ผลจำปาดะที่แก่จะต้องตัดก่อนสุก 3-5 วัน ถ้าปล่อยให้สุกคาต้น

เนื้อจะแข็งไม่อร่อย วิธีเลือกตัดจำปาดะแก่คือ เลือกลูกที่ผิวตึง ก้านเปลี่ยนจากเหลืองเป็นเจือสีส้มอ่อนๆ ใบเลี้ยงจะเป็นสีเหลือง ผลผลิตของสวนตาปานได้จำปาดะปีละประมาณ 7 ตัน เฉลี่ยผลละ 3 กิโลกรัม ปีนี้เริ่มได้ผลผลิตตั้งแต่มิถุนายนถึงสิงหาคม ราคาขายส่งจากสวนปีก่อน 30 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ปีนี้ผลไม้แพง ราคาส่งจากสวนพุ่งถึง 45 บาท ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งเคยซื้อจำปาดะลูกละ 4 กิโลหน่อยๆ ในราคาลูกละ 240 บาท แถวริมถนนสายกะปง เขาขายปลีกกัน กิโลละ 50-60 บาท ส่วนการรับซื้อส่วนใหญ่จะเป็นแม่ค้าในท้องถิ่นและจังหวัดอื่นทางภาคใต้ ไม่มีโอกาสถึงกรุงเทพฯ ก็หมดเสียแล้ว

แถวพังงาสมัยก่อนไม่มีกล้วยแขกทอดกิน ส่วนใหญ่พอหน้าจำปาดะสุกก็มีโอกาสกินจำปาดะทอดกันอย่างมีความสุข แป้งที่ใช้ก็จะเป็นแป้งอะไรไม่รู้ แต่คงคล้ายกล้วยแขก เอาเมล็ดจำปาดะทั้งเมล็ดทั้งเนื้อชุบแป้งให้ห่อหุ้มเนื้อไว้ทั้งหมด แล้วนำมาทอดในน้ำมันร้อนๆ ขอบอกว่าอย่ากินตอนขึ้นจากกระทะใหม่ๆ เด็ดขาด เพราะเนื้อของจำปาดะอมความร้อนไว้มาก ขนาดฟันปลอมยังละลาย คายแทบไม่ทัน ส่วนเมล็ดที่อยู่ข้างในก็จะสุกกินอร่อยมาก สนนราคาอยู่ที่ เมล็ดละ 5 บาท มีโอกาสได้ซื้อริมถนนกะปง 3 ถุง พวกเพื่อนบอกเบื่อไม่กินกัน พอเข้าไปสัมภาษณ์ตาปานในสวน จำปาดะทอดไม่รู้หายไปไหนหมด ขากลับออกมาจะซื้อกินอีก แม่ค้าบอกมีคนเหมาหมดแล้ว เจ็บใจจริง มากินที่กรุงเทพฯ 3 เมล็ด 20 บาท เมล็ดเล็กนิดเดียว

จำปาดะ เป็นผลไม้พื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่คนขาดความสนใจ คนมาสนใจขนุนสายพันธุ์ต่างๆ ว่ามีความอร่อยกว่า เหมือนกับเราละทิ้งไก่บ้านหาว่าเหนียว มากินไก่ฟาร์มกัน คนจึงเลิกเลี้ยงไก่บ้าน ปัจจุบัน ราคาไก่บ้านกลับมีราคาสูงกว่าไก่ฟาร์ม จำปาดะก็เป็นเช่นเดียวกัน คงเป็นเพราะเราลืมรากเหง้าของตัวเองเที่ยววิ่งตามกระแสนิยมจนหัวปั่นอยู่ในขณะนี้

ชะอม เป็นไม้ยืนต้นตระกูลถั่ว ที่มีอายุยืนนาน เป็นไม้เถาเลื้อย มีฝักเหมือนกระถิน เมล็ดนำมาปลูกได้ กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ใบอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว และมีวิตามินเอสูง ยอดชะอมจัดเป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าอาหารสูงยิ่ง ทั้งวิตามินเอ โปรตีน และเยื่อใยที่ร่างกายต้องการ

ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมหรือไม่มีหนาม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่ 2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน หรือใบส้มป่อย ต้นชะอมหากถูกเด็ดยอดจะแตกกิ่งข้างต้นหนาแน่น ชะอม เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน ไม่ว่าดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย ยกเว้นดินเค็มและกรดจัด ปลูกง่าย ทนแล้ง ใช้น้ำน้อย

“ชะอม” หลายคนจะต้องนึกถึงเมนูอาหารที่แสนอร่อยจากผักพื้นบ้านชนิดนี้ที่มีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว อาทิ ชะอมชุบไข่ทอดกับน้ำพริกกะปิ แกงแคไก่อาหารของคนเหนือ แกงลาวของคนอีสาน ฯลฯ ชะอมจึงจัดเป็นผักพื้นบ้านที่มีคนไทยบริโภคเป็นประจำ และมีความต้องการในแต่ละวันไม่น้อยไปกว่าผักพื้นบ้านชนิดอื่น เกษตรกรไทยมักจะมองว่า การปลูกพืชผักสวนครัวจะเป็นเพียงอาชีพเสริม ไม่สามารถสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัวได้

ตัวอย่างแหล่งปลูกชะอมพื้นที่ใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร อยู่ที่อำเภอตะพานหิน ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการปลูกชะอมพันธุ์ไร้หนาม ดังคำขวัญของอำเภอตะพานหิน “ถิ่นชะอมไร้หนาม งามหลวงพ่อโต งานประเพณีกำฟ้า ทอผ้าป่าแดง” ตัวอย่างเกษตรกร คุณดอกไม้ อินอ้น หรือ ป้าดอกไม้ วัย 78 ปี ที่ถือเป็นเกษตรกรที่เริ่มปลูกชะอมไร้หนามรายแรกๆ ของอำเภอตะพานหิน และเป็นประธานกลุ่มผู้ปลูกชะอมไร้หนามบ้านคลองข่อย บ้านเลขที่ 31/6 หมู่ที่ 6 บ้านคลองข่อย ซอย 13 ตำบลไผ่หลวง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (083) 624-9030, (081) 740-0237

การปลูกชะอมไร้หนาม ที่หลายคนมองเป็นเพียงอาชีพรองนั้น กลับสร้างรายได้หลักให้กับ ป้าดอกไม้ และครอบครัวมายาวนานมากกว่า 20 ปี และที่สวนชะอมไร้หนามของป้าดอกไม้ ยังเป็น “ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่” ประจำตำบลไผ่หลวง เพื่อเป็นจุดเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ เรื่องการปลูกชะอมไร้หนาม สำหรับผู้ที่สนใจหรือเกษตรกร

ก่อนที่ป้าดอกไม้จะปลูกชะอมไร้หนามก็ทำนามาก่อน ปัจจุบัน ก็ยังคงทำนาควบคู่ไป ซึ่งนากลายเป็นอาชีพเสริมเท่านั้น ป้าดอกไม้เล่าย้อนกลับไปว่า ได้พันธุ์ชะอมไร้หนามมาปลูกแบบสวนครัวหลังบ้าน เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่แล้ว วัตถุประสงค์แรกของการปลูกชะอมไร้หนามในตอนนั้น เพียงเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน และต่อมาเลยตอนกิ่งชะอมเพื่อขยายต้นปลูกเพื่อเก็บยอดชะอมจำหน่ายให้กับเพื่อนบ้านและตลาดในชุมชนเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว

หลังจากเก็บยอดชะอมขาย ผลปรากฏว่าปริมาณของความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือนเกือบทุกวัน ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการทำนา ป้าดอกไม้ บอกว่า ค่อนข้างเหนื่อยกว่ามาก และยังมีค่าใช้จ่ายต่อไร่สูง แล้วการปลูกข้าวยังประสบปัญหาในความไม่แน่นอนของสภาพดินฟ้าอากาศและราคา

เมื่อเปรียบเทียบรายได้จากการเก็บยอดชะอมไร้หนามขาย ในพื้นที่เพียง 3 ไร่ ที่เริ่มต้นทำนั้น ดีกว่าปลูกข้าว ในพื้นที่ 10 ไร่ ปัจจุบัน ป้าดอกไม้และครอบครัวได้ขยายพื้นที่ปลูกชะอมไร้หนามออกไปถึง 6 ไร่ หรือราวเกือบ 10,000 ต้น และแปลงปลูกกล้วยกับไผ่ เพื่อนำกาบกล้วยและไม้ไผ่มาใช้ในการมัดกำชะอมที่จะต้องใช้เกือบทุกวัน

ป้าดอกไม้ยังได้บอกว่า โรคและแมลงศัตรูชะอมมีน้อยมาก และใช้เพียงแรงงานในครอบครัว ในแต่ละครอบครัวที่ปลูกชะอมไร้หนาม ในพื้นที่ 1-2 ไร่ หรือมากกว่านั้น จะมียอดให้เก็บหมุนเวียนได้ทุกวัน มีเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว วันละ 200-300 บาท อย่างสบาย

ชนิดของชะอม ที่ปลูกในบ้านเรา
ชะอม ที่ปลูกกันในขณะนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามลักษณะ คือ ชะอมมีหนาม กับ ชะอมไม่มีหนาม (ชะอมไร้หนาม) ต้นชะอมจะมีหนามทั่วทั้งต้นและกิ่งก้านสาขา รวมถึงส่วนของยอดอ่อนด้วย ในขณะที่ต้นชะอมไร้หนามเกือบจะไม่มีหนามเลย หรือจะพบหนามบ้างเหมือนกันแต่น้อยมาก จะพบเพียงหนามอ่อนห่างๆ เท่านั้น

ข้อแตกต่างของชะอมทั้ง 2 ชนิด ป้าดอกไม้ อธิบายว่า ยอดชะอมที่มีหนามจะมีกลิ่นแรงกว่ายอดชะอมไร้หนาม แต่สำหรับรสชาติเมื่อนำไปประกอบอาหารจะใกล้เคียงกันจนแยกไม่ออก แต่กลับรู้สึกว่าชะอมไร้หนามรับประทานง่ายกว่า เพราะไม่มีหนามให้กวนใจเวลารับประทาน สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกชะอมนั้น ชะอมไร้หนามจะสะดวกในเรื่องของการเก็บเกี่ยวยอดเป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่ต้นหรือกิ่งไม่มีหนาม ทำให้เก็บได้ค่อนข้างรวดเร็ว และไม่ถูกหนามทิ่มแทงมือหรือร่างกาย

นิสัยของการแตกยอดพบว่า พันธุ์ที่มีหนามจะให้ยอดน้อยและแตกยอดช้ากว่าชะอมไร้หนาม ป้าดอกไม้ได้ย้ำว่าลักษณะของการแตกยอดจะเห็นได้ชัดมากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ยอดชะอมมีราคาแพงที่สุด ราคาจะสูงถึงกำละ 10-15 บาท ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชะอมในท้องตลาดมีน้อย จะเห็นได้ชัดเลยว่าต้นชะอมไร้หนามให้ยอดที่ดีกว่าอย่างชัดเจน

การขยายพันธุ์ ชะอมไร้หนาม
ป้าดอกไม้ ได้บอกถึงวิธีการขยายพันธุ์ชะอมไร้หนาม จะแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การตอนกิ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะรวดเร็วและออกรากได้ดี โดยคัดเลือกกิ่งที่จะตอนไม่ให้แก่และอ่อนจนเกินไป ขั้นตอนเหมือนกับการตอนไม้ผลทั่วไป คือเลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง ควั่นกิ่งด้านบนและด้านล่าง ให้ห่างกันสัก 3-4 เซนติเมตร ใช้ปลายมีดลอกเอาเปลือกชะอมออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่นๆ ออก จะทาด้วยน้ำยาเร่งรากหรือไม่ก็แล้วแต่ เพราะชะอมเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย

แต่ถ้าทาด้วยน้ำยาเร่งรากก็จะยิ่งดีขึ้นอีก หุ้มด้วยขุยมะพร้าวที่แช่น้ำมาล่วงหน้าสัก 1 คืน แล้วบีบน้ำออกให้หมาดน้ำ อัดลงในถุงพลาสติก เมื่อทำแผลตอนเสร็จ ผ่าครึ่งถุงพลาสติกที่อัดขุยมะพร้าวและนำไปหุ้มบริเวณที่ลอกเปลือก มัดด้วยเชือกหรือตอกไม้ไผ่ ทั้งบนและล่างรอยแผลตุ้มตอนให้แน่น หลังจากนั้น ประมาณ 40-50 วัน เมื่อกิ่งตอนมีรากเต็มตุ้มตอนและเริ่มแก่เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนรากมากพอ จึงตัดกิ่งตอนได้ ก็สามารถตัดไปปลูกในแปลงได้เลย ไม่ต้องชำลงถุงให้เสียเวลา เมื่อนำกิ่งตอนปลูกลงดิน ต้นชะอมจะตั้งตัวได้เร็ว

การจำหน่ายกิ่งตอนจึงจำหน่ายสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง ที่สร้างเงินสำหรับการทำไร่ชะอมไร้หนาม หรือจะชำลงถุงดำ เลี้ยงให้แข็งแรงก่อนนำไปปลูกหรือรอการจำหน่าย

ส่วนการขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งคือ การปักชำ ป้าดอกไม้ จะเลือกกิ่งชะอมไร้หนามมาปักชำนั้นจะต้องเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป โดยดูลักษณะจากสีกิ่งจะมีสีขาวจนถึงขาวอมเขียว หรือกิ่งที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี นับแต่วันที่แตกยอดออกมา แต่ต้องไม่เป็นกิ่งที่แก่จัดจนเกินไป เพราะรากและยอดจะแตกน้อย ตัดเป็นท่อนให้มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ชำลงในถุงดำที่มีขี้เถ้าแกลบดำเป็นวัสดุปลูกหลัก

เทคนิคในการปักท่อนพันธุ์ ควรจะให้กิ่งเอียง ประมาณ 45 องศา ปักให้ลึกลงไปในขี้เถ้าแกลบ 10 เซนติเมตร นำกิ่งที่ปักชำมาวางไว้บริเวณที่มีแสงรำไรหรือมีซาแรนพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ รดน้ำให้ชุ่มอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หลังจากปักชำไปได้ประมาณ 45-60 วัน กิ่งชำจะมีรากและใบอ่อนแตกออกมา

แต่ป้าดอกไม้ไม่นิยมขยายพันธุ์ชะอมไร้หนามด้วยวิธีการปักชำ เนื่องจากพบว่าต้นชะอมไร้หนามที่ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ เมื่อนำมาปลูกลงแปลงจะเจริญเติบโตช้ากว่าปลูกด้วยกิ่งตอน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปริมาณรากจะน้อยกว่ากิ่งชะอมที่ได้จากกิ่งตอน อย่างไรก็ดี มีข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการนำกิ่งชะอมไร้หนามที่ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำเพื่อปลูกลงแปลง ควรจะปลูกในช่วงฤดูฝน จะพบอัตราการรอดตายสูง

สำหรับเกษตรกรที่เริ่มต้นปลูกชะอมไร้หนามในแปลงใหม่ ป้าดอกไม้ได้แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการเตรียมพื้นที่ปลูก โดยการไถพรวน ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ถ้าเป็นที่ลุ่มต่ำให้ยกแปลงเพื่อป้องกันน้ำขังแฉะ นิสัยชะอมชอบน้ำแต่กลัวน้ำขังแฉะ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า

หลังจากนั้น ขุดหลุมปลูกให้มีความกว้าง ยาว และลึก ประมาณ 20 เซนติเมตร ผสมดินที่ขุดมาจากหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 2 กำมือ และคลุกเคล้าปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 16-16-16, 19-19-19 ฯลฯ ลงไป อัตรา 1 ช้อนแกง ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 1×1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะสามารถปลูกต้นชะอมไร้หนามได้ ประมาณ 1,600 ต้น ซึ่งป้าดอกไม้ อธิบายว่าเป็นระยะปลูกที่กำลังดี ทำให้สะดวกในการเดินเก็บยอด

การปลูกหลังจากที่ขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 10 เซนติเมตร หรือขุดดินราว 1 หน้าจอบ คลุกเคล้าผสมปุ๋ยเสร็จเรียบร้อยที่ปากหลุม นำกิ่งตอนชะอมไร้หนามที่เตรียมไว้ แกะถุงพลาสติกที่หุ้มรากออก วางกิ่งชะอมให้อยู่ส่วนกลางของหลุม กลบดินและอัดให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 1-2 เดือนแรกที่ปลูก

ต้นชะอมไร้หนามจะตั้งตัวได้และพบการแตกยอดอ่อนเป็นพุ่มและสามารถเก็บเกี่ยวยอดส่งขายได้เลย ซึ่งป้าดอกไม้อธิบายว่า ชะอม เป็นพืชที่หลังจากปลูกไม่นานก็จะแตกยอดให้เก็บได้ทันทีในช่วงเวลา 1 เดือนเศษเท่านั้น แต่จะเริ่มให้ผลผลิตแบบเต็มที่ในราวๆ 5-6 เดือนขึ้นไปหลังการปลูก เพราะต้นชะอมจะเริ่มเป็นทรงพุ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ป้าดอกไม้บอกว่าเมื่อต้นชะอมตั้งตัวได้แล้วการตัดยอด ตัดได้ทุกๆ 3-5 วัน สำหรับต้นชะอมเล็ก

แต่ถ้าเป็นต้นชะอมใหญ่ที่มีอายุต้นเกิน 1 ปี จะเก็บยอดได้ทุกๆ 2-3 วัน ในกรณีที่เก็บยอดครั้งแรกไปแล้วหรือกรณีที่เกษตรกรตัดยอดไม่ทันหรือยอดเดิมเมื่อแก่เกินไป ยอดอ่อนใหม่จะโตมาแทนที่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บยอดชะอมจะต้องใช้กรรไกรตัดแทนการใช้มือเด็ด นอกจากสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลช้ำที่ยอดด้วย

เนื่องจากการปลูกชะอมไร้หนามจะต้องมีการเก็บยอดเป็นประจำ ระบบการให้น้ำจะจำเป็นมาก จะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นต้นที่ปลูกใหม่ จะให้น้ำ อาทิตย์ 2-3 ครั้ง (การให้น้ำสังเกตจากหน้าดินและสภาพอากาศประกอบ เช่น ในหน้าร้อน ก็ต้องให้น้ำบ่อยขึ้น เป็นต้น) แต่ถ้าเป็นต้นชะอมอายุเกิน 1 ปี ไปแล้ว ก็จะให้น้ำน้อยลง จะเหลือเพียง 10-15 วันครั้งเท่านั้น เพราะใบจะปกคลุมดิน ทำให้ดินรักษาความชื้นได้นาน อีกอย่างหากช่วงไหนที่จะต้องการช่วยให้ชะอมแตกยอดได้ดีหรือถ้าเห็นว่าชะอมมีราคาสูง การเปิดน้ำช่วยร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี ยูเรีย 46-0-0 จะช่วยกระตุ้นการแตกยอดได้ดีมาก

ที่แปลงปลูกชะอมไร้หนามของ ป้าดอกไม้ อินอ้น จะใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ที่ยกสูงมาจากพื้นดิน ประมาณ 1.50 เมตร โดยให้มีความสูงกว่าต้นชะอม ประโยชน์ทางหนึ่งนอกจากสะดวกเรื่องการให้น้ำคือ มองเห็นระบบน้ำว่าทำงานได้ดี ไม่รั่วหรืออุดตัน ถ้าอยู่ข้างล่างใต้ต้นชะอม อาจจะมองไม่เห็น

ในปี 2563 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร แก้ไขปัญหาความอดอยากหิวโหย (Zero Hunger) ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยให้คนไทยอิ่มท้อง อิ่มตา อิ่มใจ และสร้างอาชีพให้แก่คนไทยจำนวนมาก

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กล่าวว่า การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้พัฒนาชุมชนเกษตร ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญของประเทศไทย ช่วยสร้างความเข้มแข็งมาจากข้างในตัวเราก่อน คือการพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด คือ

1. ระดับครัวเรือน รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

2. ระดับอาชีพ คือส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อให้เกิดอาชีพที่ยั่งยืน โดยน้อมนำหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ให้ประชาชนทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ครอบครัว ได้ดำเนินการเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการพื้นที่ให้มีการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เน้นปลูกพืชอาหาร มีแหล่งน้ำ และที่อยู่อาศัยอย่างสมดุล ทำให้เกิดความมั่นคงและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ภายในปี 2565

ที่ผ่านมา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระดำริให้วัดที่มีความพร้อม จัดตั้งโรงทานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) และดำเนินการโครงการสวนครัวนำสุขพอเพียง เพียงพอตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยทางวัดร่วมกับชาวบ้านในชุมชนช่วยกันปลูกพืชผักสวนครัว ในพื้นที่วัด เพื่อให้ชาวบ้านสามารถมาหยิบผักไปกินได้ฟรี

ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และ ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้นำเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวมาถวาย สมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อประทานแก่วัดทั่วประเทศ

“วัดพระพุทธฉาย จังหวัดสระบุรี เป็นหนึ่งในต้นแบบด้านการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนที่ไม่มีที่ดิน ได้ใช้พื้นที่วัดปลูกพืชผัก ทำให้เกิดการเรียนรู้เกษตรเชิงพุทธตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้พลังบวร ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจช่วยกันปลูกดูแลแปลงพืชผักแล้วนำมาแบ่งปันกันในชุมชนอย่างเอื้ออาทรกันแบบพอเพียง ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารไปพร้อมๆ กัน” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าว

หนึ่งอำเภอ หนึ่งวัด ปฏิบัติธรรมในแปลงผัก

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) ได้สนับสนุนให้วัดต่างๆ รวมทั้ง วัดพระพุทธฉาย จัดทำแปลงปลูกผัก “สวนเกษตรรวมใจ” โดยเชิญชวนจิตอาสา ร่วมแรงร่วมใจกันปลูกพืชผักสวนครัวนานาชนิดในพื้นที่วัด ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี แบ่งปันอาหาร ที่สด สะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของคนในชุมชน

นับแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา พระราชธีราภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี เจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย นางอังคณา ชิตะติตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นางสาวนันทนา หวังธงชัยเจริญ ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการ พร้อมผู้นำชุมชน ได้ร่วมกันดำเนินโครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งวัด ปฏิบัติธรรมในแปลงผัก”ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ให้ประชาชนมีอาหารบริโภคในช่วงวิกฤตจากโรคระบาด โควิด-19

พระราชธีราภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี เจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย เผยว่า ทางวัดพระพุทธฉาย ได้น้อมนำแนวพระราชดำริเกษตรพอเพียง มาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม ทางวัดมีพื้นที่จำนวนมาก แต่เป็นพื้นที่ภูเขา ตอนนี้ได้จัดสรรพื้นที่ให้ผู้สนใจ ซึ่งเป็นแม่บ้าน ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา ได้เข้ามาปลูกพืชผักตามแต่ใครจะถนัด

“โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งวัด ปฏิบัติธรรมในแปลงผักที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี พืชผักสวนครัวเจริญงอกงามให้ชาวบ้านนำไปรับประทานในครัวเรือน นำไปแบ่งปันเป็นอาหารในชุมชน ช่วยลดรายจ่ายได้เป็นอย่างดี เนื่องจากโครงนี้ได้ผลตอบรับที่ดี ทางวัดก็พร้อมที่จะขยายพื้นที่ปลูกผักให้เต็มพื้นที่ของวัดในอนาคต” เจ้าอาวาสวัดพระพุทธฉาย กล่าว

ด้าน นายอุดม สารคม ที่ปรึกษาของวัดพระพุทธฉาย เจ้าของแนวคิด “ปฏิบัติธรรมในแปลงผัก” กล่าวว่า การปลูกผักเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะให้ทุกคนปล่อยพลังไปกับจอบและเสียม ปลดปล่อยความรู้สึกทุกข์ร้อนให้หมดไปกับการปลูกผัก และการขุดดิน ผักที่ปลูกได้ในโครงการ เชื่อมั่นได้ว่าเป็นผักที่ปลอดสารพิษ ปลูกผักกินเอง ลดรายจ่ายได้อย่างมหาศาลแล้ว การปลูกพืชผักแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชน ยังเป็นการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมอีกด้วย

ด้าน นายวรงค์ แสงเมือง พัฒนาการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสระบุรี ดำเนินโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งวัด ปฏิบัติธรรมในแปลงผัก ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก และร่วมวางแผนการปลูกผักสวนครัวในวัดทุกแห่ง ทั้งนี้ วัดพระพุทธฉาย นับเป็นต้นแบบครัวชุมชนของอำเภอเมืองสระบุรี และใช้เป็นต้นแบบขยายผลไปยังวัดต่างๆ 12 แห่ง ในพื้นที่ 12 อำเภอ ของจังหวัดสระบุรีต่อไป

ทางวัดพระพุทธฉาย ได้จัดพื้นที่ให้ชาวบ้านได้มาปลูกผักสวนครัว ครอบครัวละ 1 แปลง เพื่อให้มีแหล่งอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน สู้วิกฤตโควิด-19 มีเหลือก็เเบ่งปันกันในชุมชน เบื้องต้นมีครัวเรือนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 14 ครัวเรือน มีเเปลงผัก จำนวน 19 เเปลง โดยได้รับการสนับสนุนโครงการจากจังหวัดสระบุรี โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี เเละสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสระบุรี

นางสาวปานมณี ปิ่นแก้ว วัย 48 ปี อาชีพช่างเย็บผ้า สมัครป๊อกเด้งออนไลน์ หนึ่งในประชาชนที่เข้าร่วมโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งวัด ปฏิบัติธรรมในแปลงผัก กับวัดพระพุทธฉาย เล่าให้ฟังว่า ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นที่โล่งว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เมื่อทางวัดปรับพื้นที่ให้กลายเป็นสวนเกษตรรวมใจ เปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามาปลูกพืชผักในโครงการนี้ เราปลูกในสิ่งที่เรากิน ทุกวันนี้ที่นี่กลายเป็นแปลงผักที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชผักนานาชนิด ทั้งผักบุ้ง ข้าวโพด มะเขือ แคนตาลูป กระเจี๊ยบ ดอกไม้ ฯลฯ

แต่ก่อนที่ยังไม่ลงมือปลูกผักกินเอง ตกเย็นก็ต้องออกไปซื้อผักสดที่ตลาดนัดทุกวัน ซื้อผักสดวันหนึ่งหลายสิบบาท แต่ตอนนี้ เราปลูกผักกินเอง ลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารไปได้มากในแต่ละวัน การปลูกผักสวนครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการพึ่งพาตัวเองได้อย่างดี ปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี ได้ผักสดปลอดสารพิษ ดีต่อสุขภาพ ช่วยประหยัดเงินค่าอาหาร เหลือก็นำไปขายที่ตลาดได้อีกด้วย

โครงการปลูกผักในวัด ดูผิวเผินมองว่า มีประโยชน์ต่อชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ ในชุมชน แต่ขยายผลสู่สังคม ก็จะมีประโยชน์ต่อคนไทยจำนวนมาก ทำให้ สำนักข่าว NHK World-Japan ของญี่ปุ่น เดินทางมาวัดพระพุทธฉาย ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี เพื่อถ่ายทำสกู๊ปข่าวพิเศษเผยเเพร่ไปยังประเทศญี่ปุ่น เเละอีกหลายประเทศด้วยความชื่นชมแนวคิด ชาวบ้านในชุมชนหนองปลาไหลที่ปลูกผักสวนครัว เป็นแหล่งอาหารของชุมชน เพื่อลดผลกระทบการเเพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19)

ในปี 2564 มีการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมดังกล่าว ในรูปแบบแปลงโคกหนองนาตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคกหนองนาโมเดล” และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

วัดพระพุทธฉาย ได้ดำเนินกิจกรรมปลูกผักสวนครัวในโครงการ “สวนครัวนำสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระดำริสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยวัดและชาวบ้านร่วมปลูกดูแลพืชผักสวนครัวเพื่อนำไปแบ่งปันกัน ลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมสวนทุกวันตั้งเเต่เวลา 08.00- 17.00น.

หากใครสนใจกิจกรรมดีๆ แบบนี้ สามารถแวะชม “สวนครัวนำสุขพอเพียงเพื่อเพียงพอ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”ได้ทุกวัน การเดินทางไปวัดพระพุทธฉาย ไปได้ไม่ยาก ใช้เส้นทางเดียวกันกับอุทยานแห่งชาติเขาสามหลั่น เป็นถนนแยกจากถนนพหลโยธิน ตรงกิโลเมตรที่ 102 (หมู่บ้านโคกหินแร่ ตำบลหนองยาว) เข้าไป 5 กิโลเมตร (ระยะทางตามถนนจากตัวเมืองสระบุรี ลงทางใต้ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไป 5 กิโลเมตร) ก็ถึงวัดแล้ว