ผมเองก็รู้สึกภูมิใจมาก ที่ต้นไผ่ของเราได้รับความสนใจ ซึ่งผมก็

สามารถขายกิ่งพันธุ์ ในราคากิ่งละ 100 บาท จนสามารถมีเงินไปซื้อที่ดินเป็นของตนเองได้ถึง 20 ไร่ ที่ทำกินมาจนถึงทุกวันนี้ พี่สะอาดกล่าว

“พอดีว่า พื้นที่สวนของผมมีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำที่นำมาใช้รด ซึ่งการปลูกไผ่ตง โดยเฉพาะการทำไผ่ตงนอกฤดูนั้นต้องมีน้ำมารดให้ไผ่ตงอย่างสม่ำเสมอ พอไม่มีน้ำ ทำให้เราไม่สามารถทำนอกฤดูได้ จึงลดพื้นที่ปลูกลง แต่ในกลุ่มพี่น้องผมที่มีสวนอยู่ติดแม่น้ำหรือมีแหล่งน้ำก็ยังปลูกไผ่ตงกันมากอยู่เหมือนเดิม” พี่สอาด กล่าว

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน พี่สอาดได้ขยายกิจกรรมการทำสวนเพิ่มเติม โดยเพิ่มการปลูกไม้ขุดล้อม ในกลุ่มของไม้ไทยนานาชนิดที่ตลาดต้องการและไม้ผล เช่น เงาะ กระท้อน ลำไย จำหน่ายเพิ่มเป็นรายได้อีกทาง โดยมีร้านจำหน่ายตั้งอยู่ที่บ้านดงบัง อำเภอเมืองปราจีนบุรี

ไผ่ตง อนาคตยังมี แต่ต้องทำนอกฤดู

พี่สอาด ได้กล่าวถึงการทำสวนไผ่ตงในปัจจุบันว่า ไผ่ตง ยังถือเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพียงแต่มีข้อแม้ว่า ต้องทำไผ่ตงนอกฤดูถึงจะได้ราคา ทั้งนี้ พี่สอาด ได้ขยายความถึงความหมายของการทำไผ่ตงนอกฤดูว่า เป็นการเร่งให้ต้นไผ่ตงออกหน่อเร็วขึ้น เป็นการทำให้ออกก่อนฤดูกาลปกติ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ราคาจำหน่ายดีกว่า โดยเคล็ดลับสำคัญอยู่ที่การให้น้ำ

พี่สอาด บอกว่า การทำไผ่ตงนอกฤดูนั้น จะต้องมีการเริ่มเตรียมการตั้งแต่เตรียมต้น ให้น้ำแก่ต้นไผ่ตั้งแต่เดือนธันวาคม ทั้งนี้ระบบการให้น้ำในปัจจุบันที่ดีที่สุดคือ การให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาในการขาดแคลนแรงงานที่ทำหน้าที่รดน้ำแล้ว ยังสามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็ว โดยการให้น้ำนั้นจะให้ทุก 3-4 วัน โดยดูที่ความชื้นของดินในแปลงปลูกไผ่ตงเป็นหลัก

ไผ่ตง จะสามารถให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวจำหน่ายได้ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาดี แต่พอเข้าพรรษาแล้ว จะเริ่มราคาลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่หน่อไม้ปีออกสู่ตลาด

“ถ้าทำไผ่ตงให้ออกตามฤดู จะไม่ค่อยได้ราคาเท่าไร แต่ถ้าสามารถทำให้ออกนอกฤดูได้ ซึ่งต้องมีแหล่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญจะทำให้มีรายได้อย่างน่าสนใจ อย่างปีนี้ราคาไผ่ตงช่วงนอกฤดู เมื่อตอนออกใหม่ๆ อยู่ที่กิโลกรัมละ 30 บาท แต่ตอนนี้ลงมาหน่อยเหลือที่กิโลกรัมละ 27-28 บาท”

สำหรับการทำไผ่ตงนอกฤดู จะทำไปจนกว่าเมื่อเข้าพรรษา และเมื่อฝนตกลงไผ่ตามฤดูกาลออก สวนที่ทำนอกฤดูก็จะหยุดพักต้น ตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อรอทำนอกฤดูครั้งใหม่ในปีต่อไป

“ทำนอกฤดูในช่วงนี้ชาวจะได้เงินดี เพราะตัดครั้งหนึ่ง ทุก 3 วัน พื้นที่ประมาณ 10 ไร่ จะได้น้ำหนักรวมประมาณ 300 กว่ากิโลกรัม ในราคาขายที่กิโลกรัม 30 บาท ก็จะมีรายได้เกือบหมื่นบาทแล้ว”

และอีกหนึ่งในเทคนิคของชาวสวนไผ่ตงของปราจีนบุรีได้พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นคือ การ​ทำหน่อ​ไม้หมก ​หรือตงหมก ​

วิธีการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มรสชาติของหน่อไม้ที่ได้ให้มีความหวานหอมน่ารับประทาน และเป็นที่ตลาดการของตลาด

โดยวิธีการดั้งเดิมที่ทำกันมา คือ การใช้ขี้เถ้าแกลบเป็นวัตถุดิบสำคัญในการหมก แต่ด้วยที่ปัจจุบันแกลบดำมีราคาแพง จึงมีการพลิกแพลงไปใช้ใบไผ่แห้งแทน ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุน โดยเสียเงินเพียงค่าซื้อถุงดำเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถเก็บถุงดำมาใช้งานได้อีกหลายครั้ง

“แตกต่างจากการใช้แกลบดำที่นอกจากจะต้องหาซื้อในราคาแพงแล้ว บางครั้งก็มีปัญหาว่าหมกไม่ดีทำให้ถุงแตกต้องเสียเงินซื้อถุงดำใบใหม่มาทดแทน แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ใบไผ่แห้งแล้วแล้ว หมดปัญหาทุกอย่างไปเลย ถุงดำก็สามารถใช้ได้หลายครั้ง”

ทั้งนี้จุดประสงค์สำคัญที่เกษตรกรชาวสวนไผ่ตงต้องมีการหมกหน่อไม้เพื่อทำให้หน่อไม้ที่ได้มีลักษณะผิวเปลือกขาว และมีรสชาติหวาน “เมื่อหน่อไม้โผล่พ้นดินมาได้ประมาณ 3 อาทิตย์ จะใช้ถุงดำมาบรรจุใบไผ่ที่ร่วงบนพื้นในสวนให้เต็มถุงยิ่งอัดให้แน่นยิ่งดี แล้วนำครอบที่หน่อไม้ที่ขึ้น โดยทิ้งไว้นานประมาณ 7-8 วัน ก็สามารถเปิดถุงและตัดหน่อไม้ไปจำหน่ายได้” พี่สอาด กล่าว

ผักเชียงดา เป็นผักพื้นบ้านที่คนทางภาคเหนือนิยมรับประทาน เป็นไม้เถาเลื้อย ใบกลมรี ปลายใบแหลมฐานใบมน ผิวเรียบไม่มีขน ทั่วไปนิยมปลูกตามรั้วบ้าน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำ ในตำรายาแพทย์แผนไทยใช้ใบผักเชียงดาตำละเอียดพอกกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด จากการวิจัยพบว่า สารออกฤทธิ์ในผักเชียงดาช่วยบำรุงสายตา ควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุให้เกิดมะเร็งตับ มะเร็งในกระเพาะอาหาร โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ปัจจุบัน มีบริษัทยาของประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตผักเชียงดาเป็นชาชงสมุนไพร เพื่อลดน้ำตาลในเส้นเลือด ผักเชียงดาพบมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ได้รวบรวมสายพันธุ์ผักเชียงดา จำนวน 101 สายพันธุ์ เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยนำมาศึกษาการปลูกดูแลรักษา การขยายพันธุ์ และพัฒนากระบวนการแปรรูป เพื่อพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และเพื่อการผลิตในเชิงพาณิชย์ คัดสายพันธุ์เหลือผักเชียงดาที่มีคุณสมบัติตามต้องการเพียง 2 สายพันธุ์ เท่านั้น

การปลูกที่เหมาะสม คือ การปลูกแบบใช้ค้างตั้งฉากร่วมกับการพรางแสง ทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,500 กิโลกรัม ต่อไร่ จำหน่ายกิโลกรัมละ 20 บาท คิดเป็นมูลค่าผลผลิตสดประมาณเกือบ 30,000 บาท ในด้านอาหารนั้น ผักเชียงดาให้ประโยชน์ทุกส่วน มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารประกอบฟีนอลิกและคลอโรฟิลล์ พบมากในผักเชียงดาชนิดกระโดงใบอ่อน ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผักเชียงดานั้น ได้ศึกษาและแปรรูปหลายประเภท เช่น แกงผักเชียงดาบรรจุกระป๋อง ใบชาผักเชียงดา ผักเชียงดาบรรจุแคปซูล น้ำผักเชียงดาพร้อมดื่ม น้ำผักเชียงดาเข้มข้น ผักเชียงดาผง

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา 202 หมู่ที่ 17 ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100 โทรศัพท์ 0-5434-2553

มะม่วง เป็นไม้ผลเพียงไม่กี่ชนิดที่มีจำนวนพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มทางการตลาดค่อนข้างดี ผลผลิตมะม่วงในประเทศไทยมีพื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีสภาพพื้นที่และสภาพอากาศที่เหมาะสมในการปลูกไม้ผลหลายชนิด รวมถึงมะม่วงกินสุก สถานีวิจัยปากช่อง เป็นหน่วยงานที่ถ่ายทอดความรู้เรื่องการปฏิบัติดูแลรักษามะม่วงการติดตา ต่อกิ่ง เปลี่ยนยอด และการป้องกันโรคและแมลง ให้แก่เกษตรกรชาวสวนมะม่วงหลายสิบรุ่น โดยใช้หลักการปลูกระยะชิด เพื่อควบคุมทรงพุ่มไม่ให้สูงใหญ่มากนัก สะดวกในการดูรักษา และการเก็บเกี่ยวที่ไม่เกิดการเสียหายต่อคุณภาพของผล รวมถึงการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย จึงมีการทดลองนำมะม่วงน้ำดอกไม้มาปลูกในระบบชิดเป็นครั้งแรกที่สถานีวิจัยปากช่องแห่งนี้ เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกร นับแต่นั้นมาการปลูกมะม่วงในระบบปลูกชิดก็เป็นที่นิยมปลูกสำหรับเกษตรกรชาวสวนมะม่วงโดยทั่วไป

มะม่วง ที่ปลูกในอำเภอปากช่อง เป็นมะม่วงที่คุณภาพดี เหมาะแก่การส่งออก ทำให้วันนี้เราต้องมาคุยกับ คุณมนตรี ศรีนิล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งออกมะม่วงโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง โทรศัพท์ 089-533-8594 ถึงความเป็นมาที่เริ่มก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน

“ก่อนหน้าที่จะเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ต่างคนต่างปลูกมะม่วงแล้วต่างคนต่างขาย ก็มีปัญหาเรื่องการขายผลผลิตไม่ได้ราคา ขายตัดราคากันบ้าง ขายไม่ได้บ้าง และมีการขายแบบเหมาสวนยกแปลงตั้งแต่มะม่วงยังเขียวอยู่ โดยพ่อค้าจะนำถุงมาห่อเอง พอมะม่วงตัดได้ก็จะเอาไปขาย ผมก็ทำสวนมะม่วงอยู่เหมือนกันรวมกับพี่น้องพรรคพวกไม่กี่คน คัดมะม่วงคุณภาพเกรดเอขายให้บริษัทเพื่อการส่งออก แต่ไม่ได้ราคา ราคามะม่วงเกรดเอสำหรับส่งออกตอนนั้น ได้แค่กิโลกรัมละ 40 บาท ทั้งที่ของบางคล้าได้ราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท เมื่อเจรจากับบริษัทเราจะได้คำตอบว่า มะม่วงของคุณไม่ได้คุณภาพบ้าง ไม่มีจำนวนบ้าง ทั้งที่คุณภาพเหมือนกัน นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้เป็นกลุ่มก้อนจึงไม่มีอำนาจต่อรอง”

“ผมจึงชักชวนชาวสวนมะม่วงทั้งหมดในบริเวณนี้มารวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชน ตอนแรกๆ ชาวสวนก็ยังไม่เข้าใจเรื่องการรวมกลุ่มกันเพื่ออะไร หลังจากดำเนินการของกลุ่มไปได้ระยะหนึ่ง เราก็สามารถทำต่อไปได้จนประสบผลสำเร็จ”

ทำความตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

บริษัทผู้ส่งออกมะม่วงที่มาทำความตกลงเรื่องการซื้อขายกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโป่งตาลอง เป็นบริษัทที่ทำการค้าติดต่อกันมาหลายปี บริษัทใหม่ๆ ที่เข้ามาขอซื้อถูกปฏิเสธจากกลุ่มในช่วงนี้ เนื่องจากผลผลิตยังไม่พอจำหน่าย ในการขายมะม่วงให้กับบริษัท กลุ่มจะขายให้หลายบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงและเป็นการกระจายสินค้าไปหลายประเทศ รวมถึงกลุ่มจะมีความมั่นใจในการผลิตมะม่วงให้แก่ผู้ซื้อตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า

โดยปกติราคามะม่วงเกรดเอจากสวนในฤดูปกติ จะอยู่ที่ประมาณ 40-60 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนนอกฤดูกิโลกรัมละ 90 บาท มะม่วงที่ได้คุณภาพส่งออกจะมีน้ำหนักต่อผล ตั้งแต่ 300 กรัม จนถึง 550 กรัม เมื่อมะม่วงเริ่มติดผลในเดือน ก.ค.-ส.ค. กลุ่มจะเริ่มสำรวจปริมาณผลผลิตทั้งหมดของสมาชิกกว่าสี่สิบราย ว่ามีปริมาณผลผลิตจำนวนเท่าไร โดยการตรวจสอบจากถุงที่สั่งเข้ามาว่าแต่ละสวนใช้ถุงห่อไปเท่าไร ห่อรุ่นเดือนไหนให้จดบันทึกไว้ เพื่อรู้ว่าต่อไปแต่ละเดือนจะมีผลผลิตออกกี่ตัน จึงจะแจ้งไปที่บริษัทส่งออก เพื่อให้บริษัททำการตลาดล่วงหน้า

โดยปกติกลุ่มจะทำมะม่วงเกรดเอในฤดู เพื่อส่งออกได้ประมาณ 200-300 ตัน ต่อปี ที่เหลืออีกประมาณครึ่งหนึ่งเป็นมะม่วงเกรดรองจะส่งออกไม่ได้จึงต้องไปอีกตลาดหนึ่ง คือ ตลาดในประเทศ มะม่วงที่ถือว่าตกเกรดคือ ผิวไม่สวย มีรอยขูดขีด มีแผลจากโรคแอนแทรกโนส เพลี้ยไฟ บนผิวมะม่วง มะม่วงเราจำเป็นต้องห่อทุกผลเนื่องจากมะม่วงตกเกรดที่ออกนอกฤดูราคาก็ยังสูง อายุที่ห่อนับจากดอกบาน 45 วัน ซึ่งจะมีผลขนาดไข่ไก่ ความยาวของผลประมาณ 7 เซนติเมตร ถ้านับหลังจากการบานก็จะรวมเป็น 90-100 วัน มะม่วงก็จะแก่พอดี

ทำมะม่วงต้องวางแผนการผลิตทั้งปี

ในการทำนอกฤดูของปากช่องจะแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ หลายแปลง โดยจะเริ่มตัดแต่งกิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน ทยอยกันไป ไม่พร้อมกัน บางคนอาจเลยไปถึงเดือนพฤษภาคมก็ได้ การที่ทำอย่างนี้ เพื่อให้มีผลผลิตทยอยกันในช่วงนอกฤดู ผลผลิตดังกล่าวก็จะออกตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน การทำนอกฤดูก็มีการราดสารแพคโคลบิวทราโซลตามวิธีการที่บอกไว้ในฉลาก การทำนอกฤดูไม่ควรซ้ำถึงสองสามปี เพราะต้นจะโทรม เกษตรกรจำเป็นต้องสลับแปลง เพราะถ้าต้นโทรมแล้วจะแก้ไขยากมาก

การทำมะม่วงนอกฤดูจะใช้ปุ๋ยยามากกว่าปกติ ซึ่งต้นทุนของการผลิตจะเพิ่มขึ้นแต่มีข้อดีเป็นการกระจายผลผลิตให้มีสม่ำเสมอทุกเดือน ถ้าสวนมะม่วงทั้งประเทศทำกันในฤดูหมด ผลผลิตออกมาตลาดไม่สามารถรองรับได้

เกษตรกรชาวสวนมะม่วงมีอยู่ทั่วประเทศแล้วมีการวางแผนการผลิตกันอย่างไร คำถามนี้คุณมนตรีตอบว่า

“ปัจจุบัน ชาวสวนมะม่วงมีการรวมตัวกันเป็นสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันตลอดเวลา และการประชุมของสมาคม 2-3 เดือน ต่อครั้ง มีการวางแผนการผลิตที่ทำต่อเนื่องมาหลายปีแล้วจนทำให้ผลผลิตมะม่วงไม่ประสบปัญหาเหมือนผลไม้อื่น โดยปกติในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนเป็นมะม่วงในฤดู ชาวสวนในจังหวัดฉะเชิงเทรา พิจิตร พิษณุโลก ชัยนาท จะเป็นผู้ผลิตส่งตลาด ส่วนระหว่างเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม จะเป็นผลผลิตของจังหวัดภาคเหนือตอนบน มี เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง เพราะสภาพอากาศเหมาะสมผลผลิตนี้ถือเป็นมะม่วงหลังฤดู”

“เมื่อมะม่วงจากทางเหนือหมด จะเป็นมะม่วงนอกฤดูของทางอำเภอปากช่องและของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจะมีผลผลิตตั้งแต่กรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม ส่วนโซนที่เสริมจะเป็นมะม่วงของภาคอีสาน เช่น ขอนแก่นและอุดรธานี แต่มีจำนวนไม่มาก จะมีผลผลิตช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม การวางแผนการตลาดของมะม่วงจะครอบคลุมตลอด 12 เดือน เพื่อให้มีผลผลิตในการส่งออกอย่างสม่ำเสมอ สมาชิกในสมาคมตระหนักถึงปัญหานี้ดีว่า ถ้ามะม่วงออกทับซ้อนกันความเสียหายเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำจะเกิดขึ้นแน่นอน”

“การจัดแบ่งโซนนี้ถือหลักตามความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นที่เอื้อต่อการผลิตมะม่วง โดยไม่เป็นการฝืนธรรมชาติจนเกินไป นอกจากนี้ ยังจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการดูแลของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ด้วย ส่วนชาวสวนมะม่วงของปากช่องถนัดเรื่องการทำมะม่วงน้ำดอกไม้นอกฤดูมายี่สิบกว่าปีแล้ว ปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งผลิตนอกฤดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ว่าได้”

ข้อมูลนี้ คุณมนตรี อธิบายให้ฟังอย่างกระจ่างแจ้ง การวางแผนการผลิตโดยเกษตรกรที่รวมตัวกันเองโดยความสมัครใจมีผลมากต่อการบริหารจัดการเรื่องราคาทำให้มีความมั่นคงในด้านนี้ ซึ่งเรื่องนี้ผมถูกใจมากเพราะผลไม้อย่างอื่นยังไม่ค่อยเห็นมีการวางแผนแบบนี้มาก่อน ได้แต่ต่างคนต่างทำ มารวมตัวกันได้ก็ตอนที่ราคาผลผลิตตกต่ำเท่านั้น ซึ่งวิธีการนี้เป็นการแก้ไขทางปลายเหตุ

การปลูกมะม่วงยุคใหม่ระหว่างต้นจะเว้นระยะห่าง 4 เมตร ส่วนระหว่างแถว 6 เมตร ทำให้มีพื้นที่ในการทำงานด้วยเครื่องจักรเพื่อเป็นการลดการใช้แรงงานได้ ใน 1 ไร่ จะได้ต้นเพียง 60 ต้น การใช้กิ่งชำจะทำให้ได้ต้นที่ไม่สมบูรณ์

ปัจจุบัน มีการปลูกต้นมะม่วงแก้วเป็นตอลงในแปลง แล้วจะนำยอดของต้นที่ดีที่สุดในแปลงของเกษตรกรแต่ละคนมาเสียบยอดแทน เพราะต้นมะม่วงที่มีรากแก้วของมะม่วงแก้วจะแข็งแรงหากินเก่ง ต้นที่ทำอย่างนี้สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 30 ปี การที่ทำพันธุ์เองก็เนื่องจากปัญหาด้านกิ่งพันธุ์ที่ซื้อมา อาจมีการปนต้นพันธุ์ที่ไม่ดีมา ทำให้ต้องเสียเวลาตัดทิ้งเมื่อมีผลผลิต ในช่วงปีแรกจำเป็นต้องให้น้ำต้นมะม่วง แต่หลังจากนั้นก็ไม่จำเป็นนัก นอกจากพื้นที่แล้งติดต่อกันนาน มะม่วงในแปลงจะให้ผลผลิตเมื่อครบ 4 ปี ในช่วงนี้ชาวสวนจะปลูกพืชเสริม เช่น ผักชี ถั่ว ผัก การตัดแต่งพุ่มเตี้ยๆ ของชาวสวนมะม่วงจะมีผลทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและบำรุงรักษา ปัจจุบัน ผลผลิตมะม่วงของกลุ่มปากช่อง อยู่ที่ไร่ละ 1,200 กิโลกรัม ต่อไร่

การใช้ปุ๋ยและยา ในการทำมะม่วงเพื่อการส่งออกของกลุ่มปากช่องนี้ จะใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกันปุ๋ยอินทรีย์ในสัดส่วน 60 ต่อ 40 เพราะปุ๋ยเคมีจำเป็นในการเพิ่มความหวานให้มะม่วง เช่น ปุ๋ย 13-13-21 ในช่วงที่มีฝนตกชุกเนื่องจากปริมาณน้ำฝนเข้าไปเจือจะทำให้ไม่หวาน ส่วนสารเคมีที่ใช้บังคับให้ออกนอกฤดู หรือเร่งต่างดอก ก็มีความจำเป็น เพราะในสารอินทรีย์ยังไม่สามารถทำได้ ราคาที่อยู่ปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนมะม่วงบอกว่ามีกำไร แต่มีปัจจัยเสี่ยง คือ อากาศที่แปรปรวน เพราะในช่วงออกดอกของมะม่วงนอกฤดูที่ปากช่องเป็นช่วงเมษายนซึ่งร้อนมากที่สุด ทำอย่างไรถึงจะให้ติดผลมากที่สุด เป็นเรื่องที่เกษตรกรชาวสวนต้องเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

การทำมะม่วงนอกฤดูนอกจากผลผลิตที่มีความสวยงามแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลมากคือ สารตกค้างในมะม่วง ชาวสวนจะต้องมีความรู้ว่าสารเคมีชนิดนี้ จะฉีดพ่นก่อนห่อได้กี่วัน จึงจะไม่มีผลตกค้าง

มีการบันทึกการทำงาน ว่าฉีดพ่นสารชนิดใดบ้าง ทั้งวันที่ปริมาณและชนิดของสาร การใช้สารเคมีในมะม่วงเพื่อการส่งออกต่างประเทศไม่ได้ห้ามไว้ แต่อย่าให้มีสารตกค้างหลังจากการเก็บเกี่ยว ชาวสวนต้องรู้ว่าสารเคมีแต่ละชนิดมีอายุตกค้างกี่วัน ถ้าจำเป็นต้องฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยวก็จะต้องใช้สารเคมีที่ใช้แล้วสลายตัวเร็วที่สุดหรือไม่ก็เป็นสารอินทรีย์ การทำมะม่วงนอกฤดูจะยุ่งยากกว่ามะม่วงในฤดูเพราะการออกดอกของมะม่วงนอกฤดูจะไม่พร้อมกันมีการทยอยออกดอก มีผลรุ่นพี่รุ่นน้องเพราะฉะนั้นการใช้สารเคมีนี้จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่เหมือนมะม่วงในฤดูที่ดอกบานพร้อมกันทำให้การจัดการเรื่องปุ๋ยยาได้ง่าย

ส่งออกเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

และน้ำดอกไม้ทะวาย เบอร์ 4

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง และน้ำดอกไม้ทะวาย เบอร์ 4 เป็นมะม่วงที่เป็นที่นิยมมากในต่างประเทศสำหรับมะม่วงกินสุก เพราะคุณสมบัติของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง คือมีผิวเหลืองสด เปลือกหนาทนทานในการขนส่ง ส่วนมะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย เบอร์ 4 มีรดชาติที่ดีกว่า สำหรับต่างประเทศชอบมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมากกว่า ส่วนการบริโภคในไทยจะชอบในรสชาดของมะม่วงน้ำดอกไม้ทะวาย เบอร์ 4 มากกว่า แต่จริงๆ แล้วรสชาติใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากสมัยก่อนชาวสวนไม่รู้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่แน่นอนใช้สายตามองดูทำให้เก็บมะม่วงที่ยังไม่แก่จัด เพราะมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจะเหลืองตั้งแต่มีขนาดเล็กจึงทำให้สับสน แต่ปัจจุบัน มีการห่อผลและจดบันทึกเวลาไว้ทำให้เก็บเกี่ยวมะม่วงได้อย่างถูกต้อง

การจำหน่ายมะม่วง

เกรดมะม่วงของกลุ่มจะมี 2 เกรด เกรดส่งออก คือเกรดเอ วิสาหกิจชุมชนจะหักขึ้นมา 2 บาท จากจำนวนเงิน 50 บาท ซึ่งหมายถึง 1 กิโลกรัม เพื่อนำมาสร้างอาคารที่คัดมะม่วง อุปกรณ์ ที่จะเป็นของกลุ่ม หรือเป็นเงินทุนต่อไป ส่วนการจำหน่ายมะม่วงเกรดเอ จะมีสองแบบ คือ บริษัทมาคัดมะม่วงเองที่โรงคัดของกลุ่มหลังจากที่สมาชิกนำมาส่งไว้ที่โรงคัดแล้ว หรืออีกวิธีหนึ่ง คือบริษัทให้กลุ่มเป็นคนคัดและจัดส่งให้ โดยบริษัทจะจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้เอง ส่วนมะม่วงที่เหลือ คือ ตกเกรดจะแบ่งเป็นเกรด 1 2 3 กลุ่มจะขายให้แก่สมาชิกโดยถือราคาตามตลาดในวันนั้นๆ ตลาดสำคัญคือ ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท และตลาดชลบุรี ในส่วนนี้ก็จะหักขึ้นสองบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การบริหารวิสาหกิจชุมชน

“การบริหารไม่ได้ทำคนเดียวแต่จะทำในรูปคณะกรรมการ มีการจัดการอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ ถีงตอนสิ้นปี จะมีการแจกแจงปัญหาให้สมาชิกดูทั้งหมด มีรายได้ทั้งหมดเท่าไร เอาไปใช้อะไรบ้าง ผู้ที่มีหน้าที่บริหารทั้งหมดทำด้วยจิตอาสาไม่มีเงินเดือน”

พูดถึงกระแสสุขภาพกำลังมาแรงในยุคนี้นะคะ และใครๆ ก็จะถามถึงผักไฮโดรโปนิกส์ หรือผักที่ปลูกในสารละลาย การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่ถูกอกถูกใจหลายๆ คน ในขณะที่บางคนก็มีคำถามมากมายถึงการลงทุน การจัดการ รวมไปถึงการตลาดของผักที่ผ่านการปลูกด้วยระบบนี้

คุณเมธา กสินุรักษ์ เจ้าของผักไฮโดรโปนิกส์ที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี เล่าว่า ต้องการทำแปลงผัก ให้เป็นเหมือนซุเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าเข้ามาเก็บผักเอง เหมือนเลือกซื้อผักในซุเปอร์มาร์เก็ต

ข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ – ลดการใช้สารเคมี หรือไม่ต้องใช้เลยก็ได้ คุณเมธา เล่าว่า เริ่มต้นจากการที่ตัวเขาและครอบครัวชอบกินผักมาก จึงเริ่มต้นปลูกเองไม่มาก ได้ผลผลิตแล้วก็แจกเพื่อนบ้านบ้าง

“ต่อมาพื้นที่ปลูกก็ขยายขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีพื้นที่ที่เห็นนี้ประมาณ 200 ตารางวา ปลูกผักได้ 19 โต๊ะ โต๊ะละ 480 ต้น รวมแล้ว ก็จะได้ผักประมาณ 10,000 ต้น สำหรับ 1 รอบการปลูก นับแต่หยอดเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 45 วัน ก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้ และพันธุ์ผักที่ปลูกก็เป็นผักไฮโดรโปนิกส์ทั่วไปที่รู้จักกันดี”

คุณเมธา วางระบบด้วยตัวเองทั้งหมด โดยเริ่มจากเล็กๆ และค่อยๆ ขยายพื้นที่ขึ้น หลายคนมองว่า การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ลงทุนสูง และต้องมีเทคโนโลยีในการผลิตขั้นสูงอีกด้วย แต่คุณเมธา มีความเห็นต่างออกไป

“ผมว่าอยู่ที่การศึกษาระบบ เราสามารถประยุกต์วัสดุใกล้ตัว มาดัดแปลงได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ต้นทุนมีราคาถูกลง เช่น ใช้ท่อน้ำแทนรางน้ำ เป็นที่น้ำไหลเวียน ใช้รางน้ำฝนอลูมีเนียม เป็นตัวรับน้ำ อันนี้เป็นถ้วยน้ำจิ้มราคาไม่ถึง 10 สตางค์ แทนถ้วยพลาสติกสำหรับปลูกผักที่มีราคาใบละ 2 บาท ซึ่งการลงทุนด้วยการใช้วัสดุอุปกรณ์ทดแทนนี้จะสามารถประหยัดต้นทุนไปได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์”

นอกจากนี้ คุณเมธา ยังปฏิเสธ การวางระบบจากผู้เชี่ยวชาญที่มักจะพ่วงมาด้วยต้นทุนราคาแพง แต่จะหาวัสดุอุปกรณ์ใกล้ตัวทดแทนกันไป คุณเมธา บอกว่า การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จะประหยัดน้ำกว่าการปลูกผักด้วยระบบธรรมดา ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผักไฮโดรโปนิกส์ที่ตัดแล้วจะจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ผักคละชนิดกัน

ใครที่สนใจ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ความสันโดษ คือ การดำรงชีพอยู่อย่างพอเพียง พอใจยินดีกับชีวิตที่ตนเป็นอยู่ ไม่โลภ ไม่ไปวุ่นวายกับกิเลสตัณหาอันที่เกิดจากความอยากทั้งสิ้น

ตัวที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ก็คือ ความอยากทั้งปวง อยากได้ อยากเป็น อยากมี หรือความไม่อยากทั้งปวง ที่เรียกว่า ภวตัณหาและวิภวตัณหา ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น ดังนั้น เราต้องควบคุมจิตใจพร้อมลดตัณหาในใจลงให้ได้ มากเท่าใด ความทุกข์ก็จะลดลงมากเท่านั้น แต่หากหันมาใช้ชีวิตสันโดษ ความวุ่นวายในชีวิตก็จะไม่เกิด หรือหากเกิดก็แก้ไขได้ และสามารถเดินห่าง…จากความจน ได้ชนิดสมบูรณ์แบบได้จริงๆ

สวัสดีครับ แฟนๆ ที่รักยิ่งของผม ระยะนี้ผมอ่านหนังสือธรรมะ ก็เลยนำมาเขียนให้ได้อ่านกัน เพราะเห็นว่าธรรมะนี่แหละที่สามารถที่จะเพิ่มพลังชีวิตให้กับชีวิตเราได้ ลดความทุกข์ให้น้อยลงได้ พร้อมทั้งนำไปประยุกต์แก้ปัญหาให้คลี่คลายได้แล้วจะเกิดแต่ความสุขให้กับชีวิต สำหรับในทางธรรมะนั้น ความสันโดษไม่ได้หมายถึงการพอใจกับการดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังอย่างโดดเดี่ยวหรอกครับแฟนๆ

คนคลองแปด ปทุมธานี นิยมปลูกผักบุ้งลอยคลอง เห็นแล้วเป็นกอๆ แน่นงามมาก นำเรือออกไปเก็บผักบุ้งที่ปลูกไว้ในคลองรังสิต นำมากำเป็นมัด 1 มัด มีประมาณ 7-8 ต้น จำนวนมากน้อยตามแต่ลูกค้าสั่ง อย่างน้อยรวมๆ กันแล้ว ประมาณ 300-400 กำ ต่อครั้ง ใช้เวลาตั้งแต่ตี 5 ถึงประมาณเกือบเที่ยงวัน ตอนบ่ายๆ จึงนำไปส่งลูกค้าที่ตลาด ภารกิจต่อครั้ง ซื้อขายกันด้วยเงินสด

โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมปลูกผักบุ้งพันธุ์ไต้หวัน simpleweightlossplans.com ปลูกให้อยู่กับน้ำ เรียกเอาเองว่า ผักบุ้งลอยคลอง มานานกว่า 10 ปีแล้ว การปลูกไม่ยุ่งยากหรอกครับ นำเถาผักบุ้ง ประมาณ 1 กอ จำนวนไม่ต้องมากนัก ปักกับไม้ไว้ให้อยู่กับที่ กันไว้ไม่ให้ลอยไปไหน

ทำเช่นเดียวกันทุกกอ แล้วใช้แต่ปุ๋ยชีวภาพเท่านั้น ฉีดอาทิตย์ละครั้ง ให้ทางใบและลำต้น ปลอดสารพิษ เพื่อให้เกิดยอดมากๆ ราวๆ 1-2 เดือน ผักบุ้งจะแตกตัวออกด้านข้าง จะเป็นกอใหญ่ขึ้นๆ ก็เริ่มเก็บได้แล้ว

หากปลูกไว้ราวๆ 40 กอ สามารถเก็บได้ทั้งปีที่ลูกค้าต้องการ ปลูกในคลองน้ำไหลผ่านเสมอ จะทำให้ผักบุ้งทั้งต้นทั้งยอดอวบอ้วน ผิวใสสวยเป็นที่ต้องการของตลาดมากครับ ศัตรูหรือครับก็มี แค่หนอนเชอรี่ที่ชอบมาแทะ สามารถกำจัดโดยเก็บไปทำอาหาร แต่ละครั้งก็สบายท้องไปเลย เพราะเนื้อของมันแน่น หวานมันดี เอามาทำเมนูได้หลายอย่าง

ผักบุ้ง โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท คือผักบุ้งไทย กับผักบุ้งจีน แต่ที่นิยมรับประทานกันแพร่หลายก็ต้องเป็นผักบุ้งจีน หากเป็นสายพันธุ์ไต้หวันที่นำมาปลูกในน้ำ ลำต้นจะอวบ สีเขียวสดใส

ผักบุ้ง มีรากเป็นรากแก้วเป็นแขนงแตกออกด้านข้างของรากแก้วและสามารถแตกรากฝอยออกจากข้อของลำต้นได้ด้วย หรือมักจะแตกออกตามโคนเถา นำมาประกอบอาหารได้หลายๆ เมนูเยอะมากตามต้องการ โดยเฉพาะใส่ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ หรือแค่นำมาผัดไฟแดงก็ถือว่าสุดยอดแล้ว เพราะลำต้นจะกรอบอร่อย มีคุณค่าทางอาหารที่เชื่อกันว่าบำรุงสายตา

หากใครใช้เส้นทาง สายรังสิต-นครนายก ที่เรียกว่า สายองครักษ์ เมื่อวิ่งรถถึงคลองห้าให้มองทางขวามือจะเห็นสีเขียวเป็นหย่อมๆ กอๆ เยอะหลายๆ กอ ยาวตลอดทั้ง 2 ริมฝั่งข้างคลอง ให้สังเกตป้ายมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย คลองตรงนั้นใช่เลย ผักบุ้งลอยคลองที่ขายดีทั้งสิ้น

การปลูกผักบุ้ง สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เกษตรกรบางรายสามารถใช้หนี้ได้จนหมด แถมส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรีอีกด้วย จึงถือได้ว่าผักบุ้งลอยคลองทำให้หนีจนได้จริงนะครับ