ปี 2560 ทางศูนย์ได้เปิดอบรมอาชีพเกษตรกรรมให้กับครอบครัว

หลังจากเกี่ยวข้าวนาปี ชาวบ้านชำบุ่น ตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ทำนาได้ปีละหน ยังพอมีน้ำที่ขุดบ่อ ขุดสระ และพอมีอยู่ในท้องลำห้วย รวมกลุ่มกันเพาะปลูก “กระเทียม” ปลูกแบบธรรมชาติ ไม่ใช่ว่าปลูกปล่อยตามมีตามเกิด แต่เป็นการปลูกแบบภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง

กระเทียมชำบุ่น มีชื่อเสียงมานานปีแล้ว ถึงคุณภาพความเผ็ด ฉุนหอม แกร่ง เก็บไว้กินได้นาน เป็นที่สนใจของคนทั่วไป เพราะปัญหาใหญ่ของผู้บริโภคกระเทียมคือ ผิดหวังที่ไม่อาจจะหากระเทียมที่เก็บไว้ได้นานๆ ทำให้จำเป็นต้องซื้อกระเทียมไว้กินทีละเล็กทีละน้อย หมดแล้วค่อยซื้อใหม่ ซึ่งการซื้อกระเทียมแบบย่อยๆ จะแพงมาก ยิ่งช่วงที่ห่างจากฤดูกาลให้ผลผลิตคือ พฤษภาคมไปจนถึงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีเทศกาล และช่วงเวลาที่ต้องประกอบอาหารการกินมาก กระเทียมระยะนั้นจะแพงมาก กระเทียมชำบุ่น หัวกระเทียมเล็ก แกร่ง ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เก็บไว้กินได้นานมากเกิน 6 เดือน ถือว่าคุ้มค่าที่ซื้อเก็บไว้ใช้ได้นาน ดีกว่าซื้อกระเทียมย่อย จะใช้ประกอบอาหารที ต้องซื้อที เพราะกระเทียมที่ซื้อมาฝ่อเร็วมาก ถ้าซื้อมามากก็ได้ใช้ครึ่งทิ้งครึ่ง

ภูมิปัญญาการปลูกกระเทียมของชาวบ้านชำบุ่น จากเหตุผล ทุนน้อย น้ำน้อย แรงงานน้อย เครื่องจักรกลทุ่นแรงมีน้อย ผลผลิตอาจจะได้น้อย แต่คุณภาพไม่น้อยแน่ เริ่มต้นจากการเตรียมดิน โดยการถากถางตอซังข้าวพร้อมกับต้นวัชพืชต่างๆ ในนา แล้วใช้รถไถเดินตาม หรือบ้างใช้แรงงานคน ขุดไถแหวกร่องผ่าแบ่งแปลงเป็นช่วงๆ เพื่อเป็นทางเอาน้ำเข้า และระบายน้ำออกในกรณีน้ำมากเกินไป ดินที่แหวกร่องก็ฟื้นขึ้นมาทุบเกลี่ยบนแปลงที่ถากตอซังแล้วปรับหน้าดินให้เรียบ เรียกว่าปลูกแบบไม่ขุดดินทั้งผืนแต่ขุดเฉพาะร่องน้ำ

ปลูกกระเทียมที่แกะเป็นกลีบๆ แล้วลงบนแปลง ระยะ 10×10 หรือ 15×15 เซนติเมตร คือถ้าใช้พันธุ์กลีบเล็กจะใช้ระยะถี่ จะใช้พันธุ์กระเทียมที่แกะกลีบแล้ว 60-80 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่บางแปลงใช้มาก 100-120 กิโลกรัม ต่อไร่ ใช้ฟางแห้งคลุมแปลง ซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นของดินในหน้าแล้งเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ได้เป็นอย่างดี โดยที่ให้น้ำเพียง 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง ตอนเดือนที่ 3 ให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง และเดือนสุดท้ายจะเริ่มงดให้น้ำ โดยเฉพาะ 10 วันสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวจะงดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นกระเทียมปรับสภาพตัวมันเอง คายน้ำ คายปุ๋ยต่างๆ ออกจนหมด เหลือกระเทียมที่มีหัว เนื้อ เปลือก และมวลสารอาหารสำคัญ เช่น อินทรีย์กำมะถันและสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคนเราเท่านั้น

ถามกันมามากว่า กระเทียม ที่ปลูกบ้านชำบุ่น เขาใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี กันบ้างไหม ตอบได้เลยว่าไม่ได้ใช้เลย ด้วยศักยภาพพื้นที่ และกรรมวิธีการปลูกแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน การไม่ไถพรวนดินทั้งแปลง จะสามารถควบคุมวัชพืชได้ดีมาก แต่ข้อเสียอาจจะมีที่การอุ้มน้ำของดินมีน้อย ชาวบ้านใช้ฟางคลุมแปลงถือว่าช่วยได้ ยาฆ่าหญ้าไม่ได้ใช้เลย ส่วนโรคแมลงมีบ้าง แต่ก็มีบ้างเล็กน้อย จะป้องกันกำจัดโดยใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราเขียวไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราขาวบิวเวอเรีย (Beauveria Bassiana) หรือใช้น้ำสกัดชีวภาพ น้ำสกัดสมุนไพร มีการปรับปรุงดินให้เหมาะสมโดยใช้ปูนขาว และใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ใช้มูลไก่ มูลสุกร แต่ก็จะหายากขึ้นทุกวัน ถ้าจะใช้มูลวัว มูลควาย ก็จะมีปัญหาหญ้าขึ้นเยอะมาก เลยใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดซึ่งสะดวกสบายในการใช้มากกว่า

การเก็บเกี่ยวกระเทียม เป็นสาระและจุดเด่นที่สำคัญมาก กระเทียมชำบุ่นที่แท้ ต้องเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุนับจากวันปลูกเกิน 120 วัน บางแปลงปล่อยจนแห้งคาแปลง ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาในการมัดจุก เพราะก้านใบกระเทียมชำบุ่น มีความแข็งและเหนียวมาก เมื่อมีการปล่อยให้แห้งจัด น้ำหนักจะเบา ผลผลิตจะได้ประมาณ 500-800 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งปกติกระเทียมทั่วไปจะให้น้ำหนักสด 1,200-1,500 กิโลกรัม ต่อไร่ ถือได้ว่ากระเทียมชำบุ่นให้ผลผลิตต่ำมาก แต่เรียกได้ว่าต่ำแบบได้คุณภาพเต็มร้อย ปลอดภัยไร้สารพิษ เก็บไว้บริโภคได้นานวัน ผู้บริโภค ผู้ผลิตมั่นใจ ภาคภูมิใจ และพึงพอใจในผลผลิตนี้

คนชำบุ่นมีเรื่องดีงาม จากคำบอกเล่าของคนเก่าเขาว่า คนบ้านชำบุ่น หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อก่อนเก่าพื้นที่นี้มีการปลูก “หอมขาว” กันมานานแล้ว หอมขาว หรือกระเทียม หรือ “หอมเตียม” คนบ้านนี้ปลูกกินกันมาหลายชั่วอายุคน แต่จะมีปลูกกันมานานสักเท่าใด ไม่มีใครรู้

ปลูกกระเทียมแบบสมัยเก่าก็เพียงแค่วางกลีบ หรือไม่ถ้ากระเทียมนั้นกลีบเล็กๆ โตเท่าเมล็ดถั่วลิสง ก็ใช้วิธีหยอดหรือหว่านลงแปลงแล้วใช้ฟางข้าวหรือเศษหญ้ากลบทับเท่านั้น อาศัยน้ำอาศัยอาหารพืชจากในดิน ที่ก่อนหน้าทำนาใช้วัวควายไถนามันก็ขี้เยี่ยว ถ่ายมูล เป็นปุ๋ยลงไปสู่ดิน เหลือจากข้าวดูดไปใช้แล้วก็แบ่งให้พืชที่ชาวบ้านหว่านลงไปต่อจากข้าว เช่น ผักกาดขม ผักชีลาว หอมแดง ผักชี หรือหอมน้อย หรือหอมป้อม และกระเทียม ให้โตอีกระยะก่อนน้ำจะหมดไปจากดิน อีกอย่างอาจจะเป็นเพราะสภาพดินบ้านชำบุ่น จะเป็นดินที่แปลกกว่าถิ่นอื่นๆ เป็นดินนาที่อยู่ชายป่าและริมน้ำในสภาพที่เรียกว่า ครบธรรมชาติ ป่า-น้ำ-ดิน-ฟ้า มารวมกัน ดินที่ชะล้างพังทลายจากป่าเขาผสมกับดินจากน้ำไหลจากห้วยน้ำใหญ่ ออกมามีครบทั้งเหนียว ร่วน ทราย และหนำซ้ำยังมีขี้เถ้าคล้ายดินภูเขาไฟอีกต่างหาก

เอกลักษณ์หนึ่งของกระเทียมชำบุ่น คือ การมัดจุก จะรวบรวมหัวและก้านกระเทียมที่ถอนมา และผึ่งแดดแห้งแล้วกำ กำละครึ่งกิโลกรัมถึง 1 กิโลกรัม มัดตอกตรงปลายก้านใบ ห่างจากหัว 1 คืบ แล้วพลิกกลับมัดจุก ให้กลับปลายก้านอยู่ด้านใน และรวมมัดข้างนอกซ้ำอีก 2-3 เปลาะ แล้วแต่ความยาวของก้าน จะได้จุกกระเทียมที่เล็ก กะทัดรัดและมั่นคง ดึงเด็ดหัวมากินจนหมด มัดจุกก็ยังอยู่แน่นอย่างนั้น เหมาะสำหรับผูกแขวนไว้รอการใช้บริโภคนานเกินครึ่งปี อย่างที่เคยบอกไว้แต่ต้นนี่แหละ “กระเทียมชำบุ่น” แห่งน้ำปาด อุตรดิตถ์ ฝากไว้ในความสนใจของทุกท่านครับ สนใจติดต่อได้ที่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมชำบุ่น ป้าศรีนวล โทร. (097) 321-9253, (097) 163-9135 ในการติดต่ออยากจะให้ใช้ความใจเย็นหน่อย เพราะพื้นที่บ้านชำบุ่น สัญญาณการสื่อสารไม่แรงมากนัก

กระเทียม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ampelopra sum เป็นพืชที่กำเนิดในแถบทวีปเอเชีย เป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน จัดอยู่ในประเภทพืชผัก วงศ์ Alliaceae มีพืชที่อยู่ในตระกูลเรียงพี่เรียงน้องกัน คือ กระเทียมหัว กระเทียมใบ หอมหัวใหญ่ หอมแดง และหอมแบ่ง กระเทียมหัว (Garlic) มีชื่อเรียกทางภาคกลางและทั่วไปว่า กระเทียม ภาคเหนือเรียก หอมเตียม หอมเทียม ภาคใต้เรียก เทียม หัวเทียม อีสานแถวอุดรธานีเรียก กระเทียมขาว หอมขาว

สาระสำคัญของกระเทียม ที่ทำให้กระเทียมมีสรรพคุณและคุณภาพความเป็นกระเทียมดังที่รู้จักกัน กระเทียมจะมีกลิ่นหอมฉุน มีน้ำมันหอมระเหย คือสารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน เมื่อถูกเอนไซม์อัลลิเนส เป็นตัวเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำมันกระเทียม (Garlic Oil) กระเทียมจะมีกลิ่นหอมก็ต่อเมื่อ อัลลิอิน และ อัลลิเนส ซึ่งปกติจะแยกกันอยู่คนละส่วน เมื่อถูกทุบ หั่น หรือทำให้ช้ำ สารทั้ง 2 ชนิด จะรวมกันทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี กลายเป็นสารอัลลิซิน ในรูปน้ำมันที่มีประโยชน์ อัลลิอิน อัลลิเนส และอัลลิซิน ในกระเทียมสดทั้งหัว ปกติจะไม่มีกลิ่น กลิ่นตามมาทีหลังเมื่อเกิดปฏิกิริยาดังที่กล่าวมา

สรรพคุณของกระเทียม เป็นยาปฏิชีวนะ ฆ่าเชื้อ แก้อักเสบ ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ ป้องกันโรคหวัด วัณโรค หรือนิวโมเนีย โรคคอตีบ ปอดบวม ไทฟอยด์ มาลาเรีย คออักเสบ ไอ ไข้ อหิวาตกโรค ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ขับลมภายในกระเพาะ แก้ท้องอืดเฟ้อ รักษาแผลสด แผลเป็นหนอง โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า เชื้อราในร่มผ้า ปวดฟันจากฟันผุ ปวดหู หูอื้อ หูตึง และที่ให้ความสนใจในหมู่ สว.สูงวัย คือ บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ

สรรพคุณของกระเทียมมีมากมาย กว่า 200 อย่าง การกินกระเทียมไม่ว่าจะรูปแบบไหน ประโยชน์ที่ได้รับมากมาย บรรพบุรุษเราก็ใช้ประโยชน์จากกระเทียมมากันนับไม่รู้กี่รุ่นกี่ยุคกี่สมัย ชาวโลกทั่วไปก็รู้จักใช้ประโยชน์ และบอกเล่าสืบต่อกันมานานนับร้อยๆ ปี จะถือได้ว่า กระเทียม เป็นพืชโบราณที่เปี่ยมล้นด้วยนานาสรรพคุณ มหาศาลด้วยคุณประโยชน์ ที่สุดแห่งพืชที่เอื้อประโยชน์แก่มนุษย์โลกมาอย่างยาวนาน แล้วเราจะปล่อยปละละเลยไม่สนใจ หรือทิ้งไปจากความเชื่อถือและความสำคัญ โดยเฉพาะ กระเทียมชำบุ่น ปลอดภัยระดับอินทรีย์ หัวเล็ก กลีบเล็ก คุณภาพสูง ไม่ควรห่างหายไกลจากความรำลึกถึง

หลังจากเกี่ยวข้าวนาปี ชาวบ้านชำบุ่น ตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ทำนาได้ปีละหน ยังพอมีน้ำที่ขุดบ่อ ขุดสระ และพอมีอยู่ในท้องลำห้วย รวมกลุ่มกันเพาะปลูก “กระเทียม” ปลูกแบบธรรมชาติ ไม่ใช่ว่าปลูกปล่อยตามมีตามเกิด แต่เป็นการปลูกแบบภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง

กระเทียมชำบุ่น มีชื่อเสียงมานานปีแล้ว ถึงคุณภาพความเผ็ด ฉุนหอม แกร่ง เก็บไว้กินได้นาน เป็นที่สนใจของคนทั่วไป เพราะปัญหาใหญ่ของผู้บริโภคกระเทียมคือ ผิดหวังที่ไม่อาจจะหากระเทียมที่เก็บไว้ได้นานๆ ทำให้จำเป็นต้องซื้อกระเทียมไว้กินทีละเล็กทีละน้อย หมดแล้วค่อยซื้อใหม่ ซึ่งการซื้อกระเทียมแบบย่อยๆ จะแพงมาก ยิ่งช่วงที่ห่างจากฤดูกาลให้ผลผลิตคือ พฤษภาคมไปจนถึงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีเทศกาล และช่วงเวลาที่ต้องประกอบอาหารการกินมาก กระเทียมระยะนั้นจะแพงมาก กระเทียมชำบุ่น หัวกระเทียมเล็ก แกร่ง ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เก็บไว้กินได้นานมากเกิน 6 เดือน ถือว่าคุ้มค่าที่ซื้อเก็บไว้ใช้ได้นาน ดีกว่าซื้อกระเทียมย่อย จะใช้ประกอบอาหารที ต้องซื้อที เพราะกระเทียมที่ซื้อมาฝ่อเร็วมาก ถ้าซื้อมามากก็ได้ใช้ครึ่งทิ้งครึ่ง

ภูมิปัญญาการปลูกกระเทียมของชาวบ้านชำบุ่น จากเหตุผล ทุนน้อย น้ำน้อย แรงงานน้อย เครื่องจักรกลทุ่นแรงมีน้อย ผลผลิตอาจจะได้น้อย แต่คุณภาพไม่น้อยแน่ เริ่มต้นจากการเตรียมดิน โดยการถากถางตอซังข้าวพร้อมกับต้นวัชพืชต่างๆ ในนา แล้วใช้รถไถเดินตาม หรือบ้างใช้แรงงานคน ขุดไถแหวกร่องผ่าแบ่งแปลงเป็นช่วงๆ เพื่อเป็นทางเอาน้ำเข้า และระบายน้ำออกในกรณีน้ำมากเกินไป ดินที่แหวกร่องก็ฟื้นขึ้นมาทุบเกลี่ยบนแปลงที่ถากตอซังแล้วปรับหน้าดินให้เรียบ เรียกว่าปลูกแบบไม่ขุดดินทั้งผืนแต่ขุดเฉพาะร่องน้ำ

ปลูกกระเทียมที่แกะเป็นกลีบๆ แล้วลงบนแปลง ระยะ 10×10 หรือ 15×15 เซนติเมตร คือถ้าใช้พันธุ์กลีบเล็กจะใช้ระยะถี่ จะใช้พันธุ์กระเทียมที่แกะกลีบแล้ว 60-80 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่บางแปลงใช้มาก 100-120 กิโลกรัม ต่อไร่ ใช้ฟางแห้งคลุมแปลง ซึ่งจะช่วยรักษาความชื้นของดินในหน้าแล้งเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ได้เป็นอย่างดี โดยที่ให้น้ำเพียง 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง ตอนเดือนที่ 3 ให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง และเดือนสุดท้ายจะเริ่มงดให้น้ำ โดยเฉพาะ 10 วันสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยวจะงดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นกระเทียมปรับสภาพตัวมันเอง คายน้ำ คายปุ๋ยต่างๆ ออกจนหมด เหลือกระเทียมที่มีหัว เนื้อ เปลือก และมวลสารอาหารสำคัญ เช่น อินทรีย์กำมะถันและสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคนเราเท่านั้น

ถามกันมามากว่า กระเทียม ที่ปลูกบ้านชำบุ่น เขาใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี กันบ้างไหม ตอบได้เลยว่าไม่ได้ใช้เลย ด้วยศักยภาพพื้นที่ และกรรมวิธีการปลูกแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน การไม่ไถพรวนดินทั้งแปลง จะสามารถควบคุมวัชพืชได้ดีมาก แต่ข้อเสียอาจจะมีที่การอุ้มน้ำของดินมีน้อย ชาวบ้านใช้ฟางคลุมแปลงถือว่าช่วยได้ ยาฆ่าหญ้าไม่ได้ใช้เลย ส่วนโรคแมลงมีบ้าง แต่ก็มีบ้างเล็กน้อย จะป้องกันกำจัดโดยใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราเขียวไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราขาวบิวเวอเรีย (Beauveria Bassiana) หรือใช้น้ำสกัดชีวภาพ น้ำสกัดสมุนไพร มีการปรับปรุงดินให้เหมาะสมโดยใช้ปูนขาว และใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ใช้มูลไก่ มูลสุกร แต่ก็จะหายากขึ้นทุกวัน ถ้าจะใช้มูลวัว มูลควาย ก็จะมีปัญหาหญ้าขึ้นเยอะมาก เลยใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดซึ่งสะดวกสบายในการใช้มากกว่า

การเก็บเกี่ยวกระเทียม เป็นสาระและจุดเด่นที่สำคัญมาก กระเทียมชำบุ่นที่แท้ ต้องเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุนับจากวันปลูกเกิน 120 วัน บางแปลงปล่อยจนแห้งคาแปลง ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาในการมัดจุก เพราะก้านใบกระเทียมชำบุ่น มีความแข็งและเหนียวมาก เมื่อมีการปล่อยให้แห้งจัด น้ำหนักจะเบา ผลผลิตจะได้ประมาณ 500-800 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งปกติกระเทียมทั่วไปจะให้น้ำหนักสด 1,200-1,500 กิโลกรัม ต่อไร่ ถือได้ว่ากระเทียมชำบุ่นให้ผลผลิตต่ำมาก แต่เรียกได้ว่าต่ำแบบได้คุณภาพเต็มร้อย ปลอดภัยไร้สารพิษ เก็บไว้บริโภคได้นานวัน ผู้บริโภค ผู้ผลิตมั่นใจ ภาคภูมิใจ และพึงพอใจในผลผลิตนี้

คนชำบุ่นมีเรื่องดีงาม จากคำบอกเล่าของคนเก่าเขาว่า คนบ้านชำบุ่น หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อก่อนเก่าพื้นที่นี้มีการปลูก “หอมขาว” กันมานานแล้ว หอมขาว หรือกระเทียม หรือ “หอมเตียม” คนบ้านนี้ปลูกกินกันมาหลายชั่วอายุคน แต่จะมีปลูกกันมานานสักเท่าใด ไม่มีใครรู้

ปลูกกระเทียมแบบสมัยเก่าก็เพียงแค่วางกลีบ หรือไม่ถ้ากระเทียมนั้นกลีบเล็กๆ โตเท่าเมล็ดถั่วลิสง ก็ใช้วิธีหยอดหรือหว่านลงแปลงแล้วใช้ฟางข้าวหรือเศษหญ้ากลบทับเท่านั้น อาศัยน้ำอาศัยอาหารพืชจากในดิน ที่ก่อนหน้าทำนาใช้วัวควายไถนามันก็ขี้เยี่ยว ถ่ายมูล เป็นปุ๋ยลงไปสู่ดิน เหลือจากข้าวดูดไปใช้แล้วก็แบ่งให้พืชที่ชาวบ้านหว่านลงไปต่อจากข้าว เช่น ผักกาดขม ผักชีลาว หอมแดง ผักชี หรือหอมน้อย หรือหอมป้อม และกระเทียม ให้โตอีกระยะก่อนน้ำจะหมดไปจากดิน อีกอย่างอาจจะเป็นเพราะสภาพดินบ้านชำบุ่น จะเป็นดินที่แปลกกว่าถิ่นอื่นๆ เป็นดินนาที่อยู่ชายป่าและริมน้ำในสภาพที่เรียกว่า ครบธรรมชาติ ป่า-น้ำ-ดิน-ฟ้า มารวมกัน ดินที่ชะล้างพังทลายจากป่าเขาผสมกับดินจากน้ำไหลจากห้วยน้ำใหญ่ ออกมามีครบทั้งเหนียว ร่วน ทราย และหนำซ้ำยังมีขี้เถ้าคล้ายดินภูเขาไฟอีกต่างหาก

เอกลักษณ์หนึ่งของกระเทียมชำบุ่น คือ การมัดจุก จะรวบรวมหัวและก้านกระเทียมที่ถอนมา และผึ่งแดดแห้งแล้วกำ กำละครึ่งกิโลกรัมถึง 1 กิโลกรัม มัดตอกตรงปลายก้านใบ ห่างจากหัว 1 คืบ แล้วพลิกกลับมัดจุก ให้กลับปลายก้านอยู่ด้านใน และรวมมัดข้างนอกซ้ำอีก 2-3 เปลาะ แล้วแต่ความยาวของก้าน จะได้จุกกระเทียมที่เล็ก กะทัดรัดและมั่นคง ดึงเด็ดหัวมากินจนหมด มัดจุกก็ยังอยู่แน่นอย่างนั้น เหมาะสำหรับผูกแขวนไว้รอการใช้บริโภคนานเกินครึ่งปี อย่างที่เคยบอกไว้แต่ต้นนี่แหละ “กระเทียมชำบุ่น” แห่งน้ำปาด อุตรดิตถ์ ฝากไว้ในความสนใจของทุกท่านครับ สนใจติดต่อได้ที่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมชำบุ่น ป้าศรีนวล โทร. (097) 321-9253, (097) 163-9135 ในการติดต่ออยากจะให้ใช้ความใจเย็นหน่อย เพราะพื้นที่บ้านชำบุ่น สัญญาณการสื่อสารไม่แรงมากนัก

กระเทียม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ampelopra sum เป็นพืชที่กำเนิดในแถบทวีปเอเชีย เป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน จัดอยู่ในประเภทพืชผัก วงศ์ Alliaceae มีพืชที่อยู่ในตระกูลเรียงพี่เรียงน้องกัน คือ กระเทียมหัว กระเทียมใบ หอมหัวใหญ่ หอมแดง และหอมแบ่ง กระเทียมหัว (Garlic) มีชื่อเรียกทางภาคกลางและทั่วไปว่า กระเทียม ภาคเหนือเรียก หอมเตียม หอมเทียม ภาคใต้เรียก เทียม หัวเทียม อีสานแถวอุดรธานีเรียก กระเทียมขาว หอมขาว

สาระสำคัญของกระเทียม ที่ทำให้กระเทียมมีสรรพคุณและคุณภาพความเป็นกระเทียมดังที่รู้จักกัน กระเทียมจะมีกลิ่นหอมฉุน มีน้ำมันหอมระเหย คือสารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน เมื่อถูกเอนไซม์อัลลิเนส เป็นตัวเปลี่ยนแปลงเป็นน้ำมันกระเทียม (Garlic Oil) กระเทียมจะมีกลิ่นหอมก็ต่อเมื่อ อัลลิอิน และ อัลลิเนส ซึ่งปกติจะแยกกันอยู่คนละส่วน เมื่อถูกทุบ หั่น หรือทำให้ช้ำ สารทั้ง 2 ชนิด จะรวมกันทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี กลายเป็นสารอัลลิซิน ในรูปน้ำมันที่มีประโยชน์ อัลลิอิน อัลลิเนส และอัลลิซิน ในกระเทียมสดทั้งหัว ปกติจะไม่มีกลิ่น กลิ่นตามมาทีหลังเมื่อเกิดปฏิกิริยาดังที่กล่าวมา

สรรพคุณของกระเทียม เป็นยาปฏิชีวนะ ฆ่าเชื้อ แก้อักเสบ ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ ป้องกันโรคหวัด วัณโรค หรือนิวโมเนีย โรคคอตีบ ปอดบวม ไทฟอยด์ มาลาเรีย คออักเสบ ไอ ไข้ อหิวาตกโรค ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ขับลมภายในกระเพาะ แก้ท้องอืดเฟ้อ รักษาแผลสด แผลเป็นหนอง โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า เชื้อราในร่มผ้า ปวดฟันจากฟันผุ ปวดหู หูอื้อ หูตึง และที่ให้ความสนใจในหมู่ สว.สูงวัย คือ บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ

สรรพคุณของกระเทียมมีมากมาย กว่า 200 อย่าง การกินกระเทียมไม่ว่าจะรูปแบบไหน ประโยชน์ที่ได้รับมากมาย บรรพบุรุษเราก็ใช้ประโยชน์จากกระเทียมมากันนับไม่รู้กี่รุ่นกี่ยุคกี่สมัย ชาวโลกทั่วไปก็รู้จักใช้ประโยชน์ และบอกเล่าสืบต่อกันมานานนับร้อยๆ ปี จะถือได้ว่า กระเทียม เป็นพืชโบราณที่เปี่ยมล้นด้วยนานาสรรพคุณ มหาศาลด้วยคุณประโยชน์ ที่สุดแห่งพืชที่เอื้อประโยชน์แก่มนุษย์โลกมาอย่างยาวนาน แล้วเราจะปล่อยปละละเลยไม่สนใจ หรือทิ้งไปจากความเชื่อถือและความสำคัญ โดยเฉพาะ กระเทียมชำบุ่น ปลอดภัยระดับอินทรีย์ หัวเล็ก กลีบเล็ก คุณภาพสูง ไม่ควรห่างหายไกลจากความรำลึกถึง

“ ฝรั่ง ” เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางด้านโภชนาการ เนื้อกรอบมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม ฝรั่ง ปลูกดูแลง่ายให้ผลผลิตจำนวนมาก ขายได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เกษตรกรจึงนิยมปลูกฝรั่งเป็นไม้ผลทำเงินกันอย่างแพร่หลาย

เกษตรกรนิยมปลูกฝรั่งบนคันร่อง ก่อนปลูกจะตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน เพื่อทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของโรคแมลงศัตรูพืชต่างๆ ให้หมดไป จากนั้นเตรียมหลุมปลูกกว้างยาวลึกด้านละประมาณ 1 ศอก หรือด้านละ 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกหรือขี้ไก่ และแกลบ รองก้นหลุมเพื่อช่วยทำให้ดินชุ่ม ดินฟู แล้วนำต้นพันธุ์ฝรั่งลงปลูกเกลี่ยดินกลบแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ต้นฝรั่ง

ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3 เมตร แตกกิ่งก้านบริเวณใกล้โคนต้น แตกหน่อจากราก เปลือกสีน้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเขียว เมื่อลำต้นแก่เปลือกจะลอกออกมาเอง ใบเป็นใบคู่ ใบอ่อนสีเขียว ใบไม่เรียบ ด้านบนใบมีร่องลึก ด้านหลังใบเรียบ ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมน ผลมีรูปร่างกลมในลักษณะต่างๆ กัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-9 เซนติเมตร เนื้อกรอบ รสชาติอร่อย เกษตรกรนิยมปลูกฝรั่งไร้เมล็ดและฝรั่งแป้นสีทอง เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ซื้อ

การปลูกดูแล

หลังปลูกเกษตรกรต้องคอยดูแลรักษาแปลงปลูกฝรั่งอย่างสม่ำเสมอ คอยป้องกันโรคแมลงศัตรูฝรั่งที่จะเข้ามาทำลายไม่ให้เกิดความเสียหาย การใส่ปุ๋ยครั้งแรกได้ใส่ปุ๋ยคอกหรือขี้ไก่ และแกลบ ใส่รองก้นหลุมเพื่อช่วยทำให้ดินชุ่ม ดินฟู สำหรับต้นเล็กที่ปลูกใหม่จะใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 กำมือ ต่อต้น ส่วนต้นใหญ่เพิ่มอัตราส่วนตามคำแนะนำการใช้ปุ๋ยในฉลาก

น้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นฝรั่ง การให้น้ำทุกครั้ง ต้องคอยสังเกตความชุ่มชื้นของดินบนแปลงปลูกเพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้น้ำในปริมาณเท่าใดต่อครั้ง โดยเฉลี่ยได้ให้น้ำต้นฝรั่ง 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์

เผยเทคนิค เพิ่มผลผลิต “ ฝรั่ง”

การตัดยอด การรูดใบ และโน้มกิ่ง เป็นเทคนิคหนึ่งที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งมีเทคนิควิธีการ ดังต่อไปนี้

การตัดยอดหรือเด็ดยอด เป็นวิธีการเพิ่มจำนวนยอดและให้ผลผลิตได้มากขึ้น วิธีการปฏิบัติคือจะนับจากปลายยอดลงมายาวประมาณ 1 ศอก ใช้กรรไกรตัดบริเวณที่ต้องการ หลังจากตัดยอดได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ต้นฝรั่งจะเริ่มให้ผลผลิตและได้จำนวนผลต่อต้นมากขึ้นด้วย ข้อควรระวังต้องใช้ไม้ค้ำเพื่อป้องกันหรือเพื่อการรองรับน้ำหนักจำนวนผลฝรั่งที่มีมากและไม่ให้กิ่งฉีกขาด

การโน้มกิ่ง หลังจากปลูกแล้ว 5 เดือน สมัครเว็บคาสิโน จะเริ่มโน้มกิ่งเพื่อทำทรงพุ่มให้สวย การโน้มกิ่งจะจัดกิ่งให้โค้งพอประมาณ โดยจุดที่ผูกกิ่งกับไม้ค้ำกิ่งควรให้ห่างจากปลายกิ่งประมาณ 2 ศอก หรือพิจารณาระยะตามความเหมาะสมจากนั้นใช้เชือกฟางมัด หลังจากนั้นที่บริเวณตากิ่งจะแตกยอดออกมาเป็นกิ่งใหม่ วิธีนี้เป็นการเพิ่มจำนวนกิ่งให้ได้มากขึ้นซึ่งก็เท่ากับเป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตได้มากขึ้นเช่นกัน

การรูดใบที่กิ่ง เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตคือ เลือกกิ่งที่เหมาะสมแล้วใช้มืดรูดใบออกทั้งหมดจะทำให้บริเวณตากิ่งแตกยอดออกมาเป็นกิ่งใหม่ วิธีการนี้ทำได้สะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ ใบที่อยู่ใกล้กับผลฝรั่งยังไปเสียดสีถูกจะทำให้ผิวผลฝรั่งเป็นลายไม่สวย ตลาดไม่ต้องการ ขายยาก

“ วิธีการห่อผล” ช่วยให้ฝรั่งมีผิวสวย

การห่อผล เป็นการดูแลรักษาวิธีหนึ่งที่ต้องการให้ผลฝรั่งมีผิวผลสีสวย ไม่เป็นรอยขีดข่วน คุณภาพดี วิธีปฏิบัติคือ ใช้ถุงพลาสติกขนาด 6×14 นิ้ว ห่อผลฝรั่งที่มีขนาดโตกว่าผลมะนาว สวมถุงพลาสติกเข้าไปมัดปากถุงให้แน่น จากนั้นนำกระดาษหนังสือเก่าห่อทับลงไปอีกครั้ง ใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บบริเวณโคนถุง หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 เดือนครึ่ง ก็จะเก็บผลฝรั่งไปขายหรือรับประทาน

ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีโรคแมลงรบกวนน้อย วิธีการป้องกันกำจัดจึงใช้วิธีผสมผสาน ผลผลิตที่ได้จึงปลอดภัยจากสารพิษ เมื่อต้นฝรั่งมีอายุได้ 8 เดือน หลังจากปลูกจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ใน 1 สัปดาห์ เก็บผลฝรั่ง 2 ครั้ง และต้นฝรั่งที่มีอายุ 2 ปี หลังปลูกจะให้ผลฝรั่งมากขึ้น เมื่อเก็บผลฝรั่งแล้วนำไปบรรจุใส่เข่ง น้ำหนักเฉลี่ยเข่งละ 25 กิโลกรัม ก่อนนำไปขาย