ผู้อำนวยการจิสด้า กล่าวว่า ปีนี้จิสด้าได้นำนิทรรศการ GISTDA

มาร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2561 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-26 สิงหาคม 2561 ที่อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเกิดแรงบันดาลใจและนำไปสู่จินตนาการแห่งอนาคตได้ โดยในรูปแบบนิทรรศการปีนี้เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้ชม หรือ interactive zone ซึ่งเป็นโซนที่ให้เยาวชนได้ร่วมเหาะเหินเดินอากาศกำจัดวัตถุอวกาศที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

โดยผู้เล่นจะอยู่ในท่าลักษณะจำลองลอยตัวไปมาเสมือนอยู่ในห้วงอวกาศหรืออยู่ในยานอวกาศเพื่อการกำจัดขยะอวกาศได้จากการเลือกใช้เครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งที่เกิดจากการประยุกต์รูปแบบตามหลักวิชาการและการจินตนาการที่จะทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้รับสาระความรู้และความเพลิดเพลิน ซึ่งประกอบด้วย เครื่องมือดูดขยะอวกาศ และเครื่องมือตาข่ายดักจับขยะอวกาศ ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นในทุกภารกิจจะมีคะแนนพิทักษ์โลกเป็นแต้มให้เก็บกลับบ้านไปด้วย และอีกโซนคือ Knowledge Zone จะเป็นนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอวกาศที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบันและไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อให้เกิดความตระหนักและลดความตระหนก

ผู้อำนวยการจิสด้า ยังกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีไฮไลต์สำคัญในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 12.00-13.00 น. ร่วมเรียนรู้และถอดบทเรียนกับ ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์วงโคจรของจิสด้า ซึ่งเป็น 1 ในคณะทำงานติดตามสถานการณ์เทียนกง-1 ในหัวข้อ “วัตถุอวกาศ” เหตุการณ์จากฟากฟ้าที่โลกต้องจดจำ และวันพุธที่ 22 สิงหาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 12.00-13.00 น. ร่วมย้อนรอยถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนไปกับทีมนักภูมิศาสตร์ผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานจนเกิดเป็นความสำเร็จในการช่วย 13 ชีวิต ในหัวข้อ “แผนที่…พี่ช่วยน้อง” ซึ่งนำโดยคุณอนุกูล สอนเอก และทีมงาน

สำหรับผู้สนใจสามารถมาชมนิทรรศการ “GISTDA S-Venture” เหาะเหินเดินอากาศได้ที่ ฮอลล์ 4 ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2561 ระหว่างวันที่ 16-26 สิงหาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. ที่อิมแพค เมืองทองธานี…ฟรีตลอดงาน

การสำรวจพื้นที่ป่า โดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เมื่อปลาย ปี 2555 พบว่า พื้นที่ป่าประเทศไทย น่าจะเหลืออยู่ 171,586 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ร้อยละ 33 ของพื้นที่ที่ดินประเทศไทย

เมื่อเทียบกับเนื้อที่ป่าเมื่อ 50 ปี ที่ผ่านมา จะมีพื้นที่ป่าลดลงไปถึง ร้อยละ 50 ของที่เคยมีป่า ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับ ป่า ที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2490 ซึ่งมีภารกิจหลักด้านการทำไม้ ขณะเดียวกัน ก็รับงานแปรรูปไม้ของโรงเลื่อยจักร และงานเก็บหาของป่าบางชนิด ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ขณะนั้นมาดำเนินการด้วย

อีกเหตุผลหนึ่ง ที่ อ.อ.ป. ได้รับการก่อตั้งขึ้น เพราะพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยที่มีผืนป่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุด มีแหล่งไม้สักขนาดใหญ่ ถูกสัมปทานโดยชาวต่างชาติเกือบทั้งหมด เพื่อให้การทำไม้ การค้าไม้ และการแปรรูปไม้ ได้รับการควบคุมและรักษาระดับราคาไม้ในตลาดไม่ให้ผันแปรและมีคุณภาพ โดยเฉพาะ “ไม้สัก”

นอกจากนี้ การบริหารจัดการสวนป่าให้มีคุณภาพ คงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้มากที่สุด ยังเป็นหน้าที่ของ อ.อ.ป. ที่ต้องบริหารจัดการให้คงไว้ในรูปของสวนป่าอีกด้วย

ปัจจุบัน อ.อ.ป. ยังมีหน้าที่ปลูกสร้างสวนป่าในระบบหมู่บ้านป่าไม้ นับตั้งแต่ ปี 2510 ที่ดำเนินงานมา มีพื้นที่รวม 428,590 ไร่ ปลูกไม้สัก ยูคาลิปตัส ยางพารา และไม้กระยาเลยชนิดต่างๆ กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค

อ.อ.ป. เปิดพื้นที่บางส่วนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าพัก มีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย และสถานที่แต่ละแห่งคงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่าง “น้ำตกพระเสด็จ” เชื่อว่า เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกแห่ง ที่เพิ่งรู้จักเป็นที่แพร่หลายภายใน 1 ปีเศษที่ผ่านมา

น้ำตกพระเสด็จ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตส่วนป่าแม่ทรายคำ สำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจลำปาง สำนักส่งเสริมและพัฒนาไม้เศรษฐกิจภาคเหนือบน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หมู่ที่ 14 บ้านวังเงิน ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

สถานที่แห่งนี้ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2519 เวลา 12.30 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จประพาสสวนป่าแม่ทรายคำ ทรงสนพระทัยในกิจการปลูกสวนป่าโดยระบบหมู่บ้านป่าไม้ในครั้งนั้น ได้เสด็จฯ ไปยังน้ำตกพระเสด็จ (เดิมชื่อน้ำตกวังเงิน) ทรงประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันและพักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถ และทรงประทานชื่อน้ำตกว่า “น้ำตกพระเสด็จ”

ความสวยงามและความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ แหล่งต้นน้ำลำธารเล็กๆ แห่งนี้ สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้พบเห็นได้ไม่น้อย แม้ว่าการเดินทางจะไม่ราบเรียบตลอดเส้นทางที่เพิ่งเปิดใหม่ก็ตาม เพราะจากถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม ผ่านสวนป่าแม่ทรายคำ เข้าไปราว 4-5 กิโลเมตร มีป้ายบอกทางไว้ไม่ละเอียดนัก การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในครั้งนั้น ต้องผนวกการคาดเดาด้วย เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางให้ไปถึงจุดหมาย และต้องเดินเท้าต่ออีกระยะพอเหนื่อย

น้ำตกพระเสด็จ มีแอ่งขนาดใหญ่ถึง 4 ชั้น และมีแอ่งน้ำตกที่ลดหลั่นลงมาอีกกว่า 20 แอ่ง แต่ละชั้นถูกสร้างสรรค์ด้วยมือของธรรมชาติ ละเลียดหินปูนจนย้อยลงมาพร้อมกับสายน้ำ ความเย็นของสายน้ำเปรียบได้กับน้ำแข็งที่ละลายไหลลงเป็นสาย

องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา ระบุว่า เส้นทางการเดินสำรวจน้ำตก วัดระยะทางที่แน่ชัดไม่ได้ แต่ประมาณว่าระยะทางการไหลของน้ำไม่ต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ชั้นบนสุดเป็นตาน้ำที่ผุดออกจากหน้าผา และชั้นสุดท้ายเป็นผาน้ำตก สูงประมาณ 10 เมตร

ความประทับใจในส่วนลึกที่สุดของผู้มาเยือนน้ำตกพระเสด็จแห่งนี้ คือ สีเขียวใสของน้ำที่มองทะลุถึงพื้นดินใต้แอ่ง เมื่อตกกระทบกับแสงอาทิตย์ ยิ่งสะท้อนให้เห็นเป็นสีมรกต ไม่ง่ายนักที่จะพบเห็นได้ในน้ำตกทั่วไป แต่ที่น้ำตกพระเสด็จแห่งนี้ มี…

เสมือนความงามที่ซ่อนอยู่ หากไม่ค้นหา อาจไม่พบคงจะไม่มีใครปฏิเสธว่า “กล้วย” เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะ ผลกล้วย ทั้งผลกล้วยดิบ และผลกล้วยสุก สามารถนำไปประกอบอาหาร ทั้งอาหารคาวและหวาน หรือแปรรูปได้สารพัด กล้วยเศรษฐกิจเป็นที่ต้องการของตลาดหลักๆ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์นี้ ล้วนแล้วแต่มีลำต้นสูงใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 2 เมตร บางต้นสูงถึง 3.5 เมตร ทำให้ยากต่อการจัดการหรือการเก็บเกี่ยวผลผลิต และอาจเจอปัญหาต้นโค่นล้มเพราะรับน้ำหนักเครือไม่ไหว ทำให้เกิดผลกล้วยเสียหายได้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างอยู่หมัด ด้วยการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นเพื่อง่ายต่อการจัดการดูแล การเก็บเกี่ยวผลผลิต และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย นายนิคม วงศ์นันตา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ จากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทลัยแม่โจ้ และทีมงาน ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นมากว่า 3 ปี จนประสบความสำเร็จ

“เราได้ทำการศึกษาช่วงเวลาของการเกิดปลีกล้วยด้วยการสังเกตลักษณะการเจริญเติบโตพื้นฐาน คือ เมื่อกล้วยมีอายุประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลีโดยที่ ต้นแม่จะตกเครือกล้วยก่อนต้นลูก ต้นหลาน ไล่เลียงกันไป และที่สำคัญคือ การสังเกต “ใบธง” ของกล้วยซึ่งบ่งชี้ระยะของการออกปลีในแกนกลางลำต้น ซึ่งศึกษาด้วยการผ่าลำต้น จึงพบกว่าระยะที่พอเหมาะในการเจาะลำต้นเพื่อบังคับให้กล้วยตกเครือนั้น คือระยะที่ใบธง (ใบยอดสุดท้ายของกล้วยซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก) ชูก้านใบขึ้นสู่ท้องฟ้า มีลักษณะม้วนหลวมๆ ไม่แน่นเกินไป ไม่คลี่เกินไป นั่นคือ ระยะพอเหมาะที่จะเจาะลำต้นบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้น ในระดับความสูง 1.5 เมตร ซึ่งเป็นความสูงระดับพอดีในการจัดการดูแลกล้วย การเก็บเกี่ยวผลผลิต”

อันดับแรกให้ดูต้นที่สมบูรณ์มีอายุ 6-8 เดือน (นับจากการการปลูกใหม่หรือแทงหน่อใหม่)
สังเกต ”ใบธง” ของกล้วยต้นนั้นๆ ว่าต้องม้วนแบบหลวมๆ ไม่แน่นและไม่คลี่เกินไป
วัดความสูงจากพื้นดินขึ้นไป 1.5 เมตร ทำเครื่องหมายกว้าง 9 ซม. สูง 15 ซม.เพิ่อเตรียมเจาะ โดยเลือกเจาะด้านนอกกอฝั่งตรงข้ามของต้นแม่
ลงมือเจาะลำต้นกล้วยด้วยมีดปลายแหลม ในตำแหน่งที่ทำสัญลักษณ์ไว้ โดยค่อยๆกรีดลงไปที่ละชั้นของกาบกล้วยจนถึงแกนกลางลำต้นกล้วยแล้วตัดแกนกลางและดึงออก
นำแผ่นพลาสติกที่เตรียมไว้ตอกตรงส่วนบนสุดของช่องที่เจาะ
พ่นยากันราให้ทั่วบริเวณที่มีรอยเจาะ

เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเจาะลำต้นเพื่อให้กล้วยตกเครือ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเห็นว่ากล้วยจะค่อยๆ แทงเครือออกทางช่องที่เจาะเอาไว้ ก็สามารถดูแล รักษาเครือกล้วยต่อไปจนได้ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ถ้าเป็นกล้วยไข่ก็ใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน กล้วยหอม 40-60 วัน กล้วยน้ำว้า 80-120 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โดยง่าย

การบังคับกล้วยออกเครือกลางลำต้นเป็นอีกวิธี หรือเป็นอีกทางเลือก ที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้เพื่อการดูแลจัดการกล้วยได้สะดวกยิ่งขึ้น ป้องกันการโค่นล้มของลำต้น ลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย ไม่ต้องมีไม้ค้ำลดค่าใช้จ่าย เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณนิคม วงศ์นันตา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 081-9515287

นางจุลมณี ไพฑูรย์เจริญลาภ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าว เปิดเผยภายหลังเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมนาแปลงใหญ่ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี ว่า กรมการข้าวได้ดำเนินโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) ปี 2558-2561 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพดี

อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารจัดการการผลิตข้าวของชุมชนแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิต การจัดการคุณภาพ และการจัดการด้านการตลาด เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจนถึงขณะนี้มีจำนวนนาแปลงใหญ่ที่กรมการข้าวรับผิดชอบ จำนวนทั้งสิ้น 1,902 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ 2,433,172 ไร่ เกษตรกรจำนวน 175,647 ราย ในพื้นที่ 71 จังหวัด แบ่งเป็นกลุ่มต่อเนื่องปี 2558-2560 จำนวน 1,172 แปลง และกลุ่มใหม่ปี 2561 จำนวน 730 แปลง

โดยกรมการข้าว ได้พัฒนาเกษตรกรเข้าสู่ระบบการผลิตข้าวที่เหมาะสมตามมาตรฐาน GAP แล้วจำนวน 854 แปลง เกษตรกร 47,700 ราย พื้นที่ 594,916 ไร่ โดยรับใบรับรองมาตรฐานแล้ว 143 แปลง และจะเข้าสู่ระบบการตรวจรับรองในฤดูกาลผลิตนี้อีก 711 แปลง ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตข้าวที่ได้มาตรฐาน GAP เข้าสู่ตลาดจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 ตัน ซึ่งจะมีทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวปทุมธานี 1 กข 43 ข้าวเหนียว กข 6 และข้าวพันธุ์พื้นเมืองคุณภาพดีอื่นๆ เช่น สังข์หยดพัทลุง เล็บนกปัตตานี หอมกระดังงา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้มีการเตรียมความพร้อมเกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP เพื่อตรวจใบรับรองในปี 2562 อีกจำนวน 1,048 แปลง เกษตรกร 127,947 ราย พื้นที่ 1.8 ล้านไร่

สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา พบว่า เกษตรกรมากกว่า 80% มีความพึงพอใจในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันภายใต้ระบบนาแปลงใหญ่ เนื่องจากทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็งขึ้นในด้านการจัดการเพาะปลูกให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งการรวมกลุ่มทำให้เกิดประสิทธิภาพทั้งด้านการผลิต การตลาด ทั้งกลุ่มของศูนย์ข้าวชุมชน วิสาหกิจชุมชนด้านข้าว และสหกรณ์การเกษตร ทั้งนี้ จากการประเมินผลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 1,326 บาท ต่อไร่ โดยปีแรกเพิ่มขึ้น 115 บาท ต่อไร่ ปีที่ 2 เพิ่มขึ้น 1,211 บาท ต่อไร่ เป็นผลมาจากผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น 17.50% ขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง 19.02% ปี ส่งผลให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ต่างพอใจในผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ กรมการข้าว จะเดินหน้าเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมโยงตลาดข้าวในนาแปลงใหญ่ให้มีระบบมากขึ้น เพื่อช่วยเกษตรกรให้มีพื้นที่ในการจำหน่ายต่อยอดการผลิตข้าวที่ได้คุณภาพต่อไป

ที่ รพ.สงฆ์ นพ.เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากสถิติของสมาคมโรคไต พบว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยไตวายเรื้อรัง ร้อยละ 17 หรือประมาณ 11 ล้านคน นับว่าเป็นจำนวนที่มาก เมื่อเทียบกับอายุรแพทย์โรคไตทั้งประเทศที่มีเพียง 850 คน หากไม่ลดความเจ็บป่วย ผลิตแพทย์เชี่ยวชาญมากเท่าไร ก็รักษาไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะปัจจุบันมีการโฆษณาสมุนไพรต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคไตได้ ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อจำนวนมาก ซึ่งขอยืนยันว่า ยังไม่มีสมุนไพรตัวใดหรือตำรับใด ที่มีข้อมูลทางวิชาการที่เพียงพอว่าสามารถรักษาโรคไตได้อย่างมั่นใจ
“เข้าใจดีว่า ปัจจุบัน ไทยกำลังพัฒนาและส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค ผมไม่ได้ต่อต้าน เพราะสมุนไพรอาจจะไม่มีผลชัดเจนกับการรักษาโรคไต แต่ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ แต่การใช้ก็ต้องระวัง” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว

ด้าน ศ.นพ.สมชาย เอี่ยมอ่อง ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรโลกมากกว่า 850 ล้านคน หรือประมาณ ร้อยละ 11 ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง โดยมีค่าการทำงานของไตลดลง ประมาณ ร้อยละ 60 ต้องรักษาด้วยการล้างไต 2.5 ล้านคน และอีกไม่กี่ปีจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือ 5 ล้านคน สำหรับในประเทศไทยมีผู้ป่วยต้องล้างไต อย่างต่ำ 1 แสนคน เพิ่มขึ้นราว 1 หมื่นคน ต่อปี สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการกินยาและสมุนไพร

ด้าน ผศ.พญ.สุภินดา ศิริลักษณ์ แพทย์อายุรกรรมโรคไต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า สมุนไพรที่มีผลต่อการทำงานของไต โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยแล้ว อาทิ เห็ดหลินจือ เป็นสมุนไพรจีนดังมากที่ผู้ป่วยไตมักกิน แต่ที่จริงหากผู้ป่วยที่กำลังฟอกเลือดแล้วกินเห็ดหลินจือ จะทำให้ไตเสื่อม ไตวายได้ ส่วนมะม่วงหาวมะนาวโห่ อาจมีผลทำให้ไตขับสารโพแทสเซียมออกมาไม่ทัน ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและอาจเสียชีวิตได้ มะเฟืองมีกรดออกซาเลต หรือกรดออกซาลิก ทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน ตะลิงปลิง และ ป่วยเล้ง กินมากอาจทำให้ไตวายเฉียบพลัน ส่วน แครนเบอรี่ ส่วนใหญ่มักทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากกินมากทำให้เกิดนิ่ว การทำงานของไตผิดปกติ

“มีรายงานจากต่างประเทศว่า ทั่วโลกห้ามใช้สมุนไพร ไคร้เครือ เพราะทำให้ไตวายและเป็นมะเร็งระบบปัสสาวะ ส่วนสมุนไพรกลุ่มใบชา ปอกะบิด หรือกาแฟบางชนิดที่นำมาแปรรูปในโฆษณาในเรื่องลดน้ำหนัก จะส่งผลต่อค่าของตับและไตสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องระวังการปนเปื้อนสารอันตรายจากกระบวนการผลิตด้วย ซึ่งจากการสุ่มตรวจพบปนเปื้อนสเตียรอยด์ถึงร้อยละ 30 และยังพบสารหนู แคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะที่มีผลต่อโรคไต” ผศ.พญ. สุภินดา กล่าว

ศ.นพ. รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อยากให้ผู้ป่วยมีความใกล้ชิดกับแพทย์เพื่อให้ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง และอย่าเชื่อสื่อต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง รวงผึ้งหอม แผ่ล้อม น้อมคุ้มเกล้า
เหลืองอะคร้าว สีดอก ออกสีสัน
เฉลิมพระเกียรติ ราชสมภพ องค์ราชัน
ปวงเทวัญ-พสกนิกร ถวายพระพร สดุดี

น้อมถวายบทกลอน แทนความจงรักภักดี เทิดทูนองค์ราชันถวายพระพรองค์ภูมี ด้วยไม้ดอกหอมดุจน้ำผึ้งรวง ที่มีช่อดอกสีเหลืองเข้มเป็นกระจุกแน่นตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง แต่ส่งกลิ่นหอมกระจายทั่วราวกับดวงดาวสีเหลืองบนฟากฟ้า เรียงสง่าดั่งรวงผึ้ง

จากข่าวที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรัฐมนตรี พร้อมด้วยคู่สมรสได้ร่วมพิธีทำบุญ 5 ศาสนา ที่ตึกสันติไมตรี และเป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรม “จิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ” ร่วมกิจกรรมรอบๆ ทำเนียบรัฐบาล นายกรัฐมนตรีปลูก “ต้นรวงผึ้ง” ต้นไม้ประจำพระองค์ เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ณ บริเวณหน้าตึกไทย ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2561

นอกจากนี้ ข่าวการปลูกต้นรวงผึ้งก็มีตลอดมา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม วันต้นไม้แห่งชาติ ได้รณรงค์เพื่อการปลูกต้นไม้ ทั้งไม้มงคลประจำจังหวัด ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ มีกิจกรรมตลอดมา ทั้งเป็นข่าวในสื่อออนไลน์ ข่าวในหนังสือพิมพ์ต่างๆ มากมายต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ซึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน” ในการนี้นายกรัฐมนตรีได้ปลูกต้นรวงผึ้ง ที่จังหวัดราชบุรี

สำหรับคำกล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า ในโอกาสเดือนกรกฎาคม เป็นเดือนมหามงคล ที่ปวงชนชาวไทยจะได้เฉลิมฉลองวันพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเชิญชวนให้พสกนิกรชาวไทยทุกภาคส่วน ได้ร่วมใจกันแต่งกายด้วยสีเหลืองตลอดทั้งเดือน และได้เชิญชวนให้บ้านเรือน ชุมชน วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะต้นรวงผึ้ง เป็นต้นไม้ประจำพระองค์ ซึ่งจะผลิดอกในช่วงวันพระราชสมภพ รวมทั้งร่วมกันปลูกต้นไม้มงคลประจำจังหวัด หรืออาจจะปลูกป่า เพื่อเป็นธนาคารมีอาหารชุมชน ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

ส่วนในภาครัฐ หรือเอกชนส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปทุกภาคก็มีการส่งเสริมให้มีกิจกรรมดังกล่าวทั่วประเทศ ดังนั้น ในช่วงเดือนกรกฎาคม จึงมีข่าวว่าต้นกล้าต้นรวงผึ้ง ที่มีขายในตลาดต้นไม้หาซื้อได้ยาก และมีราคาสูงขึ้นมากหลายเท่าตัว อันมีผลพวงให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็มีการปลูกที่สวนหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2549

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2561 ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กรรมการสภามหาวิทยาลัยและแขกผู้มีเกียรติ ได้ร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในพิธีเปิดอาคาร 12 (อาคาเรียนรวม)

ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2561 กรมป่าไม้ ได้เพาะชำต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ทรงปลูกไว้ จำนวน 10,000 ต้นกล้า รวมทั้งไม้ดอกสีเหลืองอื่นๆ รวมมากกว่า 2 ล้านกล้า เพื่อแจกให้ประชาชนที่สนใจนำไปปลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สำหรับในช่วงนี้เมล็ดพันธุ์ต้นรวงผึ้งหายาก ทำให้ในท้องตลาดมีราคาสูง

สำหรับพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ “สวน 100 ปี หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ” ข้างตึกหอสมุดกลาง (เดิม) ปัจจุบันมีอาคารหอสมุดใหม่ “อาคารเทพรัตนวิทยาโชติ” ได้ปลูกต้นรวงผึ้ง วันที่ 2 กันยายน 2560 ในโครงการวันพัฒนาและปลูกต้นไม้ มก. ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง ไว้ประมาณ 20 ต้น ปัจจุบันแต่ละต้นแตกกิ่งก้าน และสูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง เชื่อว่าต่อไปอีกไม่กี่ปี อาจจะเรียกกันว่า “ป่ารวงผึ้ง” ก็คงจะมองเห็นภาพ

ถ้าหากย้อนไปเมื่อ 13 ปีก่อน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ได้ทรงปลูกต้นรวงผึ้ง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 เป็นการส่วนพระองค์ บริเวณหน้าตึกศาสตราจารย์คุณชวนชม จันทรเปารยะ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งบัดนี้มีลำต้นสูงใหญ่ ทรงพุ่ม กิ่งก้านสาขาแผ่ร่มเงาเป็นที่ชื่นชม และเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

ต้นรวงผึ้ง มีชื่อเรียกอื่นๆ ทางเหนือ เรียก ดอกน้ำผึ้ง กรุงเทพฯ เรียก สายน้ำผึ้ง มีชื่อสามัญว่า Yellow Star อยู่ในวงศ์ Tiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ Schoutenia glomerata King ssp.peregrina Rockm. เป็นพรรณไม้ไทยอันทรงคุณค่า เนื่องจากเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 10 เนื่องจากออกดอกในช่วงเดือนพระราชสมภพ ดอกสีเหลืองอร่ามโดดเด่น ส่งกลิ่นหอมชื่นใจ ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ในลักษณะต้นสูงใหญ่ ให้ดอกสีสันสวยงาม ยามแหงนมองขึ้น เห็นดอกสีเหลืองอร่ามกระจายดั่งดวงดาวประกายแสงเหลืองทองบนฟากฟ้าแดนสรวง ดังชื่อสามัญที่เรียกว่า Yellow Star