หมอนทอง มีน้ำหนักแห้งขั้นต่ำ ร้อยละ 32, พันธุ์พวงมณี มีน้ำหนักแห้งขั้นต่ำ ร้อยละ 30

ด้าน นายไพสิฐ เกตุสถิตย์ เกษตรจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกทุเรียนที่ได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิงจากอุกทกภัยเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา จำนวน 786 ไร่ จังหวัดได้รับอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือ พืชสวน อัตรา 1,690 บาท/ไร่ โดยครั้งที่ 1 อนุมัติแล้ว 471,388.84 บาท ครั้งที่ 2 อนุมัติ 2,511,290.81 บาท