ผลผลิตของสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 1 เฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม

ต่อผล นั่นหมายถึง จำนวนต้นที่ปลูก 7,500 ต้น คิดผลละ 1.5 กิโลกรัม จะได้ผลผลิตต่อไร่ 11,250 กิโลกรัม หรือ 11 ตันเศษๆ แต่คุณบุญส่งบอกว่า ตนเองคัดผลผลิตที่มีคุณภาพ จะได้ของดีจริงๆ ออกวางขายในตลาด 5,000 กิโลกรัม หรือ 5 ตัน ต่อไร่ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภค ได้บริโภคของดี จะได้มีทัศนคติที่ดีต่อสับปะรดพันธุ์นี้และพันธุ์อื่นๆ

“สับปะรดส่งโรงงาน ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ 4 ปี ของผมนี่ ปลูกเก็บผลผลิตครั้งเดียว รื้อปลูกใหม่ เพราะจะควบคุมคุณภาพได้ ความหวานของสับปะรดที่ปลูก อยู่ที่ 15-17 บริกซ์” คุณบุญส่ง บอก ดูแลทั่วถึง ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าที่จำเป็น
หลังปลูก หากไม่ใช่ช่วงฝน คุณบุญส่งจะให้น้ำกับสับปะรดโดยระบบสปริงเกลอร์ ด้วยเหตุนี้ หลังปลูกไป 1 เดือน สับปะรดจะรากเดินอย่างรวดเร็ว เจ้าของจึงใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ให้ที่โคนต้น จำนวน 30 กิโลกรัมต่อไร่

เมื่อสับปะรดอายุได้ 4 เดือน ใส่ปุ๋ยที่โคนต้น สูตร 15-5-20 จำนวน 30-50 กิโลกรัม ต่อไร่ ช่วงนี้ดูใบสับปะรดประกอบ หากงามมากๆ ก็อาจจะใส่ให้แค่ 30 กิโลกรัม ต่อไร่

พอถึงเดือนที่ 6 เจ้าของฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 46-0-0 บวกกับสูตร 0-0-60 เพื่อเตรียมตัวบังคับให้ออกดอก

เดือนที่ 7 เจ้าของหยอดแก๊สแคลเซี่ยมคาร์ไบน์ให้ที่ยอด ต้นละ 2 หยิบมือเล็กๆ คุณบุญส่งบอกว่า ตนเองถนัดแบบนี้ ซึ่งแก๊สแคลเซี่ยมคาร์ไบน์ มีขายกิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนที่อื่นอาจจะใช้อเทธิฟอนฉีดพ่นให้

ก่อนหยอดแก๊ส ที่ยอดสับปะรดควรมีน้ำขัง หากไม่ใช่ช่วงฝน เจ้าของจะให้น้ำระบบสปริงเกลอร์

หลังจากหยอดแก๊สได้ 45 วัน สับปะรดก็จะมีดอกและผลสีแดงแทงออกมาที่ยอด

หลังออกดอกราว 4 เดือนครึ่ง คุณบุญส่งบอกว่า สามารถเก็บผลผลิตได้ “ให้สังเกตเมื่อดอกสีม่วงของสับปะรดโรย ฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 10-20-30 บวกกับปุ๋ยที่มีธาตุอาหารรองให้ ต่อมาอีก 1 เดือน ฉีดพ่นสูตรเดียวกันนี้อีกครั้งหนึ่งก็เก็บผลผลิตได้ การให้ปุ๋ยทางใบประหยัดกว่าให้ปุ๋ยเม็ดทางดินเสียอีก ต้นไม้รับได้ง่าย”

คุณบุญส่งบอก เละเล่าอีกว่า

“ปุ๋ยให้ 5 ครั้ง ทางดิน 2 ครั้ง ฉีดพ่นให้อีก 3 ครั้ง ศัตรูอย่างอื่น วัชพืชหมั่นดูแล ถากถางบ้าง ใช้สารกำจัดวัชพืชบ้าง แมลงมีเพลี้ยแป้ง ผมใช้น้ำส้มควันไม้ได้ผลดี โรคเน่าไม่เจอ ของผมพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน ปัจจัยการผลิตใช้เท่าที่จำเป็น อะไรที่ทำได้ก็ทำ ไม่ต้องจ้างเขา”

อยู่ห่างกรุงเทพฯ 120 กิโลเมตร แวะเวียนไปปรึกษาหารือได้

คุณบุญส่ง บอกว่า ผลผลิตที่มีอยู่ ตนเองได้นำออกจำหน่ายตามรีสอร์ตต่างๆ ตามร้านขายกาแฟ รวมทั้งร้านขายผลไม้ที่รู้จักกัน

ราคาขายนั้น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรบอกว่า เขาตั้งไว้ค่อนข้างชัดเจนและคงที่ โดยแบ่งเป็น 2 แบบด้วยกัน

แบบแรก ขายให้คนที่ซื้อไปกินโดยตรง

แบบที่สอง ขายให้กับผู้ค้า เพื่อนำไปขายต่ออีกทีหนึ่ง

ราคาทั้งสองแบบ มิตรภาพมากๆ ส่วนจะเท่าไหร่นั้นต้องคุยกับคุณบุญส่ง

สำหรับผู้ที่อยากจะไปติดต่อเพื่อซื้อขาย ให้คุณบุญส่งผลิตให้โดยตรง จำนวนเท่านั้นเท่านี้ เจ้าของบอกว่ายินดีจะพูดคุยด้วย

ไร่ส่งตะวัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 120 กิโลเมตร คุณบุญส่งแนะนำว่า แถบนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย เช่น น้ำตก ตลาดน้ำ และที่พิเศษสุดนั้น ที่นั่นมีน้ำพุร้อน องค์กรในท้องถิ่น จัดที่ให้อาบน้ำแร่สะอาดเป็นสัดส่วน

ใครที่ไปหนองหญ้าปล้อง แล้วจะต่อไปยังแก่งกระจานก็ใกล้มาก หรือจะออกไปสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ก็ใช้เวลาไม่นาน

ผู้ผ่านทางไปแถวนั้น หรือสนใจที่จะไปเที่ยวชมสับปะรดเพชรบุรี 1 ถามได้โดยตรงที่คุณบุญส่ง พูลพัฒน์ โทรศัพท์ 086-169-8033 หรือ 080-788-1100 เบอร์หลังนี่เป็นฝ่ายขาย คือลูกสาวคุณบุญส่งนั่นเอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ชัยยง ศิริพรมงคลชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมต้นแบบเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลและแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเกษตร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ลดต้นทุน ลดการใช้แรงงาน และความทนทานของผลิตภัณฑ์ รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรเลือกใช้งานและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

จุดเริ่มต้นของนวัตกรรมต้นแบบเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลและแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเกษตรนั้น เนื่องจากเล็งเห็นว่า เครื่องยนต์เล็กดีเซลเพื่อการเกษตรเป็นเครื่องจักรที่เกษตรกรนิยมใช้ในการทำเกษตรกรรม ซึ่งจะใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสามารถใช้เป็นเครื่องยนต์ เพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนยานพาหนะ รถไถนา เครื่องสูบน้ำ และประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม รวมถึงปัจจุบันน้ำมันดีเซลมีราคาที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องการลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิง จึงมักดัดแปลงชิ้นส่วนภายในของเครื่องยนต์เล็กดีเซลเพื่อการเกษตรมาใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว

“เมื่อเริ่มคิดค้นและประดิษฐ์นวัตกรรมนี้ขึ้นมา ได้ข้อเสนอแนะจากเกษตรกรหลายๆ คนว่าควรจะทำให้เครี่องยนต์สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลายชนิดในเครื่องยนต์ตัวเดียวกัน จึงจุดประเด็นให้ผมคิดที่จะทำให้เครื่องยนต์ตัวเดียว ที่สามารถจะใช้เชื้อเพลิงได้หลายอย่าง”

เมื่อดัดแปลงเครื่องยนต์แล้ว จะมีข้อจำกัดคือไม่สามารถกลับไปใช้น้ำมันดีเซลได้อีกต่อไป ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเครื่องจักรกลสำหรับใช้ในการเกษตร ที่สามารถใช้น้ำมันดีเซล และสามารถใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เครื่องเดียวกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนสลับให้ทำงานได้ในแบบเครื่องยนต์ดีเซลและทำงานได้ในแบบเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

“เมื่อทำงานได้ในแบบเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ซึ่งใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงเข้าไปแล้ว เราสามารถใช้งานได้ทั้งการวิดน้ำในนา ปั่นเครื่องปั่นไฟ ถ้าใช้ไปสักระยะหนึ่ง เกิดวิกฤต LPG สูงขึ้น และเล็งเห็นว่าไม่คุ้มค่าแล้ว จะกลับมาใช้น้ำมันดีเซลเหมือนเดิมก็ทำได้ ด้วยการถอดห้องเผาไหม้เสริมที่ผมคิดค้นขึ้นมา และนำเอาหัวฉีดน้ำมันดีเซลของเดิม กลับมาใส่เหมือนเดิม ระบบก็จะกลับมาทำงานในระบบดีเซลได้ปกติ จึงกลายเป็นระบบ 2 in 1 เมื่อคิดค้นและพัฒนาขึ้นแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองเพื่อนำไปใช้งานจริง จึงนำไปใช้ในพื้นที่นาของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ชัยยง จำนวนกว่า 100 ไร่ พบว่าได้ผลระดับหนึ่งจนเป็นที่น่าพอใจ เพราะว่าปกติแล้ว อัตราการบริโภค LPG กับดีเซล นั้นอยู่ในระดับเท่าๆ กัน เปรียบเทียบโดยการวิดน้ำ 1 ชั่วโมง และดูว่าเครื่องกินน้ำมันดีเซลและแก๊ส LPG ในปริมาณที่เท่าไร ซึ่งผลการทดลองออกมาว่าอัตราการบริโภคนั้นใกล้เคียงกัน แต่ที่ประหยัดได้เพราะราคาแก๊สนั้นไม่ได้สูงมาก จึงทำให้ประหยัดกว่า”

สำหรับการพัฒนานวัตกรรมเครื่องยนต์เล็กดีเซลเพื่อการเกษตรในครั้งนี้นั้น ใช้เครื่องยนต์สูบเดียว 4 จังหวะ ขนาดกระบอกสูบ 92 มิลลิเมตร ระยะชัก 96 มิลลิเมตร ปริมาตรกระบอกสูบ 638 มิลลิลิตร อัตราส่วนการอัด 16.1 ต่อ 1 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ระบบฉีดเชื้อเพลิงเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง (Direct Injection) มีผิวหน้าฝาสูบเรียบ เมื่อจะทำการดัดแปลงมาใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง จึงต้องลดอัตราส่วนการอัดลงเหลือประมาณ 8-12 ต่อ 1 โดยการสร้างและติดตั้งห้องเผาไหม้เสริมพร้อมหัวเทียนเข้าแทนที่ในตำแหน่งของหัวฉีดน้ำมันดีเซลเดิม ติดตั้งระบบจุดระเบิดและระบบเชื้อเพลิงก๊าซ LPG ซึ่งเป็นนวัตกรรมต้นแบบเครื่องยนต์ โดยห้องเผาไหม้เสริมจะทำหน้าที่ลดอัตราส่วนการอัดลงให้สามารถรองรับการใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะเป็นลักษณะการทำงานแบบเครื่องยนต์แก๊สโซลีน การกลับไปใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงนั้น ทำได้โดยการถอดห้องเผาไหม้เสริมออก แล้วติดตั้งหัวฉีดน้ำมันดีเซลแทนที่ห้องเผาไหม้เสริม ซึ่งจะเป็นลักษณะการทำงานแบบเครื่องยนต์ดีเซล นวัตกรรมนี้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกแก่เกษตรกรในการเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำตามสภาวะความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงทั้งสองชนิด

ด้านต้นทุนการผลิตเครื่องในการดัดแปลงนั้นอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาท เมื่ออ้างอิงข้อมูลราคาน้ำมันที่ทดลองในเดือนกันยายน 2562 ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 26.09 บาทต่อลิตร ราคาก๊าซ LPG ถังละ 15 กิโลกรัม 363 บาท ถ้าสมมติใช้งานวันละ 4 ชั่วโมง จะใช้น้ำมันดีเซลชั่วโมงละ 1 ลิตร คิดเป็นเงิน 28.35 บาท หากใช้ก๊าซ LPG จะอยู่ที่ชั่วโมงละ 0.53 กิโลกรัมต่อการใช้งาน 1 ชั่วโมง คิดเป็นเงินอยู่ที่ 12.91 บาท ถ้าโดยเกษตรกรทั่วไป หากใช้งาน 4 ชั่วโมง ก็จะประหยัดส่วนต่างระหว่างน้ำมันดีเซลกับก๊าซ LPG อยู่ที่ 15.44 บาทต่อชั่วโมง หรือเท่ากับ 61.76 บาทต่อวัน เมื่อหากคิดจากต้นทุนการดัดแปลงเครื่อง จะคืนทุนอยู่ที่ 113 วัน

นวัตกรรมที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นนั้น ในอนาคตผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ชัยยง เล่าว่า ยังคงพัฒนาตามคำแนะนำของผู้ใช้งานจริงอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดและพัฒนานวัตกรรมต้นแบบเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลและแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเกษตรในรูปแบบที่สมบูรณ์ที่สุด

สำหรับท่านใดที่สนใจเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลและแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเกษตร สามารถติดต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ชัยยง ศิริพรมงคลชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 089-789-3709

มะกรูด ถือเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์มากมาย ส่วนต่างของมะกรูดสามารถใช้ประโยชน์ได้หมด ไม่ว่า ใบมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหย และใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร ผลมะกรูดใช้แต่งกลิ่น สระผม ผิวจากลูก บำรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น เป็นต้น

สายพันธุ์มะกรูดแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือสายพันธุ์ที่ให้ผลมะกรูดดกตลอดปี ผิวผลค่อนข้างเรียบ และผลมีขนาดเล็ก อีกสายพันธุ์หนึ่งเป็นพันธุ์ผลใหญ่ และติดผลเป็นพวง

ในการปลูกนั้น ควรเลือกสภาพพื้นที่ต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง หรือปรับแต่งได้ด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสดได้ ควรมีการไถพรวนก่อนเพื่อช่วยไม่ให้ดินแน่นแข็งเกินไป

ในการปลูกมะกรูดเพื่อเป็นการค้านั้น ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกโดยการยกร่อง มีความกว้างของแปลง 1 เมตร ยกระดับความสูงของแปลง ประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ดดยใช้วิธีปลูกแบบสลับฟันปลา การใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่ง ซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย

กิ่งพันธุ์ ที่นำมาปลูก สามารถใช้ต้นพันธุ์ที่ขยายพันธุ์จากการเพาะเมล็ด กิ่งปักชำ หรือกิ่งตอน

ทั้งนี้ในการนำต้นพันธุ์มะกรูดลงปลูกมีข้อแนะนำว่า ควรหันหน้าใบทางทิศตะวันออก เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ และอีกจุดที่สำคัญของการปลูกมะกรูดเพื่อตัดใบขายนั้นจะต้องมีสภาพแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ เมื่อต้นมะกรูดมีอายุเข้าปีที่ 3 เริ่มตัดใบมะกรูดขายได้ทุกๆ 3 เดือน

ส่วนฤดูกาลปลูก มีข้อแนะนำให้ปลูกในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวจะดีที่สุด ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนมักจะพบปัญหาเรื่องโรคราเนื่องจากมีความชื้นสูง ในกรณีของเกษตรกรที่ปลูกมะกรูดเพื่อเก็บใบขายเป็นอาชีพ ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมะกรูดได้ 400 ต้น โดยใช้พื้นที่ปลูก 2×2 เมตร

หลังการปลูกต้นมะกรูดจะตั้งตัวหลังจากปลูกไปได้ประมาณ 1 เดือน มีข้อแนะนำว่า ให้ใช้ปุ๋ยยูเรียผสมกับปุ๋ยคอกเก่า ใส่ให้กับต้นมะกรูด แต่ให้ใส่ห่างจากโคนต้นสัก 1 คืบ ถ้าเป็นช่วงฤดูแล้งให้ทำเปลือกถั่วเขียวมาคลุมโคนต้น อย่าให้ติดโคนต้นเช่นกัน ปุ๋ยที่ใส่ไปจะกระตุ้นการแตกยอดให้เร็วขึ้น อายุที่เริ่มให้ผลผลิต สามารถเริ่มตัดแต่งกิ่งเพื่อจำหน่ายได้หลังจากปลูกประมาณ 4-6 เดือน จะเริ่มตัดแต่งกิ่งโดยตัดให้อยู่ในระดับความสูง 60-80 เซนติเมตร จากผิวดิน กำจัดกิ่งที่อยู่ในแนวนอนออกไป ภายหลังการตัดแต่ง ตาจะเริ่มผลิ ผลจากการศึกษา

ซึ่งไม่แน่ว่าจากมะกรูดเพียง 1 ต้นในบ้าน อาจพัฒนาไปสู่การเป็นเจ้าของสวนมะกรูดรายใหญ่ก็เป็นไปได้ไม่ยาก… ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คุณสมศักดิ์ เครือวัลย์ เกษตรกรทำสวนผลไม้ จังหวัดระยอง สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2558 เดิมทีเขาทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก และได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อมาลงทุน แต่ประสบกับภาวะขาดทุนจากสภาพพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและมีปัญหาโรคพืช จากการผลิตแบบเดิมๆ ที่มีต้นทุนสูง จึงไม่สามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมมาได้ จุดเปลี่ยนของการทำการเกษตรโดยไม่พึ่งสารเคมี เริ่มจากได้ไปศึกษาดูงานกับ ธ.ก.ส. ในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน และจากการได้รับคัดเลือกเป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสเดินทางไปอบรมสัมมนาในพื้นที่ต่างๆ หลายแห่ง โดยใช้เวลาศึกษาเรียนรู้และตัดสินใจนาน 2-3 ปี จึงตัดสินใจทำการเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่พึ่งพาสารเคมีทุกประเภท จนสามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ มีรายได้ตลอดทั้งปี

โดยคุณสมศักดิ์ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานนั้นมีความโดดเด่นเรื่อง ดังนี้ 1.3 อินทรียวัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน 2. ขั้นตอนการทำ มีดังนี้

2.1 เตรียมพื้นที่ผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ หรือถ้าเป็นพื้นดินให้ปูผ้ายางเพื่อป้องกันปุ๋ยซึมลงดิน

2.2 นำเอาวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี

2.3 เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพน้ำตาลและอ้อยใส่บัวราดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นเกินไป

2.4 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์ หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจต้องเอากระสอบที่คลุมออก แล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลง นำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป และ

2.5 บรรจุปุ๋ยหมักที่คลุกเคล้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ยไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ 5-7 วัน

ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลยแสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าเราได้ความชื้นสูงเกินไปจะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้น ความชื้นที่ได้ต้องพอดี ประมาณ 30% ปุ๋ยชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม

สำหรับวิธีการใช้ มีดังนี้

1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผัก ประมาณ 1 กำมือ

3. ไม้ผล ควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแนวทรงพุ่ม 1-2 กำมือ ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง หรือฟาง แล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม

4. ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ การทำน้ำสกัดชีวภาพ
มีกระบวนการผลิต ดังนี้

1. วัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย

1.1 ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท จะเป็นถังพลาสติกหรือจะใช้ถุงพลาสติกก็ได้

1.2 กากน้ำตาล หรือน้ำตาลได้ทุกชนิด

1.3 พืชอวบน้ำทุกชนิด เช่น ผัก ผลไม้ รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำที่สดยังไม่เน่าเปื่อย และ

1.4 หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ถ้าไม่มีให้ใช้สารเร่ง 1 ซอง)

2. ขั้นตอนการทำ มีดังนี้

2.1 ผสมน้ำกับน้ำตาล หรือกากน้ำตาล โดยแบ่งถังเป็น 3 ส่วน น้ำกับน้ำตาลส่วนที่ 1 ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารเร่ง 1 ซอง กวนให้เข้ากัน

2.2 หั่นผัก ผลไม้ให้เป็นชิ้นๆ ใส่ลงไปในถัง ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน

2.3 เมื่อครบกำหนดจึงนำน้ำสกัดไปใช้ประโยชน์ได้ และ

2.4 กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้

สำหรับวิธีการใช้มีดังนี้

1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพ อัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 500-1,000 ส่วน รดต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ

2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอกก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวน ควรทำในตอนเช้า

3. ควรใช้อย่างสม่ำเสมอ และ

4. ใช้กับพืชได้ทุกชนิด toobnetwork.com ในการเก็บรักษาควรเก็บถังหมักและน้ำกสัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม โดยจะต้องปิดฝาให้สนิท ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์และน้ำสกัดชีวภาพ คือ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของจุลินทรีย์ในดินและการเจริญเติบโตของพืชมีราคาถูกสามารถทำได้ด้วยตนเองและใช้กับพืชได้ทุกชนิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ
คุณสมศักดิ์ ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ มีความเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก ความพอประมาณ คือ เริ่มต้นจากการไม่ก่อหนี้ การทำแต่พอแรง ไม่โลภ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป มีความพออยู่พอกิน พอร่มเย็น ทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองมีความพอดีก่อน คือ มีกินก่อน ทานข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง อย่าทำแบบก้าวกระโดด พอตัวเองมีกินแล้วจึงค่อยแจกเพื่อนบ้าน แล้วจึงนำไปจำหน่าย

ขอบคุณข้อมูล จากหนังสือ การเพิ่มรายได้เกษตรกร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คุณพิสิตร์ ภูโท หรือ ผู้ใหญ่สิตร์ บ้านโนนสำเริง ตำบลน้ำอ้อม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โทรศัพท์ 089-285-5962 เป็นเกษตรกรต้นแบบด้านการทำสวนทุเรียน โดยในปี 2564 ที่ผ่านมาได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน ระดับจังหวัด และยังเป็นคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลน้ำอ้อม

ผู้ใหญ่พิสิตร์ ทำสวนทุเรียน เนื้อที่ 20 ไร่ นอกจากนั้นยังปลูกมันสำปะหลังอีกกว่า 10 ไร่ มีความรู้เกี่ยวกับการปลูก การดูแลรักษา การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การผสมเกสร และการเก็บเกี่ยวทุเรียน และที่สำคัญสวนทุเรียนของผู้ใหญ่พิสิตร์ ยังเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เครือข่ายด้านการปลูกทุเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรในพื้นที่และผู้ที่สนใจการทำสวนทุเรียน

คุณพิสิตร์ เริ่มปลูกทุเรียนเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา โดยยังไม่มีความรู้และเข้าใจธรรมชาติของผลไม้ชนิดนี้ดีนัก กระทั่งเพื่อนที่ทำงานด้านเกษตรแนะนำให้รู้จักเจ้าหน้าที่เกษตรที่จันทบุรี เพื่อให้ทดลองปลูกก่อนสัก 1 ไร่ ผู้ใหญ่พิสิตร์เผยว่า แปลงทดลอง 1 ไร่ ปลูกโดยขาดความรู้และทักษะ ไม่รู้แม้กระทั่งช่วงเวลาการดูแลและใส่ปุ๋ยจึงไม่ได้ใส่มาก ทั้งในช่วงแตกใบอ่อน ช่วงมีดอก หรือการให้น้ำ แต่กลับพบว่าทุเรียนให้ผลผลิตดี แม้จะไม่สมบูรณ์นัก

หลังจากผ่านไป 5 ปี ทุเรียนเริ่มมีผลผลิตจึงนำไปขายมีรายได้ 4-5 หมื่นบาท เขามองว่าเป็นอาชีพที่น่าลงทุนจึงตัดสินใจปลูกเพิ่มอีกในปี 2553 จำนวน 10 ไร่ และปี 2561 อีกจำนวน 10 ไร่ พร้อมกับการสะสมความรู้และประสบการณ์ด้วยการไปดูงานและศึกษาเรียนรู้จากสวนทุเรียนคุณภาพหลายแห่ง

สวนคุณพิสิตร์ ปลูกทุเรียนแบบใส่ปุ๋ยอินทรีย์และวิทยาศาสตร์ อย่างละ 50 เปอร์เซ็นต์ สลับกันในทุกช่วงเวลา ปุ๋ยตัวแรกที่ใส่หลังเก็บผลผลิตแล้ว คือ 16-16-16 จำนวนต้นละ 1 กิโลกรัมครั้งเดียว พอเริ่มแตกยอดอ่อนจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์สำเร็จจากมูลไก่และมูลวัว ให้ใส่ต้นละ 3 กิโลกรัม เพื่อบำรุงใบ ส่วนการให้น้ำ หากช่วงที่ใส่ปุ๋ยไม่มีฝนต้องรดน้ำช่วยเพื่อให้ปุ๋ยละลาย ขณะเดียวกันต้องดูแลตัดหญ้าและกำจัดวัชพืชทุกอย่างออกเพื่อให้บริเวณสวนโล่งเตียน แล้วยังต้องหมั่นนำดินไปตรวจสอบคุณภาพความเป็นกรด-ด่าง เพื่อปรับสูตรปุ๋ยซึ่งพบว่าอยู่ในเกณฑ์ดี