ผอ.อานุภาพ บอกว่า ช่วงทำงานอยู่ ต้นไม้เจริญเติบโตแล้ว

แต่เพราะไม่ได้ลงมือเต็มที่ เรื่องผลตอบแทนจึงไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จนกระทั่งเกษียณเมื่อปี 2547 มาทำจริงจัง จากนั้น 4-5 ปี ผลตอบแทนเริ่มมา พืชประจำสวน

ผอ.อานุภาพพาเดินชมสวน ท่านบอกว่า ปลูกมะพร้าวลูกผสมพันธุ์ “สวี 1” ซึ่งมีการรับรองพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตรเมื่อปี 2525 ผลผลิตมะพร้าวลูกผสมสวี 1 ได้ผลดี เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง แต่ปัญหาอยู่ที่ผลขนาดเล็ก บ้านเราต้องผลโตๆ ไว้ก่อน แต่หากต่างประเทศไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

มะพร้าวชุมพร 2 น่าสนใจทีเดียว

“มีมะพร้าวพันธุ์ชุมพร 2 ปลูกไว้กว่า 100 ต้น ชุมพร 2 เป็นมะพร้าวลูกผสมระหว่างพันธุ์มาลายูสีเหลืองต้นเตี้ยกับมะพร้าวพันธุ์ไทยต้นสูง ค่อนข้างดี ช่วงติดผลใหม่ๆ ทางไม่มาก เมื่อมีผลจึงไม่ค่อยนั่งทาง กระทั่ง 10 ปีไปแล้ว ทางถี่ขึ้น ทะลายจึงนั่งทางได้ดี…ต้นอายุ 10 ปีขึ้นไป ชุมพร 2 ให้ผลผลิตได้ 60-70 ผล ต่อต้น ต่อปี เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงคือ 64 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มะพร้าวพื้นเมืองไทยน้ำมัน 50 เปอร์เซ็นต์…การผลิตพันธุ์ของหน่วยงานราชการค่อนข้างจำกัด ต้องเข้าคิวจองกัน อาจจะนานเป็นปี เลยแนะนำให้ปลูกพันธุ์พื้นเมืองที่คัดพันธุ์กันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย อย่างมะพร้าวพื้นเมืองชุมพร ประจวบฯ อาจจะติดผลช้ากว่าลูกผสม 1-2 ปี” ผอ.อานุภาพ พูดถึงมะพร้าวลูกผสมชุมพร 2 เป็นมะพร้าวแกง มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมน้ำมันที่ได้รับความนิยมมาก

ยังมีอีกพันธุ์หนึ่งคือ คิงออฟโคโคนัท

“นำมาปลูกบ้านเรามีข้อจำกัด มีจุดอ่อน คือไม่ทนแล้ง ขนาดผลดี ก้านผลยาว จึงหักง่าย นำมาจากศรีลังกา เปอร์เซ็นต์ความหวานของน้ำ 6 บริกซ์ ที่ศรีลังกากินเป็นมะพร้าวอ่อนกัน เมืองไทยเพิ่งเผยแพร่ นี่น่าจะเป็นครั้งแรกที่เผยแพร่ทางสื่อ อยากนำเสนอในแง่ปรับปรุงพันธุ์ นำผสมกับมะพร้าวกะโหลก ตอนนี้ยังไม่มีพันธุ์” ผอ.อานุภาพ พูดถึงราชามะพร้าวของศรีลังกา

พวงร้อย ก็น่าสนใจ

มะพร้าวแกง จากสวน ผอ.อานุภาพเคยขายได้สูงถึง 18 บาท ต่อผล แต่ช่วงลงก็มีคือ 4 บาท แต่มะพร้าวตัดเป็นมะพร้าวอ่อน ราคา 6 บาท ค่อนข้างแน่นอน

“มะพร้าวน้ำหอม รวบรวมมาจากจังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ปี 2503 คัดพันธุ์กันมานาน ผมก็นำมาปลูก สังเกตว่า มีทรงต้นที่ไม่มีสะโพกและมีสะโพก…มีพวงร้อยน่าสนใจ เพราะทะลายหนึ่งผลดก ขนาดดื่มได้พอดี ทะลายหนึ่งอาจจะ 50 ผล หรือมากกว่า เป็น 100 ก็มี แต่บางครั้งพบว่า บางทะลายมีมะพร้าวทุย หรือทุยทั้งทะลาย ผลแก่ผมเคยนำไปทำกะทิปรุงอาหารแกงครั้งหนึ่ง ครอบครัวไม่ใหญ่พอดี…ปลูกเพื่อขายผลอ่อนก็น่าสนใจเพราะดื่มน้ำพอดี น้ำหวาน” ผอ.อานุภาพ พูดถึงมะพร้าวพวงร้อย

ผอ.อานุภาพ ปลูกมังคุด 250 ต้น แซมกับมะพร้าว โดยปลูกมะพร้าวระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 10 คูณ 10 เมตร จากนั้นแซมมังคุดตรงกลาง “มะพร้าวกับมังคุดไปกันได้ โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมต้นไม่สูงไม่ใหญ่มาก มังคุดต้นใหญ่แล้ว แต่การออกดอกติดผล หากฤดูกาลไม่แปรปรวนก็ได้ผลผลิตถือว่าเป็นโบนัส แต่ทุกวันนี้ออกดอกติดผลไม่ดีนัก…ผมสนใจวนเกษตร จึงปลูกไม้ป่า หลังๆ มีพะยูงเข้ามา เหมือนฝากธนาคาร อย่างตะเคียนสู้หญ้าได้ ต้นสูงขึ้นไป” ผอ.อานุภาพ ให้แนวคิด

ก่อนเกษียณ…เตรียมตัวอย่างไร

งานเกษตรหลังเกษียณ เป็นทางเลือกหนึ่งของคนที่ปลดประจำการจากงานประจำ แต่ก็ใช่ว่าจะเหมาะกับทุกคน

ผอ.อานุภาพให้แง่คิดว่า ควรเตรียมตัวตั้งแต่อายุยังไม่มาก

“อยากทำเกษตรต้องเตรียมตัวตั้งแต่อายุ 40 ปี อย่างรับราชการเงินไม่ค่อยมาก มีหนี้สินบ้าง…ให้เริ่มจากหาที่ดิน…จะทำอะไรให้ดูตลาด ทุกวันนี้ส่วนหนึ่งทำเกษตรตามกระแส อยากให้ทำเกษตรโดยใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ…ท้องถิ่นนี้มีมะพร้าว นานมาแล้วที่สมุยขายมะพร้าวผลละ 1 บาท ต่อมาขึ้นสูงถึง 25-30 บาท มีการเปลี่ยนแปลงเป็นบางเวลา ถึงจะ 4 บาทบางปี แต่ก็ถือว่าเป็นที่พึ่งยามยากได้ มะพร้าวปลูกแล้วอยู่ได้นาน 50-60 ปี เลี้ยงเราตลอด” ผอ.อานุภาพ ให้แง่คิด

ผลผลิตมีคนมาตัดมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง มีคนมาขึ้นมะพร้าวกะทิ แม่ค้าที่ปากทางเข้าสวนมาซื้อไปจำหน่ามังคุด อาจจะใช้แรงงานมากหน่อย ช่วงผลผลิตมีมาก ส่งความรู้ถึงคนรุ่นหลัง

ตำแหน่งสุดท้าย ของ ผอ.อานุภาพคือ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร

ในวัย 75 ปี ท่านยังเป็นที่ปรึกษาให้กับศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร โดยเฉพาะเรื่องการวิจัยมะพร้าว ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลผลิตตรงกับความต้องการของตลาด ถือว่า หน่วยงานนี้มีความก้าวหน้าอย่างมาก

“วันหนึ่งเข้าสวน 3-4 ชั่วโมง ใส่ปุ๋ย เดินดูต้นไม้ พื้นที่ 24-25 ไร่ หญ้าจ้างเขาตัด เขาคิดเป็นถังน้ำมันเครื่องตัดหญ้า พื้นที่ขนาดนี้ ใช้น้ำมัน 25 ถัง คูณ 130 เข้าไป เป็นเงิน 3,250 บาท ต้นไม้ใหญ่มีร่มเงาหญ้าลดลง แสงแดดมากๆ ระวังเรื่องหญ้าคา ผมไม่อยากใช้ยาฆ่าหญ้า”

ผอ.อานุภาพ บอกและเล่าอีกว่า

“ช่วงทำงานราชการ ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง คิดถึงแต่ที่ทำงาน อย่างเราเป็นผู้อำนวยการ จะมีเวลาส่วนตัวเฉพาะเวลานอนหลับเท่านั้น เมื่อเกษียณบางคนบอกว่าน่าจะอยู่สบาย ก็ต้องทำงาน มีการนัดหมาย ประชุมในฐานะที่ปรึกษาบ้างเพราะเราทำงานมะพร้าวมา 30 ปี…ผมได้สิ่งตอบแทนจากหน่วยงานหลายอย่าง อย่างเรื่องการนำมาปรับระดับผลงาน…สิ่งที่ทำคนรุ่นก่อนๆ ทำไว้ดี อย่าง อาจารย์วิเชียร รัตนพฤกษ์ รวมทั้งท่านอื่นวางรากฐานงานวิจัยไว้อย่างมั่นคง เหมือนการสร้างบ้าน ท่านลงเสาไว้ พวกเรามาต่อเติม ตีฝา ปัจจุบันจึงแข็งแรง”

สองพี่น้องชาวบ้านเขาตาหน่วย ตำบลเกาะเปริด (เกาะ-เปิด) อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี คือ นางสาวสุรีย์พร สระแก้ว กับ นางสาวกมลพรรณ ชายหาด ที่ใช้ชีวิตเป็นสาวโรงงาน หวนนึกถึงบั้นปลายที่ต้องแก่เฒ่า และไม่มีความมั่นคงในชีวิต ซ้ำยังต้องเสี่ยงต่อกับสารเคมี ที่อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย จึงอยากกลับบ้านเกิดและใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติในผืนนา จากมรดกตกทอดเพียง 2 ไร่เศษ ด้วยการศึกษาข้อข้อมูลต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ จนพบแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงแห่งแผ่นดิน และทำการอ่านทบทวนศึกษาจนเข้าใจถึงหลักการ จึงลาออกจากงาน พร้อมกลับมาอาศัยอยู่ในถิ่นบ้านเกิด และขอสมัครเป็นคนทำงานบ้านกับคนในหมู่บ้าน เมื่อว่างเว้นจากงานบ้าน ก็ลงมือพลิกฟื้นผืนนา 2 ไร่เศษ ให้เป็นแหล่งน้ำจืด จำนวน 1 ไร่ ด้วยการจัดแบ่งแหล่งน้ำจืดเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นบ่อดิน และอีกบ่อ ปูด้วยแผ่นยางใช้กักเก็บน้ำจืดในหน้าฝน เพราะท้องถิ่นที่อยู่พื้นที่เป็นน้ำกร่อย พืชผักไม่อาจจะทนความเค็มได้ ซึ่งทั้ง 2 บ่อ ได้เลี้ยงปลากะพง ปลานิลจิตรลดา และปลาดุก

ผืนที่ดินว่างเปล่าอีก 1 ไร่เศษ แทบทุกศอกจะไม่เหลือที่ว่างเปล่าให้เสียพื้นที่ไปโดยไร้คุณค่า พืชผักสวนครัวนานาชนิด ได้รับการปลูกแบบไร่นาสวนผสมตามรอยพ่อที่วางไว้ว่า “แหล่งน้ำ” คือจุดสำคัญ น้ำที่มีไว้ใช้อุปโภคกับน้ำที่สามารถใช้เป็นปุ๋ยให้กับพืชได้ไม่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญ คือ การทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพที่ใช้เป็นปุ๋ย จากการหมักของซากสัตว์ซากพืช

ด้วยเรือนพักหลังน้อย ที่อาศัยเพียงพอ ต่อการหลับนอน ภายในที่พักยังนำการเพาะเห็ด เพื่อเก็บไปจำหน่ายได้ทุกวัน พร้อมกับไข่เป็ดที่เลี้ยงไว้ พร้อมยอดชะอมที่ปลูกแนวรั้ว ริมขอบสระ สามารถสร้างรายได้ แม้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นกอบเป็นกำ วันละ 300 บาท ประจำทุกวัน ส่วนพืชสวนครัวอื่นๆ ก็สามารถสลับเก็บขายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกล้วยน้ำว้า มะระ มะละกอ ผักกูด ส่วนรายได้ที่หวังได้เป็นกอบเป็นกำ คือ มะนาวโข่ ที่จะขายได้ราคาในช่วงหน้าแล้ง พร้อมกับปลาสารพัด ที่รอเวลาโตได้ที่ ก่อนจะจับขายได้ในช่วงก่อนฤดูฝนที่จะมาถึงอีกครั้ง

สำหรับปัญหาการท้อแท้นั้น ก็ต้องมีเป็นเรื่องปกติของคนที่ต้องหันมาต่อสู้กับสิ่งที่ไม่เคยทำและเกิดขึ้นในชีวิต แต่ด้วยความมั่นใจในทฤษฎีของพ่อหลวง ว่าทุกอย่างต้องผ่านพ้นไปด้วยดี การตลาดที่เคยเครียดจะไปขายที่ไหน หมดไปเมื่อพืชผักได้เจริญเติบโตขึ้น ด้วยการเดินเข้าไปถามแม่ค้าในตลาด ว่ามีพืชผักแบบนี้ ต้องการบ้างหรือไม่ ซึ่งแม่ค้าต่างก็ยินดีรับซื้อ และก็สร้างความฉงน ทำไม สองคนพี่น้องจึงสามารถมีพืชผักเก็บมาขายให้ได้ทุกวัน ทั้งที่ทราบว่า มีพื้นดินทำกินแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ด้วยการยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้ทั้งสองคนพี่น้อง ที่ยืดตามหลักของพ่อหลวง ด้วยการอยู่แบบพอมีพอกิน ต้องมีความอุตสาหะ ความอดทน การมีเมตตา และรู้จักการประหยัด เท่านี้ ชีวิตก็สามารถดำรงคงอยู่ได้อย่างมีความสุขทั้งร่างกาย และจิตใจ

กระท้อน “ปุยฝ้ายลพบุรี” เป็นกระท้อนที่นำสายพันธุ์จากจังหวัดนนทบุรีมาปลูกในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ที่ตำบลตะลุง ตำบลงิ้วราย และตำบลโพธิ์เก้าต้น ปลูกลงในดินที่มีลักษณะร่วนปนทราย จนได้กระท้อนที่มีรสชาติหวาน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร

กระท้อนปุยฝ้ายของแท้ 100% ต้องมาจากสวนแม่ขวัญเมือง ร.ต. ผจญ​ อู่พยัคฆ์ และ คุณขวัญเมือง​ อู่พยัคฆ์ เกษตรกรและเจ้าของสวน กระท้อนแม่ขวัญเมือง ในพื้นที่ หมู่ที่ 12​ ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี​ จังหวัดลพบุรี​ การันตีรสชาติและคุณภาพของกระท้อนปุยฝ้าย ทั้งเนื้อผิวที่เนียนละเอียดและนุ่มเหมือนกำมะหยี่ และรสชาติหวานกลมกล่อมกำลังดีที่ปลูกมานานกว่า 20 กว่าปี

กระท้อนปุยฝ้าย สวนแม่ขวัญเมือง มีน้ำหนักประมาณลูกละ 200-500 กรัม หรือ 3-4 ลูก เท่ากับน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ราคาขายจะเริ่มต้นอยู่ที่ 70-100 บาท กระท้อนปุยฝ้าย สวนแม่ขวัญเมือง เป็นกระท้อนที่มีลักษณะผลใหญ่ ทรงกลมแป้น ผิวเรียบเนียน สีเหลืองนวลสวย เนื้อด้านในเป็นปุยสีขาว รสชาติหวาน เหมาะสำหรับดัดแปลงเป็นอาหารทานเล่นหรือของหวาน เช่น กระท้อนลอยแก้ว

ปัจจุบัน สวนแม่ขวัญเมือง ปลูกกระท้อนปุยฝ้ายในพื้นที่ 9 ไร่ มีต้นกระท้อนปุยฝ้ายอยู่ประมาณ 100 ต้น ปลูกแบบต้นไม้ทั่วไป โดยวิธีการเพาะพันธุ์ ทางสวนจะไม่ใช้เมล็ด เพราะจะใช้เวลานานและอาจจะกลายพันธุ์ได้ จะใช้วิธีการเพาะพันธุ์แบบตอนกิ่งจากต้นแม่ที่เป็นพันธุ์แท้แทน ซึ่งมีอยู่ในสวนอยู่แล้ว หลังจากนั้นประมาณ 2-3 เดือน จะมีรากงอกออกมาสีเหลืองๆ เราต้องตัดออกมาชำไว้ก่อนในร่ม เมื่อถึงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่เหมาะสมก็จะนำไปปลูก ถ้าปลูกช่วงฤดูแล้งส่วนมากมีโอกาสรอดน้อย เพราะอากาศร้อน

“การขุดหลุมปลูกกระท้อนปุยฝ้าย จะลึกประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1 ฟุต เพราะดินบริเวณนั้นเป็นดินล้วนอยู่แล้ว หลุมไม่ต้องใหญ่มาก คลุกขี้วัวแห้งกับดินที่เราขุดขึ้นมาพอสมควร นำต้นลงปลูกลงไปในลักษณะเอียงไปทางทิศตะวันออก จากนั้นนำไม้มาปักลงไปเพื่อยึดการโยกคลอน หากปลูกช่วงหน้าฝนก็จะไม่มีการทำซาแรนบังแดดให้กับต้นกระท้อนที่เพาะพันธุ์ เพราะว่ามีความชื้นอยู่ในตัวแล้ว จากนั้นจะค่อยๆ เจริญเติบโตไปเรื่อยๆ”

หากมีแมลงจำพวกกินใบในช่วงที่เป็นต้นเล็ก ใบอ่อน จะมีการฉีดยาฆ่าแมลงบ้างเป็นครั้งคราว มีการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพื่อเร่งการเติบโตของต้นกระท้อน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือปุ๋ยสูตร 16-16-16 แทนได้ ใส่ในปริมาณเล็กน้อย ไม่มากจนเกินไป

ซึ่งการปลูกกระท้อนปุยฝ้ายของสวนแม่ขวัญเมืองนั้น เน้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก มีการหมักปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง โดยใส่ถัง ขนาด 200 ลิตร ใช้หัวปลาที่ได้จากการหว่านแหจากบ่อปลาที่เลี้ยงไว้นำมาใช้ประโยชน์ ใส่กากน้ำตาล และผง พด.2 ละลายน้ำก่อนที่จะใส่คนทั้งหมดรวมกัน เพื่อให้ย่อยสลายง่าย สูตรนี้ทางสวนแม่ขวัญเมืองการันตีเลยว่ายิ่งหมักนานเท่าไร คุณภาพก็จะยิ่งดีขึ้นมากเท่านั้น

วิธีการใช้ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแค่ละลายน้ำและเทใส่โคนต้นกระท้อน สามารถใส่ในช่วงที่กระท้อนมีผลผลิตลูกขนาดเล็ก หรือหลังจากการเก็บเกี่ยวกระท้อนแล้ว เป็นเทคนิคการปลูกเฉพาะที่สวนแม่ขวัญเมือง กระท้อนห่อลพบุรี ทางสวนเน้นการปลูกแบบชีวภาพเป็นส่วนใหญ่ จึงได้กระท้อนที่มีรสชาติอร่อย หวาน นุ่ม และทำให้มีผลผลิตกระท้อนปุยฝ้ายมากกว่าปีละ 1 ตัน มีรายได้ถึง 4-5 แสนบาท ต่อปี

ช่วงการเก็บกระท้อนและขายจะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งแต่ละปีจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศเป็นหลักที่จะเป็นตัวบ่งบอกถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต

สำหรับการขายนั้น ทางสวนแม่ขวัญเมืองจะเน้นการขายกระท้อนแบบลูก และกระท้อนลอยแก้วแบบแปรรูปเป็นหลัก ราคากระท้อนขายแบบไซซ์ ขนาด 3 ลูก 1 กิโลกรัม จะอยู่ที่ 100 บาท หากเป็นไซซ์ ขนาด 4 ลูก 1 กิโลกรัม จะอยู่ที่ 70 บาท ซึ่งราคาที่แตกต่างกันนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของลูกกระท้อน

หากท่านใดสนใจที่อยากจะชิมกระท้อนปุ้ยฝ้ายแท้ 100% เมืองลพบุรี สวนแม่ขวัญเมือง สามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก สวนแม่ขวัญเมือง กระท้อนห่อลพบุรี หรือจะเดินทางไปซื้อด้วยตนเองที่หน้าอำเภอเมืองลพบุรี จะมีการตั้งแผงขาย มีทั้งปลีกและส่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์

วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ เป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ 6/8 หมู่ที่ 6 ถนนชนเกษม 41 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถานศึกษาแห่งนี้ดำเนินกิจการโดย มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ เปิดสอนทั้งประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และประเภทวิชาพาณิชยกรรมและบริหารธุรกิจ

วันที่ 8 มีนาคม 2565 นายชนะ กฤตานุพงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ และคณะครู ให้การต้อนรับ นายเฉลิมพงษ์ บุญรอด รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายปรีชา แก้วเกื้อ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี ในโอกาสเข้ามาตรวจเยี่ยมศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์

วันที่ 24 มีนาคม 2565 นายชนะ กฤตานุพงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ และ ผศ.ดร.ฐิติพงษ์ เครือหงส์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อสนับสนุนทรัพยากรที่เกี่ยวข้องทุกด้าน พร้อมขับเคลื่อนการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพและสมรรถนะที่สูงขึ้น สามารถปฏิบัติงานได้จริง ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานระดับประเทศ

งานวันนักประดิษฐ์ คนรุ่นใหม่ 2564-2565 (Thailand Inventors Day 2021-2022) จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ ศูนย์ไบแทค บางนา กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ ได้ส่งตัวแทนครู คือ นายวิบูลย์ศักดิ์ วงษ์แหวน นำผลงาน “เส้นสายลายกระจกศิลป์เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชน” ไปร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงานดังกล่าว

ขณะเดียวกัน ได้ส่งตัวแทนนักศึกษาแผนกช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างกลโรงงาน แผนกบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงและประกวดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน ในโครงการ Thailand New Gen Inventor Award : I-New Gen Award 2021 ปรากฏว่า ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ คือ อุปกรณ์แกะเมล็ดข้าวโพดและบดหยาบซังข้าวโพดกึ่งอัตโนมัติ พร้อมกับอุปกรณ์ 2 in 1 สำหรับผ่าคั้นน้ำมะนาวและส้ม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเหรียญรางวัลพร้อมเงินรางวัลและเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณ

“อุปกรณ์แกะเมล็ดข้าวโพดและบดหยาบซังข้าวโพดกึ่งอัตโนมัติ” เป็นผลงานของ นายกริชเพชร ทองใหญ่ นายศรัญยู เกิดผล และ นายณัฐพงษ์ ดุจแก้วแสง นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ และ อาจารย์คัมภีร์ ช่วยเพชร โทร. 081-416-6570 เป็นที่ปรึกษาโครงการ

เนื่องจากอุปกรณ์แปรรูปข้าวโพดที่ซื้อขายในท้องตลาดทั่วไปมีราคาสูง และมีจุดอ่อนเรื่องการแยกเมล็ดข้าวโพด เพื่อแปรรูปเป็นข้าวโพดอบแห้ง สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงคิดค้นอุปกรณ์แกะเมล็ดข้าวโพดและบดหยาบซังข้าวโพดกึ่งอัตโนมัติ ที่ใช้งานง่าย ประหยัดเวลา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ

ผลงานสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ผลิตจากเหล็กที่มีความแข็งแรง ทนทาน เหล็กฉากหนา 1.5 mm เหล็กเหลี่ยม 1.5 นิ้ว 1.5 mm มอเตอร์ 3/4 แรง ระบบแกะเมล็ดเป็นเพลา 6 นิ้ว ฝังเดือยนอก 2-3 mm เป็นระบบหมุนโดยใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนโดยสายพาน เป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำงาน ประกอบด้วยแกนเพลาหมุนอิสระตามแรงมอเตอร์ 3/4 แรง กินไฟน้อย ไม่สูญเสียกำลัง ระบบแยกขนาดใหญ่ทำให้รอบต่ำ

จุดเด่นของอุปกรณ์ชิ้นนี้คือ เมล็ดข้าวโพดออกมาสวยงาม มีค่าความแตกหักไม่เกิน 5% ขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายได้ง่าย มีระบบความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานสูง ที่สำคัญใช้งานง่าย ประหยัดเวลา ไม่เปลืองแรงงานคนในการแกะข้าวโพดออกจากฝัก และมีประสิทธิภาพในการบดหยาบซังข้าวโพด สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เข้าถึงเกษตรกรได้ง่าย ได้ผลผลิตจำนวนมากในอัตรา 10-15 ฝักต่อนาที ผู้สนใจสามารถชมผลงานสิ่ง

อุปกรณ์ 2 in 1 สำหรับผ่าคั้นน้ำมะนาวและส้ม

ส้มและมะนาวเป็นไม้ผลที่ปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยเฉพาะสุราษฎร์ธานี ที่ปลูกส้มและมะนาวเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัด จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย เป็นเครื่องทุ่นแรงในการแปรรูปผลผลิต ให้เกิดความคล่องตัว ประหยัดเวลา และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ

ทีมนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ ประกอบด้วย นางสาวสุตาพัณน์ อนันรัตน์ นางสาวอรอุมา บุญษร นางสาวอริสา ทองปัสโน และ อาจารย์พุทธชาติ จันทลิลา โทร. 094-579-6699 เป็นที่ปรึกษาโครงการ ทีมนักศึกษาได้ผลิตอุปกรณ์ 2 in 1 สำหรับผ่าคั้นน้ำมะนาวและส้ม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย คงทน และไม่ใช้ไฟฟ้า ผลิตมาจากสแตนเลสและอะลูมิเนียมเกรดประกอบอาหาร

ผลงานมีจุดเด่นสำคัญคือ abrahamstent.org เพิ่มใบมีดในการตัดลงไปในอุปกรณ์คั้นน้ำส้มและน้ำมะนาว ประหยัดพลังงาน ไม่ใช้ไฟฟ้า คงทนแข็งแรง เพราะผลิตจากวัสดุที่เป็นโลหะ ประหยัดเวลาและรวดเร็วในการประกอบอาหาร ใช้งานง่าย เพียงแค่เปิดฝาอุปกรณ์ นำผลไม้ที่ล้างทำความสะอาดแล้วใส่ลงไปในเครื่อง กดฝาลงเพื่อให้อุปกรณ์ทำหน้าที่ผ่าคั้นน้ำมะนาวและส้มในครั้งเดียว ผลงานนี้เป็นประโยชน์ต่อการแปรรูปส้มและมะนาว ช่วยให้ผู้ประกอบการที่ประกอบอาชีพด้านนี้สามารถแปรรูปผลผลิตจำนวนมากได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว

“ลพบุรี” เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่เกษตรกรนิยมปลูกกระท้อนกัน ถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของทางจังหวัด ทุกๆ ปีทางจังหวัดลพบุรีจะร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี จัดงานเทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี เป็นประจำทุกปี บริเวณที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี เรียกว่าเป็นแหล่งรวบรวมกระท้อนรสเลิศของประเทศเลยก็ว่าได้

ภายในงาน ชาวสวนกระท้อนจะนำกระท้อนหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์อีล่า พันธุ์นิ่มนวล และพันธุ์ทับทิม มาจำหน่าย พร้อมผลผลิตจากกระท้อนแปรรูป อย่างเช่น กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนกวนกระท้อนทรงเครื่อง ซึ่งในงานดังกล่าว มีการประกวดกระท้อนสายพันธุ์ต่างๆ ด้วย ฉะนั้น ใครที่ชื่นชอบกระท้อนพลาดไม่ได้ เพราะสวนกระท้อนในจังหวัดลพบุรีจะมารวมตัวกันที่นี่ และมีบางสวนที่ปลูกแบบอินทรีย์ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย แต่ราคาก็อาจจะแพงกว่ากระท้อนทั่วไป

คุณระเบียบ พึ่งวัน อายุ 59 ปี เกษตรกรบ้านโพธิ์ผีให้ ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เจ้าของสวน “ใกล้รุ่ง” เป็นอีกคนหนึ่งที่ปลูกระท้อนมาเกือบ 20 ปี มีพื้นที่ปลูก 2 แปลง แปลงแรกอยู่ติดบ้าน มีเนื้อที่ 1 ไร่กว่า ปลูกทั้งพันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย ทับทิม และนิ่มนวล ส่วนอีกแปลง พื้นที่ 5-6 ไร่

คุณระเบียบ เล่าว่า เริ่มปลูกกระท้อนเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว เนื่องจากก่อนหน้านั้นเกิดน้ำท่วม ทางเกษตรอำเภอเข้ามาแนะนำให้ปลูก ครั้งแรกไม่ได้คาดหวังอะไร แต่พอมีผลผลิตขึ้นมาและขายได้เงิน ชาวบ้านเลยปลูกกันทั่วไป โดยมีต้นที่อายุมากสุดคือ 25 ปี

สำหรับปีนี้ผลผลิตถือว่าใช้ได้ ซึ่งในการปลูกนั้นเน้นใช้กิ่งพันธุ์ เพราะถ้าใช้เมล็ดอาจจะกลายพันธุ์ และต้องใช้เวลานานกว่าจะออกลูก ถ้าใช้กิ่งพันธุ์ไม่เกิน 5 ปี ก็ออกลูกแล้ว ที่สวนจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ แต่ก็ใช้ปุ๋ยเคมีบ้างผสมกันไป โดยทั้ง 2 สวน ปลูกกระท้อนหลายสายพันธุ์

ทั้งนี้ ในการทำสวนกระท้อนเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกเป็นรายได้เสริมเท่านั้น เพราะใน 1 ปี จะให้ผลครั้งเดียว ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ก็เก็บผลได้แล้ว แต่จะมีระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ที่ต้องดูแลใกล้ชิด

ถามถึงรายได้ในแต่ละปี คุณระเบียบ บอกว่า ได้เกือบเป็นแสน เนื่องจากไม่ใช่สวนใหญ่ ถ้าเป็นสวนใหญ่ มี 10-20 ไร่ รายได้หลายแสนบาท ในส่วนที่เป็นอาชีพเสริมนี้ถือว่าเป็นรายได้ที่ดี เพราะไม่ต้องใช้เวลากับการดูแลเยอะ ช่วงเวลาที่ใช้มากคือตอนห่อ