ผมหลงเสน่ห์เยื่อไผ่ข้าวหลามจนลืมเล่าเรื่องของตัวเอง

“ข้าวหลามดง” ไงครับ เผากิ่งเผาต้นเมื่อไรก็คิดว่าผมเป็นข้าวหลาม ตัวผมเป็นไม้พุ่ม สูง 4-8 เมตร ยืนต้นโชว์เรือนยอดพุ่มโปร่ง เปลือกหนาสีเทาอมดำ ผมเป็นพืช GI เฉพาะถิ่นไทย ลาว เวียดนาม แต่ขยายพันธุ์ยาก โตช้า จึงนำมาปลูกเป็นไม้ประดับยืนต้น กลายเป็นไม้หายาก ชนิดใบเดี่ยวเรียงสลับผิวเรียบเป็นมันสีเขียวเข้มก้านใบยาว ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ดอกทยอยบานนานเป็นเดือน ถ้าออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามลำต้นกิ่งและง่ามใบ ก้านดอกยาว กลีบดอกยาวสีเหลืองนวลถึงสีชมพู ส่งกลิ่นหอมโชยใกล้ค่ำ หอมกลิ่นคล้ายเหล้าสาโทผสมข้าวหมาก หอมแรงเมื่อดอกสุกเปลี่ยนสีและใกล้โรย ทั้งสีเหลือง สีส้มแดงชมพู ผลสีเขียวอมเหลือง เป็นกลุ่ม 6-12 ผล รูปรีหรือทรงกระบอก เมล็ดมีวุ้น เพาะขยายพันธุ์ได้ใช้เวลา 2-3 เดือน เพราะเปลือกเมล็ดแข็ง ทาบกิ่งได้ดีกว่า การตอนออกรากยาก ต้นพันธุ์จึงราคาแพง

ผมเบื่อตัวเองที่เพาะขยายพันธุ์ยาก โตช้า จึงเหมือนถูก “โลกลืม” แต่ภูมิใจที่ออกดอกแล้วทุกคนจะหลงใหลเพราะดอกเต็มต้นสวยงามมาก แต่คุณค่ามากกว่านั้นคือสรรพคุณ มีการศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่า มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย เชื้อวัณโรค และเซลล์มะเร็ง ลำต้นผ่าซีกแล้วต้มให้สตรีอยู่ไฟดื่ม รักษามดลูกและเรียกน้ำนมได้ดี เป็นยาบำรุงขับเหงื่อ เป็น “ยาดีที่สตรีต้องใช้” สิ่งที่ผมภาคภูมิใจอีกคือ ผมได้รับการเทียบเป็น “ไม้เท้าของนักรบ” ถูกจัดเป็นพืชสมุนไพรเด่นของชาวมุสลิม คือ คำว่า ตูกะ หมายถึงไม้เท้า “ตูกะไซดีนาอาลี” เป็นไม้เท้าของท่านไซดีอานาลี ซึ่งเป็นนักรบที่เก่งกล้า มีพละกำลังปกป้องท่านศาสดา หมอยาพื้นบ้าน ผู้เฒ่าต้มกินเป็นยาบำรุง รากต้มดื่มต่างน้ำ หรือบดใส่แคปซูลกินแก้ปวดเมื่อย แก้ซาง โบราณนิยมนำต้มรวมกับสมุนไพรพื้นบ้านอื่นๆ ช่วยฟื้นฟูร่างกายคนเบื่ออาหาร น้ำลายแห้ง ให้มีชีวิตชีวาเป็นยาดีมีกำลังทั้งชายหญิง

สงกรานต์นานปีมาแล้วมี “ถนนข้าวหลาม” เป็นที่เล่นน้ำของวัยรุ่น “ชายหญิงเมืองชล” ปัจจุบัน เส้นนี้พัฒนาเป็นถนนเลี่ยงเมือง ความยาว 4 กิโลเมตร เชื่อมทางหลวงหมายเลข 7 ถึงหาดบางแสนเพื่อเลี่ยงจราจรตลาดหนองมน แต่มีทางแยกจุดตัดหากจะสัมผัสบรรยากาศ “ดงข้าวหลามหนองมน” ก็เลี้ยวแยกได้ แต่ถ้าต้องการสัมผัสรสชาติน้ำต้ม “ข้าวหลามดง” ก็สอบถามจาก “สมุนไพรอภัยภูเบศร” ว่า สั่งซื้อวิธีไหนดี

เพราะมีผู้เฒ่าท่านหนึ่งยืนยันว่า “ข้าวหลามดง” ดีกับผู้หญิงมาก ต้มดื่มแล้วคุยกันว่า “กินยานี้แล้วคนถึกสิแก้มแดง กินแล้วอยากไปนอนนำผัว” ผมว่าผมต้องดังกว่าข้าวหลามหนองมนแน่ๆ ครับ

ด้วยสถานการณ์ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลักอย่างข้าวและยางพารา ส่งผลให้เกษตรกรหลายรายมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำสวนแบบใหม่จากเดิมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ก็ปรับเปลี่ยนหันมาปลูกพืชผสมผสานเพื่อสร้างรายได้หมุนเวียน

อย่างเช่นเกษตรกรหญิงเก่งรายนี้ ที่ได้ปรับผืนนาให้กลายเป็นสวนผสมผสาน ปลูกพืชผักผลไม้มากกว่า 30 ชนิด เพื่อสร้างระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหาร และนอกจากผลผลิตคุณภาพสร้างรายได้ไม่ขาดมือแล้ว ยังมีผลพลอยได้ที่ธรรมชาติได้สรรค์สร้างขึ้นมาให้โดยที่ไม่ต้องลงทุน คือการที่มีผึ้งมาอาศัยทำรังอยู่ในสวน เข้ามาช่วยผสมเกสรให้ผลผลิตภายในสวนออกดอกติดผลได้มากกว่าปกติ รวมถึงรายได้เพิ่มจากการขายน้ำผึ้งจำนวนไม่น้อย

คุณสกาวเดือน จิ้มปุ๋ย หรือ พี่ผึ้ง อยู่ที่หมู่ที่ 4 บ้านห้วยน้อย ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เกษตรหญิงเก่งหัวก้าวหน้าแห่งเมืองนครสวรรค์ ใช้เวลาลองผิดลองถูกเริ่มต้นพัฒนาผืนนามรดกของพ่อกับแม่เปลี่ยนทำเกษตรผสมผสาน ช่วยให้ครอบครัวหลุดพ้นจากปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ ให้กลับมาลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง

พี่ผึ้ง เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ตนเองเป็นลูกหลานชาวนามาตั้งแต่กำเนิดและไม่ได้เรียนจบสูงมากนัก อาศัยความมีใจรักในด้านงานเกษตร พัฒนาจากความชอบกลายเป็นอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวมานานมากกว่า 5 ปี รวมถึงการพัฒนาเปิดบ้านเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานแบบครบวงจร ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อก่อนเคยปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาก่อน ทำนาเพียงอย่างเดียว แต่ช่วงหลายปีหลังมานี้มักประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้มีความเสี่ยงสูง ในด้านของการลงทุน ที่ในบางปีลงทุนมากกว่าเดิม แต่รายได้น้อยกว่าที่ลงทุนไป นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้หันมาทำสวนเกษตรผสมผสานเพื่อความยั่งยืนแทน

พื้นที่ 25 ไร่ ปลูกพืชผักมากกว่า 30 ชนิด
สร้างระบบนิเวศ สร้างความมั่นคงทางอาหาร
พี่ผึ้ง บอกว่า ณ ปัจจุบันตนเองทำเกษตรผสมผสานบนพื้นที่กว่า 25 ไร่ รวมกับที่เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ จากเมื่อก่อนทำนาปลูกข้าวเต็มพื้นที่ แต่ในปัจจุบันได้ลดพื้นที่ปลูกข้าวลงเหลือประมาณ 3 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือเปลี่ยนมาขุดสระ เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผสมผสานครบวงจร

“การขุดสระของที่นี่ไม่ได้เน้นเพียงแค่ไว้กักเก็บน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ขุดสระเพื่อให้สามารถปลูกไม้ผลได้ เนื่องจากเมื่อก่อนพื้นที่ตรงนี้ไม่สามารถปลูกพืชผักผลไม้อะไรได้เลย เพราะเป็นพื้นที่โซนน้ำท่วมขัง ฉะนั้น หนทางที่จะเปลี่ยนแปลงได้คือการขุดสระแล้วนำดินจากการขุดสระมาถมทำเป็นพื้นที่ไว้สำหรับปลูกผักและผลไม้ รวมถึงการขุดเป็นคลองไส้ไก่ บริเวณรอบบ้าน รอบสวน ปลูกพืชผักผลไม้มากกว่า 30 ชนิด สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นกล้วย ที่ไม่ได้ปลูกกล้วยแค่ชนิดเดียว แต่จะเน้นความหลากหลาย

ที่มีทั้งกล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กล้วยนาก และกล้วยสายพันธุ์แปลกหายากอีกหลายชนิด เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับคนที่เข้ามาเยี่ยมชมที่ศูนย์การเรียนรู้ และให้ได้ทราบถึงข้อเท็จจริงว่ายังมีกล้วยอีกหลายพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ในเนื้อที่และอากาศแบบนี้ ถัดมาคือแก้วมังกรถือเป็นพืชไฮไลต์ของที่สวน ที่มีทั้งแก้วมังกรพันธุ์ขาวจัมโบ้ พันธุ์เหลืองโคลัมเบีย พันธุ์เหลืองอิสราเอล ที่มีความหอมหวานเหมือนลิ้นจี่ เป็นของขึ้นชื่อของที่สวน และยังไม่หมดแค่นี้ ที่สวนยังภูมิใจนำเสนอมะม่วงที่ปลูกมากกว่า 10 สายพันธุ์ และพืชผักผลไม้นานาชนิด เช่น มะนาว มะยงชิด มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง มะขามเทศ ไม้ป่า รวมถึงการทำประมง และปศุสัตว์ด้วย”

ซึ่งกิจกรรมการเพาะปลูกที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ พี่ผึ้ง บอกว่า เน้นทำกันเองภายในครอบครัว แทบที่จะไม่ต้องจ้างคนงาน มีจ้างบ้างเพียงบางครั้ง เพราะพืชผักที่ปลูกหรือสัตว์ที่เลี้ยงไม่จำเป็นต้องดูแลในเวลาเดียวกัน ทุกอย่างสามารถยืดหยุ่นได้ตามความสะดวก โดยเทคนิคอยู่ที่การเน้นปลูกพืชตามฤดูกาล และสัตว์ที่เลี้ยงสามารถปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติได้ ทำให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้ง่าย รู้ว่าพืชแต่ละชนิดต้องการการดูแลช่วงไหน รวมถึงสามารถคำนวณผลผลิตที่จะออกมาเพื่อที่จะวางแผนการตลาด สำหรับขายผลสด สำหรับการแปรรูปได้ทันเวลา เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในส่วนของการจัดสรรพื้นที่ปลูกทั้งพืชผัก ไม้ผล และไม้ป่า พี่ผึ้ง อธิบายว่า อันดับแรกคือการวิเคราะห์และมองให้ออกว่าพื้นที่เพาะปลูกของตนเองมีลักษณะแบบไหน พื้นที่ตรงไหนสูง ตรงไหนต่ำ แล้วจึงค่อยเลือกหาพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่มาปลูก เป็นหลักการง่ายๆ ในการจัดสรรพื้นที่ ซึ่งในช่วงเริ่มต้นไม่แนะนำให้ปลูกทีเดียวเยอะๆ แต่ให้ค่อยๆ ทยอยปลูก แล้วค่อยนำทุนจากผลผลิตที่ได้มาต่อยอดขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่ลืมตั้งเป้าหมายกับพืชแต่ละชนิดว่าใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวกี่เดือนหรือกี่ปี แล้วจึงค่อยปลูกไล่ระดับกันไปตามแนวกันชน โดยบริเวณรอบๆ แนวกันชนจะปลูกเป็นกล้วย แซมด้วยมะม่วง ไผ่ และไม้ยืนต้น เช่น สัก พะยูง ยางนา ควง เพราะมีการวางแผนไว้ว่ากล้วยให้ผลผลิตได้ประมาณ 3-4 ปีจะเริ่มหมดอายุ แล้วต่อมาจะได้เก็บผลผลิตมะม่วง และไม้ผลอื่นๆ ที่ปลูกแซมไว้ก็จะทยอยออกให้เก็บเรื่อยๆ มีไม้ป่าไว้สร้างรายได้ในอนาคตยามแก่เฒ่า

“มีผึ้งเข้ามาทำรังในสวน”
สิ่งที่ได้รับจากระบบนิเวศที่สมบูรณ์
เจ้าของบอกว่า ประโยชน์ของการทำสวนผสมผสานแบบครบวงจร นอกจากการสร้างรายได้ที่มั่นคงตลอดทั้งปีแล้ว ยังมีผลพลอยได้จากระบบนิเวศที่สมบูรณ์ คือมีผึ้งเข้ามาทำรังในสวน เพราะผึ้งถือเป็นสัตว์ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร รวมถึงสามารถบ่งบอกได้ว่าสวนแห่งนี้ทำเกษตรโดยปราศจากสารเคมี สิ่งได้ประโยชน์จากผึ้งคือการเข้ามาช่วยผสมเกสรให้กับไม้ดอกไม้ผลภายในสวน ทำให้พืชผักผลไม้ออกดอกติดผลมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา และยังสามารถเก็บน้ำผึ้งขายสร้างรายได้เสริมโดยที่ไม่ต้องดูแลอะไรมาก เพียงอยู่แบบไม่ทำร้ายกัน อยู่กันแบบเอื้อประโยชน์ต่อกัน

“ในแต่ละปี จะมีรังผึ้งให้เก็บอยู่เรื่อยๆ แต่ในช่วงที่หัวน้ำดีและผึ้งผลิตน้ำหวานได้เยอะ จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนสี่ เดือนห้า เป็นช่วงที่หัวน้ำหวานจะได้เต็มที่สุด และความสมบูรณ์ของน้ำผึ้งจะดีที่สุดคือช่วงเดือนห้า เก็บขายได้ทุกเดือนแล้วแต่ความสะดวกของเจ้าของสวน จะมีทั้งรังเล็กรังใหญ่ปะปนกันไป ขายในราคาตั้งแต่ 20-400 บาท ถือเป็นผลพลอยได้ที่เราไม่ต้องลงทุน แต่มีรายได้เข้ามาหลายพันบาทจากการขายน้ำผึ้ง”

เกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์
มีเคล็ดลับการดูแลอย่างไรบ้าง
จุดเริ่มต้นการทำเกษตรอินทรีย์ พี่ผึ้ง บอกว่า เกิดขึ้นจากจุดที่ได้หันกลับมามองตนเองและคนในครอบครัว ที่อยากจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะทำได้เป็นอันดับแรกคือเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากที่เคยทำ จากเมื่อก่อนสมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ทำแต่เกษตรเคมี ก็ค่อยๆ ลด ละ เลิก แล้วหันกลับมาทำเกษตรแบบอินทรีย์ที่ปลอดภัยกับทุกคนในครอบครัว ด้วยการเริ่มต้นเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไส้เดือน เพาะแหนแดงเอง แล้วใช้มูลของสัตว์ที่เลี้ยงไปทำเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ และช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาด้วยการใช้แหนแดงกับต้นผงชูรสทำเป็นอาหารให้ปลา ผลที่ได้คือคนในครอบครัวมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีรายได้เหลือเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องนำเงินไปซื้อสารเคมี

เกษตรอินทรีย์ลดต้นทุน
ใช้น้ำส้มควันไม้ จากการเผาถ่านใช้เองตลอดทั้งปี ในการฉีดพ่นไล่แมลงแทนการใช้สารเคมี
น้ำหมักหัวปลา ที่ใช้หัวปลาและเศษปลาที่มีเป็นจำนวนมากมาหมักไว้ในถัง โดยใช้ระยะเวลาในการหมักแล้วแต่ความสะดวก เมื่อถึงเวลาจะนำมาใช้งานจึงค่อยเทกากน้ำตาลใส่ลงไป
ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ฮอร์โมนไข่ ไว้ใช้เอง โดยการใช้ดูตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิดว่าเหมาะกับน้ำหมักสูตรไหน เช่น น้ำหมักปลานำไปฉีดพ่นให้กับไม้ผล ก็จะช่วยทำให้ใบงาม ติดผลดก หรือถ้านำน้ำหมักปลาไปฉีดพ่นประเภทผักใบ ใบก็จะเขียว ต้นอวบสมบูรณ์
ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์ทำให้ที่สวนสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีไปได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีรายได้และมีเงินเก็บเพิ่มขึ้น จากการแบ่งเวลาว่างจากงานสวนสัปดาห์ละครั้ง เก็บพืชผักผลไม้ของที่สวนใส่รถไปขายเอง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รายได้เฉลี่ยแต่ละครั้งอยู่ที่ประมาณ 4,000-8,000 บาท แล้วแต่จำนวนของที่นำมาขาย รวมถึงอาชีพเสริมที่หลากหลายเปลี่ยนไปตามฤดูกาล

“ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นช่วงเทศกาลวันลอยกระทง พี่ก็จะทำกระทงขาย โดยใช้ต้นกล้วย ใบตอง ดอกไม้ของที่เราปลูกเองมาทำ หรือช่วงไหนดอกมะลิออกพี่ก็จะเก็บดอกมะลิมาให้แม่ร้อยมาลัยขาย หรือถ้าช่วงไหนชาวบ้านมาซื้อไก่ ซื้อเป็ดของพี่ เราก็บริการต้มให้ส่งฟรีถึงที่ หรือถ้าใครอยากได้เครื่องต้มยำเพิ่ม อยากได้มะกรูด มะนาว ตะไคร้ ใบมะกรูด พี่ก็เก็บแถมให้ฟรี เพราะเราปลูกเองต้นทุนเราต่ำ เราแถมให้เขาอย่างละนิดละหน่อยได้สบายๆ ถือเป็นกลยุทธ์การขายของพี่ และเป็นการช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ช่วยให้เขาประหยัดขึ้น จ่ายในราคาเท่าเดิมแต่ได้ของมากกว่าเดิม ซื้อในราคาที่ถูกกว่า ได้ของสดกว่า และที่สำคัญคือความจริงใจและรอยยิ้มที่มีให้กับลูกค้า เราใช้ใจขาย โดยที่เราไม่ต้องไปออกสื่ออะไรมาก กลายเป็นเหมือนลูกโซ่ที่ลูกค้าบอกกันปากต่อปากกันไปเอง”

ฝากถึงเกษตรกรทำเกษตรอย่างไร
ให้มีความสุข ปลอดภัยจากหนี้สิน
“อันดับแรกใจต้องมาก่อน ถ้าไม่มีใจ ต่อให้เราไปบังคับก็ไม่ได้ผล ยกตัวอย่างง่ายๆ เลย ถ้าวันนี้มะเขือราคาแพงกิโลละ 200 บาท เกษตรกรเห็นมะเขือราคาแพง ก็ไปแห่ปลูกมะเขือ แต่อย่าลืมนะว่ามะเขือไม่ได้ปลูกวันนี้แล้วพรุ่งนี้เก็บได้ แต่มันต้องใช้เวลา แต่บางคนมองเงินเป็นตัวตั้ง พอถึงเวลาราคาจาก 200 เหลือกิโลละ 20 บาท จะทำยังไงก็ต้องเป็นหนี้เพราะบางคนไปกู้หนี้ยืมสินมาทำ เพราะฉะนั้น การเกษตรทำให้ดี ทำให้มีความสุข ทำให้ปลอดภัยจากหนี้ ทุกอย่างต้องตั้งอยู่บนฐานของความพอเพียง เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ” พี่ผึ้ง กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสนใจเยี่ยมชมศูนย์เกษตรผสมผสานแบบครบวงจร สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร. ถึงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ฤดูทุเรียนเวียนมา ทางภาคตะวันออกอย่างจังหวัดจันทบุรี ก็ยังเป็นเจ้าแห่งวงการทุเรียนเหมือนเดิม ด้วยเป็นพื้นที่ปลูกมานาน จนกลายเป็นแหล่งที่มีพื้นที่ปลูกทุเรียนมากที่สุดในประเทศไทย มาช่วงหลายปีหลัง ทุเรียนเริ่มได้รับกระแสนิยมจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก เกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศหันมาสนใจปลูกทุเรียนกันอย่างหนาแน่น รวมถึงจังหวัดปราจีนบุรี นับเป็นภาคตะวันออกที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ แต่ก็สามารถปลูกทุเรียนได้อร่อยไม่แพ้ทางจันทบุรี

คุณวันเพ็ญ สนลอย เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน พ่วงด้วยตำแหน่งหมอดินอาสาประจำจังหวัดปราจีนบุรี อยู่บ้านเลขที่ 62/1 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เล่าว่า พ่อแม่ทิ้งมรดกที่ดินไว้ให้ 3 ไร่ พื้นที่เดิมพ่อกับแม่ใช้ปลูกทุเรียน แต่ไม่ค่อยได้ผล ดินไม่ดี เป็นกรดเยอะ ไม่สามารถสานต่อสวนทุเรียนได้ หลังเรียนจบจึงเข้าทำงานเป็นเสมียน แต่งงานมีครอบครัวมีลูก แต่เงินเดือนเสมียนกับเงินเดือนสามีรับข้าราชการในสมัยนั้นเลี้ยงลูกไม่พอ จึงตัดสินใจลาออกจากงานกลับมาทำเกษตรลองสู้อีกสักตั้งบนที่ดินมรดก

เมื่อเจอสถานการณ์บังคับแบบนี้จะทำยังไงดี ลูกก็ยังเรียนไม่จบ ต้องกัดฟันเพื่อลูก หาวิธีพาครอบครัวให้รอด ในใจก็ยังคิดจะทำเกษตรต่อไป และคิดว่าทางรอดคือต้องทำแบบลดต้นทุนให้ได้ โชคดีที่เปิดทีวีไปเจอรายการเกี่ยวกับเกษตรพอดี เขาสอนทำเกษตรแบบลดต้นทุน มีการทำสารชีวภาพ เขามาช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยก็เริ่มสนใจ เริ่มศึกษาข้อมูลเพิ่ม ตอนนั้นที่ดูก็ไม่เข้าใจทั้งหมด เขาบอกให้เตรียมโอ่ง 1 ใบ กับน้ำตาลโมลาส เราก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ที่จริงมันคือกากน้ำตาล แต่เขาไม่บอก เมื่อไม่เข้าใจไปหาข้อมูลเพิ่มอีก ออกไปหาหนังสือมาอ่าน ซื้อมาอ่านเป็น 10 เล่ม เพื่อทำความเข้าใจ แล้วลงมือปฏิบัติ เริ่มทดลอง ในแปลงเกษตร 3 ไร่ ที่มีอยู่

การทดลองครั้งที่ 1 ใช้วิธีการหมัก นำผลไม้ในสวนหลากหลายชนิดมาผสมหมักลงถัง ขนาด 60 ลิตร ลองผิดลองถูกอยู่ 1 เดือน คิดว่าได้สูตรที่ดีแล้ว จึงนำสารที่ทำไปใช้ที่แปลงทดลอง แรกๆ ต้นก็งามแตกยอดดี ชาวบ้านเข้ามาเห็นต้นไม้ที่สวนแล้วแตกยอดดี เขาก็ถามว่าใช้อะไร เราบอกไปว่าใช้น้ำหมักที่ทำเอง เราก็บอกสูตรไปอย่างไม่หวง พอเขาใช้ไปสักพักเริ่มได้ผล ต้นงามดี เขาก็แถมสูตรใส่เพิ่มเอง ทีนี้ใส่มากไป ใบเริ่มไหม้ เราจึงบอกว่าอย่าใส่เกินสูตร ให้ตัดลงเท่าเดิม แล้วฉีดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ใช้แล้วได้ผลดี แต่พอเริ่มเข้าปีที่ 4 ปัญหาเริ่มเกิดทั้งของเราและของชาวบ้าน ต้นไม้ไม่ยอมแตกใบอ่อน เพราะใช้สารในอัตราที่มากไป ทั้งฉีดทางใบและรดที่ต้น ทำให้ต้นไม่ยอมแตกใบอ่อน ในที่สุดต้นก็เริ่มตายไปทีละต้น ครั้งแรกถือว่าล้มเหลว

การทดลองครั้งที่ 2 เปลี่ยนจากการหมักเป็นการกลั่น กลั่นเอาแต่น้ำ เอากากไปทำปุ๋ยหมัก แล้วเอาน้ำหมักไปทำฮอร์โมน ได้ผลดี แต่กว่าจะลงตัวก็ต้องทำทิ้งไปเยอะ พอใช้แล้วดี ชาวบ้านเข้ามาขอสูตรกันเยอะ และด้วยความที่เป็นหมอดินออกงานกับทางราชการบ่อย มีคนรู้จักหลายกลุ่ม ทั้งเกษตรกร หน่วยงานราชการ รวมถึงภาคเอกชนที่ติดต่อให้เราทำฮอร์โมนส่ง เดือนละ 2,000 ลิตร ทุกอย่างต้องนิ่ง เริ่มจากทำฮอร์โมนสมุนไพร 2 อย่าง ทำจนตอนนี้มีมากกว่า 20 สูตร แจกเกษตรกรให้ลองใช้ เพราะเราลองใช้คนเดียว เราจะไม่รู้ถึงปัญหา นอกเหนือจากของสวนเรา ถ้าดีเขาต้องกลับมา พอทำแจกเยอะมากๆ เริ่มไม่ไหว เกษตรกรบอกให้ขายสิ เราก็เริ่มทำขาย ลิตรละ 120 บาท พร้อมทั้งตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้อบรมความรู้เผยแพร่สูตรแบบไม่หวง หรือเกษตรกรอยากมากินนอนอาศัยครูพักลักจำก็มาได้

ปลูกทุเรียนให้รอด บนพื้นที่นาดอน
การปลูกทุเรียน ถือเป็นงานเกษตรที่ท้าทาย ค่อยๆ ขยายปลูกมาเรื่อยๆ จาก 30 ต้น ขยายเป็น 20 ไร่ เน้นปลูกหมอนทอง ชะนี พวงมณี และพันธุ์ดั้งเดิมของปราจีนฯ

คุณวันเพ็ญ บอกว่า ดั้งเดิมพ่อปลูกทุเรียนอยู่แล้ว แต่มีปัญหาตรงพื้นที่เป็นนาดอน ดินเป็นกรด ปลูกอะไรก็ไม่งามลงแต่เงิน เราเลยเปลี่ยนจากการปลูกทุเรียนมาทำกิ่งพันธุ์ขาย พอขยายพันธุ์ไม้แต่ก็ยังไม่โค่นต้นทุเรียนทิ้งทั้งหมด ต้นไหนตายก็ปล่อยให้ตาย ต้นไหนรอดก็เลี้ยงตามสภาพ ตอนนั้นจำได้ว่าทุเรียนเหลืออยู่ประมาณ 30 ต้น

แต่สังเกตว่าทุเรียนมีแค่นี้ก็จริง แต่สามารถสร้างรายได้ให้เราได้ต้นละ 20,000-30,000 บาท สร้างรายได้ดีกว่ากิ่งพันธุ์ที่ทำขายเสียอีก นี่จึงเป็นการจุดประกายครั้งใหม่ที่ทำให้เราหันมาปลูกทุเรียนอีกครั้ง แต่ด้วยสภาพดินเป็นกรด เป็นที่นาดอนมาก่อน เราจึงต้องมาปรับปรุงดินใหม่ อย่างตอนนี้เกษตรกรหลายภาคหันมาปลูกทุเรียนกันเยอะ แต่ปลูกแล้วตายหมด เราจะสอนตั้งแต่วิธีการบริหารจัดการพื้นดิน พื้นที่จะปลูกเป็นที่สูงหรือที่ต่ำ ถ้าเป็นที่ต่ำให้ทำเป็นร่องลูกฟูก ถ้าเป็นที่สูงต้องทำลูกฟูกเตี้ย เพื่อเป็นการระบายน้ำลดลงได้ดี

เริ่มขยายพันธุ์ด้วยวิธีเสียบยอด พอต้นสูงประมาณ 1 เมตร จะเริ่มเสียบยอดในแปลงเลย เคล็ดลับสำคัญจะปลูกทุเรียนให้โตต้องหันต้นไปทางทิศตะวันออก เมื่อลมมาจะพัดปากใบให้เปิดจะได้รับแสงทันที เมื่อฉีดอาหารเข้าไปทางปากใบต้นจะโตไว และสมัยก่อนเกษตรกรชอบใช้ต้นใหญ่ปลูก พอปลูกต้นใหญ่ระบบรากวน ต้นไม่โต ทางที่ดีให้เปลี่ยนจากปลูกต้นใหญ่มาปลูกต้นเล็กสูง 20 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้น 6×6 เมตร หรือ 8×8 เมตร ปลูกพื้นต่ำไม่ต้องขุดหลุม วางต้นไว้เฉยๆ เอาถุงพลาสติกออกแล้วถากหญ้าถมดินขึ้นโคกเป็นลักษณะคล้ายกระทะคว่ำสัก 2 สัปดาห์ หญ้าที่คลุมไว้จะสลาย ดินจะฟูขึ้น รากจะหาอาหารได้เก่ง เพราะดินโปร่ง ไม่ต้องทำร่ม พอกลบต้นเสร็จให้ปล่อยสารชีวภาพที่หมักไว้ใช้แทนปุ๋ยปล่อยไปพร้อมน้ำทุก 2 วัน ต้นทุเรียนจะเจริญเติบโตได้ดี

ปลูกทุเรียนปัญหาที่พบบ่อย คือโรครากและโคนเน่า
แก้ได้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
เจ้าของบอกว่า ตั้งแต่ปลูกทุเรียนมาปัญหาที่เจอคือ เรื่องโรครากและโคนเน่า เนื่องจากพื้นดินตรงนี้เป็นนายกร่องมาก่อน เราอยู่กับร่องสวนมาแต่เล็ก รู้สึกว่าขี้เกียจกระโดดข้ามร่องไปมา จึงเริ่มปล่อยให้ร่องตื้น แต่การปลูกทุเรียนพอปล่อยให้ร่องตื้นปัญหาเกิดตรงฤดูฝน ระดับน้ำกับต้นเสมอกัน ทีนี้ระบบรากของทุเรียนไม่ชอบแฉะ รากก็เน่า พอฝนหมดต้นสลัดใบ โรคเริ่มเกิดก็ต้องมานั่งคิดอีกว่า จะทำอย่างไร หาอะไรมาแก้ จึงใช้ภูมิปัญญาที่มีมาคิดค้นสูตรแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าอีกครั้ง

สูตรแก้โรครากและโคนเน่า ทำได้ง่ายเห็นผลดี
เตรียมถัง 200 ลิตร
ขี้เถ้าแช่น้ำไว้ 2-3 คืน
ตักน้ำขี้เถ้าใสๆ ใส่ขมิ้นลงไป จะเป็นขมิ้นผง ขมิ้นสด หรือขมิ้นแห้งก็ได้ อัตราการใส่ขมิ้นสด ใส่ 3-5 กิโลกรัม ถ้าเป็นขมิ้นผง ใส่ 1-2 กิโลกรัม
ใส่ปูนกินหมากผสมลงไปอีก 1-2 กิโลกรัม
ผสมกระดูกปลาป่น เพื่อสร้างแคลเซียมให้ต้น
คนส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน น้ำจะออกเป็นสีแดง
วิธีใช้ นำไปฉีดทางใบ หรือรดทางดิน อัตราการฉีดพ่นทางใบ สารชีวภาพ 200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร อัตราการรดทางดิน สารชีวภาพ 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้รักษาได้ทั้งโรครากและโคนเน่า หรือพริกเป็นกุ้งแห้งใช้ได้หมด

ฝากถึงเกษตรกร
อยากให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรแบบปลอดสาร SBOBETG8.COM เรียนรู้การทำเกษตรแบบลดต้นทุน ถ้าอยากได้สูตรปุ๋ยชีวภาพเพิ่มเติม ให้โทร.มาสอบถามได้ตลอด เพราะตนเคยล้มเหลวมาก่อน ประสบปัญหาค่าปุ๋ยแพง เจ๊งไม่เป็นท่า เมื่อลืมตาอ้าปากได้แล้วก็อยากถ่ายทอดความรู้ช่วยเพื่อนเกษตรกร เพราะตอนนี้ถือว่าตนประสบผลสำเร็จกับอาชีพเกษตรกรรมแล้ว สามารถทำแบบลดต้นทุนได้ ผลผลิตที่ได้เป็นที่น่าพอใจ

อย่างทุเรียนต้นที่มีอายุมากหน่อย ให้ผลผลิตต้นละ 150 ลูก 2 ไร่ เก็บได้เกือบ 5 ตัน รสชาติยิ่งไม่ต้องห่วงเพราะใช้สารชีวภาพ รสชาติหวานมัน เนื้อละเอียด เม็ดลีบ ราคาดี กิโลละ 180 บาท ผลผลิตไม่เคยพอขาย การันตีความปลอดภัย มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นทุกปี จากฝากปีละ 2,000 ขยับเป็น 5,000 จนตอนนี้เงินเหลือฝากประจำได้ทุกเดือน เดือนละ 50,000 บาท ด้วยการทำเกษตรแบบลดต้นทุน ใช้สารชีวภาพเข้าช่วย

ปรึกษาข้อมูลการปรับปรุงดินหรือสูตรสารชีวภาพ ติดต่อ คุณวันเพ็ญ สนลอย ได้ที่เบอร์โทร. 081-803-4930 ระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา มีงานพืชสวนก้าวหน้าครั้งที่ 15 (hortex 2018) ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ในงานมีนิทรรศการ การจำหน่ายผลผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร งานแสดงความก้าวหน้าทางด้านเครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งงานสัมมนาวิชาการ

งานสัมมนาที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ “สวน 100 ไร่ทำได้คนเดียว” วิทยากรประกอบด้วยชาวสวนชั้นนำของจังหวัดจันทบุรีได้แก่ คุณชนันท์ เขียวพันธุ์ คุณสุเทพ นพพันธ์ คุณภานุศักดิ์ สายพานิชและอาจารย์ปราโมช ร่วมสุข ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันทุเรียนไทย และเป็นประธานการจัดงานพืชสวนก้าวหน้า ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินงานสัมมนาครั้งนี้