ผักพื้นบ้าน ปลูกไว้กินเองได้ไม่ยาก คุณค่าเพียบบวบ

ในช่วงภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ควรต้องระวังสุขภาพกันสักหน่อย เพราะทั้งหวัด ทั้งไข้ และไหนจะโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดอีก อุบัติเหตุจากยวดยานก็เยอะ ก็คงต้องระมัดระวังกันนะค่ะ ทำร่างกายให้อบอุ่นไว้ หากไม่สบายแล้วจะเสียทั้งเวลาและเสียงานหมด

หากท่านรู้สึกอึดอัด คัดจมูก หรือเป็นหวัด ก็ลองใช้ยาแก้หวัดแบบโบราณดู อาจได้ผลดีก็ได้ แถมไม่มีผลข้างเคียงแต่อย่างใด วิธีไล่หวัดแบบโบราณ
ผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านบอกว่า เอาหัวหอมหรือหอมแดง มาปอกสัก 4-5 หัว ทุบให้พอแตก แล้วเอาน้ำตั้งไฟให้เดือด จากนั้นเอาหัวหอมใส่แล้วยกลง ให้เอาผ้าขาวม้าหรือผ้าขนหนูเช็ดตัวก็ได้ คลุมหัวแล้วก้มหน้าไปที่หัวหอมที่เราทำไว้ทันที ระวังอย่าเอาหน้าไปใกล้มาก เพราะไอน้ำที่ยังร้อนอยู่จะลวกหน้าเอา สูดเอากลิ่นหัวหอมเข้าช้าๆ ลึกๆ เรื่อยๆ จนหมดกลิ่น หรือจนน้ำนั้นเย็น จะทำให้ท่านโล่งจมูก

อาหารโบราณอีกอย่างหนึ่งตอนหน้าฝนที่ทำง่ายๆ และอร่อยด้วย และรับรองว่าหาคนเคยกินยาก จะเป็นขนมหวานก็ไม่เชิง กินกับข้าวก็อร่อย กินเปล่าๆ ก็อร่อย ซึ่งมันก็คือ บวบต้มน้ำตาลนั่นเอง!! ทุกท่านเคยได้ยินกันบ้างหรือป่าว!! และส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่รู้จักเลย… สำหรับวิธีการทำก็ไม่ได้ยากอะไร

เริ่มแรก โดยการนำเอาบวบเหลี่ยมหรือบวบหอมก็ได้ มาปอกเปลือกออกแล้วล้างสักหน่อย จากนั้นให้ฝานเป็นชิ้นๆ พอคำ อย่าให้ใหญ่มาก (หั่นเหมือนกับจะผัดนั่นแหล่ะค่ะ) เอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟให้เดือด (ใช้หม้อเล็กๆ ก็พอ อย่าทำทีละมากๆ เพราะต้องกินร้อนๆ จึงจะอร่อย)

เมื่อน้ำเดือดพล่านแล้ว ให้เอาน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลปี๊บ ปริมาณของน้ำตาลก็ให้กะเอาขนาดเท่าหัวแม่มือเรา

หากน้ำในหม้อมีอยู่ประมาณสักสองชามแกง ใช้น้ำตาลเท่าหัวแม่มือโตๆ จะอร่อยดี เอาน้ำตาลใส่ลงในน้ำเดือด พอน้ำตาลละลายหมดก็เอาบวบใส่ลงไปพอประมาณ รอจนบวบสุก แต่อย่าให้เปื่อย กะว่าพอใส่บวบลงไปสักพัก แล้วน้ำเดือดอีกครั้งก็ยกลง

ทีนี้ก็ตักใส่ถ้วยนั่งซดกันร้อนๆ อร่อย และยังไล่หวัด แถมให้ความอบอุ่นได้ดีอีกด้วย ได้ประโยชน์ทางยาด้วย เพราะบวบนั้น มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยเจริญอาหาร เป็นกากใยอีกด้วย ใช้กินคู่กับอาหารรสเผ็ดๆ ก็ดี เช่น กินน้ำพริกผักจิ้ม แล้วซดบวบต้มน้ำตาลร้อนๆ ตามไป รับรองอร่อยเหาะเลยค่ะ

มาปลูกไว้กินเองค่ะ
บวบ เป็นผักพื้นบ้านที่มีความหลากหลายทางสายพันธุ์ และก็เป็นผักพื้นบ้านที่น่าปลูกมากอีกอย่างหนึ่ง บวบเป็นผักที่มีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสมาก รวมทั้งกาก (fiber) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อีกทั้งการปลูกก็ง่าย และเลือกสายพันธุ์ปลูกได้หลายสายพันธุ์อีกด้วยนะคะ

วิธีการปลูกบวบ ไม่ว่าท่านจะเลือกปลูกบวบหอม หรือบวบเหลี่ยม นั้น มีขั้นตอนการปลูกที่คล้ายๆ กัน และบวบทั้งสองชนิดนี้เป็นพืชที่ต้องใช้ค้างช่วย เพราะบวบเป็นไม้เถา การปลูกบวบนอกจากต้องเตรียมดินแล้ว ท่านยังต้องเตรียมไม้ไผ่ไว้ทำค้างให้บวบเลื้อยพันอีกด้วย ซึ่งก็หาซื้อได้แถวๆ ที่เขาขายต้นไม้ ดินปลูก ปุ๋ย หรืออุปกรณ์ปลูกต้นไม้นั่นแหล่ะ!!

เริ่มแรก ต้องเตรียมดินกันก่อน โดยพรวนดินให้ร่วนซุย แล้วผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักสักหน่อย จากนั้นก็ยกร่อง ตากดินไว้สัก 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมให้ลึกสักฝ่ามือ แล้วเอาเมล็ดพันธุ์บวบหยอดลงไป 3-5 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนที่ผสมปุ๋ยไว้แล้ว รดน้ำให้ชุ่ม คลุมหลุมด้วยหญ้าหรือฟางพอประมาณ รดน้ำให้ชุ่มสม่ำเสมอทุกวัน เช้า-เย็นยิ่งดี จะทำให้งอกเร็วขึ้น

เมื่อต้นกล้าบวบงอกขึ้นมามีใบจริงสัก 2 ใบ ให้ถอนต้นกล้าหรือต้นอ่อนที่ไม่แข็งแรงทิ้งไป ให้เหลือเพียงหลุมละ 2 ต้น ก็พอ จะได้โตดี เมื่อบวบเริ่มเลื้อยก็ให้ทำค้างให้บวบเลื้อยขึ้นพัน

ส่วนท่านที่ใช้กระถางปลูกบวบ ก็ให้เอาดินถุงที่ซื้อมา ผสมกับใบไม้แห้งและปุ๋ย เคล้าให้เข้ากัน แล้วแหวกให้เป็นหลุม เอาเมล็ดบวบหยอดลงไปสัก 3-4 เมล็ด แล้วกลบดิน คลุมด้วยฟางหรือหญ้า รดน้ำให้ชุ่ม ตั้งไว้ในที่ที่โดนแดดตอนเช้า ไม่นานต้นกล้าบวบก็จะงอกขึ้นมา

พอมีใบจริงสัก 2 ใบ ก็ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออกไป และรดน้ำไปเรื่อยๆ พอต้นเริ่มทอดยอดจะเลื้อย ก็เอาไม้ไผ่มาปักคร่อมเป็นสามเส้าทำเป็นค้างให้บวบเลื้อยพันได้

การปลูกบวบต้องหมั่นรดน้ำให้สม่ำเสมอ เพราะบวบเป็นพืชที่ชอบน้ำ ไม่นานก็จะมีลูกบวบที่ออกลูกห้อยระย้า ทีนี้ก็เก็บไปผัด ไปแกง หรือไปทำเมนูอื่นๆ ตามใจท่านแหละกันค่ะ

ชนิดของบวบไทย
พืชผักที่คนไทยเรียกกันว่า บวบ นั้น มีหลายชนิด แต่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ cucurbitaceac และเป็นไม้เถา ดอกสีเหลืองเช่นเดียวกัน เช่น

1. บวมเหลี่ยม นิยมปลูกทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ส่วนชื่อเรียกก็ตามแต่ละภูมิภาคท้องถิ่นนั้นๆ

2. บวมหอม หรือ บวมกลมนิยมปลูกในภาคเหนือและอีสานมากกว่าภาคอื่นๆ

3. บวมขมเป็นบวบชนิดเดียวกับบวบหอม แต่บวบผลเล็ก สั้น และมีรสขมมาก มักขึ้นเองในป่า หรือตามที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ใช่กินเป็นผัก แต่ใช้เป็นยาหรือประโยชน์ด้านอื่น

4. บวบงูมีลักษณะกลม ยาว ปลายแหลมและบิด สีผลเขียวลายขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียอาคเนย์และจีน นิยมปลูกทั่วไปโดยเฉพาะภาคอีสาน ภาคเหนือ

5. บวบหอม และบวมงู ใช้ปรุงอาหารได้คล้ายคลึงกับบวบเหลี่ยม เพียงแต่มีกลิ่น รส แตกต่าง ออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับผู้กินว่าจะชอบชนิดใดมากกว่ากัน มากด้วยคุณค่า และสารพัดประโยชน์
บวบมีหลายชนิดและใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แต่คนไทยรู้จักบวบในฐานะเป็นผักอย่างหนึ่งมากที่สุด บวบเหลี่ยมนับเป็นผักที่รู้จักแพร่หลาย หาซื้อได้ในตลาดทั่วประเทศไทย และมีให้กินได้ตลอดปี

ผลอ่อนของบวบเหลี่ยมใช้ประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น ใช้เป็นผักจิ้มกับเครื่องจิ้มต่างๆ เช่น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาเจ่า และอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู (คนใต้มักจะนำเอาผลอ่อนของบวบเหลี่ยมมาจิ้มกินกับน้ำพริก หรือเหนาะแกงใต้รสเผ็ดๆ)

สำหรับคนทางภาคอีสานบางท้องถิ่น เขามักจะใช้ยอดอ่อนของบวบเป็นผัก เช่น นำไปนึ่ง ลวก แล้วเอามาจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า หรือใส่ในแกงอ่อม แกงเหน่อไม้ใบย่านาง และอื่นๆ ได้อีกหลายเมนู ต้องขอบอกว่าแซบดีอยู่เด้อค่า

นอกจากใช้เป็นผักแล้ว บวบยังมีประโยชน์ต่อมนุษย์อีกหลายประการ เช่น เมื่อผลบวบแก่จนแห้งแล้วจะมีเส้นใยที่เหนียว โปร่ง และยืดหยุ่นได้ดี นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ถูตัวแทนฟองน้ำ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันมาก (งานโอท็อปมีเยอะมากค่ะ)

สมัยเด็กๆ ผู้เขียนยังพอจำความได้ว่า แม่จะนำใยบวบแก่มาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาตัดเป็นแผ่นๆ แล้วให้เอามาขัดถูล้างถ้วย ชาม แทนฝอยขัดชนิดต่างๆ และก็ใช้ได้ดีอีกด้วยค่ะ ซึ่งพอเลิกใช้แล้วก็เอาไปใส่ต้นไม้ ปล่อยให้มันย่อยสลายเส้นใยไปตามธรรมชาติเอง

ในสมัยปัจจุบัน ยังมีการนำมาใช้ตกแต่งเป็นดอกไม้ประดิษฐ์รูปแบบต่างๆ ได้อีกด้วย รวมทั้งใช้รองป้านชา และยัดในรองเท้า เพื่อรักษารูปทรงได้

ประโยชน์หลักอีกด้านหนึ่งของบวบที่ทุกท่านรับรู้ก็คือ ด้านสมุนไพร เช่น ในประเทศจีนเขาจะนำผลบวบแก่มาเผาให้เป็นเถ้า (นิยมใช้บวบหอม) แล้วนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิและยาขับลม น้ำคั้นจากผลสดใช้เป็นยาระบาย เมล็ดแก่ ใช้ทำให้อาเจียนและเป็นยาถ่าย และน้ำมันที่บีบจากเมล็ดยังใช้ทาแก้โรคผิวหนังได้อีกด้วย

ทีนี้เราก็รู้แล้วใช่ไหมคะว่า บวบ ผักพื้นบ้าน เปี่ยมด้วยคุณค่าแค่ไหน ท่านที่เคยมองผ่านผักชนิดนี้ไป ต่อไปนี้ต้องหันกลับมามองผักพื้นบ้านชนิดนี้บ้าง เพราะนอกจากจะทำอาหารได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังสามารถนำมารักษาโรคของคนเราได้หลากหลายชนิดจริงๆ ค่ะ

ในยุคปัจจุบันการประหยัดต้นทุนการผลิตสินค้าทางการเกษตร เป็นสิ่งสำคัญที่เกษตรกรหลายรายให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยให้ได้ผลผลิตกำไรมากขึ้นแล้ว ยังสามารถยึดทำเป็นอาชีพที่ยั่งยืนส่งต่อไปถึงลูกหลานได้ เพราะไม่เกิดภาวะหนี้สินที่ต้องหยุดหรือดำเนินการไป ในส่วนของการเลี้ยงปศุสัตว์ก็เช่นกันเกษตรกรผู้เลี้ยงมีความใส่ใจในเรื่องของการเลี้ยงแบบประหยัดต้นทุน โดยยึดการใช้อาหารที่หาได้ง่ายๆ ไม่ใช้ต้นทุนมากเป็นผลผลิตทางการเกษตรในสวนของตนเองมาใช้เลี้ยงแทน

คุณชลิต หอมยามเย็น อยู่บ้านเลขที่ 38/2 หมู่ที่ 2 ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ได้นำไก่ไข่เข้ามาเลี้ยงภายในบริเวณบ้านของตนเอง โดยใช้พืชผลทางการเกษตรที่เหลือจากสวนมาเป็นอาหาร ส่งผลให้เป็นการประหยัดต้นทุนการผลิตมากขึ้น เมื่อจำหน่ายไก่ไข่จึงเกิดรายได้มีผลกำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วย

คุณชลิต เล่าว่า เดิมทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายกลับมาอยู่บ้าน และเกิดความคิดที่อยากจะทำเกษตรแบบผสมผสาน ด้วยการปลูกข้าวอินทรีย์และสีข้าวผลิตจำหน่ายเอง ต่อมาเมื่อเห็นว่าภายในสวนที่ทำมีของเหลือจากการสีข้าวและผลผลิตอื่นๆ จึงได้นำไก่ไข่เข้ามาเลี้ยงอีกช่องทาง เพื่อให้ไก่ได้กินผลผลิตที่เหลือจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้แบบประหยัดต้นทุน

ไก่ไข่ที่นำมาเลี้ยงทั้งหมดมีประมาณ 300 ตัว โดยเน้นเป็นการเลี้ยงแบบไก่ไข่อารมณ์ดี ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นอาหารที่ได้จากสวนและแปลงเกษตรของเขาเป็นหลัก เช่น รำข้าวที่เหลือจากการสีข้าวขาย ทำให้มีอาหารชั้นดีสำหรับให้ไก่ไข่กิน ช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก

“เริ่มแรกๆ ผมก็ทำเกษตรหลายอย่าง เพราะเหมือนเรามารับช่วงต่อจากแม่ ที่ทำพืชเชิงเดี่ยวอยู่สมัยนั้น ผมก็เลยอยากจะทำแบบไม่ให้มีเคมี เพราะเรารู้ว่าการใช้สารเคมีเป็นสิ่งที่น่ากลัว ดังนั้น เลยเน้นใช้สารชีวภัณฑ์เป็นหลัก พอพืชที่เราปลูกไม่มีสารเคมีแล้ว ก็เกิดความคิดว่าของเสียที่เหลือจากในสวนเราสามารถนำมาทำอย่างอื่นได้ ทิ้งไปก็เสียดายเปล่าๆ จึงได้หาไก่ไข่มาเลี้ยงแรกๆ ประมาณ 50 ตัว ก็สามารถออกไข่ได้ดี จากนั้นก็ขยับขยายการเลี้ยงมาเรื่อยๆ จนมีถึง 300 ตัวจนถึงทุกวันนี้” คุณชลิต บอก

ไข่ไก่ที่นำมาเลี้ยงอยู่ที่เลือกว่าต้องการแบบไหน ถ้าใช้เวลาเลี้ยงนานก็จะซื้อลูกไก่ไข่มาทำการอนุบาลเอง แต่ถ้าต้องการให้ได้ผลผลิตที่ไวจะเลือกซื้อไก่ไข่ที่เป็นสาวๆ รุ่นๆ พร้อมไข่เข้ามาภายในฟาร์มได้ทันที โดยอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่จะให้กินในตอนเช้าและเย็น ซึ่งช่วงเช้าหลังให้อาหารแล้ว จึงจะเริ่มเก็บไข่ให้หมดโรงเรือนที่เลี้ยง เพื่อที่จะได้มีไข่ที่สดใหม่ไม่ตกค้าง

การสร้างโรงเรือนให้ไก่ไข่ คุณชลิต บอกว่า ดูตามความเหมาะสม อย่าให้ไก่อยู่กันอย่างหนาแน่นจนเกินไป ซึ่งโรงเรือนจะเน้นให้อยู่ไกลจากแหล่งชุมชน ก็จะช่วยให้ไม่เกิดโรคเข้ามาภายในฟาร์ม ภายในโรงเรือนเมื่อเห็นว่ามีมูลไก่เยอะก็จึงนำมาใช้ประโยชน์ทำเป็นปุ๋ยใส่ภายในสวน เพราะมูลไก่เป็นปุ๋ยชั้นดีที่ทำให้ประหยัดต้นทุนในการทำสวนไปได้ในตัว

“รายได้จากการขายไข่ไก่เป็นรายวัน เฉลี่ยได้วันละ 200-250 ฟอง ช่วงที่ได้ไก่มาเลี้ยงใหม่ๆ ก็ยังไม่ได้ให้ไข่มากนัก แต่เมื่อเขาโตเต็มที่ ก็จะเริ่มให้ไข่มากขึ้นเรื่อยๆ อย่าง 300 ตัว ถ้าเรามีการเลี้ยงให้อาหารที่สมบูรณ์ ไข่ที่เก็บได้ต่อวันก็จะประมาณ 250 ฟอง ใน 1 เดือน จะได้รายได้จากการขายไข่ตกอยู่ที่ประมาณ 9,000 บาท ถือว่าเกิดรายได้เสริมอีกช่องทางที่คุ้มค่า เพราะการเลี้ยงเป็นแบบประหยัดต้นทุน” คุณชลิต บอก

คุณชลิต ยังทิ้งท้ายว่า การทำเกษตรต้องมองหลายมิติ บางครั้งอย่ามุ่งหวังที่จะให้ได้รายได้รวยๆ แต่ต้องสร้างแผนการผลิตที่ดีและเกิดประโยชน์ มองว่าภายในสวนมีอะไรเหลือจะรับมือจากของเหลือเหล่านั้นยังไง อย่างเช่นเขาที่มองออกด้วยการสร้างผลประโยชน์ต่างๆ ให้ได้มากที่สุด ข้าวก็สีขายได้เอง ของเหลือจากสีข้าวก็นำมาเป็นอาหารให้ไก่ไข่กิน มูลไก่ที่ได้ก็นำไปใส่พืชต่างๆ ภายในสวน จึงเป็นสิ่งที่เกื้อกูลกัน ทำให้การทำเกษตรไม่เกิดหนี้สินและสร้างผลกำไรได้ไม่ยาก

ในบรรดาผักเชื้อสายจีน ที่เข้ามาแพร่หลายในไทย เดิมทีมี 16 ชนิด พวกตระกูล กะหล่ำ คะน้า ผักกาด ต้นหอม ผักชี กระเทียมใบ ตั้งโอ๋ ผักโขมจีน และก็มี “กุยช่าย” ที่เข้ามาแพร่หลายนานมาก ทั้งดอก ต้น ใบ เป็นที่นิยม พัฒนาการให้ผลผลิตออกมาเป็น กุยช่ายขาว ผัดเต้าหู้น้ำมันหอย หรือซีอิ๊วเปล่าๆ รสชาติเยี่ยมมาก คอข้าวต้มยามดึกชอบกันนัก ร่วมกับข้าวต้มแบน น้ำสีอำพัน เราเพื่อนกันตลอดไป

ผักกุยช่าย ต้นกุยช่าย ใบกุยช่าย หรือที่รู้จักกัน ชื่อสามัญ Chinese Chive หรือ Garlic Chives
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium tuberosum Rotter ex Spreng
อยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE
วงศ์ย่อย ALLIACEAE

พี่น้องเชื้อสายเดียวกับกระเทียมนั่นเอง มี 2 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว และ กุยช่ายขาว ลักษณะต่างกันที่สีต้นใบ เนื่องมาจากการดัดแปลงกรรมวิธีการปลูก ส่วนลักษณะอื่นๆ ก็คือ กุยช่าย เหมือนกันทุกอย่าง รสชาติกุยช่าย เผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ จีนแต้จิ๋วเรียก กูไฉ่ คนไทยภาคเหนือเรียก ผักแป้น ภาคกลางเรียก ผักไม้กวาด มีปลูกกันแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และแถบหิมาลัย อินเดีย เข้ามาปลูกในไทยนานแล้ว คาดว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย จนกลายเป็นผักไทย ที่นิยมกินกันมานาน หน้าหนาวกินทำให้ร่างกายอบอุ่นดีมาก กระตุ้นเซลล์ปลายประสาท เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รักษาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บได้สารพัดอย่าง

กุยช่าย เป็นพืชผักมีอายุหลายปี สูง 30-50 เซนติเมตร มีเหง้า ซึ่งเป็นลำต้นใต้ดิน แตกกอ ชูใบขึ้นเป็นลักษณะกาบใบ อัดรวมกันเป็นลำ ดูเหมือนเป็นลำต้น ใบรูปขอบขนาน แบน ยาว 30-40 เซนติเมตร โคนใบเป็นกาบซ้อนสลับกัน

ดอก เป็นลักษณะดอกไม้กวาด ชาวภาคกลางนิยมกินดอกกุยช่ายมาก จึงเรียกว่า ผักไม้กวาด ดอกสีขาวออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ช่อแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตัน ยาว 40-45 เซนติเมตร ชูยาวกว่าใบ ออกดอกที่ปลายช่อดอกในระดับเดียวกัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เจริญแตกออกเป็นริ้วสีขาว 6 กลีบ โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบมีเส้นสีเขียวอ่อน เกสรตัวผู้ 6 ก้าน ตัวเมีย 1 ก้าน ผลกลม โตประมาณ 4 มิลลิเมตร ผลแก่แตกตามรอยตะเข็บ มีเมล็ดแบน ช่อละ 1-2 เมล็ด ผิวเมล็ดขรุขระ สีน้ำตาล

คุณประโยชน์ทางโภชนาการของกุยช่าย ในส่วนของดอก และใบ มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่น ในกุยช่ายหนัก 100 กรัม ดอกให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี ใบให้ 28 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์ ดอกมี 34 กรัม ใบมี 39 กรัม คาร์โบไฮเดรต ดอกให้ 6.3 กรัม กับใบให้ 4.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม กับ 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม และ 136.79 ไมโครกรัม แคลเซียม 31 มิลลิกรัม กับ 98 มิลลิกรัม เหล็ก 1.6 มิลลิกรัม กับ 15 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม กับ 46 มิลลิกรัม ดอกมีวิตามินซี 13 มิลลิกรัม แหล่งรวมสรรพคุณทางอาหารมีมากมายขนาดนี้ คงเข้าใจกันได้ว่า ต้องมีคุณค่าต่อร่างกายเป็นอย่างมากทีเดียว

ใบกุยช่าย นิยมนำมาทำขนมกุยช่ายแป้งสด มีทั้งแบบนึ่ง และทอด ผัดไทยถ้าขาดใบกุยช่ายที่ใส่ผัดไปพร้อมกับเส้นก๋วยเตี๋ยว และวางจานคู่กับถั่วงอก หัวปลี ผัดไทยก็จะเป็นเหมือนก๋วยเตี๋ยวผัดธรรมดาไป ใส่ผัดบะหมี่สำเร็จรูป ผัดหมี่ขาว ใส่หมี่กรอบ ดอกกุยช่ายผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ต้มเลือดหมู และอีกสารพัดเมนูอาหาร ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นยาบำรุงสายตา กระดูก ฟัน สรรพคุณทางยา

ใบช่วยลดคอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง บำรุงกระดูก สมัครเว็บยูฟ่าเบท ป้องกันความเสี่ยงมะเร็ง เพิ่มสมรรถนะทางเพศ กระตุ้นกำหนัด แก้อาการหลั่งเร็ว รักษาอาการไร้สมรรถภาพ ต้มร่วมกับหอยน้ำจืดรักษาโรคเบาหวาน วัณโรค หูเป็นน้ำหนวก หวัด เลือดกำเดาไหลไม่หยุด รากและใบ กินขับลมในกระเพาะ ท้องอืด ริดสีดวงทวาร บำรุงไต ป้องกันตับอักเสบ คั้นน้ำหยอดไล่แมลงเข้าหู ต้นกุยช่าย รักษานิ่ว ท้องเสีย เมล็ดใช้ป้องกันแมงกินฟัน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ควรระวังอย่ากินมาก จะร้อนใน ยามเมื่อใดที่ดื่มเหล้ามามาก กุยช่ายจะเพิ่มความร้อนภายในมากขึ้น ยามท้องว่าง คนที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี กุยช่ายมีไฟเบอร์มาก ต้นใบแก่ยิ่งเหนียว ระบบย่อยทำงานหนักพึงระวัง

ต้นกุยช่าย เป็นพืชผักที่อายุยืนอยู่ได้หลายปีอย่างที่บอกไว้ตอนต้น เจริญเติบโตทั้งใบและดอก เมื่อตัดไปบริโภค ไปจำหน่ายแล้วจะงอกงามขึ้นมาใหม่ ทดแทนไปเรื่อยๆ หลายปี

การปลูกเป็นแปลง เมื่อเตรียมดินดีแล้ว ปลูกแม่พันธุ์ หลุมละ 2-3 ต้น ตัดไปและแต่งให้มีรากติด ระยะ 30×30 เซนติเมตร ปลูกครั้งเดียว ตัดใบ ดอกไปเป็นประโยชน์ได้ 5-6 ปี กุยช่ายเขียว จำหน่ายได้ กิโลกรัมละ 30-50 บาท

มีร้านอาหาร ภัตตาคาร ต้องการให้เกษตรกร ทำกุยช่ายขาวให้เพื่อใช้เป็นผักประกอบเมนูอาหาร กุยช่ายขาว ทำยากหน่อย ราคาดีมาก กิโลกรัมละ 120-150 บาท มีเกษตรกรหลายรายทำแล้วมีรายได้ดี แต่มีหลักอยู่ว่า ทำแต่พอแรง และมีตลาดที่แน่นอน

การทำไม่ใช่เรื่องยาก ปลูกกุยช่ายปกติ พันธุ์ใบเขียวนั่นแหละ แบ่งแปลงออกเป็น 3-4 ช่วง เพื่อผลิตเป็นกุยช่ายขาว โดยเพิ่มวัสดุอุปกรณ์ คือ กระถางดินเผา ตัดต้นกุยช่ายเขียวช่วงที่ 1 ตัดให้ชิดผิวดิน ครอบกระถางดินเผาปิดไว้ ต้นกุยช่ายจะเจริญเติบโตตามปกติ แต่ไม่ปกติคือ ไม่ได้รับแสงแดด แสงสว่างเลย ใช้เวลาไม่ปกตินั้น 9-10 วัน เปิดครอบกระถาง ตัดกุยช่ายขาวได้ และก็ให้คำนวณระยะเวลาของช่วงอื่น ที่จะตัด โดยกำหนดวันตัดเขียว ครอบกระถาง วันตัดขาว จะได้กุยช่ายขาวส่งร้านอาหารต่อเนื่อง

จะใช้สูตรวิธีทำ กับกุยช่ายที่ปลูกไว้กินที่บ้านก็ได้ จำกัดแสง บำรุงปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ราดน้ำล้างปลาล้างเนื้อตามปกติ ทั้งกุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว ทั้งต้นใบดอก บำรุงร่างกายได้อย่างสุดยอด สังเกตคนเชื้อสายจีนสิ ส่วนใหญ่จะแข็งแรงดี มีอายุวรรณะ สุขะ พละ อาซ้อ อาม้า แก้มแดง หูแดง ลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง