ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศขาดความเชื่อถือในสินค้า

จากแหล่งผลิตภาคใต้ จนอาจทำให้ราคาของทุเรียนตกต่ำจากการที่มีสินค้าด้อยคุณภาพปะปนกับสินค้าคุณภาพดี มีการระบายสินค้าออกได้ช้า ซึ่งจะทำให้มีผลผลิตตกค้าง เน่าเสียหาย ทำลายรายได้และเศรษฐกิจของเกษตรกรที่มีผลผลิตออกในช่วงฤดูกาลปกติ ซึ่งจะเก็บเกี่ยวช้ากว่าผลผลิตกลุ่มนี้ อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ และให้นำมาตรการทางกฎหมายเข้ามาใช้อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะเป็นการป้องกันได้อีกทางหนึ่งด้วย

จากเหตุผลดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนหากมีการนำทุเรียนด้อยคุณภาพเข้าสู่ตลาด สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา จึงจัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ป้องกันปัญหาทุเรียนอ่อน ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ในอนาคต และเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร 14 จังหวัดภาคใต้

โดยมีผู้แทนเกษตรกรในแปลงใหญ่ทุเรียน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานไม้ผลจาก 14 จังหวัดภาคใต้ ผู้รวบรวมผลไม้เพื่อส่งออก (ล้ง) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อัยการ ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เข้าร่วมกิจกรรม

วันที่ 5 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงในเขตจังหวัดนครราชสีมานั้น หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จากการสอบถามป้าสิน หวังนอก อายุ 58 ปี ชาวนาบ้านบัวใหญ่ เขตเทศบาลเมืองบัวใหญ่ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาในพื้นที่มีฝนตกลงมาน้อยมาก ทำให้น้ำไม่เพียงพอในการทำนา เคยหว่านข้าวไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่มีฝนตกลงมาพอที่จะให้ต้นข้าวแตกหน่อออกมาได้ ซ้ำยังประสบปัญหานกจิกกินข้าวเปลือกที่หว่านจนแทบหมด

จึงได้ตัดสินใจเพาะต้นกล้าข้าวแล้วนำมาปักดำ แต่ปรากฏว่าฝนก็ได้ทิ้งช่วงนานนับสัปดาห์ นานๆ ตกลงมาครั้งแต่ก็แค่พอทำให้ดินชื้นๆ จึงได้ตัดสินใจดำนาแบบแห้งเพื่อเสี่ยงดวงกับฝนอีกสักครั้ง เพื่อให้ต้นข้าวโตทันในฤดูเก็บเกี่ยวที่จะมาถึง เนื่องจากปีนี้ได้ข่าวว่าข้าวราคาดี ปัจจุบันราคาขึ้นไปถึงตันล่ะ 18,000 บาท ซึ่งเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวคาดว่าราคาคงไม่ต่างกันมากนัก แต่ถ้าหากสถานการณ์ฝนยังคงทิ้งช่วงยังคงดำเนินต่อไป ฝนไม่ตกลงในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้าคงต้องทำใจว่าปีนี้คงต้องขาดทุนจากการทำนาเป็นแน่แท้ ครั้นจะใช้การสูบน้ำเข้านาก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่ห่างค่อนข้างไกล จึงต้องพึ่งเพียงธรรมชาติเพียงอย่างเดียวในเวลานี้

ขณะเดียวกัน สำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนหลัก 5 แห่ง ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา โดยเฉพาะเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว พบว่าปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 205 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนสถานการณ์น้ำอีก 4 เขื่อนที่เหลือ ได้แก่ เขื่อนมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งหมด 75 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งหมด 122 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร, เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งหมด 98 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 155 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนลำปลายมาศ อ.เสิงสาง มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งหมด 68 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 70 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 98 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งภาพรวมถือมีปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่าปีที่แล้ว

หนูเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปทุกแหล่งปลูกข้าวในประเทศไทย สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีอาหารอุดมสมบูรณ์ หนูสามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้อย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ปลูกข้าวได้เป็นบริเวณกว้าง ปัจจุบันมีการรายงานว่า พบการระบาดของหนูในนาข้าวในแถบภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดน่าน และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งข้าวส่วนใหญ่อยู่ในระยะกล้า ถึงแตกอ และมีบางส่วนเริ่มตั้งท้องออกรวง กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในทุกภาคของประเทศไทย

การป้องกันกำจัดหนูโดยไม่ใช้สารเคมีโดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในนาข้าวให้ไม่เหมาะต่อการเป็นที่อยู่อาศัยของหนู ลดขนาดของคันนาและกำจัดวัชพืชบริเวณคันนา เพื่อไม่ให้หนูมีที่หลบซ่อนตัวจากศัตรูธรรมชาติ หรือการขุด จับ ตี หรือใช้กับดัก หรืออนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพื่อกำจัดหนู เช่น งู นกแสก นกเค้าแมว นกฮูก เหยี่ยว และพังพอน

การป้องกันกำจัดหนูโดยใช้สารเคมีก่อนการปลูกข้าว โดยก่อนการปลูกข้าวประมาณ 2 สัปดาห์ หรือในระหว่างการเตรียมดิน ควรใช้สารเคมีกำจัดหนูเพื่อลดประชากรของหนูให้เหลือน้อยลงมากที่สุด โดยใช้สารเคมีประเภทออกฤทธิ์เร็ว เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ ผสมกับปลายข้าว ในอัตราส่วนของซิลมูริน 1 ส่วน ต่อปลายข้าว 20 ส่วน โดยน้ำหนักเป็นเหยื่อพิษนำเหยื่อพิษที่เตรียมไปวางตามรอยที่พบตามคันนา หรือตามรูหนูที่พบ ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ระยะ 5-10 เมตร สารเคมีประเภทออกฤทธิ์เร็วนี้ ถ้าใช้มากกว่า 1 ครั้ง หนูจะเกิดการเข็ดต่อเหยื่อพิษและหนูจะไม่มากินเหยื่อพิษชนิดซ้ำอีก

ควรเปลี่ยนมาใช้สารเคมีกำจัดหนูชนิดออกฤทธิ์ช้า เช่น สะตอม (0.005%) คลีแร็ท (0.005%) หรือ เส็ด (0.005%) ซึ่งเป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปไปวางตามคันนาหรือแหล่งที่พบร่องรอยหนู โดยแต่ละก้อน หรือถุงวางห่างกันประมาณ 5-10 เมตร และระหว่างการปลูกข้าว เมื่อข้าวตั้งตัวได้แล้ว ให้ใช้เหยื่อพิษประเภทออกฤทธิ์ช้าวางในนาข้าวที่ต้องการป้องกันกำจัดหนูเดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้งก็เพียงพอสำหรับการ ควบคุมประชากรหนู
ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริม

การอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร หมายเลขโทรศัพท์ (02) 955-1514, โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวในแถบภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระวังการระบาดของหนูในนาข้าวและมีความจำเป็นที่เกษตรกรต้องสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของหนูในนาข้าวให้ดำเนินการป้องกันกำจัดทันที หรือขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่

ในส่วนของแนวทางในการป้องกันกำจัดหนูในนาข้าวนั้น กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำให้เกษตรกรดำเนินการ ดังนี้ สับปะรดราคาตก – เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจากพื้นที่ทางตอนใต้ของไต้หวัน นำสับปะรดมาวางกองไว้ระหว่างการชุมนุมที่กรุงไทเป ไต้หวัน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม เพื่อประท้วงที่รัฐบาลไม่สามารถทำให้ราคาสับปะรดสูงขึ้นได้ เนื่องจากราคาสับปะรดตกต่ำลงอย่างมากจนกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด (เอเอฟพี)

ผศ.ดร. ไกรเลิศ ทวีกุล อาจารย์ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น จัดอบรมเกษตรกรและผู้สนใจ เรื่องธุรกิจข่าเหลือง ตลาด แปรรูป และระบบน้ำโซลาร์เซลล์ ที่คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น มี นายชัยยุทธ์ ไชยรัตน์ ผู้จัดการและฝ่ายหาผลิต Tops นางรัมภามาศ ฑีฆธนานนท์ ผจก.ตลาดศรีเมืองทอง จังหวัดขอนแก่น ร่วมเป็นวิทยากร มีเกษตรกร 200 คนเข้าร่วมการอบรม

ผศ.ดร. ไกรเลิศ กล่าวว่า ข่าเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดที่คนไทย นำมาใช้ประโยชน์ ทั้งเป็นเครื่องเทศปรุงแต่งกลิ่นและรสอาหาร เป็นส่วนประกอบเครื่องยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นวัตถุดิบหลักในเครื่องแกงหลากชนิดที่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการผลิตส่งขายทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น

คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น จึงหนุนเกษตรกรปลูก ด้วยมองว่ามูลค่าการตลาดสูง ลงทุนน้อย ใช้พื้นที่นาปลูกได้ช่วงว่างเว้นจากการทำนา ดังนั้นได้ขับเคลื่อนการปลูกข่าเหลืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ โดยมีศูนย์กลางการตลาดที่จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 3 ปีกว่าๆ ตั้งแต่มูลค่าการตลาด 53.4 ล้านบาท ต่อปี จนเป็น 300 ล้านบาท ในปี 2560 ด้วยการขับเคลื่อนที่เป็นระบบ มีเครือข่าย มีสมาชิก มีการควบคุมพื้นที่ปลูก มีการผลิตตามคำแนะนำ ทำให้เกษตรกรที่ผลิตได้ตามคุณภาพตามตลาดต้องการ มีรายได้ที่ดีและแน่นอน

ด้าน นางสาวนครินทร์ ถาวรพันธ์ อยู่บ้านเลขที่ 76 หมู่ 5 ตำบลนาเพียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น บอกว่า ตนเคยเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตในโรงงานแห่งหนึ่งในกทม. สนใจข่าเหลือง ด้วยความที่พืชชนิดนี้เป็นพืชที่ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมากมาย จึงปลูกข่าเหลืองในเนื้อที่ 6 ไร่ เมื่อข่าเหลืองตกเกรดจึงคิดแปรรูปด้วยการสร้างมูลค่าให้กับข่าเหลือง
“เมื่อคณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่นแนะนำให้ให้นำข่าเหลืองมาทำสบู่ พร้อมนำสารสกัดจาก ข่าเหลืองออกมาทำสเปรย์ดับกลิ่นคาว ได้ดำเนินการมา 2 ปี ได้รับการตอบรับดีมาก”

ผศ. ร่มเย็น โกไศยกานนท์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ Menjong Sorig Pharmaceuticals (MSP) ภายใต้ กรมบริการแพทย์แผนโบราณ กระทรวงสาธารณสุข ราชอาณาจักรภูฏาน กับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติในประเทศและพืชพันธุ์จากเทือกเขาสูง

ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นความสำเร็จจากการฝึกพัฒนาและการจัดอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของสถาบันตามกรอบความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มฟล. กับกรมบริการแพทย์แผนโบราณ ภูฏาน เมื่อปี 2558

รองอธิการบดี มฟล. กล่าวต่อว่า หลังจากการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ มฟล. โดยสำนักวิชา วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ดำเนินการจัดสัมมนาและฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่ผู้บริหารและ เจ้าหน้าที่ของกรมบริการแพทย์แผนโบราณ (DTMS) ทั้งที่ราชอาณาจักรภูฏาน และที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ภายใต้กรอบข้อตกลงการเปิดเสรีการค้า ไทย-ออสเตรเลีย และ ไทย-นิวซีแลนด์ ส่งผลให้ไทยต้องลดภาษีนำเข้า หางนมเวย์ เนย ไขมันเนย เนยแข็ง และโคเนื้อ เป็น 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2564 ส่วนสินค้านมและครีม เครื่องดื่มนมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ภาษีนำเข้า เป็น 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2568

ตลอดระยะเวลากว่า 6 เดือน ที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จับมือกับกรมปศุสัตว์ และกรมวิชาการเกษตร ได้ลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการในธุรกิจโคนมและโคเนื้อ ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดตลาดสินค้านมและเนื้อโค ภายใต้ FTA ที่ไทยจัดทำไว้กับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

ล่าสุด นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ลงพื้นที่ไปตรวจเยี่ยมฟาร์มโคนมของบริษัท แมรี่ แอนแดรี่โปรดักส์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม “เอ็มมิลค์” คุณวสันต์ จีนหลง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แมรี่ แอนแดรี่โปรดักส์ เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมกำลังเร่งปรับตัวพัฒนาคุณภาพผลผลิตในทุกด้าน เพื่อรองรับการเปิดตลาดการค้าเสรีในอนาคต

ปัจจุบัน โครงสร้างต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของฟาร์มโคนมส่วนใหญ่ อยู่ที่ต้นทุนค่าอาหาร รองลงมาคือ ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ค่าโคนม และค่าแรงงาน ตามลำดับ ทางกลุ่มเกษตรกรหันมาใส่ใจในเรื่องการคัดเลือกสายพันธุ์โคเนื้อโคนมที่มีคุณภาพ รวมทั้งนำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตและแปรรูปมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิต

ทางบริษัทได้นำเทคโนโลยีอาหารสัตว์ TMR (Total Mixed Ration) ซึ่งเป็นอาหารผสมสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นจากการนำอาหารหยาบและอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยต้องคำนวณสัดส่วนของอาหารทั้ง 2 ชนิด จากน้ำหนักแห้งให้ได้ตามความต้องการของโค แล้วนำมาเลี้ยงโคนม แทนการเลี้ยงแบบเดิม ซึ่งจะแยกการให้อาหารหยาบและอาหารข้น

บริษัทได้จัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและหญ้าเนเปียร์ ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในลักษณะแปลงใหญ่ เนื้อที่ 200 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 6.5 ตัน ต่อไร่ โดยเน้นตัดต้นข้าวโพดพร้อมฝัก อายุ 80-90 วัน ซึ่งเป็นข้าวโพดระยะน้ำนม 50% เพื่อนำมาผลิตเป็นข้าวโพดหมัก (คอร์นไซเลจ) อาหารหยาบคุณภาพดี พร้อมลงทุนจัดซื้อเครื่องจักรเพื่อผลิตอาหารหยาบ เช่น หญ้าเนเปียร์ เปลือกสับปะรด เปลือกข้าวโพด รำอ่อน มันเส้น ฯลฯ โดยจัดส่งอาหารหยาบให้ถึงฟาร์มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกโดยตรง ทำให้ประหยัดต้นทุน

ด้านกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินโครงการ “จับมือผู้ประกอบการโคนมไทยบุกตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จาก FTA” เพื่อสร้างโอกาสให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม และหาช่องทางขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทย

ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ใช้โอกาสจากการลดภาษีของจีนและอาเซียนในการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านและจีน โดยนำผู้ประกอบการของไทยร่วมแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์นมครั้งแรก ในงาน THAIFEX ปรากฏว่า ไอเดียนี้ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม สินค้าผลิตภัณฑ์นม UHT ของเกษตรกรไทยได้รับความสนใจจากผู้ซื้อในกลุ่มห้างค้าปลีกสมัยใหม่ และร้านสะดวกซื้อภายในประเทศ รวมทั้งบริษัทผู้นำเข้าของสิงคโปร์ มาเลเซีย กัมพูชา จีนไทเป ฮ่องกง และจีนต่างสนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มของไทยด้วยเช่นกัน

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ บนโลกออนไลน์ ที่กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คน
เมื่อ นายเดชชาติ พวงเกษ เจ้าของแอคเคาต์ @motorcyrubjang มอเตอร์ไซค์รับจ้างขวัญใจชาวทวิตเตอร์ ที่มียอดผู้ติดตามกว่า 3 หมื่นราย ด้วยทั้งรับ-ส่ง ผู้โดยสาร, รับส่งเอกสารงานด่วน, รับจ้างต่อคิว, รับกดบัตรคอนฯ ตลอดจนชำระค่าน้ำ-ไฟ จนกลายเป็นที่บอกต่อของลูกค้าที่เคยใช้บริการ

จุดเด่นของมอเตอร์ไซค์รับจ้างรายนี้ คือการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าเสริม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทวิตเตอร์ในการติดต่อรับงาน และพัฒนาไปสู่การเป็น “ยูทูบเบอร์” ที่มีผู้ติดตามกว่าหมื่นราย

นอกจากนี้เดชชาติยังได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองจนเชี่ยวชาญ และถูกเชิญให้ไปเป็นพิธีกรในงานสัมมนาหลายที่ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับนายซาเยด บิน ราชิด อัล ซายานี รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม การค้าและการท่องเที่ยวของบาห์เรน เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการร่วม (Joint Steeing Committee: JSC)ระหว่างไทยกับบาห์เรน ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ วันที่ 5 กรกฎาคม

โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงความสำคัญเรื่องการสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศ อันเป็นประเด็นท้าทายระดับโลก ทั้งนี้ ไทยแสดงถึงความสามารถและความพร้อมในการเป็นแหล่งจัดหาผลิตภัณฑ์การเกษตรและอาหารฮาลาลให้แก่บาห์เรน ตามนโยบาย“ครัวไทยสู่ครัวโลก”ของรัฐบาล โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตและบาห์เรน มีความต้องการนำเข้าจากไทย ได้แก่ ข้าว ที่นำเข้าประมาณ 3,400 ตัน เกือบทั้งหมดเป็นข้าวหอมมะลิ จึงต้องการผลักดันข้าวชนิดอื่นเพิ่มเติม เช่น ข้าวเจ๊กเชยเสาให้ ข้าวพิษณุโลก 80 ข้าวพันธุ์ กข 29 หรือ ชัยนาท 80 ข้าวพื้นแข็งคล้ายพันธุ์บาสมาติ ที่ชาวบาห์เรนนิยมรับประทาน

ทั้งนี้ ในการประชุมได้นำข้าวพันธุ์ดังกล่าวทำข้าวหมกไก่ (Biryani) เสิร์ฟให้แก่คณะบาห์เรนรับประทานเพื่อส่งเสริมความนิยมข้าวและไก่ไทย รวมกับสินค้าอื่น เช่น น้ำตาล น้ำมันพืช อาหารกระป๋อง ซึ่งเป็นสินค้าเป้าหมายตามเจตนารมณ์ด้านความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงผักและผลไม้สด กระป๋องและแปรรูป ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ถั่วฟักยาว แอสพารากัส สับปะรด ลำไย ส้มโอ มะม่วง มะขามหวาน มังคุด และทุเรียน

นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า ไทยเสนอให้บาห์เรนพิจารณาจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement: MRA) ด้านมาตรฐานสินค้าฮาลาล ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันในอุตสาหกรรมฮาลาล และตนยังได้ใช้โอกาสนี้หารือประเด็นเศรษฐกิจอื่นๆ กับบาห์เรน อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้แทนการค้าและคณะนักธุรกิจ การจัดตั้งศูนย์การค้าปลีกสินค้าและบริการของไทยในบาห์เรน การส่งเสริมความร่วมมือในอุตสาหกรรมยางพารา การเชิญชวนบาห์เรนเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึง Rubber City

อีกทั้งได้จัดสัมมนา “โอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทยในบาห์เรน” และจัดแสดงสินค้าฮาลาลของไทยที่มีศักยภาพในบาห์เรนและตะวันออกกลาง ได้แก่ ข้าวพันธุ์ต่างๆ สับปะรด ผลิตภัณฑ์ยางพารา เช่น หมอนและ ที่นอนยางพารา พรมละหมาด เป็นต้น และน้ำหอมไม้กฤษณา เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าฮาลาลของไทยในตลาดบาห์เรนและนักท่องเที่ยวในบาห์เรนที่มีถึงปีละกว่า 11 ล้านคน เนื่องจากบาห์เรนเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวสำคัญของภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีประชากรรวม 54 ล้านคน

ในปี 2560 ไทยกับบาห์เรนมีการค้ารวม 290.12 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยเกินดุลการค้า 21.70 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปบาห์เรน 155.91 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากบาห์เรน 134.21 ล้านเหรียญสหรัฐ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า105.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.81%

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคามะพร้าวตกต่ำ ราคาที่เกษตรกรขายได้ ผลใหญ่ ปี 2561 (ม.ค.-มิ.ย.) ราคาลดลง 28.49% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.74 บาท เมื่อเทียบกับปีก่อนมีราคากิโลกรัมละ 13.62 บาท ในเดือนมิ.ย. 2561 ราคาลดลง 57.73% ราคาเฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 5.96 บาท และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.10 บาท

สำหรับผลผลิตมะพร้าวปี 2561 มีประมาณ 860,160 ตันเพิ่มขึ้น 2.44% จากปีก่อนที่มีจำนวน 832,895 ตัน ในช่วงที่ผ่านมามีปริมาณน้ำฝนเพียงพอผลผลิตมะพร้าวจึงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผลผลิตต่อไร่ ปี 2561 อยู่ที่ 783 กิโลกรัม หรือ 626 ผลต่อไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่ให้ผลผลิต 754 กิโลกรัม หรือ 603 ผลต่อไร่ ช่วงที่ผ่านมา ในปี 2556-2559 พื้นที่ปลูกมะพร้าวได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าว ส่งผลให้ผลผลิตมะพร้าวภายในประเทศลดลง ขณะที่ความต้องการมะพร้าวเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% จึงทำให้มีการนำเข้ามะพร้าวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาตกต่ำลง ซึ่งสินค้ามะพร้าวเป็นสินค้าที่ไทยต้องเปิดตลาดตามข้อผูกพัน

ดังนั้น คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช จึงมีมติเห็นชอบให้เปิดตลาดมะพร้าวและผลิตภัณฑ์ ภายใต้กรอบ WTO และ AFTA คราวละ 3 ปี (ปี 2560 – 2562) ตามข้อผูกพัน และมีการบริหารการนำเข้าปีต่อปี โดยการบริหารการนำเข้า ปี 2561 ดำเนินการ ดังนี้ ภายใต้กรอบ WTO ให้มะพร้าวผลและมะพร้าวฝอย ในโควตาปริมาณ 2,317 และ 110 ตัน ตามลำดับ อัตราภาษีมะพร้าวผลและมะพร้าวฝอย ในโควตา 20% นอกโควตา 54% ส่วนเนื้อมะพร้าวแห้ง ปริมาณ 1,157 ตัน อัตราภาษีในโควตา 20% นอกโควตา 36%

และน้ำมันมะพร้าว ปริมาณ 401 ตัน อัตราภาษีในโควตา 20% นอกโควตา 52% การบริหารการนำเข้าเพื่อดูแลเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว กำหนดช่วงเวลานำเข้าในโควตา คือช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. และพ.ค.-ธ.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตไทยออกสู่ตลาดน้อย หากต้องการนำเข้าต้องเสียภาษีนอกโควตาตามที่กำหนดไว้ สำหรับการนำเข้าน้ำมันมะพร้าวให้นำเข้าได้ไม่จำกัดช่วงเวลา และผู้นำเข้าต้องเป็นผู้ใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบ และต้องขออนุญาตนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศ อีกทั้งต้องเป็นนิติบุคคลที่ใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบในกิจการของตนเองและดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบันด้วย

ภายใต้กรอบ AFTA การนำเข้ามะพร้าวผล เนื้อมะพร้าวฝอย และน้ำมันมะพร้าว ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษี 0% ยกเว้นเนื้อมะพร้าวแห้ง อัตราภาษี 5% และให้มีการบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับกรอบ WTO คือ กำหนดช่วงเวลานำเข้าช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. และพ.ค.-ธ.ค. โดยให้นำเข้ามาเพื่อใช้ในกิจการของตนเองเท่านั้น ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สศก. ขณะนี้ได้เตรียมนำเสนอคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เพื่อพิจารณาทบทวนการบริหารการนำเข้าต่อไปเพื่อเร่งช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร็ว