ผลผลิตดก ยอดสั่งจองข้ามปีพุทราที่สวนลุงวิโรจน์ค่อนข้างดกต้น

ให้ผลผลิตประมาณ 50 กิโลกรัม หากอยากกินต้องสั่งจองข้ามปี ด้วยรสชาติที่หวาน กรอบ อร่อย มีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ถ้าเป็นผลใหญ่นับได้เพียง 7 ลูก ต่อ 1 กิโลกรัม ราคาขายหน้าสวนกิโลกรัมละ 60 บาท ราคาขายหน้าร้านกิโลกรัมละ 80 บาท

ราคาขายลูกเล็กจะแพงกว่าลูกใหญ่ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจมาตลอดว่า พุทราต้องลูกใหญ่สิจะอร่อยและแพงกว่า แต่กลับผิดคาด ลุงวิโรจน์ บอกว่า พุทราลูกเล็กจะมีราคาแพงกว่า เพราะรสชาติจะหวานและกรอบกว่า ได้ยินแบบนี้แล้วต้องเปลี่ยนความคิดและวิธีเลือกซื้อพุทรากันใหม่แล้ว

เรื่องรายได้ไม่ต้องพูดถึง ลองคิดคำนวณเล่นๆ ว่า หากอยากจะปลูกเล่นๆ สัก 2 ไร่ ก็น่าจะสามารถทำเป็นรายได้เสริมได้ ทั้งนี้ควรศึกษาข้อมูล หรือการตลาดให้รอบด้าน

การตลาด

เริ่มแรกที่สวนลุงวิโรจน์มีบริษัทมาทำตลาดให้ พอหลังจากหมดสัญญา 4 ปี หันมาทำเอง ให้ลูกสาวทำการตลาดให้โดยวิธีโพสต์ข่าวสารลงเพจเฟซบุ๊กของสวนตนเอง มีการอัพเดทข้อมูลตลอดว่า ตอนนี้ที่สวนเป็นอย่างไร มีผลผลิตไหม ผลผลิตเป็นอย่างไร เหมือนกับเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ และเป็นการจูงใจลูกค้า หากเกษตรกรท่านใดอยากจะลองหันมาทำการตลาดทางด้านออนไลน์ก็ได้ ไม่ว่ากัน ถือว่าเป็นการขยายช่องทางการขาย โดยลูกค้าของสวนลุงวิโรจน์ส่วนใหญ่ที่เข้ามาทักทายเข้ามาชมสวน ก็ทราบข่าวมาจากทางเพจเฟซบุ๊ก ทุกวันนี้แค่ยอดสั่งจากทางเฟซบุ๊กก็เยอะจนไม่มีผลผลิตไปวางขายที่หน้าร้านแล้ว

แนะนำสำหรับเกษตรกรที่สนใจอยากปลูก

“พุทราปลูกได้ทั่วไป คนทั่วไปปลูกได้ เราเพียงแต่ดูแลเรื่องของแมลง โรคต่างๆ เพราะโรคบางอย่างเกิดจากแมลงเพราะฉะนั้นโคนต้นควรทำให้สะอาด หรือหากอยากปลูกไว้กินเองที่บ้าน สัก 1 ต้น ก็ไม่ยาก พุทราต้องใช้นมรด ถ้าไม่มีนมวัวให้ใช้นมสด หรือนมเปรี้ยวแทนได้ วิธีป้องกันแมลงแบบชาวบ้านคือ ใช้สารสะเดา หรือให้เริ่มห่อผลเมื่อผลมีขนาดเท่าเหรียญ 10 ห่อด้วยถุงพลาสติกหรือกระดาษฉาบยูวี เพราะช่วงนี้หนอนจะเริ่มวางไข่ ให้ห่อดักไว้ก่อน” ลุงวิโรจน์ แนะนำ

อนาคตของพุทราสดใส

เพราะการดูแลพุทราค่อนข้างยาก คนทำทั่วไปก็ถอยกันหลายกลุ่ม บางสวนทำแล้วขายไม่ได้ เพราะผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ไม่ทำตามสูตรที่มี บางคนถึงเวลาใส่นมก็ไม่ใส่ จะมาใส่อีกทีตอนเก็บผลผลิตมันก็ไม่ทันแล้ว ดังนั้น ต้องเอาใจใส่ตั้งแต่ยังเล็กเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั่วไปก็มีการปลูก แต่ถ้าให้อร่อยต้องที่วังน้ำเขียว ด้วยปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย

ดร. พยอม โคเบลลี่ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ มีข้อคิดเห็นกับสถานการณ์ข้าวไทยในปัจจุบันและอนาคตว่า สำหรับสถานการณ์ข้าวในปี 2560 ทางภาคอีสาน ภาพรวมดีกว่าปี 2559 แต่อาจจะประสบปัญหาในเรื่องของผลผลิตน้อย เพราะเนื่องจากปี 2560 ฝนตกชุก ส่งผลให้น้ำท่วมนาข้าวเสียหาย โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มแถบภาคกลางเสียหายไปเป็นจำนวนมาก แต่ทางภาคอีสานพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนาดอน มีส่วนน้อยจะถูกน้ำท่วม

จากที่ ดร. พยอม ได้ลงสำรวจพื้นที่ทางจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานี ชาวนาส่วนใหญ่บอกว่าผลผลิตปีนี้ถือว่าพอรับได้ แต่ต่ำกว่าปีที่แล้ว ด้วยปัจจัยนี้จึงส่งผลให้ราคาข้าวขยับสูงขึ้นกว่าช่วงต้นปี จากเดิม ปี 2559 กิโลกรัมละ 5-6 บาท ปี 2560 ขยับขึ้นเป็น 8-9 บาท นับว่าเป็นที่น่าพอใจ แต่จะน่ายินดีกว่านี้หากราคาข้าวอยู่ในเกณฑ์ กิโลกรัมละ 13-15 บาท ชาวนาถึงจะอยู่ได้

สถานการณ์ข้าวในปี 2561 ในมุมองของ ดร. พยอม มีความคิดว่า ราคาข้าวอาจจะขยับตัวสูงขึ้นกว่าปี 2560 อีกนิด แต่ชาวนาก็ยังคงต้องประสบกับภาวะราคาข้าวที่ผันผวน ขึ้นลง วันละ 3 ครั้ง เพราะฉะนั้นทางออกที่ดีที่สุดของเกษตรกรคือ การพัฒนาตนเองหันมาใช้การตลาดนำการผลิต หรือการนำนวัตกรรมด้านข้าว ในเรื่องของการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยเหลือตนเองมากกว่าการพึ่งภาครัฐ อยากให้เกษตรกรช่วยเหลือตนเองก่อน นี่คือวิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว ไม่ว่าปีไหนๆ พี่น้องเกษตรกรชาวนาก็ไม่เดือดร้อนกับราคาข้าวที่ผกผันอยู่ทุกวัน

สาเหตุของปัญหาคือ พฤติกรรมการทำนาที่เปลี่ยนไป

ดร. พยอม เล่าว่า เมื่อก่อนการทำนาในสมัยรุ่นปู่ รุ่นย่า ทำโดยไม่พึ่งสารเคมี ใช้แต่ความขยันหมั่นลงแปลงทุกวัน มีการเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย นำมูลสัตว์มาใส่ไร่นา ไร่นาก็สวยงาม ปลอดสารเคมี ควายที่เลี้ยงก็นำไปไถนา ดังนั้น คนสมัยก่อนจะไม่มีต้นทุนอะไรเลย นอกจากการใช้แรงของตนเอง เราจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไม ชาวนาสมัยก่อนถึงอยู่มาได้ ต่างกับชาวนาสมัยใหม่ มีความเจริญเข้ามา

ส่งผลให้ชาวนายุคใหม่มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำนา จากเมื่อก่อนใช้วิธีธรรมชาติทำลายแมลงศัตรูพืช ในปัจจุบันก็หันมาพึ่งสารเคมีกันหมด หรือยิ่งไปกว่านั้น เกษตรกรไม่ลงแปลงเอง สั่งการโดยการใช้โทรศัพท์ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดปัญหาโรคระบาดจึงแก้ไม่ทัน และประกอบกับช่วงหลายปีมานี้ทางภาคอีสานเริ่มมีการปลูกยางพารา ส่งผลให้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ต้นทุนเพิ่มขึ้น ระบบการทำนาเปลี่ยนไป เมื่อก่อนปลูกข้าวปีละครั้ง เพื่อให้ดินได้พักตากแดดฆ่าเชื้อโรค การปลูกก็ใช้แรงงานคนหยอดหลุมเป็นระเบียบ เก็บเกี่ยวง่าย มีช่องว่างที่พอเหมาะ ไม่กักเก็บโรค แต่ปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่ใจร้อนอยากได้ผลผลิตมาก ทำนาปีละ 2 ครั้ง ด้วยวิธีการหว่าน วิธีนี้ทำให้ดูแลจัดแปลงยาก เมื่อเกิดโรคแมลงจะควบคุมไม่ได้

แนวทางการแก้ปัญหาช่วยชาวนา

ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ตัวเกษตรกรชาวนาต้องช่วยเหลือตนเองก่อน ทางภาครัฐมีหน้าที่ให้ความรู้ สนับสนุนข้อมูล หรือคิดค้นนวัตกรรมช่วยชาวนาก็ทำอย่างแข็งขัน เจ้าของโรงสีหรือล้งรับซื้อข้าวอย่าเอาเปรียบชาวนา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่ายุทธการณ์ล่อแมงเม่าเข้ากองไฟ หมายความว่าตอนเช้าราคาข้าวสูง ชาวบ้านก็แห่กันเอาข้าวไปขาย แต่พอตกช่วงสายๆ ราคาข้าวลง เขาก็ไม่มีตัวเลือก เพราะการขนส่งถือว่ามีต้นทุนค่าน้ำมันแล้ว จะขนข้าวกลับก็ไม่คุ้ม จำใจต้องขาย ดังนั้นจึงอยากให้ร่วมมือกันหลายๆ ฝ่าย หากทุกฝ่ายช่วยเหลือกันสถานการณ์ข้าวไทยจะมีความเข้มแข็งและมีอำนาจการต่อรองกับคู่ค้าต่างประเทศได้มากขึ้น และประโยชน์เหล่านี้ก็จะมาตกอยู่ที่ทุกฝ่าย

อย่าทำตามกระแส เห็นปีนี้ราคาข้าวเหนียวดี ก็หันไปปลูกตามคนอื่นบ้าง ความคิดแบบนี้จะเกิดปัญหาวนกลับมาแบบเดิมคือ เมื่อคนปลูกเยอะ ผลผลิตล้นตลาด ดังนั้น อยากให้เกิดความคิดวิเคราะห์ก่อน หรือแนะนำให้ทำอะไรที่แปลกไม่เหมือนคนอื่น ศึกษาหรือสอบถามนักวิจัยประจำของจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ก็ได้
เกษตรกรชาวนาควรจดบันทึกค่าใช้จ่ายทุกครั้ง ปัญหาคือเกษตรกรไม่มีการจดบันทึก ดังนั้น จะไม่มีทางรู้เลยว่าสิ่งที่ทำไปได้กำไร หรือขาดทุนไปเท่าไร ถ้าเกษตรกรหันมาจดบันทึกค่าใช้จ่ายในการทำนาแต่ละรอบ ก็จะสามารถรู้ต้นทุนการผลิต และเห็นจุดที่ต้องลด หรือควรแก้ปัญหาตรงไหนที่อาจฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ จุดนี้ถือเป็นจุดสำคัญแต่เกษตรกรมองข้าม

ถ้าหันมาใส่ใจตรงนี้สักนิดรับรองได้ว่าจะมีเงินเหลือเก็บและลดปัญหาการขาดทุนจากการทำนาได้มากกว่านี้
พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ มีการส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนทางเศรษฐศาสตร์ ด้านของนวัตกรรมและการแปรรูป คือพูดง่ายๆ คือชาวนายุคใหม่ต้องมีหัวการค้า เพราะชาวนารุ่นเก่าเป็นเกษตรกรที่ไม่มีทางเลือก ทำสืบทอดจากบรรพบุรุษมา จะมีความรู้เฉพาะในเรื่องของการปลูก
ดังนั้น เราต้องผลักดันเกษตรกรรุ่นลูกเพื่อให้กลับมาพัฒนาการตลาด สามารถนำองค์ความรู้ที่เรียนมาต่อยอดผลผลิตโดยที่ไม่ต้องง้อพ่อค้าคนกลาง ตราบใดที่เกษตรกรทำตลาดเองไม่ได้ ก็ต้องประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ค้นพบ “ช้างงาเอก” พืชชนิดใหม่ของโลก เป็นพืชเป็นไม้พุ่มสูง ๑-๒ ม. กิ่งเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก เป็นสี่เหลี่ยม เปลือกเรียบ เมื่ออ่อน สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้ม มักมีช่องอากาศ เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน ส่วนต่าง ๆ มียางสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ตายอดอยู่ในซอกก้านใบที่ปลายกิ่ง

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปใบหอกแกมรูปไข่ รูปไข่ หรือรูปรี ปลายเรียวแหลมหรือแหลม แข็ง โคนเว้ากึ่งรูปหัวใจ ขอบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย หนา แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ช่วงปลายพับหากันรูปคล้ายอักษรวี มักบิดและโค้งลง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอ่อน เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน เส้นกลางใบเป็นร่องตื้นทางด้านบน เป็นสันนูนทางด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ ๑๒-๒๐ เส้น ปลายโค้งจดกับเส้นถัดไปใกล้ขอบใบเป็นเส้นขอบใน เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดทั้ง ๒ ด้าน ก้านใบยาว ๐.๒-๑ ซม. มีรอยย่นตามขวาง ใบอ่อนสีแดง มีรสเปรี้ยว

ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ออกตามซอกใบที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบที่ใบร่วงแล้ว ดอกตูมมีกลีบเลี้ยงสีชมพูหรือสีชมพูอมเหลืองอ่อน ดอกบานสีเหลืองอ่อนหรือสีนวล เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๘-๑ ซม. ก้านดอกสั้น ใบประดับรูปสามเหลี่ยมแคบหรือรูปสามเหลี่ยม กว้าง ๑.๕-๒.๕ มม. ยาว ๐.๒-๑ ซม. ค่อนข้างหนา กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ ๔ กลีบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ค่อนข้างหนา กลีบเลี้ยงรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง ๒.๕-๓.๕ มม. ยาว ๓-๖ มม. เป็นแอ่ง กลีบดอกรูปไข่กลับกว้าง กว้าง ๓.๕-๗ มม. ยาว ๕.๕-๘.๕ มม. ปลายมนกลม โค้งออกทางด้านนอก ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็น ๔ กลุ่ม (รวมกันเป็นกลุ่มเค้าโครงรูปสี่เหลี่ยม) ก้านชูอับเรณูสั้น โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก อับเรณูสั้น มี ๒ พู ไม่มีเพศเมียเป็นหมัน ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้เป็นหมันเชื่อมติดกันเป็น ๔ กลุ่ม รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒-๓ มม. ยาว ๑.๕-๒ มม. มี ๔-๖ พู มี ๔-๖ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียรูปครึ่งทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๕-๓.๕ มม. ยาว ๑.๕-๒ มม. มีปุ่มเล็ก

ผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๒ ซม. ยาว ๕-๗ มม. มี ๔-๖ พู เห็นชัด ผลดิบสีเขียว มีจุดสีขาว สุกสีแดง เกลี้ยง เป็นมัน มีกลีบเลี้ยงติดทน ยอดเกสรเพศเมียติดทน แบน รูปวงกลม เป็นแฉกตามรัศมีหรือไม่เป็นแฉก เมล็ด ๔-๖ เมล็ด เปลือกเมล็ดมีเยื่อหุ้ม อาจมีเมล็ดฝ่อ

ช้างงาเอก กระจายพันธุ์ในประเทศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดนครพนม พบตามป่าดิบแล้งและชายป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับทะเล ๑๕๐-๒๒๐ ม. ออกดอกเดือนธันวาคมถึงกรกฎาคม เป็นผลเดือนธันวาคมถึงเมษายน มักเป็นผลเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ในต่างประเทศคาดว่าพบที่ลาว ช้างงาเอกมีกลุ่มประชากรขนาดเล็ก ชาวบ้านใช้รากเป็นพืชสมุนไพร นำไปดองเหล้า มีความเชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นสาเหตุทำให้จำนวนประชากรลดลง จึงจัดอยู่ในสถานภาพพืชมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์

คุณสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหาร กล่าวว่า จากสถานการณ์ยางพาราในประเทศไทยหลายปีที่ผ่านมา ราคาตกต่ำค่อนข้างน่าเป็นห่วง ถ้าเปรียบเทียบราคาเมื่อตอน ปี 2540-2548 ราคายางพาราจะดี แต่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาราคาตก สืบเนื่องจากหลายปัจจัย แต่ปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนคือ

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เพราะผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากยางทั้งหมดทั่วโลกที่เราใช้ทำมาจากยางแท้เพียง 40 เปอร์เซ็นต์ อีก 60 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือคือทำมาจากยางสังเคราะห์ผสมกับน้ำมัน ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกขึ้นราคา ยางก็จะขึ้นตามไปด้วย ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นยางธรรมชาติราคาจะปรับขึ้นไปด้วย
เกิดภัยทางธรรมชาติที่ไม่อาจคาดเดาได้ ยกตัวอย่าง เมื่อ ปี 2554 เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตยางมากที่สุดในโลก แต่ผลผลิตเสียหายจากน้ำท่วม ปริมาณการส่งออกไม่พอ ต่างชาติก็ต้องไปหาจากแหล่งอื่น
มีการเกร็งกำไรในตลาดล่วงหน้าของผู้ค้ายาง เปรียบเหมือนตลาดหุ้นมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันตลอด และอัตราการแลกเปลี่ยนในปีหน้ากับปีที่ผ่านๆ มาค่อนข้างจะต่างกัน ค่าเงินดอลลาร์ลดลง เงินบาทแข็งค่า ผลกลับมาจะน้อยลง ปัญหาจะอยู่แบบนี้ทุกปี มีขึ้น มีลง อีกอย่างคือ ความมั่นคงในประเทศก็มีผล

มีส่วนแบ่งทางการค้าเยอะ ผลผลิตของประเทศไทยมีมาร์เก็ตแชร์ 33 เปอร์เซ็นต์ จากทั้งโลก ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้น แต่ตลาดมีความต้องการเท่าเดิม คือ 12 ล้านตัน ต่อปี ซึ่งทั้งโลกผลิตได้ 12.3 ล้านตัน ต่อปี
พฤติกรรมของเกษตรกรเปลี่ยนไป เมื่อปี 2554 ราคายางสูง ก็เปลี่ยนมาปลูกยางกันหมด และไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยที่ขยายพื้นที่การปลูก ต่างประเทศอย่าง กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ซึ่งถ้านับระยะการปลูก จากปี 2554-2560 เป็นเวลา 7 ปี เข้าปี 2561 ยางมีการเปิดกรีด ตรงนี้ผลผลิตเริ่มเข้ามา ทำให้ประเทศคู่ค้ามีตัวเลือก มีการชะลอการซื้อ เพราะรู้ว่ายังไงก็มีผลผลิตออกมาแน่นอน

ปัจจัยมีทั้งบวกและลบ ทำไมราคายางเคยขึ้นถึงกิโลกรัมละ 180 บาท สาเหตุเกิดจากภัยทางธรรมชาติ…ในปี 2561 คาดการณ์ในระยะยาวมองว่า สถานการณ์ใกล้เคียงกับปี 2560 ถ้าจะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติ รวมถึงการเมืองในประเทศต้องมีความมั่นคง และมีการส่งเสริมการใช้ที่มากขึ้น โดยการส่งเสริมดำเนินการใช้งานของหน่วยงานรัฐ ส่งเสริมการแปรรูปมากขึ้น ส่งออกยางพาราในรูปแบบผลิตภัณฑ์มากขึ้น ถ้าทำได้มองว่าสถานการณ์ราคายางจะดีขึ้น

ทางรอดของเกษตรกรผู้ปลูกยาง

พฤติกรรมของเกษตรกรในเชิงเศรษฐศาสตร์ สินค้าใดราคาไม่ดีเกษตรกรจะเลิกปลูก แต่ยางต่างจากพืชอื่น ตรงที่ใช้ระยะเวลาการปลูกนานถึง 7 ปี จะให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมทันทีคงไม่ได้ เพราะมีการลงทุนสูงพอสมควร เพราะฉะนั้นต้องใช้เวลา หรือเปลี่ยนจากปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน เมื่อราคายางพาราตก เกษตรกรจะสามารถหารายได้จากพืชอื่นที่ปลูกไว้ได้
มีการรวมตัวกันเป็นสถาบัน ช่วยสร้างความเข้มแข็ง ต่อรองกับพ่อค้าได้ ที่สำคัญคือการสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐ มีการให้ความรู้ Agri Map มีการจัดโซนนิ่ง พื้นที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมควรจะปลูก

การพัฒนาพันธุ์ยาง ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ไม่จำเป็นต้องขยายพื้นที่ปลูก อาจจะลดพื้นที่ปลูกยาง หันมาปลูกพืชอื่นแทน แต่ในความหมายคือ ผลผลิตยางต่อไร่ยังเท่าเดิมหรือสูงกว่า ในอัตราพื้นที่ปลูกที่ลดลง ตรงนี้มองว่าเกษตรกรจะอยู่ได้
เปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร คือต้องขยันขึ้นกว่าเดิม คือ
ขยันหาความรู้ จากเดิมที่มีความชำนาญในการปลูกอยู่แล้ว แนะนำให้ศึกษาการตลาดควบคู่ไปด้วย

ขยันคิดวิธีแปรรูปด้วยตนเอง เข้าใจวิธีการบริหารความเสี่ยง เพราะยางเมื่อตัดสินใจปลูกแล้วแน่นอนว่าจะมีความเสี่ยงของเรื่องสถานการณ์ราคา พืชทุกชนิด อาชีพทุกอาชีพมีความเสี่ยงหมด เพราะฉะนั้นอาชีพปลูกยางก็มีความเสี่ยงของราคา นั่นคือ ของเกษตรกรที่ลงทุนปลูกไปแล้วต้องปรับตัว
ภาคเอกชน และผู้ประกอบการยางทั้งหมดต้องเข้ามาดูแลช่วยกัน เพราะส่วนหนึ่งปัญหาเกิดจากการเสนอราคายางในต่างประเทศที่ต่ำ เพื่อนำเงินมาหมุน บางครั้งเกิดการขาดทุนในตลาดล่วงหน้า เพราะไปเสนอราคาที่ตลาดซื้อขายจริงต่ำ เมื่อเสนอราคาขายต่ำ ก็มาขยับราคาในประเทศให้สูงขึ้นไม่ได้ นี่คือปัจจัยหลัก เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการต้องมองปัญหาตรงนี้ด้วย เพียงแต่ว่าเวลาเสนอราคาในต่างประเทศที่ต่ำ ทำให้ราคาในประเทศต่ำด้วย หากภาคเอกชนและผู้ประกอบการเปลี่ยนวิธีคิดหาทางรอด แก้ปัญหาโดยการเข้าร่วมเป็นหุ้นกับประเทศจีนที่มีการนำเข้าผลผลิตยางเยอะอย่างประเทศจีน ประเทศจีนมีการนำเข้ายางพาราประมาณ 5 ล้านตัน ต่อปี

เมื่อทำแบบนี้ประเทศไทยจะมีตัวเลือกมากขึ้นในการส่งออก จะตกลงกันในข้อกำหนดหรือดีลการตลาดอย่างไรก็ว่ากันไป เพราะฉะนั้นต้องศึกษา และภาครัฐเข้าไปดูแลการซื้อขายระหว่างประเทศ การเสนอราคาที่ต่ำ ทำให้กลับมากดราคาในประเทศหรือไม่

องุ่นพันธุ์บิวตี้ ซีดเลส (BEAUTY seedless) เป็นองุ่นไม่มีเมล็ด ทรงผลรี มีขนาดปานกลาง สีดำ ช่อใหญ่ ออกดอกติดผลง่าย รสชาติอร่อย หวานกรอบ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและมีราคาแพง อายุต่ำ ตัดแต่งกิ่งจึงจะเก็บผล 4 เดือนครึ่ง ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูและสภาพพื้นที่

องุ่นพันธุ์บิวตี้ ซีดเลส มีความหวานกรอบ เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคและร้านอาหารบางแห่งนิยมนำองุ่นพันธุ์บิวตี้ ซีดเลส ไปคั้นเป็นน้ำองุ่นสด เพราะมีรสชาติอร่อย แถมมีคุณประโยชน์ดีต่อร่างกาย องุ่นพันธุ์บิวตี้ ซีดเลส มีสารอาหารจำพวกกรดอินทรีย์ น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลซูโคส วิตามินซี เหล็ก และ แคลเซียม ช่วยบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ แก้กระหาย ขับปัสสาวะ บำรุงกำลังอีกด้วย

บิวตี้ ซีดเลส เป็นสายพันธุ์องุ่นต่างประเทศ ที่ถูกนำเข้ามาปลูกในเมืองไทยเมื่อประมาณ 14-15 ปีก่อน โดยทั่วไป องุ่นบิวตี้ ซีดเลส เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เมื่อปลูกในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น ปัจจุบัน องุ่นพันธุ์บิวตี้ ซีดเลส นับเป็นพืชเศรษฐกิจทำเงินที่ สร้างรายได้อย่างดีให้แก่เกษตรกรจำนวนมาก

หากใครสนใจปลูกองุ่นพันธุ์บิวตี้ ซีดเลส ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงปางอุ๋ง สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตร ให้คำแนะนำว่า ควรปลูกและดูแลรักษาองุ่นบิวตี้ ซีดเลส อย่างถูกวิธีเพื่อให้มีผลผลิต ภายในเวลา 8-12 เดือน องุ่นพันธุ์นี้สามารถบังคับให้ออกผลได้ 2 ปี 5 ครั้ง ผู้ปลูกองุ่นสามารถคืนทุนได้ภายใน 1-2 ปี โดยตัดแต่งกิ่งให้มีผลผลิตออกได้ทุกเดือน แต่ที่นิยมมากคือ การตัดแต่งกิ่งให้มีผล ผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวตรงกับช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ ตรุษจีน เป็นต้น

การขยายพันธุ์องุ่นและการดูแล

การขยายพันธุ์องุ่นบิวตี้ ซีดเลส สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดกิ่ง ปักชำ การตอน การติดตา การเสียบยอด ทั้งนี้ เกษตรกรควรใส่ใจเรื่องการเตรียมแปลงปลูก เพราะองุ่นจะเจริญเติบโตเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับการเตรียมดินเป็นสำคัญ ควรปลูกองุ่นในระยะห่างระหว่างต้นและแถวที่ 6-8 เมตร ขนาดของหลุม 70x70x30 เซนติเมตร

เกษตรกรควรทำค้างองุ่นแบบราวตากผ้า ความสูงของค้างประมาณ 1.80 เมตร ความกว้างด้านบนของค้างสูง กว้างประมาณ 3 เมตร ใช้ลวด เบอร์ 14 ขึงให้ตึงระหว่างหัวแปลง-ท้ายแปลง ระยะระหว่างลวดประมาณ 25 เซนติเมตร จากนั้นควรจัดโครงสร้างของกิ่ง ทั้งกิ่งหลักและกิ่งสาขาเพื่อให้ผลผลิตต่อต้นจำนวนมาก และทุกกิ่งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กิ่งหลักอย่างเป็นระเบียบ และสมบูรณ์เสมอกัน การจัดการทรงต้นที่แนะนำคือ ทรงต้นแบบตัว H และสร้างกิ่งแบบก้างปลา จากกิ่งแขนงที่เกิดขึ้นอยู่ทุกข้อของเถ้า ซึ่งเป็นเทคนิคช่วยเพิ่มผลผลิตอีกทางหนึ่ง

การจัดเถาและช่อองุ่น

เมื่อเห็นช่อดอกยืดยาวออกมา ดอกจะบาน หรือหลังจากตาองุ่นแตกได้ 2-3 สัปดาห์ ควรปลิดตาข้างออกให้หมดเพื่อยืดอายุยอดองุ่นที่แตก และมีช่อดอกให้ยาวขึ้น หลังจากดอกบานจนติดผลเล็กๆ แล้วควรผูกเถาติดกับค้างหรือดูความยาวของเถา ประมาณ 80-100 เซนติเมตร

การปลิดผล

หลังตัดแต่งกิ่งประมาณ 35 วัน ควรตัดปลายช่อองุ่น 1 ใน 4 ของความยาวช่อ หรือความยาวเท่ากับถาดโฟมที่ใส่องุ่น เพราะผลที่ปลายช่อโดยมากไม่มีคุณภาพ ควรปลิดผลไม่ให้ผลในช่อมีมากเกินไป ปลิดผลที่มีขนาดเล็ก ผลที่ไม่ได้รูปทรง ผลที่เกิดจากโรคแมลงออกไป ให้มีผลเหลือในช่อโปร่ง 1 ช่อ ประมาณ 50-80 ผล ตามความเหมาะสมของช่อ

การให้ปุ๋ยและน้ำ

เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ร่วมกัน โดยใส่ปุ๋ยคอกบนผิวดินรอบต้นองุ่นให้ทั่วแปลง อัตรา 1 กระสอบปุ๋ย ต่อต้น หลังจากเก็บผลองุ่นแล้วก่อนตัดแต่งกิ่งครั้งต่อไป ส่วนปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยมากมีสูตรปุ๋ยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอายุของต้นองุ่น

ระยะที่ต้นยังเล็ก หรือยังไม่ได้ตัดแต่ง ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 สูตร 15-15-15 สูตร 20-20-20 สูตร12-24-12 อัตรา ต้นละ 300-500 กรัม ต่อต้น ร่วมด้วยปุ๋ยคอก 10 กิโลกรัม ต่อต้น

ระยะที่สอง ให้ใส่ปุ๋ยเกรดเดียวกันระยะแรก เมื่อดอกบานแล้ว 15 วัน หลังการตัดแต่งกิ่งได้ประมาณ 45 วัน ระยะที่สาม เมื่อองุ่นเริ่มเข้าสี ระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 13-13-21 สูตร 8-24-24 สูตร 0-52-34 สูตร 0-0-50 ต้นละ 300-500 กรัม หรือใส่ก่อนเก็บผลประมาณ 15-30 วัน ซึ่งจะทำให้ผลองุ่นมีคุณภาพสูง ผิวสวย หวาน กรอบ

ทั้งนี้เกษตรกรควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง สมัครเว็บพนันออนไลน์ ระยะติดผลและผลกำลังพัฒนาไม่ควรขาดน้ำ ระยะก่อนเก็บผลผลิต 1-2 สัปดาห์ ควรงดการให้น้ำหรือรดน้ำให้น้อยที่สุด เพื่อจะทำให้ผลมีคุณภาพดี น้ำตาลในผลสูง ผลไม่นิ่ม มีผิวสวย รสชาติหวาน กรอบ อร่อย การปลูกองุ่นให้ได้คุณภาพดี จำเป็นต้องป้องกันเรื่องโรคและแมลงอย่างใส่ใจ ควรคลุมพลาสติกบนค้างองุ่น เพื่อป้องกันน้ำค้าง ซึ่งจะนำโรคเชื้อราน้ำค้างมาสู่ผลองุ่นได้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงปางอุ๋ง จังหวัดเชียงใหม่ได้ที่ โทร. (053) 381-326

แม้จะมีคำตอบจากภาครัฐ ในเรื่องของราคายางที่ผันผวนขึ้นลง และดูเหมือนขาลงจะยาวนานกว่าก็ตาม แต่ข้อข้องใจต่อราคาน้ำยางก็ไม่เคยกระจ่างในใจเกษตรกรแม้แต่คราเดียว

ทางออกของมุมนักวิชาการที่ทำงานอยู่กับตัวหนังสือ ฐานข้อมูล พอจะเป็นทางออกหนึ่งที่ชี้ทางสว่างให้กับเกษตรกรได้ โดยเฉพาะคำแนะนำในการแปรรูปน้ำยางจำหน่าย เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้มากขึ้น

ดร. วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ นักวิจัยจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัสดุยางและพอลิเมอร์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งผ่านประสบการณ์การทำงานในวงการผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพาราในระดับโลกมาก่อนหน้านี้ และนำความรู้ที่เป็นประสบการณ์มาสานต่องานวิจัย สร้างนวัตกรรมใหม่ให้มีศักยภาพตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยปัจจุบัน มีผลงานวิจัย เรื่อง “กาวน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำยางธรรมชาติ, ฟีนอลิก เรซิน และกัมโรซิน และกรรมวิธีการผลิต” ซึ่งได้รับอนุสิทธิบัตร เมื่อปี 2557 แล้ว