ผลใหญ่เท่าลูกปิงปอง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ขายได้ราคาสูงกว่า

ในวงการผู้ปลูกลำไยต่างก็ทราบดีว่า ปัจจุบันลำไยทุกสายพันธุ์ปลูกให้ออกดอกและติดผลได้ทั่วประเทศ โดยการบังคับด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต หรือโซเดียมคลอเรต สารทั้งสองชนิดดังกล่าวสามารถกำหนดการออกดอกและติดผลของลำไยทุกสายพันธุ์ได้ เพียงแต่พื้นที่ปลูกลำไยควรจะมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น พื้นที่ปลูกลำไยจึงไม่จำเป็นจะต้องเลือกพื้นที่ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน หรือพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นอีกต่อไป การบริโภคผลไม้ของคนไทย พบว่ายังมีกลุ่มคนไทยที่ชอบบริโภคผลไม้ที่มีขนาดของผลใหญ่ รสชาติจะต้องดีด้วย

อย่างกรณีของสายพันธุ์ลำไยพบว่า ในปัจจุบันนี้มีลำไยอย่างน้อย 2 สายพันธุ์ ที่มีขนาดของผลใหญ่กว่าสายพันธุ์ทางการค้าทั่วไป (มีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อีดอ เบี้ยวเขียว สีชมพู ฯลฯ) หรืออาจจะสรุปง่ายๆ ว่ามีขนาดของผลใหญ่ใกล้เคียงกับลูกปิงปอง (แต่ไม่ใช่พันธุ์ปิงปองของเวียดนาม) นอกจาก พันธุ์จัมโบ้ และยังมีอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ พันธุ์ “บ้านโฮ่ง 60”

ลักษณะประจำพันธุ์ ลำไย พันธุ์ “อีดอ 60” หรือ “บ้านโฮ่ง 60” ซึ่งเริ่มปลูกที่บ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เป็นลำไยที่กลายพันธุ์มาจากลำไยพันธุ์อีดอ ผลโตสม่ำเสมอ ช่อสวย เปลือกหนาแข็ง ลักษณะผลแตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน เมื่อแกะเปลือกออกมีฝ้าขาวๆ เหมือนลิ้นจี่ ที่มาของชื่อพันธุ์ และความใกล้ชิดกับพันธุ์อื่น

มีการค้นพบและตั้งชื่อพันธุ์ เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในปี 2549 ลักษณะผลของลำไยพันธุ์บ้านโฮ่ง 60 คือ รูปร่างกลมแป้นผลป้อมรี ปลายผลป้านกลม ผิวเปลือกขรุขระ ความกว้างผล 30.74 เซนติเมตร ความยาวผล 28.87 เซนติเมตร น้ำหนักผล 17.77 กรัม จำนวนผลต่อกิโลกรัม 71 ผล ร้อยละของน้ำหนัก เปลือก:เนื้อ:เมล็ด 23:64:13 ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 23.71 บริกซ์ (ความหวาน)

“ลำไยพันธุ์บ้านโฮ่ง 60” จากที่ สวนคุณลี อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. 081-886-7398 เป็นสวนหนึ่งในภาคเหนือตอนล่างที่ปลูกลำไยบ้านโฮ่งมา 10 กว่าปี “บ้านโฮ่ง 60” นี้มีลักษณะใกล้เคียงกันระหว่างลำไย พันธุ์ “เบี้ยวเขียว” กับ “อีดอ” โดยที่ลักษณะของใบจะเหมือนกับลำไยอีดอ คุณภาพเนื้อคล้ายกับ พันธุ์เบี้ยวเขียว คือเนื้อแห้ง หวาน กรอบ และเนื้อหนา ผลใหญ่มาก ออกดอกง่ายพอๆ กับ พันธุ์อีดอ อายุการเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกับพันธุ์อีดอ

และพบว่าในระยะติดผลอ่อนจะมีหนามเหมือนกับผลลิ้นจี่และหนามจะหายไปเมื่อผลลำไยเริ่มแก่ และยังพบลักษณะเด่นของลำไยสายพันธุ์นี้คือ เมื่อผลแก่มีขนาดของผลใหญ่ใกล้เคียงกับลูกปิงปอง มีเปลือกหนาและเหนียว เนื้อหนาและแห้ง รสชาติหวานและกรอบ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติอร่อยไม่แพ้พันธุ์อีดอเลย

จากการที่ได้นำผลผลิตลำไย พันธุ์ “บ้านโฮ่ง 60” วางขายในตลาดผลสดเปรียบเทียบกับพันธุ์อีดอ พบว่าคงสภาพสดได้นานกว่าลำไยอีดอวางขายสดในตลาดได้นาน 4-5 วัน แต่พันธุ์ “บ้านโฮ่ง60” วางได้นานถึง 10 วัน ราคาขายถึงผู้บริโภคจะได้สูง ลักษณะเด่นของลำไยยักษ์สายพันธุ์นี้ จะมี “ขนาดของผลใหญ่กว่าสายพันธุ์การค้าทั่วไป ใหญ่ใกล้เคียงกับลูกปิงปอง มีเปลือกหนาและเหนียว ลักษณะของเนื้อแห้งหนา กรอบ และรสชาติหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เนื้อแห้งไม่แฉะเลย รสชาติอร่อยไม่แพ้พันธุ์อีดอที่หลายคนชื่นชอบ”

ช่วงแรก ที่เหมาะสำหรับราดสารควรมีสภาพอากาศปลอดโปร่ง ดินแห้ง โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝน แต่ก็มีข้อจำกัดว่าหากใช้สารแล้วดอกบานตรงฤดูหนาวดอกตัวเมียจะมีขนาดเล็กและละอองเกสรตัวผู้จะมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ ทำให้ไม่ติดผล ดังนั้น ต้องคำนวณระยะเวลาให้ดี ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมในการราดสารให้ ได้แก่ ปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนลำไยในฤดูปกติ แต่ถ้าราดสารปลายเดือนตุลาคมดอกจะบานตรงอากาศหนาวเย็นพอดี ทำให้ลำไยไม่ติดผล

ช่วงที่สองคือ ราดสารเดือนธันวาคมถึงมกราคม ขณะที่อากาศเย็นก็จะออกดอกได้พร้อมกับลำไยในฤดู และมีข้อดีคือ ผลค่อนข้างดกมากกว่าลำไยในฤดูซึ่งไม่ราดสาร และช่วงสาม ได้แก่ การผลิตลำไยนอกฤดูให้เก็บเกี่ยวได้ตรงเทศกาลปีใหม่หรือตรุษจีน ก็จะให้สารเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ซึ่งเป็นระยะที่ฝนยังไม่ตกชุกมากนัก

การราดสาร 3 ช่วง ดังกล่าวนี้ ก็จะออกดอกติดผลค่อนข้างดี สำหรับช่วงอื่นๆ ในรอบปีนั้น ได้ผลไม่ค่อยดี เช่น เดือนมีนาคมมีอากาศร้อนเกินไป เมื่อออกดอกจะทำให้ช่อดอกสั้น จำนวนดอกในช่อมีน้อย พัฒนาการของดอกสั้น ดอกบานเร็วและติดผลน้อย ส่วนการราดสารเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเป็นช่วงที่อากาศมืดครึ้มด้วยเมฆหมอกและดินชุ่มฉ่ำด้วยน้ำ การให้สารในลักษณะนี้จะได้ผลน้อยหากโคนต้นมีน้ำท่วมขัง ให้งดใช้สารโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นต้นอาจตายได้ ซึ่งสุดท้ายแล้วการราดสารตัวเกษตรกรจะเป็นคนตัดสินใจว่า จะเลือกราดสารหรือพ่นสารในช่วงเวลาใด เพราะพื้นที่ปลูกในแต่ละพื้นที่มีปัจจัยที่ต่างกันนั่นเอง

เตรียมต้นลำไย หรือเตรียมความพร้อมให้กับต้นลำไย

การเริ่มต้นก็คือ การตัดแต่งกิ่ง ก่อนที่จะตัดแต่งกิ่งก็ต้องบำรุงต้นให้ใบมีความสมบูรณ์ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 = 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 = 1 ส่วน ใส่ให้ต้นละ 1 กิโลกรัม พร้อมใส่ปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด หว่านให้ต้นละ 5 กิโลกรัม ปกติชาวสวนจะใส่ปุ๋ยกันล่วงหน้า 1 วัน หรือใส่กันวันแต่งกิ่งเลย เพราะจะแต่งกิ่งลำไยคลุมโคนและคลุมปุ๋ยเลยไม่มีการขนย้ายกิ่งออกจากสวน เพราะต้องการให้ใบและกิ่งคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้น ทิ้งไว้ให้ย่อยสลายช่วยปรับโครงสร้างของดิน และช่วยลดการสูญเสียไม่ให้ปุ๋ยหายไปกับน้ำ ปุ๋ยมันจะติดกับกิ่งและใบลำไยที่เราตัดแต่งคลุมโคนเอาไว้

หลังตัดแต่งกิ่งลำไยได้ 7 วัน ก็ต้องฉีดพ่นปุ๋ยเพื่อดึงใบอ่อนให้ออกมาเสมอกันทั้งต้น แต่เนื่องจากสวนมีขนาดใหญ่ จึงเลือก ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ที่เป็นปุ๋ยทางดิน เอามาประยุกต์ฉีดพ่นทางใบแทนปุ๋ยทางใบที่มีสูตรตัวหน้า (ไนโตรเจน) สูงๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต จากการใช้ปุ๋ยยูเรีย ก็ใช้ได้ผลดีพอสมควร อัตราที่ใช้คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 จำนวน 5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (สามารถผสมสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงฉีดพ่นไปพร้อมกันได้เลย) แต่ถ้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น แนะนำว่าบวกกับฮอร์โมน “จิบเบอเรลลิน” (Gibberellin) ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนออกมาพร้อมสม่ำเสมอกันทั่วทั้งต้น แตกใบเร็วขึ้น ออกมารุ่นเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการดูแล

นั่นมีความสำคัญมากในการทำใบลำไยให้ออกมาเป็นชุดๆ ระวังหนอนและแมลงกัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบ หนอนมังกร หนอนหนาม ด้วงกินใบ ด้วงกุหลาบ และแมลงค่อมทอง การป้องกันกำจัด ให้ฉีดสารเคมี เช่น คลอไพรีฟอส 50%+ไซเพอร์เมทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

หลังจากแตกใบอ่อนได้ราวๆ 10 วัน คือเมื่อใบลำไยเริ่มคลี่แผ่ออก ก็จะต้องเริ่มฉีดสะสมอาหารด้วยปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบ ปุ๋ยที่ใช้ก็จะใช้ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 5 กิโลกรัม ผสมกับน้ำตาลทางด่วน 1 ลิตร ผสมกับแมกนีเซียมเดี่ยว (Mg) อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร (บวกสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามสถานการณ์ไปได้พร้อมกันเลย) การฉีดสะสมอาหารจะฉีดพ่นด้วยสูตรนี้ทั้ง 3 ครั้ง ห่างกันทุกๆ 10 วัน

พออายุใบลำไยได้ 45 วัน ใบลำไยจะอยู่ในระยะเพสลาดเกือบจะแก่ เราจะต้องราดสาร “โพแทสเซียมคลอเรต” (Potassium Chlorate) หรือ “โซเดียมคลอเรต” (Sodium Chlorate) การราดสารทำได้หลายวิธี เช่น วิธีการราดหรือหว่านทางดิน เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากการตอบสนองของลำไยค่อนข้างได้ผลแน่นอนกว่าวิธีอื่น

การให้ทางดินมี 2 วิธี คือ การผสมน้ำรดใต้ชายทรงพุ่มลำไย โดยชั่งสารตามที่ให้คำนวณไว้ของแต่ละต้น ละลายในน้ำที่บรรจุในถังพลาสติก เมื่อละลายดีแล้วจึงเติมน้ำให้พอที่จะราดได้ทั่ว ปกติจะผสมน้ำให้ได้ประมาณ 60-80 ลิตร ต่อต้น หลังราดสารแล้วจำเป็นต้องให้น้ำเป็นระยะๆ เพื่อให้ยังคงมีความชื้นอยู่ สำหรับการดูดซับสารของรากจนกว่าจะออกดอก อีกวิธีหนึ่งคือ การหว่านในรูปของผงผลึกที่ชั่งไว้ตามที่คำนวณ โดยหว่านให้ทั่วโคนต้นแล้วรดน้ำตาม วิธีนี้เหมาะสำหรับให้สารในช่วงมีฝนตกชุกจะได้ผลดี แต่วิธีแรกจะได้ผลดีเมื่อดินแห้ง มีความชื้นน้อย ก่อนราดสารทางดินควรกำจัดวัชพืชหรือเศษใบไม้ใบหญ้าออกจากโคนต้นก่อน เพื่อป้องกันการตกค้างของสารบนวัสดุดังกล่าว เมื่อทำความสะอาดแล้วสารจะได้ซึมลงสู่ดินและดูดซึมด้วยรากได้ทันที ขณะที่ชั่งสารละลายสารและราดสารต้องสวมถุงมือและหน้ากากป้องกันสารพิษด้วย

ต้นลำไยที่จะราดสารต้องเป็นต้นที่มีใบแก่เขียวเข็มและสมบูรณ์ หากเห็นมีใบอ่อนเริ่มพัฒนาแล้วไม่ควรราดสาร เพราะใบอ่อนจะพัฒนาต่อไปจนเป็นใบแก่และไม่ออกดอก จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอเนื่องจากต้องให้น้ำบ้างหลังให้สารแล้ว มิฉะนั้นใบจะเหลืองเหี่ยวเฉาและต้นอาจตายได้ สารคลอเรตควรเป็นสารบริสุทธิ์ในรูปผลึกสีขาว หากเป็นสีอื่นแสดงว่าได้รับการผสมกับสารอื่น และไม่ควรใช้ เพราะอาจเป็นอันตรายหรือเกิดการระเบิดได้

ถ้าหลังมีฝนตกหนักและมีน้ำขังบริเวณโคนต้นหรือดินชุ่มน้ำการราดสารจะไม่ได้ผล เนื่องจากระบบรากอิ่มน้ำอยู่ก่อนแล้ว และไม่ดูดสารที่ราดในปริมาณที่เพียงพอ ถ้าสภาพอากาศหนาวการแสดงผลการราดสารไม่ชัดเจน เนื่องจากความเย็นทำให้ต้นลำไยเกิดความเครียด ต้นจะชะงักการเจริญเติบโต แต่ระบบรากก็ยังคงดูดธาตุอาหารได้ ซึ่งสารจะถูกดูดเข้าสู่ลำต้นได้เช่นกัน ลำไยเมื่อได้รับสารจะกระตุ้นให้ออกดอก แต่ดอกไม่สามารถพัฒนาออกมาได้ จนกว่าสภาพอากาศอุ่นขึ้น ทำให้ดอกพัฒนาออกมาพร้อมกับดอกที่ออกตามฤดูปกติ

ขั้นตอนการราดสาร

วิธีการราดสารละลายหรือหว่านสารลงดิน เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากที่สุด เนื่องจากต้นลำไยตอบสนองได้ดีและแสดงผลชัดเจน โดยเลือกต้นที่มีความสมบูรณ์ดังกล่าวข้างต้น ควรผ่านการแตกใบอ่อนแล้ว 2 ครั้ง ขึ้นไป ใบควรมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายยอดยังแข็งและยังไม่เริ่มพัฒนาเป็นใบอ่อน ทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่มโดยเอาหญ้าและเศษขยะออกจากโคนต้นให้หมด เพื่อให้สารละลายซึมลงสู่รากบริเวณผิวดินได้ง่ายขึ้น หากดินแห้งเกินไปควรพรมน้ำเล็กน้อยในบริเวณทรงพุ่มก่อนราดสาร เพื่อให้เวลาราดสารแล้วจะได้ซึมไปสู่รากสะดวกรวดเร็วขึ้น แต่ถ้าหากดินชุ่มฉ่ำน้ำมากไปต้องระบายน้ำออกและควรปล่อยให้ดินแห้งพอควรจึงค่อยราดสาร วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มเป็น “เมตร” แล้วคูณด้วย 60 ก็จะเป็นปริมาณสารที่ใช้เป็นกรัม เช่น วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มได้ 6 เมตร ก็จะใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตบริสุทธิ์ 95% เท่ากับ 6×60 = 360 กรัม เป็นต้น

หากต้นลำไยมีขนาดใหญ่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 10 เมตร ขึ้นไป ก็ไม่ควรใส่สารเกินต้นละ 1 กิโลกรัม นำสารผสมน้ำให้พอที่จะราดได้ทั่วรอบโคนต้น ซึ่งประมาณ 60-80 ลิตร ต่อต้น เวลาราดสารให้ห่างโคนต้น ประมาณ 50 เซนติเมตร และราดทั่วบริเวณภายในทรงพุ่มจนถึงชายพุ่มที่ได้ทำความสะอาดไว้ หลังราดสารแล้วจำเป็นต้องให้น้ำเพื่อรักษาความชื้นให้พอเหมาะอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วง 10 วันแรก เพื่อสารจะได้ซึมเข้าสู่รากอย่างต่อเนื่อง และป้องกันมิให้เป็นพิษต่อรากและต้นลำไย หรือสะสมในดิน

หากใช้วิธีการหว่านสาร ซึ่งเป็นผลึกลงในดินโดยตรง ยิ่งจำเป็นที่จะต้องให้น้ำในปริมาณมากและสม่ำเสมอเพื่อละลายสาร ซึ่งบางครั้งเป็นก้อนเล็กก้อนใหญ่ไม่เท่ากัน การละลายจึงยากง่ายต่างกัน บางครั้งหว่านสารในปริมาณที่มากและก้อนใหญ่ทำให้ละลายช้า จึงมีผลต่อการออกดอกซ้ำซ้อน จะเห็นว่าเมื่อดอกรุ่นแรกเริ่มติดผล แต่ช่อที่ติดผลนั้นมีปริมาณผลน้อย ดอกก็จะออกมาในช่อนั้นอีก ทำให้มีดอก 2 รุ่น ผล 2 รุ่น เล็กบ้างใหญ่บ้างซึ่งจะมีผลต่อการเก็บเกี่ยวในอนาคตข้างหน้าอีก เพราะแก่ไม่พร้อมกัน ถ้าติดผลไม่ดีทั้งต้น ก็จะมีดอกประปรายทั้งต้น เป็นปัญหามาก แต่ต้นที่ติดผลดกจะไม่พบอาการออกดอกซ้ำซ้อน

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้จัดโครงการนำสื่อมวลชนศึกษาดูงานแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้เขียนได้ติดตามชมผลงานของศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในส่วนความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน กรมวิชาการเกษตร โดยมี คุณมณเทียน แสนดะหมื่น นักวิชาการเกษตร รักษาการหัวหน้าศูนย์ให้คำบรรยายและนำชมแปลงปลูกโกโก้ สรุปได้ว่า

โกโก้ มีการพัฒนาพันธุ์มาจาก 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์คริโอโล ลักษณะผลใหญ่มีสีแดงหรือเขียว ผลสุกมีสีเหลือง เปลือกบางนิ่ม ผิวขรุขระ ก้นแหลม เมล็ดใหญ่สีขาวหรือม่วงอ่อน กลิ่นหอม รสชาติดี ผลผลิตต่ำ ไม่ต้านทานโรค

สายพันธุ์ฟอรัสเทอร์โร่ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เวสต์แอฟริกัน อมีโลนาโด และอับเปอร์อะเมซอน นอกจากนี้ จะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม คือ พันธุ์ลูกผสมชุมพร 1 รับรองโดยกรมวิชาการ เมื่อ 17 มิถุนายน 2537 ลักษณะผลป้อม ร่องค่อนข้างตื้น ผิวเรียบ ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อในเมล็ดสีม่วง เริ่มให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูก 2 ปี ลักษณะเด่นคือ ออกผลเร็ว ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 127.2 กิโลกรัม มีความสม่ำเสมอในการให้ผลผลิต เมล็ดมีขนาดตรงตามมาตรฐานสากล คือไม่เกิน 110 เมล็ด ต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม เมล็ดมีไขมันสูง ร้อยละ 57.27 ทนทานต่อโรคกิ่งแห้งค่อนข้างสูง และทนทานต่อโรคผลเน่าดำปานกลาง สายพันธุ์ UITI x NA 32 ขนาดผลค่อนข้างใหญ่ น้ำหนักเมล็ดโดยเฉลี่ย 0.99 กรัม ต่อเมล็ด ผลผลิตเมล็ดแห้งโดยเฉลี่ย 130-150 กิโลกรัม ต่อไร่

พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกโกโก้ ลักษณะดินควรเป็นดินร่วน ปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูง หน้าดินลึก การระบายน้ำในดินค่อนข้างดี สภาพความเป็นกรดด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-7.0 ปริมาณน้ำฝนควรกระจายสม่ำเสมอ ระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิลิตร ต่อปี

วิธีปลูกโกโก้ สามารถปลูกได้ 2 ระบบ ปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว แต่วิธีนี้ไม่นิยมปลูก เนื่องจากมีความยุ่งยากในการดูแลทั้งโกโก้และพืชร่มเงา ระยะแรกที่ปลูกโกโก้ จำเป็นต้องสร้างร่มเงาให้โกโก้ก่อนจึงตัดร่มเงานั้นออกภายหลัง ระบบปลูกเป็นพืชแซมในสวนมะพร้าวและผลไม้อื่น เช่น กล้วย แคฝรั่ง กระถินยักษ์ สะตอ ต้นโกโก้ที่มีขนาดเล็กหรือระยะก่อนให้ผลผลิต ต้องการแสงแดดประมาณร้อยละ 30 และต้องการมากขึ้นประมาณร้อยละ 60-70 เมื่อต้นโกโก้ให้ผลผลิตแล้ว ระยะปลูกโกโก้นิยมปลูก 3×3 เมตร

แต่หากปลูกในสวนมะพร้าวหรือไม้ผลอื่นๆ ระยะปลูก 8.50×8.50 เมตร หรือ 9×9 เมตร หรือ 10×10 เมตร จะได้ต้นโกโก้ประมาณ 120-150 ต้น หลุมปลูกต้นโกโก้ควรขุดลึก 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยกาบมะพร้าว เพื่อช่วยให้อุ้มน้ำได้ดีขึ้น ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต ประมาณ 200 กรัม ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรใส่ปุ๋ยคอกผสมกับดินปลูก ประมาณหลุมละ 2-3 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยโดยใช้วิธีหว่านบริเวณทรงพุ่ม แบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้ง การตัดแต่งกิ่ง เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะเป็นการลดการระบาดของโรคและแมลง ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ระยะแรกที่ปลูกโกโก้จะแตกใบอ่อนบริเวณโคนต้นและบริเวณลำต้น ต้องหมั่นตัดกิ่งเหล่านี้ออก เพื่อเลี้ยงลำต้นเดี่ยว เมื่อต้นโกโก้สูงประมาณ 1.50 เมตร เริ่มปล่อยให้ต้นโกโก้แตกคาคบ บริเวณนี้ตัดแต่งให้เหลือเพียง 3 กิ่ง การให้น้ำ โกโก้เป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างชุ่มชื้น ในช่วงฤดูแล้งถ้าฝนทิ้งช่วงนานกว่า 3 เดือน จะต้องให้น้ำทันที

โรคกิ่งแห้ง ลักษณะของโรคคือ ปลายยอดจะแห้ง บริเวณนี้จะเกิดตาข้างแตกออกมามาก แต่จะเน่าตายก่อนพัฒนาเป็นกิ่ง ป้องกันกำจัดโดยตัดบริเวณที่เป็นโรคออกและให้เลยเข้าไป ประมาณ 1 ฟุต เพื่อไม่ให้เชื้อราลุกลามไปยังส่วนอื่น

โรคผลเน่า เกิดจากเชื้อราเข้าไปทำลายส่วนของผล สมัครเสือมังกร เกิดแผลสีน้ำตาลเข้มจนถึงเกือบดำ ลักษณะฉ่ำน้ำลุกลามไปทั่วผล การป้องกันกำจัด ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อลดร่มเงา เก็บผลโกโก้สุกออกให้หมด เพื่อลดแหล่งสะสมโรค หลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ เพราะความชื้นสูงที่เป็นสาเหตุให้โรคระบาดอย่างรวดเร็ว ฉีดพ่นด้วยสารคูปราวิท คอปเปอร์ออกไซด์ 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง

มวนโกโก้ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและผลอ่อน ระยะวางไข่ตัวแก่จะวางไข่ฝังลงในเปลือกผิวของโกโก้ แล้วเจริญเติบโตออกมาทำลายผลและยอดอ่อน การป้องกันและกำจัด ควรเผาทำลายผลโกโก้ที่ตกค้างบริเวณโคนต้นให้หมด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีจำพวกเซฟวิน และอโซดรินธีโอดาน ฉีดพ่นสลับกันห่าง 7-10 วัน

ด้วงกินใบ ที่พบส่วนใหญ่เป็นด้วงกุหลาบ ด้วงงวง แมลงค่อมทอง ป้องกันกำจัดด้วยการฉีดพ่นสารเคมีจำพวก เซฟวิน อโซดรินธีโอดาน ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ในช่วงที่เกิดการระบาด

การหมักโกโก้ หลังจากที่ตัดผลโกโก้ที่ใช้มีดตัดขั้วผล ไม่ควรใช้มือบิดผล เพราะที่รอยผลเดิมจะออกเป็นผลใหม่ต่อไปอีก เก็บรวบรวมผลหรือฝักโกโก้อย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้ได้ปริมาณมากและลดปริมาณน้ำในผล หมักโดยการทุบผลโกโก้ หรือใช้มีดผ่าผล แกะเมล็ด ดึงไส้ที่ติดมากับเมล็ดออก นำเมล็ดผึ่งแดดนาน 3-4 ชั่วโมง นำลงหมักในภาชนะหมักที่มีช่องระบายของเหลวที่เกิดจากการสลายตัวของเยื่อหุ้มเมล็ด ปริมาณที่หมักในลังไม้ไม่ควรน้อยกว่า 40 กิโลกรัม หากหมักในเข่ง ไม่ควรน้อยกว่า 60-80 กิโลกรัม หมักนาน 6 วัน มีการกลับทุกวันใน 3 วันแรก ด้านบนปิดด้วยกระสอบหลายๆ ชั้น เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน จากนั้นนำไปตากแดดหรืออบแห้งที่อุณหภูมิไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส นาน 1-1.5 วัน จากนั้นนำไปบรรจุเพื่อเตรียมส่งจำหน่ายต่อไป หรืออาจจะนำไปบดย่อยให้ละเอียด นำไปทำเป็นโกโก้ผง หรือนำเข้าเครื่องอัดแรงดันสูงเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มช็อกโกแลต หรือใส่บรรจุภัณฑ์ทำเป็นช็อกโกแลตก้อนหรือช็อกโกแลตแท่งต่อไป

ขอขอบคุณ คุณวาสนา ไก่แก้ว ประชาสัมพันธ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนและทีมงาน นำสื่อมวลชนไปชมวิธีการปลูก การผลิตแปรรูปโกโก้ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร 193 หมู่ที่ 5 ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 053-684-377 หรือ คุณมณเทียน