ผมมีโอกาสได้ลงพื้นที่ตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง จังหวัดเลย

โดยการประสานงานกับเพื่อนในพื้นที่ จากข่าวที่แจ้งมาว่าพื้นที่ดังกล่าวถูกน้ำท่วมหนัก จึงรวบรวมสิ่งของที่ชาวบ้านต้องการนำไปแจก ทั้งเพื่อชดเชยในสิ่งที่เสียหาย และร่วมเป็นกำลังใจให้กัน เราคนไทยมีอะไรพอช่วยกันไหวก็ช่วยกัน สำหรับพื้นที่ๆ ผมและทีมงานไปช่วยเหลือก็ประกอบด้วย หมู่ที่ 8 บ้านเพีย หมู่ที่ 9 บ้านสูบ และหมู่ที่ 1 บ้านน้ำสำราญ โดยมีพันธมิตรร่วมด้วย

มวลน้ำสีแดงขุ่นคลั่กไหลจากภูเขาลงมาตามลำห้วย ในความแรงที่พัดหาทั้งบ้าน ยุ้งฉาง เรือกสวนไร่นาหายไปกับสายน้ำจำนวนมาก พี่น้องชาวบ้านส่วนหนึ่งต้องสิ้นเนื้อประดาตัวในพริบตา ผมได้สัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้านที่อายุ 58 ปี

“ตั้งแต่ผมเกิดมาจำความได้ ตอนนี้ก็อายุ 58 ปีแล้ว ยังไม่เคยเจออะไรแบบนี้เลยครับ” “ใช่ครับ ยังดีที่น้ำมาช่วงเช้าครับ หากมีตอนกลางคืนอาจเสียหายมากกว่านี้ โดยเฉพาะบ้านที่อยู่ริมห้วย”

“ปกติชาวบ้านมีอาชีพอะไรกันครับ” “เกษตรกรครับ ทำนา ทำไร่ข้าวโพด บางส่วนก็มีสวนยาง”

“ขอเป็นกำลังใจให้ครับ ขอให้ผ่านเรื่องฝันร้ายแบบนี้ไปให้ได้ครับ” มาเมืองเลยทั้งทีจะไม่ไปดูสวนพรรคพวกก็กระไรอยู่ ทราบข่าวว่า คุณมนตรี ตรีชารี อุปนายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย และ บก.เกษตรโฟกัส แอบมาทำสวนอยู่ที่ไร่ ดอยเคียงดาว อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มาหลายปีแล้ว ขอไปดูหน่อยสิว่ามีความคืบหน้าอย่างไรบ้างไหม จากพื้นที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมเราขับรถผ่านจังหวัดเลยไปภูเรือ ฝนยังคงทำหน้าที่โปรยปรายไปตลอดทาง ประเทศไทยในปีนี้มีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากมาย ช่วงบนๆ มีน้ำมากมายจนท่วม แต่ทางล่างกลับแห้งแล้งรอฝนอย่างใจจดใจจ่อ

ที่ภูเรือและเส้นทางไปด่านซ้าย สวนแก้วมังกรมีให้เห็นอยู่ละลานตา ผลผลิตนำมาตั้งซุ้มขายข้างทางเป็นจำนวนมาก ในราคาที่ต้องบอกว่าถูกมากๆ ดูก็รู้ว่าเป็นสภาพจำเป็นของเกษตรกรที่ต้องเก็บผลผลิตมาขาย หากปล่อยไว้ก็เน่าเสียไปเปล่าๆ ไม่รู้สินะ ผมเคยพูดอยู่เสมอในคาถาของเกษตรกร การจะอยู่รอดในอาชีพนี้ต้องใช้คาถา ปลูกได้ ขายเป็น เน้นสตอรี่ มีดีที่แปรรูป การแปรรูปคือการเพิ่มมูลค่า ถนอมอาหาร ไปจนสร้างผลผลิตใหม่จากวัตถุดิบที่เรามี ผมเคยรู้มาว่าแก้วมังกรตัดเป็นแผ่นอบแห้งไว้ได้ จึงอยากฝากไปถึงผู้เกี่ยวข้องช่วยมาดูแลเกษตรกรด้วยครับ ราคาก็ไม่ดีอยู่แล้ว หากขายไม่ได้ก็เน่าทิ้งเสียหายอีก น่าเสียดายครับ

ที่ไร่ดอยเคียงดาว คุณมนตรี พาผมบุกตะลุยไปปีนเขาบ้าง ลุยป่าบ้าง ฝนที่ตกลงมาทำให้เส้นทางลื่นเละไม่น้อย ดีที่ว่าการขับขี่แบบ 4×4 ของฟอร์ดเรนเจอร์ออกแบบมาได้ดี ขับสนุก กำลังเหลือเฟือ ทำให้รู้สึกปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารที่นั่งไปด้วย ป่าแก้วมังกร ปรากฏอยู่ละลานตา ทั้งกำลังออกดอก ติดผล และผลแก่ คละเคล้ากันไป สลับกับบางช่วงเป็นป่ายางพารา ซึ่งผมเชื่อว่าเกษตรกรทั้งสองคงต้องเอามือก่ายหน้าผาก เพราะราคาแก้วมังกรว่าไม่ดีแล้ว ราคาน้ำยางพาราก็ไม่ได้ดีไปกว่ากันนัก

ไผ่บงหวาน จำนวน 50 กอ ที่คุณมนตรีปลูกไว้ กำลังให้ผลผลิตอย่างมากมาย นี่แหละไผ่ได้ฝน จะใบเขียวสดและแทงหน่อกันมากมาย คะเนด้วยสายตาว่า หากมาเก็บหน่อกันอย่างจริงจังอาจได้ถึงรอบละตันก็ได้ แก้วมังกรกำลังสุกอยู่จำนวนหนึ่ง เราเก็บและปอกกินกันตรงนั้น หวานชื่นใจไม่น้อย หันไปทางสะตอข้าว ไม่น่าเชื่อว่าจะได้ผลผลิต แต่ขอบอกเลยว่า สะตอที่ไร่แห่งนี้กลิ่นฉุนไม่มาก และกรอบมันอร่อยจริงๆ ดูเหมือนจะเก็บผลผลิตได้หลายรอบด้วยนะ เพราะผมเห็นต้นเดียวกันมีทั้งเก็บมากินได้แล้ว บางส่วนก็ยังเป็นดอกอยู่ด้วย

“กี่ปีแล้วครับกับการทำไร่ทำสวน”

“8 ปีครับ ปลูกผสมผสานไม่เน้นอะไรมากนัก แต่ที่วางไว้หลักๆ นอกจากแก้วมังกร หน่อไม้จากไผ่บงหวาน ก็มีอะโวกาโดนี่แหละที่ตั้งใจจะปลูกให้เป็นผลผลิตจากสวน”
“มีอะไรอีกครับ”

“ส่วนหนึ่งผมเอาไม้ป่ามาลงปลูกด้วย ยางนา พะยูง ยวนผึ้ง ไม้พวกนี้ปลูกไว้เก็บเห็ด”

“พอได้แล้วเหรอครับ” “ช่วงนี้ได้เห็ดระโงกครับ ยังไม่เยอะแค่พอได้กิน แต่ปีหน้าเชื่อว่าเยอะแน่นอน เพราะปีนี้เราเอาเชื้อมาราดไว้ตามรากไม้แล้ว”

“ยังไงครับ เล่าตรงนี้หน่อย”

“ก็ปลูกป่าพวกยางนา พะยูง นี่แหละไว้ แล้วเราเร่งเชื้อโดยการไปหาเชื้อเห็ด หรือเก็บเห็ดแก่ๆ มาปั่นมาตำให้ละเอียดผสมน้ำเอามารดมาราดตามโคนไม้ป่าที่เราปลูกไว้ ไม่กี่ปีก็มีเห็ดให้เก็บกินแล้ว”

“ทำได้ทุกที่ไหมครับ”
“ทุกที่ครับ ขอให้มีต้นไม้พี่เลี้ยงพวกนี้ก่อน นี่ผมเอาผักหวานป่าไปลงไว้อีกนะ อีก 2 ปีมาเก็บกินได้เลย”
“ในฐานะที่เป็นนักเขียน นักข่าวเกษตร อยากให้ฝากอะไรไปให้ผู้อ่านที่เป็นเกษตรกรสักนิดครับ”

“เกษตรกรคืออาชีพพิเศษ เราได้ทำในสิ่งที่เราชอบ ทำแล้วเอาเข้าปากกินได้เลย กำหนดเวลาทำงานของตัวเองได้ คิดและวางแผนก่อนปลูก อย่าไปกลัวว่าจะไม่มีตลาด ขอให้มีของเถอะ คนกินรออยู่อีกเยอะ”

“หากมีใครสนใจอยากมาชมสวนหรือขอซื้อผลผลิต ติดต่อยังไงครับ” “ช่วงนี้มีอะไรพอจำหน่ายบ้างครับ”

“ไผ่บงหวานเมืองเลยครับ ผมรับรองว่าหวาน กรอบ เหมาะสำหรับปรุงอาหารทุกเมนู ต้นพันธุ์อะโวกาโด หม่อนดำออสตุรกี อ้อ! ผมมีกิ่งตอนเมเปิ้ลจำหน่ายด้วยนะ กำลังออกสีแล้ว หากได้อากาศเย็นกว่านี้อีกหน่อยรับรองแดงพรึบ ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ”

ปี 2563 จังหวัดอุตรดิตถ์ และหลายจังหวัด ประสบปัญหาความแห้งแล้งรุนแรง พืชผลทางการเกษตรหลายชนิดไม่สามารถเจริญเติบโตเอาชีวิตรอดอยู่ได้ ส่วนพืชล้มลุกที่เกษตรกรปลูกในระยะนี้ บางส่วนอยู่รอดได้ เพราะเกษตรกรมีแผนการผลิตของตนเอง มีการวิเคราะห์ และคำนวณปริมาณน้ำที่ต้องใช้เลี้ยงดูพืช แต่มีบางส่วนที่ขาดการวิเคราะห์ศักยภาพ ของไร่นาตนเอง ก็เกิดความเสียหาย เรียกกันว่าประสบภัยแล้ง

การเกษตร อีกส่วนที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายคือพืชผลประเภทยืนต้น เช่น พืชสวน ไม้ผล ไม้ยืนต้นต่างๆ พืชไร่ พืชผักอายุยาวเกิน 4 เดือน ที่ปลูกเมื่อต้นปี หรือสวนที่ต้นพืชโตถึงให้ผลผลิตแล้ว มีโอกาสขาดน้ำในช่วงนี้ ทำความเสียหายต่อผลผลิต ตั้งแต่คุณภาพผลผลิตต่ำ ปริมาณผลผลิตลดลง หรือไม่ให้ผลผลิต จนถึงต้นตาย เสียหายโดยสิ้นเชิง ความเดือดร้อนเข้ามาเยือน และกระจายความเดือดร้อนไปอีกหลายทิศทาง จนเกิดความอดอยากหิวโหย แย่งชิง กักตุนอาหาร โบราณว่าข้าวยากหมากแพง หรือเรียกว่าเกิด “ทุพภิกขภัย” ร่างกายคน ก็ทานทนเกือบไม่ไหว โรคภัยตามมาทำร้าย ยาดีที่มีอยู่ในพืชอาหาร ที่เรียกว่า “สมุนไพร” ก็รักษาให้หายได้ไม่ค่อยทันใจ เอาไงดี

การเกษตรหลายพื้นที่กำลังคิดจะเปลี่ยนแปลงปลูกพืชอื่น เพราะเหตุผลหลายๆ อย่าง อาทิ ด้านราคาตกต่ำ การระบาดของศัตรูพืช ความผันผวนของดินฟ้าอากาศ การขนส่งผลผลิต ครั้นจะรื้อไร่นาสวนปลูกพืชใหม่ก็ยังตัดสินใจยาก เวลานี้ใคร่อยากแนะนำให้ปลูก “มะม่วงหิมพานต์” แซมในไร่ในสวน สัก 2 ปี พอปีต่อไปจะทิ้งพืชเดิม หรือจะเอาไว้เป็นพืชแซมสวนกันก็ได้

มะม่วงหิมพานต์ พืชตระกูลเดียวกับมะม่วงทั่วไป แต่มีความแปลกแตกต่างพิสดารที่ลักษณะผล มีเมล็ดโผล่อยู่นอกผลห้อยติดอยู่ตรงปลายลูก ดูแปลกประหลาดจากไม้ผลทั่วไป ซึ่งที่จริงแล้วในทางพฤกษศาสตร์ ผลที่เห็นเป็นสีเขียวเหลือง หรือเมื่อแก่จะสุกแดงน่ากินนั้น คือการพองตัวของก้านดอก เป็นผลปลอม หรือผลเทียม ส่วนผลจริงนั้นคือเมล็ดที่ติดอยู่ส่วนปลาย สีเทาหรือดำ เมื่อกะเทาะเอาเนื้อในสีขาว เอามาตากแห้ง ทอด หรืออบให้สุก ก็คือเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เราๆ ท่านๆ ชอบใช้เป็นของขบเคี้ยวยามว่าง หรือแกล้มเบียร์เย็นๆ สุดยอด

เดิมทีนั้น มะม่วงหิมพานต์ มีอยู่แถวทวีปอเมริกาใต้ คือถิ่นกำเนิดเขาอยู่ที่โน่น แถบประเทศบราซิล มีชาวโปรตุเกส ซึ่งเป็นนักล่าขยายอาณานิคม นำเอามะม่วงหิมพานต์จากโน่นไปแพร่ขยายไปทั่ว ในสมัยศตวรรษที่ 16 โดยเฉพาะถิ่นที่เป็นเขตอิทธิพล เช่น ทวีปแอฟริกา ประเทศโมซัมบิก ทานซาเนีย เคนยา มาดากัสการ์ เข้ามาถึงเอเชีย ประเทศอินเดีย แถบฝั่งมลายู เข้าพม่ามาสู่เขตประเทศไทย ที่จังหวัดระนอง มีหลักฐานว่า พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้นำมาแพร่ขยาย จนมีปลูกกันทั่วประเทศ และมีอีกหลายท่านที่นำมะม่วงหิมพานต์เข้ามาปลูกในไทย เช่น เมื่อ พ.ศ. 2504 นายเธท ซิน จากองค์การ เอฟ. เอ. โอ.นำพันธุ์มาให้กรมกสิกรรม (สมัยนั้น) จำนวน 80 เมล็ด ปลูกที่สถานีทดลองไหม จังหวัดศรีสะเกษ และปลูกที่สถานีโป่งแรด จังหวัดจันทบุรี ปี พ.ศ. 2511 นายมาซูโอะ ชาวญี่ปุ่น นำพันธุ์มะม่วงหิมพานต์ จากอินเดีย อีก 20 สายพันธุ์ มาปลูกที่สถานีทดลองพืชสวนฉวี จังหวัดชุมพร ปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพันธุ์มาจากประเทศบราซิล ทดลองปลูกที่สถานีทดลองยางกระบุรี จังหวัดระนอง ปัจจุบันขยายไปทั่วประเทศไทย

มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ผลยืนต้นเขตร้อนประเภทไม้ผลัดใบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ANACADIACEAE ชื่อสามัญว่า Cashew หรือ Cashew Nut “แคชชู” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากภาษาอินเดียนแดงเผ่าทาบิ ในประเทศบราซิล เรียกว่า อาคาฮู แต่ชาวโปรตุเกสเรียกสั้นลงว่า คาฮู เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า CASHEW มีชื่อภาษาไทยว่า มะม่วงหิมพานต์ บางแห่งเรียก ยาร่วง เล็ดล่อ กาหยู มะม่วงสิงหล ฯลฯ

เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็วเพียงแค่ 2 ปี ให้ผลผลิตนานหลายสิบปี ไม่ยุ่งยากในการดูแลรักษา ปลูกทิ้งปลูกขว้างก็โตได้ บางที่ปลูกทิ้งไว้หัวไร่ปลายนา ข้างรั้ว ก็เก็บเมล็ดขายได้ เดี๋ยวนี้มีปลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน ก็ต้องปลูกกันแบบนักเกษตรกรรมเขาทำกัน ก็คือต้องอิงหลักวิชาการเกษตรเข้าช่วย ไม่ใช่ว่าจะปลูกปล่อยทิ้งปล่อยขว้างเหมือนเมื่อก่อนปลูกไว้ดูเล่น ไม่ได้หวังได้ขึ้นได้ขาย แต่ถ้าเราจะปลูกเพื่อเป็นรายได้ละก็ ต้องเพิ่มความรู้ วิชาการ และทักษะเข้าไปด้วย

พันธุ์มะม่วงหิมพานต์ มีมากกว่า 400 พันธุ์ ถ้าแยกตามสีผล ก็มีสีเหลือง สีแดง หรือสีครั่ง และสีแดงปนชมพู พันธุ์ที่ปลูกต้องให้ผลผลิตเมล็ดสูง ขนาดเมล็ดต้องใหญ่ มีน้ำหนักไม่เกิน 200 เมล็ด ต่อกิโลกรัม คุณภาพเมล็ดดี สีสวย เปอร์เซ็นต์กะเทาะดีไม่น้อยกว่า 25% ต้านทานโรคแมลงศัตรูพืชได้ดี ผลปลอมมีขนาดเล็ก ติดช่อมาก เมล็ดเนื้อในแน่น ไม่เป็นโพรง เปลือกบาง น้ำมันน้อย กะเทาะง่าย ทรงต้นเตี้ย ปลูกได้จำนวนต้นต่อไร่มาก พันธุ์ที่แนะนำส่งเสริมให้ปลูก ได้แก่ พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 (ศก 5.1), 60-2 (ศก 5.10) พันธุ์ศิริชัย 25 พันธุ์อินทร์สมิต เป็นต้น

การปลูก สามารถปลูกด้วยเมล็ดแก่ที่แช่น้ำแล้ว นำลงหยอดหลุมได้เลย หรือเพาะเมล็ดลงถุงดินก่อน 2 เดือน ย้ายลงปลูก เมล็ดนั้นต้องคัดเอามาจากต้นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง การปลูกด้วยกิ่งตอน ต้องเป็นกิ่งที่ตอนมาจากต้นอายุ 5-6 ปีแล้ว กิ่งต้องสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงรบกวน ปกติการตอนจะใช้ฮอร์โมน ไอบีเอ ความเข้มข้น 500 ppm. ทารอยควั่นเพื่อเร่งการออกราก หรือจะปลูกด้วยกิ่งที่ติดตา หรือเสียบยอดใหม่ ระยะปลูกระหว่างต้น 6 เมตร ระหว่างแถว 6-7 เมตร จะปลูกเป็นตารางสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม ในระยะปลูกนี้ก็ได้ ถ้าปลูกแซมพืชอื่น ควรเว้นช่องหลุมปลูกเพื่อเอาผลผลิตพืชนั้นออก ขุดหลุมปลูก กว้าง 50 เซนติเมตร ลึกพอประมาณ ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับหน้าดินรองก้นหลุม และกลบต้น การให้ปุ๋ยเคมี ใช้สูตรคำนวณตามหลักวิชาการ วัดจากโคนต้นขึ้นมา 90 เซนติเมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางต้น 2.5 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม และถ้าจะให้ดีเจาะดินไปตรวจวิเคราะห์หาค่าธาตุอาหารพืชก่อน ที่สถานีพัฒนาที่ดินใกล้บ้าน ถามหมอดิน หรือถามเกษตรตำบลในพื้นที่ ปลูกแล้วไปแจ้งขึ้นทะเบียนกับเกษตรตำบล

มะม่วงหิมพานต์มีประโยชน์ ส่วนประกอบที่มีอยู่ในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ได้แก่ น้ำ 5.9% โปรตีน 21.0% ไขมัน 47.0% คาร์โบไฮเดรต 22.0% แร่ธาตุ 2.4% แคลเซียม 0.5% ฟอสฟอรัส 0.4% เหล็ก 5.0 มิลลิกรัม แคโรทีน 100 i.u/100 กรัม มีสารอาหารและสารอื่นๆ มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค เป็นยาดีในการช่วยป้องกันการเกิดโรค ถึงแม้จะยังไม่มีการสกัดออกมาเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยตรง แต่มีผลการวิจัยว่า สามารถเป็นยาป้องกันรักษาอาการ และสาเหตุการเกิดโรคได้ ได้แก่ โรคอ้วนลงพุง ถึงแม้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์จะมีไขมันสูง แต่เป็นไขมันดี

สามารถไปไล่ทำลายไขมันเลวที่ทำให้เกิดโรคอ้วนลงพุง ลดไขมันช่องท้อง ลดไขมันเลวในเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ไขมันดี และกากใยอาหาร โปรตีน กรดอะมิโนอาร์จีนีน ช่วยให้ผนังหลอดเลือดขยายตัว ลดการอุดตันหลอดเลือด ลดการสะสมของไขมันเลว ซึ่งทุกอย่างเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ชะลอวัย ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ควบคุมน้ำหนัก ช่วยบำรุงสายตา มีสารลูเทอิน และซีแซนทีน ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการทำลายดวงตาจากแสง เกิดโรคคนสูงอายุตาบอด ลดอาการต้อกระจก แต่มีข้อจำกัด หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมลูก ผู้แพ้ถั่ว ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้เข้ารับการผ่าตัด ต้องระวัง เป็นอันตราย

เปลือกหุ้มเมล็ด จะมีน้ำมันออกฤทธิ์เป็นกรดอย่างแรง คือกรดอานาคาดิก 90% และกรดคาดอล 10% ถ้าถูกผิวหนังจะพองเป็นแผลเปื่อย แต่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทำสีย้อม และใช้ทาผลิตภัณฑ์ไม้ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ป้องกันปลวก มด มอด แมลง ผสมน้ำมันก๊าด หรือพาราฟินเหลว ราดแอ่งน้ำกำจัดลูกน้ำยุง เปลือกใช้เผาสุมไฟป้องกัน หรือไล่ยุงได้ เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก สี ผ้าเบรกรถ แผ่นคลัชรถ กระเบื้องยางปูพื้น ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าสามารถทนต่อกรด ด่าง ความร้อน และแรงเสียดสีได้ดี

ณ วันนี้ มะม่วงหิมพานต์ มีปลูกกันแพร่หลายไปทั่ว กำลังจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของบ้านเรา ถึงแม้จะต้องแข่งขันกับประเทศต้นกำเนิดและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ แต่เชื่อเหลือเกินว่า ด้วยศักยภาพของพื้นที่ของเกษตรกร ของระบบการพัฒนาผลิตผลการเกษตรของประเทศไทย เราสู้เขาได้สบายมาก โดยเฉพาะถ้าเกษตรกรเรามีแนวคิดเปลี่ยนปรับ จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มักจะได้รับผลกระทบเชิงลบ มาปลูกพืชผสมดูบ้าง แล้วเราคงจะห่างไกล และหลุดพ้นก้าวข้าม จากคำว่า “มีปัญหา” ไปได้อย่างยั่งยืน

สยามคูโบต้า สร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในอาเซียน ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา รวบรวมองค์ความรู้ทั้งส่วนอาคารนิทรรศการและ 9 โซนสร้างประสบการณ์จริง นำเสนอนวัตกรรมเกษตรครบวงจรให้ทุกคนได้เข้าถึง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

คุณสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า คูโบต้าฟาร์ม มีจุดเริ่มต้นจากการที่สยามคูโบต้าได้คำนึงถึงการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความสําคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ ในปี พ.ศ. 2561 สยามคูโบต้าจึงได้ต่อยอดแนวคิด KUBOTA (Agri) Solutions หรือ KAS เกษตรครบวงจรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้า พัฒนาพื้นที่ 220 ไร่ ณ ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ให้กลายเป็น “คูโบต้าฟาร์ม”

โดยมุ่งหวังให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรเป็นหลัก เสมือนจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้การบริหารจัดการนวัตกรรมเกษตรทั้งเทคนิคด้านการเกษตร (Agriculture Solutions) ผสานการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (Machinery Solutions) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความผันแปรของผลผลิตในแต่ละปีให้น้อยที่สุด และช่วยให้เกษตรกรทราบผลผลิตในแต่ละปีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น สามารถคาดการณ์ผลผลิตและคุณภาพ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกร สนับสนุนให้เกษตรกรเข้าถึงทุกนวัตกรรมเกษตรครบวงจรที่ใช้ได้จริง อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

“เราใส่ใจและเน้นให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นสำคัญ ในช่วงแรกก่อนที่จะมาเกิดเป็นศูนย์แหล่งนี้ เราเห็นลูกค้าเรามีการปลูกข้าวปีละ 1 ครั้ง ข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว และมีเวลาว่างหลังจากทำนา จึงมองว่าควรที่จะนำเกษตรกรมีรายได้เพิ่ม จึงมีโครงการปลูกถั่วเหลืองขึ้น เพราะเราเห็นว่าช่วงนั้นมีการนำเข้าถั่วเหลืองจากตลาดต่างประเทศถึง 98 เปอร์เซ็นต์ มูลค่านำเข้า 50,000 ล้านบาท เราจึงมาเริ่มคิดและเริ่มทำ อาชีพหลังนาให้เกษตรกร คือการปลูกพืชตระกูลถั่ว เพราะนอกจากจะมีผลผลิตแล้ว พืชยังสามารถช่วยบำรุงดินให้มีไนโตรเจนเพียงพอ เพราะการปลูกใช้น้ำน้อย ทำให้ในช่วงฤดูแล้งสามารถปลูกถั่วเหลืองได้ไม่มีปัญหา เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วใบก็สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ย ส่วนในเรื่องของการทำตลาดก็มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือต่อไป” คุณสมศักดิ์ กล่าว

โดยพื้นที่นำมาทดลองปลูกถั่วเหลืองอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อทดลองปลูกพืชหลังนาเกษตรกรมีการพัฒนาและขยายออกไปถึงขั้นตอนการแปรรูปผลผลิต เมื่อการทำเกษตรเพื่อสร้างรายได้ขยายออกไป เพื่อให้ผลผลิตมีเพียงพอต่อความต้องการ ทางสยามคูโบต้าจึงได้นำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยมากขึ้น เมื่อได้ผลิตแล้วก็นำผลผลิตออกสู่ตลาดและพัฒนาการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรให้กับเกษตรมากขึ้นไปตามลำดับ

ดังนั้น เมื่อเกษตรกรมีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรจนเกิดความชำนาญแล้ว จึงได้มีการสอนในเรื่องขอการใช้น้ำและการทำเกษตรที่ถูกต้องมากขึ้น เพื่อไม่ให้ผลผลิตเกิดการเสียหายและได้ผลผลิตตรงตามที่ตลาดต้องการ โดยต้องได้ต้นทุนการผลิตที่ถูกลง โดยเริ่มแปลงปลูกข้าวทดลองที่จังหวัดสุพรรณบุรี สุรินทร์ และเชียงใหม่ ฯลฯ

คุณสมศักดิ์ บอกว่า สมัคร Royal Online ในช่วงแรกเกิดภัยแล้งอย่างหนักทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตที่ดีมากนัก ต่อมาก็มีการพัฒนาเรื่อยๆ จนไปถึงการมีทีมวิจัย และเริ่มเพาะปลูกมากขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเมล็ดพันธุ์ การปลูก การใส่ปุ๋ย และสอนขั้นตอนการทำเกษตรที่ถูกต้องให้เกษตรกรมีผลผลิตที่ดีมากขึ้นตามลำดับ อย่างเช่น การทำนาในภาคกลาง มีการเตรียมแปลงปลูกข้าวให้มีธาตุอาหารที่สมบูรณ์ รวมไปถึงการควบคุมน้ำและใส่ปุ๋ยที่มีคุณภาพ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และได้ผลผลิตที่ดีตามมาเป็นลำดับ จึงทำให้สยามคูโบต้ามองเห็นประโยชน์ของการเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ที่ต้องควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ถูกต้อง จึงได้สร้างคูโบต้าฟาร์มแหล่งนี้ขึ้นมา

คูโบต้าฟาร์ม เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นองค์ประธานในการเปิด “KUBOTA FARM” และพระราชทานชื่ออาคารนิทรรศการ “อาคารเกษตรชัยพัฒน์” อันหมายถึง อาคารที่เป็นแหล่งความสำเร็จและความเจริญทางการเกษตร พร้อมพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย ส.ธ. ประดับที่ป้ายชื่ออาคารภายในอาคารบริเวณห้องโถงเทิดพระเกียรติ

“กษัตริย์เกษตร” (Royal Project) ซึ่งนำเสนอพระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านพัฒนาการเกษตร นอกจากนี้ ภายในอาคารยังประกอบไปด้วย ห้องนิทรรศการ “KUBOTA FARM The Beginning” ที่นำเสนอความเป็นมาของคูโบต้าฟาร์ม ห้องนิทรรศการ “360 องศา” (KUBOTA FARM Concept) แนะนำโซนต่างๆ ในรูปแบบจอ 360 องศา ห้องนิทรรศการ “Application” นำเสนอแอปพลิเคชั่นปฏิทินการเพาะปลูก (KAS Crop Calendar Application) ห้องนิทรรศการ “Internet of Things” นวัตกรรมเกษตร IoT ที่ใช้ภายในคูโบต้าฟาร์ม และห้องนิทรรศการ “KUBOTA FARM Zone” ที่รวมโซลูชั่นต่างๆ ผ่านบอร์ดนิทรรศการรูปแบบ Interactive

ในการออกแบบคูโบต้าฟาร์ม เราเล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้แบบครบวงจรที่ครอบคลุมในภาคอุตสาหกรรมเกษตรของไทยและภูมิภาคอาเซียน แบ่งออกเป็น 9 โซน ดังนี้