ผลิตที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตเพื่อการส่งออกนั้น

จะนิยมเป็นสายพันธุ์ “อีดอ” เป็นหลักเพราะมีลักษณะเด่นเรื่องขนาดและรสชาติ เมื่อนำไปอบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์สีลำไยจะออกเป็นสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นผลผลิตที่ตลาดจีนต้องการ (แต่ต้องระวังและควบคุมให้ดี ไม่ให้ลำไยสดจากไทยมีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานที่ประเทศส่งออกกำหนด)

สำหรับการผลิตลำไยในอดีต เกษตรกรต้องรับภาระความเสี่ยงเกี่ยวกับการให้ผลผลิตของลำไย เนื่องจากการออกดอกติดผลขึ้นอยู่กับความหนาวเย็น หากปีใดที่มีอุณหภูมิต่ำและหนาวเย็นยาวนาน ลำไยจะออกดอกติดผลมาก ในขณะที่บางปีอากาศไม่หนาวเย็นพอ ต้นลำไยจะออกดอกติดผลน้อย ทำให้ลำไยถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม้ผลที่มีนิสัยการออกดอกติดผลเว้นปี

นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2541 การค้นพบสารโพแทสเซียมคลอเรต ด้วยความบังเอิญของคนทำดอกไม้ไฟ ว่ามีคุณสมบัติสามารถชักนำการออกดอกของลำไยโดยไม่ต้องพึ่งพาความหนาวเย็น ทำให้ปัญหาการออกดอกเว้นปีลดความสำคัญลง และหมดไป

วิธีการใช้ การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อเร่งลำไยให้ออกนอกฤดู นิยมทำก่อนหน้าฤดูลำไยจะออกดอกในทุกปี โดยนำโพแทสเซียมคลอเรตละลายน้ำรดบริเวณโคนต้นลำไย หลังจากนั้น ประมาณ 20-30 วัน ลำไยจะแทงช่อดอกออกมา

ทำไม ต้องผลิตลำไยนอกฤดู

มีอยู่หลายเหตุผล เช่น เหตุผลด้านราคา เกษตรกรชาวสวนลำไยทราบดีว่าเป้าหมายการผลิตลำไยนอกฤดู คือ ราคาผลผลิต ซึ่งถ้าจะเทียบไปแล้ว ช่วงเวลาจำหน่ายผลผลิตที่ราคาดีที่สุดคือ ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากตรงกับเทศกาล เช่น วันคริสต์มาส วันขึ้นปีใหม่ และวันตรุษจีน ช่วงที่ผลผลิตมีราคาถูกที่สุดคือ ลำไยในฤดูในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เนื่องจากผลผลิตลำไยในฤดูกาลมีจำนวนมากเข้าสู่ตลาดพร้อมกัน ดังนั้น เกษตรกรจึงพยายามบังคับให้ลำไยออกดอกใน 2 ช่วง คือช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพื่อให้เก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนถึงต้นกุมภาพันธ์ และช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เพื่อเก็บเกี่ยวก่อนฤดูคือ เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

การบังคับให้ออกดอกในเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เกิดปัญหาค่อนข้างมาก เพราะตรงกับฤดูฝน ต้นลำไยจะตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตไม่ดีเหมือนการให้สารนี้ในฤดูหนาว ในขณะที่ลำไยที่ออกดอกในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จะกระทบอากาศหนาวทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ผลอ่อนมักร่วงเสียหายได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมต้นให้สมบูรณ์ การกำหนดอัตราสารให้เหมาะสมและศึกษาถึงเทคนิคการผลิตลำไยนอกฤดูในแต่ละขั้นตอน ตลอดจนการเลือกช่วงเวลาการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและให้เหมาะสมกับพื้นที่จึงจะประสบผลสำเร็จ

ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลกระทบจากการพัฒนาประเทศไปสู่อุตสาหกรรมหนักและการพัฒนาการท่องเที่ยวทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานจำนวนมากออกจากภาคเกษตรเข้าสู่ในเมือง ทำให้การเกษตรทั้งระบบขาดแคลนแรงงาน ส่งผลกระทบต่อการผลิตลำไย โดยเฉพาะแรงงานด้านเก็บเกี่ยว ซึ่งมีขั้นตอนตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้น การลำเลียงผลผลิตสู่โรงเรือนหรือที่ร่ม การคัดเกรด การบรรจุตะกร้า ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยแรงงานที่มีความชำนาญจำนวนมาก ปัญหาการขาดแคลนแรงงานจะรุนแรงมากในช่วงการผลิตลำไยในฤดู

แนวโน้มการแข่งขันในตลาดนานาชาติ เป็นที่ทราบกันดีว่า ลำไยจากประเทศไทยมีคู่แข่งที่สำคัญในตลาดโลก ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและเวียดนาม ซึ่งจีนเป็นทั้งประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง ผลผลิตลำไยของจีนออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกับของไทย คือกรกฎาคม-กันยายน ทำให้ประสบปัญหาคล้ายกับไทยคือ ผลผลิตในฤดูล้นตลาด ราคาตกต่ำ ด้วยเหตุนี้แนวทางการพัฒนาลำไยของไทยจึงควรมุ่งเน้นที่การกระจายตัวของช่วงฤดูการผลิตตลอดปี การลดต้นทุนการผลิตและปรับปรุงผลผลิตให้ได้คุณภาพ ในขณะที่การปลูกลำไยของจีนยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีความหนาวเย็นเกินไปในบางช่วงของปี ทำให้ไม่สามารถผลิตลำไยตลอดปีเหมือนไทยได้ นอกจากนี้ เวียดนาม ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญอีกประเทศหนึ่งยังขาดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ประเทศไทยจึงควรพัฒนาลำไยนอกฤดูบนจุดอ่อนเหล่านี้ของคู่แข่ง

ลำไยอายุที่เหมาะสมที่จะบังคับราดสารให้ออกนอกฤดูคือ ต้นอายุสัก 4-5 ปีขึ้นไป กำลังเหมาะสม การคุมทรงพุ่มของต้นลำไยมีความสำคัญมาก มันจะเกี่ยวข้องตั้งแต่ผลผลิต การจัดการ การฉีดพ่นสารเคมี การเก็บเกี่ยว ฉะนั้น อย่างหลังการเก็บเกี่ยวเสร็จ ก็จะมีการตัดแต่งกิ่งในส่วนของความสูง ตัดส่วนยอดของต้นไม่ให้มีความสูงเกิน 3 เมตร ซึ่งจะเน้นให้ต้นลำไยมีทรงพุ่มที่แผ่กว้างมากกว่าที่จะปล่อยให้ทรงพุ่มสูง หลังจากตัดแต่งควบคุมทรงหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก็จะปล่อยให้ต้นได้พักฟื้นแตกใบตามธรรมชาติ 2-3 ชุด ก่อนที่จะตัดแต่งกิ่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการราดสารต่อไป

การผลิตลำไย จะมีอยู่ 3 ช่วงหลักๆ คือ ผลิตลำไยออกก่อนฤดู ออกสู่ตลาดก่อนลำไยในฤดูจะออกเล็กน้อย โดยผลผลิตจะออกช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม คือตั้งแต่การตัดแต่งกิ่งช่วงเดือนกันยายน ดึงใบอ่อน สะสมอาหาร อย่างการราดสาร ผมจะเริ่มราดสารในเดือนพฤศจิกายน เก็บเกี่ยวเดือนมิถุนายน ถ้าเราไม่ชิงราดสารช่วงเดือนพฤศจิกายน พอเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศหนาวจัด ลำไยมันจะออกดอกมาในฤดูหมด ผลผลิตก็จะไปตรงกับลำไยของทางภาคเหนืออีก ข้อจำกัดในแต่ละพื้นที่มีต่างกัน อย่างที่นี่ ถ้าทำเร็วเกินเจอแล้ง ถ้าทำช้าก็จะออกในฤดู เกษตรกรทุกคนจะรู้ดี

แต่ถ้าสวนใครโชคดี อยู่ในพื้นที่มีแหล่งน้ำดีก็จะผลิตออกสู่ตลาดเร็วกว่าสวนอื่น เพื่อให้ได้ราคาสูง เก็บขายช่วงกุมภาพันธ์-มีนาคม หรือช่วงราวๆ วันตรุษจีน ผลิตลำไยฤดูกาล ซึ่งลำไยในฤดูจะออกช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม ในแต่ละปี เช่น ทางเชียงใหม่ ลำพูน ที่จะผลิตลำไยในฤดูกาล และทางจันทบุรี ที่เน้น การผลิตลำไยนอกฤดูกาล ซึ่งการผลิตลำไยนอกฤดูกาลเรื่องน้ำสำคัญที่สุด อย่างที่นี่ก็ต้องวางแผนให้ดี

หลักการผลิตลำไย นอกหรือในฤดูกาลคล้ายคลึงกัน

เริ่มต้นต้อง “ตัดแต่งกิ่ง” ก่อนที่จะตัดแต่งกิ่งลำไยทุกครั้ง ก็ต้องบำรุงต้นให้ใบมีความสมบูรณ์ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 = 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 = 1 ส่วน ใส่ให้ต้นละ 1 กิโลกรัม (มากหรือน้อยกว่านี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของต้น) พร้อมใส่ปุ๋ยคอกเก่า หรือปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด หว่านให้ต้นละ 5 กิโลกรัม ปกติชาวสวนจะใส่ปุ๋ยกันล่วงหน้า 1 วัน หรือใส่กันวันแต่งกิ่งเลย เพราะจะแต่งกิ่งลำไยคลุมโคนและคลุมปุ๋ยเลยไม่มีการขนย้ายกิ่งออกจากสวน เพราะต้องการให้ใบและกิ่งคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้น ทิ้งไว้ให้ย่อยสลายช่วยปรับโครงสร้างของดิน และช่วยลดการสูญเสียไม่ให้ปุ๋ยหายไปกับน้ำปุ๋ย มันจะติดกับกิ่งและใบลำไยที่เราตัดแต่งคลุมโคนเอาไว้

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่งลำไย นั้นคือ

เร่งให้ลำไยแตกใบอ่อน การตัดแต่งกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเร่งการแตกใบอ่อน มีผลทำให้ต้นลำไยฟื้นตัวได้เร็ว และใบใหม่ที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่ในการสร้างอาหารสะสมไว้สำหรับการออกดอกติดผลในฤดูกาลถัดไป

ช่วยควบคุมความสูงของทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มเตี้ย ทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตและสะดวกต่อการดูแลรักษา เช่น การพ่นปุ๋ยทางใบหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องไม้ค้ำยันกิ่ง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

ลดการระบาดของโรคและแมลง ต้นลำไยที่มีทรงพุ่มทึบ มักเป็นแหล่งอาศัยของแมลง มีความชื้นสูงและก่อให้เกิดโรค เช่น โรคราดำ โรคจุดสาหร่ายสนิมและไลเคนส์ เป็นต้น การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และแสงแดดสามารถส่องทะลุเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง

ต้นลำไยตอบสนองต่อสารคลอเรต ต้นลำไยที่มีอายุมาก เมื่อให้สารโพแทสเซียมคลอเรต มักจะออกดอกน้อยหรือไม่สม่ำเสมอ การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงส่องเข้าไปในทรงพุ่มจะช่วยให้ต้นลำไยตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดี ทำให้ลำไยออกดอกมากขึ้น และใช้ปริมาณสารโพแทสเซียมคลอเรตลดลง

ผลผลิตมีคุณภาพดี ต้นลำไยที่มีทรงพุ่มทึบ ถ้าหากออกดอกติดผลดก ส่งผลให้ลำไยมีผลขนาดเล็ก ผลผลิตคุณภาพต่ำ การตัดแต่งกิ่งบางส่วนจะช่วยลดพื้นที่ออกดอกติดผลลงบ้าง ทำให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นและคุณภาพผลผลิตโดยรวมดีขึ้น

นอกจากข้าว ยางพารา อ้อย และปาล์มน้ำมันแล้ว มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ

ผมเดินทางไปพบเกษตรกรในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง นายณัฐนนท์ เดชโกพรม อายุ 46 ปีบ้านเลขที่ 205 ม.5 บ้านนาน้อย ต.ม่วงนา อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ นายณัฐนนท์ เล่าให้ฟังว่า การลงทุนปลูกมันสำปะหลัง ที่ดินของตนเอง ไถดะ 1 ครั้ง 250 บาท ไถพรวน 200 บาท ไถยกร่อง 250 บาท ค่าท่อนพันธุ์ ปลูกระยะ 80 คูณ 50 หรือ 100คูณ 60 เซนติเมตร ใช้ท่อนพันธุ์ 10 ถุงปุ๋ย 500 บาท ปุ๋ยยูเรียรองพื้น 50 ก.ก.ราคา 800 บาท ทำรุ่น 2 คน/วัน/ไร่ ค่าแรง วันละ 300 บาทรวม 600 บาท ทำรุ่น 2 ครั้ง 1,200 บาท การเก็บเกี่ยว(หรือการกู้มัน) 4 คน/ไร่/วัน ค่าแรงรวม 1,200 บาท ค่าขนส่ง ตันละ 130 บาท ต้นทุนการผลิต 4,500-5,000 บาท/ไร่

หากผลผลิต 4,000 ก.ก.ๆละ 2.50 บาท เกษตรกรพออยู่ได้ แต่ปัจจุบัน ราคามันสำประหลัง 2 บาท ลงมา พอมีกำไรไร่ละ 3,000 บาท/ปี

ความเป็นจริง บางพื้นที่ ผลผลิต 3 ไร่ ได้ 7,000 ก.ก.หรือประมาณ 2,000 ก.ก./ไร่ ขายได้ ไร่ละ 4,000 บาทลงทุน 4,000-4,5000 บาท ทางด้านนายสายสุวรรณ เดชโกพรม อายุ 51 ปี บ้านเลขที่ 217 ม.9 บ้านนาจารย์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ราคาเจ้าของลานมันสำปะหลังเป็นคนกำหนดวันนี้ขึ้นป้าย 2 บาท/ก.ก.พอมันสำปะหลังขนเข้าไปมาก ป้ายหน้าโรงงานลดลงเหลือ 1.50-1.75 บาท จำเป็นต้องขายมันสำปะหลังกู้แล้ว(เก็บเกี่ยวแล้ว) หากเป็นการประกันราคาของรัฐบาล นายหน้า พ่อค้าคนกลาง ไปจองคิวไว้ขายคิวต่อให้เกษตรกร หรือไม่ก็รับซื้อมันสำปะหลังราคาต่ำ แล้วไปขายในราคาประกัน จ้างเกษตรกรที่ ขึ้นทะเบียนไปขายให้ คันละ 400-500 บาท เกษตรกรโดนเอาเปรียบมาโดยตลอด หากเป็นการชดเชยราคา “มันสำปะหลัง” ลานมันจะซื้อเท่าไร รัฐบาลชดเชยให้ เป็นเรื่องดีมาก เพราะเกษตรกรได้ เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน ขายได้ 2 บาทรัฐบาลชดเชยให้ .50 บาท หรือ เกษตรกรขายได้ 1.50 บาท รัฐบาลชดเชย 1 บาท เกษตรกรพึงพอใจ

“ ท่านลองใช้สมองคิดดูครับ เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 1 ปี จึงเกิดรายได้ หากมันสำปะหลังเน่าตาย เพราะฝนตกชุก มันสำปะหลัง แห้งแล้งตาย เพราะความแห้งแล้ง 12 เดือนที่ผ่านมา เกษตรกรไม่เกิดรายได้ แม้แต่สลึงเดียว ขาดทุนย่อยยับเพราะเงินลงทุนจำนวนมาหาศาล ลูกเรียนหนังสือ เงินยังชีพในครัวเรือน เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงเป็นคนจนผู้ยิ่งใหญ่ ตลอดกาลนาน ยิ่งเกิด AEC การค้าเสรี มันสำปะหลังเพื่อบ้านทะลักเข้ามา ซื้อจากเพื่อบ้านต่ำกว่าราคา .50 บาท แล้วเกษตรกรไทยละครับ อ้อยมีสมาคมอ้อยดูแล มันสำปะหลัง มันเหม็นเน่า เหมือนกลิ่นลานมัน ใครจะดูแลครับ”นายสายสุวรรณกล่าว

นักส่งเสริมการเกษตร บอกแล้วว่า “ปลูกมันสำปะหลังมันไม่ได้ผล (ได้หัว)” ไม่ใช่เรื่องตลกครับ รัฐบาล ต้องก้มหน้าลงมามองเกษตรกรกลุ่มนี้ด้วยครับ

มันสำปะหลัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Manihot esculenta (L.) Crantz) เป็นพืชหัวชนิดหนึ่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญ ชื่อสามัญเรียกหลายชื่อเช่น Cassava, Yuca, Mandioa, Manioc, Tapioca ชาวไทยเดิมเรียกกันว่า มันสำโรง มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียกมันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า “มันหลา”) คำว่า “สำปะหลัง” ที่นิยมเรียกอาจมาจากคำว่า “ซำเปอ (Sampou)” ของชวาตะวันตก

มันสำปะหลังมีแหล่งกำเนิดแถบที่ลุ่มเขตร้อน (Lowland tropics) มีหลักฐานแสดงว่าปลูกกันในโคลัมเบีย และเวเนซูเอลา มานานกว่า 3,000-7,000 ปีมาแล้ว นิยมใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ สามารถปลูกได้ง่ายในพื้นที่ร้อน และร้อนชื้น จึงได้มีการสนับสนุนแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีสภาพภูมิอากาศดังกล่าวปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ

มันสำปะหลังเป็นไม้พุ่ม สูง 1.3-5 เมตร รากแบบสะสมอาหาร (tuberous root) สายพันธุ์ที่นิยมปลูกสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10-1.5 เซนติเมตร ใบมีร่องลึก 3-7 ร่อง มีหูใบ ก้านใบยาว ดอกเป็นช่อดอก ผลแบบแคปซูลทรงกลม ประมาณ 1.2 เซนติเมตร มี 3 เมล็ดใน 1 ผล การจำแนกสายพันธุ์ใช้คุณลักษณะหลายอย่างช่วยในการจำแนกเช่น สีของใบอ่อน สีก้านใบ สีลำต้น ขนที่ยอดอ่อน ลักษณะทรงต้น หูใบ การแปรรูปรากสะสมอาหารมันสำปะหลังเพื่อให้เก็บรักษาได้เป็นเวลานาน ถูกส่งออกในรูปแบบมันสำปะหลังอัดเม็ดมันเส้นสาคูแป้งมันสำปะหลัง

ดิบ : แก้โรคกระเพาะ (ฝาน อบ บดผง ชงกินกับน้ำดื่ม ช่วยเคลือบกระเพาะ)

ห่าม : แก้ท้องเสีย (ชดเชยโพแทสเซียมให้ร่างกาย) สุก : แก้ท้องผูก (มีแพคตินมาก เพิ่มกากใยในลำไส้)

งอม : ต้านมะเร็ง (สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว)

กล้วย เป็นผลไม้ที่ให้พลังงานแก่ร่างกายได้ทันที ถ้ากินกล้วยมื้อเช้าจะทำให้ร่างกายตื่นตัวและพร้อมทำงาน และการกินกล้วยควรเคี้ยวให้ละเอียด ไม่งั้นท่านอาจท้องเฟ้อได้ หากเราได้รู้ถึงสรรพคุณของกล้วยน้ำว้าที่มีมากมายขนาดนี้ จะกินกล้วยน้ำว้า วันละ 1-2 ผล ก็คงจะได้ประโยชน์กับสุขภาพของเราไม่น้อยเลยใช่ไหม

กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ของโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่วงการผลิตและการค้าสับปะรดของโลก ฉบับนี้จึงได้นำข้อมูลสถานการณ์ และความเคลื่อนไหวของสับปะรด พันธุ์ MD-2 ในตลาดต่างประเทศ ในช่วงเวลาสัก 4-5 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เห็นพัฒนาการด้านการผลิตและการตลาดของเขาว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะประเทศในแถบละตินอเมริกา ที่ผงาดขึ้นมาเป็นเจ้าแห่งการผลิตและส่งออก สับปะรด MD-2 นี้ ซึ่งประเทศเล็กๆ อย่าง ประเทศคอสตาริกา (Costa Rica) ที่มีการผลิตและส่งออกสับปะรดผลสดขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกได้ ภายในช่วงเวลาไม่กี่ปี กรณีตัวอย่างนี้น่าจะให้ข้อคิดอะไรกับวงการสับปะรดบ้านเราได้บ้าง

สับปะรด MD-2 จัดว่าเป็นพันธุ์ที่ฮือฮาล่าสุดในวงการค้าและตลาดโลก ออกแนะนำเข้าสู่ตลาดโดย บริษัท Del Monte Foods บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรด ที่ได้พัฒนาสับปะรดผลสดพันธุ์นี้ขึ้นมา และเข้าครองตลาดหลักได้อย่างรวดเร็ว โดย สับปะรด MD-2 มีสัดส่วนการตลาดในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปถึงร้อยละ 95 สามารถแย่งตลาดจากสับปะรดพันธุ์สมูทเคยีนและสับปะรดพันธุ์อื่นๆ ที่เคยครองความนิยมของผู้บริโภคลงได้อย่างสิ้นเชิง เป็นการพลิกประวัติศาสตร์ในวงการค้าสับปะรดผลสดของโลกกันเลยทีเดียว

จากผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ จนได้ สับปะรด MD-2 ควบคู่กับการใช้กลยุทธ์การตลาดเป็นเครื่องมือส่งเสริมสู่ผู้บริโภค แม้ว่าในช่วงแรกๆ จะมีหลายกลุ่มที่ยังไม่ยอมรับ/และไม่เห็นด้วยกับการแนะนำสับปะรดพันธุ์นี้ ทั้งจากทีมงานผู้ที่เกี่ยวข้องในบริษัท และผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ยังเคยชินกับรสชาติ และจุดเด่นอื่นๆของสับปะรดพันธุ์สมูทเคยีน (Smooth Cayenne) มาอย่างยาวนาน จนติดเป็นภาพลักษณ์ (image) ไปแล้ว แต่ด้วยการนำเสนอข้อมูลจุดเด่นที่เหนือกว่า และการประชาสัมพันธ์ที่ดี โดยการนำเสนอถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นของสับปะรด

พันธุ์ MD-2 ที่ต่างจากพันธุ์สับปะรดอื่นๆ จึงสร้างการยอมรับ และเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ในเวลาไม่นาน ตลาดสับปะรดผลสดถูกปลุกกระแสขึ้นมา และฮือฮาด้วยราคาซื้อขาย สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก ขณะที่ผู้บริโภคก็ได้รับสับปะรดคุณภาพดี เรียกว่า win-win-win กันไป จึงส่งผลให้มีการขยายพื้นที่การผลิตไปในแหล่งผลิตสับปะรดที่สำคัญๆ ของโลก เช่น กลุ่มประเทศแถบละตินอเมริกาเกือบทั้งหมด ทวีปแอฟริกาใต้ และทวีปเอเชีย ทั้งฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เพราะมองเห็นช่องทางสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ เพียงแค่เปลี่ยนจากพันธุ์เดิมๆ มาปลูกพันธุ์ใหม่เท่านั้น ขอเรียกช่วงนี้ว่าเป็นยุคที่สับปะรด พันธุ์ MD-2 ฟีเวอร์ (fever) ก็คงจะพอได้ครับ

โดยธรรมชาติ สับปะรดเป็นผลไม้เขตร้อน (tropical zone) แต่ก็เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศกึ่งเขตร้อน (semi-tropical zone) จัดเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มีปริมาณการค้าในตลาดระหว่างประเทศ ที่จัดเป็นอันดับ 3 รองจากกล้วยหอมและส้ม ผลผลิตรวมของโลกประมาณปีละ 22-24 ล้านตัน ซึ่งในโลกนี้มีสับปะรดมากกว่า 100 พันธุ์ แต่ที่ได้รับความนิยมกันในตลาดโลก มีอยู่เพียง 6-10 พันธุ์ เท่านั้น และเมื่อปี 2539 บริษัท Del Monte Foods ได้แนะนำสับปะรด พันธุ์ MD-2 ที่เป็นลูกผสมระหว่างสับปะรดสายพันธุ์

PRI hybrids 58-1184 กับ 59-443 ที่มีลักษณะเด่น คือผิวเปลือกเป็นมันวาว, สีเหลืองทองอมเขียว, ปริมาณวิตามินซีสูงเป็น 4 เท่า, เนื้อเหลืองทองเข้ม (dark yellow), เนื้อแน่นและนุ่ม, ผลเป็นรูปทรงกระบอก/ไหล่เต็ม (square shoulder), ปริมาณกรดน้อยกินแล้วไม่แสบลิ้น, รสชาติหวานนำ กลิ่นหอม ฯลฯ ซึ่งลักษณะที่ดีเหล่านี้ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการยอมรับอย่างรวดเร็ว จนเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตลาดสับปะรดผลสดไปทันที โดยยอดผู้บริโภคสับปะรดผลสดในอเมริกาเหนือและสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ซึ่งปัจจุบัน สับปะรด พันธุ์ MD-2 ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาดสับปะรดผลสดของโลก มีปริมาณซื้อขายกัน ประมาณ 2 กว่าล้านตัน/ปี

อุตสาหกรรมการส่งออกสับปะรดผลสดของโลก ก้าวสู่จุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ หลังจากการเปิดตัว พันธุ์ MD-2 เข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ เมื่อ ปี 2539 จากเดิมที่ตลาดสับปะรดผลสดส่วนใหญ่ และอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรดกระป๋อง ก็ใช้สับปะรดพันธุ์สมูทเคยีน (smooth cayenne) แต่ที่สุดก็ถึงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น บริษัท Del Monte Foods จึงกลายเป็นผู้ที่หยุดการผูกขาดในตลาดการค้าของสับปะรด พันธุ์สมูทเคยีน ที่เคยเป็นพระเอกมาอย่างยาวนาน

ในช่วงที่ บริษัท Del Monte Foods ได้พัฒนาระบบการผลิตไปด้านสับปะรดผลสดนั้น ต้องพบกับปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การที่ต้องเผชิญกับความผันผวน/แปรปรวนด้านคุณภาพของผลสับปะรดที่เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูกาลต่างๆ ซึ่งเป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า คุณภาพสับปะรดจะไม่ค่อยดีในระหว่างฤดูหนาว (winter) เนื่องจากปริมาณกรด (acidity) ในผลสับปะรดจะมีสะสมอยู่สูงมากในช่วงหนาวของปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวจัดเป็นช่วงเทศกาล/เป็นวันหยุดสำคัญของปี ที่ความต้องการมีมาก แต่กลับเป็นช่วงที่ซบเซาของตลาดสับปะรดผลสด

เพราะจากรสชาติที่ออกเปรี้ยวนำจึงไม่ถูกปากผู้บริโภค ขณะที่ผลไม้ทางเลือกชนิดอื่นในช่วงนี้ก็มีปริมาณน้อย ซึ่งหากสับปะรดพันธุ์สมูทเคยีน ที่ครองตลาดอยู่เดิม มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ และคงที่ตลอดปี ผู้บริโภคจะไม่สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ระหว่างผลผลิตช่วงฤดูร้อน และช่วงฤดูหนาว ตรงนี้เป็นมุมมองสำคัญที่ผู้บริหารของ Del Monte Foods เห็นโอกาสทางตลาด จึงเร่งพัฒนา สับปะรด MD-2 เข้ามานำเสนอแก่ผู้บริโภคในช่วงดังกล่าว และยังสามารถแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่นได้ ซึ่งเป็นช่องทางสร้างรายได้จากผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งด้วย

สถานการณ์การส่งออก สับปะรด MD-2 ปี 2559

การส่งออก สับปะรด MD-2 ในตลาดการค้าของโลก สมัคร Sa Gaming จากประเทศต่างๆ ในปี 2559 มีมูลค่ารวมกันประมาณ 70,000 ล้านบาท (2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็นมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 17.7 เทียบกับที่มีการส่งออกนับตั้งแต่ ปี 2555 ที่มีการส่งออกเป็นมูลค่า 59,500 ล้านบาท (1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมีแหล่งผลิตกระจายอยู่ในแต่ละทวีป แต่ที่เป็นแหล่งผลิตใหญ่ ได้แก่ กลุ่มประเทศในแถบอเมริกากลาง และกลุ่มทะเลแคริบเบียน มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในปี 2558 คิดเป็น ร้อยละ 51.1, สหภาพยุโรปมีการส่งออก ร้อยละ 23.8 (เป็นการนำเข้ามาแล้วส่งออก “re-export” ให้ลูกค้าเครือข่าย), ประเทศแถบเอเชีย ร้อยละ7.2, และแอฟริกา ร้อยละ 3.2 ตามลำดับ

ประเทศผู้ส่งออก สับปะรด MD-2 สูงสุด 15 อันดับ ในปี 2559

คอสตาริกา : 905.3 ล้านดอลลาร์ (31,685 ล้านบาท)
เนเธอร์แลนด์ : 265.8 ล้านดอลลาร์ (9,303 ล้านบาท)*
ฟิลิปปินส์ : 228.4 ล้านดอลลาร์ (7,994 ล้านบาท)
เบลเยียม : 105.4 ล้านดอลลาร์ (3,689 ล้านบาท)*
สหรัฐอเมริกา : 101.2 ล้านดอลลาร์ (3,542 ล้านบาท)
เม็กซิโก : 42.6 ล้านดอลลาร์ (1,491 ล้านบาท)
ไต้หวัน : 38.8 ล้านดอลลาร์ (1,358 ล้านบาท)
เอกวาดอร์ : 37.5 ล้านดอลลาร์ (1,312.5 ล้านบาท)
กานา : 30.4 ล้านดอลลาร์ (1,064 ล้านบาท)
สเปน : 30.4 ล้านดอลลาร์ (1,064 ล้านบาท)*
ฮอนดูรัส : 26.4 ล้านดอลลาร์ (924 ล้านบาท)
ไอวอรีโคสต์ : 25 ล้านดอลลาร์ (875 ล้านบาท)
ปานามา : 21.7 ล้านดอลลาร์ (759.5 ล้านบาท)
เยอรมนี : 18.2 ล้านดอลลาร์ (637 ล้านบาท)*
อิตาลี : 15.1 ล้านดอลลาร์ (528.5 ล้านบาท)*

(หมายเหตุ : ดอลลาร์สหรัฐ, อัตราแลกเปลี่ยนที่ 35 บาท/ดอลลาร์,*ประเทศที่นำเข้าและมีการส่งออก)

ภาพรวมการส่งออก สับปะรด MD-2 ที่ได้จาก 15 ประเทศ คิดเป็น ร้อยละ 94.2 ของมูลค่าการค้าสับปะรดผลสดในตลาดโลก ซึ่งในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ ปี 2555 คือ ไต้หวัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1,008, กานา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 895.7, ฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 125.3, และเม็กซิโก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 78.4 9 ตามลำดับ

ตลาดเปิดกว้าง : หลายประเทศเร่งขยายการผลิตและส่งออก

เม็กซิโก ขยายการส่งออก : จากการที่ผู้บริโภคยอมรับคุณภาพสับปะรดจากประเทศเม็กซิโก ว่ามีรสชาติหวานและเนื้อนุ่มฉ่ำ ขณะที่ปัจจุบันมีการส่งออกประมาณ 30% ของผลผลิตรวมในประเทศ การส่งออกส่งผ่านทางชายแดนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทางผู้ส่งออกคาดหวังว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกได้มากขึ้น นอกจากนี้ เม็กซิโก ยังส่งสับปะรดผลสดไปขายยังประเทศสเปนและเกาหลีใต้อีกด้วย