ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จ.สงขลาได้ลงนามข้อตกลง

มหาวิทยาลัยรังสิต ปลูกกล้วยหินเป็นพืชระยะสั้นในเชิงธุรกิจ เพื่อผลิตแป้งกล้วย ผลผลิตทั้งหมดมหาวิทยาลัยรังสิตรับซื้อ มีเกษตรกร อ.ระโนดเข้าร่วมโครงแล้วจำนวนหนึ่งและกำลังรอเก็บผลผลิตอยู่ และส่งเสริมเกษตรกรกล้วยหอมเขียว คาร์เวนดิส และการเลี้ยงปลาช่อนในร่องสวน ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในระหว่างการเดินทางเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-1 เมษายน 2560 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าการลงทุนและแสวงหาโอกาสความร่วมมือในสาขาที่ทั้งสองประเทศมีประโยชน์ร่วมกันตลอดจนสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน (Strategic Partnership) นั้น ได้มีโอกาสหารือกับนายมาเทียส มัคนิก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานของเยอรมนี โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า

ไทยและเยอรมนีมีความสัมพันธ์อันดีและยาวนานในทุกมิติของความสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และสังคม รวมทั้งเล็งเห็นถึงโอกาสในมิติอื่นๆ ที่จะมีความร่วมมือกันเพิ่มเติม และยินดีที่จะสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจในสาขาที่เป็นจุดแข็งของทั้งสองประเทศ นอกจากนั้นแล้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานยังเห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเป็นจุดหมายแรกของนักลงทุนเยอรมัน พร้อมทั้งย้ำว่ารัฐบาลเยอรมนีให้การสนับสนุนภาคเอกชนของเยอรมนีอย่างเต็มในการพิจารณาขยายการลงทุนในไทยในสาขาที่เยอรมนีมีความชำนาญ อาทิ ยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ และโครงสร้างพื้นฐาน

ในส่วนของการพบปะหารือกับภาคเอกชน นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มีโอกาสพบหารือกับผู้แทนจากสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุน (GTAI) หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (DIHK) สมาพันธ์ธุรกิจเอเชียแปซิฟิก (Ostasiatischer Verein – OAV) และสหพันธ์ผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ (BGA) โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเยอรมนีเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 1 ของไทย และลงทุนในไทยมากเป็นอันดับที่ 4 ใน กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ปัจจุบัน มีบริษัทเยอรมันมากกว่า 600 บริษัทเข้ามาลงทุนในไทย โดยเฉพาะนักลงทุนรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ บริษัท Siemen บริษัท BMW และบริษัท Continental นอกจากนั้นแล้วยังได้มีการหารือในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนทั้งขาเข้า (Inward) และขาออก (Outward) ซึ่งเยอรมนีเชิญชวนให้ไทยเข้าไปลงทุนในเยอรมนี และสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจระหว่างกันให้ใกล้ชิดแน่นแฟ้นกันมากขึ้น

ในโอกาสนี้ ภาคเอกชนเยอรมันได้แสดงความเชื่อมั่นในนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งเยอรมนีเป็นต้นกำเนิดและเป็นผู้นำอุตสาหกรรม 4.0 ของโลก และไทยเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆที่นักลงทุนเยอรมันให้ความสนใจพร้อมทั้งยินดีที่จะสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจโดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาของเยอรมนีเติมเต็มจุดเด่นของไทยที่เป็นฐานการผลิตสินค้าและแหล่งวัตถุดิบ โดยเฉพาะความร่วมมือในสาขาอาหาร สินค้าเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ ยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก ซึ่งเยอรมนีแสดงความสนใจ ที่จะเข้ามาลงทุนและร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังได้ใช้โอกาสนี้เชิญชวนภาคเอกชนเยอรมนีมาลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก รวมทั้ง ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของภูมิภาค ซึ่งเน้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับนักลงทุนจากต่างชาติ ทั้งในมิติของการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และสังคมอย่างครบวงจร นอกจากนั้นแล้ว ไทยยังได้พัฒนาระบบศุลกากร ณ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งฝ่ายเยอรมันว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลในโครงการรถไฟรางคู่ จึงได้เชิญชวนให้เยอรมนีเข้ามาประมูลในโครงการดังกล่าวด้วย

ภายหลังจากการหารือกับภาคเอกชนแล้ว คณะฯ ได้เดินทางไปศึกษาดูงานเรื่องนวัตกรรมการเกษตร ณ สถาบันฟราว์นโฮเฟอร์ (Fraunhofer) เพื่อแสวงหาความร่วมมือกับเยอรมนีที่จะนำพาประเทศไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยสถาบัน Fraunhofer เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการวิจัยประยุกต์ใช้นวัตกรรมในชีวิตประจำวันในหลายสาขา อาทิ การเกษตร สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและการสื่อสาร พลังงาน การขนส่งคมนาคม ซึ่งสถาบันได้ร่วมมือกับ พันธมิตรต่างๆ เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและภาคเอกชนในเยอรมนี รวมทั้งประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ บราซิล ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สถาบัน Fraunhofer ได้นำเสนอโครงการ Smart Rural Areas หรือการพัฒนาพื้นที่นอกเมืองอัจฉริยะ ซึ่งสถาบัน Fraunhofer ได้ทดลองในชุมชนชนบทรัฐเวสท์ไฟลซ์ (Westpfalz) และรัฐไรนลานด์ไฟล์ (Rheinland-Pfalz) ในเยอรมนี โดยการนำซอฟต์แวร์ดิจิทอลมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนที่จะนำซอฟต์แวร์ไปใช้ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ตลอดจนระบบโลจิสติกส์ และเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานภายในท้องถิ่นผ่านอินเตอร์เนตและแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ซึ่งถือได้ว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจและทันสมัยเป็นอย่างยิ่ง โดยน่าที่จะมีการนำมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตชุมชนเกษตรกรรมของไทยเพื่อให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การเป็น Smart Farmer ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ได้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้เร่งดำเนินการพิจารณาชุมชนเกษตรกรรมที่เหมาะสมและจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในท้องถิ่น เพื่อระดมสมองและพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ ตลอดจนแนวทางการดำเนินโครงการและความร่วมมือที่เหมาะสมกับสถาบัน Fraunhofer ต่อไป

เตรียมรับมือ “แล้ง” เจอ 2 เด้ง ฝนทิ้งช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม ลากยาว 4 เดือน กระทบน้ำใช้ใน 4 เขื่อนหลัก เหลือน้ำแค่ 5,520 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ชาวนาไม่สนคำเตือน ลุยปลูกข้าวนาปรังทะลุ 11 ล้านไร่ กรมชลประทานต้องสั่งงดจ่ายน้ำตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป ส่วน กปน.-กปภ.ยันไม่กระทบน้ำกินน้ำใช้แน่

แม้สถานการณ์น้ำในปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศรวมกันถึง 44,121 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 59 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีปริมาตรน้ำมากกว่า 7,515 ล้าน ลบ.ม.ก็ตาม แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับความเสี่ยงสำคัญ 2 ประการ ที่จะมีผลต่อการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังที่เพิ่มสูงอย่างควบคุมไม่ได้ กับการเกิดปรากฏการณ์ El Nino อ่อน ๆ ทำให้ฝนน้อยลง และจะเกิดฝนทิ้งช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้

ล่าสุด ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานการกำหนดแผนและแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งจัดประชุมขึ้นที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมี นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นประธาน มีการคาดการณ์ว่า ฝนจะตกเร็วขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม แต่ข่าวร้ายคือฝนจะน้อยลงในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม อาจทำให้เกิดฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนและกระทบต่อน้ำต้นทุนในระยะถัดไปได้

ปริมาตรน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่4เขื่อนหลักของประเทศณ28 มีนาคม 2560 เขื่อนภูมิพล (2,286 ล้าน ลบ.ม. หรือ 24%), เขื่อนสิริกิติ์ (2,475 ล้าน ลบ.ม. หรือ 37%), เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน (376 ล้าน ลบ.ม. หรือ 42%) และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (392 ล้าน ลบ.ม. หรือ 41%) รวมกัน 5,529 ล้าน ลบ.ม. หรือ 30% ต้องใช้ไปจนถึงฤดูฝนเดือนพฤษภาคมตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา

แต่จากการคำนวณปริมาตรน้ำคงเหลือล่าสุดเบื้องต้นในกรณีที่เกิดฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมมีแนวโน้มว่าน้ำในเขื่อนหลักทั้ง4เขื่อน “อาจจะ” ไม่เพียงพอความต้องการใช้ โดยเฉพาะการผลักดันน้ำเค็มไม่ให้รุกถึงแหล่งน้ำดิบที่ใช้ทำน้ำประปา ที่สำแล จ.ปทุมธานี จากปัจจุบันน้ำใช้การได้จริงอยู่ที่ 5,529 ล้าน ลบ.ม. หากระบายน้ำ 50-55 ล้าน ลบ.ม./วัน ผลักดันน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้ามาถึงสำแล จะเหลือน้ำใช้การได้ ณ 1 พฤษภาคม ที่ 3,769 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

“ปัญหาในตอนนี้ก็คือ ความกังวลเรื่องฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม แม้จะมีฝนตกบ้างเดือนพฤษภาคมแต่จะน้อย มากที่สุดน่าจะมีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ 4 เขื่อนหลัก โดยเฉพาะเขื่อนสิริกิติ์ ไม่เกิน 600 ล้าน ลบ.ม. หมายความว่าปริมาตรน้ำใช้การได้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 2,664 ล้าน ลบ.ม. พอเข้าสู่ฝนทิ้งช่วง 2 เดือนอย่างไรเสีย กรมชลประทานก็ต้องลดปริมาณการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักลงให้ต่ำกว่าวันละ 50 ล้าน ลบ.ม. มากสุดไม่เกินวันละ 40 ล้าน ลบ.ม. ถึงตอนนั้นปริมาตรน้ำใช้ได้จริง ณ สิ้นกรกฎาคมจะอยู่ที่ 264 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งต่ำมาก”

นั่นหมายถึงปีนี้ประเทศไทยจะเกิดภัยแล้งขึ้นมา 2 ช่วง ได้แก่ ภัยแล้งตามฤดูกาลปกติในเดือนเมษายน กับภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงในระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งจะกระทบต่อน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคแน่

ห่วงน้ำเค็มรุกสำแล

อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้พูดกันถึงภาวะน้ำเค็มที่รุกเข้ามาถึงสถานีสูบน้ำดิบเพื่อทำน้ำประปาที่สำแลแล้ว โดยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้เกิดภาวะ “น้ำเค็ม” รุกล้ำเข้ามาเร็วกว่าปกติ มีค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแลได้รับผลกระทบถึง 6 ครั้ง หรือค่าความเค็มของน้ำเกินมาตรฐาน 0.5-0.8 กรัม/ลิตรไปแล้ว

“ที่เป็นห่วงคือช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูง หากกรมชลฯ ระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักรวมกันน้อยกว่า 50-55 ล้าน ลบ.ม./วัน จะมีปัญหาไม่สามารถผลักดันน้ำเค็มได้” นาปรังทะลัก 11 ล้านไร่

สำหรับการปลูกข้าวนาปรังในขณะนี้ ทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ได้รายงานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังล่าสุด 11 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2559 ซึ่งมี 5.8 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีการปลูกข้าวเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ 22 จังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คิดเป็นสัดส่วน 50% ของพื้นที่นาปรังทั้งหมดของประเทศ เช่น ในจังหวัดสุโขทัย-อยุธยา-สุพรรณบุรี-ชัยนาท คาดการณ์ผลผลิตในพื้นที่ปีนี้จะมี 5 ล้านตันข้าวเปลือก หรือเพิ่มขึ้น 150% จากปีก่อน 2 ล้านตัน (ผลผลิต 600 กก.ต่อไร่)

งดส่งน้ำช่วยนาปรังแล้ว

ปริมาณการปลูกข้าวนาปรังที่ทะลักทะลายเช่นนี้ ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาก โดยเฉพาะการระบายน้ำเพื่อการเกษตรไม่สามารถเพิ่มได้อีกแล้ว โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ควบคุมการปลูกข้าวนาปรังรอบ 3 ให้เหลือ 0 เนื่องจากปัจจุบันมีการปลูกข้าวนาปรังรอบ 2 มากกว่าแผนที่กำหนดไปแล้ว พร้อมทั้งขู่ว่า หากพื้นที่ใดปล่อยให้ทำนาปรังรอบ 3 จะลงโทษข้าราชการทุกคน

นายเลิศชัย ศรีอนันต์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตชลประทาน ณ วันที่ 28 มีนาคม 2560 พบว่า เกษตรกรปลูกไปแล้วกว่า 7.46 ล้านไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัด ปลูกมากถึง 5.35 ล้านไร่ ซึ่ง “เกินกว่า”

ล่าสุดกรมชลประทานลดส่งน้ำพื้นที่นาปรังแล้ว เมื่อ 27 มีนาคมที่ผ่านมา และจะเริ่มงดส่งน้ำ 1 เมษายนนี้ หรือไม่ส่งน้ำให้นาปรังรอบที่ 3 เด็ดขาด แม้วต้องเฝ้าระวัง 1.5 ล้านไร่ ที่ยังรอเก็บเกี่ยว

“ในส่วนของลุ่มเจ้าพระยาช่วงฤดูแล้งปี 2559/2560 ได้วางแผนการใช้น้ำจาก 4 เขื่อนหลัก 5,950 ล้าน ลบ.ม. และสำรองน้ำไว้ใช้ช่วงต้นฤดูฝนอีก 3,764 ล้าน ลบ.ม. และจากการติดตามสภาพอากาศซึ่งจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง จำเป็นต้องสำรองน้ำส่วนหนึ่งไปจนถึงสิงหาคม 2560”

ครม.ขยายชดเชยดอกเบี้ยโรงสี

ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศปัจจุบันจากปริมาณผลผลิต120,000ตันข้าวเปลือกส่วนใหญ่เป็นข้าวขาว5% ประมาณ 70-80% ข้าวหอมปทุม 20% โดยโรงสีรับซื้อข้าวเปลือกเจ้าเกี่ยวสด ตันละ 6,600-6,700 บาท, ข้าวแห้งตันละ 7,800-7,900 บาท ส่วนราคาข้าวเปลือกปทุมธานี เกี่ยวสดตันละ 7,300-7,500 บาท, ข้าวแห้งตันละ 9,000 บาท หากคำนวณเป็นต้นทุนการสีแปร เช่น ข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 12,000 บาท แต่โรงสีขายได้เพียง 11,400 บาท ขาดทุนตันละ 600 บาท

ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบงบประมาณ โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวเก็บสต๊อก งบฯกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 614 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าชดเชยดอกเบี้ย ขณะนี้ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้ อนุมัติหลังวันที่ 30 ก.ย. 59 วงเงิน 188.22 ล้านบาท อยู่ระหว่างการทบทวนการตรวจสอบเอกสารของคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด 54.42 ล้านบาท ปีการผลิต 2559/2560 ประกอบด้วย ค่าชดเชยดอกเบี้ย วงเงิน 368.68 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายการดำเนินการ 2.67 ล้านบาท ปริมาณสต๊อกข้าวที่กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะต้องชดเชยดอกเบี้ย เมื่อเดือนมกราคมอยู่ที่ 3.77 ล้านตันข้าวเปลือก ยังต่ำกว่าปริมาณสต๊อกเป้าหมายที่ 9 ล้านตันข้าวเปลือกภาระงบประมาณในการชดเชยดอกเบี้ย 937.50 ล้านบาท

กปน.ยันน้ำกินน้ำใช้เพียงพอ

ด้านนางศรัณยา สีน้ำเพชร ผู้ช่วยผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่าหลังจากที่ กปน.ได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาดไทย ให้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาเพื่อรับมือภัยแล้ง ล่าสุดจากการประเมินสถานการณ์และข้อมูลที่ได้รับจากกรมชลประทานชี้ให้เห็นว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก “มีเพียงพอสำหรับหน้าแล้ง” อีกทั้งปีนี้ปริมาณน้ำมีมากกว่าช่วงหน้าแล้งปี 2559 ที่ผ่านมาเกือบเท่าตัว ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคใน กทม. จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ กปน. “จึงไม่น่าจะเกิดขึ้น ที่น่าห่วงคือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสวนทุเรียน จ.นนทบุรี ที่ผู้ว่าฯนนทบุรีประสานมา ทางเราได้ผันน้ำคุณภาพดีจากโรงประปามหาสวัสดิ์ไปช่วยแล้ว” นางศรัณยากล่าว

ส่วนความเสี่ยงน้ำเค็มอาจมีบ้างช่วงน้ำขึ้นน้ำลงทุก 15 ค่ำ ทั้งข้างขึ้นข้างแรม แต่ประสานงานกับกรมชลฯตลอดเวลา น้ำดิบสำหรับผลิตประปาจึงยังไม่ได้รับผลกระทบ

กปภ.จับตา 4 สาขา

นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กล่าวว่า ได้นำข้อมูลของกรมชลประทานที่ประกาศพื้นที่นอกเขตชลประทานที่เสี่ยงภัยแล้งปี 2560 จำนวน 105 อำเภอ 34 จังหวัด ซึ่งประเมินแล้วพบว่า ใน 105 อำเภอที่ กปภ.มีสาขาอยู่นั้น “ยังไม่มีปัญหา” เนื่องจาก กปภ.สาขาเหล่านี้อยู่นอกเขตชลประทาน เป็นสาขาเล็ก ๆ จึงมีบ่อน้ำและบ่อบาดาลเป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ยังคงมี 4 สาขาที่มีความเสี่ยง คือ สาขา อ.พานจ.เชียงราย, สาขา อ.เลิงนกทาจ.ยโสธร, สาขา อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และสาขา อ.บ้านบึงจ.ชลบุรี เนื่องจากทั้ง 4 สาขาอยู่ไกลจากแหล่งน้ำ ระหว่างทางอาจมีการแย่งสูบน้ำจากประชาชนในพื้นที่ จึงต้องเร่งสูบน้ำเข้ามาเก็บไว้ก่อน

“พื้นที่ให้บริการของ กปภ.โดยรวมแล้วจึงไม่น่าเป็นห่วง เพราะเหลืออีกเพียง 1 เดือนก็จะหมดหน้าแล้งแล้ว และมีการประเมินที่ค่อนข้างแม่นยำว่า ฝนจะลงมาช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ส่วนช่วงปลายปีคือกันยายน-ตุลาคม ยังไม่มั่นใจว่าจะมีฝนหรือไม่ จึงต้องเร่งเก็บน้ำดีไว้ใช้เผื่อฤดูแล้งในปีหน้าด้วย” นายเสรีกล่าว

ไหมอีรี่ (Samia ricini : Eri silk) เป็นพันธุ์ไหมกินใบมันสำปะหลัง โดยนำมาเลี้ยงเพื่อเอาเส้นใยไว้ทำประโยชน์ด้านการแปรรูปเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เช่นเดียวกับไหมหม่อน

วงจรชีวิตของไหมอีรี่ ไหมอีรี่ เป็นไหมป่าที่มีวงจรชีวิต 45-60 วัน เลี้ยงได้ 4-5 รุ่น ต่อปี ส่วนไข่ไหมฟักเองได้ ไม่ต้องอาศัยการฟักเทียม กินใบละหุ่งและใบมันสำปะหลังเป็นอาหาร

ความนิยมในการเลี้ยงไหมอีรี่

ในประเทศไทย เกษตรกรยังนิยมเลี้ยงไหมอีรี่ไม่มากนัก ขณะที่จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพในไทยนั้น มีจำนวนถึง 570,000 ครัวเรือน มีพื้นที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังกว่า 8.64 ล้านไร่ ซึ่งอาหารของไหมอีรี่ในไทยมีจำนวนมากก็จริง แต่สัดส่วนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่ยังน้อยมาก ทาง สกว. จึงร่วมกับศูนย์หม่อนไหม ในการให้ความรู้ และขยายพื้นที่การเลี้ยงไหมอีรี่ให้มากขึ้น ทั้งการให้สายพันธุ์หนอน และความรู้ในการเลี้ยง เพื่อนำไปสู่ผลผลิต

ความยาก-ง่าย การเลี้ยงไหมอีรี่

สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอยู่แล้ว จะสามารถมีรายได้เพิ่มเติมจากการเลี้ยง “ไหมอีรี่” ได้ เพราะไหมอีรี่กินใบมันสำปะหลังเป็นอาหาร และใบละหุ่ง ซึ่งสามารถปลูกต้นละหุ่งเสริมในพื้นที่เพาะปลูกได้ เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายรังและดักแด้ ประมาณ 6,000 บาท ต่อรุ่น ของการเลี้ยง ส่วนเกษตรกรที่มีทักษะในการปั่นเส้นและทอผ้า จะมีรายได้จากการปั่นเส้นด้ายไหมอีรี่ขายราว 7,800 บาท ต่อรุ่น และยังสามารถมีรายได้จากการทอผ้าอีกประมาณ 17,000 บาท ต่อรุ่น

การสร้างรายได้ จาก “ไหมอีรี่”

ปัจจุบัน มี 5 จังหวัด ที่ประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงไหมอีรี่ จนมีรายได้เลี้ยงครอบครัวและชุมชน ได้แก่ อุทัยธานี นครสวรรค์ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว และเทคโนโลยีสะอาด(Clean Technology) จากไหมอีรี่ตามมาตรฐานสิ่งทอสากลมากกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ โดยมีเครือข่ายและผู้นำเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่ที่เข้มแข็ง 41 เครือข่าย ในจำนวนกว่า 450 ครัวเรือน จาก 28 จังหวัด ซึ่งจะมีการส่งไหมอีรี่ไปขายยัง บริษัท สปัน ซิลค์ เวิลด์ จำกัด ซึ่งเป็นรายเดียวในประเทศไทยที่รับซื้อไหมอีรี่ และพบว่ายังขาดแคลนวัตถุดิบอีกจำนวนมาก

โครงการ “Oon IT Valley” (ออน ไอที วัลเลย์) khlongsaensaep.com เป็นโปรเจ็กต์การลงทุนขนาดใหญ่ในตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ทั้งหมด 90 ไร่ ที่มีภูเขาล้อมรอบ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2558 ชื่อของโครงการฟังดูคล้ายกับหุบเขาที่จะเป็นพื้นที่ให้นักออกแบบซอฟต์แวร์ หรือไอที เหมือนซิลิคอนวัลเลย์ของสหรัฐ ทำนองนั้น

ทว่าหากเดินเข้าไปสำรวจ Oon IT Valley ในวันนี้ ก็อาจจะเกิดคำถามขึ้นในใจว่า โครงการนี้เป็นโครงการประเภทใดกันแน่ เพราะมีทั้งแปลงเกษตรอินทรีย์ มีร้านกาแฟริมทุ่งนา มีฝูงเป็ดนับร้อยตัวเดินพาเหรดในท้องทุ่ง มีสนามฟุตบอล มีพื้นที่ปลูกพืชออร์แกนิก มีฟาร์มสเตย์ มีจักรยานให้เช่านับร้อยคัน รวมถึงดัตช์ฟาร์ม ที่เป็นแลนด์มาร์กของโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศูนย์รวม Startup และ Coworking Space ฯลฯ

เจ้าของผู้บุกเบิก Oon IT Valley “วิโรจน์ เย็นสวัสดิ์” มีคำตอบกับ “ประชาชาติธุรกิจ”เกี่ยวกับโมเดลธุรกิจนี้ว่า มีหมุดหมายที่แท้จริงคืออะไร

ปั้นเมืองไอที วิถีล้านนา

“วิโรจน์ เย็นสวัสดิ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด กิจการผลิตซอฟต์แวร์บัญชี ซึ่งเขาเป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ 22 ปีที่แล้ว จากพนักงานเริ่มต้นเพียง 2 คน ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 200 คน และกล่าวได้ว่าชื่อชั้นของ “โปรซอฟท์ คอมเทค” ติดอันดับท็อปแห่งผู้นำทางด้านซอฟต์แวร์บัญชีของเมืองไทย ที่มีฐานลูกค้ามากกว่า 5,000 บริษัท มีรายได้จากการขายซอฟต์แวร์บัญชีต่อปีมากกว่า 100 ล้านบาท และยังคงเป็นธุรกิจหลักที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี

ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ “วิโรจน์” มองถึง “โอกาส” ที่อยากแบ่งปันให้กับ“คน” เพราะเขาก็เคยผ่านความยากจนมาตั้งแต่เกิดในครอบครัวชาวนา ในอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ต้องช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อวันนี้เขาแข็งแกร่งและมีโอกาส เขาจึงอยากหยิบยื่นโอกาสให้คนที่ขาด และนี่คือแรงบันดาลใจสำคัญยิ่ง ที่ทำให้เขาตัดสินใจลงทุนสร้างอาณาจักร “Oon IT Valley”ด้วยมูลค่าการลงทุนราว 300 ล้านบาท (รวมที่ดิน) บนที่ดิน 90 ไร่ ติดริมถนนสันกำแพงสายใหม่-เชียงใหม่

“ผมซื้อที่ดินผืนนี้ 90 ไร่ มูลค่า 84 ล้านบาทตั้งใจพัฒนาให้เป็นเมืองไอที วิถีล้านนา สองสิ่งนี้จะผสมผสานให้อยู่ด้วยกัน ความเป็นเมืองไอทีคือ พื้นที่แห่งนี้จะเป็นศูนย์พัฒนาขีดความสามารถทางด้านไอทีให้กับ SMEs Startup และ Tech Startup รวมถึงเป็น Coworking Space ส่วนวิถีล้านนา ผมอยากสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันบนพื้นที่แห่งนี้ ให้เป็นวิถีอยู่ดี กินดี มีสุข เกษตรปลอดสารเคมี”