ผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชระดับชุมชน คุณวิสูตรผลิตชีวภัณฑ์

ควบคุมศัตรูพืช (biotechnology) โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา สามารถพัฒนาคุณสมบัติ พัฒนารูปลักษณ์ ลวดลาย โลโก้ ผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช มีอยู่ 3 ชนิด

1. เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria) เป็นจุลินทรีย์ก่อโรคกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงหวี่ขาว ไรแดง และหนอนแมลงศัตรูพืช

2. เชื้อราเมธาไรเซียม (Metarhizium) จุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ทำให้เกิดโรคกับแมลงเมื่อสปอร์ของเชื้อราดลงบนลำตัวของแมลง ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสภาพความชื้นสูงจะมีการเจริญงอกเข้าไปในตัวแมลง ระยะแรกจะเห็นจุดสีน้ำตาลบนผนังลำตัว และต่อมาสามารถมองเห็นเส้นใยสีขาวเจริญเติบโตบนลำตัวแมลง หลังจากนั้นจะพบสปอร์ลักษณะคล้ายฝุ่นสีเขียวปกคลุมทั่วตัวของแมลง

3. เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma) เชื้อราที่ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อรา สำหรับการใช้ทางใบ การรักษาเมล็ดพันธุ์และการบำบัดดินเพื่อปราบปรามโรคที่ก่อให้เกิดเชื้อรา เป็นราที่กินรา ขยายตัวได้ดีมาก ป้องกันโรคโคนเน่า

คุณวิสูตร มีแนวคิดเรื่อง 5 ธนาคารฟาร์ม

1. ธนาคารดิน คือกระบวนการปรับปรุงดิน

2. ธนาคารน้ำหมัก ทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อทดแทนสารเคมี

3. ธนาคารเมล็ดพันธุ์ เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ทำเมล็ดพันธุ์ เพื่อใช้เพาะปลูกเอง หรือจะขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง

4. ธนาคารชีวภัณฑ์ เราได้รับการสนับสนุนโครงการผลิตชีวภัณฑ์จากหน่วยงานรัฐอย่างสม่ำเสมอ

5. ธนาคารความรู้ เราพัฒนาความรู้ ทำงานวิจัยร่วมกับ ผศ.ดร.วาสนา พิทักษ์พล และ ผศ.น.สพ.สมชาติ ธนะ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา เราศึกษาและจดบันทึกความรู้ของปราชญ์ท้องถิ่น ทดลองจนเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ความรู้เหล่านั้นนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี

สินค้าเกษตรอินทรีย์มีอัตลักษณ์ของชุมชน ปัจจุบัน คุณวิสูตรผลิตสินค้าแปรรูปแป้งข้าวหมากหรือแป้งข้าวหมัก อันจะอยู่ในรูปของยีสต์ จุลินทรีย์หรือรา เมื่อกินจะก่อให้เกิดสาร Probiotics หรือกลุ่มแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร คนไทยสมัยก่อน เมื่อเกิดอาการแขนชามือชาเขากินแป้งข้าวหมากเพื่อรักษาอาการ ตัวอย่าง เช่น เรากินข้าวกล้องเราไม่ได้รับวิตามินบีข้าวกล้องในทันที เราต้องอาศัยยีสต์ช่วยย่อยสลายสารข้าวกล้องด้วย Probiotics

คุณวิสูตร เล่าต่อว่า ล้มเหลวด้านการเกษตรเพราะไม่ยอมใช้สารเคมี ปลูกผักสวนครัวเมื่อไม่ใช้สารเคมีพืชผักก็ตายหมด เขาจึงศึกษางานเกษตรอย่างจริงจัง สมัยก่อนเราอ่านหนังสือแปลประเทศเกาหลี เป็นเรื่องเกี่ยวกับ IMO หรือจุลินทรีย์ท้องถิ่น หนังสือเล่าถึงกระบวนการหมัก การเปรียบเทียบระหว่างเกษตรทั่วไปกับเกษตรอินทรีย์ เขาเริ่มศึกษาจากการอ่าน อ่านหนังสือ อ่านงานวิจัย เพราะรักเกษตรอินทรีย์ ทำการเกษตรด้วยตนเอง เริ่มก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ผลผลิตพุทราอินทรีย์จากสวนของคุณวิสูตรได้รับการรับรองจากสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา (SDGsPGS) ผลผลิตจำหน่ายให้กับ บริษัท ออร์แกนิคพะเยา วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด หรือ opse ปีละ 100 กิโลกรัม โดยได้รับองค์ความรู้ด้านการจัดการและการตลาดจาก ผศ.ดร.บังอร สวัสดิ์สุข คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

อีกไม่นานเขาจะวางสินค้าที่ร้านค้าบริเวณโรงพยาบาลพะเยา สินค้าของสวนมีพุทราสด พุทราแห้ง น้ำพุทรา กล้วยอบแห้ง น้ำผึ้ง ฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด มีตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพลังงานจังหวัดพะเยา คุณวิสูตรสร้างเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีสมาชิกจำนวน 30 คน เขาบอกว่าเกษตรอินทรีย์สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเขาทุกอย่างแล้ว บางครั้งมีคนต่อต้านแนวคิดเกษตรอินทรีย์ของเขา เกษตรกรบางคนใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) แต่ตอนนี้ไม่มีคนใช้สารเคมีแล้ว เขาบอกเกษตรกรอยู่เสมอว่า หญ้ามีประโยชน์มากเพราะรากหญ้าจะเป็นท่อนำน้ำลงไปสู่พื้นดินได้อย่างรวดเร็วที่สุด ไม่เชื่อลองเทน้ำลงบริเวณที่มีหญ้าดูครับ หญ้าจะดูดน้ำลงดินอย่างรวดเร็ว การทำเกษตรอินทรีย์ต้องค่อยเป็นค่อยไป หากเราไปแอบใส่ปุ๋ยเคมี ก็ไม่มีหัวใจเป็นเกษตรอินทรีย์แล้ว เริ่มแรกเราต้องมีใจ

คุณวิสูตรทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง 2 ปี ตอนนี้วัตถุดิบมีมากขึ้น มีสินค้าหลากหลายขึ้น มีอัตลักษณ์ของตนเอง แต่ก็อยากแสดงอัตลักษณ์เรื่องการจักสาน สุ่มไก่ ซึ่งเป็นแนวคิดชุมชน บ้านบัว ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ชุมชน (Branding) เริ่มตั้งแต่การทำสื่อ ทำแอปพลิเคชั่น อยากทำสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้มีอัตลักษณ์ของชุมชนอยู่ด้วยให้ยั่งยืนตลอดไป

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมหรือศึกษาดูงาน ติดต่อ คุณวิสูตร วงศ์ไชย บ้านบัว หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ขอบคุณข้อมูลและถ่ายภาพบางส่วน ร.ต.อ. ทรงวุฒิ จันธิมา เริ่มต้น เราต้องมีถังเก็บขยะเพื่อใช้ในการหมัก โดยระยะเวลาการหมักปุ๋ยจากเศษอาหารจะใช้เวลาในการหมักประมาน 1 เดือน
ภาชนะที่ควรใช้หมัก – แนะนำว่าควรใช้ถังหมักที่มีลักษณะดินเผาเพราะระบายอากาศได้ดีกว่าถังพลาสติกและไม่แฉะจนเกินไปด้วย
วิธีการจัดการกับเศษขยะเพื่อนำไปทำปุ๋ยหมัก
ขั้นตอนที่1 นำเศษอาหารที่เราสามารถใช้ในการหมักได้คือ เศษผัก เศษผลไม้ เปลือกไข่ กากกาแฟ เปลือกผลไม้ ข้าวบูด และอาหารเหลือ เป็นต้น ซึ่งวิธีการจัดการกับขยะเหล่านี้คือ หากเป็นอาหารเหลือกินให้กรองน้ำออกก่อนจะใส่ลงถังหมัก
ขั้นตอนที่2 จากนั้นทับด้วยปุ๋ยคอก เศษใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง หรือดินถุงก็ได้
เอาปุ๋ยคอกกับเศษใบไม้แห้งผสมกัน แล้วเทลงไปสลับกับชั้นเศษอาหาร ลงไปประมาน 2-3 รอบ
ขั้นตอนที่3 ระหว่างนั้นอาจจะเติมน้ำตาลลงไป 1-2 ช้อนโต๊ะ และเทน้ำตาลและน้ำผสม EM ประมาณอาทิตย์ละครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเต็มถัง
ขั้นตอนที่4 สุดท้ายให้ปิดทับด้วยปุ๋ยคอกผสมใบไม้แห้ง เทน้ำตาลลงไป 1-2 ช้อน รดด้วยน้ำผสม EM ให้ชุ่ม ๆ แล้วปิดฝาไว้รอประมาณ 15 วัน ก่อนจะกลับมาเปิดฝาแล้วคนให้ส่วนผสมเข้ากัน จากนั้นปิดฝาอีกรอบ รออีก 15 วัน (ทั้งหมดใช้เวลา 30 วัน) พอครบก็เปิดออกมาใช้ได้เป็นอันสำเร็จ!

“มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงาม” ช่วงเดือนกุมภาพันธ์และเมษายน หากผ่านเส้นทางไปอู่ต่อเรือพระเจ้าตากที่บ้านเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนถึงอู่ต่อเรือฯ 4-5 กิโลเมตร สองข้างทางจะมีแผงมะม่วงอกร่องที่ชาวสวนนำมาวางขายหน้าบ้านเป็นระยะๆ

คุณเพ็ญทิวา คุณวัฒน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทบุรี ให้ข้อมูลว่า มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงามเป็นมะม่วงน้ำกร่อย รสชาติหวานเฉียบเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น มีปลูกเฉพาะหมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองบัว ด้วยสภาพพื้นที่เหมาะสม ธรรมชาติเป็นเกาะล้อมรอบด้วยน้ำเค็ม เป็นน้ำกร่อย ดินชายฝั่งทะเล อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ มะม่วงอกร่องที่นี่ปลูกกันมานาน บางแห่งต้นอายุร่วม 100 ปี ระยะหลังมีปลูกมะม่วงอกร่องและพันธุ์เขียวเสวย ฟ้าลั่นเพิ่มเติม ก่อนนี้ชาวบ้านเก็บขายตลาดในตัวเมืองจันทบุรี ราคาลูกละ 1-1.50 บาท

ต่อมา “มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงาม” เริ่มติดตลาด เพราะรสชาติอร่อย หวาน หอม อบต.หนองบัวได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกและจัดงานเทศกาลมะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงาม และมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านไปเที่ยวชมอู่ต่อเรือพระเจ้าตากสินกันจำนวนมาก ทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในต่างจังหวัด ทำให้ราคามะม่วงเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อตั้ง “กลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงาม” ได้มีการพัฒนาคุณภาพและการตลาดกว้างขวางขึ้น

“ผลผลิตไม่มากเพราะมีพื้นที่ปลูกเพียง 168 ไร่ ในหมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองบัว ปลูกไว้ภายในบ้าน บ้านละไม่กี่ต้น แถมยังปล่อยทิ้งๆ ขว้างไม่มีการดูแล เพราะราคาซื้อขายไม่เกินกิโลกรัมละ 100 บาท เมื่อตั้ง “กลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงาม” มีการพัฒนาคุณภาพและการตลาดอย่างจริงจัง ประกอบกับหมู่บ้านเป็นเส้นทางของนักท่องเที่ยว ทำให้มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงามเป็นที่รู้จัก เป็นที่นิยมในจังหวัดจันทบุรีและต่างจังหวัด ราคาเพิ่มสูงจากกิโลกรัมไม่ถึง 100 บาท เป็นกิโลกรัมละ 130-160 บาท” คุณเพ็ญทิวา กล่าว

หนึ่งเดียว จันทบุรี

คุณวนภรณ์ เจริญใจ เกษตรอำเภอเมืองจันทบุรี เล่าว่า สภาพเดิมชาวสวนมะม่วงอกร่องปลูกไว้รอบๆ บ้าน ไม่ได้ดูแล ด้วยอาชีพหลักจะทำประมง ทำนากก เลี้ยงกุ้ง จึงวางแผนพัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่า โดยพยายามสร้างความเข้าใจกับชาวสวนที่มีภูมิปัญญาอยู่แล้วให้ความร่วมมือ เริ่มจาก ปี 2560-2561 จัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านเสม็ดงาม เพื่อแก้ปัญหาแมลงวันผลไม้ มี อบต.หนองบัวมาช่วย และปี 2562 ขับเคลื่อนต่อโดยตั้งกลุ่ม “แปลงใหญ่มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงาม” มีสมาชิก 50 คน สนับสนุนให้มีกองทุนส่งเสริมอาชีพให้สมาชิก ส่งเสริมองค์ความรู้อบรม-ศึกษาดูงาน และประสานกับหน่วยงานต่างๆ ปัญหาสำคัญที่เร่งแก้ไขและขยายผลคือ โรคแมลงวันผลไม้ โดยวิธีกำจัดใช้กำดักที่ทำขึ้นเอง ไม่ใช้สารเคมี และป้องกันด้วยการห่อผล โดยไม่ต้องพ่นสารเคมี ทำให้ผลโต เนื้อไม่มีหนอนเจาะ ผิวสวย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้งที่สวยงามเพิ่มมูลค่า ทำให้ “มะม่วงอกร่องเสม็ดงาม หนึ่งเดียว จันทบุรี” เป็นที่ยอมรับและรู้จักกว้างขวาง

“กว่าจะเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ฯ ต้องสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น ให้ได้รับความร่วมมือ อาศัยผู้นำที่มีภูมิปัญญา ชาวสวน องค์กรท้องถิ่น โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทบุรี และกรมส่งเสริมวิชาการเกษตร สนับสนุนช่วยเหลือทุกๆ อย่าง ตั้งแต่การกำจัดแมลงผลไม้ การห่อ การพัฒนาแพ็กเกจจิ้ง การทำตลาดออนไลน์ และสร้าง “สวนต้นแบบ-ป้าสาว ลุงชิน” ให้เห็นความสำเร็จทั้งคุณภาพ การตลาด และราคา ทำให้มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงามเป็นที่รู้จักและมีเอกลักษณ์ หวานเข้มและมีกลิ่นหอม ปลอดภัยจากสารเคมี ทำให้ราคาสูงขึ้น” คุณวนภรณ์ กล่าว

แปลงใหญ่ป้าสาว ลุงชิน ต้นแบบ

คุณเบ็ญจา และ ร.ต.ต. สุชิน นิยมนา เจ้าของสวน ป้าสาว ลุงชิน อยู่บ้านเลขที่ 49/3 หมู่ที่ 10 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

ป้าสาว เล่าว่า เดิมสวนมะม่วงอกร่องปลูกไว้ทิ้งๆ ขว้างๆ ประมาณ 100 กว่าต้น พื้นที่ 4 ไร่ เพราะสามีไปรับราชการอยู่ที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี พอเก็บขายได้เล็กๆ น้อยๆ เพิ่ง 2 ปีนี้สามีเกษียณกลับมาทำสวนอย่างจริงๆ จังๆ เริ่มจากทำสาวตัดแต่งต้นให้เตี้ยลง มีลูกขายหน้าบ้าน ราคาชาวสวนไม่แพง มีลูกค้าประจำ ปี 2562 เข้าร่วมกลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงาม ได้รับเลือกเป็นสวนต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพและการตลาด ซึ่งปัญหาแมลงวันผลไม้ เป็นปัญหาสำคัญของการปลูกมะม่วงอกร่องที่บ้านเสม็ดงาม เพราะแมลงผลไม้จำนวนมากทำลาย เจาะผิวและลงไปในเนื้อมะม่วงมีหนอน ทำให้ผลร่วงหล่นก่อนสุกแก่ต้องทิ้งหรือขายไปราคาถูกๆ

สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองจันทบุรี มีโครงการควบคุมประชากรแมลงผลไม้ โดยร่วมมือกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนบ้านเสม็ดงาม จึงมีวิธีกำจัดแมลงวันผลไม้ให้น้อยลง โดยใช้กับดักแมลง ทั้งหมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 11 โดยเฉพาะในสวน ด้วยการพัฒนาเครื่องมือจากกับดักเป็นขวดพลาสติกใช้สารกำจัดแมลงล่อให้แมลงเข้ามากิน การปล่อยแมลงวันเพศผู้ที่เป็นหมันจากการฉายรังสีเพื่อลดปริมาณวางไข่ และการทำกับดักชานอ้อยที่ใช้แท่งชานอ้อยชุบน้ำหมักกำจัดแมลงแขวนตามกิ่งมะม่วง ซึ่งได้ผลแมลงวันผลไม้ลดลงและใช้วิธีห่อผลมะม่วงควบคู่กัน

เทคนิควิธีการห่อมะม่วง ลุงชิน เล่าว่า ห่อเองทุกลูก เพราะเป็นสวนเล็กๆ การห่อช่วยป้องกันแมลงได้ผล 100% ปลอดภัยไม่ต้องฉีดสารเคมี แรกๆ บางคนห่อไปแล้วผลเน่า จึงทดลองไปเรื่อยๆ และเจ้าหน้าที่แนะนำให้ฉีดพ่นเชื้อราก่อนห่อ และได้เริ่มห่อเมื่อลูกขนาดเท่าไข่เป็ดอายุได้ 1 เดือนครึ่ง ถ้าห่อช้าไปลูกจะหล่นผิวไม่สวย โดยใช้ถุงกระดาษคาร์บอนช่วยป้องกันการเจาะของแมลงวันได้ 100% และใช้ซ้ำได้ 3-4 ครั้ง ประมาณ 2 เดือนเศษ มะม่วงจะเริ่มแก่สุกเก็บได้ ก่อนจะเก็บต้องแกะดูให้แน่ใจก่อน มะม่วงที่ห่อลูกสวยรสชาติหวาน เสียหายน้อยลง ลูกมีขนาดใหญ่ 4 ลูกต่อ 1-1.2 กิโลกรัม ขายได้ราคาดี ราคา 130-160 บาท แต่ขึ้นอยู่กับการบ่มให้สุกพอดี จึงจะมีรสชาติหวาน อร่อยมีกลิ่นหอม ลูกค้าที่เคยซื้อจะติดใจสั่งจองไว้ข้ามปี ปีนี้ผลผลิตน้อยไม่พอขาย ส่วนใหญ่สมาชิกจะห่อกัน ยกเว้นสวนที่มีจำนวนมากไม่มีแรงงานห่อ

บ่มมะม่วงให้หวาน หอม ผิวสวย ป้าสาว เล่าว่า มะม่วงอกร่องเป็นผลไม้ที่บอบบางมาก เรียกว่า “คุณหนู” หยิบจับต้องมือเบาเพราะต้องจับผ่านมือทีละลูก ถ้านับจากเก็บมาบ่มขายแผงถึงมือลูกค้าลูกละไม่ต่ำกว่า 6-7 ครั้ง การบ่มทุกขั้นตอนต้องพิถีพิถันให้ได้คุณภาพคือความหวานและผิวสวย เสียหายน้อยที่สุด เมื่อเก็บมะม่วงสุกจากต้น ต้องวางทิ้งไว้ในที่โล่งให้ยางแห้งสนิทก่อนประมาณ 3-4 ชั่วโมง จึงนำไปล้างน้ำให้ผิวสะอาดและนำมาผึ่งให้แห้งอีกรอบ จากนั้นนำไปเรียงบ่มในห้องที่มีประตู หน้าต่างปิดรอบด้าน โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองและวางมะม่วงเรียงแยกตามขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ เป็นแถวโดยเอาขั้วมะม่วงลง ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิด นำก้อนแก๊สห่อวางไว้ 4 มุมช่วยให้เกิดความร้อน แล้วปิดด้วยกระสอบป่านหรือผ้าคลุม ใช้เวลา 4 คืนมะม่วงจะสุก เมื่อแน่ใจว่าสุกแล้วจึงเปิดผ้าคลุมออกแล้วขายเป็นชุดๆ ไม่เปิดขายแล้วบ่มต่อ มะม่วงจะไม่หวาน ต้องเปิดแล้วขายทั้งหมด ถ้าบ่มเช้าเอาออกขายเช้า บ่มบ่ายขายบ่าย

ตลาดตอบรับผลผลิตคุณภาพ ไม่พอขาย

เจ้าของสวน ป้าสาว ลุงชิน เล่าว่า มะม่วงอกร่องเสม็ดงาม 1 ปี ออก 2 รุ่น คือ ต้นฤดูเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ต้องมีการบำรุงรักษาใส่ปุ๋ยเร่งดอกและเปิดดอกให้เร็ว ผลผลิตจะมากกว่า รุ่น 2 ที่จะออกตามธรรมชาติเดือนเมษายน ปี 2565 ปริมาณผลผลิตลดน้อยลงมาก เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน มีฝนหยุดๆ ตกๆ หนาว ร้อน ทำให้มะม่วงไม่ออกดอกมาก บางต้นมีลูก 1-2 กิ่ง ทำให้ไม่มีมะม่วงวางขายหน้าบ้านหรือขายทางไลน์ไม่มาก ลูกค้าที่เคยสั่งจองไว้ซื้อหมดและไม่พอขาย แต่จะช่วยกันขายให้สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ที่ยังมีขายอยู่บ้าง เพราะช่วงโควิด-19 นักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมามีจำนวนน้อย เฉพาะวันหยุดเทศกาล หรือเสาร์-อาทิตย์

“ตอนนี้กลุ่มแปลงใหญ่พัฒนาคุณภาพ ขยายตลาด สร้างแบรนด์มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นมะม่วงดินชายทะเล น้ำกร่อย รสชาติหวานโดยธรรมชาติ แต่มีข้อจำกัดที่เป็นผลไม้สดบอบช้ำง่าย การขายทางไลน์ต้องขนส่งอาจจะทำให้เสียหายได้ และการเพิ่มผลผลิตทำได้ยากเพราะหมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11 เป็นพื้นที่ต่ำถ้าน้ำขึ้นมากน้ำเค็มจะเข้ามาในสวน และมะม่วงปลูกใหม่ๆ ต้องให้น้ำมีต้นทุนสูง ฤดูแล้งน้ำกร่อย แหล่งน้ำสาธารณะไม่มีระบบชลประทานเข้าถึงสวน ชาวบ้านต้องขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้เองหรือถ้าซื้อน้ำรดมีค่าใช้จ่ายสูงเดือนละ 700-800 บาท” ป้าสาว กล่าวถึงปัญหา

เกษตรอำเภอเมืองจันทบุรี กล่าวทิ้งท้ายว่า ตั้งเป้าจะเพิ่มผลผลิตมะม่วงบ้านเสม็ดงามจาก 800 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และพัฒนาให้สวนมะม่วงอกร่องได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เพิ่มช่องทางการขายในกลุ่มพรีเมี่ยม และสนับสนุนการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ สนใจสอบถามคุณเพ็ญทิวา โทร. 089-419-5656

มะม่วงกวนอกร่อง 100%

ตกแต่งรสชาติหวาน เปรี้ยวด้วยมะม่วง

คุณนกเอี้ยง ทองเปรม สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่มะม่วงอกร่องบ้านเสม็ดงาม เล่าถึงการทำมะม่วงอกร่องกวนว่า ไม่สามารถห่อมะม่วงทุกลูก ทำให้มีมะม่วงสุกปากตะกร้อที่ไม่ได้ห่อหล่นเนื้อช้ำต้องทิ้งหรือขายไปถูกๆ กิโลกรัมละ 4-5 บาท จึงคิดมาทำมะม่วงกวนเพื่อสร้างมูลค่าขายได้ กิโลกรัมละ 200 บาท วิธีทำมะม่วงกวนเริ่มจาก 1. การล้างผึ่งให้แห้งก่อน นำมาปอกเปลือกเฉือนเนื้อช้ำๆ ออก 2. การปั่น ใช้เครื่องปั่นผลไม้ปั่นให้เนื้อมะม่วงเนียน 3. การกวนและแต่งรส นำไปกวนใช้ไฟอ่อนๆ กวนไปเรื่อยๆ จนน้ำเดือดใส่เกลือเล็กน้อยแล้วชิมให้มี 3 รส คือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ถ้าอ่อนรสหวานใช้มะม่วงสุกที่มีรสหวานปั่นเติมลงไป ถ้าเพิ่มรสเปรี้ยวใช้มะม่วงรสเปรี้ยวเติมปั่น กวนต่อให้เข้ากัน พักไว้ให้เย็น 4. การตาก ควรเริ่มตากแดดตอนสายๆ โดยใช้ช้อนตักมะม่วงที่กวนไว้หยอดลงบนแผ่นพลาสติกที่ดึงให้ตึงเรียบ มะม่วงจะขยายวงเป็นวงกลม ตากแดดวันครึ่งหรือ 2 วัน และ 5. บรรจุกล่อง แกะแผ่นมะม่วงออกจากแผ่นพลาสติกและม้วนใส่กล่องวางขาย

“เนื้อมะม่วงกวนอย่าให้แห้งมากจะแข็ง iocco-uk.info ถ้าแห้งน้อยไปเนื้อจะแฉะ และส่วนผสมต้องไม่หวานจัดเพราะจะทำให้เนื้อตกทรายเป็นเกล็ดน้ำตาล ทุกวันนี้พอมีรายได้จากมะม่วงอกร่องที่ปลูกไว้รอบๆ บ้าน 10 กว่าต้น แต่ไม่ได้ห่อทุกลูก เคยปีนกิ่งขึ้นไปห่อแล้วตก ลูกไหนสูงๆ ห่อไม่ถึง สุกปากตะกร้อมักจะหล่น นำมากวน” คุณนกเอี้ยง กล่าว ผมมีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัดทางภาคเหนือ พบเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ต้นไม่สูงนัก ออกดอกสีม่วงอมชมพู กลีบดอกบอบบางสะอาดตา ถามผู้คนแถวนั้นว่า ต้นไม้นี้มีชื่อว่าอะไร ได้รับคำตอบว่าผักบุ้งต้น ผมอยากทราบว่าเป็นไม้ไทย หรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ผมจะนำมาปลูกในกรุงเทพฯ ได้หรือไม่ และมีวิธีขยายพันธุ์ และดูแลรักษาอย่างไร ขอคำอธิบายด้วยครับ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง สุรชัย เจริญสุขพงศ์ ที่คุณสุรชัยเล่ามา เกี่ยวกับผักบุ้งต้นนั้น พืชชนิดนี้เป็นไม้ขนาดเล็กกึ่งเลื้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea carnea Jaeg. จัดอยู่ในวงศ์ Convolvulaceae มีลักษณะใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบต้น ดอกเป็นรูปแตร ปากบาน กลีบดอกมี 5 กลีบ คล้ายดอกผักบุ้ง คนไทยจึงเรียกว่า ผักบุ้งต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง ที่มีอากาศร้อนคล้ายบ้านเรา นิยมปลูกตามริมรั้วบ้านเป็นไม้ประดับ ลักษณะเด่นคือ ออกดอกตลอดปี เมื่อเด็ดใบจะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา การขยายพันธุ์นิยมใช้วิธีปักชำ

ให้เลือกกิ่งไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ใช้มีดหรือคีมที่คมและสะอาด ตัดแยกออกมาจากต้นแม่ ยาวท่อนละประมาณ 25 เซนติเมตร ปักชำลงในวัสดุเพาะชำ อาจใช้ขี้เลื่อยแช่น้ำแล้วบีบให้หมาด ใส่ในกระถางที่มีรูระบายน้ำ ปักกิ่งลงในวัสดุเพาะนำเข้าเก็บในโรงเรือนที่ได้รับแสงรำไร ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน รากและใบจะปรากฏให้เห็น เมื่อเห็นว่าแข็งแรงดีแล้ว ย้ายปลูกลงดิน หรือลงในกระถาง ระวังอย่าให้ขาดน้ำ ผักบุ้งต้นเติบโตได้ดีทั้งในที่แดดจ้าและในที่ร่มรำไร ใช้เวลาเพียง 3-4 เดือน จะออกดอกสะพรั่งให้เห็น

ถามว่าที่กรุงเทพฯ ปลูกได้หรือไม่ ตอบว่าปลูกได้ครับ แต่ควรให้ได้รับแสง วันละ 3-5 ชั่วโมง ก็พอเพียงความต้องการของผักบุ้งต้นแล้ว แต่ถ้าปลูกในที่โล่งแจ้งได้รับแสงจ้าทั้งวัน ใบจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว ข้อควรระวังอย่าให้ขาดน้ำ และอย่าให้น้ำจนแฉะนะครับ

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในตอนที่ผ่านๆ มา เราพยายามสื่อสารให้เกษตรกรได้รับรู้ถึงทางรอดต่างๆ ของเกษตรกรไทย ซึ่งเราก็เน้นไปที่เกษตรกรรายย่อย ระดับชาวบ้านธรรมดาเป็นหลัก ส่วนรายใหญ่ๆ ระดับนายทุนหรือนักธุรกิจเกษตร เราคงไม่ต้องไปห่วงเขา เพราะเขามีทุน มีเทคโนโลยี มีความสามารถจะแสวงหาทางรอดของเขาได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว

ในตอนนี้ก็เช่นกัน เราคงจะยังคงพูดคุยกันถึงทางออก หรือทางรอดของเกษตรกรรายย่อยกันต่อครับ เพราะเกษตรกรเหล่านี้ คือคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ และเป็นผู้ผลิตระดับต้นน้ำที่สำคัญ หากคนกลุ่มนี้อยู่ไม่ได้ มีหนี้สิน ยากจน ไม่หลุดพ้นกับดักแห่งความยากจน ประเทศก็จะอ่อนแอลง ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจก็อ่อนด้อยลง ประเทศก็จะพัฒนาต่อไปยากครับ