ผลนี้เป็นผลสำเร็จจากการทดลองและเป็นประโยชน์อย่าง

มหาศาลต่อเกษตรกร โดยการใช้น้ำจะใช้วิธีรดทางดินทุกวัน และฉีดพ่นเป็นละอองฝอยที่ช่อด้วยเพื่อให้ช่อดอกได้รับน้ำสมบูรณ์ ลำไยเป็นพืชที่ต้องการน้ำเยอะ หากไม่มีลมร้อนจะให้น้ำประมาณ 2 วันครั้ง และไม่ให้ทางยอด ส่วนอีกวิกฤติหนึ่งคือค้างคาว ได้ทำการแก้ไขโดยการกั้นตาข่ายและให้แสงไฟตอนกลางคืน

ความรู้จากคณะอาจารย์ ใช้ธรรมชาติควบคุมธรรมชาติ เพื่อลดต้นทุน

ผลผลิตที่ได้มามีพ่อค้าเข้ามารับซื้อถึงแปลง นับว่าปลูกง่ายขายสะดวก แต่ก็มีช่วงที่ราคาตกไปถึงกิโลกรัมละ 30 บาท มีความกระทบกระเทือนบ้างแต่ไม่มากเพราะใช้ต้นทุนต่ำ โดยที่ผ่านมามีการลดต้นทุนโดยใช้วิธีธรรมชาติเข้าช่วย ปรับลดการใช้สารเคมีโดยหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพรดที่โคนต้น และใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นไปที่ใบเพื่อกันเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้ง เมื่อเกิดแล้วจะทำให้เกิดราดำตามมา พอมีราดำในช่อจะไม่สามารถขายได้ และผลจากการใช้วิธีธรรมชาติจะทำให้เกิดวิธี “ธรรมชาติควบคุมธรรมชาติ” โดยเกิดตัวห้ำตัวเบียน (แมลงศัตรูธรรมชาติที่ ที่กินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร จึงเกิดสมดุลในธรรมชาติ) ตัวห้ำปละตัวเบียนจะเกิดขึ้นเองและขยายพันธุ์ในแปลงของเราและคอยทำลายแมลงศัตรูพืช จึงช่วยได้เยอะ และส่งผลดีให้ใช้เคมีน้อยลงมาก หากไม่ถึงกับควบคุมไม่ได้จริงๆ จะไม่ใช้เคมีเลย

“ตรงนี้เป็นจุดเด่นของเราเพราะเกษตรกรด้วยกันจะไม่นิยมใช้วิธีนี้ ก่อนหน้านี้มีการใช้สารเคมีตลอด และประสบปัญหาการควมคุมแมลงได้ยากและน้อย เราฉีดวันนี้อีกสองสามวันมันมาใหม่ มันไม่มีแมลงตัวห้ำตัวเบียนที่จะมาช่วยป้องกันให้เราเลย แมลงตัวใหม่ที่เข้ามามันก็ทำลายพืชของเราได้เยอะ พวกเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ไรแดง มาทำลายสวนของเรา ถ้าเรามีตัวห้ำตัวเบียนจะช่วยได้ดี”

ต้นทุนต่อการปลูกรอบหนึ่งในพื้นที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ถึง 2 ตันครึ่ง (2,000-2,500 กิโลกรัม) ต้นทุน 15,000 บาท ขายได้กิโลกรัมละ 30-65 บาท โดยแปรผันตามความต้องการซื้อของผู้บริโภคและสภาวะเศรษฐกิจ ช่วงวิกฤติโรคโควิด-19 แรกๆ ทำให้ราคาลำไยตกต่ำมากอยู่ระยะหนึ่ง เนื่องจากกำลังซื้อลดถอยลงไป บวกกับไม่มีนักท่องเที่ยวจึงจำหน่ายได้น้อยลงโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปัจจุบันเริ่มดีขึ้นเป็นปกติแล้ว จากการที่เกษตรกรต้องช่วยเหลือตัวเองโดยการทำให้ต้นทุนต่ำที่สุดจึงสามารถประคองตัวอยู่ได้ นับว่าเรื่องต้นทุนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และโชคดีที่ลำไยพวงทองเป็นที่ต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศ ถ้าหากส่งออกไปประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จะได้ราคาดี ลำไยบ้านแพ้วจะออกไปทางใต้เยอะ

ภาพรวมของเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ปลูกลำไยพวงทองบ้านแพ้วช่วงนี้ มีสมาชิกอยู่ 31 ราย นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มของเขตตำบลอื่นด้วย เริ่มแรกสมาชิกน้อยจึงเริ่มรวบรวมสมาชิกมากขึ้นเรื่อยๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่น ตำบลบ้านแพ้ว ตำบลหนองบัว ตำบลยกกระบัตร ตำบลโรงเข้ ตำบลหนองสองห้อง

ในปัจจุบันสวนของคุณไพรัชมีการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยให้มาชม ชิม และเลือกซื้อลำไยจากหน้าสวนได้โดยตรง โดยปี พ.ศ. 2564 นี้ จะเริ่มที่เดือนธันวาคม ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวมีน้อยลงมากหลังจากมีโรคระบาดแต่ก็ยังมีบ้างในช่วงที่ผลผลิตออก

นับเป็นหนึ่งความสำเร็จของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นักวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รี่อันดับต้นๆ ของประเทศ โดยนำนวัตกรรมระบบปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์มาใช้ปลูกกับมะเขือเทศเชอร์รี่ได้สำเร็จ และการปลูก 1 ต้น สามารถออกผลได้มากกว่า 4,000 ลูก

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง เล่าถึงที่มาในการเพาะพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รี่ที่ให้ผลดกครั้งนี้ว่า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ทำการวิจัยการเพาะพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รี่ และการแปรรูปมะเขือเทศพันธุ์นี้ มาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี เพื่อนำองค์ความรู้จากงานวิจัยถ่ายทอดต่อไปยังเกษตรกรที่สนใจ ใช้สร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ตัวเกษตรกรและครอบครัว

เพราะมะเขือเทศเชอร์รี่มีความโดดเด่นในตัวของผลผลิตเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะด้านรสชาติ ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของข้างเคียงใช้ในการประกอบอาหาร แต่สามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้สดได้เลย ทำให้ปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ได้ผลตอบแทนจากการปลูกขายสูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท

สำหรับมะเขือเทศเชอร์รี่ก็มีความหลากหลายของสายพันธุ์ แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ มะเขือเทศเชอร์รี่สีแดง จึงได้ทดลองนำมาปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ แต่มะเขือเทศมีความต้องการธาตุอาหารจำนวนมากกว่าพืชหลายชนิด จึงต้องใช้การปลูกในระบบน้ำหมุนเวียน โดยใช้น้ำเติมลงในอ่างเพาะวันละประมาณ 100 ลิตร พร้อมใส่ปุ๋ย AB สำหรับไฮโดรโปนิกส์ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของใบและรากให้มีความสมดุลกัน จึงทำให้ผลผลิตออกมาเป็นที่น่าพอใจ

การทดลองปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ของรองศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง นับว่าประสบความสำเร็จ เพราะมะเขือเทศ 1 ต้น ได้ให้ผลผลิตสูงถึง 4,000 ลูก จึงให้ชื่อสายพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รี่ที่พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใหม่ว่า “พันธุ์มหามงคล” และได้จัดแสดงไว้บริเวณโรงเรือนใช้จัดงานเกษตรอีสานใต้ซึ่งปีนี้ ทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้งดการจัดงานอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

สำหรับเกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจ เข้าชมและสอบถามวิธีการปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่สายพันธุ์มหามงคล ติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายงานวิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โทรศัพท์ (045) 353-500

เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ในช่วงหลายปีหลังมานี้เราได้เห็นลูกหลานเกษตรกรหลายบ้านหันมาให้ความสนใจกับอาชีพเกษตรกรที่เป็นอาชีพดั้งเดิมพ่อกับแม่ทำมาก่อนแล้ว ถึงแม้ว่าบางบ้านจะส่งลูกไปเรียนไกลถึงเมืองนอกเมืองนา บางบ้านส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรี ไปจนถึงปริญญาเอก ลูกๆ หลานๆ ก็ยังไม่ลืมที่จะกลับมาพัฒนาสานต่องานเกษตรที่เลี้ยงชีวิตพวกเขาให้เติบโตมาอย่างสมบูรณ์แบบอย่างทุกวันนี้ได้ อย่างเช่นว่าที่เกษตรกรสาวอายุน้อยท่านนี้

คุณวริศรา ไกรกิจราษฎร์ หรือ น้องอ้อม อายุ 22 ปี อยู่ที่ตําบลแม่สิน อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ลูกหลานเกษตรกรชาวสวนส้มเขียวหวาน ที่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเธอก็จะเรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี กำลังเป็นเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง อาศัยความรักและชอบในการขายของ เข้ามาช่วยทำการตลาดส้มที่สวนของพ่อกับแม่ จากผลผลิตที่เคยราคาตก ขายออกไม่หมด ปัญหาเหล่านี้ไม่มีอีกแล้ว

น้องอ้อม เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันตนกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่ 4 ใกล้เรียนจบปริญญาตรี จึงได้วางแผนอนาคตตนเองไว้ว่าหลังเรียนจบจะเข้ามาสานต่อสวนส้มเขียวหวานของครอบครัว และบททดสอบก็เข้ามาไวกว่าที่คิด จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทำให้ผลผลิตส้มของที่สวนที่เคยขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางขายไม่ได้ ซ้ำร้ายราคาของผลผลิตก็ตกต่ำ ตนจึงได้ใช้วิชาจากการที่เป็นคนชอบพูด ชอบขายของออนไลน์ นำมาประยุกต์ใช้กับการขายส้ม ที่จากเมื่อก่อนทั่วไปจะเห็นแต่ร้านไลฟ์ขายเสื้อผ้า เครื่องสำอาง แต่ของเราไลฟ์ขายส้ม ซึ่งผลลัพธ์ก็ดีเกินคาด ช่วยให้กระจายผลผลิตออกได้เร็วมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณภาพถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าสินค้าคุณภาพไม่ดีเราก็ขายได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

ส้มเขียวหวาน 3,000 ต้น
การดูแลต้องทั่วถึง น้ำอย่าให้ขาด

น้องอ้อม บอกว่า ถึงแม้ว่าตนจะเข้ามาช่วยในส่วนของการตลาดเป็นหลัก แต่ในเรื่องของวิธีการปลูกและการดูแลสวนส้ม ตนก็พอมีวิชาความรู้ติดตัวอยู่ไม่น้อย เพราะสิ่งสำคัญในการขายของ ขายอย่างไรให้คนเชื่อถือ ขายอย่างไรให้สามารถบอกแหล่งที่มา และคุณภาพได้ คนขายก็ต้องเข้าไปคลุกคลีและรู้จริงในตัวผลผลิตที่ตนเองขายด้วย

โดยในปัจจุบันสวนส้มเขียวหวานของครอบครัว ปลูกอยู่จำนวน 3,000 ต้น จากเมื่อก่อนพื้นที่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะปลูกถั่ว ปลูกฝ้ายกันเยอะ แต่พอมาช่วงหลังเริ่มมีคนในหมู่บ้านเอาส้มเขียวหวานมาปลูกแล้วมีรายได้ดี มีเงินเก็บ คนในพื้นที่จึงเริ่มหันมาให้ความสนใจและเปลี่ยนมาปลูกส้มกันเกือบหมดทั้งหมู่บ้าน ซึ่งตากับยายของตนก็เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เปลี่ยนจากการปลูกพืชท้องถิ่น มาปลูกส้มเขียวหวานมาจนถึงทุกวันนี้

การปลูกส้มให้ได้คุณภาพ เริ่มจากการเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีคุณภาพ เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ขยายพันธุ์ส้มด้วยวิธีการตอนกิ่ง เป็นวิธีที่สะดวก ง่ายและรวดเร็ว (นำกิ่งตอนมาชำและอนุบาล ไปเพาะสักประมาณ 1-2 เดือน แล้วจึงค่อยย้ายลงหลุมปลูก ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ขุดหลุมให้เป็นวงกลม)

ปลูกในฤดูฝน การเตรียมดินเป็นไปอย่างเรียบง่ายไม่มีการใส่ปุ๋ยอย่างอื่นเพิ่มต้น เนื่องจากสภาพดินในพื้นที่ค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ ปลูกในระยะห่างระหว่างต้น 4×4 เมตร สำหรับที่ดอย ส่วนพื้นที่ราบปลูกในระยะ 5×5 เมตร ไว้สำหรับรองรับการเจริญเติบโตของต้นที่ทรงพุ่มที่ใหญ่

หลังจากปลูกเสร็จระยะ 1-2 ปีแรก ดูแลตัดหญ้า ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ปีละครั้ง และที่ขาดไม่ได้คือน้ำ ช่วงหน้าแล้งจะให้น้ำ เดือนละครั้ง ดูแลง่าย เนื่องจากส้มเขียวหวานเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรง ถึงช่วงฤดูฝนต้นจะได้กินน้ำอย่างเต็มที่ ใช้เวลาปลูกประมาณ 3-4 ปี ติดผล เรียกว่าส้มสาว

การให้น้ำ ส้ม ถือเป็นพืชที่ขาดน้ำไม่ได้ ที่สวนจะขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้แต่ละแปลง และจำเป็นต้องมีระบบน้ำสปริงเกลอร์คอยซัพพอตในช่วงฝนแล้งจะให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แบ่งเปิดเป็นล็อค ล็อคละ 50-60 ต้น เปิดรดน้ำล็อคละ 1 ชั่วโมง

ปุ๋ย ในช่วงที่ส้มยังไม่ให้ผลผลิตจะเน้นใส่ปุ๋ยขี้วัวเป็นหลัก ยังไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี ใส่ขี้วัวปีละครั้ง ครั้งละ 5-7 กิโลกรัม ต่อต้น หว่านบริเวณรอบๆ โคนต้น แล้วพอหลังจากผลผลิตเริ่มออกจะเริ่มใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อบำรุงต้น บำรุงผล ปีละครั้ง ใส่ครั้งละ 7-8 กำมือ ต่อต้น

การแต่งกิ่ง จะเริ่มแต่งกิ่งตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ หรือปลูกได้ประมาณ 3 ปี ถ้าดูแลแบบดีๆ จะเริ่มออกดอก และเริ่มติดผลเล็กๆ เป็นช่วงที่จะทำการแต่งกิ่ง หลังจากการแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้ว ลูกจะเริ่มโต ให้หาไม้มาค้ำต้นไว้ เพื่อที่จะให้ต้นพยุงลูกไว้ และถ้าต้นไหนผลออกมาเยอะเกินให้เด็ดทิ้ง เพื่อให้ต้นเลี้ยงลูกและสารอาหารได้ทั่วถึง และได้ผลผลิตส้มเขียวหวานที่ลูกใหญ่ เป็นที่ต้องการของตลาด

แมลงและไรศัตรูพืชส้มเขียวหวาน วิธีป้องกันแมลงและโรค คือการพ่นยาตามฤดูกาลและโรคในแต่ล่ะรุ่น

ปริมาณผลผลิตต่อต้น สำหรับต้นที่มีอายุประมาณ 5-6 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 50 กว่ากิโลกรัม ต่อต้น หรือประมาณ 2 ตะกร้า ถ้าต้นส้มที่มีอายุ 8-9 ปี ผลผลิตได้ประมาณ 150 กว่ากิโลกรัม ต่อต้น หรือประมาณ 6 ตะกร้า น้ำหนักตะกร้าละ 25 กิโลกรัม

โดยส้มเขียวหวานของที่สวนจะแบ่งเก็บเป็น 3 รุ่น เพื่อให้มีขายตลอดทั้งปี และส้มแต่ละรุ่นจะมีความแตกต่างกันทั้งสีและรสชาติ ปัจจัยหลักที่ทำให้ส้มเขียวหวานแต่ละฤดูมีความแตกต่างกันคือปริมาณน้ำ และสภาพภูมิอากาศ

ส้มเขียวหวานรุ่นที่ 1 หรือส้มในฤดู ด้วยสภาพอากาศที่เย็น จึงทำให้ผิวส้มมีสีเหลืองทอง เนียนสวย เปลือกบาง รสชาติหวานนำ เข้มข้นสุดๆ ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม

ส้มเขียวหวานรุ่นที่ 2 หรือส้มนอกฤดูกาล จะเป็นช่วงที่ส้มเริ่มมีผิวสีเขียวปนเล็กน้อย เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น แต่รสชาติยังหวานเข้มข้นเหมือนเดิม เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน

ส้มเขียวหวานรุ่นที่ 3 หรือ ส้มนอกฤดู เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจึงทำให้ส้มในช่วงนี้ผิวจะเป็นสีเขียวมากกว่าสีเหลือง หรือเรียกว่า “สีสบันงา” รสชาติยังคงหวานเหมือนเดิม เริ่มเก็บเกี่ยวฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม

อนาคต วางแผนทำสวนส้ม
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

น้องอ้อม เล่าให้ฟังว่า จากเดิมที่รุ่นพ่อกับแม่เคยขายให้แต่กับพ่อค้าแม่ค้าคนกลางเพียงอย่างเดียว ตนก็เข้ามาปรับเปลี่ยนพัฒนาในส่วนของการทำตลาดออนไลน์ รวมถึงในส่วนของการหาพ่อค้าซื้อแบบเหมาสวน ทำให้สามารถกระจายสินค้าออกได้เร็วขึ้น และเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น จากเดิมกิโลกรัมละ 5-6 บาท

ซึ่งใจความหลักสำคัญของการไลฟ์ขายส้มนั้น อยู่ที่แม่ค้าต้องเป็นคนช่างพูดช่างเจรจา และขยันนำสินค้ามาวางให้ผู้ชมไลฟ์ได้เห็น เห็นถึงความสด ความสวยของผิวส้ม และปอกให้เห็นถึงเนื้อใน ให้เห็นว่าคุณภาพดีแค่ไหน โดยจุดเด่นส้มเขียวหวานของที่สวน อยู่ที่รสชาติหวานฉ่ำ เปลือกบาง เพราะที่สวนไม่เคยปล่อยให้ส้มขาดน้ำเลย ใครที่เคยได้ลองซื้อไปชิมเป็นอันต้องติดใจกลับมาซื้อใหม่ทุกราย

ถัดมาการทำตลาดในเพจเฟซบุ๊กการถ่ายรูป เลือกรูปลงถือเป็นสิ่งสำคัญ ถ่ายยังไงให้คนเห็นแล้วคนซื้ออยากสั่ง อยากเข้ามาที่สวน เทคนิคก็คือความสม่ำเสมอ ถ่ายให้เขาเห็นทุกวัน วันนี้อาจจะถ่ายส้มติดผลดกเต็มต้น หรืออีกวันอาจจะถ่ายตอนกำลังเก็บส้มมาจัดเรียงใส่ตะกร้าอย่างสวยงาม โดยที่สวนอยากให้ลูกค้าเข้ามาชมเข้ามาชิมที่สวนเอง เพื่อให้ได้ลิ้มรสชาติ และรับรู้ถึงความใส่ใจในการดูแลของที่สวน แล้วจึงค่อยตัดสินใจสั่งซื้อ ปีนึงสามารถสร้างรายได้จากการขายส้มปีละประมาณ 7-8 แสนบาท หักต้นทุนออกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือคือกำไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการสวนของแต่ละที่ด้วย หากสวนไหนทำเองทุกขั้นตอนตั้งแต่การปลูก รดน้ำ-ใส่ปุ๋ย ก็จะเหลือกำไรเยอะ แต่ถ้าสวนไหนจ้างหมดทุกอย่างกำไรก็จะเหลือน้อย

โดยในอนาคตหากเรียนจบมาแล้วตนวางแผนไว้ว่าจะกลับมาพัฒนาสวนส้มเขียวหวานของที่บ้านให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้คนที่สนใจเข้ามาถ่ายรูปลงโซเชียลสวยๆ พร้อมกับการเปิดคาเฟ่เล็กๆ ภายในสวนส้ม เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ และช่องทางการกระจายสินค้าของสวนได้อีกทางหนึ่ง

“อ้อมอยากจะฝากถึงเกษตรกรรุ่นใหม่ๆ ว่าเราคือกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรม หากใครที่มีพ่อแม่ทำสวนอยู่แล้วก็อยากให้กลับมาสานต่อของที่บ้านกันให้มากขึ้น เข้ามาช่วยพัฒนาทำการตลาด และการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมการเกษตรที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เพื่อการพัฒนาสวน และพัฒนาความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้น ถ้าคนรุ่นใหม่ร่วมมือร่วมใจกัน คิดว่าภาคเกษตรกรไทยจะหมดหนี้ และก้าวทันต่างประเทศได้อีกไม่ช้า” น้องอ้อม กล่าวทิ้งท้าย

นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (สศท.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ทุเรียนปากช่องเขาใหญ่” เป็นสินค้าเกษตรล่าสุดที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ พบปลูกในพื้นที่อำเภอปากช่อง ตั้งอยู่บนเทือกเขาดงพยาเย็นเป็นแหล่งโอโซนอันดับ 7 ของโลก มีความอุดมสมบูรณ์จากดินภูเขา และสภาพอากาศที่เหมาะสม ทำให้ผลผลิตทุเรียนมีคุณภาพ รสชาติหวาน มัน เนื้อเนียนละเอียดแห้ง และมีเส้นใยน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพันธุ์หมอนทอง ซึ่งเป็นพันธุ์ทางการค้า และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

สำหรับทุเรียนปากช่องเขาใหญ่ ได้ชื่อว่าเป็นทุเรียนที่มีคุณภาพ สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทางจังหวัด โดยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และกลุ่มเกษตรกร ได้ผสานความร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น ผลักดันทุเรียนปากช่องเขาใหญ่จนได้รับมาตรฐาน GAP และได้รับรองตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565 ครอบคลุมพื้นที่ปลูกทุเรียนในอำเภอปากช่อง

สศท.5 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตทุเรียนปากช่อง GI ของจังหวัดนครราชสีมา พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุเรียนและพืชสวน ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นกลุ่มต้นแบบที่มีศักยภาพการผลิต และเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับสินค้า GI ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 39 ราย พื้นที่ปลูกรวม 2,000 ไร่ ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ หนองน้ำแดง ปากช่อง กลางดง และคลองม่วง โดยมี นายมาโนช รูปดี เป็นประธานกลุ่ม และเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันให้ได้รับสินค้า GI สำหรับฤดูกาลผลิตทุเรียนของกลุ่ม ปี 2565 ผลผลิตจะออกสู่ตลาดเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ให้ผลผลิตรวมประมาณ 800 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 400 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตแบบคละ ราคากิโลกรัมละ 150-200 บาท (ราคาขาย ณ เดือนกรกฎาคม 2565) ซึ่งราคาจะสูงกว่าทุเรียนทั่วไปตามท้องตลาดที่มีราคากิโลกรัมละ 120 บาท เนื่องจากทุเรียน GI มีกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน GAP พร้อมส่งตรงถึงมือผู้บริโภคทุกลูก และมีการรับประกันคุณภาพสินค้า

ด้านมาตรฐาน GI ของกลุ่ม คือการรักษาคุณภาพผลผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดการเรื่องน้ำ และธาตุอาหาร เกษตรกรจึงต้องเข้มงวดกับการดูแลรักษาผลผลิต ซึ่งทางกลุ่มได้ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องโดยในระยะต่อไป ทางกลุ่มมีแนวทางในการผลิตทุเรียนคุณภาพด้วยการให้สมาชิกกลุ่มผลิตทุเรียนตามมาตรฐาน GAP การขยายจำนวนสมาชิกผู้ปลูกทุเรียน เพื่อรวบรวมพื้นที่และจำนวนผลผลิตให้มีปริมาณมาก ให้สามารถส่งออกผลผลิตไปต่างประเทศได้ รวมถึงการขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์มากยิ่งขึ้น” ผู้อำนวยการ สศท.5 กล่าว

อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก มีผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อเป็นสินค้าประจำจังหวัด โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) คือ กล้วยตากบางกระทุ่ม

กล้วย ที่เหมาะสมสำหรับทำกล้วยตากบางกระทุ่มมากที่สุด คือ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง

เดิมกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ปลูกมากตามหัวไร่ปลายนา เมื่อนำมาทำเป็นกล้วยตาก ทำให้รู้ว่า กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนี้ มีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับการทำกล้วยตากที่สุด

คุณอภิเษก อ่ำบางราย ชาวบ้านหมู่ที่ 7 บ้านบึงเรียน ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ผู้ที่ได้รับการเอ่ยถึงว่า ในฤดูแล้งที่น้ำน้อย พืชขาดน้ำ ส่งผลให้ราคาผลผลิตสูงขึ้น คุณอภิเษก เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง แล้วสามารถผลิตกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องได้มีคุณภาพที่สุดคนหนึ่ง หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า แปลงสวย

พิจารณาจากใบกล้วย ซึ่งแปลงตั้งอยู่ริมถนน พบว่า ใบกล้วยถูกลมในช่วงรอยต่อของฤดู ใบแตก ฉีก รุ่ย ไม่มีความสวย จึงวิเคราะห์ได้ว่า แปลงสวย หมายถึง การบริหารจัดการภายในแปลง แล้วได้ผลผลิตเป็นกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องที่ผิวสวย ผลใหญ่ หวีดก

คุณอภิเษก มีที่ดินสำหรับปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง จำนวน 9 ไร่ เริ่มปลูกครั้งแรกเมื่อ 15 ปีก่อน เพราะแรงจูงใจจากเพื่อนที่ทำกล้วยตากบางกระทุ่มขาย แล้วการตอบรับดี ต้องการกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเป็นวัตถุดิบ แล้วมาชักชวนให้คุณอภิเษกปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง เพื่อป้อนให้กับเพื่อนที่ผลิตกล้วยตากบางกระทุ่มด้วยกันเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณอภิเษกลงทุนปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง เต็มพื้นที่ 9 ไร่ที่มี ด้วยราคาหน่อพันธุ์เพียงหน่อละ 10 บาท

นับจากปีแรกที่ปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง diariodeunacomunicadora.com คุณอภิเษก ลงทุนปรับแปลงปลูกใหม่ครั้งต่อมา ด้วยราคาหน่อพันธุ์ 20 บาท เมื่อกล้วยชุดแรกปลูกมานาน 8-9 ปี คุณอภิเษก ถึงกับเอ่ยปากว่า การปลูกกล้วยเป็นเรื่องกล้วยอย่างชื่อจริงๆ แค่ใส่ใจ ดูแล ตามความเหมาะสม ก็ได้ผลผลิตที่ต้องการ แต่ถ้าอยากให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ก็ต้องให้การดูแลอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการให้น้ำ เพราะกล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากเป็นพิเศษ

การขุดหลุมปลูก ให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางของหลุม 50 เซนติเมตร ความลึก 50 เซนติเมตร ใช้ขี้วัว 1 กิโลกรัม รองก้นหลุม นำหน่อพันธุ์ลงปลูก ดินกลบ ไม่ต้องพูน เหยียบให้แน่น แล้วรดน้ำ

ควรลงปลูกในฤดูฝน เพราะไม่ต้องดูแลรดน้ำ อาศัยน้ำฝนช่วยดูแล ปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งหรือปลายฝน ก็เริ่มรดน้ำ 15 วัน ต่อครั้ง แต่ละครั้งของการรด ใช้วิธีสูบน้ำจากคลองธรรมชาติปล่อยเข้าแปลง ปล่อยทิ้งไว้ตลอดทั้งวัน แล้วงดน้ำ

“ที่นี่โชคดีมีน้ำในคลองตลอดเวลา ยกเว้นฤดูแล้ง น้ำในคลองแห้ง ก็มีบ่อน้ำบาดาลที่จะสูบน้ำขึ้นมารดแปลงกล้วยได้ ทำให้กล้วยที่นี่ไม่เคยขาดน้ำ กล้วยจึงมีผลเปล่งทุกฤดู แม้ว่าปกติกล้วยจะชอบดินเหนียวมาก และที่นี่เป็นดินทรายส่วนใหญ่ การกักเก็บน้ำของกล้วยจึงทำได้น้อยกว่า การรดน้ำให้ชุ่มจึงเป็นเรื่องปกติที่ควรทำ”

คุณอภิเษก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับแปลงกล้วย ยกเว้นพบว่า กล้วยเป็นโรคตายพราย โรครากเน่า จะใช้เพียงสารไตรโคเดอร์ม่า ซึ่งนานๆ จะพบ แต่โดยปกติ คุณอภิเษกจะใส่ปุ๋ยขี้วัวปีละครั้ง ปริมาณ 1 ถุงปุ๋ย น้ำหนัก 10-15 กิโลกรัม ต่อกอ โรยไว้รอบกอ และใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากทุกส่วนของกล้วยที่เหลือทิ้งหรือไม่ใช้แล้ว นำมาราดรอบกอกล้วย 15 วัน ต่อครั้ง

เมื่อกล้วยเริ่มติดเครือ ก็ใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากทุกส่วนของกล้วย นำไปฉีดพ่นที่เครือ จะช่วยให้เครือกล้วยมีความสมบูรณ์ดี แต่ละกอ ควรไว้หน่อกล้วยเพียง 4-5 หน่อเท่านั้น เพื่อความสมบูรณ์ของกล้วย

ที่ผ่านมา กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องที่ได้ผลผลิต มีความสมบูรณ์ทุกเครือ ทำให้ขายได้ราคาดี เคยติดผลผลิต 15 หวี ต่อเครือ และหากดูแลดีๆ จะได้ผลผลิตมากกว่า 15 หวีด้วย

คุณอภิเษก บอกว่า ตามธรรมชาติของกล้วย เป็นพืชที่ดูแลไม่ยากอยู่แล้ว หากปลูกปล่อยตามธรรมชาติ ด้วยสายพันธุ์ที่มีความดก หน่อพันธุ์มีคุณภาพดี การให้ผลผลิตต่อเครือที่ได้จะอยู่ที่ 6-7 หวี ต่อเครือ ก็ได้น้ำหนัก 7-8 กิโลกรัม ต่อเครือ คิดเป็นเงิน 70-80 บาท ต่อเครือ โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมาก