ผลผลิตจากไร่ภูสีเงินสวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการใช้ชีวิตในยุคโควิด-19 ระลอกใหม่ รู้สึกไหมว่าโลกช่างเล็กเสียเหลือเกิน มีคนป่วยอยู่ซีกโลกหนึ่ง แต่ในเวลาไม่นาน เชื้อโรคร้ายก็แพร่กระจายจนลามไปทั่วโลก เริ่มเหลือพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้คนได้อาศัยน้อยลง และที่สำคัญ เริ่มมีคนป่วยมากขึ้น แรงงานที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็หยุดชะงักลงเพราะสถานประกอบการต่างๆ ปิดตัวลง คนตกงานกันมากขึ้น

แต่ในโลกนี้ย่อมมีอีกด้านเสมอ นั่นคือเราได้แรงงานทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น หลายๆ คนเปลี่ยนวิถีชีวิตหันเหไปสู่ชนบท ที่มีที่ดินอยู่แล้วก็ลงมือทำเกษตรตามรอยบรรพบุรุษ หรือจากความรู้ใหม่ที่มีในขณะนี้ จากฐานความรู้เดิมที่ถ่ายทอดต่อกัน บวกกับนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้ในแปลงมีความหลากหลายมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับเกษตรกรทั่วไป

ถนนลูกรังสายเล็กๆ พาเรามุ่งหน้าไปสู่ไร่ภูสีเงิน ไร่สวนผสมผสานที่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ ว่าเป็นอีกแหล่งที่ปลูกไม้ผลจากทั่วทุกมุมโลก มิได้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เพราะหลายๆ อย่างเริ่มให้ผลผลิตที่จำหน่ายเป็นรายได้ และเมื่อติดดอกออกผลได้แน่นอนแล้วก็ขยายพันธุ์เพื่อปลูกและจำหน่ายต่อไป

ผมนัดกับ ครูเล็ก-นางสาวยุคุนธร ทองเจริญ เจ้าของไร่ที่ว่า เพราะอยากเห็น อยากสัมผัส อยากชิมให้รู้ว่าจริงไหมที่เขาเล่าลือกันนั้น เป็นไปได้ด้วย หรือกับพื้นที่บ้านเขาเลื่อมใต้ อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว จะเป็นพื้นที่ๆ ปลูกไม้ผลตระกูลเบอรี่ได้จากทั่วทุกมุมโลก และยังมีอีกมากมาย รวมถึงทราบมาว่าเลี้ยงแพะอีกด้วยนะ ตามมาเลยครับ วันนี้ผมจะพาลุยไร่สวนผสมผสานที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

พื้นที่ 7 ไร่กว่าๆ แบ่งเป็นที่อยู่อาศัย 2 งาน และเป็นบ่ออีก 2 งาน เหตุที่บ่อปูผ้าใบก็เพราะพื้นที่นี้ดินไม่อุ้มน้ำ จึงอาศัยเจาะบาดาลแล้วนำน้ำมาเก็บไว้ใน 2 บ่อนี้ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ ประมาณ 1 ไร่ ก็เลี้ยงแพะไว้ 50 ตัว ไก่ไข่จำนวนหนึ่ง ปลาดุก ปลาทับทิม และมีกบอยู่บ้าง ส่วนกุ้งก้ามแดงก็เลี้ยงไว้ศึกษาเช่นกัน ปลูกพืชผลผสมผสาน ประมาณ 2 ไร่ ได้แก่ ฝรั่ง พุทรา ลำไยคริสตัล มะม่วง อะบิว กระบองเพชรกินผล พีนัตบัตเตอร์ ฟิกส์ หูกวางกินผล ฯลฯ อีก 1 ไร่ ปลูกแบล็คเบอรี่ และมัลเบอรี่ จากทั่วโลกอีกประมาณ 3 ไร่ ซึ่งกำลังให้ผลอย่างมากมาย

จากเด็กน้อยชาวคลองหาด ลูกหลานเกษตรกรที่เติบโตมาด้วยบรรยากาศเรียบง่ายของอำเภอเล็กๆ แห่งนี้ มองเห็นภูเขาทอดยาวโอบล้อม ดินดำที่อุดมสมบูรณ์ วันหนึ่งเมื่อเรียนจบและมีอาชีพรับราชการครูก็เริ่มแต่งเติมความฝันในวัยเด็ก ด้วยการซื้อที่ไว้แปลงหนึ่งซึ่งก็คือแปลงที่ทำอยู่ปัจจุบัน จำนวน 7 ไร่เศษๆ ประกอบกับสามี (คุณปู) เรียนจบเอกเกษตรมาจาก มรภ.ราชนครินทร์ ก็เลยใช้หลักวิชาการมาร่วมในการทำเกษตรผสมผสาน

“ไร่ภูสีเงิน ชื่อฟังแล้วเหมือนนิยายโรแมนติกเลย”

“เพื่อนตั้งให้จ้ะ เขามานอนกันที่สวนแล้วมองไปที่ภูเขาในยามที่แสงสะท้อนเป็นสีเงิน” “ดีครับ อย่างน้อยก็มีสตอรี่ตั้งแต่ชื่อไร่แล้ว คิดยังไงถึงหันมาเล่นตระกูลเบอรี่ครับ”
“หม่อน หรือ มัลเบอรี่ ปกติเขาจะปลูกง่าย ดูแลง่ายและออกผลได้ไม่ยากค่ะ ที่สำคัญเป็นไม้ผลเพื่อสุขภาพ กินสดก็อร่อย แปรรูปก็ได้หลากหลาย ก็เลยอยากทำในสิ่งที่รัก”

“หมายถึงแหล่งรวบรวมทุกสายพันธุ์” “ใช่ค่ะ ที่นี่มีมาจากทั่วโลก ปลูกเพื่อสะสมศึกษาและขยายพันธุ์ต่อไปค่ะ”

“เรียกว่าเป็นรายได้อีกทางเลยนะเนี่ย และแบล็คเบอรี่ดีไหมครับ”
“ดีค่ะพี่ ดกมาก ตอนนี้ชาวบ้านเริ่มกินเป็นแล้ว เราก็เริ่มขายผลผลิตได้บ้าง ตอนนี้ก็ขยายพันธุ์ไว้ปลูกเองเป็นหลักเลยค่ะ”

“หากตั้งชื่อว่าสวนไม้ผลจากทุกมุมโลกจะได้ไหมเนี่ย”
“ไม่ถึงขนาดนั้นค่ะ เราปลูกเฉพาะที่ชอบและมองว่าจะเป็นผลผลิตที่สร้างรายได้ในอนาคตค่ะ”
“แล้วแพะ” “เราเลี้ยงแพะเนื้อ 50 ตัวเพราะมองเห็นว่าพื้นที่โดยรอบมีต้นกระถินที่แพะชอบกินอยู่มากมาย มีสวนกล้วยที่แพะกินได้ทั้งต้นใบและผล มีทุ่งกว้างหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโพดของชาวบ้านให้แพะได้หากินหญ้าและฝักข้าวโพดที่เหลือ เราสร้างเล้าไก่เพื่อมีไข่ไก่ไว้บริโภคเองในครอบครัวเล็กๆ ของเรา และแบ่งขายยามมีเพื่อนมีแขกมาสวน เลี้ยงปลาในสระที่ใช้พักน้ำบาดาลแล้วสูบน้ำที่ขุ่นขี้ปลาไปรดต้นไม้ ใช้มูลแพะ มูลไก่ มูลไส้เดือนที่ใช้เลี้ยงกบเลี้ยงอึ่งไปเป็นปุ๋ยแก่ต้นไม้ในสวนของเรา และทดลองทำแปลงปลูกฟิกส์ปลูกราสป์เบอรี่แบบเพอร์มาคัลเจอร์ ซึ่งได้ผลกับฟิกส์และราสป์เบอรี่เป็นอย่างดีเลยค่ะ”

พื้นที่ 7 ไร่ เมื่อมีการวางแผนและปลูกผสมผสานอย่างแบ่งเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ ก็ดูลงตัวกับครอบครัวๆ หนึ่ง ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ส่วนที่เป็นของเสียส่วนหนึ่งก็ไปเป็นอาหารให้ส่วนหนึ่ง เช่น มูลสัตว์ไปเป็นอาหารพืช หรือเศษพืชไปเป็นอาหารแพะ วนเวียนอยู่เช่นนี้

“เล็ก พี่ถามอีกนิด นอกจากเงินเดือนจากอาชีพครูแล้ว รายได้ส่วนอื่นมาจากไหนบ้าง”
“ขายพันธุ์ไม้ ขายผลผลิตค่ะ ทั้งในพื้นที่ ขายในสวนที่มีเพื่อนๆ มาเยี่ยมเยือน หรือขายออนไลน์”
“ตั้งใจว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต”

“ความมุ่งมั่นตั้งใจลึกๆ คืออยากให้บ้านไร่เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของชุมชน ที่จะดึงดูดผู้คนจากต่างถิ่น อาจเป็นนักท่องเที่ยว หรือคนที่สนใจในการสร้างชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ในวิถีเกษตรผสมผสานอย่างเรา ให้เข้ามารู้จักอำเภอเล็กๆ ของเรา ซึ่งมีสถานที่สวยงามตามธรรมชาติกระจายอยู่หลายจุดมากมายเลยทีเดียวในอำเภอคลองหาดแห่งนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้ชุมชนได้มีรายได้เข้ามาสร้างความเจริญให้แก่หมู่บ้านของเรา ซึ่งเรายังต้องใช้เวลาอีกสักหน่อยในการรอคอยให้ผลผลิตที่บ้านไร่ออกมาเต็มที่ และค่อยๆ สร้าง ค่อยๆ เติมแต่งบ้านไร่ให้ผู้มาเยือนได้มีที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ มีความสุข/ประทับใจที่มาเยือน และอุดหนุนผลผลิตเราต่อไป ตอนนี้ใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์ หากอนาคตมีไฟฟ้าใช้ เราคงมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นแพ็กเกจไว้เป็นของฝากแก่ผู้มาเยือนกันต่อไปค่ะ”

“หากมีเพื่อนๆ อยากมาชมได้ไหมครับ”
“ยินดีค่ะพี่ โทร.มาแจ้งล่วงหน้าสักนิดนะคะ (098) 890-0868 และ (083) 068-4192 ยินดีต้อนรับค่ะ หากบอกว่าอ่านจากหนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน รับรองมีพิเศษค่ะ”
“ขอบคุณครับ” เห็ด เป็นอาหารโปรตีนพื้นบ้านที่นิยมรับประทานกันมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ พอเริ่มเข้าหน้าฝนเห็ดนานาชนิดมีให้กินกันอย่างสำราญ บางชนิดก็เหลือเฟือขนาดเก็บมาขายจนเป็นอาชีพเสริมได้ในหน้าฝน ได้เงินกันเป็นล่ำเป็นสัน เพราะสนนราคาก็เป็นสิ่งจูงใจ เห็ดที่เก็บจากป่าเกือบทุกชนิดมีราคาแพงกว่าหมูกว่าไก่ ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในการบริโภค

เห็ดเยื่อไผ่ เป็นเห็ดที่เกิดในธรรมชาติของประเทศจีน ชาวจีนนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยก่อนสร้างกำแพงเมืองจีน มีการบันทึกว่า เห็ดเยื่อไผ่เป็นหนึ่งในยาบำรุงร่างกายของจิ๋นซีฮ่องเต้และบรรดาขุนนางชั้นสูงของจีน เมื่อปี พ.ศ. 2514 อเมริกาได้ส่ง นายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาไปเจรจาการค้าที่ประเทศจีน ได้มีโอกาสรับประทานเห็ดเยื่อไผ่กับประธานเหมาและนายโจเอินไหล นายเฮนรี่ ถึงกับพูดถึงความอร่อยของเห็ดเยื่อไผ่ ต่อมาอีกไม่นานนายเฮนรี่ได้ไปเยือนจีนอีกครั้ง ก็ได้รับการต้อนรับด้วยเมนูเห็ดเยื่อไผ่ที่ปรุงขึ้นเป็นพิเศษตามความชอบของท่าน เห็ดเยื่อไผ่จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

คนไทยก็เพิ่งจะรู้จักกินเมื่อไม่กี่สิบปีนี้ ในตอนแรกๆ มีราคาแพงจึงมาเป็นอาหารเฉพาะในภัตตาคารหรือตามโต๊ะจีนที่ราคาค่อนข้างแพง ต่อมาจึงแพร่หลายโดยทั่วไปตามร้านขายอาหารต่างๆ สนนราคาถ้วยละประมาณ 50 บาท ในร้านขายติ่มซำอาหารเช้ามักจะมีเมนูเยื่อไผ่ ซึ่งมักจะเป็นเห็ดเยื่อไผ่ตุ๋นยาจีน หรือไม่ก็เป็นเห็ดเยื่อไผ่น้ำแดง

สรรพคุณของเห็ดเยื่อไผ่คนทั่วไปมักจะรู้สึกว่าเป็นยาโด๊ป เพราะในเห็ดเยื่อไผ่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโปรตีน 15-18 เปอร์เซ็นต์ และมีกรดอะมิโนถึง 16 ชนิด จากกรดอะมิโนทั้งหมด 20 ชนิด ที่ร่างกายต้องการ และกรดอะมิโนทั้ง 16 ชนิดที่ว่านี้ เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ถึง 7 ชนิด จากการสกัดสารจากเห็ดเยื่อไผ่พบสารสำคัญ 2 ชนิดที่เป็นตัวช่วยในการปกป้องระบบประสาทไม่ให้เกิดการทำลายของสารพิษและสามารถกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทและสมองได้ นอกจากนี้ ยังพบสารอัลลันโทอินที่พบมากในเมือกของหอยทาก แต่ทว่าในเมือกของเยื่อไผ่พบมากกว่าหลายเท่า ซึ่งจะออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบและการระคายเคืองของผิว ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ลดริ้วรอยและเร่งการผลิตเซลล์ผิวใหม่ เมือกนี้จึงถูกนำมาทำเป็นเครื่องสำอางได้หลายอย่าง

คุณปราณี เพชรสวัสดิ์ แห่งปราณีฟาร์มเห็ดเยื่อไผ่ เลขที่ 119 หมู่ที่ 14 ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เล่าให้ฟังว่า ทำฟาร์มเห็ดเยื่อไผ่มาหลายปีแล้ว โดยได้ไปศึกษาหาความรู้จาก ดร.อานนท์ ปรมาจารย์ด้านเห็ด การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ขั้นแรกต้องทำเชื้อก่อน

สูตรที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อ เป็นสูตร RDA คือ ใช้มันฝรั่ง 200 กรัม น้ำสะอาด 1 ลิตร กลูโคส 20 กรัม ผสมกันแล้วต้มให้มันฝรั่งเปื่อย แล้วใส่ขวดแก้วทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำหมวกเห็ดมาเขี่ยสปอร์เชื้อเห็ดใส่ นำมาวางไว้ในที่ร่ม ประมาณ 30 วัน อุณหภูมิที่ดีคือ ประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส ถ้าอากาศหนาวเกินกว่านี้เชื้อจะเดินค่อนข้างช้ากว่าปกติ เมื่อเชื้อเดินดีแล้ว จึงนำมาเขี่ยใส่ขวดเพาะเชื้อ โดยใช้สูตร ข้าวฟ่างนึ่ง จนสุกดีแล้วนำมาผึ่งให้คลายร้อน แล้วบรรจุขวดเพียงครึ่งขวด รอให้เชื้อเดินจนเต็มที่

สูตรก้อนเห็ด

ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 94 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียด 5 เปอร์เซ็นต์ ปูนขาว 0.8 เปอร์เซ็นต์ ดีเกลือ 0.2 เปอร์เซ็นต์ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาบรรจุถุง ขนาดของถุงที่บรรจุเชื้อเห็ดปกติแต่ใส่ในปริมาณแค่ 60 เปอร์เซ็นต์ คือประมาณ 500-600 กรัม ซึ่งถ้าใส่วัสดุจนเต็ม เชื้อเห็ดจะเดินช้ากว่าปกติ และมีโอกาสเป็นเชื้อราดำได้มาก เมื่อบรรจุถุงเสร็จแล้ว นำมาเก็บในอุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เมื่อเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เพราะก้อนเห็ดที่เชื้อเดินเต็มแล้วจะไม่มีรารบกวน

วัสดุที่เตรียมเพาะเห็ดคือ มะพร้าวสับแช่น้ำให้ชุ่ม อย่างน้อย 24 ชั่วโมง โรยชั้นล่างสุดของตะกร้า ขนาด 40 คูณ 50 เซนติเมตร โรยสูงประมาณ 1 นิ้ว ส่วนชั้นที่สองให้โรยด้วยไม้ไผ่สับชิ้นเล็กๆ หรือเป็นขี้เลื้อยไม้เก่าก็ได้ แต่ก่อนนำมาใช้ต้องแช่ด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์หรือน้ำหมักจาวปลวก 7 วัน นำมาโรยเป็นชั้นที่สอง หนาประมาณ 1 นิ้ว ส่วนชั้นสุดท้ายเป็นหน้าดินหมัก โรยหนาประมาณ 2 นิ้ว หน้าดินหมักที่ว่านี้จะต้องมีส่วนผสมตามสูตรคือ หน้าดินทั่วไป จำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านการตากแดดจัด อย่างน้อย 5 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงหรือสัตว์ที่กัดกินเห็ดให้ตายให้หมด ขุยมะพร้าว 30 เปอร์เซ็นต์ ขี้วัว 20 เปอร์เซ็นต์ หมักน้ำจุลินทรีย์หรือใส่จุลินทรีย์ พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน หมั่นกลับกองทุกวันจนไม่มีความร้อนจึงนำมาใช้ได้

เมื่อโรยวัสดุในการเพาะเห็ดครบหมดแล้วก็รดน้ำให้ชุ่ม เอาเชื้อเห็ดตัดเป็นท่อนๆ ตามขวาง วางบนตะกร้า ตะกร้าละ 6 แว่น นำผ้าพลาสติกคลุม หรือถ้าเป็นตะกร้าก็ให้สวมด้วยถุงขยะดำ วางไว้ในที่ร่ม หรือใต้ซาแรน 80 เปอร์เซ็นต์ และควรอยู่ในหลังคา ในระหว่างนี้ไม่ต้องรดน้ำ เพราะความชื้นที่รดไว้มีเพียงพอ ใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ เส้นใยของเห็ดจะเริ่มเดินกระจายไปทั่วตะกร้า ก็จะเอาถุงดำหรือพลาสติกที่คลุมออก วางไว้ในที่ร่ม ในตอนนี้จะต้องรดน้ำเช้า-เย็น ด้วยหัวพ่นฝอยจะดีกว่ารดด้วยมือหรือสปริงเกลอร์ ในช่วงนี้อาจมีการโรยแกลบดิบหรือฟางข้าวเพื่อรักษาความชื้นบนหน้าดิน ในหน้าฝนให้โรยแค่บางๆ ส่วนหน้าร้อนจะต้องใส่มากหน่อย

ในอุณหภูมิปกติจะใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน หลังจากนี้ จะเกิดเป็นตุ่มเห็ดขนาดเท่าไข่จิ้งจก ใช้เวลาต่อจากนี้ไปอีก 15 วัน ก็จะโตเท่าไข่ไก่ เนื้อข้างในจะเป็นชั้นๆ เหมือนเห็ดตูมทั่วไป เห็ดที่มีขนาดเท่าไข่ไก่นี้สามารถนำไปทำเป็นอาหารได้หลายอย่างเหมือนกับเห็ดฟาง สามารถเก็บในตู้เย็นได้ไม่กี่วัน แต่เห็ดเยื่อไผ่ในขั้นตอนนี้ไม่มีการจำหน่ายโดยทั่วไป เนื่องจากยากแก่การขนส่ง แต่สรรพคุณในช่วงนี้เยอะมาก เป็นที่น่าเสียดายที่ปกติจะไม่มีโอกาสลิ้มรส

ขั้นตอนในการทำเห็ดเยื่อไผ่ไม่ได้จบแค่นี้ เพราะจะต้องรออีกประมาณ 7-12 วัน เห็ดจะเจริญเติบโตไปเรื่อย จนหัวเห็ดจะดันหมวกเห็ดออกมาและจะโผล่ลำต้นที่เป็นร่างแหออกมา จึงจะเด็ดออกมาจากตะกร้า ในช่วงเวลานี้ที่เป็นเห็ดสดก็สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดเช่นกัน เมื่อเก็บเห็ดออกมาแล้วก็จะนำไปตากแดดธรรมดา 1 แดด เพื่อลดความชื้นลง ก่อนนำไปใส่ตู้อบอีกครั้ง เพื่อให้เห็ดแห้ง ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน ในขั้นตอนการอบนี้ทางฟาร์มเห็ดจะไม่ได้ใช้กำมะถันรมเพื่อให้มีสีขาวเหมือนของจากต่างประเทศ ซึ่งการรมกำมะถันจะเป็นอันตรายต่อการบริโภค ยกเว้นจะต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง เห็ดของฟาร์มจึงมีสีคล้ำกว่าเห็ดจากต่างประเทศเพราะสาเหตุนี้ ซึ่งคุณปราณีบอกว่า ถึงเห็ดจะเป็นสีคล้ำก็จริงเมื่อล้างและแช่น้ำแล้วก็จะขาวเหมือนปกติ

การเก็บวุ้นเห็ด

การเก็บเอาวุ้นของเห็ด ก็จะต้องเก็บจากเห็ดก่อนที่เห็ดจะดันขึ้นมาจนเปลือกนอกแตก เพราะวุ้นจะเกิดระหว่างเปลือกชั้นแรกกับตัวดอก ซึ่งจะมีน้ำหนัก 1 ใน 3 ของน้ำหนักดอกสด ในธรรมชาติวุ้นจะทำหน้าที่เก็บความชื้นและป้องกันไม่ให้แมลงมากินดอก การเก็บจะเอามือค่อยๆ แกะเปลือกออก แล้วเอาช้อนขูดจนถึงเนื้อสีเหลือง แล้วนำไปแช่ช่องแช่แข็งรวบรวมไว้ วุ้นนี้แหละจะนำไปทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีราคาค่อนข้างแพง แต่มีสรรพคุณมากมาย ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ทำจากวุ้นของเยื่อไผ่ เช่น เซรั่มเห็ดเยื่อไผ่ มีสรรพคุณป้องกันสิวฝ้า ผิวหน้าใสกระชับ สบู่ น้ำแร่เห็ดเยื่อไผ่ เจลทำความสะอาดเครื่องสำอาง

คุณสมบัติของเห็ดเยื่อไผ่มีมากมายเหมาะสมกับราคา ปัจจุบันนี้มีเห็ดแห้งที่เราสามารถนำมาทำเองได้หรือไม่ก็สั่งเป็นเมนูตามร้านอาหารทั่วไปด้วยสนนราคาไม่แพงแล้ว ถ้ายังไม่เคยชิมก็ลองดูได้ครับ

“อิสระ 01” กัญชาสายพันธุ์ไทยได้เปิดตัวในงาน มหกรรมกัญชากัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมี น.พ. อิสระ เจียวิริยบุญญา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ได้มาให้ความรู้ ในหัวข้อ “อิสระ 01 : Why and What Next” เป็นหัวข้อที่เก็บการให้ความรู้กัญชาพันธุ์อิสระ 01 ทั้งในทางกฎหมายและทางแพทย์ เพื่อนำไปต่อยอดสู่การใช้งานในอนาคต

ต้นกำเนิด กัญชง กัญชา ในประเทศไทย
เริ่มต้นที่ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียง ซึ่งมีอายุมากกว่า 5,000 ปี โดยเครื่องปั้นดินเผามี 3 ยุค แต่ยุคแรกมีเอกลักษณ์คือลวดลายที่เกิดจากเชือกที่ทำมาจากกัญชง มาม้วนอยู่ที่เครื่องปั้นดินเผา ซึ่งการขุดค้นพบภาชนะดินเผาที่บ้านเชียงนั้น มีลายตรงลายผ้าบาติคของชาวม้งในปัจจุบัน นั้นก็หมายความว่า พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเรามีการใช้กัญชงมามากกว่า 5,000 ปี เพราะเนื่องจากชาวม้งในอดีตต้องสืบทอดพันธุ์กัญชงไว้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อที่จะเป็นยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม และเป็นทั้งที่อยู่อาศัย

Why : ทำไม กัญชา หรือกัญชง ถึงผิดกฎหมาย
ตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปี พ.ศ. 2477 เราสามารถใช้กัญชาหรือกัญชงได้อย่างถูกกฎหมาย ก่อนที่จะมี พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติ)กัญชา พ.ศ. 2477 ทำให้การครอบครองและการสูบกัญชามีความผิด แต่ใน มาตรา 5 ได้ระบุไว้ว่า ตั้งแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นต้นไป ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกกัญชาหรือมีพันธุ์กัญชาไว้ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสามารถอนุญาตให้ใช้ได้แต่เฉพาะบุคคล สามารถปลูกหรือมีพันธุ์กัญชาไว้เพื่อการทดลองหรือเพื่อประโยชน์ทางโรคศิลปะก็ได้ นั้นหมายความว่า การใช้กัญชามีความผิด แต่ถูกยกเว้นมาใช้ได้ในทางการแพทย์มาโดยตลอด แต่ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ส่วนกัญชงนั้นเพิ่งจะมาถูกบรรจุเป็นสิ่งผิดกฎหมายในภายหลัง

ทำไม ถึงเป็น “อิสระ 01”
ถึงแม้การใช้กัญชาเพื่อการแพทย์จะถูกกฎหมายหลัก (พ.ร.บ. กัญชา พ.ศ. 2477) ก็ยังผิด เนื่องจาก (พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522) แต่เมื่อมีกฎหมายใหม่ (พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562) ออกมา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีการนิรโทษกรรมใครก็ตามที่กระทำความผิดในฐานะมีการครอบครอง ผลิตหรือปลูกกัญชา กัญชง

ซึ่ง นายแพทย์อิสระ กล่าวว่า เคยบังเอิญไปปลูกกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จำนวน 20 ต้น กับอีก 40 เมล็ด นั้นถูกละเว้นความผิด เมื่อกัญชาที่ผมปลูกถูกละเว้นความผิดแล้ว ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 เรายังไม่เคยมีชื่อพันธุ์พืชกัญชาในประเทศไทย (เนื่องจากกัญชาเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในสมัยก่อน จึงไม่สามารถยื่นขอชื่อพันธุ์พืชได้) กรมวิชาการเกษตร จึงยินยอมเข้าสู่กระบวนการทำ พ.ร.บ. พันธุ์พืช ปี 2518

“แล้วตอนที่ผมนิรโทษกรรม ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขอเมล็ดพันธุ์ไปทดลองปลูก บังเอิญตอนปลูกต้องแจ้งชื่อพันธุ์กับทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แต่ไม่สามารถระบุชื่อพันธุ์ได้ เพราะเราไม่เคยตั้งชื่อพันธุ์กัญชามาตั้งแต่ยุคของชาวม้ง เมื่อ 3,000 ปีก่อน จึงตั้งชื่อให้ว่าเป็น “อิสระ 01” ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นพืชที่ถูกจองจำและถูกกล่าวหาเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมาเป็นเวลานาน

(การยื่นพันธุ์พืชของ พ.ร.บ. พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 นั้นหมายถึง การบอกว่าพันธุ์พืชนี้เป็นของประเทศไทย ไม่ใช่การบอกว่าใครสามารถปลูกพันธุ์นี้ได้บ้าง ซึ่งการตรวจพันธุ์พืชนั้น ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี เพื่อที่จะหารูปร่าง ถิ่นที่กำเนิด และวิธีการปลูก และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ให้เป็นพันธุ์พืชกัญชาของไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นต้องดำเนินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งทำให้ทุกคนในประเทศไทยมีสิทธิ์เอา อิสระ 01 ไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อ เพื่อไปทำการคุ้มครอง คนที่สามารถนำไปพัฒนาและยื่นคำขอการคุ้มครองพันธุ์พืชได้ จึงจะมีสิทธิบัตรในพันธุ์พืชนั้น”

ทางด้านกฎหมาย

เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกระทรวง เรื่องพันธุ์พืชชนิดใหม่ ขอรับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 (ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการถึงขั้นอนุกรรมการเห็นชอบแล้ว ลำดับต่อไปจะเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช หากเห็นชอบแล้วจะส่งเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกระทรวงต่อไป
2. กรมวิชาการเกษตร ออกระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการรับคำขอและการปลูก ตรวจสอบคุณสมบัติของพันธุ์พืชใหม่ (ทุกคนที่มีพันธุ์พืชสายพันธุ์อื่นๆ หลังจากเอกสารฉบับนี้ออกไป สามารถเข้าสู่กระบวนการรับคำขอและตรวจสอบคุณสมบัติพันธุ์พืชนี้ได้ ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี)

การตรวจสอบพันธุ์พืช คืออะไร?
การตรวจสอบพันธุ์พืชคือ คุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งจะต่างกับ พ.ร.บ. พันธุ์พืช ตรงที่ พ.ร.บ. พันธุ์พืชนี้ จะเป็นตัวบ่งบอกลักษณะต่างๆ ว่า ใบหรือลำต้นอย่างไรเรียกว่ากัญชงหรือกัญชา แต่เมื่อไรก็ตาม ที่คุ้มครองพันธุ์พืชจะต้องลงลึกถึงระดับ เจเนติก(genetic) ว่ามีความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่นอย่างไร ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือ อิสระ 01 นี้จะเป็นตัวแทนการตรวจสอบพันธุ์พืชเพื่อเป็นตัวแทนของกัญชาในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์แรก เพราะหากเจเนติกในต้นกัญชาของเราไปซ้ำกับสายพันธุ์ของต่างประเทศ หากส่งออกจะต้องเสียลิขสิทธิ์ให้กับเขาด้วย

ทางด้านการแพทย์
โรงพยาบาลกรมการแพทย์มะเร็งอุดรธานีและมูลนิธิมะเร็งอุดรธานี ปลูกอยู่ 2 ลักษณะ คือ

ปลูกใน green house ของโรงพยาบาล รูเล็ตออนไลน์ โดยเหตุผลที่ทำเพื่อตำรับยาโบราณ ชื่อ สนั่นไตรภพ เพื่อที่จะรักษามะเร็งตับกับท่อน้ำดี ภายใต้คลินิกการแพทย์ไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai Medicine)
– คือ การรักษาระหว่างแพทย์แผนไทยกับแพทย์แผนปัจจุบัน มาร่วมด้วยกัน ส่วน what’s next (จะทำอะไรต่อ) คือ ทางโรงพยาบาลจะปลูกกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์

– เปิดการสอนปลูกต้นกัญชาเพื่อทางการแพทย์ คือ Training Course : growers (เป็นการสร้างนักปลูกกัญชา ซึ่งจะมีวุฒิบัตรรับรอง) ภายใต้สถาบัน Medical Thai Cannabis Academy (MTCA)

– การทำศูนย์เพาะต้นกล้ากัญชา แล้วส่งให้ผู้ที่ได้รับใบรับรองในการปลูกกัญชา เช่น วิสาหกิจชุมชนที่ได้รับอนุญาต หรือ ผู้ป่วย/ประชาชน ที่ต้องรักษาตัวเอง

2. การปลูก out door ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชน ในปี 63 ปลูกเพื่อรับรองพันธุ์พืชเพื่อขึ้นทะเบียนกับทางกรมวิชาการเกษตร แต่ปัจจุบันได้รับการรับรองเรียบร้อยแล้ว ถัดไปเราจะทำเมล็ดพันธุ์รับรองและพัฒนาสายพันธุ์ต่อ (ทางวิสาหกิจชุมชนสามารถทำเมล็ดพันธุ์รับรองได้ ส่วนการพัฒนาสายพันธุ์ ทุกคนมีสิทธิ์จะนำไปพัฒนาต่อได้)
– green house ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำส่งให้องค์การเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง สสจ. อุดรธานี

– in house ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดแพร่ ทำ tissue culture & cloning คือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและขยายพันธุ์