ผู้ทำเกษตรผสมผสาน เล่าให้ฟังว่า จากที่เคยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

เมื่อเกษียณก็ได้ผันตัวออกมาเป็นชาวบ้านเป็นเกษตรกร เบื้องต้นจึงต้องเรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์งานด้านเกษตรให้ชำนาญ สืบค้นข้อมูลด้านวิชาการเกษตรจากแหล่งวิชาการ ขอรับคำแนะนำจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อได้ข้อมูลพอแล้ว ได้ตัดสินใจทำเกษตรผสมผสาน ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยง ให้มีผลผลิตบริโภคหรือเหลือขาย

การดำเนินงาน ได้จัดการใช้ประโยชน์ พื้นที่ 2 ไร่ ที่มีพื้นที่ส่วนที่หนึ่งเป็นบ้านพัก ส่วนที่สองจัดเป็นพื้นที่ปลูกไม้ผลและพืชผัก ส่วนที่สามจัดเป็นคอกเลี้ยงหมู เป็ด และไก่ จัดให้มีแหล่งน้ำใช้ในการผลิตเกษตร

กิจกรรมหลัก คือ การเลี้ยงหมูแม่พันธุ์และเลี้ยงหมูขุน ได้สร้างโรงเรือนห่างจากบ้านพักและเป็นที่ดอน น้ำไม่ขัง เมื่อล้างทำความสะอาดพื้นคอกหมู มูลหมูที่เก็บได้ใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปคลุกเคล้าเพื่อกำจัดกลิ่นและป้องกันแมลงวันเข้ามารบกวน ส่วนมูลหมูที่ตากแห้งได้นำไปใช้ในแปลงเกษตร อีกส่วนหนึ่งขาย การเลี้ยงหมูมี ดังนี้

การเลี้ยงแม่พันธุ์หมู ได้คัดเลือกแม่พันธุ์หมูมาเลี้ยง 3 วิธี คือ

ซื้อลูกหมูขุนจากฟาร์ม คัดเลือกตัวที่มีน้ำหนัก ประมาณ 90 กิโลกรัม หรืออายุ 4 เดือน นับจากวันอย่านม มีลักษณะดีเช่น มีเต้านม 13 เต้า ขึ้นไป หัวนมไม่บอด แผ่นหลังกว้าง ขาหลังใหญ่ตรง แข็งแรง
ซื้อแม่พันธุ์หมูที่แหล่งพันธุ์ดี คัดเลือกขนาด อายุ น้ำหนักและใกล้เป็นสัด มีข้อดีคือ โครงร่างใหญ่ ให้ลูกดก
เลือกซื้อลูกหมูที่เกิดจากแม่พันธุ์ดี ราคาถูก สุขภาพดี ไม่อ่อนแอ และต้านทานโรค

การเลี้ยงหมูขุน นำลูกหมูอย่านมเข้าคอก ติดป้ายระบุวันอย่านมไว้ที่คอก เพื่อการดูแลและกำหนดวันจับขาย ช่วงแรกที่เลี้ยงได้ให้อาหารหมูเล็กหรือให้กินกล้วยน้ำว้าสุกบ้าง เพราะลูกหมูยังหากินไม่เก่ง ช่วงอดนม 2-3 วัน ต้องปอกเปลือกกล้วยสุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ให้กิน ถ้าลูกหมูท้องเสียให้ลดอาหาร เมื่อดีขึ้นก็ให้กินอาหารเหมือนเดิม แต่ถ้าไม่ดีขึ้นต้องใช้ยาฉีด หมูที่มีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ขึ้นไป ได้เปลี่ยนเป็นอาหาร เบอร์ 2 มาผสมให้กิน เมื่อได้น้ำหนัก 30 กิโลกรัม ได้เปลี่ยนเป็นอาหาร เบอร์ 3 มาผสมให้กิน และเมื่อหมูน้ำหนัก 50 กิโลกรัม เปลี่ยนมาผสมอาหารปกติให้กิน

การทำบ่อบำบัด ได้สร้างบ่อบำบัดอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพื้นคอกหมู เพื่อให้น้ำที่ล้างทำความสะอาดไหลลงบ่อได้ง่าย ฉาบด้วยปูนซีเมนต์ด้านในวงบ่อซีเมนต์ป้องกันน้ำซึมเข้าและป้องกันกลิ่นไปรบกวนเพื่อนบ้าน และเมื่อมูลหมูเต็มบ่อได้สูบขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช

ร้อยตรีบัญชา เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า อีกกิจกรรมหนึ่งคือ เลี้ยงไก่ไข่ 15 ตัว มีไข่ให้เก็บ 10-14 ฟอง ต่อวัน วิธีเลี้ยงได้ปล่อยไก่ไปหากินเศษอาหารที่ตกหล่นจากการเลี้ยงหมูหรือเศษพืชผักผลไม้เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารเม็ด และได้จัดอาหารเม็ดให้ไก่กินเพื่อเสริมให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตให้ผลผลิตคุณภาพ

การปลูกพืช ได้ปลูกพืชอายุสั้นที่ให้ผลผลิตไวได้เก็บกินในครัวเรือนก่อน เหลือก็นำออกขายให้กับพ่อค้าในหมู่บ้านนำไปขายต่อที่ตลาดสิงห์บุรี พืชผักที่ปลูก เช่น ผักโขม ผักสลัด มะเขือ กะเพรา ข่า ตะไคร้ หรือดอกชมจันทร์ ส่วนไม้ผลที่ปลูก เช่น มะม่วง ฝรั่ง กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง มะละกอ หรือมะนาว

ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ เวลานี้มีผลมะนาวให้เก็บมากินและนำออกขาย ปลูกชมจันทร์ไม้เถาเลื้อยพืชผักสวนครัวที่ปลูกง่ายให้ดอกดก นำไปแกงส้มหรือลวกกินกับน้ำพริกได้รสแซบอร่อย ผักโขมเป็นพืชผักอีกชนิดที่กินอร่อยได้เก็บบรรจุใส่ถุงไปวางขายตลาดผู้ซื้อชอบมาก พืชผักและไม้ผลจะมีผลผลิตให้ทยอยเก็บได้ต่อเนื่องทุกวัน

การทำเกษตรผสมผสาน ได้จดบันทึกทุกกิจกรรมเพื่อนำข้อดี ข้อด้อย มาเป็นแนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีผลิตและการผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP (Good Agricultural Practice) ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ จึงได้รับการรับรองให้เป็นสินค้าเกษตรดีมีคุณภาพ จากกรมวิชาการเกษตร และการก้าวสู่ความสำเร็จมีผลผลิตให้เก็บกินหรือนำไปขายเป็นรายได้ เป็นเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทำให้วิถีการดำรงชีพมีความมั่นคง

จากเรื่อง เกษตรผสมผสาน วิถีพอเพียง บนพื้นที่ 2 ไร่ ที่สิงห์บุรี ได้จัดการพื้นที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ได้ผลตอบแทนคุ้มทุนหรือจดบันทึกกิจกรรม เป็นวิถีการดำรงชีพที่มั่นคง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ร้อยตรีบัญชา เพ็ชรรักษ์ เลขที่ 20/1 หมู่ที่ 6 ตำบลพวกรวม อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี โทร. (081) 291-9687 หรือที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี โทร. (036) 813-488 ก็ได้เช่นกันครับ

การพัฒนางานชนบท เป็นงานสำคัญและเป็นงานยากที่ต้องทำโดยอาศัยเวลาเป็นเครื่องช่วยในการพัฒนา ภูมิสังคมประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งสภาพอากาศ พื้นที่ สภาพดิน น้ำและคน ทำให้การทำเกษตรของเมืองไทยมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละพื้นที่ การทำการเกษตรในแต่ละพื้นที่ จึงต้องมีการศึกษาให้เกิดเข้าใจ และทำความเข้าใจ ให้ความรู้กับเกษตรกรที่เป็นเจ้าของพื้นที่ด้วย

อย่างในพื้นที่หมู่บ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ แห่งนี้ก็เช่นกัน ด้วยเป็นพื้นที่สูง อยู่บนดอย การเดินทางเข้าถึงค่อนข้างยาก หมู่บ้านตั้งอยู่ในภูเขาสลับซับซ้อน สภาพอากาศเย็น เมื่อครั้งอดีตการเดินทางเข้ามาที่นี่ลำบาก และทุรกันดารมาก ชาวเขาชุมชนชาวกะเหรี่ยง หรือชาวปกากะญอ ชนพื้นเมืองที่นี่ก็ทำการเกษตรแบบเลื่อนลอย ปลูกฝิ่นบ้าง ทำนาบ้าง ความเป็นอยู่ยากจน แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาถึงที่นี่ ความเป็นอยู่ก็เปลี่ยน

คุณบุญทา พฤกษาฉิมพลี หมอดินดอยอาสาของชุมชนชาวกะเหรี่ยง หรือชาวปกากะญอ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หมอดินโครงการหลวง วัย 53 ปี เล่าให้ฟังว่า “ยุคแรกๆ สมัยก่อนบรรพบุรุษ บนดอยที่นี่ เขาทำเกษตรแบบไร่เลื่อนลอย ทำนา ทำไร่ เกษตรกรทำการเกษตรไม่ครบถ้วน ไม่มีความรู้ ไร้ความเข้าใจ พอในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเยี่ยมที่บ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ แห่งนี้ ในตอนนั้นถนนหนทางยังทุรกันดารมาก ลำบากทั้งคนที่อยู่และคนที่มา แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระองค์ก็ยังเสด็จพระราชดำเนินมาที่หมู่บ้านแห่งนี้ถึง 6 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมา ก็มักจะถือแผนที่ติดตัวเสมอ ชาวบ้านอย่างเราๆ ต่างก็พูดเล่นกันว่า ท่านถือแผนที่มาก็เพราะกลัวหลงทาง แต่พอมาดูแผนที่จริงๆ ทุกคนกลับเห็นว่า แผนที่ในมือนั้นเป็นแผนที่ที่เอาไว้ใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆ และการเสด็จพระราชดำเนินมาแต่ละครั้ง ท่านจะเก็บข้อมูลไป และเอาไปวิเคราะห์ เมื่อกลับมาอีกครั้งพระองค์จะมาพร้อมกับแนวคิดและการให้ชาวบ้านทดลองปลูกพืช ทำเกษตรต่างๆ เป็นการทดลองและทำงานวิจัย กลายเป็นแนวทางให้ชาวบ้านได้เอาไปปรับใช้ การปลูกพืชที่นี่ เนื่องจากเป็นดอย และเป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น จึงเหมาะกับการปลูกพืชเมืองหนาว และพืชอีกหลายชนิดที่ในพื้นที่อื่นปลูกไม่ได้”

โดยคุณบุญทา เล่าต่อว่า ที่อาสามาเรียนรู้เรื่องดิน และได้มาเป็นหมอดินโครงการหลวงนี้ด้วยก็เพราะเห็นว่า “ดิน” เป็นสิ่งสำคัญมาก ในการเพาะปลูกพืชผักทำการเกษตรต่างๆ ซึ่งการจะปลูกพืชผักให้ดีได้นั้น ดินต้องได้คุณภาพ ต้องมีการปรับปรุงดินเพื่อใช้ในการปลูก ทั้งต้องใช้เวลาในการดูแลดินด้วย จึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเกษตร

การวัดค่าดิน ต้องดูค่า pH ความเป็นกรด-ด่าง ดินบนดอยแห่งนี้บางพื้นที่ก็เป็นกรด บางพื้นที่ก็เป็นด่าง ทำให้ต้องมีการปรับค่าดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชในแต่ละชนิด แต่ข้อดีของดินแถบนี้คือสามารถปรับดินเพียงแค่ 1 ครั้งก็สามารถปลูกพืชได้แล้ว ถือเป็นข้อโชคดีของที่นี่ โดยพืชที่นี่สามารถปลูกได้หลากหลายชนิดมากๆ ทั้งกาแฟ ทำนา มะเขือเทศ แตงกวาญี่ปุ่น ดอกไม้นานาชนิด อาทิ ดอกกุหลาบฮอลแลนด์ ดอกลิลลี่อย่าง พันธุ์แฮปปี้เดย์ ไททานิค คูลวอเตอร์ เป็นต้น โดยผลผลิตต่างๆ ที่เกษตรกรในหมู่บ้านผาหมอนทำได้ ส่งขายให้กับโครงการหลวง

คุณบุญทา ยังบอกอีกว่า “นอกจากจะเป็นหมอดินแล้ว ตนยังเป็นเกษตรกรด้วย โดยเล่าว่า เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ได้ทดลองปลูกกุหลาบ โดยปลูกแบบระบบซับสเตรต เทคโนโลยีใหม่ โดยโครงการหลวงมาช่วยให้ความรู้ ซึ่งเป็นระบบควบคุมการทำงานแบบคำนวณอัตโนมัติ ทั้งการให้น้ำ การดูแล ก่อนจะเลิกปลูกไป เพราะพื้นที่ที่ทำการปลูกกุหลาบมานานจะทำให้เกิดรากเน่า โคลนเน่า ตอนนั้นปลูกกุหลาบในพื้นที่ 2 ไร่ ลงทุน 1 ล้านบาท 3 ปีจึงใช้ทุนคืนได้หมด แถมยังได้กำไรด้วย ทั้งผมภูมิใจมากตรงที่คนอื่นปลูกกุหลาบไม่ได้ แต่ผมปลูกได้ แค่คนจากโครงการหลวงมาให้ความรู้ ผมก็ปลูกได้เลยอย่างรวดเร็ว”

คุณบุญทา เป็นเกษตรกรรุ่นแรกๆ ที่ทำการทดลองปลูกกุหลาบ กล้าทำ จนประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรต่อไป โดยใช้หลักการปฏิบัติงานแบบอย่างตามแนวในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เป็นในหลวงนักวิจัย ที่พระองค์ทรงสอนชาวบ้านโดยการทำเป็นแบบอย่างให้ดูว่า จะทำเกษตร หรือปลูกอะไร ก็ต้องทำการศึกษาพื้นที่ของตนก่อน แล้วทดลอง ลงมือทำ

ปัจจุบัน คุณบุญทา บอกว่า ตนได้หันมาปลูกมะเขือเทศ 2 พันธุ์คือ เชอร์รี่ และโทมัส เนื่องจากต้องเลิกปลูกกุหลาบบนพื้นที่ของตนเองชั่วคราว ส่วนพื้นที่ของเกษตรกรคนอื่นๆ เขาก็ปลูกกันไป หมุนเวียนไปในแต่ละพื้นที่ โดยผลผลิตมะเขือเทศในพื้นที่ของตนที่ทำได้ ก็จัดส่งในกับโครงการหลวง รายได้รวมเฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท แม้ไม่ใช่รายได้ที่มากมายนัก แต่ถือว่าอยู่ได้ดี มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างสบาย ไม่เดือดร้อน การใช้เงินและการดำเนินชีวิตใช้การยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้พอเหมาะ พอดี เหมาะสมกับตัวเรา โดยต้องดูกำลังการทำงานของตนเอง

ส่วนการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศนั้น ทำการเก็บเกี่ยวสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ผ่านการตรวจ GAP ให้ได้มาตรฐาน โดยการปลูกสามารถใช้สารเคมีได้ แต่ก็ต้องใช้ไม่เยอะ ต้องทำให้ได้มาตรฐาน และการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งความสุกของมะเขือเทศต้องได้ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ จึงจะเก็บเกี่ยวได้ ถ้าหากทำไม่ผ่านมาตรฐานของโครงการหลวง ก็ส่งผลผลิตไม่ได้

ด้านการดูแลก็ไม่ยุ่งยาก คุณบุญทา บอกว่า ดูแลเรื่องน้ำ เรื่องปุ๋ย และการดูแลเรื่องโรคใหม่ๆ เท่านั้น โดยการปลูกพืชบนที่สูงแบบนี้ เกษตรกรต้องรู้จักการปลูกพืชแบบหมุนเวียนและการจัดสรรพื้นที่ของตนเองให้เหมาะสมกับพื้นที่ในแต่ครั้ง ต้องตรวจดูดิน และการมีความรู้เรื่องดินในการปรับปรุง โดยการปรับดินก็ทำได้ง่ายๆ คือการฝังกลบด้วยพืชต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่เพื่อในเกิดการย่อยสลายหรือการใส่ปุ๋ยหมัก พักดินทิ้งไว้สัก 20 วัน ก็สามารถปลูกพืชได้แล้ว หรือจะทำการปลูกถั่วบางชนิดก็ได้ และหากมีความรู้เรื่องดิน ก็จะเป็นเรื่องที่ดีและเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการทำเกษตร คุณบุญทา บอกทิ้งท้าย

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 พื้นที่ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ได้มีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีการดำรงชีวิตที่ยึดหลักพอเพียง ตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอลุยเดช โดยได้มีการจัดสรรพื้นที่ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวหลากหลายชนิด รวมทั้งการเพาะปลูกข้าว เพื่อใช้เอาไว้ในการอุปโภคบริโภค และหรือจากการอุปโภคบริโภคก็จะทำการแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน และเมื่อเหลือจากเพื่อนบ้านก็จะนำไปจำหน่ายในชุมชนข้างเคียง จนทำให้ชุมชนแห่งนี้นั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง

นายทองเพชร สูงชัยยา หนึ่งในชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง เปิดเผยว่า ถึงสถานการณ์ราคาข้าวที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้ทางชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากทางชุมชนได้มีการเพาะปลูกข้าวไว้เพื่อนในการอุปโภคบริโภคให้เพียงพอต่อชุมชน และเมื่อเหลือแล้วจึงจะนำไปจำหน่าย ซึ่งทำแบบนี้มาโดยตลอดโดยยึดหลักพออยู่พอกิน ทำเท่าที่กิน และพื้นที่โดยรอบก็จะมีการช่วยกันปลูกผักสวนครัวและพืชผลิตชนิดอื่นๆไปควบคู่กัน เพราะว่าเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะได้ไม่ต้องรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตชนิดเดียว ซึ่งก็จะทำให้มีรายได้ที่เข้ามาภายในชุมชนทั้งรายวันและรายเดือน

“ตนเองยอมรับว่าพื้นที่แต่เดิมนั้นมีความแห้งแล้งไม่สามารถที่จะทำการเพาะปลูกพืชได้ ทำให้ชาวบ้านนั้นก็ช่วยกันพัฒนาดินมาอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดผืนดินนั้นกลับมามีความชุ่มชื่นจนสามารถที่จะปลุกพืชผลทางการเกษตรได้หลากหลายชนิด ดังนั้นตนเองจึงคิดว่าทุกพื้นที่ของเกษตรกรควรที่จะมาการจัดสรรพื้นที่ของตนเองในการที่จะแบ่งปันส่วนการปลูกพืชแต่ละชนิดในพื้นที่ของตน ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงของปวงชน” นายทองเพชร กล่าว

โรงเรียนบ้านสระเตย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 เป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีคุณครู 13 คน นักเรียน 183 คน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากร ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดีผ่านการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยเช่นกัน ที่สำคัญในฐานะที่ต้องดูแลรับผิดชอบชีวิตนักเรียนในโรงเรียนทั้งหมด จึงปรารถนาให้เด็กๆ ได้รับอาหารที่ดี มีคุณค่า ปราศจากสารพิษตกค้าง จึงศึกษาหาความรู้ แสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรต่างๆ และภูมิปัญญาชาวบ้าน หากระบวนการได้มาซึ่งอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ปราศจากสารเคมีตกค้าง ก่อนได้ข้อสรุปให้สร้างแปลงเกษตรอินทรีย์ ปลูกข้าวปลอดสารพิษบริเวณแปลงนาข้างโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งอาหารของเด็กๆ

หลังได้ข้อสรุป โครงการ “ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่” ของโรงเรียนเกิดขึ้น ปรากฏว่าโครงการได้รับความร่วมมือด้านเมล็ดพันธุ์ ความรู้ และคำแนะนำเป็นอย่างดีจากศูนย์เรียนรู้ และพัฒนาชาวนารุ่นใหม่ จังหวัดชัยนาท กำลังทหารจากศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี ปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมเป็นวิทยากร และความร่วมมือจากคณะครู นักเรียน ผู้ปกครอง กระบวนการเพาะปลูกตั้งแต่เริ่มต้นเพาะ หว่านกล้า ไปจนถึงเก็บเกี่ยว ใช้เวลาเพียง 120 วัน มีพื้นที่เพาะปลูก 2 ไร่ เน้นเกษตรอินทรีย์ ใช้กระบวนการธรรมชาติดูแลและบริหารจัดการแปลงนา ต้นทุนน้อย แต่ให้ผลผลิตมากกว่าเดิม

สำหรับการเพาะปลูกข้าว เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวทิ้งไว้ 15 วัน ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ ระหว่างรอกล้าข้าวเจริญเติบโต ก่อนลงมือเพาะปลูก 7 วัน เตรียมแปลงนาด้วยการไถนาและใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ย่อยตอซัง 5 ลิตร ต่อไร่ สาดให้ทั่วหรือปล่อยพร้อมน้ำเพื่อย่อยตอซังได้เร็วขึ้น ลดสารพิษในดิน หว่านแหนแดงเพื่อควบคุมหญ้า พอถึงเวลา 15 วัน ตีตารางปาเป้าเพื่อปลูกข้าวเพียงต้นเดียว ต่อ 1 ช่องตาราง ด้วยเครื่องมือตีตาราง ระยะหว่าง 30×30 เซนติเมตร เพื่อให้ข้าวแตกกอดี หลังจากนั้นต้นข้าวค่อยๆ เจริญเติบโต เมื่อมีอายุได้ 20 วัน หลังการปกเป้า จะปล่อยน้ำออกจากนาเพื่อแกล้งข้าวให้ข้าวแตกกอมากกว่าเดิมและแข็งแรง กระทั่งต้นข้าวอายุ 40 วัน จึงเปิดน้ำเข้าแปลงนา ระหว่างนั้นจะเทจุลินทรีย์ฯ ระหว่างวิดน้ำ ไร่ละ 2 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงปล่อยน้ำออกจากนา เมื่อข้าวอายุครบ 70 วัน จึงปล่อยน้ำเข้านาอีกครั้ง และใส่จุลินทรีย์ฯ เพื่อบำรุงรวงข้าวอีก ไร่ละ 1 ลิตร ทิ้งไว้ก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน จะได้ข้าวต้นแข็ง กอใหญ่ ใบตั้ง รวงยาว ข้าวเต็มเมล็ด จากข้อมูลสถิติศูนย์เรียนรู้และพัฒนาชาวนารุ่นใหม่ จังหวัดชัยนาท เคยปลูกข้าวด้วยวิธีนี้ได้ผลผลิตสูงสุด 70 ถัง ต่อ 1 ไร่ สูงกว่าปกติถึง 5 เท่า ขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง

ที่สุดเวลาที่ทุกรนรอคอยมาถึง เมื่อถึงวันเก็บเกี่ยว ปรากฏว่ามีทั้งชาวบ้าน ทหาร ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ทีมงานวิทยากร ตลอดจนคณะครูและนักเรียน ร่วมกับเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่ร่วมกันปลูกและเลี้ยงดูมาอย่างดีตลอด 4 เดือน อย่างมีความสุข แม้เหงื่อไคลโซมกาย แต่ใบหน้ายังฉาบด้วยรอยยิ้มเปี่ยมสุข ที่เด็กๆ จะมีข้าวคุณภาพดีจากกระบวนการเพาะปลูกด้วยวิถีธรรมชาติ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงรับประทานตลอดทั้งปี

นายปัญญา แก้วเหล็ก ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 รู้สึกยินดีที่โรงเรียนบ้านสระเตยนำเกษตรอินทรีย์เข้ามาสู่แปลงนา ได้ผลผลิตน่าพอใจ คนปลูกปลอดภัย คนกินปลอดภัย ทำให้นักเรียนรู้สึกรักและภาคภูมิใจในอาชีพของบรรพบุรุษมากขึ้น

นับเป็นโชคดีของเกษตรกจังหวัดภูเก็ตที่ทางบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำกัด โปรโมตสินค้าหลักๆ ของเมืองท่องเที่ยวสำคัญแห่งนี้ โดยสับปะรดภูเก็ต หรือที่คนใต้เรียกกันว่า ยาหนัด เป็น 1 ใน 3 อย่างของสินค้าขึ้นชื่อภูเก็ต อันได้แก่ กุ้งมังกรเจ็ดสี ผ้าบาติก และสับปะรดภูเก็ต โดยทางบริษัทเปิดให้จองสับปะรดภูเก็ตที่ดีที่สุด 100 ลูก เป็นสับปะรดภูเก็ตแท้ ขายในราคาลูกละ 1,500 บาท เป็นการทำแคมเปญแค่ 100 ลูก

คุณวิชัย แซ่ตัน เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่ได้รับจัดสรรโควต้าให้ขายลูกละ 1,500 บาท จำนวน 25 ลูก

หนุ่มใหญ่วัย 48 ปีรายนี้เรียนจบ ปวส. สาขาอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนหน้าที่จะมายึดอาชีพเกษตรกรเต็มตัวเคยทำงานโรงแรมมาก่อน พอปี 2535 ไม่มีคนช่วยพ่อที่ปลูกสับปะรดมานานกว่า 50 ปี จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำหันมาเป็นเกษตรกรเพียงอย่างเดียว

เขาเล่าว่า ครอบครัวมีไร่สับปะรดที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ 2 แปลง คือที่ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จำนวน 30 ไร่ และอีก 40 ไร่ ที่บ้านบางโจ ตำบลศรีสุนทร โดยปลูกมานานกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นการปลูกแซมในสวนยางพาราที่หมดอายุการใช้งาน จำเป็นต้องปลูกต้นยางพาราใหม่ และช่วงที่ต้นยางพารายังไม่โตประมาณ 1-4 ปี สามารถปลูกสับปะรดแซมได้ เจ้าของสวนยางพาราจึงให้ไปปลูกสับปะรด พร้อมคอยดูแลต้นยางพาราให้ด้วย เป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

รวมแล้วคุณวิชัยมีสวนยางพาราที่ดูแล 70 ไร่ มีสับปะรดประมาณ 200,000 ต้น ไร่หนึ่งมี 3,300 ต้น ตั้งแต่ปลูกจนเก็บลูกได้ใช้เวลา 14-20 เดือน เพราะมีลูกหลายรุ่น สามารถเก็บได้เรื่อยๆ

คุณวิชัย ให้ข้อมูลว่า ราคาขายสับปะรดไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับตลาด บางปีลูกเล็กขายได้ลูกละ 5-6 บาท ลูกกลางขายได้ลูกละ 19 บาท ส่วนลูกใหญ่ขายได้ลูกละ 24 บาท คิดแล้วขายได้เฉลี่ยลูกละ 10-12 บาท ตกแล้วกำไรลูกละ 6 บาท อย่างไรก็ตาม แม้ราคาไม่แน่นอน แต่ปีหนึ่งๆ มีรายได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วเหลือประมาณ 1 ล้านบาท โดยมีคนในครอบครัวช่วยกันทำรวม 4 คน และจ้างคนช่วยอีก 4-5 คน

“ปีนี้เป็นปีแรกที่จะขายได้ลูกละ 1,500 บาท มีเกษตรกรได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการ 4 ราย ที่ไร่ได้โควต้าขาย 25 ลูก จากที่บริษัท ประชารัฐฯ สั่งมา 100 ลูก ตอนนี้เตรียมการไว้แล้ว เพื่อให้ได้ผลผลิตในช่วงวันที่ 26 มกราคมปีหน้า ช่วงตรุษจีน เริ่มปลูกเมื่อปีที่แล้ว รอบังคับให้ออกลูกในเดือนกันยายน ใช้เวลาอีก 140 วัน จึงต้องบังคับให้ออกลูก โดยใช้ฮอร์โมน ขอยืนยันว่าแม้จะใช้ปุ๋ยและสารเคมีแต่ก็ปลอดภัย เพราะก่อนตัดผล 3 เดือนไม่ได้ใช้สารเคมี และไม่ได้ใช้ยาฆ่าหญ้าเลย”

หน้าแล้งรสชาติดี อร่อย

คุณวิชัย บอกว่า แคมเปญนี้ดี ทำให้คนรู้ว่าสับปะรดภูเก็ตรสชาติดีเยี่ยม ทำให้ได้ราคาสูง อยากให้จัดแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากทำให้เกษตรกรมีรายได้ และเป็นการสร้างกระแสให้คนมาชิมว่าอร่อยจริง ทั้งหวาน กรอบ หอม อร่อย ซึ่งหากอยากทานสับปะรดภูเก็ตที่รสชาติอร่อยสุดต้องทานในหน้าแล้งประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน รสชาติจะหวาน น้ำน้อย

สำหรับขั้นตอนการปลูกสับปะรด เริ่มทำในช่วงหน้าแล้ง เริ่มจากการไถดิน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เป็นการเตรียมดิน แล้วตากแดดไว้ 7-10 วัน พร้อมใส่สารให้วัชพืชตาย จากนั้นไถดินซ้ำอีกรอบ เพื่อให้ดินร่วนซุยจะได้ปลูกง่าย เสร็จแล้วเตรียมหน่อสับปะรด โดยเลือกหน่อที่สมบูรณ์ ไม่มีโรค ต้องเลือกหัวที่มีขนาดใหญ่ ความกว้างประมาณ 1 นิ้ว ขุดหลุมใส่ในดินลึก 5-10 เซนติเมตร เอียงประมาณ 45 องศาขึ้นไป ระยะปลูกห่างกัน 40-45 เซนติเมตร เว้นทางเดินไว้ 1.20 เมตร ห่างจากต้นยางพารา 1 เมตร

ทั้งนี้ จำเป็นต้องใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีด้วย แต่ใช้น้อยที่สุด อย่างเช่น การใช้สารกำจัดวัชพืช กำจัดหญ้า ใช้ครั้งเดียวก่อนปลูก โดยพ่นลงในดิน ต่อมาใช้ปุ๋ยบำรุงดินเพื่อให้สับปะรดได้ธาตุอาหารครบ เพื่อให้ต้นสมบูรณ์

คุณวิชัย ระบุว่า การปลูกสับปะรดแซมในสวนยางพาราไปกันได้ดี เพราะกว่าต้นยางจะโตใช้เวลา 4 ปี ปลูกสับปะรดได้ถึง 2 รอบ ถ้าต้นยางพาราใหญ่แล้วปลูกสับปะรดไม่ได้ เพราะรากจะแย่งอาหารกัน เนื่องจากต้นสับปะรดต้องการแสงแดดเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องแล้งทำให้เกิดโรคเหี่ยว และมีเพลี้ยมาดูดน้ำเลี้ยง

เกษตรกรรายนี้ เล่าให้ฟังอีกว่า สมัยก่อนมักมีคนมาติดต่อให้ไปโค่นต้นยางพารา ปลูกยางพาราใหม่ และปลูกสับปะรดแซม แต่มาช่วงหลังนี้สวนยางพาราหายากขึ้น เพราะคนภูเก็ตไม่ปลูกยางพารา ทำธุรกิจอย่างอื่น อย่างที่อำเภอเมืองและอำเภอกะทู้ ทำธุรกิจท่องเที่ยว ดังนั้น ต่อไปอาจจะต้องขยันไปหาสวนยางพาราที่จังหวัดใกล้เคียงแทน อย่างเช่นที่พังงา

คุณวิชัย บอกอีกว่า ที่ผ่านมาแม้จะมีการนำสับปะรดภูเก็ตไปปลูกในหลายพื้นที่ แต่รสชาติสู้ที่ภูเก็ตไม่ได้ เนื่องมาจากดินที่ภูเก็ตมีธาตุอาหารและภูมิอากาศเหมาะสม ซึ่งมีผลการวิจัยพบว่า ชั้นใต้ดินของเกาะภูเก็ตเป็นหินแกรนิตทำให้ปลูกสับปะรดได้รสชาติดี อร่อย เมื่อนำสับปะรดภูเก็ตไปปลูกที่อื่น รสชาติจะไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นปลูกที่พังงาหรือกระบี่ ซึ่งสับปะรดภูเก็ตได้เครื่องหมายรับรอง GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ด้วย เคยไปทานที่พังงารสชาติคล้ายๆ กัน ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและการเก็บเกี่ยวด้วย ส่วนที่กระบี่ต่างกันเยอะ ไม่กรอบ

ในการทำเกษตรปัจจุบันนั้น หากจะให้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ ประการแรกต้องเลือกพืชผักผลไม้ที่ได้ราคาดีและเป็นที่ต้องการของตลาด มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล พร้อมกันนั้นต้องมีปัจจัยเรื่องการตลาดมารองรับด้วย ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยกว่าการผลิตเลย

จะเห็นว่าช่วงไม่กี่ปีมานี้ เกษตรกรกลุ่มหนึ่งในหลายจังหวัดหันมาปลูกเมล่อน อย่างสุโขทัย กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ เพราะได้ราคาดีมีตลาดรองรับ สามารถส่งขายทั้งในและต่างประเทศ ควบคุมผลผลิตได้ด้วยเทคโนโลยี เรียกว่าเป็นผลไม้ที่มาแรงในเวลานี้จริงๆ ซึ่งแม้การลงทุนจะสูงในช่วงเริ่มต้น แต่ผลตอบแทนที่ได้นับว่าคุ้มค่าทีเดียว

อย่างเกษตรกรที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งพื้นที่นี้ไม่มีแม่น้ำหรือแหล่งน้ำทางธรรมชาติไหลผ่าน แต่ก็สามารถปลูกเมล่อนในโรงเรือนได้ โดยมีการขุดแหล่งน้ำในพื้นที่ของตัวเอง

ทางบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) พาไปดูแปลงปลูกเมล่อนของ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนบ้านหนองคาง” ภายใต้การนำของ “คุณอำนาจ แตงโสภา” นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแจงงาม ที่ส่งขายในแม็คโคร เพื่อให้เห็นว่าที่นี่ปลูกเมล่อนกันอย่างไรถึงประสบความสำเร็จ ประเภท 2 ปี ปลูกได้ถึง 7 รอบ หรือ 7 คร็อป

คุณอำนาจ ย้อนอดีตให้ฟังว่า ก่อนจะมาปลูกเมล่อน เกษตรกรในพื้นที่นี้ปลูกกันมาหลายอย่าง เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ฯลฯ แต่ก็ประสบปัญหานานา กระทั่งมาปลูกเมล่อนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกราว 80 คน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 100 ไร่ และยังคงขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในปีนี้ ตั้งเป้าผลิตเมล่อนญี่ปุ่นให้ได้ 70 ตัน ทุกเดือน ซึ่งในการปลูกนี้มีทางบริษัทขายเมล็ดพันธุ์มาให้ความรู้ต่างๆ

ทั้งนี้ เมื่อปี 2549 กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อนญี่ปุ่นในท้องถิ่น ได้รวมตัวกันจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนบ้านหนองคาง” ภายใต้การนำของคุณอำนาจ ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงกว้างว่าเป็น ผู้ผลิตเมล่อนญี่ปุ่นในรูปแบบโรงเรือนปิดปลอดสารพิษตกค้าง ตามการรับรองมาตรฐานการจัดการเกษตรที่ดี (GAP) ที่มีคุณภาพรสชาติความหวานเป็นที่ 1

ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนบ้านหนองคาง มีปัจจัยหลายอย่าง นอกจากจะมีการเรียนรู้ร่วมกันแล้ว ยังมีการทำงานร่วมกันด้วย ซึ่งในพื้นที่อื่นๆ อาจจะไม่มี นั่นคือ การลงแขก

คุณอำนาจ เล่าว่า ทางกลุ่มได้มีการจัดการผลิตที่เป็นระบบ โดยกำหนดรอบเวรให้สมาชิกแต่ละรายปลูกห่างกัน 4 วัน เพื่อให้มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบแห่งนี้ตั้งใจทำงานด้วยความขยันขันแข็ง และมีความสามัคคีปรองดองในกลุ่มสมาชิก ที่ผ่านมาพวกเขามักรวมตัวกันใช้แรงงานร่วมกันที่เรียกภาษาชาวบ้านว่า “ลงแขก” ไปช่วยผสมเกสรในแปลงปลูกเมล่อนของเพื่อนสมาชิก เพื่อให้ได้ผลผลิตทันเวลาและช่วยกันลงแขกเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว ทำให้สมาชิกกลุ่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากทุกคนต้องการร่วมมือกันพัฒนาเมล่อนของชุมชนให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

ด้วยระบบการปลูกที่ได้คุณภาพและมีตลาดแน่นอน สมัครเว็บจีคลับ ทำให้เกษตรกรในท้องถิ่นหันมาปลูกเมล่อนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยทางกลุ่มจะจัดอบรมความรู้เรื่องการปลูกเมล่อนญี่ปุ่นให้แก่เกษตรกรมือใหม่ได้รู้จัก “วงจรชีวิตแตงเมล่อน” โดยช่วงวันที่ 1-10 เป็นขั้นตอนการเพาะกล้า ช่วงวันที่ 11-22 เป็นขั้นตอนการตัดแต่งแขนง ช่วงวันที่ 23-25 เป็นระยะผสมเกสร ช่วงวันที่ 26-30 เป็นระยะคัดผลและแขวนลูก ช่วงวันที่ 36-60 เป็นระยะเร่งลูก บำรุงปุ๋ยให้ต้นเมลอนญี่ปุ่นเจริญเติบโตตามที่ต้องการ ช่วงวันที่ 61-70 เน้นเพิ่มความหวานให้ผลเมลอนญี่ปุ่น และช่วงวันที่ 71-75 เป็นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต

คุณอำนาจ แจงว่า กรณีเป็นเกษตรกรมือใหม่จะแนะนำให้ทดลองปลูก 4 โรงเรือนก่อน โรงเรือนขนาด 3.5×36 เมตร ปลูกได้ 740 ต้น สามารถสร้างรายได้ถึงรอบละ 40,000-45,000 บาท ต่อโรงเรือน อย่างไรก็ตาม การปลูกในครั้งแรกจะมีต้นทุนค่าโรงเรือน ค่าระบบน้ำ ประมาณ 220,000 บาท และมีต้นทุนการปลูกเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ เฉลี่ยรอบละประมาณ 8,000 บาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด เกษตรกรมือใหม่จะมีโอกาสคืนทุนและได้ผลกำไรภายใน 1 ปี