ผลงานสำหรับเกษตรกรที่สนใจร่วมแข่งขันประชันไอเดีย

การทำเกษตรกรรมอย่างสร้างสรรค์ในโครงการ “ฟอร์ดเติมฝันเกษตรกรหญิงรุ่นใหม่ (Ford Moves Her Business)” ต้องส่งคลิปวิดีโอความยาวไม่น้อยกว่า 5 นาที แต่ไม่เกิน 7 นาที เล่าแนวคิดการพัฒนาธุรกิจทางการเกษตรของตนเอง ในหัวข้อ“เกษตรสร้างสรรค์สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่”โดยมีรถกระบะฟอร์ด เรนเจอร์เป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาธุรกิจเพื่อให้ประสบความสำเร็จและให้เหตุผลว่า เรื่องของตนเองสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้อย่างไร บอกเล่าแผนการใช้เงินรางวัลอย่างคุ้มค่า สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเกษตรกรสามารถร่วมทำกิจกรรมกับฟอร์ดในอนาคตได้

ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถส่งผลงาน ได้ทางฟอร์มออนไลน์ (Google Form) ตามช่องทางการประกาศรับสมัครต่างๆ ได้ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โดยการคัดเลือกจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับเขต คัดเลือกตัวแทนเขตละ 5 คน รวม 30 คน ระดับประเทศ คัดเลือกตัวแทนเขตละ 2 คน รวม 12 คน ผ่านการสัมภาษณ์ และในรอบตัดสิน ผู้ผ่านเข้ารอบทั้ง 12 คน จะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อป และนำเสนอโครงการของตนเองเพื่อชิงรางวัลชนะเลิศต่อไป

สำหรับผลงานที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับทุนสนับสนุนการทำธุรกิจการเกษตร เงินรางวัลมูลค่ารวม 200,000 บาท แบ่งรางวัลออกเป็น 12 รางวัล ได้แก่ “รางวัลชนะเลิศ” จำนวน 1 รางวัล รับทุนสนับสนุนมูลค่า 100,000 บาท และสิทธิพิเศษในการทดลองขับรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ ใหม่ เป็นระยะเวลา 3 เดือน พร้อมโอกาสในการถ่ายทอดเรื่องราวของตนเองผ่านวิดีโอ และต้อนรับสื่อมวลชนที่จะไปเยี่ยมชมการทำธุรกิจการเกษตรในกิจกรรมทดสอบขับรถ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ “รางวัลรองชนะเลิศ” จำนวน 2 รางวัล รับทุนสนับสนุนมูลค่ารางวัลละ 30,000 บาท และ “รางวัลชมเชย ”จำนวน 9 รางวัล รับทุนสนับสนุนมูลค่า รางวัลละ 5,000 บาท

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนยังได้รับสิทธิ์เข้าชมการถ่ายทอดกิจกรรมเวิร์คช็อปอบรมการพัฒนาธุรกิจในรอบตัดสิน จัดร่วมกับบริษัทกูเกิล ประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรในโครงการทางการเกษตร ผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย

คุณสุทิน ทองเอ็ม เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดสุโขทัย เลือกทำอาชีพเกษตรกรรม ตามรอยพ่อ แม่และญาติพี่น้องส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประกอบกับเขามีใจรัก อยากปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเอง แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน เหลือก็แบ่งจำหน่าย คุณสุทินได้ศึกษากิจกรรมไร่นาสวนผสมด้วยตนเอง โดยในระยะแรกทำในพื้นที่ของครอบครัวเป็นหลัก

หลังจากแต่งงาน คุณสุทินได้ลงมือทำเกษตรผสมผสานของตนเองอย่างเต็มที่ โดยนำความรู้จากการศึกษาด้วยตนเองและศึกษาดูงานสวนเกษตรที่ประสบผลสำเร็จเป็นต้นแบบ นำมาปรับใช้ในแปลงเกษตรของตนเอง คุณสุทินเน้นการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุกกิจกรรมมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ดี

คุณสุทินได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในชีวิต เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในปัจจุบัน ด้วยการ “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” เพื่อลดความเสี่ยงและอยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร ตื่นมาไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายนอกบ้าน แต่กลับกันทำให้เขามีรายได้ทุกวันจากผลผลิตที่ปลูกและเลี้ยงไว้ ทั้งผักสดปลอดสารพิษ กบ ปลา ไข่ไก่ ชาวบ้านสามารถมาเดินเก็บ หรือจับขึ้นมาชั่งกิโลเองได้เลย นี่คือ แนวคิดใหม่ในการจำหน่ายสินค้า

การทำสวนเกษตรผสมผสาน ช่วยลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่องและยั่งยืน คุณสุทินเน้นทำเกษตรปลอดสารพิษ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากกลุ่ม ทำให้สินค้าเกษตรปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่สำคัญมีบ่อเก็บกักน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรได้ตลอดปี

ปัจจุบัน สวนเกษตรผสมผสานของคุณสุทินกลายเป็นแหล่งเรียนรู้แปลงไร่นาสวนผสมตัวอย่างของเกษตรกรในชุมชนและข้างเคียง โดยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจาก สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชนอีกด้วย

“เราต้องเปลี่ยนเรือกสวนไร่นาให้กลายเป็นห้างสรรพสินค้า เพื่อให้คนมาเดินซื้อหาได้เอง เกษตรกรจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการเก็บ และเสียเวลาในการนำผลผลิตออกไปขาย โดยได้มีการจัดสรรที่ดินของตัวเองที่มีอยู่ประมาณเกือบ 30 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัย 2 ไร่ ทำนาข้าว 20 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นสวนผสม ปลูกผักสวนครัว ผลไม้ต่างๆ ไผ่ ขุดบ่อเลี้ยงกบ หอยขม ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาบึก ปลาแรด ปลาสวาย ปลานิล ปลาทับทิม ปลาคาร์พ สระบัว ผักบุ้ง รวมทั้งเลี้ยงห่าน นกกระทา ไก่ไข่ ไก่พันธุ์สวยงาม เช่น ไก่ญี่ปุ่น ไก่มินิโคชิน ไก่ซิลกี้ ไก่อียิปฟายูมิ ไก่เหลืองหางขาว ไก่บาร์ม่า ไก่โปรแลนด์ ไก่ดำมองโกเลีย ไก่ไข่เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร และไก่ไข่บาร์พลีมัทร็อค นอกจากนี้ ยังมีเลี้ยงปูนาในวงบ่อ กิ้งกือ-ไส้เดือน ไว้ผลิตปุ๋ย และเลี้ยงมดแดงบนต้นมะม่วง” คุณสุทิน ทองเอ็ม กล่าวในที่สุด

“เมื่อก่อน ปู่ย่าตายายเขาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ในพื้นที่ที่เป็นนาข้าว ถึงฤดูฝนจึงทำนาปลูกข้าว ต้นข้าวเจริญเติบโตดี มีข้าวกิน” “เมื่อโยนเมล็ดถั่ว เมล็ดผักลงในดิน ก็จะงอกขึ้นมาเอง เก็บมากินได้เอร็ดอร่อย ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ไม่ต้องใส่หรือพ่นสารเคมี” “แต่ระยะหลังนี้ ทำไมต้องมีการสั่งซื้อปุ๋ยเคมี สารเคมีมาจากต่างประเทศ” “หลายคนไม่อยากทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด กลับมาใช้ปุ๋ยเคมี เพราะสะดวก รวดเร็ว หาซื้อได้ง่าย โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนการผลิต” นี่คือคำถามที่จะต้องหาคำตอบ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อสังคม แก้ปัญหาของดินที่เสื่อมโทรม

วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียงตำบลสันทราย 60 ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน สำนักงานตั้งอยู่ที่ เลขที่ 41/2 หมู่ที่ 9 ตำบลสันทราย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มรวมตัวกันก่อตั้งเป็นวิสาหกิจชุชนเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 โดยมี คุณนิชกานต์ โตเขียว เกษตรอำเภอสารภี เป็นผู้ลงนามจดทะเบียน สมาชิกเริ่มแรก 18 คน ระดมทุนหุ้นละ 100 บาท และนำเงินสัจจะของหมู่บ้าน คนละ 50 บาท มาร่วมเป็นกองทุนด้วย ที่ประชุมตกลงกันว่าจะจัดกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลาหมอไทย และการทำปุ๋ยอินทรีย์

ต่อมารัฐบาลได้มี “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ได้เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย แต่การสำรวจข้อมูลทั่วประเทศแล้วพบว่า กิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์มีจำนวนมาก ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นว่า เพื่อไม่ให้กิจกรรมซ้ำซ้อนและมีจำนวนมาก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต วัตถุดิบหาง่าย ราคาถูก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเริ่มกิจกรรมการผลิต ฮิวมัส-สารปรับปรุงดิน โดยใช้ชื่อการค้าว่า ฮิวมัส ลีโอ-กรีน หลังจากเข้าร่วมโครงการ 9101 ได้รับงบประมาณ จำนวน 4.8 แสนบาท การสนับสนุนเครื่องคัดเม็ดแบบตะแกรงหมุน จานปั้นเม็ดปุ๋ย สายพานลำเลียงเม็ดปุ๋ย อุปกรณ์ตรวจวัดความเป็นกรด-ด่าง ถุงบรรจุ ขนาด 25 กิโลกรัม เครื่องมือปิดปากถุง อุปกรณ์พ่นฝอยละอองน้ำผสมน้ำหมักอินทรีย์ เพื่อช่วยให้ส่วนผสมทั้งหมดจับตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ ฯลฯ

งบประมาณบางส่วนจ่ายเป็นค่าแรงสำหรับสมาชิกที่มาช่วยกันทำงาน วันละ 308 บาท จำนวน 15 คน สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำงานทุกวัน ทั้งชาย หญิง และเยาวชนในหมู่บ้าน จัดตั้งคณะกรรมการบริหารงานประกอบด้วย กรรมการจัดซื้อจัดจ้าง คุณวรรลพ ไชยจินดา คุณสุพัฒน์ บุญปิง คุณเสถียร บุญศรีตัน กรรมการควบคุมการผลิต คุณเปลี่ยน สิทธิราษฎร์ คุณชัชวาล ทองสุรินทร์ คุณทองคำ พรหมมินทร์ กรรมการตรวจรับของ คุณทองอินทร์ บุญศรีตัด คุณสุนทร จำปาทอง คุณเกษตร บุญศรีตัน

คุณวรรลพ ไชยจินดา ประธานกลุ่ม เล่าให้ฟังว่า ส่วนประกอบของฮิวมัส ลีโอ-กรีน ประกอบด้วย ฮิวมัส ที่เกิดจากซากพืช ซากสัตว์ ภายใต้พื้นดินที่ลึกมากนานนับล้านปี ถูกค้นพบและขุดขึ้นมาจากเหมืองถ่านหินก่อนถึงชั้นลิกไนต์ สีน้ำตาลถึงสีดำ เมื่อนำมาย่อยและตรวจสอบพบว่า มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ธรรมชาติ มีประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน ด้านกายภาพของฮิวมัสจะช่วยให้ดินมีความชื้น ช่วยปรับโครงสร้างของดินดี เพราะฮิวมัสมีโครงการที่คงที่ สามารถใช้เป็นอาหารของพืชได้ดีหากได้รับการเติมแต่งคุณสมบัติในอัตราที่เหมาะสม เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซึ่งล้วนแต่เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช

ส่วนประกอบ ได้แก่ ฟอสฟอรัส เป็น 1 ใน 3 ธาตุหลักที่เป็นอาหารของพืช ได้มาจากหินฟอสเฟต เนื้อละเอียดแน่น ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นำมาใช้ทำเป็นปุ๋ย นอกนั้นนำมาใช้ทำอาหารสัตว์ ผงซักฟอก วัสดุไฟฟ้า ยาฆ่าแมลง ยาสีฟัน ไม้ขีดไฟ วัตถุระเบิด

โดโลไมท์ เป็นสารปรับสภาพดินและปรับโครงสร้างดิน ลดความเป็นกรด แก้ดินเปรียว ช่วยแก้ไขปัญหาดินเสียที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานาน คือช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกเม็ดดินยึดเกาะติดไว้ ให้ปลดปล่อยออกมาเป็นอาหารแก่พืช แก้ปัญหาการขาดแคลนธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม ซิลิกอนในดิน ช่วยให้พืชดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้น เพิ่มการสังเคราะห์แสง การสร้างสารสีเขียวและการแบ่งเซลล์ เพิ่มความสามารถการทำงานของจุลินทรีย์ ป้องกันโรคและแมลงเข้าทำลายต้นพืช

ยิปซัมสังเคราะห์ ยิปซัมจะช่วยแก้ปัญหาทางเคมีและชีวภาพ ช่วยลดสภาพดินที่เป็นกรดในดินชั้นล่าง ลดการเกิดโรค ช่วยฟื้นฟูดินเค็มให้กลับมาใช้ปลูกพืชได้เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังให้ธาตุแคลเซียมและกำมะถันทดแทนที่มีอยู่ในดินแล้วถูกชะล้างออกไปทุกปี ช่วยเสริมสร้างระบบดินและโครงสร้างพืชให้เกิดความยั่งยืน

ซีโอไลท์ เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการดูดน้ำได้ดี เมื่อใส่ลงในดินแล้วจะช่วยให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำได้สูงขึ้น พืชจะดูดน้ำในดินได้ดี เป็นการปรับปรุงดินระยะยาว

โดยภาพรวมแล้ว สารปรับปรุงดิน ฮิวมัส ลีโอ-กรีน มีส่วนผสมจากสารอินทรีย์ธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปน ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารในดินสู่รากพืช ช่วยดูดซึมปุ๋ยและธาตุอาหารไปใช้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน เพิ่มอัตราการงอกของราก การเจริญเติบโตของลำต้น ดอก และผล รักษาความชื้นในดินได้นาน โดยเฉพาะดินเหนียวและดินทราย อีกทั้งยังช่วยปรับสภาพออกซิเจนในน้ำบ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกุ้ง ลดอัตราการติดเชื้อภายในบ่อปลา

อัตราการใช้น้อยและราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมี กลุ่มเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียงตำบลสันทราย 60 ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์วิจัยพืชไร่แม่โจ้ กรมวิชาการเกษตร ในการศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติของสารปรับปรุงดิน ฮิวมัส ลีโอ-กรีน เพื่อเกษตรกรผู้ใช้เกิดความมั่นใจ และขอบคุณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สนับสนุนวัตถุดิบบางส่วนทำให้ลดต้นทุนการผลิต ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อได้ที่

อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกมะปรางและมะยงชิดให้ระวังโรคแอนแทรกโนส มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ใบ พบแผลรูปร่างไม่แน่นอน ขอบแผลชัดเจนสีน้ำตาลเข้ม กลางแผลสีน้ำตาลอ่อน บางใสกว่าเนื้อใบรอบๆ กรณีมีความชื้นสูง แผลจะเพิ่มจำนวนขยายใหญ่อย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยว หรือไหม้แห้ง หากรุนแรงถึงระยะออกดอก เชื้อราสาเหตุโรคจะเข้าทำลายช่อดอก โดยเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลดำกระจายบนก้านดอก ทำให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไม่ติดผล ผลอ่อน จะพบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำและร่วงหล่น เชื้อราสาเหตุโรคจะแฝงอยู่ที่ผลอ่อนโดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการเมื่อผลแก่ โดยพบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและบริเวณแผลอาจพบรอยแตก ทำให้ผลเน่าในที่สุด

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ให้ตัดแต่งกิ่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค และกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม จากนั้นให้ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค และเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป

สำหรับแหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ จะพบในช่วงแตกใบอ่อน เริ่มแทงช่อดอก และหลังติดผลอ่อน เกษตรกรควรพ่นในช่วงติดผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ มีฝนตกและอากาศร้อนชื้น

ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่น้อยกว่า 15 วัน หลีกเลี่ยงการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในระยะดอกบาน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อแมลง ช่วยผสมเกสรของพืช

ร้านกาแฟ Golden Bowl Coffee ตั้งอยู่เลขที่ 102 หมู่ที่ 12 ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เจ้าของใช้พื้นที่ว่างหลังร้านทำฟาร์มปลูกเมล่อน สายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น มีพันธุ์อิซิบะโคจิ และนิฮาโรกิ ซึ่งนำเข้าเมล็ดจากฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ขายเป็นลูกและชั่งน้ำหนัก…รวมถึงทำเมนูต่างๆ ให้กับลูกค้าในร้าน ยอดสั่งจองออนไลน์มีออเดอร์สั่งเพียบ

เมล่อนพันธุ์คิโมจิ คูนามิ และโมมิจิ นั้นได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์มาอย่างยาวนานกว่า 3 ชั่วอายุคนในประเทศญี่ปุ่น และปรับปรุงเพื่อให้ปลูกในประเทศไทยมามากกว่า 10 ปี ทำให้เมล่อนญี่ปุ่น คิโมจิ คูนามิ และโมมิจิ สามารถปลูกได้อย่างดีทั่วทุกภูมิภาคของไทย

ขั้นตอนในการปลูกเมล่อน

การเพาะเมล็ด เพาะในกระบะเพาะ หรือถุงเพาะเมล็ดก่อน ถ้าอยากให้เมล็ดงอกได้ดีและเร็วขึ้น ให้แช่ในน้ำหรือน้ำอุ่น 3-4 ชั่วโมง หุ้มด้วยผ้าเปียกหมาดๆ ต่ออีก 1 คืน แล้วจึงค่อยนำไปเพาะต่อในวัสดุเพาะ

การปลูกภายนอกโรงเรือน ก่อนอื่นควรมีการเก็บตัวอย่างดินจากแปลงที่จะปลูกไปตรวจเพื่อให้ทราบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (โครงสร้างดิน ความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม และปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน) การเตรียมพื้นที่ควรเริ่มต้นด้วยการไถดะในระดับความลึกไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความลึกที่อย่างน้อยต้องมีให้รากเมล่อนชอนไชหาอาหารได้สะดวก

จากนั้นจึงไถแปร เพื่อย่อยดินให้ละเอียด แต่ถ้าในกรณีที่เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด ไม่ควรย่อยดินให้ละเอียดมากเกินไป แล้วจึงใส่ปูนขาวตามคำแนะนำของผลการวิเคราะห์ดิน (ถ้ามี) ต่อมาให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1,500-2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ พรวนดินอีกครั้งเพื่อคลุกเคล้าให้ปุ๋ยคอกผสมกับดินให้ทั่ว ยกแปลงสูง 30 เซนติเมตร หรือ 40 เซนติเมตร

สำหรับฤดูฝน กว้างประมาณ 1-1.20 เมตร มีความยาวตามของพื้นที่สำหรับการปลูกแบบแถวคู่ เว้นร่องน้ำกว้าง 0.80 เมตร ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 จำนวน 50 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยเฉพาะบนแปลง และพรวนดินเพื่อพลิกให้ปุ๋ยลงสู่ดินล่าง

หากต้องการป้องกันวัชพืช ควรคลุมแปลงด้วยพลาสติกคลุมแปลงกลบชายพลาสติกด้วยดินข้างแปลงให้เรียบร้อย เจาะรูบนพลาสติกเป็น 2 แถว ตามความยาวแปลง ระหว่างแถวห่างกัน 80 เซนติเมตร และระหว่างหลุมในแถวห่างกัน 0.5 เซนติเมตร

ในพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1,600 ตารางเมตร จะสามารถปลูกได้ 3,200 ต้น สำหรับในพื้นที่ที่หาฟางข้าวได้ง่าย อาจใช้ฟางข้าวคลุมแปลงแทนการใช้พลาสติกเพื่อการประหยัด ยกเว้นในฤดูฝนควรหลีกเลี่ยงการใช้ฟางคลุมดิน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเน่าที่โคนต้นและระบบรากจากเชื้อราที่ติดมากับฟาง

การปลูกในโรงเรือน

การปลูกเมล่อนในโรงเรือนช่วยให้สามารถปลูกเมล่อนได้ในฤดูฝนโดยที่ไม่ต้องกลัวการระบาดของโรคทางใบ แต่ก็ต้องใช้การลงทุนที่สูงกว่า จึงควรใช้เป็นวิธีการปลูกเมล่อนพันธุ์ที่มีราคาแพง เพื่อผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน วิธีการปลูกในโรงเรือนนั้นสามารถปลูกลงในดินหรือปลูกในวัสดุปลูกที่อยู่ในภาชนะหรือกระถาง แต่การปลูกลงในกระถางจะมีข้อดีกว่าตรงที่สามารถใช้ระยะปลูกที่ชิดกว่าการปลูกลงดินและวิธีนี้ยังช่วยให้สามารถปลูกเมล่อนต่อเนื่องในฤดูติดกันได้ เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องของการระบาดของโรคทางดิน

เนื่องจากปลูกในกระถางที่ใช้วัสดุปลูกที่มีความสะอาดหรือผ่านการฆ่าเชื้อให้ปลอดภัยมาแล้ว กรณีที่ปลูกในกระถาง ขนาด 12 นิ้ว ให้วางกระถางแบบแถวคู่ ภายในแถวคู่ที่ระยะห่างระหว่างกระถางในแถว 50 เซนติเมตร ระยะห่างภายในแถวคู่ 80 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถวคู่เท่ากับ 1.5 เมตร ในโรงเรือนที่มีพื้นที่ 360 ตารางเมตร จะปลูกได้ 1,000 ต้น

วัสดุปลูกที่ใช้สามารถใช้ได้หลายชนิด ถ้าใช้วัสดุจากต่างประเทศ ได้แก่ พีทมอสส์ หรือ ภูมิส สามารถใช้วัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หรือถ้าใช้วัสดุภายในประเทศ เช่น ขุยมะพร้าว ถ่านแกลบ ทราย ให้นำมาผสมกันเสียก่อน ในอัตรา เช่น ขุยมะพร้าว : ถ่านแกลบ : ทราย : ในอัตรา 1 : 1 : 1 เป็นต้น ไม่ควรใช้ขุยมะพร้าว แกลบดิบ ทราย หรือถ่านแกลบ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะวัสดุภายในประเทศเหล่านี้โดยตัวเองเพียงอย่างเดียว ยังไม่เหมาะสำหรับการปลูกพืช

เมื่อเตรียมแปลงและหลุมปลูก หรือกระถางบรรจุวัสดุปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ย้ายต้นกล้าเมล่อนที่เตรียมไว้ลงปลูก หลังปลูก รดน้ำให้ชุ่ม เพื่อให้ความชื้นแก่ต้นกล้าและให้ดินกระชับรากต้นกล้า

กรณีปลูกในโรงเรือน ต้องวางระบบน้ำหยดและติดตั้งหัวน้ำหยดที่แต่ละกระถางปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา เมล่อนเป็นพืชที่ต้องการการปฏิบัติเป็นพิเศษแตกต่างจากพืชอื่นๆ ในหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การให้น้ำและใส่ปุ๋ย การขึ้นค้าง การตัดแต่งกิ่ง

การดูแลรักษาระหว่างการพัฒนาของผล การขึ้นค้าง เมล่อนเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ในการใช้ระยะปลูกชิดแบบปัจจุบันจึงต้องบังคับให้เถาเมล่อนเลื้อยขึ้นด้านบนโดยการจัดค้างให้เถาเมล่อนได้เกาะ โดยหลังจากปลูกได้ประมาณ 14 วัน ต้องมีการปักค้างให้กับต้นเมล่อน ไม้ค้างควรมีความสูงจากผิวดินหลังการปักลงดินแล้วไม่น้อยกว่า 1.80 เซนติเมตร

กรณีปลูก 2 แถว อาจผูกไม้ค้าง 2 ฝั่ง เข้าหาเป็นกระโจมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้นก็ได้ และระหว่างไม้ค้างที่ปักในแนวตั้งให้ยึดด้วยไม้ค้างตามแนวนอนทั้งบนและล่างอีกตลอดความยาวของแปลง ไม้ค้างที่ใช้อาจเป็นไม้ไผ่รวก ไม้กระถิน หรือไม้อื่นๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูก

ต้นเมล่อนทุกต้นต้องมีที่ยึดเกาะให้ลำต้นเลื้อย สมัคร Sa Gaming หากไม่สามารถลงทุนซื้อไม้ค้างให้กับต้นแตงทุกต้นได้ สามารถลดต้นทุนโดยการปักไม้ค้างเป็นช่วงห่างกัน 2- 2.5 เมตร และหาเชือกไนลอนหรือเชือกอื่นที่มีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักต้นเมล่อนได้ โดยจะแนะนำให้ใช้เชือกฝ้าย เพราะจะไม่ทำให้บาดกับลำต้นของต้นเมล่อนจนเกิดแผล ซึ่งอาจเป็นสาเหตุการเกิดเชื้อราเข้าสู่ลำต้น

ผูกโยงที่บริเวณปลายของไม้ค้างแต่ละอันให้ตึง และบนเส้นเชือกตำแหน่งที่ตรงกับต้นเมล่อนให้ผูกเชือกห้อยลงมายาวจรดดิน ในการเริ่มต้นให้ต้นแตงเกาะกับหลักหรือเชือกจะต้องช่วยบังคับโดยการผูกต้นเมล่อนกับหลักหรือเชือก ทุกๆ ข้อเว้นข้อก่อนในระยะแรก ถ้าเป็นเชือกให้เวียนเชือกรอบเมล่อนด้วย เพื่อให้เชือกสัมผัสและรับน้ำหนักและพยุงเมล่อนไว้ได้

การเลี้ยงลำต้นและกิ่งแขนง หลังจากปลูกเมล่อนได้ระยะหนึ่ง เมล่อนจะเริ่มมีการแตกกิ่งแขนงออกมา ให้ปลิดกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นต่ำกว่า ข้อที่ 8 และสูงกว่า ข้อที่ 12 ออกเสีย โดยปลิดแขนงออกตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กและปล่อยกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นระหว่าง ข้อที่ 8-12 ไว้ ให้เป็นที่เกิดของดอกตัวเมียที่จะติดเป็นผลต่อไป การแต่งกิ่งแขนง

โดยตัดปลายยอดทิ้งให้เหลือใบเพียง 2 ใบ เท่านั้น คือใบที่ใกล้กับข้อแรกที่จะเกิดดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เพศ และใบที่ข้อถัดขึ้นไป ปล่อยให้มีดอกตัวเมียหรือดอกสมบูรณ์เกิดขึ้นเพียงแขนงละ 1 ดอก เท่านั้น

เมื่อต้นเมล่อนเจริญเติบโตจนถึง 25 ข้อ ให้ตัดปลายยอดของต้นออกเสีย เพื่อหยุดการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น นอกจากนี้ ให้เด็ดใบล่างสุดออกอีก 3-5 ใบ ที่ไม่ค่อยได้รับแสงแดดออกไป เพื่อทำให้ต้นโปร่ง เพิ่มการถ่ายเทของอากาศ ไม่ให้เกิดการสะสมของความชื้นที่ชักนำให้เกิดโรคราต่างๆ