ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย ตลาดอาเซียน

“ฟอร์ดตั้งใจจัดกิจกรรมที่สะท้อนถึงนิยามการใช้ชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ตามแนวคิด ‘Live The Ranger Life’ โดยมีรถฟอร์ด เรนเจอร์ เป็นตัวช่วยในการเดินทาง ไปร่วมกันสร้างแหล่งอนุบาลปลาน้ำจืดและปล่อยพันธุ์ปลาเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศ นับเป็นการสานต่อสิ่งดีๆ ที่ชุมชนได้ร่วมมือกับหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนแก่งกระจานได้ริเริ่มไว้ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนต่อไปในอนาคต” ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทย และตลาดอาเซียน กล่าวในที่สุด

มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ร่วมกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดีแทค (dtac) จัด โครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ.2564 ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด “เกษตรสร้างสรรค์ สุขยั่งยืน” เพื่อเฟ้นหาเกษตรกรที่มีศักยภาพ พร้อมสนับสนุนและยกย่องเชิดชูเกษตรกรไทยที่มีแนวความคิด และการปฏิบัติด้านเกษตรอินทรีย์ โดยใช้องค์ความรู้ต่างๆ มาพัฒนาและต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต ทั้งยังสร้างความมั่นคงยั่งยืนให้แก่คุณภาพชีวิตของตนเอง สังคม และชุมชนโดยรอบ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในเรื่องเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG)

นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวในฐานะผู้ริเริ่มโครงการว่า “ในปีนี้ โครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดของเราได้เดินทางก้าวเข้าสู่ปีที่ 13 แล้ว ภายใต้หัวข้อ “เกษตรสร้างสรรค์ สุขยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรไทยได้รู้จักการทำการเกษตรแบบวิถีอินทรีย์ เพื่อมุ่งเน้นถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นแกนหลัก พร้อมผสมผสานนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาประยุกต์และปรับใช้ไปกับกระบวนการผลิต ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดรับไปกับนโยบายของภาครัฐที่ว่าในเรื่องของเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG) พร้อมนำไปสู่การส่งออกผ่านช่องทางทางการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกภาคมิติ”

“ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา โครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด เริ่มต้นด้วยการค้นหาปราชญ์ทางเกษตรว่าด้วยทฤษฎีใหม่ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อด้วยโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยแดช อาทิ ต้นแบบกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรเจ้าของแผนธุรกิจสินค้าเกษตรออนไลน์ ไปถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเกษตรกรเอง”

ด้าน นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินการต่างๆ ที่มีต่อภาคเกษตร ที่ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการขับเคลื่อนและการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางภาครัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากการจัดกิจกรรมประกวด

เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ที่มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการเรียนรู้โดยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแก่เกษตรกร ที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรมาโดยตลอด จนเกิดเป็นโครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดในปีนี้ โดยผมหวังว่าการร่วมมือกันของมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด รวมถึงดีแทค และกรมส่งเสริมการเกษตร นับจากนี้ไปจะส่งผลให้การพัฒนาภาคการเกษตรของไทย เกิดความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน และก้าวไกลยิ่งๆ ขึ้นไป พร้อมทั้งช่วยทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสุขอย่างแท้จริง”

ทางด้าน นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้กล่าวถึง เกษตรกรสร้างสรรค์ สุขยั่งยืน ไว้ว่า “เป็นแนวคิดหลักของการคัดเลือกเกษตรกรในปีนี้ มีความสำคัญและยึดโยงกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการการสื่อสารอันถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเศรษฐกิจดิจิทัล เราได้วางนโยบาย Digital Inclusion เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัล ผ่านการขยายโครงข่ายบนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ภายใต้แนวคิด “ดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตที่เท่าเทียม” ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ภารกิจ ได้แก่ 1.สัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน (Good for All Connectivity) 2.การเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม (Affordable and Accessible Services) และ 3.การเพิ่มทักษะดิจิทัล (Digital Upskilling) ทั้งนี้ ดีแทคจะยังเดินหน้าส่งเสริมให้ประเทศไทยดีทั่วดีถึง เพื่อชีวิตเท่าเทียม”

สำหรับเกษตรกรที่ได้รับรางวัลในปี 2564 ประกอบด้วยรางวัลชนะเลิศ “นายนราธิป ภูมิถาวร” เกษตรกรจากฟาร์มปูนาชญาดา จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรผู้สร้างธุรกิจจากความชอบ เกิดเป็นธุรกิจปูนาอินทรีย์สร้างชีวิต

“เกษตรกรนักพัฒนาที่เริ่มต้นเลี้ยงปูนาด้วยความชอบต่อยอดเป็นธุรกิจเลี้ยงปูนาอินทรีย์ สร้างอาชีพโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงปูนาระบบปิด (GAP) ได้ผลผลิตที่สะอาดปลอดภัย และใช้ระบบโซลาร์เซลล์ในการควบคุมการปล่อยน้ำให้เหมือนฤดูฝน เพื่อให้ได้ผลผลิตตลอดปี เพิ่มมูลค่าปูนาอินทรีย์สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งปูนาดอง น้ำพริกปูนา ปลาร้าปูนา น้ำปลาปูนา กะปิปูนา มันปูสด จนประสบความสำเร็จในประเทศและขยายช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในเครือข่าย กระจายรายได้สู่ชุมชน นำไปสู่ความยั่งยืนให้กับอาชีพเลี้ยงปูนาจากรุ่นสู่รุ่น”
รองชนะเลิศอันดับ 1 “จิรภัทร คาดีวี” เกษตรกรจากแสนบุญฟาร์ม จังหวัดกาฬสินธุ์ วิศวกรหนุ่มผู้ผันตัวมาเป็นเกษตรกร สร้างผลผลิตทางการเกษตร ส่งออกผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม

“เกษตรกรนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งใจกลับบ้านเกิดมาทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความมุ่งมั่นให้คนในครอบครัวและชุมชนได้ทานอาหารปลอดสารพิษ จึงนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการทำเกษตร ทั้งการปรุงดิน ทำน้ำหมัก รวมถึงนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในโรงเรือนเพาะปลูก ควบคุมระบบน้ำผ่านรีโมต พร้อมอำนวยความสะดวกสบายในโรงเรือน จนได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ได้แก่ ผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม อีกทั้งยังพัฒนาฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมพาชุมชนไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

และรองชนะเลิศอันดับ 2 “ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์” เกษตรกรจากสวนบ้านแม่ จังหวัดพังงา เกษตรกรผู้สานต่อความฝันของแม่ นำภูมิปัญญาเก่าผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ เกิดเป็นธุรกิจส่งออกมังคุดออร์แกนิก

“เกษตรกรนักออกแบบที่กลับบ้านเกิดมาดูแลความฝันของแม่ พร้อมยกระดับคุณค่าของอาชีพเกษตรกร ด้วยการผสานภูมิปัญญาเก่าและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไว้ด้วยกัน ก่อเกิดเป็นมังคุดออร์แกนิก สะตอฝัก และต่อยอดไปอีกขั้นด้วยการแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำมังคุดสกัดเย็น มังคุดกวน มะม่วงเบาแช่อิ่ม พร้อมพัฒนานำเอาความรู้จากการออกแบบที่ได้ศึกษามา มาต่อยอดสร้างมูลค่าผ่านการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ ก่อเกิดเป็นลายจักรสานที่งดงาม สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างลงตัว”

เกษตรกรดีเด่น

1. นภัสวรรณ เมณะสินธุ์ เกษตรกรจากสวนเบญจมาศนภัสวรรณ จังหวัดอุบลราชธานี

2. อิสมาแอล ลาเต๊ะ เกษตรกรจากสวนนูริสฟาร์ม จังหวัดยะลา

3. ภิญญา ศรีสาหร่าย เกษตรกรจากฟาร์มฝันแม่ เกษตรอินทรีย์ จังหวัดราชบุรี

4. ภัทรฤทัย พรมนิล เกษตรกรจากนพรัตน์ฟาร์ม จังหวัดนครพนม

5. พิริยากร ลีประเสริฐพันธ์ เกษตรกรจาก GardenThree จังหวัดหนองคาย

6. รัฐรินทร์ สว่างสาลีรัฐ เกษตรกรจากไร่ดีต่อใจ จังหวัดสระแก้ว

7. มโนธรรม ชูแสง เกษตรกรจากบ้านไร่ ชายน้ำ ฟาร์มนก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เกี่ยวกับ เวทีคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด

“เวทีคัดเลือกเกษตกรสำนึกรักบ้านเกิด” เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อพัฒนาผู้นำชุมชน ด้วยปณิธานหวังปลุกจิตสำนึกการพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนแก่เยาวชนของผู้ก่อตั้ง คุณบุญชัย เบญจรงคกุล ทั้งนี้ การคัดเลือกฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหา สนับสนุน และยกย่องเชิดชูเกษตรกรที่มีศักยภาพในการเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ ที่มีวิธีคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำบทเรียนต้นแบบไปประยุกต์และปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ปรับตัวกับกระแสการเปลี่ยนแปลง พึ่งพาตนเองได้ พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอกย้ำอุดมการณ์สำนึกรักบ้านเกิดและแสดงถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนคุณแผ่นดินของมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดและองค์กรภาคีในการส่งเสริม สนับสนุน ยกระดับเครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดให้มีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการเกษตร ที่สำคัญ เพื่อเผยแพร่ผลงานและความสำเร็จของเกษตรกรต้นแบบสำนึกรักบ้านเกิดสู่สาธารณชน ให้เกิดการยอมรับและเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตและประกอบการเกษตร

เกณฑ์การคัดเลือก

คณะกรรมการฯ จะพิจารณาจากองค์ประกอบ 4 มิติ ได้แก่

1.คุณสมบัติส่วนบุคคล (Farmer) เป็นเกษตรกรอินทรีย์ หรือ วิถีอินทรีย์ ที่มีอายุ 18 – 50 ปี และมีสัญชาติไทย มีทักษะความรู้ด้านการเกษตร และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ได้

2.คุณสมบัติด้านการเกษตรอินทรีย์ (Agri Organic) ทำเกษตรอินทรีย์ครบในด้านสุขภาพ ด้านนิเวศวิทยา ด้านความเป็นธรรม และด้านการดูแลเอาใจใส่

3.คุณสมบัติด้านความสร้างสรรค์ (Creative) สามารถนำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิม องค์ความรู้สมัยใหม่ เทคโนโลยี และหลักการตลาด มาต่อยอดและปรับใช้เพื่อพัฒนาและสร้างแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์

4.คุณสมบัติด้านความยั่งยืน (Sustainability) มีการรวมกลุ่มและการพัฒนาศักยภาพของชุมชน พร้อมสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับตนเองและคนในชุมชน พร้อมต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ผลการตัดสินการคัดเลือก “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด พ.ศ.2564”

ผู้ที่ได้รับรางวัลจะต้องสามารถเป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ที่มีวิธีคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำบทเรียนไปประยุกต์และปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ปรับตัวเข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลง สามารถพึ่งพาตนเอง และพร้อมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

นายนราธิป ภูมิถาวร
สำหรับเกษตรกรที่ได้รับรางวัลในปี 2564 ประกอบด้วยรางวัลชนะเลิศ “นราธิป ภูมิถาวร” เกษตรกรจากฟาร์มปูนาชญาดา จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรผู้สร้างธุรกิจจากความชอบ เกิดเป็นธุรกิจปูนาอินทรีย์สร้างชีวิต

“เกษตรกรนักพัฒนาที่เริ่มต้นเลี้ยงปูนาด้วยความชอบต่อยอดเป็นธุรกิจเลี้ยงปูนาอินทรีย์ สร้างอาชีพโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงปูนาระบบปิด (GAP) ได้ผลผลิตที่สะอาดปลอดภัย และใช้ระบบโซลาร์เซลล์ในการควบคุมการปล่อยน้ำให้เหมือนฤดูฝน เพื่อให้ได้ผลผลิตตลอดปี เพิ่มมูลค่าปูนาอินทรีย์สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งปูนาดอง น้ำพริกปูนา ปลาร้าปูนา น้ำปลาปูนา กะปิปูนา มันปูสด จนประสบความสำเร็จในประเทศและขยายช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกรในเครือข่าย กระจายรายได้สู่ชุมชน นำไปสู่ความยั่งยืนให้กับอาชีพเลี้ยงปูนาจากรุ่นสู่รุ่น”

นายจิรภัทร คาดีวี
รองชนะเลิศอันดับ 1 “จิรภัทร คาดีวี” เกษตรกรจากแสนบุญฟาร์ม จังหวัดกาฬสินธุ์ วิศวกรหนุ่มผู้ผันตัวมาเป็นเกษตรกร สร้างผลผลิตทางการเกษตร ส่งออกผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม

“เกษตรกรนักวิทยาศาสตร์ที่ตั้งใจกลับบ้านเกิดมาทำเกษตรอินทรีย์ ด้วยความมุ่งมั่นให้คนในครอบครัวและชุมชนได้ทานอาหารปลอดสารพิษ จึงนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการทำเกษตร ทั้งการปรุงดิน ทำน้ำหมัก รวมถึงนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในโรงเรือนเพาะปลูก ควบคุมระบบน้ำผ่านรีโมต พร้อมอำนวยความสะดวกสบายในโรงเรือน จนได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ได้แก่ ผักสลัด น้ำพริกกุ้งสมุนไพร และกุ้งก้ามกราม อีกทั้งยังพัฒนาฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมพาชุมชนไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

นายธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์
และรองชนะเลิศอันดับ 2 “ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์” เกษตรกรจากสวนบ้านแม่ จังหวัดพังงา เกษตรกรผู้สานต่อความฝันของแม่ นำภูมิปัญญาเก่าผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ เกิดเป็นธุรกิจส่งออกมังคุดออร์แกนิก

พัฒนาฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าศึกษาดูงาน พร้อมพาชุมชนไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

ระหว่างที่ “ธนวัฒน์ มโนวชิรสรรค์” หรือ “คุณปอ” เกษตรกรนักออกแบบจากสวนบ้านแม่ จังหวัดพังงา ผู้ทำมังคุดออร์แกนิก ในฐานะรองชนะเลิศอันดับ 2 โครงการประกวดเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2564 กำลังจะมอบกล่องมังคุดที่ออกแบบอย่างสวยงามให้กับ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่มุ่งมั่นให้เกิดโครงการนี้

ในโอกาสนี้ “เกษตรก้าวไกล” ได้สอบถามคุณบุญชัย ถึงเป้าหมายการสนับสนุนเกษตร ได้รับคำตอบว่า..

“เกษตรกรของเราเท่มาก..ผมเป็นคนคลั่งมังคุดอยู่แล้ว คนญี่ปุ่นนะ crazy มากเลย..โครงการประกวดนี่นะครับเรายังมาไม่ถึงครึ่งทางเลยครับ เพราะคนที่รู้เรื่องดี ทำอะไรดี อย่างน้องๆเหล่านี้นะครับ (เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด) ยังเต็มบ้านเต็มเมือง แล้วก็ยังมีผู้ที่ไม่รู้จะทำอะไรดีครึ่งประเทศ..เยาวชนสำนึกรักบ้านเกิด 800 อำเภอเนี่ยยังตกค้างอยู่กรุงเทพฯ ประมาณ 600 กว่าคน เพราะว่าเขาไม่รู้ว่าบ้านเกิดเขาทำอะไรได้บ้าง ถ้าเขาได้มาดูตัวอย่างวันนี้ ซึ่งเท่ มีกิน ดีกว่าเป็นขี้ข้าเขา ในเมืองหลวง”

อยากให้ท่านบอกเป้าหมายหน่อยว่า โครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดที่ท่านบอกว่ายังไม่ถึงครึ่งเลยจะไปถึงขนาดไหนครับ

“เป้าหมายนะครับ เราต้องทำจนถึงจุดที่ว่าเกษตรกรของเราเนี่ย เรียกว่ามีฐานะดี ผมเจอลุงไหว (สวนไสวศรียา นครนายก) บอกว่ามาดูก่อนรถเบนซ์สปอร์ตลูกสาวที่เคยเป็นพยาบาล เพราะว่าลุงไหวก็เป็นปราชญ์เกษตร ทำได้ทุกอย่าง เดินตามแนวพระราชดำริรวยทุกคน สำคัญอย่าถอย เพราะว่าคนรุ่นใหม่บางทีอาจจะนึกว่าทำเกษตรลำบากลำบนเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีช่วยแล้ว คุณไม่ต้องไปรดน้ำทุกวันหรอกตั้งโปรแกรมไว้ ต้องเหมือนญี่ปุ่นนอร์เวย์ให้ได้ ชาวประมงนอร์เวย์เลี้ยงปลาแซลมอนไม่ต้องรอคนซื้อ รัฐบาลมาเหมาส่งทั้งหมด ญี่ปุ่นขายสตอร์เบอรี่กล่องละ 2-3 พัน เมล่อนลูกละ 3,000 เขาทำได้”

ติดตามชมรายละเอียดแบบเต็มๆได้จากเกษตรก้าวไกลLIVE..ตั้งแต่นาทีที่ 16.28 เป็นต้นไป กระทรวงเกษตรฯ โชว์ผลสำเร็จโครงการยกระดับแปลงใหญ่ฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มุ่งเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรอำเภอหัวหิน ในด้านการผลิตและการตลาด รวมทั้งเป็นจุดสาธิตเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดที่สำคัญของจังหวัด

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดโครงการประชาสัมพันธ์โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอหัวหิน หมู่ที่ 11 ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่า การดำเนินงานระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่

เป็นกลไกการขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย ซึ่งมุ่งเน้นการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยที่อยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน มีความพร้อมจะพัฒนาการผลิตและการตลาดร่วมกันตลอดห่วงโซ่อุปทาน เน้นการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต โดยการนำหลักเกษตรสมัยใหม่ร่วมกับการเชื่อมโยงตลาด ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิต และผลักดันให้เกษตรกรรวมกลุ่มในการผลิต เพื่อมีอำนาจการต่อรองร่วมกันการจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพดี ราคาถูก และการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาด

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลตระหนักและเข้าใจในปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรต้องเผชิญอยู่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จึงมีนโยบายให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาด เพื่อให้เกษตรกรมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีความหลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแปลงใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ต่อยอด และสร้างโอกาสในการเพิ่มคุณภาพผลผลิต และผลตอบแทนจากการผลิตสินค้าเกษตร

ให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน “วันนี้ได้มีโอกาสมาดูแลพี่น้องเกษตรกร ทำให้มีความท้าทายที่จะทำอย่างไรให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรดียิ่งขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำเกษตรเดินไปข้างหน้า โดยยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต และการนำเทคโนโลยี 4.0 มาใช้ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญที่กระทรวงเกษตรฯ ได้นำมาสู่การปฎิบัติ ซึ่งโครงการเกษตรแปลงใหญ่ เป็นโครงการที่รัฐบาลสามารถเข้ามาดูแลพี่น้องเกษตรกรในเรื่องงบประมาณต่าง ๆ

ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถนำเทคโนโลยีมาสู่พี่น้องเกษตรกร นอกจากนี้ ยังไม่ละทิ้งเกษตรกรรายย่อยด้วย ซึ่งได้มอบนโยบายให้ข้าราชการทุกคนต้องเข้าไปดูแลพี่น้องเกษตรกรเหมือนคนในครอบครัว จึงต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับพี่น้องเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหากับพี่น้องเกษตรกรได้จริง ๆ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนวิถีการทำการเกษตรใหม่ ต้องทำการเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยต้นทุนและราคาจะเป็นตัวกำหนดว่าภาคการเกษตรจะเดินไปข้างหน้าได้

อย่างไร จึงอยากฝากถึงพี่น้องเกษตรกรให้เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิตให้เพิ่มมากขึ้น โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมจะเข้ามาดูแลและอยู่เคียงข้างกับพี่น้องเกษตรกรทุกคน” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

ทั้งนี้ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ จนถึงปัจจุบัน จำนวน 71 แปลง ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอ แบ่งเป็น ด้านพืช 56 แปลง ด้านปศุสัตว์ 5 แปลง ด้านประมง 3 แปลง ด้านข้าว 3 แปลง และด้านยางพารา 4 แปลง โดยมีกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด จำนวน 19 แปลง สมาชิก 1,408 ราย พื้นที่ 17,839.25 ไร่

ซึ่งอำเภอหัวหิน เป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของจังหวัด โดยมีพื้นที่ปลูก 70,495 ไร่ มากที่สุดของจังหวัด โดยเกษตรกรในตำบลหินเหล็กไฟ ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่สับปะรด ในปี พ.ศ. 2562 มีสมาชิกจำนวน 30 ราย พื้นที่ทั้งหมด จำนวน 385.20 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรอำเภอหัวหิน ในด้านการผลิตและการตลาด รวมทั้งเป็นจุดสาธิตเทคโนโลยีการผลิตสับปะรด มีการสร้างเครือข่ายกับเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมกันบริหารจัดการ ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การตลาด และคาดว่าจะมีการขยายผลให้เกิดการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งอำเภอต่อไป

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การแสดงผลงานความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ และโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งตลาดสินค้าเกษตรจากแปลงใหญ่ และสินค้าเกษตรจากตลาดเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกร ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป นำไปเป็นแบบอย่างการพัฒนาให้กับกลุ่มแปลงใหญ่อื่น ๆ เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายที่เข้มแข็ง และเกิดพลังในการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคการเกษตรต่อไป

วัดป่าเขาน้อย เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายใต้ความร่มรื่นข้องต้นไม้น้อยใหญ่ ที่แทรกตัวอยู่ในโขดหินธรรมชาติ บนภูเขาลูกเล็กๆใน ต.บัววัฒนา อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

วัดป่าแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดยพุทธศาสนิกชน ที่มีจิตศรัธาต่อพระพุทธศาสนา โดยมี พระอาจารย์บุรินทร์ นาฆวโร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ นักพัฒนา เผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นที่ศรัทธาของญาติโยมเป็นอย่างมาก มีกิจกรรมธรรมะ โดยเปิดเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไปทั้งในและนอกพื้นที่ ให้เข้ามาปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนได้เป็น สำนักปฏิบัติธรรม สาขาวัดมหาธาตุ ลำดับที่ 144

ปัจจุบันท่านเจ้าอาวาสรูปแรกได้มรณะภาพไปแล้ว กว่า 10 ปี และได้มีเจ้าอาวาสรูปใหม่ มาสานงานต่อ คือ ท่านพระอาจารย์มหาภูษิต ปญญาชโร ซึ่งท่านเป็นพระนักปฏิบัติ นักพัฒนา เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสรูปก่อน

วัดป่าเขาน้อย มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 10 ไร่ และมีป่าชุมชนล้อมรอบอีกประมาณ 50 ไร่ โดยทางวัดเป็นผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทางวัดได้ใช้พื้นที่ทั้งหมดเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ เปิดเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

นอกจากนี้ทางวัดยังใช้สถานที่ จัดกิจกรรม “ปริวาสกรรม” สำหรับพระสงฆ์ ทุกปี ในแต่ละปีจะมีจะมีพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันทางวัดกำลังพัฒนาสถานที่ โดยสร้างพระอุโบสถ หลังใหม่ เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ ตามธรรมเนียมประเพณีทางพุทธศาสนา การก่อสร้างคืบหน้าไปมากแล้ว แต่ยังขาดปัจจัยในการก่อสร้างให้เสร็จสมบูรณ์อีกบางส่วน

ดังนั้นทางวัดและศิษยานุศิษย์ จึงอนุโมธนาบุญมายังผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันทำบุญก่อสร้างพระอุโบสถ ให้เสร็จสมบูรณ์ไปด้วยกัน ท่านผู้มีจิตศรัทธา สามารถบริจาค อิฐ หิน ปูน ทราย และปัจจัยในการจัดซื้ออุปกรณ์ ที่ยังขาดเหลือได้ที่…วัดป่าเขาน้อย 222 หมู่ 2 ต.บัววัฒนา อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “บจธ. มอบสิทธิที่ดินทำกิน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และเดินทางติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ วันที่ 27 ธันวาคม 2564 ณ วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ต.รังกาใหญ่ อ.พิมาย จ. นครราชสีมา ว่า จะเร่งผลักดันกฎหมายจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดิน ที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. กำลังเร่งดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังฝากถึงสมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯ ช่องโคพัฒนา ที่ได้รับสิทธิที่ดินทำกินว่าขอให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

“ฝากพี่น้องช่วยกัยรักษาพื้นที่เพื่อต่อยอดให้ลูกหลานของเรา เอาไว้เป็นหลักให้ บจธ. ได้ดำเนินการต่อไป ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนจะได้มีที่อยู่อาศัยที่มากขึ้น บจธ. จะทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย มีที่ดินทำกินที่ยั่งยืน” พลเอกประวิตรกล่าว

ในงาน บจธ. มอบที่ดินทำกินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย พลตำรวจเอกเฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกรกว่า 400 คน ให้การต้อนรับ

สำหรับพื้นที่วิสาหกิจชุมชนไร่นาสวนผสมเกษตรกรฐานรากช่องโคพัฒนา ได้รับการสนับสนุนที่ดินทำกินจาก บจธ. เนื้อที่รวม 150 ไร่เศษ สมาชิก 45 ครัวเรือน มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ มีผลผลิตสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน จนเป็นพื้นที่ต้นแบบ หรือตัวอย่างความสำเร็จ (Best Practice)ของ บจธ. ที่จังหวัดนครราชสีมาพร้อมจะนำไปขยายผลแก้ปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่ 32 อำเภอต่อไป

สวัสดีปีเสือ65….ในโอกาสปีใหม่ “เกษตรก้าวไกล” ขออำนวยชัยให้สมาชิกผู้ติดตามทุกท่านจงสุขภาพดีมีความสุขความเจริญตลอดปีตลอดไป

ในรอบปีมานี้โลกทั้งใบต้องสะเทือนเลือนลั่นกับโรคระบาดโควิด-19 ทุกคนถอยกันมาตั้งหลักชะงักกันไปพอสมควร แต่เมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างก็เริ่มเข้าที่ ทุกคนก็ได้มีการจัดระเบียบใหม่ว่าจะเดินหน้าให้ก้าวกระโดดได้อย่างไรกับวันคืนที่เหลืออยู่

ระหว่างที่เกิดโควิดระบาดอย่างหนัก เราก็ปักหลักอยู่ในพื้นที่ แต่ก็ยังสื่อสารเชิงรุกด้วยระบบออนไลน์ ภายใต้โครงการเกษตรก้าวไกลLIVEฝ่าวิกฤตโควิดทั่วไทย เป้าหมายของเราต้องการปลุกเร้าให้เกษตรกรไทยลุกขึ้นสู้ไปด้วยกัน ครั้นต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน รัฐบาลประกาศเปิดประเทศเป็นระยะๆ เราได้ใช้ช่วงจังหวะเวลานี้ลงพื้นที่อีกครั้ง ภายใต้โครงการลุยเกษตรสุดเขตไทย ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง แต่ตอนใหม่นี้เราใช้ชื่อว่า #โครงการธกสเกษตรก้าวไกล เนื่องจากว่าผู้สนับสนุนหลักของเราก็คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) โดยการเดินทางเราได้รับการสนับสนุนพาหนะจากฟอร์ดประเทศไทย

การเดินทางภายใต้โครงการ ธ.ก.ส.เกษตรก้าวไกล ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ รวมทั้งจังหวะโอกาสของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ที่ยังทำได้ไม่เต็มร้อย แต่เราก็ทำได้พอประมาณ เราไปถึงพื้นที่ที่สามารถ LIVEสดได้เราก็รายงานสดๆตามที่ปรากฎทางเพจเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน และทุกพื้นที่นั้นเรายังมีการเขียนเป็นบทความข่าวลงในเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล รวมทั้งการตัดคลิปลงในยูทูปช่องเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน (สามารถติดตามได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป)

ทั้งหลายทั้งหมดนี้ เป้าหมายของเราเพื่อต้องการเชื่อมโยงสังคมเกษตรไปสู่พี่น้องคนไทยทั่วประเทศ ต้องการที่จะสื่อให้รู้ว่าการเกษตรของเราเป็นทางรอด เกษตรกรแต่ละพื้นที่เขากำลังคิดและทำอะไรอยู่ ซึ่งจากการลงพื้นที่ของเราในระยะเวลาสั้นๆแต่เห็นได้ชัดว่าพี่น้องเกษตรกรกำลังตื่นตัวอย่างมาก ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐก็ไม่ยิ่งหย่อน หากเทียบกับสมัยก่อนๆที่ทำงานแยกส่วนกับเกษตรกร แต่ ณ เวลานี้พูดได้เต็มปากว่าใกล้ชิดขึ้น แทบไม่มีช่องว่างให้เห็น อาจมีบางส่วนที่อาจยังมีความเลื่อมล้ำในเรื่องการให้การสนับสนุนอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าเวลาผ่านไปสักระยะก็น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น

ขอย้ำว่าถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่เกษตรกร โลกยุคใหม่ชนบทคือความทันสมัย เกษตรกรที่เคยเป็นเบี้ยล่างที่เคยเป็นพระรองหรือตัวประกอบ กำลังถูกชู(เปิดโอกาส)ให้ขึ้นให้มาอยู่แถวหน้า มีบทบาทเด่นชัดขึ้นทุกขณะ และเชื่อว่าหากเราเดินไปตามแนวทางนี้ โดยเฉพาะโมเดลเศรษฐกิจ BCG มันถูกต้องตรงเผงที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นพระเอกได้ไม่ยาก

ซึ่งก็จะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG ที่มุ่งลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ทุกประเทศจึงมุ่งที่จะยกระดับให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการ

ขอบคุณ ฟอร์ดประเทศไทย ที่สนับสนุนพาหนะลุยเกษตรสุดเขตไทย
ในโอกาสปีใหม่นี้ จึงเรียนย้ำว่า เกษตรคือประเทศไทย เราจะเป็นเสือได้ก็ด้วยการเกษตร ถึงเวลาที่เราจะต้องช่วยกันสร้าง “เสือเกษตร” หรือ “ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร” ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้ภาคเกษตรของประเทศไทยยิ่งใหญ่ยั่งยืนสืบทอดไปสู่ลูกหลานไทยทุกคน

สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจากการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร ที่ได้รับการส่งเสริมการเกษตรจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) ในลักษณะกลุ่มเตรียมสหกรณ์ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ประเภทการเกษตร และเปลี่ยนชื่อเป็น สหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด ดำเนินการธุรกิจ 4 ด่าน ประกอบด้วย ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิก ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจแปรรูป ผลิตภัณฑ์ภาชนะจากธรรมชาติ (กาบหมาก) และ ธุรกิจรับฝากเงินออมทรัพย์

นายมาโนชย์ มิ่งขวัญธารากุล ประธานสหกรณ์พัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จำกัด เผยว่า สมาชิกสหกรณ์จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่ากะเหรี่ยงโปว์ เดิมทำไร่แบบหมุนเวียนต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการปลูกพืชผักเมืองหนาว ฟักทอง เสาวรส และไม้ให้ผลชนิดยืนต้น เช่น อโวคาโด

“ขอขอบคุณสหกรณ์และโครงการหลวงที่ให้การสนับสนุนมา และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้สนับสนุนตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว และพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 10 ที่ทรงสืบสานต่อ ต่อจากรัชกาลที่ 9 ทำให้พวกเราได้อยู่ดีกินดี ได้รู้จักอาชีพที่มั่นคง จากเศรษฐกิจพอเพียง อยู่อย่างพอเพียง คือ ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น หรือว่าใช้กินในสิ่งที่เราปลูก ทำในสิ่งที่เรารัก ทำให้บ้านเกิดเมืองนอนมีอาชีพที่ยั่งยืนขึ้นและมีฐานะที่มั่นคงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาก็ดี โดยเฉพาะเรื่องการเกษตร เพราะว่าชาวบ้านแถวนี้พื้นฐานมาจากเกษตรกรอยู่แล้ว ในส่วนนี้ที่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือมาโดยตลอด ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น แล้วก็ต้องขอขอบคุณจากใจของประชาชน” นายมาโนชย์ กล่าว

ด้าน นายบรมัตถ์ ทิพกนก ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 7 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ได้นำองค์ความรู้จากโครงการหลวงเข้ามาขยายผลในพื้นที่ภายใต้แนวทางการรักษาป่า ไม่เผาไม่บุกรุกทำลาย พร้อมสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับผืนป่าด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจในร่มเงาต้นไม้ใหญ่ เช่น กาแฟ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกสหกรณ์ปลูกต้นหมากเพื่อจำหน่ายลูกและนำกาบหมากมาผลิตเป็นภาชนะ เช่นถ้วย ชาม สำหรับใส่อาหาร แทนการเอาไปเผาสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อม ขณะที่ลูกหมากมีตลาดรองรับที่แน่นอนเนื่องจากสหกรณ์อยู่ใกล้กับศูนย์อพยพชาวพม่าที่นิยมบริโภคหมาก

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกณ์ กล่าวย้ำว่า การส่งเสริมสหรณ์ในทื้นที่โครงการหลวง ทางกรมฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 9 ต่อเนื่องต่อยอดมาจนถึงรัชกาลที่ 10 มีการสนับสนุนอุปกรณ์การตลาดเครื่องมือด้านการผลิตและแปรรูป เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพให้กับสมาชิกในสหกรณ์โครงการหลวง ทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นและในปัจจุบันได้ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

“กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับ Royal Online V2 แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด และร่วมกันวางแผนการผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่โครงการหลวงกำหนด ควบคู่การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการคิดการออกแบบการผลิต การแปรรูปสินค้า และบรรจุภัณฑ์ของสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้โดดเด่น” นายวิศิษฐ์ กล่าว