ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้เตรียมรับมือกับปัญหาฝนที่ตกหนักอย่างไรบ้าง

พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีปัญหา เพราะเตรียมการไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆ และที่ผ่านมาได้ประสานกับทางกทม.ให้ลอกท่อทั้งภายนอกและภายในเพื่อให้ระบายน้ำได้เร็ว ส่วนเรื่องดอกไม้ คาดว่าในวันนั้นจะบานสะพรั่งเต็มที่ โดยดอกไม้และข้าวที่ปลูกนั้น จะอยู่ได้นานถึงสิ้นเดือนพ.ย. เพื่อจัดนิทรรศการให้ประชาชนได้เข้าชม ในวันที่ 2-30 พ.ย.

พล.อ.ธนะศักดิ์ ยังกล่าวถึงการซักซ้อมริ้วขบวนเมื่อวันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า ภาพรวมถือว่าสมบูรณ์ มีความเหมาะสมทุกจุด อาจมีการแก้ไขบางจุดให้ดีมากยิ่งขึ้น ทุกอย่างถือว่าสมพระเกียรติ ทุกคนในริ้วขบวนมีความพร้อม จึงไม่มีสิ่งไหนน่ากังวล

เมื่อถามว่า งานพระราชพิธีครั้งนี้ได้รับความสนใจจากต่างประเทศมาก พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า ต่างประเทศให้ความสนใจตั้งแต่เริ่มงานพระราชพิธี เพราะเขาสงสัยว่าทำไมคนไทยถึงรักพระราชวงศ์ไทย รักในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือรัชกาลที่ 10 ที่ทรงมีจิตอาสามากมาย พระองค์ท่านสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยตั้งแต่ยังมีพระชนม์ชีพจนสวรรคตแล้ว ก็ยังมีการสร้างชื่อเสียงให้คนประกาศกันกึกก้อง ทุกคนรวมเป็นหนึ่งเดียว สิ่งเหล่านี้มีการเผยแพร่ไปทั่วโลก นี่คือความรักความสามัคคีของประเทศไทย ที่เราต้องรักษาไว้ เพื่อประเทศชาติจะได้อยู่อย่างมั่นคง

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า สำหรับพระเมรุมาศ มีเวลาสร้าง 10 เดือน แต่สร้างขึ้นจริงเพียง 9 เดือน ก็แล้วเสร็จ เกิดจากความร่วมมือ ของทุกฝ่ายนั่นเอง รวมถึงจิตอาสาจากทั่วประเทศด้วย ที่สำคัญการดำเนินงานในราชพิธีมีการเตรียมพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะระบบไฟ มีแผนสำรอง หากไฟดับจะมีรถจ่ายไฟสำรองภายใน 30 วินาที ถึง 1 นาที เป็นต้น ดังนั้นถือว่ามีความพร้อมร้อยเปอร์เซ็นแล้ว และถือว่าเสร็จก่อนเวลาที่กำหนดอีกด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการประเมินการท่องเที่ยวหรือไม่ เพราะช่วงงานพระราชพิธี อาจจะพีคขึ้น รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภาพรวมการท่องเที่ยวในช่วงงานพระราชพิธี พบว่าจากการสำรวจโรงแรมรอบ ๆ พื้นที่พระราชพิธีเต็มหมด ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมาชมงานพระราชพิธีได้ แต่หลังเสร็จงานพระราชพิธี จะจัดนิทรรศการ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ เข้าเยี่ยมชมพระเมรุมาศได้ โดยเปิดจุดทางเข้าพื้นที่สนามหลวง 5 จุด แบ่งเป็นคนไทย 3 จุด คนพิการและพระสงฆ์ 1 จุด และนักท่องเที่ยว อีก 1 จุด

อย่างไรก็ตาม งานพระราชพิธีนี้สำหรับนักท่องเที่ยวแล้ว ทางโรงแรมสามารถแนะนำนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสมได้ และหากมีข้อสงสัยอะไร ก็สามารถสอบถามได้ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก็มีการตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อคอยตอบข้อซักถามตลอด 24 ชั่วโมง

หลังจากหลายพื้นที่ฝนตกหนักและน้ำท่วมสูง สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านทั้งในภาคเหนือและภาคกลาง บางครอบครัวต้องอพยพหนีน้ำออกจากบ้าน แต่ก็มีชาวบ้านบางส่วนพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ด้วยการออกดักปลาจับปลา ในจำนวนนี้รวมถึงชาวสุโขทัยที่ออกหาปลา โดยเฉพาะที่ทุ่งทะเลหลวง

โดยมีชาวบ้านออกดักปลา แต่ใช้วิธีง่ายๆ เพียงแค่ใช้สวิงมาวางดักไว้บริเวณประตูระบายน้ำ ก่อนจะมีลูกปลาจำนวนมากที่ว่ายทวนน้ำแล้วกระโดดเข้าสวิงที่ชาวบ้านวางตั้งไว้เฉยๆ นายสมศิลป์ ลาวพันธ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ติดตามการปลูกดาวเรืองเพื่อประดับตกแต่งบริเวณงานพิธีถวายดอกไม้จันทน์และพระเมรุมาศจำลอง จังหวัดลำปาง ณ บ้านย่าเป้า อ.เมืองลำปาง จ. ลำปาง

เปิดผลงานวิจัย 3 สถาบันการศึกษา จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ม.เกษตรฯ เจาะลึกงานพระราชดำริรัชกาลที่ 9 “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่” คือรากฐานสำคัญการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมสานต่อขยายผลงานวิจัยขับเคลื่อนแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงสู่สหกรณ์ในพื้นที่โครงการพระราชดำริและสหกรณ์ทั่วประเทศ หวังสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาระบบสหกรณ์ให้เจริญก้าวหน้า เพื่อสร้างประโยชน์กลับคืนสู่สมาชิกและชุมชน

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานงานแถลงผลการวิจัยแนวทางขับเคลื่อนแนวพระราชดำริเพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชน ภายใต้ชื่องาน “ร่วมวิจัยถวายพระองค์” เพื่อสืบสานแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการจัดการครัวเรือน ชุมชน ตามแนวทาง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่” ให้ประชาชน คนไทยได้นำไปปรับใช้เพื่อยกระดับชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่ง 3 สถาบันการศึกษา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 เพื่อให้ชุมชนสามารถรวมกลุ่มได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมองเห็นว่าการรวมกลุ่มของชาวบ้านในชุมชนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างอำนาจต่อรองและการเชื่อมโยงตลาด ตลอดจนแหล่งทุนภายนอก โดยเฉพาะการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ ซึ่งปัจจุบันพบว่า สหกรณ์ทั่วประเทศมีประมาณ 8,000 แห่ง ประชาชนที่เป็นสมาชิกกว่า 11 ล้านคน ปริมาณธุรกิจรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท รวมแล้วมากกว่า 16.53 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

ทั้งนี้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลงพื้นที่ศึกษาสภาพการพัฒนาในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศเป็นเวลา 3 ปี จนพบพระอัจฉริยภาพจากการค้นพบแนวปฏิบัติในการนำเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ไปสู่การพัฒนาพื้นที่สู่ความยั่งยืนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน 3 ขั้น ได้แก่ ครัวเรือนพึ่งตนเอง ชุมชมรวมกลุ่มพึ่งตนเองได้ และชุมชนออกสู่ภายนอก นอกจากนี้ ยังได้ถอดบทเรียนความสำเร็จเป็น “บันได 7 ขั้นสู่การรวมกลุ่มอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับสมาชิกชุมชนที่จะร่วมกันพัฒนาตนและพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้อย่างสมดุลและต่อเนื่อง

บันได 7 ขั้นสู่การรวมกลุ่มอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย (1) การประเมินความพร้อมของกลุ่ม (2) การสร้างความเข้าใจในสิทธิหน้าที่และประโยชน์ของสมาชิก (3) พัฒนาโมเดลธุรกิจและระบบการจัดการกลุ่มให้ทันสมัย (4) เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต (5) กระตุ้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในทุกขั้นตอนหลักของกลุ่ม (6) ส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อประเมินผลและเพิ่มประสิทธิภาพ (7) สร้างทักษะการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานให้ตรงจุดสำคัญและต่อเนื่อง

ด้านสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ไปศึกษาในบริบทชนพื้นเมือง พบว่า กลุ่มชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงและชาวเลมอแกนได้หันไปสู่เศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาตลาดและระบบเงินตรา จากเดิมที่มีการใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียงได้แปรเปลี่ยนไปสู่การสร้างหนี้สินและการบริโภคแบบคนเมือง

การวิจัยเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทของชนพื้นเมือง” จึงมุ่งออกแบบแนวทางฟื้นฟูและพัฒนาชาวเลมอแกนและกะเหรี่ยง สู่วิถีชุมชนพอเพียงพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน อาทิ การเรียนรู้ปัญหาที่เกิด การทำบัญชีครัวเรือน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้กระบวนการกลุ่ม เพื่อเรียกคืนความสมดุลในการหาเลี้ยงชีพ การดูแลสิ่งแวดล้อม และวิถีพื้นเมือง

ขณะที่ผลการวิจัยเรื่อง “จากสหกรณ์ สู่ทฤษฎีใหม่ผลงานวิจัยตามศาสตร์พระราชา” ของสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ก่อให้เกิด “ตัวแบบธุรกิจสหกรณ์และธุรกิจชุมชน” ที่สามารถสร้างพื้นที่เศรษฐกิจแนวใหม่ซึ่งใส่ใจในการค้าที่เป็นธรรม เปิดให้เกษตรกรรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วม และนำไปสู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ สามพรานโมเดลและคิชฌกูฏโมเดล

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า จะนำผลการศึกษาจาก 3 มหาวิทยาลัย ไปพัฒนาขยายผลและประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ต่าง ๆ โดยเบื้องต้นจะตั้งเป้าหมายว่าจะขับเคลื่อนในสหกรณ์โครงการพระราชดำริ 76 แห่งและสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวง 50 สหกรณ์ เป็นอันดับแรก ซึ่งสหกรณ์เหล่านี้เป็นสหกรณ์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการพระราชดำริและอีกส่วนหนึ่งเป็นสหกรณ์ที่ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้น ขณะเดียวกันก็จะนำผลการวิจัยแนวทางสร้างความเข้มแข็งตามบันได 7 ขั้น ไปใช้ในการวางรากฐานให้กับสหกรณ์ภาคการเกษตร โดยจะนำผลการวิจัยนี้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและวางรากฐานให้สหกรณ์แบบเป็นขั้นเป็นตอน โดยจะเผยแพร่ผลการวิจัยไปยังสหกรณ์ต่าง ๆ จนเกิดความเข้าใจและเข้าร่วมในการขับเคลื่อนเพื่อให้สหกรณ์เกิดความเข้มแข็งและมั่นคง หากสหกรณ์ภาคการเกษตรสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปปรับใช้และพัฒนาการดำเนินงานจนประสบผลสำเร็จก็จะขยายผลไปยังสหกรณ์ทั่วประเทศต่อไป

“ กรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนางานสหกรณ์ให้เจริญก้าวหน้า นำมาซึ่งประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ประชาชนในระดับฐานราก และเห็นว่าจากนี้ไปสหกรณ์จะต้องบริหารงานภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือต้องรู้จักประมาณตนในการดำเนินธุรกิจ คำนึงถึงเหตุผล ความเหมาะสม และประโยชน์ของสมาชิกเป็นหลักสำคัญในการดำเนินงาน จึงจะทำให้สหกรณ์เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและประสบผลสำเร็จ และเติบโตอย่างมีเป้าหมาย ไม่เกิดความเสี่ยงในการดำเนินงาน ซึ่งหลักเศรษฐกิจพอเพียงคล้ายคลึงกับหลักสหกรณ์ ที่เน้นในเรื่องการพึ่งพาตนเองและบริหารจัดการตนเองเพื่อให้เกิดความอยู่รอด ถ้าทุกคนเข้าใจบริบทของสหกรณ์

การดำเนินงานของสหกรณ์ต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดปัญหา แต่คนปัจจุบันกลับไปมองว่าสหกรณ์ก็คือองค์กรที่ทำธุรกิจเหมือนเอกชนทั่วๆไป ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะที่จริงแล้วสหกรณ์ต้องทำภายใต้กรอบเพื่อสมาชิกเท่านั้น อะไรที่ทำให้สมาชิกได้ประโยชน์นั่นคือหน้าที่ของสหกรณ์ ฉะนั้น เป้าหมายของการพัฒนาสหกรณ์ในวันนี้คือสหกรณ์ต้องไม่มีความเสี่ยงในการดำเนินงาน ไม่มีเรื่องการทุจริต และมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และสหกรณ์ต้องดูแลความเป็นอยู่และคำนึงถึงประโยชน์ของสมาชิกเป็นหลัก ตอนนี้กรมฯอยากเน้นให้สหกรณ์หันกลับมามองสมาชิก ให้มีความอยู่ดีกินดีตามเจตนารมณ์ของการตั้งสหกรณ์ในครั้งแรก สหกรณ์จะอยู่ได้อย่างเข้มแข็งและมั่นคง และหันมาน้อมนำศาสตร์พระราชา

ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงาน ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความยั่งยืนแก่สหกรณ์ ซึ่งครั้งนี้นับว่าเป็นโอกาสดีที่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนให้การพัฒนางานสหกรณ์ให้เข้มแข็งและเจริญก้าวหน้าตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9 ได้พระราชทานไว้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาสหกรณ์ ในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผลสำเร็จและเกิดประโยชน์ต่อขบวนการสหกรณ์ของไทยต่อไป” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 เวลา 17.00 น. ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ผศ.กฤษฎา พราหมณ์ชูเอม รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาร่วมพิธีถวายความอาลัยในวาระครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต 13 ตุลาคม 2560 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

นายอุทัย นพคุณวงศ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมวิชาการเกษตรดำเนินการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างจากแหล่งผลิตทั่วประเทศทั้งหมด 196 ชนิดพืชรวม 4,518 ตัวอย่าง ในช่วงเดือนตุลาคม 2559-กรกฎาคม 2560 แบ่งเป็นแปลงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(จีเอพี:GAP) จำนวน 1,608 ตัวอย่าง และแปลงที่อยู่ระหว่างการตรวจรับรองมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีทางการเกษตร(จีเอพี:GAP) จำนวน 2,904 ตัวอย่าง และแปลงเกษตรอินทรีย์(Organic )จำนวน 6 ตัวอย่าง สรุปได้ว่า สินค้าเกษตรที่เก็บจากแปลงที่ได้มาตรฐานจีเอพีผ่านมาตรฐานสารพิษตกค้าง 92.2% และแปลงที่อยู่ระหว่างการตรวจรับรองมาตรฐาน จีเอพี ผ่านมาตรฐาน 93.6% ส่วนแปลงเกษตรอินทรีย์ 6 แปลงไม่พบสารตกค้างทั้งหมด

ทั้งนี้ จากการตรวจวิเคราะห์สินค้าเกษตร 145 ชนิดจาก 196 ชนิด ผ่านมาตรฐานปลอดภัย 100% เช่น หอมแดง มะเขือยาว ผักสลัด/ไฮโดรโพนิกส์ ผักกาดหอม กระเจี๊ยบเขียว บลอคโคลี ชะอม ถั่วแขก เห็ด กล้วย สตรอเบอรี ส้มโอ เป็นต้น

“สินค้าเกษตรที่อยู่ระหว่างการขอรับรองมาตรฐานที่ตรวจพบการตกค้างเกินมาตรฐาน กรมจะไม่ออกใบรับรองแหล่งผลิตพืชให้เกษตรกรรายนั้นๆและต้องดำเนินการขอรับรองใหม่ ส่วนสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและตรวจพบการตกค้างที่เกินค่ามาตรฐาน กรมจะแจ้งเตือนให้ปรับปรุงระบบการผลิตพร้อมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา หากแนวทางแก้ไขปรับปรุงไม่ได้ผลหรือไม่มีประสิทธิภาพและตรวจพบซ้ำ กรมจะพิจารณาให้พักใช้ใบรับรองแหล่งผลิตพืชต่อไป
นายพิศาล พงศาพิชญ์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ผักผลไม้ที่พบสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน เช่น คะน้า พริก มะเขือเทศ องุ่น ส้ม พบสารพิษเกินค่ามาตรฐานประมาณ 7%ของตัวอย่างทั้งหมด ในขณะที่ผักผลไม้บางชนิด เช่น กะเพรา โหไระพา ผักชี ผักชีฝรั่ง มะม่วง ลำไย แก้วมังกร ฝรั่ง มังคุด ซึ่งเป็นพืชที่มีมาตรฐานสารพิษตกค้าง(MRLs )กำหนดไว้น้อยมาก ซึ่งผลการพบสารตกค้าง แม้เพียงปริมาณน้อยๆก็สรุปว่าเกินมาตรฐานแล้ว

สินค้าที่พบสารตกค้างเกินมาตรฐานส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทพืชผักสวนครัวในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีการเพาะปลูกในประเทศอื่นๆ จึงยังไม่มีข้อมูลการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อกำหนดมาตรฐาน จึงใช้ค่าห้ามสารตกค้างเกิน 0.01%ไปก่อน ทำให้พบเกินมาตรฐานกันมาก ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯจะเร่งกำหนดมาตรฐานตามหลักสากล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับใช้ในการกำหนดค่ามาตรฐานต่อไป

ด้านนายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน networkwiththem.org รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ความปลอดภัยของผู้บริโภค กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการศึกษาปริมาณสารพิษตกค้างที่ผู้บริโภคได้รับจริงจากอาหาร ที่เรียกว่า “Total Diet Study” ซึ่งเป็นการประเมินการได้รับสัมผัสที่องค์การอนามัยโลกยอมรับว่าเป็นการศึกษาที่ให้ข้อมูลที่แสดงการได้รับสารพิษจากอาหารได้อย่างแม่นยำใกล้เคียงความเป็นจริง เพื่อประเมินความเสี่ยงของคนไทย โดยเก็บตัวอย่างอาหารคลอบคลุมทั่วทุกภาคตามข้อมูลผู้บริโภคของประเทศมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยตรวจวิเคราะห์สารพิษปนเปื้อนทั้ง 5 ประเภท ได้แก่1. สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช 2.โลหะหนัก 3.สารกลุ่มไดออกซินและสารพีซีบีที่มีโครงสร้างคล้ายไดออกซิน 4.สารกลุ่มพีเอเอชและ 5.ยาสัตว์ตกค้าง

ผลการวิเคราะห์พบว่า คนไทยมีความปลอดภัยจากการได้รับสารพิษปนเปื้อนทั้ง 5 ประเภท จากอาหารที่บริโภค โดยสารพิษที่พบสูงสุด พบเพียงไม่เกิน 15%ของค่าปลอดภัยและส่วนใหญ่พบไม่ถึง 1% ของค่าปลอดภัย

เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 16 ตุลาคม ที่สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นประธานในการจัดพิธีถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในชื่อว่า “มทร.อีสาน สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและขอน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าฯ นครราชสีมา, ผศ.ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา นายสมบัติ กาญจนวัฒนา ประธานสภา อบจ.นครราชสีมา พร้อมด้วยบุคลากร นักศึกษา มทร.อีสาน กว่า 10,000 คน ร่วมพิธีในครั้งนี้

ศ.(พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ได้นำผู้ร่วมพิธีทั้งหมดกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และบทถวายความอาลัยน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และร่วมร้องเพลง “รักพ่อ ไม่มีวันพอเพียง” พร้อมวงออเคสตรา มทร.อีสานและนักร้องหมู่

มีการฉายวีดิทัศน์พระจริยวัตร พระราชกรณียกิจ โครงการในพระราชดำริฯ พระราชดำรัสและภาพบรรยากาศช่วงเสด็จสวรรคตของพระองค์ สลับกับภาพบรรยากาศในบริเวณพิธี ยังมีการแสดงในชุดต่างๆ ได้แก่ การแสดงชุด “มทร.อีสาน สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ” การแสดงชุด “แสนอาลัย น้อมใจส่งเสด็จ พระภูมินทร์” โดยนักศึกษาของ มทร.อีสาน และการขับร้องเพลง “ครองแผ่นดินโดยธรรม” เพลง “โคราชอาลัยพ่อหลวง” โดย กำปั่น บ้านแท่น ศิลปินแห่งชาติ

สุดท้ายเป็นการแปรอักษรเป็นรูป “๙ มทร.อีสาน น้อมส่งเสด็จ สู่สวรรคาลัย” รวมทั้งพิธีรับมอบดอกไม้จันทน์จากโครงการ “100,000 ดอกไม้จันทน์ ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย” เพื่อให้ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาใช้ประกอบพิธีในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระเมรุมาศจำลองที่ทางจังหวัดนครราชสีมาจัดสร้างขึ้น

ผศ.ดร.วิโรจน์ อธิการบดี มทร. เปิดเผยว่า มทร.อีสานเป็นสถาบันการศึกษาที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯทอดพระเนตรกิจการของสถาบันทั้งที่ศูนย์กลางจังหวัดนครราชสีมา วิทยาเขตขอนแก่นและวิทยาเขตสุรินทร์ พระราชทานโล่เป็นรางวัลในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีชิงโล่พระราชทาน ระหว่าง มทร.อีสาน นครราชสีมา กับ มรภ.นครราชสีมา เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาและสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการปลูกป่าในใจคน ตามศาสตร์พระราชา ว่า ปัจจุบันได้รับเงินสมทบทุนโครงการรวมทั้งสิ้น 12,755,214.07 ล้านบาท โดยนำเงินสมทบไปดำเนินการซื้อต้นกล้าโกงกาง จำนวน 8.8 ล้านบาท และขณะนี้สามารถปลูกต้นไม้ตามชายทะเลได้แล้ว จำนวน 52 ไร่ โดยในช่วงนี้ได้งดปลูกต้นกล้าโกงกางชั่วคราว เนื่องจากเกิดน้ำทะเลหนุนสูงจึงไม่สามารถลงพื้นที่ชายทะเลปลูกต้นกล้าได้ คาดว่าในเดือนธันวาคมนี้น้ำจะลดลงจึงจะดำเนินการต่อให้ครบตามเป้าหมายได้ คือ 3,000 ไร่ ภายใน 3 ปี นอกจากนี้ กทม.ได้รับเสาไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มอบให้แล้ว 400 ต้น โดยเวลา 15.00 น.วันที่ 18 ตุลาคมนี้ กทม.จะเริ่มปักเสาไฟฟ้านำร่องประมาณ 200 เมตร ตามแนวชายทะเลบางขุนเทียนเพื่อป้องกันและลดการกัดเซาะจากน้ำทะเล

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2560 ดังนี้
ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้นโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย
บึงกาฬ นครพนม สกลนคร หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น
ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร
สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.