ผมทำจันทน์ผามานานกว่า 20 ปี เพิ่งมีต้นนี้ต้นเดียวที่รูปร่าง

ลักษณะประหลาดแบบนี้ และยังไม่เคยเห็นที่ไหนอีก จึงจัดอยู่ในกลุ่มของหายาก ถ้ามีคนมาขอซื้อก็ขาย ราคาน่าจะอยู่ที่หลักแสนหรือหลักล้านบาท ขึ้นอยู่กับการตกลง ใครอยากได้ข้อมูลเรื่องต้นพันธุ์ทับทิมเพชรชมพูและจรัสแสง หรือต้นจันทน์ผา ก็สามารถพูดคุยสอบถามกับคุณกลางได้โดยตรง หรือเข้าเยี่ยมชมไร่จรัสแสงได้ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 140 กิโลเมตร หากขับรถมาจาก กทม. ถึงกลางดง ให้กลับรถหน้าร้านข้าวสามสี และเข้าซอยเทศบาล 10 ขับเข้ามาตามทางเรื่อยๆ ก็จะพบป้ายไร่จรัสแสง อยู่ทางขวามือ

กระแสความนิยมบริโภคผลไม้เพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะ “ทับทิม” ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยมีไร่ทับทิมขนาดใหญ่ เพียง 3 แห่ง คือ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอกลางดง คือ ไร่จรัสแสง ทุกวันนี้ ทับทิมขายดีมากจนไร่จรัสแสงผลิตสินค้าได้ไม่ทันกับความต้องการของตลาด คุณโย่งจึงมองหาเกษตรกรรุ่นใหม่เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตร เพื่อลงทุนปลูกทับทิมเมล็ดนิ่มป้อนเข้าสู่โรงงานแปรรูปในอนาคต

จากสภาพความแห้งแล้ง แม้หน้าฝนน้ำก็ไม่ค่อยมี แต่เกษตรกรก็ยังทนสู้ พลิกฟื้นผืนดินเพื่อดิ้นรนต่อสู้กับภาวะแล้ง ที่ดูเหมือนจะซ้ำซาก เกษตรกรชาวบ้านไม่เคยย่อท้อหรือท้อถอย กลับมีมานะหาทางสู้กับภาวะธรรมชาติที่เรียกว่าไม่ปรานีใคร

ครั้งนี้ได้รับคำเชิญชวน บอกเล่าจาก คุณสมใจ ครุฑตำคำ ประธานกลุ่มธนาคารต้นไม้บ้านหนองหอย ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร ว่า นอกจากกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มสมาชิกธนาคารต้นไม้แล้ว ยังมีเกษตรกรเดือดร้อนได้รับผลกระทบจากสภาพความแห้งแล้ง กลุ่มเกษตรกรต้องประสบปัญหา การปลูกพริก ผักสวนครัวหาน้ำลำบาก น้ำที่มีก็ต้องใช้กันอย่างประหยัด บางรายพลิกผันลดพื้นที่เพาะปลูกลง โดยเฉพาะเกษตรกร “กลุ่มปลูกพริกอินทรีย์” นอกจากราคาพืชผลที่มีแนวโน้มราคาตกต่ำดิ่งลงทุกวัน ก็ต้องลดพื้นที่เพาะปลูกลงด้วย

ขับรถเดินทางจากตัวเมืองสกลนครมุ่งหน้าสู่ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร ไปตามถนนสายสกลนคร-นครพนม ก่อนถึงทางเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ราว 1 กิโลเมตร ก็พบป้ายบอก เป็นเส้นทางหลวงชนบท สายบ้านเชียงเครือ-นาหมาโป้ และเลี้ยวซ้ายตามถนนดังกล่าว เข้าไปราว 7 กิโลเมตร ก็จะพบกับหมู่บ้านหนองหอย ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร ที่นี่ไปพบกับ คุณสมบัติ และ คุณยุวรี นึกชอบ เกษตรกร ประธานกลุ่มผู้ปลูกพริก “อินทรีย์” บ้านหนองหอย

คุณสมบัติและคุณยุวรี นึกชอบ สองสามีภรรยาให้ข้อมูลว่า พริก เป็นพืชผักที่ปลูกอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปลูกพริกส่วนใหญ่มีทั้งปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือนและจําหน่ายเพื่อเป็นรายได้หลักของครอบครัว เมื่อมองดูอาหารหลักของคนอีสาน นั่นก็คือ ส้มตํา เครื่องปรุงที่จะขาดไม่ได้ คือ พริกขี้หนู ซึ่งช่วยเพิ่มสีสันและรสชาติของส้มตําและอาหารอื่นๆ ให้น่ารับประทาน ด้วยเหตุนี้การผลิตพริกของเกษตรกรจึงมีการปลูกตลอดทั้งปีหมุนเวียนกันไปตามสภาพพื้นที่ของแต่ละแห่ง

การปลูกพริกในช่วงฤดูแล้งนั้น (พริกสวน) เป็นการปลูกที่มีการให้น้ำและปุ๋ยค่อนข้างดี เกษตรกรจะเพาะกล้าประมาณกลางเดือนกันยายน ย้ายปลูกในเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หากเกษตรกรต้องรอพื้นที่หลังเก็บเกี่ยวจะเพาะกล้าประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน ย้ายกล้าประมาณต้นเดือนมกราคม เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศหนาวเย็น การปลูกพริกหลังเก็บเกี่ยวข้าวตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน การปลูกพริกขี้หนูในบางพื้นที่สามารถเก็บเกี่ยวได้นานถึงเดือนสิงหาคม

ในส่วนหมู่บ้านหนองหอยนั้น เกษตรกรแต่เดิมนิยมปลูกกันมาก และจะปลูกเพื่อบริโภคกันเอง ไม่มีการนำมาจำหน่าย หรือแลกเปลี่ยนอาหารกันในหมู่บ้าน ที่เป็นวัฒนธรรม ไม่ซื้อในสิ่งที่หาได้ ทำได้ แต่จะแบ่งปัน นี่คือ สังคมในชนบท ไม่เหมือนในเมือง น้ำยังมีให้ดื่มฟรี ไม่เหมือนสังคมทุกวันนี้ ไปมาหาสู่กัน น้ำยังได้ซื้อกิน

โดยส่วนใหญ่จะปลูกแบบเคมี คือการใช้ยาพ่นและฉีด เพราะพริกจะมีศัตรูมากเหมือนกัน ต่อมาชาวบ้านได้นำไปจำหน่ายในตลาด ปรากฏว่าตลาดมีความต้องการสูง เพราะอย่างน้อยพริกไปจากหมู่บ้านหรือพื้นบ้าน ก็มีการใช้ยาปราบศัตรูน้อยหรือแทบไม่ได้ใช้

เมื่อสังคมมีการซื้อขาย หรือที่เรียกว่าทุกอย่างแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ ชาวบ้านจึงได้หันมาปลูกพริกเพื่อจำหน่าย จำนวนกว่า 30 ราย นอกจากนั้นปลูกตามหัวไร่ปลายนา เพื่อเก็บไว้บริโภค โดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบเกษตรเคมี คือใช้สารเคมี เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช เข้ามาเป็นตัวช่วยเพื่อเร่งให้ผลผลิตทันเวลาตามที่ต้องการ

คุณสมบัติ ในวัย 51 ปี บอกอีกว่า ต่อมาเมื่อมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร มาตั้งอยู่ในตำบลนี้ ปี 2543-2544 ได้มีอาจารย์จากทางมหาวิทยาลัย พร้อมนิสิตได้ออกพื้นที่ แนะนำชาวบ้านให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรว่า เกษตรเคมี อันตรายทั้งคนบริโภคและคนปลูก ดังนั้น หากทำได้ ควรทำเกษตร “อินทรีย์” ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมี ทำให้เกษตรกรส่วนหนึ่งสนใจ ได้หันมาจับกลุ่มกันปลูกพืชทุกอย่างแบบ “อินทรีย์” แต่มีเกษตรกรบางรายก็ยังทำเกษตรเคมีอยู่ตลอดมา

คุณยุวรี บอกว่า ด้วยราคาหรือการไม่ชอบเคมี จึงร่วมกับสามีหันมาทำเกษตรอินทรีย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น การปลูกพริก ส่งขาย พืชทุกอย่างไม่ใช้สารเคมีหรือยาปราบศัตรูพืช หากใช้ปุ๋ยจะเป็นปุ๋ยคอก มูลวัว มูลควาย เป็นธรรมชาติทุกชนิด

โดยเฉพาะการปลูกพริกและผักสวนครัว หากเปรียบเทียบราคา พริกที่ปลูกเกี่ยวข้องเป็นพวกเคมีหรือใช้ยาปราบศัตรูพืช ขายได้ตามท้องตลาด ราคากิโลกรัมละ 20 บาท พริกจากการปลูกแบบ “อินทรีย์” จะได้ราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท ราคาห่างแตกต่างกันมาก

ปัจจุบัน แม้ราคาพริกที่ปลูกทั่วไป (ใช้เคมี) จะได้กิโลกรัมละ 17-20 บาท แต่พริกจากกลุ่มปลูกแบบอินทรีย์ จะได้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 70-80 บาท

คุณยุวรี บอกว่า ในที่ดินจำนวนกว่า 10 ไร่ ของตนเอง ได้แยกเป็นการทำนาปี จำนวน 8 ไร่ และทำเศรษฐกิจแบบพอเพียงและอยู่ในกลุ่มของไร้สารเคมีร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นกลุ่มปลูกพริกแบบอินทรีย์ ส่งขายในตลาด ซึ่งมีความต้องการสูง ที่เหลืออีกราว 5 ไร่ ใช้เป็นการทำเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว ตลอดจนทำแปลงปลูกพริกและผักในสวนครัว ส่งขายทุกวัน รอบๆ ก็จะปลูกกล้วยและมะละกอ

คุณยุวรี ให้ข้อมูลว่า กลุ่มเกษตรกรปลูกพริกและกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่ ขณะนี้กำลังประสบปัญหาเรื่องของน้ำ เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญของเกษตรกร หากขาดน้ำก็หมดกัน ในช่วงนี้น้ำเริ่มน้อยและขาดแคลนแล้ว หากไปถึงเดือนมีนาคมของทุกปี เกษตรกรจำเป็นต้องหยุดเพาะปลูกพืชบางชนิด เพราะน้ำไม่เพียงพอ บางรายปลูกดอกดาวเรือง จากเคยปลูกมากจะลดเหลือ 1 งาน จากที่เคยปลูก 3-4 ไร่ สิ่งที่ต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ คือน้ำ อยากฝากหรือขอร้องไปถึงหน่วยงานที่ดูแล มาช่วยแก้ปัญหาให้และช่วยชาวบ้านด้วย ช่วงนี้ก็ต้องเจาะบาดาลหาน้ใต้ดินขึ้นมา แต่ความหวังก็ริบหรี่ เพราะเมื่อถึงช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ทุกปีน้ำบาดาลก็ไม่มีเช่นกัน

“รายได้จากการทำสวนพริกและผักแบบอินทรีย์ จะอยู่ที่วันละ 300 บาท ก็ถือว่าดีสุดแล้ว ไม่เหมือนกับปีที่ผ่านมา เฉพาะครอบเราจะมีรายได้ถึงวันละ 1,000-1,500 บาท โดยเฉพาะพริกแบบอินทรีย์ โดยเฉพาะพริกไม่พอจำหน่าย โดยทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร รับซื้อไม่อั้น ในราคากิโลกรัมละ 80 บาท ในช่วงนี้ ขณะเดียวกันส่วนพริกที่ปลูกเป็นแบบใช้เคมี ตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 17-20 บาท เจอทั้งปัญหาภาวะแล้ง ราคาพริกยังตกต่ำอีกด้วย สำหรับรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกพริกในช่วงนี้ จะอยู่ที่วันละ 300 บาท หรือเดือนละไม่ถึงหมื่นบาท ปัญหาคือ เรื่องน้ำ ขณะนี้แล้งเริ่มขยับเข้ามา ฝากผู้ที่เคยรับปากไว้ช่วงหาเสียง อย่าลืมสัญญาอะไรไว้กับชาวบ้านด้วย” คุณยุวรี กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับเกษตรกรหรือหน่วยงานที่สนใจ ต้องการศึกษาหรือต้องการข้อมูล ติดต่อ คุณสมบัติ-คุณยุวรี นึกชอบ โทร. 061-131-3426 ได้ทุกวัน กลางคืนมีอากาศเย็น ส่วนกลางวันอากาศร้อนในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุด เฝ้าระวังการระบาดของ เพลี้ยไฟ มักพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดเริ่มออกดอกถึงระยะติดผลอ่อน โดยจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของ เพลี้ยไฟ เข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช สำหรับการเข้าทำลายของ เพลี้ยไฟ ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนมังคุดร่วง ส่วนผลอ่อนมังคุดที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายของ เพลี้ยไฟ ชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดจะมีลักษณะขรุขระ ที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพต่ำ การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ในระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน จะส่งผลทำให้ต้นมังคุดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ ใบไหม้ และต้นมังคุดขาดความสมบูรณ์

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการระบาดของ เพลี้ยไฟ ให้เกษตรกรสำรวจการระบาดของ เพลี้ยไฟ บนใบอ่อน ดอก และยอดอ่อน หากพบ เพลี้ยไฟ จำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัว ต่อ 4 ดอก (0.25 ตัว ต่อดอก) หรือ 1 ตัว ต่อยอด หรือผลอ่อน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสาร อะซีทามิพริด 20% เอสพี อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้ เพลี้ยไฟ สามารถต้านทานสารฆ่าแมลงได้

สภาพอากาศในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังการระบาดของ โรคใบติด หรือ โรคใบไหม้ สามารถพบได้ในระยะแตกใบอ่อน อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูง เชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกัน โรคใบติด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของ โรคใบติด ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชทีบูโคนาโซล + ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% + 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเพนทิโอไพแรด 20% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟลูไตรอะฟอล 12.5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเฮกซะโคนาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคิวปรัสออกไซด์ 86.2% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วัน

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้ต้นทุเรียนได้รับแสงแดด อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการระบาดของโรค อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างหนอ ในสายลมร้อนและแอบมีหนาวในบางวัน อุณหภูมิเปลี่ยนแปรยากจะควบคุม แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และกังวลว่าจะเกิดในหลายพื้นที่นั่นคือภาวะแล้ง จากภาพข่าวหลายๆ พื้นที่ประสบภาวะภัยแล้งระบาดหนักยิ่งกว่าไวรัสจากอู๋ฮั่น แม่น้ำลำคลองแห้งผากจนแตกระแหง

ผมยังจำภาพอันน่ากลัวของแผ่นดินทุ่งกุลาร้องไห้ในตอนเด็กได้ดี ดินแตกระแหง ไอแดดที่แผดเผาจนทุกอย่างดูกรอบเกรียม หรือภาพนั้นยังตามมาหลอกหลอนในวัยนี้อีกหนอ น้ำ คือปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับอาชีพเกษตร มีน้ำก็ต่อยอดได้ไม่สิ้นสุด หากขาดน้ำวันใดก็เหมือนสิ้นใจในวันนั้น

เกษตรกลางใจเมืองกรุง เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ผมอยากนำเสนอเป็นอย่างมาก มิได้อยากเห็นเพียงตึก สองตึกเท่านั้น แต่อยากเห็นหลายๆ ตึก หรือทุกตึกได้มีกิจกรรมเช่นนี้ มีแปลงผักที่บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีผักที่หลากหลายไว้บริโภคเอง หรือจะนำไปแจก แลก ขาย ก็สุดแท้แต่เจ้าของจะดำเนินการ

สำคัญมากไปกว่านั้นคือการสร้างระบบนิเวศน์ สร้างสีเขียวให้เพิ่มขึ้นในพื้นที่เมือง และผมเองก็ได้พบกับแปลงผักกลางใจเมืองจริงๆ เป็นแปลงผักดาดฟ้าที่ห้างเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

ผมนัดกับ ลุงเทพ – สุเทพ กุลศรี โทร. (089) 927-7122 ในยามบ่ายสี่โมง (16.00 น.) เพื่อต้องการพิสูจน์หลายๆ เรื่อง หนึ่งคือผมเดินขึ้นไปที่ชั้นดาดฟ้าในเวลาบ่ายสี่โมง แดดกำลังเต้นระยิบ แต่ไอร้อนที่เคยสัมผัสจากปูนไม่มีเลยสักนิด นั่นเป็นการตอบโจทย์ข้อแรก ของการปลูกผักบนดาดฟ้าในลักษณะหลังคาเขียว Green Roof แปลงผักจะช่วยลดความร้อนจากแสงแดดจะส่องถึงพื้นปูนโดยตรง ทำให้ปูนไม่ร้อน ส่งผลต่ออุณหภูมิในตึกลดลง แอร์ทำงานน้อยลง ส่งผลต่อการลดค่าไฟฟ้าได้ด้วย

และในเวลาบ่ายสี่โมงที่กำลังร้อนระอุ ผักในแปลงไม่มีทีท่าว่าจะเหี่ยวหรือสลดสักนิด นั่นต้องมีวิธีการจัดการที่ดีแน่ๆ ที่สำคัญ ผมมองเห็นสิ่งที่จะเป็นขยะที่กำจัดได้ยาก เช่น กล่องโฟม ถูกแปลงร่างมาเป็นกระบะปลูกผัก โอ้โห! เรื่องนี้ตอบโจทย์เรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีทีเดียว “สวัสดีครับลุง ไปยังไงมายังไงถึงได้มาเป็นเกษตรกรขั้นเทพถึงปานนี้”

“เทพอะไรน้อ ลุงก็เป็นคนเดิมนั่นแหละครับ” “ปลูกผักสูงแบบนี้ ไม่ใช่เทพแล้วจะเป็นใคร อย่างน้อยก็ชื่อลุงสุเทพแหละเนอะ”

“ถามว่าไปยังไงมายังไงน่ะเหรอ ตอนแรกผมก็แค่มาช่วยครับ ทำไปทำมาตอนนี้ผมต้องอยู่ประจำ จนถึงต้องรับหน้าที่เป็นทั้งเกษตรกรและวิทยากรไปด้วยเลยครับ” “ถามง่ายๆ ว่ายากไหมกับการปลูกผักแบบนี้ เพราะก่อนนั้นลงปลูกลงในแปลงบนดินเลย”

“ง่ายกว่าเยอะครับ การบริหารจัดการก็ง่ายกว่า ใครๆ ก็สามารถมาปลูกผักได้ ที่สำคัญ เราสร้างชีวิตชีวาให้ตึกได้เป็นอย่างดี เศษอาหารก็นำมาตากแห้งและหมักทำปุ๋ย กล่องโฟมก็นำมาเป็นกระบะปลูก ผสมดินกับปุ๋ยหมักรดน้ำ เท่านี้ก็รอเวลาได้กินผักแน่นอน ที่สำคัญ มีคนแวะมาเรียนรู้กันมากมาย”

ผมเดินสำรวจบนชั้นดาดฟ้าอย่างเย็นใจ ซาแรนที่คลุมในบางจุดทำให้แดดในยามนี้ไม่ร้อนมากนัก สอดคล้องกับปูนที่ไม่ได้คลายความร้อนออกมา จึงทำให้การเดินชมแปลงผักบนดาดฟ้าได้สบายๆ มุมหนึ่งลุงจัดไว้เป็นแปลงปุ๋ยหมัก มีมูลสัตว์ ฟาง และดินในบางส่วนผสมผสานกัน การหมักของที่นี่ลุงเทพจะไม่รอให้ย่อยสลายจนหมด แต่นำมาใช้ในตอนที่ปุ๋ยหมักกำลังเกิดปฏิกริยา (ร้อนมือ) มาผสมกับดินอีกครั้ง รดน้ำ และบรรจุภาชนะเตรียมปลูก อาจดูนอกตำราอยู่บ้าง แต่ลุงบอกว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดี

อีกมุมหนึ่งถือเป็นมุมอนุบาล มีตะกร้าเพาะเมล็ด มีถาดชำต้นกล้า การเตรียมต้นกล้าของที่นี่จะทำให้สอดคล้องกับผักในแปลงใหญ่ กล่าวคือที่นี่จะปลูกผักหมุนเวียนและต่อเนื่อง ทำให้มีผักไว้บริโถคและจำหน่ายเสมอ แปลงที่ตัดหมดแล้วก็จะพักดินและนำกล้าที่พร้อมปลูกลงมาปลูกต่อ

จากเมล็ดพันธุ์จนถึงกล้าพร้อมปลูกใช้เวลา 14-15 วัน จากนั้นก็นำไปปลูกในแปลงอีกครั้ง และที่แปลงก็จะเป็นกระสอบขนาดหน้ากว้าง 6 นิ้ว มาปลูกผักแต่ละต้นแต่ละกอ ด้วยวัตถุประสงค์ที่ลุงเทพและทีมงานบอกว่า

“คนสูงอายุก็ปลูกได้ ดินในถุงก็หนัก ประมาณ 3 กิโลกรัมพอยกไหว เราทำชั้นให้เหมาะกับความสูงของผู้ปลูก เท่านี้ก็จัดการได้ง่ายขึ้นเยอะแล้ว” ในช่วงที่ผมกำลังเดินชมแปลงอยู่นั้น สปริงเกลอร์ก็เริ่มทำงาน ที่นี่ตั้งเวลาอัตโนมัติ หากเป็นช่วงฤดูหนาวหรือฤดูฝนก็ไม่เท่าไหร่ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว การดูแลผักสลัดเป็นเรื่องสำคัญมาก สปริงเกลอร์ปล่อยน้ำแบบละอองฝอย เพื่อเพิ่มความชื้นและลดอุณภูมิ ทำให้ผักไม่เหี่ยวในช่วงที่มีอากาศร้อนสุดๆ การให้น้ำจะตั้งเวลาพ่นทุก 2 ชั่วโมง ครั้งละ 5 นาที พอถึงช่วงเย็นก็งด

“ลุงมีเทคนิคอื่นอีกไหมครับในการปลูกผักแบบนี้”

“ก็ปุ๋ยหมัก น้ำหมักฮอร์โมนคอยฉีดพ่นบ้าง เท่านี้แหละ แมลงก็ไม่กวน ผลผลิตก็ได้ดี”

“ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเก็บผลผลิต ใช้เวลานานไหมครับลุง”

“45-50 วันครับ เป็นช่วงที่ผักกำลังโตมากที่สุดและสมบูรณ์ที่สุด รับรองกรอบ หวานอร่อยสุดๆ” “นอกจากผักสลัดแล้ว ลุงยังปลูกผักอะไรอีกครับ”

“มะละกอ พริก มะเขือเทศ เซอรารี่ ต้นหอม สะระแหน่ บีทรูท ปลูกผสมผสานกันหมดแหละครับ ดูสิ แคยังปลูกเลย เตยหอมก็มี ปลูกได้หมดทุกอย่างครับ ดอกไม้สวยๆ ก็ปลูกได้”

“ถามถึงรายได้ในการปลูกผักแบบนี้ครับ พอไหวไหม”

“เอาคร่าวๆ นะ ผมยังไม่ได้เก็บสถิติอย่างแท้จริง สมัคร Sa Gaming พื้นที่ปลูกประมาณ 240 ตารางเมตร ปลูกผสมผสานแบบนี้ บางส่วนก็ขายกล้าผักสวนครัวด้วย มีรายได้ประมาณเดือนละ 35,000 บาท”

“โห! เดือนละสามหมื่นห้า น่าสนเลยแหละลุง” “ไม่ใช่แค่รายได้ครับ เพราะการปลูกผักบนดาดฟ้าแบบนี้ ลดขยะจำพวกเศษอาหาร โฟม เศษไม้ใบไม้ต่างๆ ที่สำคัญทำให้ตึกเย็นกว่าเดิมลงมาก ช่วยให้ประหยัดไฟในการทำความเย็นได้อีกไม่น้อย ที่สำคัญกว่านั้น กรุงเทพฯ มีโครงการสร้างพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ผมถามจริงๆ ในเมื่อแต่ละพื้นที่ก็ผุดตึกขึ้นมามากมายแบบนี้ เราจะเหลือพื้นที่ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มสีเขียวได้แค่ไหน ดังนั้น การทำแปลงผักบนดาดฟ้าจึงตอบโจทย์นี้ได้แน่นอน ทุกตึกสร้างสีเขียวได้เลย”

“มีแมลงรบกวนไหมครับลุง”

“มันคงบินขึ้นมาไม่ไหวมั้ง เดินดูสิ ผมว่าแทบไม่มีแมลงมารบกวนเลยนะ”

“อีกคำถามเดียว หากมีคนสนใจอยากขอมาเรียนรู้” “ยินดีครับ มาได้เลยชั้นดาดฟ้าตึกเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถาม รปภ. ก็ได้ครับว่ามาดูแปลงผักดาดฟ้าได้อย่างไร เร็วๆ นี้จะมีกิจกรรมให้ได้สนุกกันทั้งครอบครัวครับ มาตัดผัก กินผัก ฟังเพลงบนดาดฟ้ากัน ต้องขอบคุณผู้บริหารเซ็นเตอร์วันที่ท่านมองการณ์ไกลครับ”

บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจเกษตรครบวงจรของไทย จัดกิจกรรม ‘Chia Tai International Field Day 2020’ เปิดสถานีวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช ณ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โชว์ความแข็งแกร่งด้านเมล็ดพันธุ์คุณภาพ พร้อมพาชมแปลงเกษตรสาธิตของพืชหลากหลายสายพันธุ์ อวดโฉมผลิตผลทางการเกษตร ไฮไลต์งานนี้ประกอบด้วยการเสิร์ฟเมนูสร้างสรรค์จากผักผลไม้สด อร่อย ปลอดภัย ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของเจียไต๋ในการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืนให้กับคนทั้งภูมิภาค

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เจียไต๋ จำกัด (เชียงใหม่) 85 หมู่ที่ 5 ถนนริมคลองชลประทาน ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 จัดกิจกรรม ‘Chia Tai International Field Day 2020’ จัดโดยกลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ภายใต้แนวคิด “เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” หรือ “Growing better, together”ภายในงานมีการจัดแสดงสายพันธุ์พืชผักและผลไม้นานาชนิดที่ได้รับการพัฒนาจากนวัตกรรมล้ำสมัย