ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีปรับค่าจ้างขั้นต่ำมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า

อาจปรับที่ 2-15 บาท และไม่เท่ากันทั่วประเทศ นายสาวิทย์กล่าวว่า ยังยืนยันว่า ต้องเท่ากันทั่วประเทศ ส่วนเท่าไรต้องมาหารือทุกภาคส่วน
เมื่อถามว่า กรณีหอการค้าแห่งประเทศไทยเสนอว่าหากจะปรับต้องเป็นไปตามอัตราเงินเฟ้อ 3-5 เปอร์เซ็นต์ นายสาวิทย์กล่าวว่า ก็ต้องดูองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น หากผลสำรวจพบว่า 712 บาทเลี้ยง 3 คนได้ แต่หากรัฐบาลมีสวัสดิการที่ดีพอ ทั้งรักษาพยาบาล การศึกษา ก็อาจลดทอนลงไป ซึ่งตนยังบอกตรงนี้ไม่ได้ว่าต้องเป็นตัวเลขเท่าจึงจะเพียงพอ

น.ส.ธนพรกล่าวว่า สำหรับการสำรวจแรงงานเกือบ 3,000 คน พบว่าทุกคนล้วนมีหนี้สินมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนมีหนี้เป็นแสน แต่เมื่อมาเฉลี่ยแล้วจะพบว่า แต่ละคนมีหนี้อยู่ที่วันละ 225.87 บาท โดยพบว่าเป็นหนี้กู้สหกรณ์ กู้นอกระบบ และหนี้ธนาคารเป็นหลัก ดังนั้น ค่าจ้างขั้นต่ำต้องเพียงพอหลังจากหักหนี้เหล่านี้แล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญอยากให้ยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด เนื่องจากที่ผ่านมาเมื่อทางอนุกรรมการฯเสนอเรื่องเข้ามาคณะกรรมการค่าจ้างส่วนกลางก็ไม่ได้พิจารณาตามอยู่ดี ขณะเดียวกันต้องรื้อคณะกรรมการค่าจ้างส่วนกลาง ณ ปัจจุบันเสีย เพราะไม่ได้มาจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง แม้จะพูดว่ามีองค์ประกอบเป็นไตรภาคี แต่ส่วนสำคัญกลับไม่มี อาทิ หอการค้า ภาคีลูกจ้าง ทั้งแรงงานนอกระบบ และในระบบ รวมทั้งนักวิชาการอิสระ จึงขอให้รื้อและตั้งเป็นคณะกรรมการค่าจ้างระดับชาติที่ครบองค์ประกอบจริงๆ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดโปรโมชั่นมอบของขวัญปีใหม่ 2561 ลดราคางานบริการภาคอุตสาหกรรม 20% เป็นเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2561 หวังลดต้นทุนการผลิต เสริมความเข้มแข็งผู้ประกอบการ สร้างความมั่งคั่งยั่งยืนเศรษฐกิจประเทศ

ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลต้อนรับปีใหม่ 2561 โดยนโยบายของ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ วว. จัดโปรโมชั่นมอบของขวัญปีใหม่ด้วยการลดราคางานบริการภาคอุตสาหกรรม 20% เป็นเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2561 เฉพาะลูกค้าที่ชำระค่าบริการเต็มจำนวนในวันยื่นคำขอรับบริการ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เสริมความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการไทย อันจะนำไปสู่ความมั่งคั่งยั่งยืนของเศรษฐกิจประเทศต่อไป โดยมีรายการงานบริการฯ ที่ลดราคาตามเงื่อนไข ดังนี้

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. ด้านงานสอบเทียบเครื่องมือทางไฟฟ้าทุกรายการ เครื่อง liquid-in-glass thermometer และด้านมิติ ความดัน อัตราการไหล ด้านงานวิเคราะห์/ทดสอบทางฟิสิกส์ทุกรายการ งานวิเคราะห์โลหะหนักทุกตัวอย่าง งานวิเคราะห์อาหารและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อจัดทำฉลากโภชนาการ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 182 รายการวิเคราะห์ aerobic plate count, Enterobacteriaceae , Coliform , E.coli, S.aureus , B.cereus หน่วย cfu/g,mL และ Salmonella spp.หน่วย/25g,mL ในอาหารแช่เย็น หรือแช่แข็ง *เฉพาะวิธีทดสอบ เป็น AFNOR และ AOAC

ศูนย์พัฒนาและทดสอบสมบัติของวัสดุ วว. ด้านงานทดสอบและวิเคราะห์ที่ไม่ต้องแปรผล (เช่น การทดสอบความแข็ง การวัดความหยาบผิว การทดสอบการสลายตัวได้ทางชีวภาพในเบื้องต้น) ทั้งนี้ไม่รวมงานวิเคราะห์ความเสียหาย

ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย วว. ด้านความต้านทานแรงตกกระแทกอย่างฉับพลัน (Shock resistance)การเร่งสภาวะด้วยแสงแดดเทียบ (UV light aging) ความต้านแรงกดช่วงสั้น (Short span compression strength) การทดสอบบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

ขอรับบริการและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ วว. (0 2577 9000) ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (0 2577 9344, 0 23231672-80) ศูนย์พัฒนาและทดสอบสมบัติของวัสดุ (0 2577 9265) ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (0 2579 1121-30 ต่อ 3101)

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ผศ.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เปิดเผยว่า นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมมือกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ใน กทม. 1,271 กลุ่มตัวอย่าง วันที่ 28-30 พฤศจิกายน ผลการสำรวจครั้งนี้ต่อการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคน กทม.การซื้อของฝากให้กับญาติสนิท มิตรสหาย และของฝากประเภทใดที่มีความนิยมในการเลือกซื้อ ซึ่งแบ่งแยกตามแต่ละภาคของไทย รวมถึง การตรวจสอบฉลากเรื่องของวันหมดอายุ สถานที่ผลิต มีข้อมูลดังนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าจะซื้อของฝากจากการท่องเที่ยว อันดับหนึ่ง ขนม ของทานเล่น ร้อยละ 26.6 อันดับสอง อาหารแห้ง ร้อยละ 26.0 อันดับสาม ของชำร่วย พวงกุญแจ ฯลฯ ร้อยละ 24.4 อันดับสี่ เครื่องแต่งกาย ร้อยละ 23.0 และอันดับห้า ผักสด ผลไม้สด ร้อยละ 20.9

ของฝากจากภาคเหนือ อันดับแรก น้ำพริกหนุ่ม ร้อยละ 36.1 อันดับสอง แคบหมู ร้อยละ 29.7 อันดับสาม หมูยอ ร้อยละ 25.0 อันดับสี่ ไส้อั่ว ร้อยละ 24.6 และอันดับห้าคือใบชา ร้อยละ 18.3

ของฝากจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับแรก แหนมเนือง ร้อยละ 34.7 อันดับสอง หมูยอ ร้อยละ 29.4 อันดับสาม กุนเชียง ร้อยละ 26.9 อันดับสี่ แหนม ร้อยละ 19.7 และอันดับห้า น้ำพริก ร้อยละ 18.3

ของฝากจากภาคตะวันออก อันดับแรก ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 29.1 อันดับสอง ข้าวหลาม ร้อยละ 27.5 อันดับสาม อาหารทะเลแห้ง ร้อยละ 26.3 อันดับสี่ ผลไม้อบแห้ง ร้อยละ 21.6 และอันดับห้า น้ำปลา ร้อยละ 17.5

ของฝากจากภาคกลาง อันดับแรก ขนมเค้ก ร้อยละ 27.3 อันดับสอง สายไหม ร้อยละ 27.1 อันดับสาม โมจิ ร้อยละ 26.8 อันดับสี่ กะหรี่พัฟ ร้อยละ 22.0 และอันดับห้า ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 21.9

ของฝากจากภาคตะวันตก อันดับแรก ทองหยิบทองหยอด ร้อยละ 27.7 อันดับสอง ขนมหม้อแกง ร้อยละ 27.6 อันดับสาม ขนมชั้น ร้อยละ 25.3 อันดับสี่ ขนมปังสัปปะรด ร้อยละ 23.4 และอันดับห้า มะขามสามรส ร้อยละ 19.7

ของฝากจากภาคใต้ อันดับแรก ปลาหมึกแห้ง ร้อยละ 32.5 อันดับสอง กะปิ ร้อยละ 29.3 อันดับสาม กุ้งแห้ง ร้อยละ 24.2 อันดับสี่ น้ำพริก ร้อยละ 22.3 และอันดับห้า เครื่องแกง ร้อยละ 21.3

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ตรวจดูวันเดือนปีที่หมดอายุ ร้อยละ 44.8 รองลงมา ไม่มีการตรวจดู ร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.8 และมีการตรวจดูสถานที่ผลิต ร้อยละ 44.8 รองลงมา ไม่มีการตรวจดู ร้อยละ 34.2 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.0 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เคยได้รับของฝากที่หมดอายุจากบุคคลอื่น ร้อยละ 54.8 รองลงมา ไม่แน่ใจ ร้อยละ 28.8 และเคยได้รับของฝากที่หมดอายุจากบุคคลอื่น ร้อยละ 16.4

วันที่ 20 ธันวาคม ที่ลานอบต.เข็กน้อย อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ นายวรพจน์ แววสิงห์งาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดเทศกาลปีใหม่ม้ง โดยมีราษฎรชาวม้งทั้งในพื้นที่ต.เข็กน้อยและจากทั่วประเทศเข้าร่วมพีธีคับคั่ง ท่ามกลางนักท่องเที่ยวเดินทางมาเข้าชมและร่วมเทศกาลอย่างคึกคักอีกด้วย ซึ่งการการเฉลิมฉลองปีใหม่ของราษฏรชาวม้งจะมีขึ้นหลังเสร็จสิ้นเทศกาลเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวม้งที่ทำงานอยู่ในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ จะกลับมาร่วมเฉลิมฉลองกับครอบครัว พร้อมแต่งกายในชุดประจำเผ่าอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังมีการละเล่นต่างๆ อาทิ การโยนลูกช่วงของหนุ่มสาวชาวม้ง การตีลูกข่าง ยิงหน้าไม้ ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชนเผ่าม้ง โดยเทศกาลฯเริ่มตั้งแต่วันที่ 18-26 ธันวาคมนี้

นายวรพจน์ กล่าวว่า เทศกาลปีใหม่ม้งถือเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่าม้ง ซึ่งในยุทธศาสตร์ของจังหวัดก็ใช้วิถีชีวิตของราษฎรชาวม้งมาช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพด้านการเกษตรที่ดูแลด้านความปลอดภัยเป็นมิตรกับธรรมชาติ และในด้านวัฒนธรรม ซึ่งชาวม้งมีวิถีชีวิตและมีขนบธรรมเนียมหลายอย่างที่น่าสนใจ จะเห็นได้จากปีนี้มีการจำลองบ้านพักของม้งขาวและม้งดำ ทำให้เห็นความแตกต่าง จนสามารถอธิบายให้นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

“ในปีนี้จะเริ่มเห็นการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม มีการเน้นให้เห็นถึงอัตลักษณ์ในวีถีชีวิตการดำรงอยู่ของชาวม้ง และการละเล่นรวมทั้งขนบความเชื่อต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนพิธีกรรมในเทศกาลปีใหม่ของชนเผ่าม้งที่จะต้องเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อสร้างแรงจูงใจและให้เห็นถึงความต่าง จนทำให้นักท่องเที่ยวสนใจ และเดินทางเข้าชมงานเทศกาลนี้”นายวรพจน์กล่าว

วันที่ 21 ธ.ค. ว่าที่ ร.ต.ไกรธนู แกล้วทนงค์ นายกสมาคมคลองไทยฯ สาขา จ.สงขลา ประธานสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย จ.สงขลา กล่าวว่า สมาคมฯยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการ จ.สงขลา ให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม คลองระบายน้ำในเขตพื้นที่ อ.ระโนดและคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และขอให้จัดตั้งคณะทำงานทบทวนตรวจสอบข้อเท็จจริงการแก้ไขปัญหาทางระบายน้ำ ของถนนทางหลวงสาย 408 เป็นกรณีเร่งด่วน

“สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยเสนอให้มีการศึกษาความเหมาะสมเกี่ยวกับการขุดคลองไทย ซึ่งมีการศึกษา มีงานวิจัย และข้อมูลมากพอสมควร แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆอย่างเป็นทางการ”

รายงานข่าวว่า นายดลเดช พัฒนรัตน์ ผู้ว่าฯสงขลา ได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหลาย ภาคส่วนในพื้นที่ จ.สงขลา ระดมความคิดเห็นประกอบกับข้อมูลที่ทางสมาคมคลองไทยฯมีอยู่จัดส่งให้ส่วนกลางพิจารณาดำเนินการ

นายดลเดช กล่าวว่า กรณีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคลองระบายน้ำสายต่างๆ และการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนสาย 408 จะได้รวบรวมแผนงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบการนำเรียนให้นายกรัฐมนตรีทราบและ พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง มีหนังสือตอบข้อหารือของกระทรวงมหาดไทย กรณี การกำหนดให้คู่สัญญาต้องมาซื้อยางจาก กยท.สามารถดำเนินการได้ มีรายละเอียดดังนี้

วันที่ 21 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากสภาพเย็นจัดในพื้นที่ จ.ลำปาง อุณหภูมิในช่วงเช้าอยู่ที่ 7 องศาเซลเซียล ส่วนบริเวณยอดดอยนั้นอยู่ที่ 2 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะที่บ้านแม่แจ๋ม หมู่ 1 ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้จะอยู่บนยอดยอดสูง อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1,200-13,00 เมตร ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา สภาพอากาศลดลงมาอย่างต่อเนื่อง

โดยช่วงเช้านี้เกิดน้ำค้างแข็ง หรือ ที่ชาวบ้านในพื้นที่ทางภาคเหนือเรียกกันว่า แม่คะนิ้ง เหมยขาบ เกาะตัวทับถมกันอย่างหนาแน่น บริเวณลานตากเมล็ดกาแฟ ของชาวบ้านในพื้นที่ เกิดขึ้นในรอบ 5 ปี เพราะครั้งสุดท้ายที่เกิดคือปลายปี 2556 ที่ผ่านมา จากนั้นไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยทำให้ชาวบ้านบ้านแม่แจ๋มต่างตื่นเต้นกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติน้ำค้างแข็งในครั้งนี้เป็นอย่างมาก บางคนนำถ้วยและภาชนะต่างๆมาตักน้ำค้างแข็งที่เกาะตัว บนลานตากเมล็ดกาแฟ บางคนใช้มือกวาดจับน้ำค้างแข็งขึ้นมาทำให้ มือแดงและชาไปตามๆกัน ซึ่งชาวบ้านบ้านแม่แจ๋มได้ส่ง มาให้ผู้สื่อข่าวดูและนำไปเผยแพร่ ถึงสภาพบรรยากาศของหมู่บ้าน

ทั้งนี้หมู่บ้านแห่งนี้ จะประสบสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีและในช่วงฤดูหนาวและสภาพอากาศที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและหนาวเย็นกว่าหลายปี กรมชลประทาน วางแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2560/2561 ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ย้ำจะส่งน้ำให้พื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง ที่ใช้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก ให้สามารถเพาะปลูกได้เต็มพื้นที่

นายทองเปลว กองจันทร์ ช่วยราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ณ วันที่ 1 พ.ย. 60 ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีประมาณ 42,313 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) กรมชลประทาน ได้กำหนดแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2560/2561 เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในเขตชลประทานทั่วประเทศ คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันทั้งสิ้น 25,067 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็นการใช้น้ำเพื่อการเกษตร 15,952 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการอุปโภค-บริโภค 2,167 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการรักษาระบบนิเวศและอื่น ๆ 6,948 ล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลืออีกประมาณ16,797 ล้าน ลบ.ม. จะสำรองไว้สนับสนุนการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝนปี 2561
ทั้งนี้ ได้กำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทานปี 2560/61 ทั้งประเทศ จำนวน 13.74 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 8.35 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.70 ล้านไร่ และพืชอื่น ๆ 4.69 ล้านไร่

สำหรับในพื้นที่ชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา segerpark.net ได้วางแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2560/61 โดยการใช้น้ำต้นทุนจากเขื่อนหลัก 4 แห่ง(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) รวมกันเป็นจำนวน 14,187 ล้าน ลบ.ม. ตามมาตรการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน แบ่งเป็นการใช้น้ำในช่วง ฤดูแล้ง (1 พ.ย. 60 – 30 เม.ย. 60) จำนวน 7,700 ล้าน ลบ.ม. ดังนี้ อุปโภคบริโภค 1,140 ล้าน ลบ.ม. ,รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 1,450 ล้าน ลบ.ม. และการเกษตร 5,110 ล้าน ลบ.ม. ส่วนที่เหลืออีก 6,487 ล้าน ลบ.ม. จะสำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2561 ซึ่งในส่วนของการจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร นั้น ได้กำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาไว้ทั้งสิ้นประมาณ 6.26 ล้านไร่ ประกอบด้วย ข้าวนาปรัง 5.17 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.06 ล้านไร่ และพืชอื่นๆ 1.03 ล้านไร่

ปัจจุบัน (20 ธ.ค. 60) ทั้งประเทศมีการใช้น้ำไปแล้ว 6,171 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 25 ของแผนจัดสรรน้ำฯทั้งประเทศ เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 1,538 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 20 ของแผนจัดสรรน้ำฯ

สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง ที่ใช้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากที่ผ่านมา นั้น กรมชลประทาน จะใช้ระบบชลประทาน ส่งน้ำเข้าไปให้ทุกทุ่ง เพื่อให้เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกอย่างเต็มพื้นที่ และขอย้ำว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีปริมาณเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ตลอดในช่วงฤดูแล้งนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องขอความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมแรงร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้เกิดความมั่นคงในด้านการใช้น้ำอย่างยั่งยืนตลอดไป

อ.ส.ค.เร่งติดตั้งเครื่องบรรจุนม UHT แบบไฮสปีดเพิ่ม 2 โรงงาน ที่ขอนแก่นและปราณบุรี กำลังผลิต 24,000 กล่อง/ชั่วโมง เน้นเทคโนโลยีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมใช้กล่องนมต้นทุนต่ำ ปรับโฉมรูปลักษณ์กล่องใหม่ เป็นแบบ “สลิม ลีฟ” สร้างทางเลือกผู้บริโภค เพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อแข่งขันตลาด

ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า จากการที่ได้ร่วมเดินทางกับคณะผู้บริหาร อ.ส.ค.ไปศึกษาดูงานความก้าวหน้าด้านการพัฒนาเครื่องจักรผลิตผลิตภัณฑ์นมและการบรรจุด้วยระบบปลอดเชื้อของบริษัท Tetra Pak Modena ประเทศอิตาลี รวมทั้งดูงานโรงงานผลิตกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์นม ทำให้ อ.ส.ค.มีแนวคิดนำเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เข้ามาใช้ในกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค โดยขณะนี้ อ.ส.ค.ได้เตรียมแผนปรับเพิ่มศักยภาพการผลิตโดยจะติดตั้งเครื่องบรรจุนม UHT แบบไฮสปีด (High Speed) เพิ่มเติมจำนวน 2 เครื่อง ที่โรงงานนม อ.ส.ค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และโรงงานนม อ.ส.ค.ภาคใต้ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีกำลังการผลิต 24,000 กล่อง/ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าเครื่องบรรจุเดิม ที่เป็นแบบโลว์สปีด (Low peed) กำลังผลิต 7,000-9,000 กล่อง/ชั่วโมงเท่านั้น

ขณะเดียวกันยังมีแผนที่จะใช้กล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์คแบบใหม่ ที่มีการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กล่องนม ยูเอชที ที่ได้มาตรฐาน FSC ซึ่งเป็น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากต้นไม้ที่ได้รับการรับรองว่าผลิตมาจากการปลูกป่าทดแทน ไม่ได้ตัดต้นไม้จากป่าธรรมชาติ โดยมีการบริหารจัดการ การปลูกป่า ปลูกต้นไม้ทดแทนอย่างเป็นระบบ มีการดูแลสภาพแวดล้อมทั้งกระบวนการปลูกและผลิต พร้อมปรับปรุงและพัฒนา รูปทรงกล่องนมไทย-เดนมาร์คให้มีความแปลกใหม่ ดูทันสมัย หยิบใช้งานง่าย ช่วยกระตุ้นความรู้สึกของผู้บริโภค ให้อยากใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้นด้วยกล่องนมรูปทรงสลิมลีฟ (Tetra Brik Aseptic Slim Leaf) ขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ถึง 6% ต่อกล่อง ช่วยตอบโจทย์ความต้องการและเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วย