ป้าออมสิน เกษตรกรทำไร่นาสวนผสม แบ่งพื้นที่ 9 ไร่ ปลูกผัก

เลี้ยงปลา มีกิน มีใช้ มีขายตลอดปี การทำไร่นาสวนผสม เป็นการทำงานเกษตรหลายชนิดผสมผสานในบริเวณพื้นที่เดียวกัน ปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงาน และการจัดการที่ดี ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ได้ผลตอบแทนคุ้มทุน ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวนจึงเป็นวิธีการลดความเสี่ยงและสร้างรายได้สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง วิถีไร่นาสวนผสม วิถีพอเพียงและมั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน

คุณศรัญญา เพ็ชรรักษ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังว่า ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แนวทางการดำเนินงานส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้รับผลผลิต เพื่อยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความมั่นคง จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาทำไร่นาสวนผสมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ทำเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมการผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

การทำไร่นาสวนผสม เป็นการทำงานเกษตรหลายๆ อย่างในพื้นที่เดียวกัน เช่น ทำนา ปลูกไม้ผล ปลูกพืชไร่ เลี้ยงสัตว์หรือประมง หรือทำนา ปลูกไม้ผลหรือประมง หรือทำนา ปลูกพืชไร่หรือเลี้ยงสัตว์ ที่สำคัญเกษตรกรต้องมีการจัดการฟาร์มที่ดี ทั้งด้านจัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงานหรือปัจจัยการผลิต เป็นวิธีการเกษตรที่ลดความเสี่ยงภัยจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและศัตรูพืช มีการใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ได้รับผลตอบแทนคุ้มทุน ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพให้พอกินเหลือขาย เป็นการยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

ป้าออมสิน กุลรัตน์ เกษตรกรทำไร่นาสวนผสม เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ทำไร่นาสวนผสม 9 ไร่ 1 งาน ได้จัดการแบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 3 ไร่ ทำสวน 3 ไร่ เพื่อปลูกไม้ผล พืชผัก เป็นพื้นที่สระน้ำ 3 ไร่ เพื่อกักเก็บน้ำใช้ในการปลูกพืช เลี้ยงปลาหรือเลี้ยงเป็ด และพื้นที่ 1 งาน จัดแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย โรงเรือนจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์เกษตรและเล้าเป็ด

ฤดูก่อนหน้านี้ได้ทำนาเพียงอย่างเดียว เมื่อประสบกับภัยธรรมชาติ ไม่มีน้ำพอเพียงใช้ในการผลิต จึงไม่ได้รับผลผลิตคุ้มทุน เมื่อได้รับคำแนะนำจากสำนักงานเกษตรอำเภออินทร์บุรีให้ทำไร่นาสวนผสม พร้อมกับได้น้อมนำพระราชดำรัสขององค์พ่อหลวงที่ว่า “น้ำคือชีวิต” และ “ไม่มีไฟฟ้า คนหรือสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าไม่มีน้ำ คนหรือสิ่งมีชีวิตอยู่ไม่ได้” จึงเป็นแสงสว่างให้ได้คิดไตร่ตรองพร้อมน้อมนำมาเปลี่ยนแปลงวิถีจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการทำไร่นาสวนผสม ได้ยึดหลักปฏิบัติตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ด้วยการแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน ดังนี้

พื้นที่ส่วนที่ 1 จัดเป็นพื้นที่ทำนา 30% หรือ 3 ไร่ แปลงนาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รอบแปลงนาได้ขุดเป็นร่องน้ำเพื่อกักเก็บน้ำใช้ปลูกผักบุ้งหรือเลี้ยงปลา หลังจากไถเตรียมดินแปลงนาแล้วได้ปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ด้วยวิธีการปักดำ เน้นการทำนาแบบอินทรีย์ตามวิถีธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมีหรือใช้ในระยะเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวคุณภาพผลผลิตข้าวที่ได้ส่วนหนึ่งบริโภค อีกส่วนหนึ่งขาย และอีกส่วนหนึ่งสีเป็นข้าวกล้องขายเพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้

ต้นทุนการทำนา มีดังนี้ ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าจ้างแรงงาน 4,000 บาท ค่าปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะขาย 7,000-9,000 บาท ต่อเกวียน

รอบแปลงนาได้ขุดเป็นร่องน้ำกว้าง 2.5 เมตร และลึก 1.5 เมตร เพื่อกักเก็บน้ำใช้ ได้ปลูกผักบุ้ง ได้เลี้ยงปลาตะเพียน 25,000 ตัว และปลาสลิด 2,000 ตัว ให้อาหารปลาทุกวัน ขณะนี้รอให้ปลาโตก่อนจับขึ้นมากินและขาย

พื้นที่ส่วนที่ 2 จัดเป็นแหล่งน้ำใช้เพื่อการเกษตร พื้นที่ 30% หรือ 3 ไร่ ได้ขุดเป็นสระน้ำเพื่อให้เป็นแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการปลูกพืชหรือเลี้ยงปลา ในสระน้ำได้เลี้ยงปลาตะเพียน 10,000 ตัว ปลานิล 5,000 ตัว เลี้ยงปลาหมอ ปลาสลิดและปลาช่อนรวม 1,000 ตัว ได้ให้อาหารปลาทุกวัน ขณะนี้รอให้ปลาโตก่อนจับขึ้นมากินและขาย

ต้นทุนการเลี้ยงปลา ทั้งในสระน้ำและในร่องน้ำข้างแปลงนา เป็นค่าพันธุ์ปลา 4,000 บาท ค่าอาหารปลา 10,000 บาท ขณะนี้รอให้ปลาโตก่อนจับขึ้นมากินและขายเป็นรายได้

พื้นที่ส่วนที่ 3 จัดเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น และพืชผัก พื้นที่ 30% หรือ 3 ไร่ แบ่งย่อยเป็น 3 แปลง คือ แปลงที่ 1 พื้นที่ 2 งาน กว้าง 6 เมตร อยู่ระหว่างแปลงนากับสระน้ำ ปลูกพืชผักปลอดภัย เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ หรือกะเพรา แปลงที่ 2 พื้นที่ 2 ไร่ ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นแบบผสมผสาน เช่น กล้วยน้ำว้าขาว กล้วยหอมทอง และไผ่ แปลงที่ 3 พื้นที่ 2 งาน อยู่ติดกับแปลงปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ได้ปลูกพริก ทั้ง 3 แปลงได้จัดการใช้ต้นทุนการผลิต ดังนี้

แปลงที่ 1 ปลูกถั่วฝักยาว ใช้ต้นทุนเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาว 120 บาท ค่าปุ๋ย 500 บาท ขายได้ 2,000 บาท ได้กำไร 1,380 บาท ผลผลิตได้ทยอยเก็บ เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จได้พักแปลง เตรียมดินตากแดดแล้วปลูกใหม่

แปลงที่ 2 ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้นแบบผสมผสาน ได้ปลูกกล้วยน้ำว้าขาว กล้วยหอมทอง และไผ่ ใช้ต้นทุน

ปลูกกล้วยน้ำว้าขาว เป็นค่าหน่อพันธุ์ 500 บาท ค่าปุ๋ย 500 บาท ขายผลกล้วยได้ 2,500 บาท ได้กำไร 1,500 บาท

และ แปลงที่ 3 ปลูกพริก มีต้นทุนเป็นค่าเมล็ดพันธุ์พริก 80 บาท ค่าปุ๋ย 1,000 บาท เก็บผลผลิตขายได้ 1,500 บาท ได้กำไร 280 บาท ผลผลิตได้ทยอยเก็บ เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จได้พักแปลง เตรียมดินตากแดดแล้วปลูกใหม่

พื้นที่ส่วนที่ 4 จัดเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและโรงเรือนเก็บวัสดุการเกษตร เล้าเป็ด พื้นที่ 1 งาน ได้แบ่งเป็นบ้าน 1 หลัง และห่างกันออกไปได้สร้างโรงเรือนเก็บวัสดุอุปกรณ์เกษตร 1 โรง และเล้าเป็ด 1 โรง มีต้นทุนสร้างเล้าเป็ด 1 โรง เป็นเงิน 5,000 บาท ซื้อลูกเป็ดมาเลี้ยง 15 ตัว เป็นเงิน 2,500 บาท และซื้ออาหารเป็ด 1,200 บาท การเลี้ยงเป็ดได้ใช้วิธีปล่อยให้ออกหากินอาหารในธรรมชาติและให้อาหารเสริม ขณะนี้เป็ดมีผลผลิตไข่ให้เก็บไปกินช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน

ป้าออมสิน เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า จากประสบการณ์ที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีความเสี่ยงสูงเมื่อต้องประสบภัยทางธรรมชาติหรือศัตรูพืช การที่ได้ปรับเปลี่ยนมาทำไร่นาสวนผสม ความเสี่ยงภัยลดลง แต่ละกิจกรรมให้ผลผลิตสลับ มีให้เก็บกินในครัวเรือน ผลผลิตส่วนหนึ่งนำไปขายทำให้มีรายได้พอเพียงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถยังชีพได้แบบพอเพียงและมั่นคงยิ่งขึ้น

จากเรื่อง วิถีไร่นาสวนผสม วิถีพอเพียงและมั่นคง เป็นเกษตรกรรมหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน เพื่อลดความเสี่ยงภัย ใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสาน ได้ผลผลิตคุ้มทุน เป็นแนวทางให้ดำรงชีพได้แบบพอเพียงมั่นคง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ป้าออมสิน กุลรัตน์ หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โทร. (081) 756-9548 หรือ คุณสุอาภา สกุลนิวัติ สำนักงานเกษตรอำเภออินทร์บุรี โทร. (084) 099-8576 ก็ได้ครับ

เป็นเรื่องที่น่าดีใจสำหรับประเทศไทย เมื่อ“นักวิจัย” ของไทย โดยเฉพาะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) หันมาให้ความสนใจข้อมูลทางด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่มีผลต่อภาคการเกษตร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกร เพราะไม่ต้องรอข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพียงด้านเดียว แต่นั่นหมายถึง ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ เกษรตรกรมีโอกาสทราบได้จาก สกว.อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดการรับมือ และ ปรับตัวได้ทันนั่นเอง

ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ “การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทของระบบเกษตรที่มั่นคงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Robust Agriculture System to Climate Change) โดยคุณศุภกร ชินวรรโณ ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก แห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลจากนักวิจัยทั่วประเทศและมาสังเคราะห์ข้อมูลให้เราได้ทราบกัน

โดยทั้ง 2 ท่านได้เปิดเผยข้อมูลทางการวิจัยที่เป็นประโยชน์ โดยใช้หัวข้อดังกล่าวนั้นมีความหมายและมีคุณค่าตรงที่ ข้อมูลเหล่านี้เกษตรกรแต่ละพื้นที่ สามารถจะพยากรณ์ได้ระดับหนึ่ง ด้วยการใช้พื้นฐานจากข้อมูลทางวิชาการของนักวิจัยนั่นเอง

ภูมิอากาศร้อนขึ้น ส่งผล 5 พืชเศรษฐกิจ กระทบในอีก 20 ปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอนาคต ส่งผลต่อความเสียหายของพื้นที่เกษตรอย่างชัดเจน เห็นได้จากที่ผ่านมาว่า แต่ละปีถ้าเกิดภัยแล้ง นั่นหมายถึง ฝนทิ้งช่วง แต่ถ้าฝนตกหนัก ก็ทำให้เกิดน้ำท่วมหนักตามมา เพราะฉะนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่า พื้นที่ที่เราอยู่และพืชผลทางการเกษตรที่เราทำนั้น ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมากน้อยเพียงใด

ผลงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า จากการศึกษาโดยเกริก ปั้นเหน่งเพ็ชร และ คณะ มีการใช้แบบจำลองผลผลิตทางการเกษตร และ ใช้ข้อมูลภูมิอากาศอนาคตแบบจำลองภูมิอากาศโลก พบว่า มี 5 พืชเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบในอีก 20 ปีข้างหน้า ได้แก่ ข้าว , ข้าวโพด, อ้อย , มัน และ ปาล์มน้ำมัน (ช่วงทศวรรษที่ 2560-2570) แต่เป็นเพียงผลกระทบเพียงเล็กน้อย

ผลการวิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า ผลผลิตข้าวนาปีซึ่งอาศัยน้ำฝนเป็นระบบหลักในการผลิตอาหารของประเทศ มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและมีความแตกต่างกันระหว่างลุ่มน้ำหลักของประเทศ โดยการผลิตข้าวนาน้ำฝนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะได้รับผลกระทบเล็กน้อย

แต่การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะมีผลต่อการปลูกข้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.อุดรธานี , ขอนแก่น ,กาฬสินธุ์ , สกลนคร ,มหาสารคาม ,ร้อยเอ็ด , ยโสธร , มุกดาหาร, อำนาจเจริญ,สุรินทร์ ,ศรีษะเกษ และ อุบลราชธานี โดยผลผลิตข้านาปรังอาศัยน้ำชลประทาน จึงไม่ได้รับผลกระทบมากจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภายใต้สมมติฐานว่า มีน้ำในระบบชลประทานเพียงพอ

ส่วนผลผลิตมันสำปะหลังมีแนวโน้มคงที่ ส่วนผลผลิตอ้อยโดยรวมแล้วมีแนวโน้มค่อนข้างดีขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก แต่บางพื้นที่ในเขตปลูกอ้อย อย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น โดยเฉพาะกาฬสินธุ์ มีแนวโน้มผลผลิตจากอ้อยลดลง แต่ผลผลิตจากข้าวโพเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงตรงที่มีผลผลิตที่แปรปรวนสูงระหว่างปี ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มคงที่ และ ค่อนข้างมีเสถียรภาพ

เพราะฉะนั้น สภาพอากาศภายใต้การเปลี่ยนแปลงของภุมิอากาศนั้น จะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรแปรปรวนสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน และ แม้ว่าผลผลิตโดยรวมของประเทศจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากนัก แต่พบว่า บางพื้นที่จัดได้ว่าเป็นพื้นที่วิกฤตต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งผลผลิตในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก

หากเกษตรได้ทราบข้อมูลเหล่านี้ และ เปรียบเทียบกับช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พร้อมๆกับดูสภาพการณ์ของอากาศในปีปัจจุบัน คือ 2560 ก็จะพบว่า สภาพอากาศเฉพาะบ้านเรามีการเปลี่ยนแปลงจริง และ มีผลต่อผลผลิตทางการเกษตรจริง อย่างล่าสุด ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศทางวิชาการด้านหม่อนไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ตั้งทีมวิจัยขึ้นมา เพื่อวิจัยลักษณะของใบมันสำปะหลัง ที่มีความแข็งกระด้างขึ้น เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ซึ่งทำให้ใบมันสำปะหลังที่เก็บได้ในช่วง 1-2 มานี้ มีสภาพที่ทำให้หนอนไหมอีรี่ กินใบมันสำปะหลังได้น้อยลง

เกษตรกรส่วนใหญ่พึ่งน้ำฝนธรรมชาติ ระบบเกษตรชลประทานมีไม่ถึง 23%

ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยดังกล่าวยังน่าสนใจคือ ระบบเกษตรในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นระบบเกษตรที่อาศัยน้ำฝนธรรมชาติ และมีส่วนน้อยที่เป็นระบบเกษตรในพื้นที่ชลประทาน ซึ่งมีเพียง 22.87% เท่านั้น จากพื้นที่การเกษตรรวมทั้งประเทศไทย 131.59 ล้านไร่ และ พื้นที่ชลประทานรวม 29.98 ล้านไร่ (อ้างอิงจากข้อมูล ณ สิ้นปีงบประมาณ 2556 ,ที่มาซ กรมชลประทาน ,2557 )

ทั้งนี้ ระบบเกษตรนอกพื้นที่ชลประทานซึ่งอาศัยน้ำฝนตามฤดูกาลเป็นหลัก ก็มีการดำเนินกิจกรรมด้านชลประทานขนาดเล็กในหลายรูปแบบควบคู่ไปกับการอาศัยธรรมชาติ เพี่อสนับสนุนกิจกรรมการเกษตรในชุมชน เป็นต้น ประเด็นที่พึงพิจารณาคือ ภาวะความผันผวนของสภาพอากาศแปรปรวนในปัจจุบัน เริ่มส่งผลให้ระบบเกษตรต้องพึ่งพาการจัดหารทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรมากขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของฤดูกาลและการกระจายตัวของฝนในรอบปี

นอกจากนั้น การทำการเกษตรแบบเข้มข้นโดยการปลูกพืชหลายรอบในรอบปี และ การปรับเปลี่ยนพืชเศรษฐกิจในหลายพื้นที่ ทำให้รูปแบบความต้องการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ของปริมาณความต้องการการใช้น้ำ และ ห้วงเวลาที่ต้องการใช้น้ำในรอบปี และ เป็นปัจจัยที่ทำให้ระบบเกษตรต้องพึ่งพาการจัดการน้ำมากขึ้น

ข้อมูลตรงนี้ มีความสำคัญตรงที่ถ้าเกษตรกรในพื้นที่ใด ยังไม่สามารถจัดการบริหารเรื่องแหล่งน้ำได้ จะต้องรีบทำ และ ที่สำคัญคือยังมีเกษตรกรพึ่งพาระบบชลประทานน้อยมาก เพราะฉะนั้น การปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่างข้าวไม่จำเป็นต้องลดลง แต่ควรแก้ปัญหาว่า จะทำอย่างไรให้เกษตรกรเข้าถึงระบบชลประทาน และเข้าถึงระบบการบริหารจัดการน้ำได้ ท่ามกลางสภาพการณ์ของภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

แต่ถึงกระนั้น หากดูข้อส่วนข้อมูลวิจัยชิ้นนี้กลับพบคำตอบอีกว่า เมื่อเกษตรกรจะไปพึ่งพาระบบชลประทานก็พึ่งได้ยากอีก โดยผลงานวิจัยระบุว่า “ภาวะความแปรปรวนของสภาพอากาศในระยะที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ระบบชลประทานทั้งขนาดใหญ่และเล็ก อาจจะไม่สามารถใช้งานได้เต็มตามขีดความสามารถของระบบชลประทานนั้นๆ เนื่องจากมีปริมาณน้ำในระบบชลประทานน้อยกว่าศักยภาพกักเก็บ ทำให้ต้องจัดสรรน้ำระหว่างภาคส่วนอย่างระมัดระวังมากขึ้น และ อาจจะต้องการการจำกัดพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากไม่มีน้ำเพียงพอ ที่จะสนับสนุนกิจกรรมทางการเกษตรต่างๆ โดยผลงานวิจัยได้เปิดเผยข้อมูลปริมาณน้ำในเขื่อน 33 แห่ง ทั่วประเทศ จากปี 2556-2559 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มีนาคม 2559) ว่า มีปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอต่อการกักเก็บ

ทั้งหมดจึงเป็นปัญหาว่า เมื่อเกิดสภาวะความแปรปรวนเกิดขึ้นกับสภาพอากาศ และ ส่งผลต่อน้ำฝนให้มีปริมาณกักเก็บน้อย ท่ามกลางสภาพการณ์ปัจจุบันมีเกษตรกรพึ่งพาระบบชลประทานไม่ถึง 23% จกาพื้นที่การเกษตรทั้งประเทศเกือบ 132 ล้านไร่ ทำให้ยิ่งน่าคิดว่า ทั้งๆที่เกษตรกรบ้านเราพึ่งระบบชลประทานน้อยอยู่แล้ว แต่เมื่อจะหาทางออกไปพึ่งระบบชลประทานมากขึ้น กลับพบคำตอบทางวิชาการว่า น้ำที่อยู่ในเขื่อนกักเก็บน้ำซึ่งเป็นระบบการบริหารจัดการของ “ชลประทาน” กลับมีปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ โดยมีเหตุผลว่า ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ถึงเวลา “เกษตรกร” ปรับตัว พึ่งตนเองให้มากที่สุด

ข้อมูลทางวิชาการชิ้นนี้ยังมีประโยชน์ตรงที่ได้บอกถึงแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร โดยยกตัวอย่างการศึกษาโดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2553 ซึ่งได้เสนอแนวทางการปรับตัวในการเพาะปลูกพืชไร่เศรษฐกิจสำคัญในประเทศไทย โดยรวมถึงแนวทางที่ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนปฏิทินเพาะปลูกและเทคนิคการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอนาคต ตลอดจนแนวทางการปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถทนทานต่อภูมิอากาศในอนาคตได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

เริ่มจากแนวทางการปรับตัวของ “นาน้ำฝน” ควรหันมาใช้พันธุ์ที่เบา เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เช่น พันธุ์ กข15 โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ฝนในช่วงต้นฤดูมีมาก แต่มีน้อยช่วงปลายฤดู ในกรณีนี้ การใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุเบาสามารถแก้ปัญหาได้ , การปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีระบบรากลึก ที่มีความทนทานต่อสภาวะแล้งได้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันกรมการข้าวก็ได้ดำเนินการอยู่แล้ว , การเขตกรรมที่เหมาะสม ทั้งนี้จากการวิเคราะห์พบว่า เกิดความแปรปรวนของผลผลิตรายปีจากความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เพิ่มสูงขึ้น อาจต้องแก้ไขโดยการจัดการที่เหมาะสมตามสภาพท้องถิ่น เช่น ปรับจากการปลูกโดยวิธีปักดำ จากสภาพอากาศเดิมที่มีฝนเพียงพอต่อการเตรียมกล้า ไปสู่การหว่านข้าวแห้ง หรือ หว่านน้ำตม และ ในกรณีที่ฝนมาล่าช้าจากการขยับเลื่อนของฤดูกาล ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีอยู่แล้ว แต่นำไปปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพพื้นที่

ข้อสุดท้าย คือ การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน การวิเคราะห์ผลกระทบขององค์ประกอบชุดดินชี้ให้เห็นว่า สมบัติทางเคมีของดิน คือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ดังนั้นการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสม ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และเคมี เป็นเรื่องจำเป็น และ สามารถจัดการและแก้ปัญหาได้ ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนของธาตุอาหารที่มีในดิน แล้วเติมส่วนที่ขาดให้ตรงกับความต้องการของข้าว ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีแล้ว แต่อาจต้อปรับเพื่อความแม่นยำ รวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ผลงานวิจัยยังระบุถึงแนวทางการปรับตัวของนาชลประทานไว้อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าว เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น ทำให้อายุข้าวสั้นลง ดังนั้นอัตราการเจริญเติบโต (growth) ของข้าวในอนาคตจะต้องสูงขึ้น เพื่อให้ทันกับระยะพัฒนาการ (development) ที่สั้นลง เพื่อคงประสิทธิภาพการให้ผลผลิตสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มของเกษตรกรบางพื้นที่มีความต้องการพันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้นลง เพื่อรอบการปลูกต่อปีที่มากขึ้น และหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของพื้นที่ เช่น หลีกเลี่ยงน้ำท่วมและน้ำทะเลหนุนเข้าในพื้นที่ เป็นต้น , การเขตกรรมที่เหมาะสม เช่นเดียวกับข้าวนาน้ำฝน จากการวิเคราะห์พบว่า ความแปรปรวนของสภาวะภูมิอากาศรายปีที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต น่าจะเป็นปัญหาของระบบการผลิตข้าวมากกว่าผลกระทบที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในระยะยาว การจัดการที่เหมาระสมตามสภาพท้องถิ่นจึงเป็นทางออกของการปรับตัวในแต่ละพื้นที่

แต่ต่างกันที่ข้าวนาชลประทานสามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี ดังนั้นการจัดการจึงทำได้หลากหลายมากกว่า ทั้งพันธุ์ข้าว, การจัดการน้ำ, วิธีการเตรียมดิน และ วิธีการปลูก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีอยู่แล้วเช่นเดียวกัน เพียงแต่เกษตรกรนำไปปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ,การวิเคราะห์ผลกระทบขององค์ประกอบชุดดิน ชี้ให้เห็นว่า คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน เป็นปัญหาที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ทั้งนี้ ไม่รวมปัญหาระบบรากข้าว ที่แก้ไขโดยความสามารถของพันธุ์ข้าวและการเตรียมดิน ฟางข้าวที่มีความจำเป็นมากในแต่ละฤดู ซึ่งหากมีการไถกลบลงไปในดิน และ ปล่อยให้มีการย่อยสลายระยะหนึ่งก่อนการปลูกข้าว จะมีส่วนในการคืนธาตุอาหารสู่ดิน พร้อมกับการปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพไปในขณะเดียวกัน

ดังนั้น การจัดการปุ๋ยที่เหมาะสม ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และเคมี จึงเป็นเรื่องจำเป็นซึ่งผลกระทบของส่วนนี้จะมีมากกว่าผลกระทบของสภาพอากาศ แต่สามารถจัดการและแก้ปัญหาได้ ด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนของสารอาหารที่มีอยู่ในดิน แล้วเติมส่วนที่ขาดให้ตรงกับความต้องการของข้าว ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ต้องปรับเพื่อความแม่นยำ รวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพราะฉะนั้น เพียงเรื่อง “ข้าว” เรื่องเดียว จะเห็นว่า ข้อมูลทางการวิจัย ไม่ได้บอกให้ชาวนาเลิกทำนา หรือ ปลูกข้าวลดลง แม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง แต่ต้องพยายามหาทางปรับตัว ทั้งในเรื่องของการเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมากขึ้น ,การใช้ธรรมชาติ คือ ฟางข้าวเพิ่มศักยภาพของรากข้าว และ การใช้เทคโนโลยีปรับสภาพดิน

สอดคล้องกับแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ (รัชกาลที่ 9) ที่ส่งเสริมให้ “ชาวนา” ปลูกข้าวต่อไป เพราะชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ แต่จะทำอย่างไรให้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาปรับใช้ให้เหมาะสม รวมไปถึงการทำฝนเทียม ที่ทรงพระราชทานให้กับประชาชนมาตลอด เพราะฉะนั้น เรื่องปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอในระบบชลประทาน จะมาเป็นข้ออ้างให้เกษตรกรเลิกทำนา หันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนนั้นดูจะไม่เหมาะสม

รวมไปถึงการนำข้อมูลว่า ในอนาคตจะมีการบริโภคข้าวน้อยลง นั่นก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะประเทศไทย คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก (ยังไม่รวมส่งออก) และ ปัจจุบันเมื่อมีเรื่องของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี:AEC) เข้ามา คนจากภูมิภาคเดียวกันก็จะมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งต้องบริโภคข้าวทั้งนั้น ไม่ว่าชนชาตินั้นจะเป็นอินโดนีเซีย หรือ มาเลเซีย ยกเว้นแต่ว่า การเข้ามาของชาวต่างประเทศเหล่านี้ ไม่ได้มาเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว แต่มาเพื่อกลืนประเทศไทย นั่นหมายถึง การบริโภคข้าวจะลดลง นี่เป็นนัยยะสำคัญที่บ่งชี้ออกมาทางเกษตรกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี นอกจากผลิตบุคลากรทางด้านการเกษตรออกมารับใช้สังคมแล้ว ยังมีผลงานวิจัยเยี่ยมยอดมากมาย ยกตัวอย่าง การนำผลสำรองมาแปรรูปพร้อมดื่ม มีคนรับเทคโนโลยีไปบรรจุกระป๋อง จำหน่ายดีมาก

กล้วยไม้เหลืองจันทบูร เดิมหายจากป่า ต่อมาวิทยาเขตจันทบุรีศึกษาการขยายพันธุ์ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้ต้นจำนวนมาก กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นที่มาของงานรักษ์เหลืองจันท์ฯ ซึ่งจัดติดต่อกันมานาน เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของภาคตะวันออก คนทั่วไปรู้จักแวะเวียนไปชมงานจำนวนมาก ผู้ที่ศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์กล้วยไม้เหลืองจันทบูร คือ ผศ.ดร. สาโรจน์ ประเสริฐศิริวัฒน์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านไบโอ-เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ของ ผศ.ดร. สาโรจน์ ที่เอกชนรับไปทำต่อคือ การเพาะและแปรรูปเห็ดถั่งเช่า ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่า มีสารสำคัญ “คอร์ไดเซปิน” ในปริมาณสูง โดยพบว่าสูงกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในท้องตลาด เอกชนที่รับมาทำต่อคือ ฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏ โดย ดร. อรวดี อานามวัฒน์ ตั้งอยู่ เลขที่ 9/22 หมู่ที่ 10 ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 22210

เนื่องจากงานวิจัยและการรับช่วงมาผลิต อยู่ในพื้นที่ใกล้กับรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ เพื่อเป็นสิริมงคล ผู้ผลิตจึงตั้งชื่อว่า “ถั่งเช่าเขาคิชฌกูฏ” ถั่งเช่าสีทอง…คุณค่ามากล้น

ถั่งเช่า เป็นเห็ดที่มีสรรพคุณทางยา ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น เห็ดถั่งเช่าทิเบต ถั่งเช่าจักจั่น ถั่งเช่าหิมะ และถั่งเช่าสีทอง

เดิมทีมีการเก็บเห็ดถั่งเช่าจากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ต่อมาจึงเกิดการเพาะเลี้ยงขึ้น สารสำคัญที่ได้จากเห็ด จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับพันธุ์ การดูแลรักษา รวมทั้งการแปรรูป

เห็ดถั่งเช่าที่เพาะเลี้ยงในฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏ สมัครเว็บจีคลับ เป็นเห็ดถั่งเช่าสีทอง ในตัวเห็ดถั่งเช่าสีทอง มีสารสำคัญอยู่มากมาย สารสำคัญต่างๆ มีฤทธิ์แตกต่างกันไป เช่น เสริมสมรรถภาพให้กับร่างกาย ต้านการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกัน ชะลอความแก่ ป้องกันการเสื่อมสภาพของตับ ไต และปอด

ในเอกสารของฟาร์มเห็ดเขาคิชฌกูฏ บอกคุณค่าสำคัญของสารคอร์ไดเซปิน (cordycepin) ซึ่งพบมากในเห็ดถั่งเช่าสีทองไว้ดังนี้

“สารคอร์ไดเซปินในเห็ดถั่งเช่า มีฤทธิ์บำรุงไต เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดและการทำงานของเม็ดเลือดขาว เพิ่มเมตาบอลิซึ่ม (metabolism) หรือการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เหนื่อยง่าย ฟื้นตัวเร็ว ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความชรา ช่วยเพิ่มพลังให้กระชุ่มกระชวย และปรับความสมดุลทางร่างกายของสุภาพสตรี”

งานวิจัยเด่น ได้รับการเผยแพร่สู่วงกว้าง

อาจารย์สมควร อานามวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาเขตจันทบุรี เล่าว่า งานวิจัยของวิทยาเขตจันทบุรีถูกนำมาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง เรื่องของเห็ดถั่งเช่าก็เช่นกัน ดร. อรวดี อานามวัฒน์ ได้รับงานวิจัยจาก ผศ.ดร. สาโรจน์ ประเสริฐศิริวัฒน์ มาผลิตจริงจัง