ผลที่ได้จากดำเนินโครงการ ในปี 2561 ข้อมูลสำรวจและรวบรวม

นวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นรายตำบล ได้จำนวนทั้งสิ้น 878 ภูมิปัญญา (เฉลี่ย 1 ภูมิปัญญา/ตำบล) 2. ต่อยอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จำนวน 300 เทคโนโลยี โดยถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลิตผล

รวมถึงการจัดการผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อคงคุณภาพ 3. จำนวนผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมโดยตรงจำนวนทั้งสิ้น 10,746 คน โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละคนจะนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นจำนวน 3.14 คน ทำให้มีผู้ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ประมาณ 33,742 คน รวมแล้วมีจำนวนผู้ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ประมาณ 44,488 คน และ 4. จำนวนกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรเชิงลึก (Skill Intensive) จำนวนทั้งสิ้น 200 กลุ่ม

กรมส่งเสริมการเกษตร เชิญชวนผู้สนใจสมัครฝึกอบรมอาชีพด้านการเกษตร 4 วัน 28 หลักสูตร ฟรี!!! ในงานเกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 19-22 กันยายน 2562 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดจัดงาน “เกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2” ระหว่างวันที่ 19-22 กันยายน 2562 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเกษตร เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผลผลิตและสินค้าเกษตรคุณภาพ โดยภายในงานนอกจากจะมีการจัดแสดงนิทรรศการแสดงผลงานส่งเสริมการเกษตร การยกทัพสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรเกรดพรีเมี่ยมมาจำหน่ายในเมืองกรุง การประกวดและแข่งขันชิงเงินรางวัล การจัดแสดงเดินแบบผ้าไทย พร้อมถนนสายอาหารของดี 4 ภาค ตลอดจนการแสดงบนเวทีของศิลปินดาราที่ให้ทั้งสาระความรู้และความบันเทิงแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสมัครเข้ารับฝึกอบรมอาชีพ 4 วัน 28 หลักสูตรฟรี!!! ในงานดังกล่าวด้วย

สำหรับกิจกรรมการฝึกอาชีพด้านการเกษตร จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เพลินทูเก็ตเตอร์ (Plearn Together)” เป็นหลักสูตรที่ทำง่าย เรียนรู้ได้ใน 1 วัน และสามารถทำเป็นอาชีพได้จริง เปิดรับสมัครอบรมฟรีตลอดการจัดงาน “เกษตรสร้างชาติ ครั้งที่ 2” โดยเปิดฝึกอาชีพวันละ 2 ห้อง ห้องละ 4 รอบ หรือ 60 นาที ต่อรอบ เริ่มตั้งแต่เวลา 10.30-17.00 น. รับสมัครรอบละ 30 คน รวม 840 ราย ซึ่งแต่ละวันจะมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับแนวคิดการจัดงานเกษตรสร้างชาติในแต่ละวัน รวม 28 หลักสูตร ดังนี้ วันที่ 19 กันยายน 2562 มีจำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่ สะละน้ำผึ้งชีสพาย การปักกล้วยไม้อย่างง่าย โลฟกล้วยหอมช็อกโกแลต และการร้อยมาลัยกล้วยไม้

วันที่ 20 กันยายน 2562 ภายใต้แนวคิด อาหารเพื่อสุขภาพ มีจำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ น้ำยาเห็ด น้ำหม่อน/โยเกิร์ตน้ำหม่อน ขนมจีบ น้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ สลัดโรล วุ้นลูกมะพร้าว เค้กกล้วยหอม และบาร์บีคิว วันที่ 21 กันยายน 2562 ภายใต้แนวคิด การใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้ มีจำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ กล้วยไม้แฟนซี การปลูกกล้วยไม้และการเพิ่มมูลค่า การร้อยมาลัยกล้วยไม้จิ๋ว การเพาะต้นอ่อนธัญพืช การทำช่อกล้วยไม้ การจัดสวนเคลื่อนที่ การร้อยมาลัยกล้วยไม้ริบบิ้น และผักลอยฟ้า และวันที่ 22 กันยายน 2562 มีจำนวน 8 หลักสูตร ได้แก่ น้ำผึ้งมะนาวสมุนไพร อาหารว่างจากน้ำผึ้ง การทดสอบน้ำผึ้งอย่างง่าย แปรรูปจิ้งหรีดแบบอินเตอร์ ศิลปะการพับผ้าขนหนู พับกลีบบัว ถั่วงอกอินทรีย์ และพวงมาลัยใบเตย

“เงื่อนไขการรับสมัครฝึกอบรมอาชีพด้านการเกษตร ผู้สมัครสามารถสมัครได้คนละไม่เกิน 4 หลักสูตร (30 คน/หลักสูตร) เปิดรับสมัคร ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี บริเวณหน้าห้องอบรมก่อนถึงเวลาเรียน 30 นาที ผู้ที่สมัครแล้วต้องมาแสดงตัว และลงชื่อเพื่อลงทะเบียนพร้อมรับวัสดุฝึกอบรมหน้างาน ก่อนเข้ารับการฝึกอาชีพไม่น้อยกว่า 10 นาที หากไม่มาแสดงตัวถือว่าสละสิทธิ์ในหลักสูตรนั้นๆ ซึ่งเราเปิดฟรี!!! ทุกวัน จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกิจกรรมภายในงานครั้งนี้ได้ครับ” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

ในวันที่สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จนส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์แย่ลงเรื่อย ๆ ทำให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่งต้องเร่งทยอยปรับตัวไปตามข้อกังวลดังกล่าวอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งวันนี้ “ดีไลฟ์-ประชาชาติธุรกิจ” ได้คัดเลือกไอเดียรักษ์โลกจากนานาประเทศมาแชร์ให้ผู้อ่านได้ลองชมกันคร่าว ๆ นอกจากสามารถลดจำนวนขยะพลาสติกได้แล้ว ผลิตภัณฑ์สุดครีเอตเหล่านี้ยังเต็มไปด้วยความน่ารักที่สร้างรอยยิ้มให้กับผู้พบเห็นอีกด้วย

หนังสือพิมพ์สีเขียว อ่านจบปลูกต้นไม้ได้
แนวคิดหนังสือพิมพ์สีเขียวเกิดขึ้นโดย Dentsu Inc. เอเยนซี่โฆษณาที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ร่วมมือกับ The Mainichi หนังสือพิมพ์รายใหญ่ของญี่ปุ่น ทาง The Mainichi อธิบายถึงความพิเศษของหนังสือพิมพ์สีเขียวว่า หลังจากอ่านจบแล้วให้ฉีกกระดาษออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปโปรยกับดิน ดูแลรดน้ำเหมือนกับการปลูกต้นไม้ทั่วไป และเพียงไม่กี่สัปดาห์ให้หลัง เศษกระดาษทั้งหมดจะงอกเงยออกมาเป็นต้นไม้ และดอกไม้เล็ก ๆ ทันที

สิ่งที่ทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับนี้นำไปปลูกต้นไม้ต่อได้ เนื่องจากในตัวกระดาษมีส่วนผสมของกระดาษรีไซเคิล เมล็ดดอกไม้ เมล็ดสมุนไพร และน้ำ ด้วยแนวคิดสุดเจ๋งนี้ จึงทำให้ The Mainichi ยังมียอดขายที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง แม้ในยุคที่ธุรกิจสิ่งพิมพ์ไม่ได้เฟื่องฟูมากแล้วก็ตาม

เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นตั๋วโดยสาร
ไอเดียครีเอตจากกรุงโรม ซึ่ง เวอร์จิเนีย รักกี นายกเทศมนตรีแห่งกรุงโรม ผู้ผลักดันนโยบายรีไซเคิลขวดพลาสติก อธิบายรายละเอียดของโครงการนี้ว่า เป็นโครงการรีไซเคิลขวดพลาสติกประเภท PET ซึ่งความพิเศษของพลาสติกประเภทนี้ยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ด้วย

ขั้นตอนในการรีไซเคิลจะมีการนำเครื่องจักรไปวางตามจุดซื้อตั๋วโดยสาร 3 แห่งในเมือง คำนวณมูลค่าการแลกเปลี่ยนขวดเป็นตั๋วโดยสาร ในการเดินทางครั้งหนึ่งมีมูลค่า 1.50 ยูโร หากต้องการโดยสารฟรีต้องนำขวดพลาสติกมาแลก 30 ขวด เมื่อหย่อนขวดลงไปครบแล้ว เครื่องจะประมวลผลและออกเครดิต เพื่อนำไปแลกซื้อตั๋วโดยสารในลำดับถัดไป

โครงการนี้เป็นโครงการนำร่องที่จะทดลองเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อดูว่าจะสามารถช่วยเพิ่มการรีไซเคิล และปรับปรุงพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าโดยสารของผู้คนในเมืองได้หรือไม่

เสื้อยืดย่อยสลายได้จาก Vollebak
Vollebak แบรนด์แฟชั่นเครื่องแต่งกายสุดล้ำ ได้ออกโปรดักต์เสื้อยืดทำจากพืชทั้งตัว จุดเด่นของเสื้อตัวนี้คือผลิตจากเยื่อไม้และสาหร่ายทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วยยูคาลิปตัส ต้นบีช และไม้สน นำพืชทั้ง 3 ชนิดแปรรูปเป็นเส้นใย แล้วนำเส้นใยมาถักทอเป็นเส้นด้ายในที่สุด

ส่วนการออกแบบบล็อกลายสกรีนเสื้อทำจากพืชสาหร่าย ทางผู้บริหารยังอธิบายความเจ๋งของเสื้อตัวนี้ด้วยว่า เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งสีของลายสกรีนจะค่อย ๆ เฟดลง ยิ่งไปกว่านั้น

หากคุณเริ่มรู้สึกเบื่อเสื้อตัวนี้แล้วก็สามารถนำมันไปฝังดิน หรือวางลงบนปุ๋ยหมักประมาณ 12 สัปดาห์ เสื้อจะค่อย ๆ ย่อยสลาย และพร้อมเป็นอาหารของหนอนต่อไป แว่นตาจากวัสดุเหลือใช้ เส้นผม และมันฝรั่ง
แบรนด์แว่นตาจากอังกฤษ Cubitts ได้ทดลองนำเส้นผมของพนักงานในบริษัท รวมถึงวัสดุเหลือใช้อื่น ๆ อย่างมันฝรั่งมาผสานในการออกแบบผู้บริหารกล่าวว่า บริษัทพยายามจะเสนอการซ่อมแซมมากกว่าการเปลี่ยนกรอบบ่อย ๆ เพราะแม้จะมีการคิดค้นนำวัสดุรีไซเคิลมาทดแทน แต่หากมีการใช้วัสดุอะไรก็ตามครั้งละมาก ๆ ก็เป็นการเพิ่มขยะให้กับโลกอยู่ดี อย่างการผลิตเฟรมแว่นจากเซลลูโลสอะซิเตตที่เป็นพลาสติกกึ่งสังเคราะห์จากเยื่อต้นไม้และฝ้าย แต่ในกระบวนการผลิตทุกครั้งก็ยังมีส่วนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากพอตัว

ส่วนวัสดุล่าสุดอย่างมันฝรั่งนั้น ก็ต้องมีการเพิ่มเติมส่วนผสมที่ช่วยให้นำไปผลิตขึ้นรูปเฟรมได้ดีขึ้น อย่างกากกาแฟ แป้งสน ไม้โอ๊ก สำหรับเส้นผมที่ถูกบริจาคโดยพนักงานในองค์กรจะถูกเปลี่ยนเป็นไบโอเรซินเพื่อสร้างเฟรมสีเข้ม และยังเพิ่มเติมวัสดุอีกอย่างหนึ่ง คือ ซีดีเก่า นำมารีไซเคิลเปลี่ยนวัสดุแวววาวเป็นกรอบแว่นทรงกลมได้

“มิโสะ” (Miso) เป็นอาหารหมักที่ทำจากถั่วเหลืองร่วมกับเกลือผ่านกระบวนการหมักโดยเชื้อราในกลุ่มแอสเปอร์จิลรัส ออไรเซ่ (Aspergillusoryzase) หรืออาจจะใช้หลายสายพันธุ์ ร่วมกัน เช่น แอสเปอร์จิลรัส โซแย่ (A.soyae) และอาจใช้ยีสต์ร่วมด้วย ปกติมักบ่มในถังไม้นาน ประมาณ 1-3 ปี โดยตลอดระยะเวลาที่บ่มสามารถเติมส่วนผสมอื่นลงไปได้จึงทำให้มิโสะมีสี รสชาติและกลิ่นที่แตกต่างกันออกไป มิโสะมีหลายสี อาทิ สีขาวครีม น้ำตาลแดง ไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม

คุณพิมพ์วลัญช์ พินธ์ประภา เจ้าของกิจการร้านอาหารเฮือนคำ ถนนศิริธร ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ว่า “มิโสะ” มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยใช้เป็นเครื่องปรุงรสให้แก่อาหารประเภทต่างๆ และนำเข้าในประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นชาวญี่ปุ่นได้ทำการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ของเชื้อราที่ใช้ในการหมักกระบวนการผลิตตลอดจนการปรุงแต่งรสเรื่อยมา ทำให้มิโสะมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งต้นกำเนิดมากจากแถบเกียวโต โดยมีสีค่อนข้างขาว

มิโสะ จัดได้ว่าเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุอาหาร โปรตีน เหล็ก และโพแทสเซียม ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและที่สำคัญ คือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต และวิตามิน เช่น บี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 12 วิตามินเอ และวิตามินอี โฟลิกย์ เอซิก รวมทั้งยังมีแคลเซียมและสารในกลุ่มไอโซฟลาโวน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีการทำงานได้เหมือนเอสโตรเจนไอโซฟลาโวนส์ยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันมะเร็ง ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก และป้องกันความเสื่อมของจอตา เมื่อทานมิโสะเข้าไปแล้วจะช่วยให้ร่างกายปรับสมดุล ทำให้แข็งแรงสดชื่น ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ยังเชื่อว่ามีสารชะลอความแก่อีกด้วย

สำหรับ มิโสะ หรือชาวไทยเรียกว่า กะปิเจ เป็นส่วนประกอบของอาหารหลากหลายชนิดในอาหารญี่ปุ่น หรือทำเป็นเครื่องจิ้มปรุงรส สำหรับอาหารประเภทเนื้อปลา หอยและผัก ซึ่ง มิโสะ ได้มาจากการแปรรูปอย่างหนึ่งของถั่วเหลือง โดยใช้วิธีการหมักทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานและคุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยน มีคุณค่าทางโภชนาการและโปรตีนสูง รสชาติคล้ายสารสกัดจากเนื้อสัตว์ จึงเป็นเครื่องปรุงอาหารสำหรับคนที่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี (เหมาะสำหรับคนรับประทานอาหารเจ)

มิโสะ ยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 17 ชนิด มีสารชูรสและกลิ่นหอม ซึ่งสารที่ว่านี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่างการหมักมีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด

มิโสะ ที่หมักเสร็จใหม่ๆ ไม่ต้องทำอะไรให้ยุ่งยาก เพียงล้างหั่นผักแล้วนำมาจิ้มรับประทานคู่กับ มิโสะ เป็นกับแกล้มได้ มีกลิ่นหอมและไม่เค็มจัด นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประกอบทำเมนูอาหารได้หลายอย่าง เช่น นำไปหมักปลา อาหารทะเล หมู เนื้อ แล้วนำไปย่างให้รสชาติหอมอร่อย มิโสะราเมน (ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่เหลืองรสเต้าเจี้ยว) รวมทั้งสามารถนำมิโสะไปปรุงอาหารไทย โดยใช้แทนกะปิได้ทุกรายการอาหาร และยังเป็นส่วนประกอบของอาหารเจได้ทุกชนิด

ผู้สนใจ มิโสะ หรือ กะปิเจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิมพ์วลัญช์ พินธ์ประภา เจ้าของกิจการร้านอาหารเฮือนคำ ถนนศิริธร ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0-5321-2516, 0-5321-2683 และ 08-1531-0035

จากการเปิดเผยข้อมูลโดย ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ระบุว่า “เถาวัลย์เปรียง” เป็นสมุนไพรที่แพทย์แผนไทยรู้จักใช้กันดี ปรากฏอยู่ในตำรายาแพทยศาสตร์สงเคราะห์ในหลายคัมภีร์ เป็นสมุนไพรที่มีความถี่ในการใช้และปรากฏในตำรายาสูงมากชนิดหนึ่ง โดยใช้เถาเป็นส่วนประกอบในตำรับยาแก้กษัยแก้เหน็บชา ถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายกษัย แก้เส้นเอ็นขอด แก้เมื่อยขบ ทำให้เส้นหย่อน แก้ปวด แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคบิด แก้โรคหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายอุจจาระ บีบมดลูก สรรพคุณเหล่านี้คล้ายคลึงกับการใช้ของหมอยาพื้นบ้านทั่วไป

กระทั่ง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2535 คุณแม่ลีสี แซ่เอี้ยว ปัจจุบันท่านมีอายุ 92 ปี เป็นคุณแม่ของ ภญ.พัชรี ศรานุรักษ์ (ปัจจุบันรับราชการที่โรพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ) ในปีนั้น ท่านได้มาพบกับตน และออกปากฝากสมุนไพรชนิดหนึ่งไว้ว่าอย่าให้สูญไป ยาตัวนั้นก็คือ เถาวัลย์เปรียง ซึ่งท่านได้ความรู้มาจากซินแส ที่จังหวัดราชบุรี โดยใช้เป็นยาแก้ตกขาว ท่านบอกให้คนรักษาตัวเองหายมาแล้วหลายราย ไม่ใช่เฉพาะตกขาวอย่างเดียว ตกเหลืองตกเขียว ตกแดงช้ำๆ ก็กินหายมาแล้ว ต่อมามีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาวัลย์เปรียงมากขึ้น พบว่า มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้นกันซึ่งอาจจะเป็นกลไกที่ช่วยให้อาการตกขาวดีขึ้น

ต่อมาในปี 2536 มีคุณยายอายุ 70 ปี ที่รู้จักคุ้นเคยกัน ได้มาปรึกษาว่า ป่วยด้วยโรคปวดเข่า แต่กินยาแก้ข้ออักเสบไม่ได้ เพราะมีผลข้างเคียงจนเป็นโรคกระเพาะ ตนจึงได้ทำยาเถาวัลย์เปรียงให้ลองกิน ปรากฏว่าช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าของคุณยายได้พอสมควร และช่วงเวลานั้นพบว่า มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการยาแก้ปวดเมื่อยปวดข้อที่ไม่มีผลข้างเคียงเช่นที่เกิดจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน เมื่อรู้ว่าเถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่คนโบราณใช้กันมานานเพื่อรักษาโรคกษัย แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นตึง และยังมีการต้มกินเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะ และตรวจสอบข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่าเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการเป็นยาแก้ปวดเมื่อย แต่เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย จึงได้ส่งเถาวัลย์เปรียงให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์ เมื่อพบว่าไม่มีพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง จึงพัฒนาเถาวัลย์เปรียงในรูปแคปซูลแก้ปวดเมื่อยขึ้นใช้ในโรงพยาบาล

“จากนั้นมีงานวิชาการพบว่า เถาวัลย์เปรียง มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยมะเร็ง หวัด ภูมิแพ้ และยังผ่านการทดลองทางคลินิก ซึ่งเป็นการทดลองในคน ในการแก้ปวดจากเข่าเสื่อม โดยเปรียบเทียบกับ “นาพร็อกเซน” (ยาต้านการอักเสบแผนปัจจุบัน) แล้วพบว่าได้ผลไม่แตกต่างกัน

และในการแก้ปวดหลังระดับเอว เปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน คือ “ยาไดโคลฟีแนค” พบว่าได้ผลไม่ต่างกันอีกเช่นกัน มิหนำซ้ำเถาวัลย์เปรียงยังมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ทำให้ปัจจุบันแคปซูลเถาวัลย์เปรียง ได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2554 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เถาวัลย์เปรียง หรือ เครือตาปลา จึงเป็นอีกหนึ่งคำตอบของยาแก้การปวดเมื่อยที่ปลอดภัย และยังใช้เป็นยารักษาโรคภัยอื่นๆได้อีก เป็นการยืนยันว่าภูมิปัญญาไทยใช้ได้จริง ถ้าคนไทยใส่ใจไม่ทอดทิ้ง” ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว

นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับความมือจากกรมอุตุนิยมวิทยา ในการคาดการณ์ลักษณะอากาศและปริมาณฝนล่วงหน้า 3 เดือน (ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2562) พบว่า หลังจากประเทศไทยได้รับผลกระทบจากอิทธิพลพายุโซนร้อน “โพดุล” และดีเปรสชั่น “คาจิกิ” ซึ่งทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องกันหลายวัน เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2562 ขณะนี้ประเทศไทยมีแนวโน้มปริมาณน้ำฝนดีขึ้น โดยในระยะ 3-5 วันนี้ ยังไม่มีพายุใดๆ ที่จะเข้าสู่ประเทศไทย และกรมอุตุนิยมวิทยาได้ติดตามสภาพอากาศในบริเวณทะเลจีนใต้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกันยายน 2562 จากการคาดการณ์ลักษณะอากาศ ปริมาณน้ำฝนทั่วทุกภาคของประเทศไทยจะมีฝนตกปานกลางอยู่ที่ 151-300 มิลลิเมตร เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของพืชที่ต้องการน้ำมาก ส่วนพืชที่ต้องการน้ำน้อยควรมีการระบายน้ำออกจากแปลง สำหรับภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี และตราด ภาคใต้ ได้แก่ ระนอง ชุมพร พังงา และภูเก็ต ปริมาณน้ำฝนจะตกหนัก อยู่ที่ 401-600 มิลลิเมตร

ส่วนในช่วงเดือนตุลาคม 2562 จากการคาดการณ์ลักษณะอากาศจะมีปริมาณฝนลดลง ปริมาณน้ำฝนในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีปริมาณฝนตกปานกลางอยู่ที่ 151-300 มิลลิเมตร ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า จะมีปริมาณฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางอยู่ที่ 91-150 มิลลิเมตร โดยเฉพาะภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และลพบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และชัยภูมิ ปริมาณฝนจะตกเล็กน้อยอยู่ที่ 90-120 มิลลิเมตร จึงขอแจ้งเตือนให้เกษตรกรรีบเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนตกในระยะนี้ เพื่อสำรองไว้ใช้ในช่วงแล้ง

ส่วนในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2562 จากการคาดการณ์ลักษณะอากาศ พบว่า ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะมีฝนตกน้อยมากเพียง 20-90 มิลลิเมตร ซึ่งจะไม่เพียงพอต่ออัตราการใช้น้ำของพืช จึงขอแจ้งเตือนให้เกษตรกรรีบสำรองน้ำไว้สำหรับการอุปโภคบริโภค และสำรองให้เพียงพอสำหรับพืชที่เพาะปลูกไว้แล้ว โดยขอแนะนำให้ใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย สำหรับภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจะมีฝนตกปานกลางถึงฝนตกหนักปริมาณฝนอยู่ที่ 200-600 มิลลิเมตร

อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้เกษตรกรและประชาชน ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากประกาศของทางราชการและกรมอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งการแจ้งเตือนภัยอย่างใกล้ชิด จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง มีอำเภอที่ตั้งอยู่พื้นที่สูง มีความหลากหลายของพืชพรรณ และแน่นอนว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น เพราะประเทศไทย เป็นประเทศแห่งเกษตรกรรม

การปลูกฝังให้เด็ก หรือเยาวชน มีความรู้จักรากฐานของบรรพบุรุษ เป็นเรื่องที่ควรกระทำอย่างยิ่ง โรงเรียนบ้านทุ่งน้อย ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับประถมศึกษา ที่มีนักเรียนเพียง 63 คน มีครู 11 คน เปิดการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6

นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าตาล รัศมีการเดินทางจากโรงเรียน 7 กิโลเมตร และนักเรียนส่วนใหญ่เดินทางโดยรถจักรยาน ผู้ปกครองมาส่ง หรือเดินมา

ถนนถูกตัดผ่านกลางระหว่างที่ดินของโรงเรียน ทำให้เกิดที่ตั้งของโรงเรียนบ้านท่าน้อย และพื้นที่อีกฝั่ง ซึ่งโรงเรียนเห็นความสำคัญของการทำเกษตรกรรม จึงจัดสรรให้พื้นที่อีกฝั่งของโรงเรียน เป็นพื้นที่สำหรับทำแปลงเกษตรโดยเฉพาะ

ในวันที่เดินทางไปอำเภอบางกระทุ่ม ผ่านโรงเรียนบ้านท่าน้อย เป็นจังหวะที่เด็กนักเรียนกำลังลงแปลง จึงเป็นโอกาสดีที่ได้แวะพูดคุย

ครูภิรมย์ลักษณ์ ดอนหม้อ ครูโรงเรียนบ้านท่าน้อย บอกว่า โรงเรียนมีแปลงเกษตรพื้นที่ ราว 2 งาน ใช้สำหรับให้นักเรียนทุกระดับชั้นลงแปลง แต่การดูแลต่อเนื่อง เป็นหน้าที่ของกลุ่มยุวเกษตรของโรงเรียนที่มีสมาชิกเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 4-6 เท่านั้น

“โรงเรียนเราจะปลูกต้นไม้แทรกไปทุกที่ที่ทำได้ ถ้าเป็นพื้นที่ที่เป็นซีเมนต์ ก็จะปลูกในกระถาง ล้อยาง เพื่อให้มีต้นไม้ให้มากที่สุด” แปลงผักที่ครูภิรมย์ลักษณ์ บอก เป็นพื้นที่โล่ง มีซุ้มโปร่งสำหรับไม้เลื้อย บริเวณอื่นจัดสรรเป็นส่วนๆ ของพืชผักแต่ละชนิด เช่น ชะอม แค มะละกอ มะนาว กะเพรา โหระพา พริก ส่วนไม้เลื้อยเป็นกลุ่มของถั่วฝักยาว ฟักทอง ฟักเขียว เป็นต้น

ครูภิรมย์ลักษณ์ บอกด้วยว่า นักเรียนในกลุ่มยุวเกษตร จะได้ฝึกมากกว่าการลงแปลงเหมือนน้องๆ คือ การทำกิจกรรมทางการเกษตรที่ยากขึ้น เช่น การเพาะเห็ด การปักชำ การทำน้ำส้มควันไม้ ทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งทั้งหมดถือเป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยแปลงเกษตรแห่งนี้มีขึ้นตามโครงการ “เดินตามรอยเท้าพ่อ” และเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเครือข่ายของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ทำให้ได้รับการสนับสนุนเรื่องของเมล็ดพันธุ์ วัสดุอุปกรณ์จากโรงเรียนพี่ด้วย

นอกเหนือจากแปลงผัก ยังมีการประมง เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ 4 บ่อ ปล่อยปลาดุก จำนวน 200 ตัว เฉลี่ยลงทุกบ่อ ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปในการดูแล เพราะเป็นโรงเรียนเด็กเล็กและมีเด็กจำนวนไม่มาก จึงไม่สามารถทำอาหารปลาหรือนำเศษอาหารเหลือจากโรงอาหารมาให้ปลาได้เพียงพอ การซื้ออาหารเม็ดสำเร็จรูปจึงเป็นทางออก แม้ว่าจะเป็นต้นทุนที่สูงก็ตาม แต่ครูภิรมย์ลักษณ์ บอกว่า เพื่อการเรียนรู้ที่มากกว่าเรื่องพืช จึงควรมี

โรงเรือนเห็ด เป็นอีกกิจกรรมหมุนเวียนตลอดปีการศึกษา โรงเรียนปลูกเห็ดนางฟ้า และเห็ดฟาง เพราะดูแลง่ายกว่าเห็ดชนิดอื่น เน้นกิจกรรมที่ไม่ยากเกินไป เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจและได้รับความรู้เต็มเปี่ยม

ผลผลิตทั้งหมด นักเรียนเก็บมาแล้วจะนำไปจำหน่ายให้กับสหกรณ์ของโรงเรียน โดยโครงการอาหารกลางวัน จะซื้อจากสหกรณ์ เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร รายได้ก็นำเข้าระบบสหกรณ์ ส่วนรายได้จากการขายให้กับสหกรณ์ ก็จะนำไปเป็นต้นทุนในโครงการ “เดินตามรอยเท้าพ่อ” ให้นักเรียนได้ทำแปลงเกษตรต่อไป