ป้องกันกำจัดวัชพืชแบบผสมผสาน ลดการใช้สารเคมีใช้ใบอ้อย

คลุมดินควบคุมวัชพืช กำจัดวัชพืชก่อนออกดอกการให้ปุ๋ย ลดการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-10, 15-15-15 และ 46-0-0 จากเดิมใช้ปุ๋ยปริมาณรวม 70,000 กิโลกรัม (พื้นที่ 1,349 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา) ปัจจุบันใช้ปุ๋ยเคมีลดลง โดยใช้ปุ๋ยเคมีเพียง 1,500-2,000 กิโลกรัม โดยใช้กากหม้อกรอง (Filter cake) มาใส่ในพื้นที่ อัตรา 30-50 ตัน ต่อไร่ แทน

การจัดการโรคและแมลง เลือกใช้พันธุ์อ้อยที่มีความทนทานหรือต้านทานต่อโรค ความยั่งยืนในอาชีพ

– ทำอาชีพไร่อ้อย มาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 33 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2529 ถึงปัจจุบัน (2562)

– มีโรงงานน้ำตาลรองรับผลผลิตอ้อย ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร

– มีรายได้จากการทำไร่อ้อย 100%

– เริ่มอาชีพทำไร่อ้อยต่อจากบิดามารดา จนถึงปัจจุบันปลูกอ้อยบนที่ดินของตนเองและที่เช่า รวม 1,349 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา

– เป็นหัวหน้าโควต้าอ้อย

– สามารถสร้างฐานะ มีทรัพย์สิน/อุปกรณ์ทางการเกษตรจากการทำไร่อ้อย

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ

สมาชิกสภาจังหวัดกำแพงเพชรเขต 2 (2555 ถึงปัจจุบัน)
ประธานสภาเทศบาลตำบลวังยาง (2551-2554)
กรรมการบริหารสมาคมไร่อ้อย เขต 6 (2548-2551)
กรรมการสมาคมไร่อ้อย เขต 6 (2545-2548)
5.เป็นตัวแทนเกษตรกร คัดค้านไม่ให้โรงงานน้ำตาลขาย กากหม้อกรอง (Filter cake) แต่ให้แจกจ่ายให้กับเกษตรกร

6.ช่วยขุดระบายน้ำในพื้นที่การเกษตรที่ตื้นเขินด้วยรถแบ็คโฮส่วนตัว ในพื้นที่ตำบลวังยาง

บริการตักกากหม้อกรอง (Filter cake) ของโรงงานน้ำตาลนครเพชรด้วยรถแบ็คโฮของตนเองให้กับเกษตรกร ที่ไม่มีโควต้าอ้อยกับโรงงานฯ โดยใช้โควต้าอ้อยของตนเอง คิดราคาบริการตักกากหม้อกรอง 150 บาท/คันรถ ในขณะที่โรงงานฯ คิดค่าบริการตัก 750 บาท/คันรถ มีเกษตรกรใช้บริการกว่า 100 ราย รวมพื้นที่อ้อย ไม่น้อยกว่า 10,000 ไร่
8.ผลักดันและร่วมกับชุมชนในการขุดลอกแหล่งน้ำและลำคลองในพื้นที่ตำบลวังบัว ท่ามะเขือ วังยาง และวังแขม หลายสาย รวมระยะทางมากกว่า 150 กิโลเมตร

เป็นวิทยากรให้ความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยกับเกษตรกรไร่อ้อยจังหวัดกำแพงเพชร
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

– ที่ดินที่ปลูกอ้อยทุกแปลงไม่อยู่ในเขตป่าสงวนหรือเขตหวงห้ามของทางราชการ

– ใช้วัสดุเหลือใช้ในการเกษตร ได้แก่ กากหม้อกรอง (Filter cake) ในการปรับปรุงบำรุงดินและเพิ่มผลผลิต
– ใช้ใบอ้อยคลุมดิน หลังเก็บเกี่ยว เพื่อรักษาความชื้นในดิน และป้องกันวัชพืชงอก เป็นการลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช หลังจากนั้น 3-4 เดือน ใช้เครื่องจักรสับใบอ้อยลงดิน เพื่อปรับปรุงบำรุงดินและปรับโครงสร้างดิน

– ใช้หลักการกำจัดวัชพืชโดยวิธีผสมผสานและใช้สารเคมีตามหลักวิธีการอย่างถูกต้องและเหมาะสม ปักษ์นี้จะเล่าถึงเทคนิควิธีการเพาะเลี้ยงล้วนๆ จากประสบการณ์ของเกษตรกรที่ได้ทดลองมาด้วยตนเอง เท่าที่ค้นคว้าหาข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ต ทราบว่าเวลานี้มีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงเห็ดบางรายสามารถพัฒนาเชื้อเห็ดเพื่อการพาณิชย์ได้แล้ว รายแรก เช่น คุณพุฒินันท์ พันธุ์เครือ

คุณพุฒินันท์ เล่าว่า ใครที่สนใจจะเป็นนักทดลองเพาะเห็ดตับเต่า สามารถทำได้ไม่ยากเลย เพียงแค่จัดสร้างสภาพแวดล้อมง่ายๆ ด้วยการจัดให้มีพืชอาศัยของเห็ดแล้วใส่เชื้อเห็ดลงที่โคนต้น จากนั้นใส่ดินและสารอินทรีย์กลบเชื้อ คอยรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในเวลาไม่นานเชื้อเห็ดก็จะเจริญงอกงามสร้างเส้นใยไปทั่วรากไม้ที่มันอิงอาศัยอยู่

เทคนิคในการทำให้เกิดดอกเห็ดนั้น จะต้องบำรุงพืชให้มีรากมาก เพื่อจะได้หาอาหารได้เยอะๆ ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเป็นอาหารของเห็ดและพืช พร้อมทั้งรดน้ำให้มีความชุ่มชื้นมากๆ ในลักษณะของการสร้างสภาพแวดล้อมเทียมหลอกเห็ดให้เหมือนกับว่ามันกำลังเติบโตในธรรมชาติ

ตามธรรมชาตินั้นจะมีช่วงเวลาที่สภาวะอากาศแห้งแล้ง ซึ่งเป็นระยะที่พืชสะสมอาหาร จากนั้นเมื่อเกิดฝนตกใหญ่หรือรดน้ำให้ผืนดินชุ่มชื้นเชื้อเห็ดก็จะเริ่มงอกงาม โดยมีการทดลองวิธีการนี้กับสวนลำไยที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จนประสบผลสำเร็จ ทำให้เกิดเห็ดตับเต่านอกฤดูมาแล้ว ส่วนที่จังหวัดปทุมธานี และสุพรรณบุรี พบว่า สามารถเพาะเห็ดกับสวนมะกอกน้ำได้อย่างดี

คุณพุฒินันท์ ยังแนะนำว่า ถ้าสวนผลไม้ของใครมีต้นมะไฟมากก็มีโอกาสที่จะเพาะเชื้อเห็ดได้ง่ายเช่นกัน แม้ว่าไม้บางต้นยังไม่มีเห็ดมาก่อน เพราะไม่มีเชื้อเลย ก็สามารถพัฒนาให้เกิดเห็ดในอนาคตได้โดยการนำเชื้อเห็ดใส่ลงไปที่โคนต้น โดยจะใช้เชื้อเห็ดต่อไร่ประมาณ 50 บาท

เกษตรกรอีกรายหนึ่งจากจังหวัดสุพรรณบุรีคือ คุณวิชัย ค้นพบเห็ดในดงมะกอกน้ำของตัวเองด้วยความบังเอิญ

เขาเล่าว่าหลังจากปลูกมะกอกน้ำในสวนผ่านไปได้ 2 ปี ภรรยาและคนงานก็พบว่ามีดอกเห็ดเกิดขึ้นใต้ต้นมะกอกเป็นครั้งแรก แต่ตอนนั้นทุกคนไม่รู้ว่าเป็นเห็ดอะไร เลยไม่มีใครกล้านำมาบริโภค

ลักษณะของดอกเห็ดที่พบนั้นมีจำนวนมากอย่างไม่น่าเชื่อ โดยจะงอกเป็นตุ่มเล็กๆ ก่อน จากนั้นภายใน 2-3 วัน ดอกเห็ดก็จะบาน คนงานไม่รู้จะทำอย่างไร ก็เลยเก็บมาขว้างเล่น

ต่อมาวันหนึ่งคุณวิชัยไปเยี่ยมคุณแม่ที่บางปะอิน และถือเห็ดติดมือไปให้แม่ช่วยดูด้วย ปรากฏว่าคุณแม่ดีใจใหญ่ บอกว่าเป็น “เห็ดตับเต่า” กินได้ และอร่อยด้วย

วันต่อมาคุณวิชัยเลยเก็บเห็ดตับเต่าที่เกิดบนสันร่องต้นมะกอกน้ำใส่ตะกร้าไปขายที่ตลาดบางปลาม้า แม่ค้าตีราคาให้กิโลกรัมละ 30 บาท นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เห็ดตับเต่าก็กลายเป็นของรักของหวงประจำสวนมะกอกน้ำแห่งนี้ไปเลย

คุณพิชัย เล่าว่าบริเวณที่พบดอกเห็ดตับเต่ามากที่สุด คือตรงร่องที่ขึ้นแฉะ ซึ่งดอกเห็ดตับเต่าจะเกิดใกล้โคนต้น และแสงแดดจะส่องไม่ถึงบริเวณชายร่องโดยตรง

จากการสอบถามนักวิชาการ คุณวิชัย ได้ความรู้เพิ่มเติมว่า เห็ดตับเต่า เป็น “ไมคอร์ไรซ่า” จะอาศัยอยู่ตามรากของต้นไม้ เท่าที่เคยพบมักจะเป็นพวก ไม้ยูคาลิปตัส, ทองหลาง, ป่าเสม็ด แคบ้าน เป็นต้น แต่ที่พบในรากของต้นมะกอกน้ำถือว่าเป็นของใหม่

เห็ดตับเต่า ในสวนมะกอกน้ำของคุณวิชัยนี้ มีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจคือ ในรอบ 1 ปี นั้นจะเกิดดอกเห็ดตลอดปีทั้ง 12 เดือน เลย โดยแต่ละครั้งสามารถเก็บได้ประมาณ 30 กิโลกรัม มีทั้งดอกเล็กและดอกใหญ่ ดอกใหญ่ ขนาดดอกละ 1 กิโลกรัม ก็เคยพบเห็นมาแล้ว คุณวิชัย เล่าว่าเคยดูดเลนจากท้องร่องขึ้นมาบนสันร่องและใส่ปุ๋ยขี้ไก่ลงไป ก็พบว่าเห็ดเกิดขึ้นมากกว่าปกติ พอดีช่วงนั้นมีหญ้าขึ้นตามร่องแปลง คุณวิชัย เลยใช้ยาฆ่าหญ้าฉีดเพื่อกำจัดวัชพืช ปรากฏว่าสารเคมีส่งผลให้ดอกเห็ดยุบฝ่อลงทันที

เป็นการยืนยันว่าเห็ดราไมคอร์ไรซ่า จะเกิดขึ้นในระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมเท่านั้น นับจากนั้นมา คุณวิชัย ก็เลยไม่กล้าฉีดยาฆ่าหญ้าอีกเลย แต่ใช้วิธีจัดการกำจัดวัชพืชอย่างอื่น เช่น เมื่อต้นหญ้าสูงก็คอยตัดให้สั้นลง

ในสวนมะกอกน้ำของคุณพิชัยนี้พบว่า ดอกเห็ดเกิดมากชุกชุมที่สุดมีอยู่เพียง 2 ท้องร่อง ที่มีสภาพชื้นแฉะกว่าร่องอื่นๆ ท้องร่องที่มีดินแห้งจะพบเห็ดไม่ปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

ด้วยประสบการณ์จริงดังกล่าว ทำให้เกษตรกรนำแนวคิดมาเพาะเห็ดตับเต่าขาย โดยจับจุดเด่นในเรื่องความสัมพันธ์ของราไมคอร์ไรซ่ากับรากพืชมาใช้ ตามทฤษฎีพื้นฐานที่ว่าไมคอร์ไรซ่าจะอาศัยอยู่ตามรากของต้นมะกอกน้ำ

ดังนั้นถ้าหากกวาดใบมะกอกน้ำที่ร่วงหล่นกองอยู่ใต้ต้นมะกอกน้ำมากองเป็นแถวเล็ก ๆ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นนำดอกเห็ดตับเต่าที่สปอร์แก่แล้วมาขยำละลายกับน้ำ นำไปรดบนกองใบมะกอกน้ำใต้ต้นไม้นั้นและควบคุมความชื้นให้ดีก็จะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นได้มากมาย

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสวนมะกอกนี้ ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องการได้เห็ดตับเต่ามาบริโภคง่ายๆ เท่านั้นนะคะ แต่เกษตรกรยังจะได้ท้องร่องสวนที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นมะกอกน้ำด้วย เนื่องจากไมคอร์ไรซ่าไม่ได้เป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้น แต่ยังเกื้อหนุนต้นมะกอกน้ำด้วย โดยการช่วยดึงจุลินทรีย์ และปลดปล่อยน้ำย่อยออกมาให้เป็นประโยชน์ต่อการดูดซึมธาตุอาหารใต้ดินของต้นมะกอกน้ำอีกด้วย

ถ้ามีการเปรียบเทียบต้นมะกอกน้ำที่มีไมคอร์ไรซ่าเห็ดตับเต่ากับที่ไม่มีไมคอร์ไรซ่าเลยย่อมเห็นได้ชัดว่า ต้นที่มีเห็ดตับเต่าย่อมเจริญเติบโตได้ดีกว่า

คุณวิชัย แนะนำว่า สำหรับคนที่สนใจจะเรียนรู้ประสบการณ์ความมหัศจรรย์ของไมคอร์ไรซ่าและพอมีที่ทางปลูกต้นไม้อยู่บ้าง ลองซื้อกิ่งพันธุ์มะกอกน้ำไปปลูกดูเองก็ได้ แนะนำให้ซื้อกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงหน่อยแล้วเลือกซื้อดอกเห็ดตับเต่าที่ยังไม่บานเกินไปหรือตูมเกินไป นำมาขยำกับน้ำแล้วนำไปรดที่โคนต้นมะกอกน้ำ ในไม่ช้าก็จะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน

หรือจะลองวิธีการนี้กับต้นไม้อื่นๆ ที่มีรายงานว่าพบเห็ดตับเต่าขึ้นมาก่อนแล้วก็ได้ เช่น ต้นยูคาลิปตัส มะม่วง ลำไย จามจุรี ชมพูพันธุ์ทิพย์ เป็นต้น

ส่วนรายละเอียดของการเพาะเชื้อเห็ดนั้นมีหลายสูตรด้วยกัน ขออนุญาตนำสูตรของ คุณพุฒินันท์ พันธุ์เครือ มาเล่าพอสังเขป ดังนี้

1. การเพาะเชื้อจากดินสวนเก่า
ให้เก็บกวาดเอาดินผิวดิน ซึ่งจะได้เศษราก ปลายรากขนอ่อน ที่มีเชื้อราเห็ดตับเต่าติดอยู่แล้วหลุดติดมาด้วย เอาเชื้อเหล่านี้ใส่ลงไปในถุงเพาะต้นกล้า ทำให้พืชได้รับเชื้อตั้งแต่อยู่ในถุงเพาะ เมื่อเอามะกอกน้ำไปปลูกก็จะมีเชื้อติดอยู่กับรากนี้ไปตลอดชีวิตของต้นไม้

สำหรับท่านที่มีสวนอยู่แล้วแต่ไม่มีเชื้อเห็ด เราก็ให้เอาดินผิวดินจากสวนอื่นที่มีเชื้ออยู่มาใส่ในบริเวณรอบๆ โคนต้น หรือจะหว่านกระจายบริเวณใต้พุ่ม แล้วหว่านทับด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ เศษพืช ใช้ใบไม้หญ้าแห้งต่างๆ คลุมทับแล้วรดน้ำให้ชุ่มชื้น เชื้อเห็ดจะเจริญไปกับรากพืชได้

ลักษณะของเชื้อเห็ดแบบนี้เป็นเชื้อที่มาอาศัยอยู่กับต้นไม้ตลอดไป ยิ่งถ้าเพาะเมล็ดไปพร้อมกับดินเชื้อเห็ดจะพบว่าไมคอร์ไรซ่าจะเจริญเติบโตไปกับรากไม้อย่างรวดเร็ว เพราะการทำงานของเส้นใยเห็ดมีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะการปล่อยน้ำย่อยไปละลายแร่ธาตุในดินให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย เพราะแร่ธาตุบางอย่างละลายยาก เท่ากับเชื้อราเห็ดได้เอื้อต่อการเจริญของต้นไม้และยังอุ้มไอน้ำในดินให้ชุ่มชื้น ส่งผลต่อการแผ่ขยายรากพืชด้วย ทำให้พืชทนแล้งได้ดียิ่งขึ้น

หากสวนแห่งใดมีเห็ดตับเต่าออกมาให้เก็บรับประทานแล้ว ควรเหลือดอกเห็ดบางส่วนเก็บเป็นเชื้อไว้ โดยปล่อยให้ดอกเห็ดบานเต็มที่ และช่วงนี้เองจะปล่อยสปอร์ร่วงหล่นพื้นดินเป็นจำนวนมาก เมื่อนำเอาดินบริเวณผิวดินมาใช้ก็จะได้ทั้งเชื้อที่เติบโตมาจากรากเดิมและเชื้อจากสปอร์ด้วย วิธีนี้จะช่วยให้การขยายพันธุ์เชื้อเห็ดได้ผลดียิ่งขึ้น

ด้วยวิธีนี้เชื้อไมคอร์ไรซ่าจะเจริญได้รวดเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และไม่จำเป็นต้องใช้ปริมาณดินผิวดินมากนักก็ได้ อาจใช้เพียง 1 ช้อนชา ต่อถุง เพาะเมล็ดพันธุ์พืช 1 ถุง ก็พอ เมื่อรดน้ำให้ชุ่มชื้นแล้ว เชื้อเห็ดจะลงลึกไปถึงรากได้เอง

2. ใช้เชื้อเห็ดบนวุ้นเอามาตัดแปะราก
โดยการเอาดอกเห็ดตับเต่ามาปลูกเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิธีการคือให้เอาดอกอ่อนมาตัดเนื้อเยื่อโดยไม่ให้มีสิ่งอื่นปะปนแล้วเอามาเลี้ยงบนอาหารวุ้นจนเติบโต จากนั้นเอามาแปะไว้กับรากต้นไม้ที่ล้างสะอาดแล้ว ก่อนจะใส่ลงในถุงเพาะชำแล้วเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 1-2 เดือน ให้สังเกตดูว่าต้นไม้จะเจริญเติบโตได้ดี จากนั้นค่อยนำไปปลูกโดยกล้าไม้ที่เพาะเชื้อวิธีนี้จะมีเชื้อเห็ดติดอยู่แน่นอน

สำหรับการขยายพันธุ์นั้น ในฤดูดอกเห็ด แนะนำให้ตัดดอกเห็ดออกเป็นแผ่นบางๆ แล้วแปะไว้กับรากที่ทำความสะอาดแล้วแบบเดียวกับขั้นตอนแรก

คุณพุฒินันท์ เล่าว่าเคยเห็นตัวอย่างจากวิดีโอของประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดทรัฟเฟิล โดยผู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะขุดเอาเห็ดทรัฟเฟิลมาจากสวนป่า นำมาทำความสะอาดแล้วแยกเชื้อ โดยกรรมวิธีตัดเนื้อเยื่อไม่ให้มีเชื้ออื่นปะปน เอามาเลี้ยงอยู่บนอาหารวุ้น

จากนั้นเมื่อเจริญดีแล้วก็เอาต้นกล้าไม้ 3 อย่าง มาล้างรากให้สะอาดจนเห็นรากชัดเจน นำอาหารวุ้นมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เห็นเส้นใยเห็ดติดอยู่ด้วย เอามาแปะติดกับรากที่ล้างแล้ว ปิดด้วยปลาสเตอร์ชนิดมีรูพรุนให้อากาศผ่านได้ แล้วเอาใส่ถุงหรือกระถางเพาะโดยใส่ปุ๋ยละลายช้าและอินทรียวัตถุ แล้วรดน้ำ

ในวีดิโอมีการเปรียบเทียบรากให้ดูว่าหลังจากเชื้อเห็ดในอาหารวุ้นติดแน่นกับรากไม้แล้ว รากที่มีเชื้อจะมีลักษณะคล้ำและหนาขึ้น เมื่อแข็งแรงดีแล้วจึงนำต้นกล้าที่มีเชื้อไปปลูกในสวนป่า หลังจากนั้นอีก 3 ปี ก็สามารถพบเห็ดทรัฟเฟิลได้

3. การทำเชื้อเห็ดให้เป็นลักษณะเหมือนขี้เลื่อย หรือปุ๋ยหมักที่มีเชื้อเห็ดเจริญอยู่
ใช้วิธีแยกเชื้อบริสุทธิ์ แล้วเอาเชื้อบริสุทธิ์นี้เลี้ยงให้เป็นเชื้อสต๊อกอยู่บนอาหารวุ้น เหมือนกับวิธีการเลี้ยงเชื้อเห็ดทั่วไป คือให้เขี่ยเชื้อเห็ดตับเต่าใส่ลงไปที่ผิวหน้าอาหารในขวดแบน ใส่อาหาร 1/4 แล้ววางแบบตะแคงขวด ปล่อยให้เชื้อเจริญเติบโตอยู่ในอาหารเหลว

เมื่อเส้นใยเจริญเติบโตดีแล้ว เวลาจะใช้งานก็ใช้ขี้เลื่อยหรือปุ๋ยหมักแล้วเทอาหารเหลวที่มีเส้นใยกระจายให้ทั่วเอาไปเพาะลงในกระถางต้นไม้ แล้วกลบด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ รดน้ำให้ชุ่ม เชื้อจะเจริญลงไปอาศัยอยู่กับรากได้เช่นกัน

หลังจากเพาะเชื้อได้เองแล้ว คุณพุฒินันท์ ยังแนะนำให้คอยตรวจสอบสภาพดินด้วยว่ามีค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมหรือไม่ อาจใช้เครื่องมือวัด หรือเก็บตัวอย่างดินมาทดสอบ โดยใช้ดินลึก 1 คืบ ถ้าค่า พีเอช 6.5-7 ถือว่าเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่ปูนเกษตร

แต่ถ้าต่ำกว่า 7.5 จะเป็นดินเปรี้ยว ยิ่งค่าต่ำมากยิ่งเปรี้ยวมาก การใส่ปูนเกษตรจะทำให้ได้ผลดีขึ้น สามารถทำได้โดยการค่อยๆ ใส่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย จะทำให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตได้ดีขึ้น ผลผลิตเห็ดก็จะมากขึ้น ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตดีด้วย

นอกจากนั้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทับลงไปบนกองใบไม้ใต้ต้นโดยไม่ต้องเก็บกวาดใบทิ้งจะช่วยให้เห็ดเจริญเติบโตได้ดีในปริมาณที่มากกว่าใต้ต้นไม้ที่โล่งเตียน

สำหรับดินบางแห่งเก็บอุ้มน้ำได้ไม่ดีนัก เช่น ดินทราย ดินปนทราย แต่เห็ดต้องการความชื้นสูง ดังนั้นการใช้โพลีเมอร์จะช่วยอุ้มน้ำได้ดีมาก เพราะเมื่อใช้โพลีเมอร์จะขยายตัวอุ้มน้ำประมาณ 200 เท่า โดยอาจใช้โพลีเมอร์ช่วยเก็บความชื้นหลังจากฝนตกหรือหลังรดน้ำ ทำให้ไม่ต้องรดน้ำมากหรือบ่อยครั้ง

ส่วนดินเหนียวหรือดินที่แน่นเกินไป อุ้มน้ำมากและนานเกินไปทำให้อากาศที่อยู่ในเนื้อดินน้อยลง จะไม่เหมาะกับเห็ดตับเต่าที่ชอบออกซิเจนมากๆ การใช้สารดินร่วนหรือสารละลายดินดาน พืชบดหยาบชิ้นเล็กๆหรืออาจใส่วัสดุชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แกลบ ขี้ไก่ หว่านกระจายบางๆ ที่ผิวหน้าดิน บางส่วนก็จะแทรกลงดินทำให้ดินร่วนซุยขึ้น

ในกรณีที่ต้องการให้เกิดความชื้น ไม่อยากให้น้ำระเหยออกมากเกินไป อาจใช้พลาสติกขนาดใหญ่ คลุมทับในระหว่างที่ดอกเห็ดกำลังเริ่มเจริญเติบโต ก็จะทำให้มีความชุ่มชื้นอย่างเพียงพอ เส้นใยของเห็ดก็จะส่งผ่านขึ้นมาเป็นดอกเห็ดที่ใหญ่ขึ้น

เทคนิคต่างๆ เหล่านี้ยังสามารถทดลองด้วยตัวเองได้อีกหลายแนวทาง ภายใต้กฎของไมคอร์ไรซ่า ที่จะต้องเติบโตใช้ประโยชน์ร่วมกันกับรากไม้บางชนิดในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งความชื้นและอินทรียวัตถุ

ขอให้สนุกกับความท้าทายในการสร้างสวนเห็ดตับเต่ากันทุกคนนะคะ

สูตรอาหารวุ้นเลี้ยงเห็ดตับเต่า

น้ำ 1,000 ซีซี
มันฝรั่ง 200 กรัม
น้ำตาลเด๊กโทรส 20 กรัม
ภูไมท์ซัลเฟต 20 กรัม
วุ้น 15 กรัม
วิตามินบี 1 ขององค์การเภสัช 1 เม็ด

สูตรนี้เตรียมเหมือนอาหารวุ้น พีดีเอ ทั่วไป เมื่อนำมาทดลองเลี้ยงเห็ดไมคอร์ไรซ่าทั้งหลาย เช่น เห็ดเผาะ เห็ดตับเต่า พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก เมื่อดัดแปลงสูตรไม่ใส่วุ้น แต่ใช้ต้มเมล็ดข้าวฟ่างเพื่อเลี้ยงเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่างแทน ก็สามารถทำให้เชื้อเต็มขวดภายใน 3 สัปดาห์

ปีนี้ เป็นอีกปีทองของชาวสวนทุเรียน เนื่องจากสภาพอากาศเป็นใจ ทำให้ต้นทุเรียนติดดอกได้หลายรุ่น ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ขายได้ราคาดี สร้างผลกำไรก้อนโต เป็นที่พอใจของชาวสวนทุเรียนทั่วประเทศ

พี่เรือง ศรีนาราง เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ด้านพืชสวน ปี 2562 เป็นหนึ่งในเกษตรกรต้นแบบทุเรียนแปลงใหญ่ ที่ประสบความสำเร็จด้านผลผลิตและรายได้จากกิจการสวนทุเรียนอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 พี่เรือง มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 180 ไร่ มีรายได้จากการขายผลผลิตทุเรียน 19 ล้านบาท โดยมีต้นทุนการผลิตแค่ 5 ล้านบาท หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือผลกำไรสุทธิถึง 14 ล้านบาททีเดียว

พี่เรือง บอกว่า จุดเด่นของทุเรียนตราดได้เปรียบด้านทำเล ทำให้มีทุเรียนสุกเข้าตลาดในช่วงต้นฤดู (กุมภาพันธ์-มีนาคม) เป็นรายแรกในพื้นที่ภาคตะวันออก เปิดตลาดด้วยทุเรียนจากพื้นที่แหลมศอก ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมือง ตามมาด้วยทุเรียนในพื้นที่อำเภอเมืองตราดและอำเภอเขาสมิงตามลำดับ จึงค่อยมีทุเรียนจันทบุรีเข้าตลาดในเวลาต่อมา ทุเรียนตราดมีรสชาติอร่อยไม่แตกต่างจากพื้นที่อื่น แต่เก็บเกี่ยวผลผลิตในอัตราความสุกแก่ที่เหมาะสม ทำให้ได้ทุเรียนคุณภาพดีรสชาติอร่อยป้อนตลาดในประเทศและส่งออก

ทุเรียน ช่วงต้นฤดู ก่อนวิกฤตโควิด-19 พี่เรือง บอกว่า พ่อค้ามารับซื้อทุเรียนในราคาสูง กิโลกรัมละ 150 บาท ช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่เมืองฮูฮั่น ชาวสวนทุเรียนต่างกังวลว่าจะส่งออกทุเรียนไปขายจีนได้ไหม ปรากฏว่า จีนสามารถควบคุมโรคระบาดได้ในระยะเวลา 2 เดือน ทำให้สถานการณ์ส่งออกทุเรียนกลับมาบูมขึ้นอีกครั้ง ปี 2562 พี่เรือง ขายทุเรียนในราคาหน้าสวนได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80 บาท แต่ปีนี้สามารถขายทุเรียนได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา โดยมีราคาขายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 100 บาท โดยมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 บาท หักต้นทุนแล้ว ยังมีผลกำไรสุทธิ ถึงกิโลกรัมละ 70 บาท สร้างผลกำไรได้ก้อนโต

“กระแสความนิยมทุเรียนในตลาดส่งออก รวมทั้งผลตอบแทนที่สูง สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรายใหม่และรายเก่าตัดสินใจโค่นต้นยาง สวนปาล์มน้ำมัน เพื่อนำมาปลูกทุเรียนกันมากมาย ทำให้พื้นที่ปลูกทุเรียนในท้องถิ่นขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในอนาคตจะมีผลผลิตทุเรียนเข้าตลาดมากขึ้น ผมวางแผนเพิ่มปริมาณผลผลิตและดึงต้นทุนให้ได้ต่ำสุด แค่ขายทุเรียนในราคาหน้าสวน ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ผมก็อยู่ได้แล้ว เพราะมีต้นทุนการผลิตแค่ปีละ 5 ล้านบาท แต่มีรายได้เข้ากระเป๋า ปีละ 15 ล้านบาท ก็คุ้มค่ากับการลงทุนแล้ว” พี่เรือง กล่าว

ดูแลจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

หลายคนสงสัยว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จหมดแล้ว ชาวสวนทุเรียนเขาทำอะไรกันต่อ พี่เรือง ให้คำตอบว่า หลังเก็บเกี่ยวเสร็จ สิ่งที่ต้องเร่งรีบทำให้เร็วที่สุดคือ การตัดเชือกโยง และตัดแต่งกิ่ง โดยจะตัดกิ่งที่ตายออก ตัดแต่งทรงพุ่มให้พร้อมสำหรับการทำใบใหม่ หลังจากนั้นตัดแต่งทรงพุ่มต้นทุเรียนให้เสร็จเรียบร้อย และกำจัดวัชพืช จะด้วยวิธีการตัดหรือพ่นยาฆ่าหญ้าก็แล้วแต่ความถนัด

หลังจากนั้น จะปรับสภาพดินด้วยปูนขาวหรือโดโลไมท์ หรือใช้ปูนชนิดอื่นๆ เพื่อให้ได้ใกล้เคียง pH ที่เหมาะสมกับการกินอาหารของต้นทุเรียน ซึ่งพี่เรืองแนะนำว่า pH ที่เหมาะสม ควรอยู่ที่ 5.5-6.5 เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง เกษตรกรควรส่งตัวอย่างดินในแปลงไปตรวจกับเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าความเป็นกรดด่างของดินที่ถูกต้อง หรือจะใช้อุปกรณ์ตรวจที่มีขายทั่วไปก็ได้ แต่วิธีนี้ส่วนใหญ่จะได้ค่าความเป็นกรดด่างแบบแกว่งมากๆ ไม่ค่อยถูกต้องสักเท่าไร

หลังจากปรับค่าดินแล้ว กิจกรรมต่อไปคือ ดูแลใส่ปุ๋ย สวนนายเรืองจะใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเปรียบเสมือนไม้ค้ำอยู่ใต้ดิน ทำให้ดินมีช่องว่างมากขึ้น หลังจากนั้นจึงค่อยใส่ปุ๋ยเคมี ที่มีตัวหน้า “สูง” เป็นหลัก แต่สวนทุเรียนบางแห่งนิยมใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ

ในระหว่างนี้ หากมีใบอ่อนออกมา ต้องพ่นสารเคมีหรือสารชีวภาพ เพื่อกำจัดแมลงที่มากินใบอ่อน แมลงศัตรูพืชในระยะนี้มักเจอเพลี้ยไก่แจ้ และเพลี้ยจักจั่น ก็ต้องคอยดูแลป้องกันอย่างใกล้ชิด นี่คือ ขั้นตอนกระบวนการการทำงานทั้งหมดที่พี่เรืองบอกว่า ต้องทำให้เร็วที่สุด หากทำใบอ่อนชุดแรกออกมาเร็วเท่าไร การทำทุเรียนนอกฤดูให้ประสบความสำเร็จ ก็ยิ่งมีโอกาสสูงมากตามไปด้วย

เทคนิคการใส่ปุ๋ยสวนทุเรียน

พี่เรือง บอกว่า สวนทุเรียนแห่งนี้ จะดูแลใส่ปุ๋ยค่อนข้างบ่อย แต่ให้ทีละน้อยๆ เพื่อให้ต้นทุเรียนได้ค่อยๆ กิน เปรียบเหมือนคน หากกินข้าวทีละมากๆ ก็จะอิ่ม จนจุก เหลือเศษอาหารทิ้งขว้าง ไม่ได้ประโยชน์ จึงต้องแบ่งให้ต้นทุเรียนได้กินอาหาร (ปุ๋ย) หลายๆ มื้อ แค่พอดีอิ่ม วิธีนี้จะช่วยให้ต้นทุเรียนสามารถนำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า และหลังใส่ปุ๋ยทุกครั้ง อย่าลืมรดน้ำตามด้วยนะ เพราะปุ๋ยที่หว่านไปจะได้ไม่ระเหยไปไหน และไม่ถูกฝนชะล้างไปด้วย

คำแนะนำสำหรับเกษตรกรมือใหม่

กระแสปลูกทุเรียนแล้วรวยมาแรง ทำให้เกษตรกรที่เคยปลูกข้าว สนใจอยากเปลี่ยนที่นามาปลูกทุเรียน แต่ไม่มั่นใจว่า ปลูกทุเรียนในพื้นที่น้ำขังจะรอดไหม พี่เรือง บอกว่า ทำได้ แต่ต้องใช้เวลานานสักหน่อย พี่เรืองก็เคยปรับพื้นที่ลุ่มต่ำที่เคยใช้ปลูกข้าวมาทำเป็นสวนทุเรียน ต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี ในการต่อสู้กับปัญหาน้ำขัง และโรคในทุเรียน

พี่เรือง มีข้อแนะนำดังกล่าว คือเริ่มจากปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสม ปรับดิน ยกโคก แล้วก็ขุดร่องให้น้ำระบาย เนื่องจากเป็นพื้นที่น้ำขัง จึงต้องขุดร่องให้ถี่หน่อย เพื่อที่จะได้ระบายน้ำอย่างรวดเร็ว หลังปลูกทุเรียนแล้ว ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด คอยระวังอย่าให้น้ำขังโคนต้น หากเจอปัญหาน้ำขัง ต้องใช้จอบ ดึงน้ำเข้าร่องน้ำ นี่คือเหตุผลว่า ทำไมสวนแห่งนี้จึงมีร่องน้ำค่อนข้างเยอะนั่นเอง

หลังเปลี่ยนที่นามาปลูกทุเรียน พี่เรือง สมัครเกมยิงปลา เจอปัญหาโรคทุเรียนค่อนข้างเยอะและเกิดเร็วมาก ทั้งราสีชมพู ไฟทอปทอร่า ราใบติด แอนแทรคโนส ฯลฯ สามารถแก้ปัญหาได้หมด โดยปล่อยเชื้อไตรโคเดอร์ม่าไปทางระบบน้ำ ทุกครั้งที่ให้น้ำ สอดส่องดูแลเรื่องโรคเป็นพิเศษ เมื่อเจอปัญหาไฟทอปทอร่าที่ต้น ก็ทายา เจอโรคใบติด ต้องรีบหายามาฉีดทันที กว่าจะผ่านปัญหาต่างๆ มาได้นั้น ต้องอาศัยการดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ

เจอทั้งต้นทุเรียนตาย แก้ไขได้ ต้นทุเรียนก็ฟื้น ปัจจุบัน แปลงปลูกทุเรียนแห่งนี้ พี่เรืองยกให้ลูกดูแลมาได้ 2 ปีแล้ว สร้างรายได้ให้กับสวนทุเรียนนายเรืองได้ค่อนข้างดีพอสมควร พี่เรือง ย้ำว่า เรายังต้องสู้ต่อไป เผลอให้โรคเข้ามาเมื่อไร ทรุดได้เมื่อนั้น เรียกว่า การ์ดอย่าตก เดี๋ยวโดนโรคทุเรียนน็อกได้

เคล็ดลับวิธีดูทุเรียนสุกแบบง่ายๆ

หากใครชื่นชอบการกินทุเรียน พี่เรือง แนะนำวิธีการดูทุเรียนสุกแบบง่ายๆ เพื่อเป็นเคล็ดลับในการกินทุเรียนสุก ที่มีรสชาติอร่อย เมื่อซื้อทุเรียนติดมือกลับบ้านไปแล้ว และอยากกินทุเรียนที่สุกพอดี เนื้อไม่นิ่มไป ไม่แข็งไป ควรเจาะเปลือกทุเรียน ให้เป็นรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ แล้วเปิดดู สามารถเอานิ้วจิ้มดูได้ หากทุเรียนยังไม่พร้อมกิน ก็สามารถนำเปลือกที่เจาะไป มาปิดที่เดิมไว้ก่อน โดยที่ทุเรียนจะไม่เสียหาย และไม่เสียรสชาติ จากนั้นคอยเวียนมาดู แต่อย่าเวียนมาดูบ่อยนะ เดี๋ยวจะอดใจไม่ไหว แกะก่อนเวลา

หากใครสนใจเรื่องการปลูก หรือด้านการตลาดทุเรียน สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับพี่เรืองได้ ทาง Line:https//line.me//ti/p/aWdyMYVNqt หรือทางเฟซบุ๊ก “สวนทุเรียนนายเรือง” หรือโทรศัพท์ 099-619-2321 หากใครมีเวลาว่าง สามารถแวะชมเยี่ยมกิจการสวนทุเรียนแห่งนี้ได้ทุกวัน พี่เรือง พร้อมแบ่งปันความรู้กับเพื่อนเกษตรกรทุกท่านด้วยความยินดี

กลุ่มเกษตรท่ากุ่ม-เนินทราย จังหวัดตราด แปลงใหญ่ทุเรียน มาตรฐาน GAP

ปัจจุบัน พี่เรือง เป็นเกษตรกรต้นแบบทุเรียนแปลงใหญ่ของจังหวัดตราด และเป็นแกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุเรียนแปลงใหญ่ท่ากุ่ม-เนินทราย จังหวัดตราด มีสมาชิกเกษตรกร 40 คน มีพื้นที่ปลูกทุเรียน รวม 800 ไร่ เป็นการปลูกทุเรียนแบบนอกฤดูกาล พันธุ์หมอนทองเป็นหลัก

วิสาหกิจชุมชนทุเรียนแปลงใหญ่ท่ากุ่ม-เนินทราย เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ เป็นหนึ่งในเกษตรกรเป้าหมายของ มกอช. กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ที่จะร่วมบูรณาการในการให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพ ให้กลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงยั่งยืนและเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันด้านการตลาดสู่เวทีโลกต่อไป