ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สสส. มีภารกิจสำคัญคือ การขยายแนวความคิดเรื่อง พื้นที่สุขภาวะ อันเป็นเสมือนพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน ที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน มีเป้าหมายหลักคือ การ ‘ปรับพฤติกรรม’ ของผู้คนในโลกยุคใหม่ เพื่อให้มีสุขภาพกายและจิตใจที่ดีขึ้น โดยให้ความสำคัญกับทุกมิติของคำว่า สุขภาพ ได้แก่ กาย จิต ปัญญา และสังคม ซึ่งเรียกรวมว่า สุขภาวะ แต่กายเป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นชัดที่สุด สิ่งที่ สสส. ดำเนินการมี 3-4 องค์ประกอบที่ต้องทำ เช่น ควบคุมปัจจัยเสี่ยง อย่าง สุราและบุหรี่ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม นำมาซึ่งอุบัติเหตุ และส่งเสริมเรื่องการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการออกกำลังกาย

อาจารย์กชกร วรอาคม 1 ใน 3 คนไทย ที่ได้รับเลือกจาก นิตยสาร Time ให้เป็น Time 100 Next สาขา นวัตกรระดับโลก หรือดาวรุ่งหน้าใหม่ของโลกที่มีอิทธิพลในสาขานวัตกรรม ท่ามกลางบุคคลต่างๆ จากทั่วโลกที่ได้รับเลือกเพียง 100 คน ในฐานะผู้ร่วมออกแบบพื้นที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ความท้าทายของการออกแบบสวนป๋วย คือการผสมผสานแนวคิดด้านการออกแบบและการบริหารจัดการทั้งระบบอย่างครบวงจร ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม สังคม และสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประเด็นระดับโลกอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการน้ำ นับตั้งแต่

1. การจัดสรรพื้นที่
2. การออกแบบพื้นที่ให้สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มรูปแบบ
3. การบริหารพันธุ์ไม้ช่วยกรองฝุ่น PM 2.5 สร้างแหล่งอากาศบริสุทธิ์
4. การไล่ระดับพื้นที่เพาะปลูกแบบนาขั้นบันได ลดแรงปะทะ ช่วยชะลอการไหล่บ่าของน้ำฝนได้สูงถึง 20 เท่า ลดความเสี่ยงน้ำท่วมขัง เพิ่มปริมาณรองรับน้ำฝน
5. การพัฒนาระบบจัดการน้ำหมุนเวียนพลังแสงอาทิตย์ ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดมีสระน้ำรองรับ 4 แห่ง รอบอาคาร จุน้ำได้รวมกว่า 3 ล้านแกลลอน หรือประมาณ 13.5 ล้านลิตร ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ปั๊มน้ำเข้าสู่ระบบ นำมาหมุนเวียนใช้ซ้ำเพื่อการเพาะปลูก ลดการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานและน้ำ

นอกจากนี้ พื้นผิวคอนกรีตของอาคารปกคลุมด้วยไม้นานาพันธุ์ จะช่วยลดอุณหภูมิความร้อนภายในอาคารลงได้ 3-4 องศาเซลเซียส และลดอุณหภูมิภายนอกในบริเวณพื้นที่สีเขียวได้มากถึง 7 องศาเซลเซียส ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศอีกด้วย

คุณทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านส่งเสริมการผลิต เผยว่า ระยะนี้ผลไม้ภาคตะวันออกเริ่มทยอยให้ผลผลิตแล้ว โดยเฉพาะทุเรียน เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่สร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศไทย มีตลาดส่งออกหลัก คือ ประเทศจีน ส่งออกมากถึง ร้อยละ 80 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดมาตรฐาน GAP พืชอาหาร (มกษ. 9001-2556 : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร) และมาตรฐานสินค้าเกษตร : ทุเรียน (มกษ. 3-2556) เพื่อให้เกษตรกรผู้ผลิตใช้เป็นแนวทางในการทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตามมาตรฐานที่กำหนด ผลผลิตสูง คุ้มค่าต่อการลงทุน กระบวนการผลิตมีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ผลผลิตเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ

ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ให้ข้อแนะนำแก่เกษตรกรในการปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากหน่วยงานรับรอง ดังนี้ มาตรฐานGAP พืชอาหาร (มกษ. 9001-2556)8 ข้อ คือ
1.1 ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสะอาด

1.2 ปลูกในพื้นที่ดี ไม่มีเชื้อโรค ไม่มีสารพิษในดิน เลือกชนิดของไม้ผลให้เหมาะสมเพื่อป้องกันดินเสื่อมโทรม และพื้นที่ปลูกต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1.3 ใช้และเก็บ ปุ๋ย/สารเคมี อย่างถูกต้อง โดยจัดเก็บสารเคมีในสถานที่แยกจากที่พักอาศัย หรือที่ประกอบการ มีการระบายอากาศที่ดี, เก็บสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนพืช ให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ปะปนกัน เขียนป้ายชัดเจน, ใช้สารเคมีที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง โดยอ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีใช้ ช่วงเวลา และปริมาณที่แนะนำไว้ในฉลากอย่างเคร่งครัด, ไม่ซื้อสารเคมีที่ร้านค้าแบ่งขายหรือไม่ติดฉลาก และสารเคมีต้องบรรจุในขวด/ภาชนะบรรจุที่ปิดฝาขวด/กล่องเรียบร้อย ไม่ฉีกขาด, ห้ามใช้หรือเก็บรักษาสารเคมีที่ราชการประกาศห้ามใช้ (ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม), ป้องกันตนเองขณะฉีดพ่นสารเคมีอย่างถูกต้อง และอาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที ภายหลังพ่นสารเคมีทุกครั้ง, หยุดใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยวตามเวลาที่ระบุไว้ในฉลาก และภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว ห้ามนำมาใช้ใหม่อีก ให้ทำลายโดยการฝังดินให้ห่างจากแหล่งน้ำ และลึกมากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผาทำลาย

จัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว โดยปฏิบัติและดูแลรักษาไม้ผลในสวน/แปลง ตามขั้นตอนสำคัญต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนควบคุมการผลิต

1.5 เก็บเกี่ยวผลผลิตถูกเวลา/ถูกวิธี โดยเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะที่เหมาะสม ตามความสุกแก่ของผลผลิตที่ระบุไว้ในแผนควบคุมการผลิต, ใช้อุปกรณ์เก็บเกี่ยว ภาชนะบรรจุผลผลิตที่สะอาด และวิธีการเก็บเกี่ยวที่ป้องกันการกระแทก ไม่ทำให้ผลผลิตบอบช้ำ และมีการจัดการระบบการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามข้อกำหนดของลูกค้า

การพัก การขนย้าย และการเก็บรักษาผลผลิตให้สะอาดและปลอดภัย โดยวางพักผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในสวน/แปลง บนวัสดุรองพื้นที่สะอาดก่อนการขนย้าย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรก, คัดแยกผลผลิตที่มีศัตรูพืชติดปะปนอยู่ออกจากผลผลิตที่มีคุณภาพ, คัดแยกผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพออกจากผลผลิตที่มีคุณภาพหลังจากการเก็บเกี่ยว, ทำความสะอาดภาชนะ เช่น ตะกร้า ฯลฯ และพาหนะในการขนย้ายผลผลิตก่อนและหลังใช้งาน, สถานที่เก็บรักษาผลผลิตต้องสะอาด มีวัสดุปูรองพื้น อากาศถ่ายเทได้ดีและมีการป้องกันสัตว์พาหะนำโรค, ขนย้ายผลผลิตด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดความสกปรก/บอบช้ำ เสียหาย

ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ ความเข้าใจ หรือได้รับการอบรม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกสุขลักษณะ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขลักษณะส่วนบุคคลที่เพียงพอ ผู้ที่สัมผัสกับผลผลิตโดยตรงต้องมีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลและมีวิธีการป้องกัน และผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับวัตถุอันตรายทางการเกษตรต้องได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

จดบันทึกทุกขั้นตอน ต้องบันทึกข้อมูลการใช้สารเคมี ประวัติการฝึกอบรม ข้อมูลผู้รับซื้อผลผลิต การปฏิบัติงานก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว และเก็บรักษาข้อมูลการปฏิบัติงานและเอกสารสำคัญ อย่างน้อย 2 ปี ของการผลิตติดต่อกัน และผลผลิตที่อยู่ระหว่างการเก็บรักษา ขนย้ายหรือบรรจุเพื่อจำหน่ายต้องมีการระบุรุ่นหรือรหัส

มาตรฐานสินค้าเกษตร : ทุเรียน (มกษ. 3-2556)4 ข้อ คือ
2.1 มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ใช้กับผลทุเรียน ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio spp. วงศ์ Bombacaceae (พันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้า เพื่อนำมาบริโภคสด)

ชั้นคุณภาพ ประกอบด้วย

ชั้นพิเศษ (Extra Class)มีคุณภาพที่ดีที่สุด มีลักษณะหนามสมบูรณ์ จำนวนพูสมบูรณ์ ไม่น้อยกว่า 4 พู ไม่มีตำหนิ และไม่มีความผิดปกติด้านรูปทรง
ชั้นหนึ่ง (Class I)มีคุณภาพดี จำนวนพูสมบูรณ์ ไม่น้อยกว่า 3 พู พูไม่สมบูรณ์อีก 2 พู และไม่ทำให้รูปทรงทุเรียนเสียไป
ชั้นสอง (Class II)มีคุณภาพ จำนวนพูสมบูรณ์ ไม่น้อยกว่า 2 พู พูไม่สมบูรณ์อีก 2 พู และไม่ทำให้รูปทรงทุเรียนเสียไป

หมายเหตุ : ชั้นหนึ่งและชั้นสอง มีตำหนิได้เล็กน้อย จากกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว/การขนส่ง เช่น รอยแผลเป็น หนามช้ำ (รวมต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ผิวทุเรียน)

2.3 คุณภาพของทุเรียนที่ดี ต้องเป็นทุเรียนทั้งผลที่มีขั้วผล ตรงตามพันธุ์ สด สะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ ไม่มีรอยแตกที่เปลือก ไม่มีศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อลักษณะภายนอกของผลทุเรียน ไม่มีร่องรอยความเสียหาย เนื่องมาจากศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของเนื้อทุเรียน ไม่มีความเสียหาย เนื่องจากอุณหภูมิต่ำหรือสูง และผลทุเรียนสุก ไม่มีความผิดปกติของเนื้อ ได้แก่ แกน เต่าเผา ไส้ซึม

2.4 ขนาดผลทุเรียน : ขนาดผลที่เป็นพันธุ์ทางการค้าทั่วไป ควรมีน้ำหนักต่อผล ดังนี้

1. พันธุ์ชะนีไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม/ไม่มากกว่า 4.5 กิโลกรัม
2. พันธุ์หมอนทองไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม/ไม่มากกว่า 6 กิโลกรัม
3. พันธุ์ก้านยาวไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม/ไม่มากกว่า 4 กิโลกรัม
พันธุ์กระดุมทองไม่น้อยกว่า 1.3 กิโลกรัม/ไม่มากกว่า 4 กิโลกรัม
5. พันธุ์นวลทองจันทร์ไม่น้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม/ไม่มากกว่า 4.5 กิโลกรัม
6. พันธุ์พวงมณีไม่น้อยกว่า 1.0 กิโลกรัม
7. พันธุ์หลงลับเเลไม่น้อยกว่า 1.0 กิโลกรัม และ
พันธุ์อื่นๆที่เป็นพันธุ์ทางการค้า ไม่น้อยกว่า 0.5 กิโลกรัม

นอกจากข้อกำหนดข้างต้น การผลิตทุเรียนให้ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานความต้องการของตลาด ชาวสวนจำเป็นจะต้องศึกษาหาข้อมูลและติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพิ่มเติมด้วย โดยเฉพาะการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการรับรองทั้งมาตรฐาน GAP และมาตรฐานโรงคัดบรรจุผลไม้ GMP ด้วย

แพลนท์ แฟคตอรี่ (Plant Factory) โรงงานผลิตพืชแห่งอนาคต ผลิตผักได้เร็วและปริมาณมากกว่าผักบนดินหลายเท่าตัว Plant Factory หรือ Vertical Farming System-Plant Factory with Artificial Lighting (PFAL) นวัตกรรมในการทำการเกษตรรูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและสม่ำเสมอ มีความแข็งแรงปราศจากโรค แมลง สารเคมีปนเปื้อน และมีเสถียรภาพในการผลิต โดยไม่ขึ้นกับฤดูกาลแห่งผลผลิต และปัจจัยของธรรมชาติ

Plant Factory คืออะไร
Plant Factory คือ โรงงานผลิตพืช เป็นระบบการปลูกพืชที่ควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูก ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสารละลายธาตุ ช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ได้ผลผลิตสม่ำเสมอ Plant Factory มีการใช้เทคนิค Soilless Culture ในการปลูกพืช เช่น ระบบไฮโดรโพนิกส์ คือการปลูกพืชโดยให้รากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลผ่านในรางปลูกพืช โดยใช้ปั๊มดูดสารละลายให้ไหลผ่านรางมาที่รากพืช และไหลเวียนกลับมายังถังเก็บสารละลาย ข้อแตกต่างระหว่าง Plant Factory กับ ระบบไฮโดรโพนิกส์ คือ ระบบ Plant Factory สามารถปลูกพืชในแนวตั้งได้หลายชั้น อาจมากถึง 10 ชั้น ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เหมาะกับสถานที่ที่มีพื้นจำกัด โดยชนิดพืชที่เหมาะสมในการปลูกด้วยระบบ Plant Factory ได้แก่ กลุ่มพืชอาหารหลัก เช่น ข้าว ข้าวสาลี มันฝรั่ง และอ้อย กลุ่มพืชเพื่อสุขภาพ เช่น พืชผัก และพืชสมุนไพร รวมถึงไม้ดอก

คุณชนุตร์พันธุ์ หอสุวรรณ์ (คุณตอง) กรรมการผู้จัดการ ศูนย์เกษตรกรรมบางไทร อยู่ที่ 106/361 หมู่ที่ 6 ซอยนวมินทร์ 70 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เล่าว่า ตนเรียนจบปริญญาตรีการโรงแรม และปริญญาโทด้านบริหารการเงิน จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ซึ่งทั้งสองสาขาที่จบมานี้ไม่เกี่ยวข้องกับงานสายเกษตรเลย แต่เนื่องจากคุณพ่อประกอบอาชีพเกี่ยวกับงานด้านการเกษตรอยู่แล้ว จึงได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานคุณพ่อบ้าง เริ่มจากการช่วยเป็นล่ามภาษาต่างประเทศ เพราะจะมีชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาดูงานที่บริษัทอยู่เป็นประจำ จึงเกิดการซึมซับและคลุกคลี มารู้ตัวเองอีกทีก็หลงรักงานด้านนี้ไปแล้ว จึงเริ่มทำจริงจังมาเรื่อยๆ จากเป็นล่ามก็ทำมากกว่านั้นคือ การศึกษาข้อมูลและลงมือเรียนรู้ระบบจนเกิดความชำนาญ ทุกวันนี้ได้เข้ามาสืบทอดกิจการของคุณพ่อไปโดยปริยาย

ศูนย์เกษตรกรรมบางไทร
แหล่งเรียนรู้ปลูกพืชแห่งอนาคต
คุณตอง อธิบายถึงรูปแบบการปฏิบัติการของศูนย์เกษตรกรรมบางไทร ว่า ศูนย์เกษตรกรรมบางไทร คือเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตรสมัยใหม่ จำหน่ายตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ผัก อุปกรณ์ประกอบชุดปลูก ชุดปลูกผักไฮโดรโพนิกส์สำเร็จรูป ปั๊มน้ำ รวมถึงการให้ความสนใจและพยายามพัฒนาระบบเกษตรกรรมในเมืองไทยอย่างไม่หยุดยั้ง ล่าสุดทางศูนย์เกษตรกรรมบางไทรได้ร่วมกับไบโอเทค มีการทดลองปลูกพืชระบบ Plant Factory ขึ้นมา เพื่อใช้ในงานวิจัย

โดยรูปแบบเครื่องปลูกและอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ทางศูนย์เกษตรกรรมบางไทรเป็นผู้ทำแม่พิมพ์เองทั้งหมด ไม่ได้มีการนำเข้า และมีการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยรูปแบบ Plant Factory แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

โรงปลูกพืชระบบเปิด ชนิดใช้แสงธรรมชาติ (Plant Factory with Sunlight)

โรงปลูกพืชระบบเปิด ชนิดใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงเทียม (Plant Factory with Sunlight and Supplemental Light) โรงปลูกพืชระบบปิด ชนิดใช้แสงเทียมทั้งระบบ (Plant Factory with Fully Artificial Light) ซึ่งรูปแบบ Plant Factory ทั้ง 3 ประเภทนี้ คุณตอง บอกว่า เกษตรกรสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับเป้าหมายและทุนทรัพย์ของตัวเองได้ อย่างที่ศูนย์ตอนนี้มีการทดลองปลูกพืชทั้ง 3 ประเภท แต่ละประเภทมีจุดมุ่งหมาย และตลาดที่แตกต่างกัน จะมีผลรับที่เหมือนกันคือ สามารถให้ผลผลิตที่สม่ำเสมอ ลดต้นทุนค่าแรงงาน และสามารถปรับเปลี่ยนพืชที่ปลูกไปได้เรื่อยๆ

รูปแบบที่ 1 โรงปลูกพืชระบบเปิด ชนิดใช้แสงธรรมชาติ (Plant Factory with Sunlight) เหมาะกับเกษตรกรที่เพิ่งเริ่มต้น แต่อยากได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอ ลดต้นทุนค่าแรงงาน แต่มีเงินทุนไม่มาก เพราะไม่จำเป็นจะต้องใช้หลอดไฟอย่างเดียว แต่ใช้แสงแดดธรรมชาติ เพราะประเทศไทยมีต้นทุนแสงแดดที่ดีอยู่แล้ว

รูปแบบที่ 2 โรงปลูกพืชระบบเปิด ชนิดใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงเทียม (Plant Factory with Sunlight and Supplemental Light) ระบบนี้จะมีต้นทุนเพิ่มเข้ามาในเรื่องของการติดหลอดไฟ แต่ผลผลิตที่ได้คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งตอนนี้ทางศูนย์ได้ใช้โรงปลูกพืชระบบเปิด ชนิดใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงเทียม ปลูกผักสลัด เมล่อน บนชั้นดาดฟ้าของโรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ รีสอร์ต ปลูกเสร็จเก็บส่งตรงถึงครัวเพื่อนำมาประกอบอาหารให้กับผู้ที่เข้าพักโรงแรมได้รับประทานผักผลไม้ที่สดใหม่และได้คุณภาพ

โดยมีพื้นที่การปลูกกว่า 4,000 ตารางเมตร ใช้แรงงานในการดูแลเพียง 2 คน ดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะเมล็ดถึงขั้นตอนเก็บเกี่ยวและส่งไปยังครัวของโรงแรม “ระบบปลูกพืชที่ใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงเทียม ตอนเช้าจะใช้แสงธรรมชาติ ตอนเย็นจะเปิดไฟร่วม ขนาดความกว้างของโรงเรือน กว้าง 2 เมตร ยาว 7.2 เมตร คลุมพลาสติกรอบด้าน สามารถกันแมลงได้ ภายในโรงเรือนต้องควบคุมความชื้น มีการติดตั้งพัดลมช่วยกระจายออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีปั๊มน้ำ และถังเก็บสารละลาย ส่วนการป้องกันแสงแดด แสงธรรมชาติอาจจะแรงไป ให้ใช้ซาแรนคลุมเพื่อกรองแสงในโซนที่ไม่ต้องการ ต้นทุนการผลิตต่ำ อยู่ที่กิโลกรัมละ 5-10 บาท โรงแรมรับซื้อ กิโลกรัมละ 150 บาท 1 โรงเรือน ลงทุนครั้งแรก 40,000 บาท ผักสลัดใช้เวลาการปลูกเพียง 30 วัน ต่างจากปลูกลงดิน ที่ต้องใช้เวลา 60-65 วัน ผลผลิตออกมา ครั้งละ 100 กิโลกรัม 1 เดือน มีรายได้ 15,000 บาท ปลูก 3 รอบ ก็สามารถคืนทุนแล้ว” คุณตอง บอกเล่าถึงตัวอย่างการปลูกพืชระบบเปิด ชนิดใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงเทียม

รูปแบบที่ 3 โรงปลูกพืชระบบปิด ชนิดใช้แสงเทียมทั้งระบบ (Plant Factory with Fully Artificial Light) ระบบนี้คุณตอง บอกว่า จะเหมาะสำหรับการปลูกเพื่อทำการวิจัย หรือต้องการนำสารจากพืชไปสกัดเป็นยาและเวชสำอาง เนื่องจากค่อนข้างมีต้นทุนที่สูง ถ้าคิดจะปลูกขายส่งตลาดทั่วไปไม่คุ้มแน่นอน เพราะค่าติดหลอดไฟ 1 หลอด ราคาค่อนข้างสูง วิธีนี้เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ทำไปเพื่ออะไร และต้องการได้ผลผลิตและคุณภาพที่สม่ำเสมอ ยกตัวอย่าง ขมิ้น ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกเยอะ แต่ประเทศไทยยังต้องนำเข้าสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นเพื่อนำมาทำเป็นยา สาเหตุมาจากรูปแบบการปลูกในประเทศไทยมีการปลูกเยอะก็จริง แต่ส่วนใหญ่จะปลูกตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งปัจจัยการเจริญเติบโตต่างๆ แสง อุณหภูมิ ความชื้น หรือลมฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ปลูกยากขึ้นและสารที่มีประโยชน์ขาดหายไป

ขั้นตอนการปลูกพืชระบบปิด
ชนิดใช้แสงเทียมทั้งระบบ
เพาะเมล็ด 7 วัน ลักษณะการเพาะคล้ายผักไฮโดรโพนิกส์
ลงปลูกนับไปอีก 20 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้
น้ำที่ใช้ดูแลผัก ต้องเป็นน้ำกรอง RO เป็นน้ำที่สะอาดกว่าที่ใช้ดื่ม
ไฟเปิดทุกวัน ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น เว็บ SBOBET คลื่นความถี่ของแสงต้องดูตามความเหมาะสมของพืช ว่าพืชแต่ละชนิดต้องการคลื่นความถี่ที่เท่าไร หรือต้องการแสงสีอะไร ส่วนนี้ต้องปรึกษากับทีมวิจัยไบโอเทค
กระบวนการทำงาน ใช้ระบบสั่งการผ่านมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เครื่องสามารถวัดระดับความชื้น วัดอุณหภูมิรอบห้อง วัดระดับก๊าซออกซิเจนภายในห้อง และสามารถจ่ายน้ำ ปุ๋ย ได้โดยอัตโนมัติ ทุกอย่างสั่งได้ด้วยมือ

ข้อดีที่พบ
ประหยัดพื้นที่ ขนาดความกว้างโรงเรือนเพียง 24 ตารางเมตร สามารถปลูกผักสลัดได้ 5,000 ต้น ปลูกได้จำนวนเยอะ และสามารถใช้แสงเร่งสารกระตุ้นพืชได้ เช่น ทำให้ไนเตรตต่ำลง ให้วิตามินเพิ่มขึ้น เพื่อส่งไปวิจัยต่อ
ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างแน่นอน ปลูกผัก 100 ต้น ผลผลิตที่ได้ออกมาสม่ำเสมอและสมบูรณ์กว่า 99 เปอร์เซ็นต์
ปัญหาเรื่องโรค แมลง ไม่มี เพราะเป็นโรงเรือนระบบปิด ก่อนเข้าออกทุกครั้งต้องมีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อ มีห้องแอร์เชาเวอร์ ห้ามสิ่งปฏิกูลเข้าไปได้ เพราะจะทำให้ติดเชื้อทั้งระบบ
น้ำสำคัญมาก เพราะว่าตอนนี้ประเทศไทยกำลังประสบวิกฤตภัยแล้ง แต่ Plant Factory สามารถรีไซเคิลน้ำปลูกได้ 4 รอบ หรือ 4 เดือน
ลดระยะเวลาการปลูกให้สั้นลง จากเดิมปลูกในดิน ใช้เวลา 60-75 วัน แต่ Plant Factory ใช้ระยะปลูกเพียง 30 วัน หรือถ้าเป็นสมุนไพรกัญชาที่ทางศูนย์ทำการวิจัยร่วมกับไบโอเทค สามารถลดเวลาการปลูกจาก 1 ปี เหลือ 4 เดือน สามารถนำดอกมาใช้ทำยาได้แล้ว

ต้นทุนการผลิต
คุณตอง บอกว่า ต้นทุนการผลิตเริ่มตั้งแต่ตารางเมตรหลักพันจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และวัตถุประสงค์ที่เลือกใช้ ถ้าอุปกรณ์ราคาหลักหมื่นสามารถควบคุมทุกอย่างได้ด้วยคอมพิวเตอร์ แต่ถ้ามีเงินทุนน้อยอาจจะต้องใช้แรงงานคนเข้าไปช่วยในบางส่วน ในส่วนของโรงเรือนปลูกระบบปิดกันความชื้นจะมีราคาแพง แต่ถ้าเป็นกรีนเฮ้าส์ ใช้แสงอาทิตย์เข้าช่วย ตรงนี้ช่วยลดต้นทุนหลอดไฟไปได้มาก จะใช้เงินลงทุนเยอะในช่วงแรกเซ็ตอัพระบบ แต่หลังจากนั้น ต้นทุนจะถูกลง ค่าไฟปั๊มน้ำ ประมาณ 13 บาท ต่อเดือน ค่าน้ำ ใช้น้ำทั้งหมด 0.25 คิว ต่อ 1 เดือน ค่าปุ๋ย ใช้ประมาณ 180 บาท ต่อเดือน