ผมเป็นคนเดินเข้าไปหาตลาดเอง ด้วยความที่มองการณ์ไกล

และธุรกิจเรามีพื้นที่เยอะ เราจะทำยังไงให้สินค้ากระจายได้หมด ก็เริ่มจากการเข้าไปหาตลาดใหญ่ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง หรือแม้กระทั่งพื้นที่ในสวนก็ทำเป็นตลาดได้ เปิดขายให้นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมสวน รวมถึงไปติดต่อกับบริษัทส่งออกผักไปยุโรป ก็ไปคุยกับเขาแล้วจึงค่อยกลับมาวางแผนการผลิต วิธีการคือ เรามีหน้าที่แค่ผลิตผักสดไปให้โรงงาน หลังจากนั้น ขั้นตอนการตัดแต่ง การส่งออก จะเป็นหน้าที่ของเขาทั้งหมด ซึ่งข้อดีก็คือ ผักส่งออกจะได้ราคาสูงกว่าผักในประเทศ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่ตามมาคือ คุณภาพของสินค้าที่ต้องคัดเกรดแบบพลาดไม่ได้ แต่ส่งในบ้านเราจะได้เรื่องของปริมาณ

จากนักธุรกิจ สู่การเป็นเกษตรกร
ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยาก และมีความสุขดี

“จากการเป็นนักธุรกิจ สู่การเป็นเกษตรกร ให้มุมมองในหลายๆ เรื่อง เป็นนักธุรกิจก็จะมีสังคมอีกแบบ พอกลับมาสู่การเป็นเกษตรกรก็จะถูกสังคมดูถูก ไม่ให้เกียรติ และมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่งคั่งยั่งยืน เราไม่อยากให้เกษตรกรไปใส่ใจคำพูดพวกนั้น เพราะจริงๆ แล้วอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ผมทำแล้วมีความสุขมากที่สุด เหนื่อยก็หยุดพักได้ ขยันก็ทำต่อ เราเป็นผู้กำหนดตัวเอง” คุณชยพล กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับท่านที่สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจอยากเข้าไปเยี่ยมชมหรือศึกษาหาความรู้ที่สวนผักปากช่อง ชะอม ผักพื้นบ้านที่คุ้นเคยกันดี เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ทำให้กลายเป็นพืชยอดนิยมที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกไม่น้อยไปกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ

ชะอม เป็นไม้ยืนต้นที่สามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศและมีชื่อเรียกต่างกันไป โดยใบอ่อนหรือส่วนยอดของใบสามารถนำมารับประทานได้แตกยอดทั้งปี นิยมปลูกเป็นรั้วบ้านเนื่องจากมีหนามแหลมคม แต่ปัจจุบันมีเกษตรหันมาปลูกชะอมจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมอย่างแปลงที่เห็นนี้เป็นของ คุณเพ็ญ รุจิรัตน์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

คุณเพ็ญ เล่าให้ฟังว่า หลังจากตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ก็หันกลับมาสู่อาชีพเกษตรกรรม เพราะเป็นอาชีพที่คุ้นเคยดี อีกทั้งทางบ้านมีที่นาเป็นของตัวเอง แต่การทำนาข้าวพื้นที่ไม่มากพอ ผลได้ไม่คุ้มต้นทุน จึงหันมาปลูกพืชที่ใช้พื้นที่และลงทุนน้อยแต่ได้ผลผลิตดีอย่างชะอม โดยเนรมิตพื้นที่นาจำนวน 4 ไร่ กลายเป็นสวนชะอมที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว มานานกว่า 5 ปี

สำหรับขั้นตอนการปลูก คุณเพ็ญ บอกว่า จะไถพรวนและยกเป็นร่อง โดยรอบแปลงจะมีร่องระบายน้ำรอบๆ ป้องกันน้ำในช่วงฤดูฝน จากนั้นโรยปุ๋ยคอกและไถกลบอีกรอบ รดน้ำให้ชุ่มก่อนนำกิ่งตอนขนาดสูง 40 เซนติเมตร ลงหลุมปลูกโดยวางกิ่งให้เอียง 45 องศา ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 60 เซนติเมตร กลบดินและรดน้ำให้ชุ่ม บำรุงด้วยปุ๋ยเคมีทุก 7 วัน ฉีดฮอร์โมนเร่งยอด ทุก 15 วัน และโรยมูลวัว ปรับสภาพดินทุก 1 เดือน ประมาณ 70-80 วัน ก็เก็บยอดขายได้แล้ว

หลังจากเก็บยอดจำหน่ายไปแล้ว คุณเพ็ญ บอกว่า เมื่อต้นชะอมเริ่มโทรม หรืออายุมาก จะทำสาว โดยจะตัดแต่งใบแก่และตอนกิ่งที่จะตัดทิ้งทำเป็นต้นพันธุ์และจำหน่ายแทน ซึ่งในช่วงนี้จะให้น้ำ วันเว้นวัน และฉีดฮอร์โมนทางใบสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 27-0-0 เสริมเดือนละ 1 ครั้ง โดยจะโรยรอบๆโคนต้นเท่านี้ใบก็งอกงามขึ้นมาพร้อมกับยอดอ่อนทันตาเห็นแล้ว

สำหรับการเก็บชะอมจำหน่าย คุณเพ็ญบอกว่า เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่ต้องใช้กาบของต้นกล้วย ห่อก้าน และมัดด้วยเส้นตอก โดยในแต่ละวัน จะเก็บจำหน่ายได้ราว 150-200 กำ ต่อวัน ราคาเฉลี่ยทั้งปีกำละ 10-20 บาท ทำรายได้ 1,500-2,000 บาท ต่อวัน เลยทีเดียว

ขนุน ไม้ผลเศรษฐกิจส่งออกของประเทศไทย ที่มีตลาดหลักส่งออกอยู่ที่ประเทศจีน แต่สถานการณ์ส่งออก ณ ปัจจุบันนี้ ถือว่าเข้าขั้นวิกฤต จากสถานการณ์ที่เกิดไวรัสโควิด-19 ทำให้การส่งออกชะงัก ส่งผลกระทบมาถึงราคาที่ต่ำลง จากเคยขายได้ กิโลกรัมละ 20-40 บาท เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น ราคาลดเหลือเพียงกิโลกรัมละ 7-8 บาท แต่ลุงอี๊ดบอกว่า ยังสามารถประคับประคองให้พ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ด้วยการหาตลาดรองรับ ตัดส่งพ่อค้าแม่ค้าในประเทศ ปลูกพืชอย่างอื่นแซมบ้าง ก็ยังพอที่จะทำให้อยู่รอดผ่านพ้นวิกฤตช่วงนี้ไปได้

คุณเจริญ เสน่ห์ (ลุงอี๊ด) อยู่บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 6 ตำบลวังจันทร์ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เล่าว่า เป็นเกษตรกรมานานกว่า 10 ปี ปลูกไม้ผล ขนุน ทุเรียน และทำสวนยางพารา มีพืชหลักทำเงินเป็นขนุน ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ผ่านมา ขนุน มีราคาดีมาตลอด มาแย่ช่วงที่เกิดไวรัสโควิด-19 ราคาขนุนตกฮวบ ตามหลักช่วงตรุษจีนขนุนจะขายได้กิโลกรัมละ 30 บาท มาปีนี้ลดเหลือกิโลกรัมละ 4-5 บาท แต่ก็ยังโชคดี เพราะที่ผ่านมาลุงทำตลาดส่งขายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ได้รับผลกระทบในเรื่องของราคาน้อย แต่สินค้ายังพอมีที่ส่ง พอได้เงินคืนทุนให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้

“ปีนี้ราคาขนุนตก ก็ต้องยอมขายถูกๆ ไปก่อน ปีหน้าไวรัสหาย ราคาจะดีขึ้น ถือว่าความเสียหายไม่มีอะไรมากมายเพราะขนุนเป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย ต้นทุนการดูแลไม่สูง” ปลูกขนุนทองประเสริฐ และสีทอง
เป็น 2 สายพันธุ์หลักเชิงการค้า
ลุงอี๊ด บอกว่า มีพื้นที่ปลูกขนุนจำนวนกว่า 10 ไร่ เน้นปลูก 2 สายพันธุ์หลักเชิงการค้า คือ

พันธุ์ทองประเสริฐ จุดเด่น ปลูกดูแลง่าย ให้ผลดก ลูกสวย เนื้อหวาน ทนทานต่อการขนส่ง จุดด้อย เนื้อเป็นสนิมง่าย
พันธุ์สีทอง จุดเด่นสำคัญ เป็นขนุนพันธุ์ทะวายให้ผลผลิตดกตลอดทั้งปี มีลูกไว ขนาดผลใหญ่เฉลี่ย 25-30 กิโลกรัม ต่อลูก เนื้อหนา กรอบ รสชาติหวานอร่อย จุดด้อย เปลือกบางนิดๆ ช้ำง่าย ไม่ทนต่อการขนส่ง ส่วนขนุนพันธุ์มาเลย์ ก็เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ไม่เน้นปลูกเพราะได้ราคาต่ำ ทองประเสริฐกับสีทองราคาจะดีมาตลอด

อุปสรรคของการปลูกขนุน ไม่ค่อยมี ถ้ามีน้ำรดตลอดก็เป็นอันใช้ได้ รดตามอัตราทั่วไป 3 วัน รด 1 ครั้ง โรคสนิมแก้ไม่หาย ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ถ้าพื้นที่เป็นดินลูกรัง ดินเหนียวจะเกิดง่าย ถ้าเป็นดินทรายจะเกิดโรคยาก ส่วนใหญ่โรคสนิมพบได้ในขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ

วิธีการปลูก
ขนุน สามารถปลูกได้กับดินทุกชนิด ขอแค่อย่าเป็นพื้นที่น้ำขัง ตอนปลูกให้ทำโคกสูงขึ้นมาจากพื้นเดิม ประมาณ 30 เซนติเมตร จะดีมาก

กิ่งพันธุ์ที่ใช้ปลูก จะใช้กิ่งพันธุ์แบบเสียบยอด หรือใช้กิ่งพันธุ์ติดตาก็ได้ แล้วแต่ความถนัด การดูแล
หน้าฝนไม่ต้องรดน้ำ หน้าแล้ง 3 วัน รดน้ำ 1 ครั้ง ถ้าใช้ระบบสปริงเกลอร์เปิดรดนาน 15 นาที ขนุนเป็นพืชที่ไม่ค่อยชอบน้ำ แต่ก็คล้ายกับทุเรียนตรงที่ใกล้เวลาจะแก่ต้องอัดน้ำเยอะลูกจะได้โต

ปุ๋ย… ระยะ 3-4 เดือนแรก เริ่มใส่ปุ๋ยสูตรเสมอไปน้อยๆ ต้นละครึ่งกำมือ แล้วใช้ปุ๋ยคอกใส่ร่วมด้วย ใส่ให้ห่างจากโคนต้น 1 เดือน ใส่ 1 ครั้ง ใส่สูตรเสมอควบคู่ไปกับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก สลับกันไป

ระยะติดผลอ่อน ก็ยังใส่สูตรเสมอ ต้นละ 4-5 กำมือ ใส่เดือนละครั้ง

ระยะติดลูก เร่งสี ใช้สูตร 13-13-21 หลังเก็บลูกหมดจะพักต้น 1 เดือน แล้วบำรุงต่อเพื่อให้ผลชุดใหม่

ขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ ใช้เวลาปลูก 2 ปีครึ่ง เริ่มตกลูก แล้วนับไปอีกประมาณ 5 เดือน ขนุนก็เริ่มเก็บเกี่ยวขายได้ ระยะเวลาการเก็บขาย ถ้าทำให้ออกรุ่นเดียว เก็บครึ่งเดือนก็หมดแล้ว แต่ถ้าทยอยทำเป็นรุ่น ออกเป็นรุ่น ก็เก็บได้นานเป็นเดือน

ผลผลิตต่อต้น… ลุงอี๊ด บอกว่า แล้วแต่ต้นเล็ก ต้นใหญ่ ต้องบอกว่าขนุน 3 ปี 4 ปี หรือ 5 ปี ถ้าต้น 5 ปีไปแล้วลุงจะเอาไว้ต้นละประมาณกว่า 10 ลูก ถ้าต้นอายุ 2-3 ปี เอาไว้แค่ต้นละ 3-4 ลูก ดูตามความเหมาะสมของต้นเป็นสำคัญ ถ้ารดน้ำถึง ใส่ปุ๋ยถึง จะได้ขนาดลูกประมาณ 20 กิโลกรัมขึ้นไป ผลผลิตที่สวนเฉลี่ยทำขนาดใกล้เคียงลูกละ 15 กิโลกรัม จะขายง่าย ตัดขายวันละ 10 ตัน

ส่วน ขนุนพันธุ์สีทอง จะออกลูกเร็ว 16 เดือน ตกดอก 18 เดือน ติดลูก แล้วจะออกทั้งปี ลูกดก ต้องตัดแต่ง สอยลูกทิ้งไม่หวาดไม่ไหว ปรับตัวให้อยู่รอด
หลังพ้นวิกฤตราคากลับมาดีแน่นอน
ลุงอี๊ด บอกว่า ที่ผ่านมาราคาขนุนดีมาโดยตลอด มาราคาแย่ก็ตอนเกิดไวรัสระบาด เพราะฉะนั้นก็ยังจะยืนหยัดปลูกขนุนต่อไป ราคาจะแย่สักปีก็ยังรับมือไหว เพราะขนุนเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนดี ปลูกดูแลง่ายกว่าทุเรียนเยอะ และน้ำหนักต่อลูกก็ดี ถ้าคิดดีๆ แล้ว ตอนขนุนราคาดี กิโลกรัมละ 40 บาท ขนุน 1 ลูก หนักประมาณ 15-30 กิโลกรัม คิดเป็นเงินออกมาแล้ว ขนุน 1 ลูก ทำเงินได้ 800-1,000 บาท ต้นทุนการดูแลก็มีไม่มาก ยุ่งยากน้อยกว่าทุเรียน และที่สำคัญขนุนถ้าติดดอกก็ติดลูกทั้งหมด แต่ทุเรียนติดดอกแล้วยังมีโอกาสร่วง บางครั้งร่วงหมดต้นก็ได้ถ้าทำใบอ่อนไม่ดี

รายได้ จากการปลูกขนุน คิดง่ายๆ 1 ไร่ ปลูกได้ 40 กว่าต้น ขนุน 5 ปีขึ้นไปเก็บลูกไว้ต้นละ 10 ลูก 10 ต้น เท่ากับ 100 ลูก 40 ต้น เท่ากับ 400 ลูก น้ำหนักเฉลี่ย ลูกละ 15 กิโลกรัม

ราคาขายในตลาด ไม่นับช่วงเกิดวิกฤตในปีนี้ ตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 20-40 บาท ราคาทองประเสริฐกับสีทองราคาใกล้เคียงกัน แต่พันธุ์สีทองในตลาดแกะเนื้อราคาจะดีกว่า เพราะเนื้อไม่เป็นสนิม ส่วนสีทองก็ยังขายได้ราคา กิโลกรัมละ 10 บาท แล้วแต่คนชอบ ซึ่งส่วนตัวแล้วลุงชอบพันธุ์สีทองมากกว่า เพราะทำรายได้ดี ไม่ค่อยเป็นสนิม ถ้าเป็นทองประเสริฐหน้าฝนมาเป็นสนิมง่าย พ่อค้าแม่ค้ากดราคารับซื้อ เหลือกิโลกรัมละ 1 บาท 1 ลูก ขายได้ 15 บาท บางล้งก็ไม่รับซื้อ แต่ถ้าสีทองยังขายได้ ถูกสุด กิโลกรัมละ 7 บาท และดีหน่อยที่ลุงไม่ได้ทำลูกขายอย่างเดียว แต่ทำต้นพันธุ์ทองประเสริฐและสีทองขายด้วย เป็นต้นพันธุ์เสียบยอด ราคาขายต้นละ 50-60 บาท ก็ยังพอช่วยมาได้บ้าง

เน้นส่งในประเทศเป็นหลัก ส่งตามตลาดหัวเมืองใหญ่ๆ ตลาดไท สี่มุมเมือง มหานาค ส่งล้งบ้างเป็นบางครั้ง เพราะล้งจะให้ราคาถูกกว่าแม่ค้าที่รับซื้อไปแกะเนื้อขาย อีกอย่างคือ ถ้าขายล้ง เมื่อล้งโดนกดราคา เขาก็จะมากดชาวสวนอีกที

“เดี๋ยวนี้ตลาดจีนกับมาเลย์เขี้ยวขึ้น ตามหลักเคยซื้อเนื้อแกะ กิโลกรัมละ 30 บาท ถ้าจีนหัวหมออ้างว่าคนประเทศเขาไม่ออกมาจับจ่าย ล้งก็จะรับซื้อ เหลือกิโลละ 10 บาท แต่ก็ต้องปรับตัวกันไป ไม่ยากสำหรับชาวสวน ช่วงนี้ก็ขายถูก ขายแพง ให้หมดชุดไป ราคาไม่ลงตลอดทั้งปีหรอก”

เกษตรกรมือใหม่ อยากลงทุน
ลุงอี๊ด บอกว่า ต้นทุนการปลูกขนุนมีไม่มาก 1 ไร่ ปลูกได้ 40 กว่าต้น ราคาต้นพันธุ์ ต้นละ 50-60 บาท สำคัญคือ ต้องมีแหล่งน้ำ ถ้าไม่มีน้ำปลูกพืชสร้างสวนไม่ได้

ปุ๋ย ใช้ไม่มาก ใช้เคมีสลับกับขี้วัวบ้าง 1 กิโลกรัม ใส่ได้ตั้งหลายต้น

ต้นทุนคนงาน ทำคนเดียวยังไหว เพราะสมัยนี้ข้าราชการวัยเกษียณออกมาทำเกษตรกันเยอะ เขายังทำกันได้ ปลูกขนุนทำคนเดียวได้ไม่ยุ่งยากอะไร ถึงเวลาตัดขายยกไม่ไหวก็จ้างคนยกมาสัก 1 คน ขนุนลูกใหญ่ 1 ต้น ตัดแป๊บเดียวก็เสร็จ ตัดไม่กี่ลูกก็ตันหนึ่งแล้ว ลุงอี๊ด กล่าวทิ้งท้าย

ทุเรียน มีสายพันธุ์มากมาย มีรสชาติและเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป ความหวาน มัน ขนาดของทุเรียนก็ไม่เหมือนกัน ที่มาของแต่ละสายพันธุ์ก็เยอะไปหมด ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทยของเราเอง หรือแม้กระทั่งมีต้นกำเนิดมาจากต่างประเทศอีกด้วย ดังนั้น จะแยกออกได้อย่างไร ว่าอะไรเป็นอะไร เทคโนโลยีชาวบ้านของเราได้รับความกรุณาจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษแสวง ภูศิริ จากจังหวัดตรัง มาแนะนำ ทุเรียนนก ให้ท่านทุกคนได้เข้าใจกันผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษแสวง ภูศิริ เกิดเมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน 2468 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา สำเร็จการศึกษาจากเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

เนื่องจากที่ทำงาน คือกองการยาง กรมวิชาการเกษตร มีหน่วยงานย่อยอยู่จังหวัดตรัง ท่านจึงได้ลงไปตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดตรัง พร้อมกับประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการบุกเบิกงานด้านการเกษตรที่ทำเป็นแบบอย่างและเผยแพร่แก่เกษตรกรทั่วไป อาทิ เป็นบุคคลแรกที่ปลูกข้าวโพดหวานของจังหวัดตรัง ในที่สุดข้าวโพดหวานได้เป็นที่นิยมบริโภคของชาวจังหวัดตรัง และเผยแพร่ไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วภาคใต้ และริเริ่มการขยายพันธุ์ยางพาราด้วยวิธีติดตายางพันธุ์สีน้ำตาลเป็นคนแรกในจังหวัดตรัง

เมื่อเข้ารับราชการสอนหนังสือที่วิทยาลัยเกษตรกรรมตรัง จึงนำเรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ มาสอนนักศึกษาและอบรมให้แก่เกษตรกร นับเป็นการเปิดตลาดเห็ดนางฟ้าให้ชาวจังหวัดตรังได้รู้จักเป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช 2515 และได้เริ่มวิธีเพาะเห็ดฟางในฤดูฝนได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้ชาวนามีอาชีพเสริมจากการเพาะเห็ดฟาง ด้วยความเป็นบุคคลที่ไม่หยุดนิ่ง คิดวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทางการเกษตร และได้นำวิธีการนั้นเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรอย่างกว้างขวาง อาทิ

การคิดค้นให้สะตอออกฝักทุกฤดู
2. การใช้ต้นทุเรียนนก เป็นต้นตอทุเรียนพันธุ์ดี เพื่อให้ต้านทานโรครากเน่า (ได้รับรางวัลคิดค้นและประดิษฐ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) เกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์ในทุกจังหวัดที่มีการปลูกทุเรียน
3. การขยายพันธุ์มะละกอโดยวิธีติดตา (ได้รับอนุสิทธิบัตร)
4. ค้นคว้า ทดลองให้กระเจี๊ยบออกผลนอกฤดู
5. การทำสวนส้มโชกุน บริเวณพื้นที่ใกล้แม่น้ำตรัง ซึ่งสภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์และน้ำท่วมขัง โดยใช้ต้นมะกรูดผีหรือมะนาวผี มาทำเป็นต้นตอต้นส้มโชกุน ทำให้ส้มโชกุนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีรสชาติหวาน
6. นำขี้เถ้าทำเป็นปุ๋ย ใช้ในสวนปาล์มและเผยแพร่ความรู้นี้แก่เกษตรกร
นับได้ว่า ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์พิเศษแสวง ภูศิริ เป็นนักพัฒนาวิชาการเกษตรที่ทำประโยชน์ต่อเกษตรกรของประเทศ และได้เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆ แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรชาวจังหวัดตรังและจังหวัดอื่นๆ

ความหลากหลายของทุเรียน
ทุเรียน เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย จัดอยู่ในตระกูล Bombaceae มีขึ้นอยู่ทั่วๆ ไปในประเทศไทย มาเลเซีย พม่า อินเดีย ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จากรายงานของหอพรรณไม้แห่งอินโดนีเซีย ปี 1958 มีรายงานไว้ว่า Genus Durio ที่พบแล้วทั้งสิ้น 27 ชนิด ด้วยกัน บางชนิดก็มีเนื้อใช้รับประทานได้เช่นกัน ทุเรียนบ้าน (ทุเรียนพื้นเมืองและทุเรียนพันธุ์ดี) บางชนิดก็ไม่มีเนื้อเลย จากหนังสือ “ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย โดย พระยาวินิจวนันดร” ได้จำแนกทุเรียนที่พบในประเทศไทยไว้ 4 ชนิด ด้วยกันคือ
1. ทุเรียนบ้าน Durio zibbethinus
2. ทุเรียนดอน Durio malaccensis
3. ทุเรียนป่า Durio pinangianus
4. ทุเรียนนก Durio griffithii

ประวัติทุเรียนนกตรัง
เมื่อปี พ.ศ. 2494 “อาจารย์แสวง” ได้ลงไปปฏิบัติราชการที่สถานีการยางเขาช่อง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง สถานีตั้งอยู่ในหุบเขา เต็มไปด้วยไม้ป่านานาชนิด ครั้งนั้น คุณหลวงสำรวจพฤกษาลัย (นายสมบูรณ์ ณ ถลาง) เป็นหัวหน้ากองการยาง กรมกสิกรรม คุณหลวงสำรวจพฤกษาลัย ได้แนะนำ “อาจารย์แสวง” ว่า มีทุเรียนที่ขึ้นอยู่ในป่าแถบนี้อยู่ชนิดหนึ่ง ต้นใหญ่โตมาก มีผลเล็กกว่าส้มโอเล็กน้อย ไม่มีเนื้อเลย การที่ท่านแนะนำเช่นนั้นเพราะท่านทราบว่าตัวของ “อาจารย์แสวง” เป็นคนที่มีนิสัยชอบศึกษาค้นคว้า นอกจากนั้น เมื่อออกสำรวจป่าในแถบนั้น เมื่อพบต้นทุเรียนนกยังได้ชี้ให้ดูอีกด้วย ต้นทุเรียนนกบางต้นมีเส้นรอบวงถึง 7 เมตร เมื่อถึงฤดูออกผล ซึ่งจะเป็นราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม บนต้นจะเห็นผลเต็มไปหมด แต่ในระยะนั้น “อาจารย์แสวง” ก็ยังไม่ได้สนใจเท่าไรนัก

เมื่อปี พ.ศ. 2498 “อาจารย์แสวง” ได้ลาออกจากราชการเพื่อประกอบอาชีพส่วนตัว และในปี พ.ศ. 2500 ได้ซื้อที่ดินเป็นสวนทุเรียนพื้นเมืองเอาไว้ 20 ไร่ เผอิญในที่ดินแปลงนี้มีทุเรียนนกอยู่ต้นหนึ่ง มีขนาดของเส้นรอบวง ประมาณ 4 เมตร สูงประมาณ 40 เมตร ทุกปีจะมีเมล็ดหล่นอยู่เต็มโคนต้น จึงได้ถอนเอาต้นกล้า ขนาด 1.25 เซนติเมตร เท่านั้นมาปลูก

“อาจารย์แสวง” เขียนเล่าไว้ในหนังสือว่า สล็อต Game Hall เมล็ดทุเรียนนกงอกแตกต่างกว่าทุเรียนบ้านมาก สังเกตข้อแตกต่างได้ชัดเจน เมล็ดของทุเรียนนกธรรมชาติได้สร้างไว้ปลอดภัยมาก เมื่อผลของทุเรียนนกแก่จะหล่นจากต้นที่สูง ทำให้ผลแตก เมล็ดกระจาย เมล็ดทุเรียนนกมีลักษณะคล้ายเมล็ดระกำ เนื้อของเมล็ดแข็งกว่าเนื้อของเมล็ดทุเรียนบ้านเล็กน้อย เมื่อแตกจากผลใหญ่ๆ จะมีสีน้ำตาลปนชมพูอ่อนๆ แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้ในเวลาต่อมา แต่ถ้าเมล็ดได้รับแสงเต็มที่และมีความชื้นสูงจะเปลี่ยนเป็นสีเกือบดำ

ขนาดของผลและเมล็ดของทุเรียนนกแตกต่างกัน แล้วแต่ต้นที่ได้มา เมล็ดมีขนาดตั้งแต่เท่าหัวแม่มือจนถึงขนาดไข่ห่าน รูปร่างของเมล็ดก็แตกต่างกัน ถ้าเมล็ดทุเรียนกลมเหมือนไข่ไก่แสดงว่าทุเรียนผลนั้นมีเพียงเมล็ดเดียว บางเมล็ดมีรูปร่างแบนข้างหนึ่งและโค้งข้างหนึ่งเหมือนหลังเต่า แสดงว่าผลนั้นมี 2 เมล็ด ส่วนผลที่มีอกแหลม หลังเมล็ดโค้ง แสดงว่าทุเรียนผลนั้นมี 3-4 เมล็ด

วิธีการเพาะเมล็ดทุเรียนนก
เมื่อเก็บเมล็ดทุเรียนนกมาได้แล้ว ต้องเตรียมแปลงเพาะเช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดพืชทั่วๆ ไป นอกจากนั้น ต้องทำหลังคาแบบเรือนเพาะชำให้แสงลงได้ไม่เกิน 25 เปอร์เซ็นต์ โดยการฝังเมล็ดลงในดิน 3 ส่วน เหลือให้พ้นดิน 1 ส่วน รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ ประมาณ 10 วัน จะเห็นรากของเมล็ดทุเรียนนกงอกออกมามีสีขาวปนเหลืองอ่อน รากนี้จะหยั่งลึกลงไปในดินลึกมาก อาจยาวถึง 1 ฟุต โดยไม่แตกแขนงเลย หลังจากนี้ ประมาณ 1 เดือน นับจากเพาะเมล็ด ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับด้านที่งอก หรืออาจจะเรียกว่าด้านหัวก็ได้ สังเกตเห็นว่ามีรอยต่อของฝาปิดเกิดขึ้น ขนาด 1 ตารางเซนติเมตร หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เมื่อเมล็ดเริ่มงอก ฝานี้จะเผยอขึ้นและจะเปิดหลุดไปโดยการดันของยอดอ่อนที่เจริญขึ้นมา

ในระยะนี้ถ้ามีเวลาควรจับเมล็ดทุเรียนนกตั้งขึ้น แกะเอาฝาปิดชิ้นเล็กนี้ออก จะสังเกตเห็นยอดเล็กๆ เจริญขึ้นมาแล้วใช้ดินถมเมล็ดจนเกือบมิดเมล็ด เหลือเมล็ดพ้นดินไว้ประมาณครึ่งเซนติเมตร การปฏิบัติดังนี้จะทำให้เมล็ดทุเรียนนกงอกเร็วขึ้น ต้นจะตั้งตรงและมีเปอร์เซ็นต์งอกดีขึ้นด้วย การปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติในแปลงเพาะ โดยการปล่อยให้เมล็ดทุเรียนนกดันฝาปิดออกมาเอง การงอกเป็นต้นจะช้าลง ไม่สม่ำเสมอ และยอดของเมล็ดทุเรียนนกที่เกิดใหม่จะฝังอยู่ในดินเมื่อฝนตก ทำให้โรคและแมลงทำลายได้ง่าย เปอร์เซ็นต์การงอกลดลง

บางท่านอาจมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไม ถึงไม่เพาะทางตั้งเสียเลย ไม่ต้องทำงานถึงสองครั้ง ในเรื่องนี้ “อาจารย์แสวง” อธิบายว่า เมื่อเมล็ดทุเรียนหล่นลงใหม่ๆ นั้น เมล็ดทุเรียนไม่ได้ติดอยู่กับผล มันจะกระจายไปคนละทิศละทาง ถ้าจะดูว่าทางไหนหัวทางไหนท้าย จะต้องใช้ความชำนาญมากและเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ จึงควรปล่อยให้ธรรมชาติเป็นฝ่ายแนะให้ดีกว่า เพราะเพียง 10 วัน เท่านั้น รากก็จะงอกออกมาให้เห็นแล้ว เราก็นำเมล็ดเอารากฝังลงในดิน ซึ่งจะง่ายกว่าการคัดเลือกเมล็ดใหม่ๆ