ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทพ ชูกลิ่น รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ ประสงค์จันทร์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สวัสดีปีใหม่กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทพ ชูกลิ่น รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ ประสงค์จันทร์ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สวัสดีปีใหม่ กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

วิวรรณ พยัฆวิเชียร ผู้จัดการส่วนอาวุโส ส่วนประชาสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) แวะมาสวัสดีปีใหม่ กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ทิพวรรณ ปานเพ็ชร์ ผู้จัดการสื่อการตลาด บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ดร.สาโรช จำกัด มาสวัสดีปีใหม่ กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

ปราณี บุตรน้ำเพ็ชร หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ และธัญลักษณ์ ลาภทรัพย์ทวีคูณ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ดอนเมืองพัฒนา จำกัด(ตลาดสี่มุมเมือง) มาแสดงความยินดีกับหนังสือพิมพ์มติชน เนื่องในโอกาสครบรอบ 41 ปีของการจัดตั้ง ณ บริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

วันนี้ (9 มกราคม 2561)ปราณี บุตรน้ำเพ็ชร หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ และธัญลักษณ์ ลาภทรัพย์ทวีคูณ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท ดอนเมืองพัฒนา จำกัด(ตลาดสี่มุมเมือง) มาแสดงความยินดีกับหนังสือพิมพ์มติชน เนื่องในโอกาสครบรอบ 41 ปีของการจัดตั้ง ณ บริษัท มติชน จำกัด(มหาชน)
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

วันที่ 9 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพงษ์ชัย หนูเจริญ อายุ 43 ปี เกษตรกร ในพื้นที่ ม.4 ต.ควนเมา อ.รัษฎา จ.ตรัง พลิกพื้นที่ปลูกฝรั่งพันธุ์แป้นสีทอง และพันธุ์กิมจู มาปลูกมัลเบอรี่ หรือหม่อน กว่า 500 ต้น บนเนื้อที่เกือบ 4 ไร่ เพื่อให้เป็นทางเลือกที่แตกต่างจากเกษตรกรรายอื่นๆ เนื่องจากก่อนหน้านี้ อ.รัษฎา ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกฝรั่งแป้นสีทอง และกิมจู คุณภาพดีที่สุดในจังหวัดตรัง จนได้รับรางวัลโอทอประดับ 5 ดาว มาหลายปีติดต่อกัน ทำให้มีเกษตรกรหันมาปลูกฝรั่งมากขึ้น จนผลผลิตเกือบล้นตลาด นายพงษ์ชัย จึงหันมาปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อปลูกหม่อนเป็นรายแรกในอำเภอรัษฎา โดยเน้นจุดขายคือ มีผลสุกให้นักท่องเที่ยวลงไปเลือกชิม หรือเลือกเก็บเองได้ตามใจชอบ ในราคากิโลกรัมละ 350 บาท

โดยหลังปลูกไปได้ประมาณ 1 ปี ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวที่ขับรถไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในอำเภอรัษฎา ให้ความสนใจแวะมาเก็บผลหม่อนสดในสวนกลับไปเป็นของฝากกันอย่างต่อเนื่อง จนสร้างรายได้ตั้งแต่ 700 บาท ถึง 2,000 บาทต่อวัน ทำให้ นายพงษ์ชัย เตรียมต่อยอดนำไปผลิตเป็นน้ำหม่อน ไวน์ลูกหม่อน แยมหม่อน และอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อลูกหม่อนได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆ ขณะที่การปลูกพืชชนิดนี้ ใช้เวลาแค่ 6-8 เดือน ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว อีกทั้งยังทนทานต่อโรคและแมลง โดยไม่ต้องใช้สารเคมี แถมยังทนแล้งทนฝนได้ดี จึงปลูกได้ทุกที่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย

บีบีซีรายงานว่า หลังอากาศในประเทศออสเตรเลียร้อนระอุ ส่งผลให้ค้างคาวหลายร้อยตัวไม่สามารถทนทานต่อสภาพอากาศได้และตายลง รวมไปถึงเจ้าของสุนัขรายหนึ่งถูกกล่าวหาว่าทารุณกรรมสัตว์เนื่องจากปล่อยสุนัขอยู่ในรถท่ามกลางอากาศร้อน

โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อากาศในมหานครซิดนีย์ได้ทำลายสถิติ กลายเป็นวันที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่ปี 1939 ด้วยอุณหภูมิที่พุ่งทะยานไปถึง 47.3 องศาเซลเซียส

สภาพอากาศดังกล่าวส่งผลให้ค้างคาว, พอสซั่ม และนก ต้องเผชิญกับภาวะความเครียดจากความร้อน (heat stress) มากที่สุด ในบรรดาสัตว์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย

นอกจากนี้ ตำรวจยังพบว่ามีหญิงรายหนึ่งปล่อยลูกสุนัขไว้ในรถยนต์ ซึ่งมีอุณหภูมิภายในรถพุ่งสูงถึง 65 องศาเซลเซียส เจ้าหน้าที่จึงทุบกระจกรถและนำลูกสุนัขอายุ 7 สัปดาห์ออกมา ก่อนจะให้น้ำและพาไปอยู่ในรถตำรวจพร้อมเปิดแอร์ให้ จากนั้นจึงแจ้งข้อหาทารุณกรรมสัตว์แก่เจ้าของสุนัขซึ่งเป็นหญิงวัย 28 ปี

ขณะที่เมืองทางตะวันตก ศูนย์ข้อมูลสัตว์ป่านิวเซาท์เวลส์ บริการการศึกษาและช่วยเหลือ ระบุว่า พบฝูงค้างคาวแม่ไก่ต้องเผชิญกับภาวะเครียดจากความร้อน และตายลงไปอย่างน้อยหลายร้อยตัว โดยเจ้าหน้าที่ได้นำน้ำไปให้ลูกค้างคาวแม่ไก่ราว 120 ตัว ก่อนจะนำกลับคืนสู่รังของมัน

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังช่วยปฐมพยาบาลให้กับพอสซั่มที่อุ้งเท้าไหม้เนื่องจากพื้นถนนและหลังคาที่ร้อนเกินไป รวมไปถึงให้น้ำแก่นกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 ม.ค.61) ที่วังบัวแดง บ้านหนองบ่อ ต.ปะโค อ.เมืองหนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้เป็นประธานกิจกรรมตามรอยคืนรักษ์ อุสา บารส ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างอำเภอเมืองหนองคาย และเทศบาลตำบลปะโค จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววังบัวแดงให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น

โดยภายในงานได้นำคู่แต่งงาน บ่าวสาว 2 คู่ ลงเรือไปทำการจดทะเบียนสมรสกับนายโสภณ ห่วงญาติ นายอำเภอเมืองหนองคาย รักษาการปลัดจังหวัดหนองคาย ในฐานะนายทะเบียน ยังแพกลางน้ำ ท่ามกลางดอกบัวสีแดงบานสะพรั่ง และมีญาติของบ่าวสาวนั่งเรือลงไปร่วมเป็นสักขีพยานด้วย จากนั้นคู่บ่าวสาวขึ้นฝั่งมาร่วมขบวนแห่ขันหมากกันริมหนองน้ำ ก่อนจะรับมอบใบทะเบียนสมรสจากผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย

ทั้งนี้ วังบัวแดง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หนองบ่อ เป็นหนองน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลเวียงคุก และตำบลปะโค อ.เมืองหนองคาย มีเนื้อที่ขนาด 4,768 ไร่ อุดมไปด้วยปลาน้ำจืดนานาชนิด โดยเฉพาะปลากรายและปลาชะโด มีนกปากห่างและนกเป็ดน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อปี 2555 มูลนิธิอุทกพัฒน์ ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของชุมชน ประกอบกับน้ำใสสะอาด มีบัวสายสีแดงเกิดขึ้นปกคลุมผืนน้ำอย่างสวยงาม ทางชุมชนจึงมีแนวคิดพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของอำเภอเมืองหนองคาย ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมอย่างต่อเนื่อง

ที่กระทรวงการคลัง นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 เห็นมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือระยะที่ 2 (เฟส 2) แก่ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 โดยจะมีการตั้งทีมหมอประชารัฐสุขใจ(ทีมปรจ.) ในระดับอำเภอขึ้นมา 900 ทีม เพื่อเข้าไปวิเคราะห์ กำหนดแผนที่ชีวิต และติดตามผู้มีบัตรคนจนทั้ง 11.4 ล้านคน โดยเน้นในกลุ่มมีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี อยู่ในวัยแรงงาน 5.3 ล้านราย ให้เข้าโครงการพัฒนาฯ ตนเอง

นายพรชัย กล่าวว่า คนที่เข้าโครงการต้องเซ็นยินยอมให้กระทรวงการคลังตรวจสอบข้อมูลการเคลื่อนไหวทางบัญชีทั้งแบงก์รัฐและเอกชนในช่วงปี 2560-2561 เพื่อดูว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ คนที่เข้าโครงการรับวงเงินเพิ่มเติมสำหรับซื้อของร้านธงฟ้า หากรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาท/ปี รับ 100 บาท/เดือนจากเดิมได้ 200 บาท รวมเป็น 300 บาท และรายได้ 3 หมื่นบาท/ปี รับ 200 บาท/เดือน จากเดิมได้อยู่ 300 บาทรวมเป็น 500 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ธันวาคม 2561 ถ้าหากแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการแล้ว ไม่ยอมมาอบรมตามโปรแกรมที่วางไว้ ถูกยุติการให้เงิน และเรียกคืนเงินในส่วนที่เพิ่มให้

“ในกลุ่มคนที่รายได้เกิน 3 หมื่นบาท/ปีถึง 1 แสนบาท/ปีจะเป็นภาคสมัครใจ ต้องเข้ามาแจ้งกับทีม ปรจ.จึงได้รับเงินเพิ่ม 100 บาท ส่วนกลุ่มคนที่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทจำนวน 5.3 ล้านรายนั้นหากไม่เดินมาแจ้ง ทีม ปรจ.เข้าไปหาถึงบ้าน แต่ไม่ได้บังคับเป็นภาคสมัคใจเช่นกัน คาดว่าจะสามารถช่วยคนที่รายรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท/ปี ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20% หรือประมาณ 1 ล้านราย ให้พ้นเส้นความยากจน 3 หมื่นบาท โดยไม่มีการตั้งเป้าหมายผลักดันให้รายได้เกิน 1 แสนบาท/ปีนั้น” นายพรชัย กล่าว

นายพรชัย กล่าวว่า การดำเนินการครั้งนี้ใช้งบประมาณ 3.57 หมื่นล้านบาท คาดว่ามีผลต่อเศรษฐกิจ 0.06% แบ่งเป็นการเติมเงินกว่า 1.39 หมื่นล้านบาท ค่าบริหารจัดการกว่า 3 พันล้านบาท พัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตกว่า 1.88 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้หารือกับสำนักงบประมาณถึงจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว สำนักงบประมาณพร้อมจัดสรรงบเพิ่มเติมในปีงบ 2561 ให้

นายพรชัย กล่าวว่า การดำเนินการครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่บูรณาการการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำจากกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีโครงการเพื่อรองรับมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการในทุกมิติรวมกว่า 34 โครงการ จากความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐอย่างน้อย 13 หน่วยงาน โดยมี 6 กระทรวง 3 ธนาคาร 2 กองทุนและ 2 หน่วยงาน มาตรการมีหางานให้ทำ แฟรนไชส์สร้างอาชีพ ฝึกอบรมอาชีพและการศึกษา คาดว่าสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้อย่างน้อย 4,695,407 คน

นายพรชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรายบุคคลและจูงใจให้นายจ้างที่เป็นนิติบุคคลจัดการฝึกทักษะฝีมือให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือพิจารณาจ้างงานผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นกรณีพิเศษโดยให้หักรายจ่ายเป็นจำนวน 1.5 เท่าของรายจ่าย โดยมีเงื่อนไขคือการจ่ายค่าจ้างต้องผ่านบัตรสวัสดิการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562

“ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ” ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ “ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการชี้ทิศทางและสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีฐานด้านตัวเร่งปฏิกิริยาและวิศวกรรมปฏิกิริยาเคมี สำหรับอุตสาหกรรมไบโอดีเซล อุตสาหกรรมเอทานอลและอุตสาหกรรมที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” (CAT-REAC industrial project)

เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง สกว. กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน), บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ที พี เค เอทานอล จำกัด ซึ่งมี “ศ.ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม” อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย

“ศ.นพ.สุทธิพันธ์” กล่าวว่า ระยะแรกของโครงการ สกว.จะสนับสนุนงบประมาณวิจัยปีละ 15 ล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี นอกจากนี้ ยังมีบริษัทเอกชนร่วมทุนอีกปีละ 7.3 ล้านบาท รวมงบประมาณในเฟสแรกทั้งสิ้น 66.9 ล้านบาท เพื่อสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาเทคโนโลยีด้านตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมกับประเทศไทยและอุตสาหกรรมต่าง ๆ

อีกทั้งลดปัญหาที่สำคัญของไทยคือ การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีอยู่ไม่เต็มประสิทธิภาพ และขาดการพัฒนาและการผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อใช้เอง อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับเทคโนโลยีใหม่ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น (disruptive technology) ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและอุตสาหกรรมเอทานอล

“โครงการนี้เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีในขั้นก่อนการแข่งขัน (Pre-competitive stage) เพื่อหาทิศทางที่เหมาะสมในการแปรรูปไบโอดีเซลและเอทานอล โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดใหม่เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และรองรับการทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาให้กับอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยอุตสาหกรรมที่มีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น”

“คาดว่าจะลดค่าใช้จ่ายของอุตสาหกรรมปีละไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาหน่วยงานวิชาการให้มีความเป็นเลิศด้านการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อป้อนให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมหรือสมาชิกตั้งต้นโครงการจำนวน 5 บริษัท และจะเปิดรับสมาชิกเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและผลการวิจัยได้”

“ศ.ดร.บัณฑิต” ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จะมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อรวบรวมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย

รวมถึงให้การสนับสนุนให้ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงการวิจัยทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งปกติจะต้องใช้งบลงทุนสูงมาก โดยจะมีการเผยแพร่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยาและเครื่องปฏิกรณ์ การจัดการอบรมเกี่ยวกับตัวเร่งปฏิกิริยาและเครื่องปฏิกรณ์ให้แก่อุตสาหกรรม ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานของตัวเร่งปฏิกิริยาและเครื่องปฏิกรณ์กับอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม การทดสอบตัวเร่งปฏิกิริยาให้กับอุตสาหกรรม เป็นต้น

“ศ.ดร.ปิยะสาร” กล่าวถึงภาพรวมของโครงการว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบจากปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มต่าง ๆ มากมาย โดยมีสถิติการนำเข้าตัวเร่งปฏิกิริยาจากต่างประเทศเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ ตัวเร่งปฏิกิริยาเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศไทย เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตไบโอดีเซล และเอทานอล

“จากข้อมูลกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่าโรงงานผลิตไบโอดีเซลในประเทศมีกำลังผลิตรวมประมาณ 132 ล้านตัน/ปี และกำลังผลิตรวมของเอทานอล ประมาณ 1,200 ล้านลิตร/ปี รวมถึงยังมีโรงงานผลิตไขจากน้ำมันพืชเพื่อใช้ทำเนยเทียมจำนวน 9 โรงงาน”

ปัญหาที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไทย ยังขาดองค์ความรู้ทางด้านตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในกระบวนการผลิต ขาดความสามารถในการพัฒนาและผลิตตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อใช้ได้เอง

“ที่สำคัญยิ่งคือขาดการกำหนดทิศทางหรือแนวโน้มในการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่กำลังใช้งานอยู่ รวมทั้งทิศทางที่จะนำผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์พลอยได้ไปใช้ผลิตสารเคมีอื่นๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น กล่าวคือ ขาดการวิจัยชี้เป้า ซึ่งเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในเวทีระดับนานาชาติ”

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีฐานความรู้ด้านตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสนับสนุนการผลิตของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง เป็นต้น

ที่วังบัวแดง บ้านหนองบ่อ ต.ปะโค อ.เมืองหนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้เป็นประธานกิจกรรมตามรอยคืนรักษ์ อุสา บารส ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างอำเภอเมืองหนองคาย และเทศบาลตำบลปะโค จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววังบัวแดงให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น

โดยภายในงานได้นำคู่แต่งงาน บ่าวสาว 2 คู่ ลงเรือไปทำการจดทะเบียนสมรสกับนายโสภณ ห่วงญาติ นายอำเภอเมืองหนองคาย รักษาการปลัดจังหวัดหนองคาย ในฐานะนายทะเบียน ยังแพกลางน้ำ ท่ามกลางดอกบัวสีแดงบานสะพรั่ง และมีญาติของบ่าวสาวนั่งเรือลงไปร่วมเป็นสักขีพยานด้วย จากนั้นคู่บ่าวสาวขึ้นฝั่งมาร่วมขบวนแห่ขันหมากกันริมหนองน้ำ ก่อนจะรับมอบใบทะเบียนสมรสจากผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย

ทั้งนี้ วังบัวแดง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า หนองบ่อ colourofwords.com เป็นหนองน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลเวียงคุก และตำบลปะโค อ.เมืองหนองคาย มีเนื้อที่ขนาด 4,768 ไร่ อุดมไปด้วยปลาน้ำจืดนานาชนิด โดยเฉพาะปลากรายและปลาชะโด มีนกปากห่างและนกเป็ดน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อปี 2555 มูลนิธิอุทกพัฒน์ ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของชุมชน ประกอบกับน้ำใสสะอาด มีบัวสายสีแดงเกิดขึ้นปกคลุมผืนน้ำอย่างสวยงาม ทางชุมชนจึงมีแนวคิดพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของอำเภอเมืองหนองคาย ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมอย่างต่อเนื่อง

ราคาสินค้าเกษตรตกสะเทือนกำลังซื้อเกษตรกร เอสเอ็มอีเมืองตรังเดินหน้าเร่งพัฒนาสินค้าต่อเนื่อง ตั้งเป้าปี 2561 มุ่งเจาะตลาดต่างประเทศ หวังชดเชยกำลังซื้อภายในประเทศฮวบ ชี้ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง-โอท็อปเป็นสินค้าดาวรุ่ง

ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง ฝ่ายธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จังหวัดตรังมีผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 100 ราย มูลค่าจดทะเบียนมากกว่า 1,000 ล้านบาท ครอบคลุมกิจการทุกรูปแบบ เช่น โรงงาน ผลิตภัณฑ์อาหาร โอท็อป เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการอยู่ระหว่างการปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดทุน เนื่องจากปัจจุบันราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้เกษตรกรซึ่งเป็นกำลังซื้อสำคัญ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเองยังคงพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ รวมถึงเพิ่มช่องทางการตลาดใหม่ ๆ และเพิ่มฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ด้วยการเปิดตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้เมื่อสำรวจดูการลงทุนต่าง ๆ พบว่าส่วนใหญ่ผู้ประกอบการยังคงใช้เงินทุนหมุนเวียนของตัวเอง ไม่ค่อยกู้เงินจากสถาบันการเงินมากนัก แม้ภาครัฐจะสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยเพียง 1% ต่อปี แต่พบว่ามีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากู้เงินลงทุนจากสถาบันการเงินประมาณ 100 ล้านบาทเท่านั้น

ทั้งนี้ด้านการตลาด ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีตลาดเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ทั้งในและต่างประเทศ และที่ผ่านมาได้มีการปรึกษาหารือว่าในปี 2561 จะเร่งเปิดตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อสร้างยอดจำหน่ายใหม่ ชดเชยในส่วนที่ขาดไปจากยอดจำหน่ายภายในประเทศที่ชะลอตัว รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก หรือเอ็กซิมแบงก์ ให้กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจังหวัดตรังจะเดินทางไปเปิดตลาดที่ประเทศอินเดีย ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2561

“ธุรกิจที่มีแนวโน้มสดใส ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง สินค้าจากกลุ่มผู้ประกอบการโอท็อปหลายชนิด ที่กำลังได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมองว่าแนวโน้มการส่งออกของกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีของ จ.ตรัง ในปีนี้น่าจะดีขึ้นตามลำดับ”

ดร.พิทักษ์พงษ์กล่าวว่า สำหรับโรงงานของตนผลิตสินค้ากว่า 30 ชนิด เช่น ขนมเค้ก ขนมเปี๊ยะ ขนมเต้าส้อ เป็นต้น โดยผลประกอบการจะอยู่ที่ประมาณ 50-80 ล้านบาทต่อปี ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมา ยอดจำหน่ายลดลงเช่นกัน โดยลดลงกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน ผลประกอบการอยู่ที่ 50 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ตกต่ำ สำหรับการตลาดนั้น นอกจากจำหน่ายที่ร้านเค้กขนิษฐา ซึ่งรองรับกรุ๊ปทัวร์ รถประจำทาง และบริการนักท่องเที่ยวแล้ว ยังส่งจำหน่ายร้านต่าง ๆ รวมถึงตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน ที่มีออร์เดอร์เข้ามาต่อเนื่อง