ผมก็ไม่รู้ว่า รูปร่างหน้าตาของแกงเลียงถูกผูกขาดด้วยสูตรแบบ

นี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่รู้แน่ๆ คือว่า ในพื้นที่ต่างๆ เขาก็ยังมีแกงเลียง หรือมี “เลียง” แบบของตัวเองอยู่อย่างหลากหลาย เช่น ผมเคยเห็นคนมาถอนต้นบุกในสวนทุเรียนแถบเมืองจันทบุรี สอบถามก็ได้ความว่าพี่เขาจะเอาไป “เลียงส้มระกำ” คือตำหอมแดง กะปิ ละลายน้ำ ต้มในหม้อจนเดือด ใส่ต้นบุก แล้วก็ใส่เนื้อระกำให้เปรี้ยวชื่นใจ ว่าคนแก่ๆ ชอบกิน

หรือมีสูตรแกงเลียงใบกะเพราของคนมอญ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ใส่ใบกะเพรา หัวปลี เป็นแกงเลียงกลิ่นฉุนร้อน แปลกกว่าที่อื่นๆ แม้แต่ย่านเมืองสิงห์บุรี หลายคนที่ผมรู้จักก็ยืนยันว่า ที่บ้านเขานั้นรู้จักกิน “แกงเลียงกะทิ” มาตั้งแต่เด็กๆ คือใส่กะทิในหม้อแกงเลียงจนข้น พวกเขาเพิ่งจะเคยกินแกงเลียงน้ำใสๆ ในกรุงเทพฯ เอาเมื่อไม่นานนี้เอง

พ่อผมเองยังเล่าว่า แต่ก่อน ถ้าใครมีข้าวโพดข้าวเหนียวฝักดิบๆ จะเอามาฝานบางๆ ใส่ในแกงเลียงด้วย ทำให้น้ำแกงออกข้นนิดๆ มีความหวาน มัน อร่อย น่ากินขึ้นไปอีก ผมคิดว่าน่าจะได้เคยเขียนไว้ในหลายที่ ว่าผมเชื่อว่า คำว่า “แกง” มาจากคำจีนโบราณสมัยราชวงศ์ถัง คือ “เกิง” (羹) สำเนียงแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า “แก” หมายถึงการเอาเนื้อ ผัก ต้มในน้ำเดือด กินเป็นน้ำแกงร้อนๆ

อันนี้ไม่ได้คิดเอาเองหรอกครับ คือเพื่อนผม อาจารย์นิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล ซึ่งสอนภาษาจีน – สอนการเขียนพู่กันจีน อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้แนะเบาะแสนี้ ทั้งยังบอกด้วยว่า คำว่าเลียงนั้นก็น่าจะเป็นคำจีนอีก คือ “เลียง” (凉) แปลว่า “เย็น” หมายถึงอาการเย็นโดยธาตุ ไม่ใช่โดยอุณหภูมิ เช่น น้ำจับเลี้ยง นั้น ถึงแม้กินร้อนๆ แต่สมุนไพรทุกตัวเป็นยาเย็น กินแล้วจึงปรับธาตุในร่างกายไปตามฤทธิ์เย็นของตัวยานั้นๆ

ถ้าอธิบายตามกรอบนี้ “แกงเลียง” หรือ “แกเลี้ยง” ตามสำเนียงดั้งเดิม จึงน่าจะคือแกงรสจืดที่มีเครื่องปรุงเป็นสมุนไพรฤทธิ์เย็น กินเพื่อผลทางการปรับสมดุลธาตุในร่างกาย ซึ่งก็น่าจะมีเค้ามาจากวัฒนธรรมอาหารแบบจีน ครั้นเมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนิยามความหมายและความเคร่งครัดเรื่องส่วนผสมก็คงค่อยคลายลง จนกระทั่งลืมเลือนกันไป

ลองสังเกตดูสิครับว่า ผักที่นิยมใส่ในแกงเลียงสูตรมาตรฐานนั้น ยังคงมีร่องรอยของแกงฤทธิ์เย็นให้เห็นอยู่ เพราะมักใส่บวบ น้ำเต้า หัวปลี ฟัก แฟง ซึ่งในทางสมุนไพรจีนถือเป็นผักฤทธิ์เย็นทั้งสิ้น

ดังนั้น ประวัติความเป็นมา ตลอดจนการคลี่คลายของแกงเลียง ซึ่งนับว่าเป็นแกงที่ปรุงได้ง่ายๆ สะดวกรวดเร็วนี้ จึงดูจะผูกพันกับวัฒนธรรมอาหารทั้งของท้องถิ่นและของใหม่ที่รับเข้ามาจากภายนอก ตามการอพยพเคลื่อนย้ายของคนจีนโพ้นทะเลเข้ามายังดินแดนอุษาคเนย์ ซึ่งได้นำพาโลกาภิวัตน์ด้านอาหารระลอกแรกๆ อย่างเช่น กะปิ น้ำปลา และนาเกลือ เข้ามายังดินแดนแถบนี้ตั้งแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อน

และเมื่อเวลาผ่านไป การปรับปรุง เพิ่มเติม แตกย่อยสูตรออกไปอย่างหลากหลายตามแต่ละภูมิภาค ก็ทำให้ “เลียง” คงจะยังเป็นสำรับกับข้าวหลักๆ ของคนไทย เป็น “อาหารไทย” คู่ไปกับน้ำพริก แกงเผ็ด ยำ พล่า และเครื่องจิ้มเครื่องแกล้มประดามีในครัวไทยต่อไปอีกตราบนานเท่านาน

ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ มีถิ่นกำเนิดในสุมาตรา หรือบอร์เนียว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ดูริโอ ไซเบทินัส เมอร์ (Durio zibethinus Murr.) เชื่อว่ามีการปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา และหากจะนับกันจริงๆ แล้ว ทุเรียนมีมากกว่า 600 สายพันธุ์ แต่ในปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก ส่วนพันธุ์ที่เหลือก็หายากเต็มที

คุณขจร พฤฒิสุขนิรันดร์ (เฮียย้ง) เจ้าของสวนทุเรียน สวนบ้านเรา อยู่บ้านเลขที่ 324 หมู่ที่ 8 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ถือเป็นเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในเจเนอเรชั่นที่ 2 สืบทอดต่อจากรุ่นพ่อ ปลูกทั้งเพื่อการค้า และเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไว้ไม่ให้สูญหาย

เฮียย้ง เล่าว่า สืบเนื่องมาจาก เมื่อ 18 ปีก่อน ทุเรียนถือว่าราคาตกมาก เหลือเพียงกิโลกรัมละไม่กี่บาท เกษตรกรจึงโค่นทุเรียนทิ้ง แล้วมาปลูกยางพารา เพราะตอนนั้นยางพาราคือพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง ส่งผลให้ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์หายากบางพันธุ์ถูกโค่นทิ้งมาตั้งแต่ตอนนั้น จึงมานั่งคิดว่า จะทำอย่างไร ที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนไว้ให้ลูกหลานต่อไป

ปัจจุบัน เฮียย้ง ปลูกทุเรียนบนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ใช้เวลากว่า 2 ปี เพื่อรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนมากถึง 111 พันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะได้สายพันธุ์มาจากจังหวัดนนทบุรี อุตรดิตถ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง

ในระหว่างช่วงที่ใช้เวลาเก็บรวบรวมทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ เฮียย้งได้มีการปลูกทุเรียนพันธุ์ชะนีเป็นต้นตอไว้ก่อน แล้วมาเสียบยอดทีหลัง ด้วยเหตุผลที่ว่าชะนีเป็นทุเรียนสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศ หากินเก่ง เหมาะสำหรับใช้เป็นต้นตอ

ที่นี่รวบรวมทุเรียน ของ สวนบ้านเรา 111 พันธุ์
แบ่งตามลักษณะพันธุ์ เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
ทุเรียนพันธุ์หายากที่ สวนบ้านเรา จะปลูกไว้รวมกันในพื้นที่ 100 ไร่ โดยจะแบ่งพื้นที่ปลูกเป็น 2 โซน

โซนที่หนึ่ง ใช้ปลูกทุเรียนพันธุ์ต่างๆ จำนวน 1,600 ต้น พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดคือ หมอนทอง รองลงมาคือ พวงมณี ส่วนพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์หายากใกล้สูญพันธุ์จะปลูกไว้อย่างละ 2-3 ต้น

โซนที่สอง ทำเป็นสวนผสม ปลูกเงาะ มังคุด และทุเรียน ซึ่งทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไป แต่ขอย้ำว่า กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่ปลูกในพื้นที่นี้เป็นทุเรียนที่หายากที่สุด ยกตัวอย่างเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

ไฮไลต์เด็ด 9 สายพันธุ์
ต้องห้ามพลาด เมื่อมา สวนบ้านเรา
ที่นี่เก็บรวบรวมทุเรียนไว้มากถึง 111 สายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ครั้งนี้ เฮียย้ง ยกตัวอย่างจุดเด่นทุเรียนมาให้ชมกว่า 9 สายพันธุ์ ซึ่งเฮียย้งบอกว่า ถ้าจะพาชมให้ครบทั้ง 111 สายพันธุ์ ใช้เวลาวันเดียวคงไม่พอ สายพันธุ์แรกที่เฮียย้งแนะนำคือ

พวงมณี ถือเป็นพันธุ์ยอดฮิตของผู้ที่ชื่นชอบรับประทานทุเรียน ด้วยรสชาติที่หวานแหลม เนื้อมีสีเหลืองจำปา ทำให้เป็นที่ติดอกติดใจของลูกค้า จนมีออเดอร์สั่งจองกันข้ามปี ล็อตแรกออกมา 2,600 ลูก เฮียย้ง บอกว่า ไม่พอขาย

เม็ดในยายปราง หรือคนระยองรู้จักกันในชื่อ นกกระจิบ แต่ที่สวนมีพันธุ์ดั้งเดิมมาจากเมืองนนท์ เป็นสายพันธุ์ยอดนิยมอีกสายพันธุ์ ด้วยกลิ่นที่มีความหอมเฉพาะตัว มีเนื้อสีเหลืองทอง รสชาติหวาน มัน หอม ตรงนี้ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างที่ลูกค้าชอบ โดยน้ำหนักเฉลี่ยแต่ละลูก ประมาณ 2 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 250 บาท

ย่ำมะหวาด อยู่ในกลุ่มเบ็ดเตล็ด จุดเด่นคือ เนื้อละเอียดเป็นครีม รสชาติมีความมันนำหน้าและปนรสหวาน หลินและหลงลับแล ถือเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างจะหารับประทานยาก บางครั้งอาจจะต้องไปไกลถึงอุตรดิตถ์ เพราะด้วยรสชาติที่อร่อยมาก กลิ่นไม่แรง เปลือกบาง เนื้อละเอียด หอม มัน จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 350-500 บาท ถามว่าทำไมถึงแพง เพราะบางครั้ง 1 ต้น ให้ผลผลิตเพียง 5-10 ลูก ขึ้นอยู่ที่การดูแลรักษา

ชมพูศรี อยู่ในกลุ่มลวง เป็นอีกพันธุ์ที่หารับประทานได้ยาก ใกล้สูญพันธุ์ ที่สวนบ้านเรามีเพียง 2 ต้น มีรสชาติและกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ เนื้อเยอะ ผลผลิตปีนี้มีประมาณ 100 ลูก

กบตาปุ่น ที่นี่มีต้นเดียว เพราะฉะนั้นคนที่อยากรับประทาน ต้องจองล่วงหน้า เราจะไม่ไว้ลูกเยอะ คำนึงถึงความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก

กบทองเพ็ง ลูกค้าสั่งเยอะ คนจะจับจองเป็นพิเศษ เพราะรสชาติหวานเหมือนน้ำอ้อย เนื้อละเอียด สีเหลือง ห้าลูกไม่ถึงผัว เป็นพันธุ์พื้นเมือง ลูกเล็ก แต่เมล็ดใหญ่ รสชาติไม่อร่อยเท่าไรนัก แต่ผลผลิตไม่เคยเหลือ เพราะจะมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ชอบชิมทุเรียนพันธุ์แปลก หรือบางคนชอบที่ชื่อแปลกถึงซื้อ

วิธีการดูแลทุเรียนหลากสายพันธุ์
ให้ได้ผลผลิตดีทุกต้น
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่าน ต้องมีข้อสงสัยเดียวกันกับผู้เขียนว่า เฮียย้ง มีวิธีการปลูกดูแลรักษาอย่างไร เพราะทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ย่อมมีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันออกไป ลำพังปลูกสายพันธุ์เดียวกันก็ดูแลยากแล้ว แต่เฮียย้งต้องดูแลเป็นร้อยๆ สายพันธุ์

เฮียย้ง บอกว่า ทุเรียนแต่ละสายพันธุ์มีวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นกลุ่มกบจะดูแลยาก อ่อนไหวต่อโรครากและโคนเน่า ถ้าจะให้ดีต้องหมั่นดูแลให้ทั่วถึงทุกต้น ต้องดูแลด้วยใจ ดูแลตั้งแต่วันแรกที่เราเก็บผลผลิตเสร็จ เท่ากับว่า 365 วัน เราต้องดูทุกวัน

หลังการเก็บเกี่ยวเสร็จ ต้องรีบบำรุงทันที เพื่อให้ต้นสมบูรณ์ ทุเรียนที่สมบูรณ์คือ ใบจะต้องเยอะเพื่อที่จะปรุงอาหารจากใบสู่ลูก ทุเรียนจะอร่อยหรือไม่ จะอยู่ที่การดูแลตั้งแต่หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ

การใส่ปุ๋ยทางดินสำคัญมาก ปุ๋ยที่นี่จะใส่ผสมระหว่างอินทรีย์และเคมี เพราะที่นี่เราทำแค่ GAP หมายความว่า เป็นการทำทุเรียนที่ปลอดภัย ไม่ใช่ออร์แกนิก การใช้ยา หรือปุ๋ย สามารถใช้สารเคมีได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

ป้ายสี แก้ปัญหา
การตัดทุเรียนอ่อนสู่ท้องตลาด
นอกจากการดูแลรักษาทุเรียนที่ดีแล้ว การเก็บเกี่ยวก็ต้องมีขั้นตอนการใส่ใจไม่แพ้กัน เพราะทุเรียนแต่ละพวงมีระยะดอกบานไม่พร้อมกัน เมื่อดอกบานไม่พร้อมกัน เราจะไม่สามารถกำหนดรุ่นที่ชัดเจนได้ ดังนั้น ตอนตัดก็จะมีทุเรียนแก่ทุเรียนอ่อนปนกันไป ที่สวนจึงแก้ปัญหาโดยการใช้สีป้ายที่ก้านของทุเรียนให้ชัดเจน โดยแบ่งเป็นสีเหลือง คือลูกที่พร้อมตัด สีแดง คือตัดทีหลังสีเหลือง 1 สัปดาห์ และสีน้ำเงิน คือตัดรุ่นสุดท้าย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ชาวสวนมีระบบการจัดการสวนที่ดีขึ้น และถือเป็นการแก้ปัญหาการตัดทุเรียนที่ไม่ได้มาตรฐานออกสู่ตลาดอีกด้วย

เลขรหัสทุเรียน ตัวช่วยสำคัญ
ในการดูแลทุเรียนให้ได้ครบทุกต้นทุกลูก
รหัสต้นคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร เฮียย้ง บอกว่า มีไว้เพื่อช่วยให้ชาวสวนมีระบบการจัดการที่ดี สะดวกและแม่นยำมากขึ้น เกษตรกรจะสามารถดูแลทุเรียนได้ทั่วถึงทุกต้น ยกตัวอย่าง ที่สวนเฮียย้ง มีทุเรียน 1,600 ต้น ถ้าเกิดปัญหาหรืออยากจะให้คนงานไปตัดทุเรียนต้นที่ต้องการ คนงานไม่มีทางรู้ว่าต้นไหน แต่ถ้าเมื่อไรเรามีรหัสต้น เราแค่ถ่ายรูปรหัสต้นส่งไปให้ คนงานก็จะรู้ละว่าต้นที่เราให้ไปดูคือต้นที่เท่าไร แถวอะไร อย่างรหัสต้นเรา 4-3-12-7 เขาก็จะรู้ และวิ่งไปที่แปลงที่ 4 แถวที่ 3 ต้นที่ 12 และเมื่อตัดขายก็จะมีสติ๊กเกอร์มาแปะที่ขั้ว โดยสติ๊กเกอร์ที่แปะจะบอกทั้งรหัสต้น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อสวน เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าได้ เมื่อเขาได้รับประทานอาจติดใจต้องการผลผลิตจากต้นนี้อีก เขาก็สามารถสั่งจองจากรหัสต้นได้ด้วย

หากชาวสวนจะนำวิธีนี้ไปใช้จะยินดีมาก รหัสต้นคือ ตัวช่วยจัดการความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และมีการดูแลที่ทั่วถึง

สติ๊กเกอร์ คิวอาร์โค้ด ถือเป็นการตลาดอีกช่องทางเพื่อการรันตีคุณภาพให้ลูกค้า สามารถตรวจสอบถึงแหล่งที่มาได้ หากสินค้ามีปัญหาสามารถติดต่อขอลูกใหม่ได้ ถือเป็นการซื้อใจลูกค้าไปในตัว

เทคนิคการตลาดแบบเฮียย้ง
ผลผลิตออกเยอะเท่าไร ก็ไม่พอขาย
เกษตรกรส่วนใหญ่มักประสบปัญหาการตลาด คือปลูกแล้วไม่มีที่ขาย การตลาดถือเป็นหัวใจหลักของคนปลูกทุเรียน ผู้ปลูกต้องย้อนกลับไปดูว่า เรามีความสามารถที่จะกระจายสินค้าได้ทางไหนบ้าง ซึ่งวิธีการที่ตนทำมาตลอดคือ จะพยายามขายผลผลิตล่วงหน้าให้ได้มากที่สุด แต่ก่อนที่จะขาย สินค้าเราต้องดีมีคุณภาพก่อน และพยายามขายสตอรี่ของสินค้าเราว่ามีดีอะไร เมื่อสินค้าเราดี มีจุดเด่น ลูกค้าจะวิ่งเข้าหาเราเอง

เฮียย้ง เอ่ยปากเองเลยว่า การตลาดของตนค่อนข้างที่จะแข็งแกร่ง เพราะตนมีจุดแข็งทั้งด้านคุณภาพ และช่องทางการกระจายสินค้า

พยายามทำสินค้าของตนเองให้ได้มาตรฐาน สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า เพราะลูกค้า ณ ปัจจุบัน ต้องการความมั่นใจว่าเมื่อซื้อทุเรียนไปแล้ว ต้องได้ทุเรียนที่อร่อย ปลอดภัย รับประทานแล้วไม่เป็นอันตราย

พยายามออกสื่อ ที่สวนบ้านเรา อาจจะได้เปรียบเกษตรกรท่านอื่น ตรงที่เรามีทุเรียนหลายสายพันธุ์ ทำให้เป็นที่สนใจของสื่อจากหลายสำนัก ดังนั้น เมื่อสื่อเข้าถึงก็ไม่ใช่เรื่องยากที่คนจะรู้จัก สวนบ้านเรา

ทำการตลาดผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ และเฟซบุ๊ก ที่นี่เราจะพยามอัพเดทสตอรี่ทุเรียนลงไป เราจะขายสตอรี่ทุเรียนตั้งแต่ต้นฤดู ว่ามีความเป็นมาอย่างไร จนถึงช่วงออกผลผลิต เมื่อผลผลิตออกก็จะเริ่มขายและบอกว่าครั้งนี้มีพันธุ์อะไร ออกกี่ลูก ลูกค้าที่เห็นก็จะจองมาทางไลน์ ถือเป็นการตลาดในยุคสมัยใหม่ อย่าลืมว่า ทุเรียนเรามีน้อย อย่างละ 80-100 ลูก เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ประชาสัมพันธ์ เขาจะไม่รู้จัก หรือถ้าไม่สะดวกขายออนไลน์ ก็ให้ลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมที่สวน พยายามหาช่องทางขายอย่างไรก็ได้ ที่ไม่ต้องผ่านคนกลางเยอะนัก

เปิดเป็นบุฟเฟ่ต์ทุเรียน ถือเป็นการตลาดอีกขั้น หากสนใจบุฟเฟ่ต์ทุเรียนสวนบ้านเรา สามารถติดต่อมาทางเบอร์โทร. (081) 804-4169 หรือแอดไลน์ @suanbanrao แต่ขอย้ำว่าต้องจองล่วงหน้า เพราะมีคนจองเต็มทุกปี เฮียย้ง กล่าว

คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่า “กล้วย” เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะ ผลกล้วย ทั้งผลกล้วยดิบ และผลกล้วยสุก สามารถนำไปประกอบอาหาร ทั้งอาหารคาว และหวาน หรือแปรรูปได้สารพัด

กล้วยเศรษฐกิจเป็นที่ต้องการของตลาดหลักๆ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์นี้ล้วนแล้วแต่มีลำต้นสูงใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 2 เมตร บางต้นสูงถึง 3.5 เมตร ทำให้ยากต่อการจัดการหรือการเก็บเกี่ยวผลผลิต และอาจเจอปัญหาต้นโค่นล้มเพราะรับน้ำหนักเครือไม่ไหวทำให้เกิดผลกล้วยเสียหายได้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างอยู่หมัด ด้วยการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นเพื่อง่ายต่อการจัดการดูแล การเก็บเกี่ยวผลผลิตและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

คุณนิคม วงศ์นันตา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ จากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทลัยแม่โจ้ และทีมงาน ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นมากว่า 3 ปี จนประสบความสำเร็จ

“เราได้ทำการศึกษาช่วงเวลาของการเกิดปลีกล้วยด้วยการสังเกตลักษณะการเจริญเติบโตพื้นฐาน คือ เมื่อกล้วยมีอายุประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลีโดยที่ต้นแม่จะตกเครือกล้วยก่อนต้นลูก ต้นหลาน ไล่เลียงกันไป และที่สำคัญคือการสังเกต “ใบธง” ของกล้วยซึ่งบ่งชี้ระยะของการออกปลีในแกนกลางลำต้น ซึ่งศึกษาด้วยการผ่าลำต้น จึงพบกว่าระยะที่พอเหมาะในการเจาะลำต้นเพื่อบังคับให้กล้วยตกเครือนั้น คือระยะที่ใบธง (ใบยอดสุดท้ายของกล้วยซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก) ชูก้านใบขึ้นสู่ท้องฟ้า มีลักษณะม้วนหลวมๆ ไม่แน่นเกินไป ไม่คลี่เกินไปนั่นคือระยะพอเหมาะที่จะเจาะลำต้นบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นในระดับความสูง 1.5 เมตร ซึ่งเป็นความสูงระดับพอดีในการจัดการดูแลกล้วย การเก็บเกี่ยวผลผลิต”

ขั้นตอนการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้น

1. อันดับแรกให้ดูต้นที่สมบูรณ์มีอายุ 6-8 เดือน (นับจากการการปลูกใหม่หรือแทงหน่อใหม่)

2. สังเกต “ใบธง” ของกล้วยต้นนั้นๆ ว่าต้องม้วนแบบหลวมๆ ไม่แน่นและไม่คลี่เกินไป 3. วัดความสูงจากพื้นดินขึ้นไป 1.5 เมตร ทำเครื่องหมายกว้าง 9 ซม. สูง 15 ซม.เพิ่อเตรียมเจาะ โดยเลือกเจาะด้านนอกกอฝั่งตรงข้ามของต้นแม่

4. ลงมือเจาะลำต้นกล้วยด้วยมีดปลายแหลม ในตำแหน่งที่ทำสัญลักษณ์ไว้ โดยค่อยๆ กรีดลงไปที่ละชั้นของกาบกล้วยจนถึงแกนกลางลำต้นกล้วยแล้วตัดแกนกลางและดึงออก

เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเจาะลำต้นเพื่อให้กล้วยตกเครือ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเห็นว่ากล้วยจะค่อยๆ แทงเครือออกทางช่องที่เจาะเอาไว้ ก็สามารถดูแล รักษาเครือกล้วยต่อไปจนได้ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ถ้าเป็นกล้วยไข่ก็ใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน กล้วยหอม 40-60 วัน กล้วยน้ำว้า 80-120 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โดยง่าย

การบังคับกล้วยออกเครือกลางลำต้นเป็นอีกวิธี หรือเป็นอีกทางเลือก ที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้เพื่อการดูแลจัดการกล้วยได้สะดวกยิ่งขึ้นป้องกันการโค่นล้มของลำต้น ลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย ไม่ต้องมีไม้ค้ำลดค่าใช้จ่าย

พะเยา ถือเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เพราะชาวนาจังหวัดพะเยาปลูกข้าวหอมมะลิในดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ ที่ถูกพัดพามาจากน้ำแม่อิง มีส่วนประกอบจากหินภูเขาไฟและหินตะกอนชนิดต่างๆ พบบริเวณพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบระหว่างหุบเขา ซึ่งเหมาะแก่การปลูกข้าวหอมมะลิ ทำให้ข้าวหอมมะลิพะเยามีความหอมที่โดดเด่น และเป็นสินค้าที่มีอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่ไม่เหมือนใคร

ดังนั้น ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเกิดแนวคิดขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว ภายใต้ชื่อ “พะเยาโมเดล” โดยจับมือกับ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. จังหวัดพะเยา และ บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายข้าวหอมมะลิ ความชื้น 15% ในราคา 18,000 บาท ต่อตัน ซึ่งสูงกว่าราคาประกันข้าวหอมมะลิของรัฐบาลที่ประกาศไว้ ในปี พ.ศ. 2562 ถึง 3,000 บาท ต่อตัน โดย บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด เริ่มรับซื้อผลผลิตในเดือนพฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป

คุณสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร สมัครเว็บ UFABET กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ รับผิดชอบธุรกิจข้าวและอาหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ข้าวตราฉัตร) กล่าวว่า สาเหตุที่ข้าวตราฉัตรเลือกพื้นที่ส่งเสริมผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์สูง ผลผลิตข้าวหอมมะลิมีคุณภาพจากแหล่งต้นกำเนิด (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) จึงทำให้ข้าวหอมมะลิจังหวัดพะเยามีลักษณะเฉพาะของอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่พิเศษ

ข้าวตราฉัตร ได้ดำเนินโครงการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ภายใต้ระบบการผลิตข้าวคุณภาพ ด้วยมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices หรือ ข้าว Q) โดยเน้นคัดเลือกเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ ไม่น้อยกว่า 98% มาเพาะปลูกในแปลงนาของเกษตรกรสมาชิก มีการตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อพัฒนาคุณภาพดินในแปลงนาให้ดีขึ้น ไม่มีสารตกค้าง น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกต้องปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนวัตถุอันตราย มีเกณฑ์การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรแบบถูกวิธี เหมาะสม และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มีระบบสำรวจแมลง ศัตรูพืช หรือโรคต่างๆ ในแปลงนา โดยการตรวจเช็คต้นข้าวในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ

และเลือกช่วงเวลาเก็บเกี่ยวข้าวที่เหมาะสม (ระยะสุกแก่ หรือระยะพลับพลึง) เพื่อให้ได้ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดีที่สุด และเกษตรกรสมาชิกทุกราย มีระบบการจดบันทึกข้อมูลเพาะปลูกทุกขั้นตอนการผลิตข้าว เพื่อสามารถตรวจสอบที่มาของผลผลิตได้ และที่สำคัญเกษตรกรสมาชิกทุกรายมั่นใจได้ว่า ข้าวที่ปลูกมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน เพราะบริษัทรับซื้อข้าวคืนในราคานำตลาด ตามข้อตกลงการรับซื้อผลผลิตคืน ในรูปแบบ “พะเยาโมเดล” ตามนโยบายของภาครัฐ

ข้าวตราฉัตร ได้ใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต ชวนพันธมิตรคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ C.P.INTERTRADE (SHANGHAI) CO.,LTD SHANGHAI RONGYOU INTER-TRADE CO.,LTD 7-Eleven Makro และ Shopee ร่วมลงนาม MOU ทางการค้า เพื่อเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าข้าวหอมมะลิคุณภาพ ในแบรนด์ ข้าว “ฮักพะเยา” ไปสู่ผู้บริโภคในตลาดโลกอีกด้วย

เอกลักษณ์ความอร่อยของ ข้าว “ฮักพะเยา” (Hug-Phayao) ข้าวนาน้ำฝน ของดีเมืองดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จึงอยู่ที่เรื่องราวที่มาของข้าว เพราะเป็นข้าวหอมมะลิจากแหล่งปลูกเดียวบนผืนนาจังหวัดพะเยา (Sungle Origin) ผืนนาที่ธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นมาอย่างลงตัว จากผืนนาดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว โอบล้อมด้วยภูเขาสูง ผสมผสานกับแหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุที่เหมาะสม และสภาพอากาศที่พอดี ปราศจากมลพิษ จนเป็นข้าวหอมมะลิ คุณภาพดี เมล็ดเรียวยาว ขาว ใส และมีกลิ่นหอมจากธรรมชาติ คงความเป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิจังหวัดพะเยาได้อย่างลงตัว