ผู้อำนวยการ สศท.2 กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ยังมี 2 ชนิดสินค้า

ที่น่าสนใจ ได้แก่ ถั่วเหลือง และ มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพทั้งด้านพื้นที่และด้านเศรษฐกิจสำหรับปลูกทดแทนสับปะรดในพื้นที่ S3 และ N โดยผลผลิตถั่วเหลืองยังไม่เพียงพอ ไทยต้องนำเข้ามากถึงเกือบร้อยละ 95 แต่เนื่องจากขาดแคลนแรงงานผลิต การดูแลที่ค่อนข้างยาก เกษตรกรจึงได้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ภาครัฐควรหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา

สนับสนุนให้มีการวิจัยพัฒนาเครื่องจักรกลทดแทนการใช้แรงงานคนเพื่อลดต้นทุน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์ดีและราคาเป็นธรรมเพื่อให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูก ตลอดจนจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาตลอดอายุการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับมันสำปะหลัง ซึ่งไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ อีกทั้งมีความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมผลิตเอทานอลและแป้งมันสำปะหลังในประเทศเพิ่มขึ้น

ภาครัฐจึงควรเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ จาก 5 ตัน ต่อไร่ ในปี 2562 เป็น 7 ตัน ต่อไร่ ในปี 2569 ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ การทำระบบน้ำหยด และการผลิตมันเส้นเอง ตลอดจนเพิ่มมาตรการกำกับดูแลการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่ไปกับการขยายตลาดส่งออก ลดการพึ่งพาตลาดจีนเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการค้า

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์สับปะรดด้านการผลิต ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องร่วมกันวางแนวทางหรือนโยบายสำหรับแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังโดยเร็ว และควรให้ความสำคัญการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการเพิ่มมูลค่า ช่วยแก้ปัญหาเรื่องราคาสินค้าแก่เกษตรกรได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด เพื่อติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ที่จะเป็นปัญหาหรือส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร และเร่งแก้ปัญหาภาคเกษตรในพื้นที่ สำหรับผู้ที่สนใจผลการศึกษาเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร สศท.2 โทร. (055) 322-650 และ (055) 323-658 หรือ e-mail : zone2@oae.go.th

การประกวดกล้วยไม้ และ ไม้ดอกไม้ประดับ งานเกษตรแม่โจ้ 85 ปี ภูมิปัญญาแห่งการเกษตร ได้รับความสนใจส่งเข้าร่วมประกวดกว่า 2,000 ต้น มีการแบ่งประเภทการประกวดหลายหมวดหมู่ ได้แก่ การประกวดกล้วยไม้ทั้งพันธุ์แท้และลูกผสม มีทั้งกล้วยไม้เดี่ยว สกุลต่างๆ / กล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอม/กล้วยไม้ ลูกผสมช่อแรก / กล้วยไม้หมู่ ในส่วนของไม้ดอกและไม้ประดับ แบ่งเป็น ไม้ประดับกระถาง 16 ประเภท / กระบองเพชร 15 ประเภท / บอนสี 11 ประเภท/ โป๊ยเซียน 19 ประเภท / บอนไซ 35 ประเภท / ชวนชมยักษ์ 11 ประเภท / สับปะรดสี 10 ประเภท / ไม้อวบน้ำ 15 ประเภท / เฟิร์น 12 ประเภท โกสน 13 ประเภท และไม้ดอกไม้กระถางอีก 10 ประเภท ได้รับความสนใจส่งไม้เข้าประกวดมากถึง 2,218 ต้น แยกเป็น กล้วยไม้ 1,308 ต้น ไม้ดอกไม้ประดับ 910 ต้น

ผลการประกวดรางวัล รางวัลยอดเยี่ยมของงาน มีดังนี้ 1. รางวัลยอดเยี่ยมของงาน “กล้วยไม้พันธุ์แท้” ได้แก่ กล้วยไม้ดิน Calantae Vestita ของ คุณสันติ กระจาดทอง 2. รางวัลยอดเยี่ยมของงาน “กล้วยไม้ลูกผสม” ได้แก่ กล้วยไม้ดิน Cymbidium Medison Fall ของ คุณพงศธร จี่สม

สำหรับรางวัลยอดเยี่ยมแต่ละประเภท มีดังนี้ รางวัลยอดเยี่ยมไม้ดอกไม้ประดับ ประเภทไม้ดอก รางวัลยอดเยี่ยมไม้ดอกกระถาง ได้แก่ คุณสิยาภรณ์ มังตรีสรรค์ ประเภทบอนสี จำนวน 2 รางวัล 1. รางวัลยอดเยี่ยมบอนสี (เดี่ยว) ได้แก่ คุณทรงธรรม อรัญยกานนท์ 2. รางวัลยอดเยี่ยมบอนสี (กอ) ได้แก่ คุณทรงธรรม อรัญยกานนท์ ประเภทชวนชม จำนวน 1 รางวัล รางวัลยอดเยี่ยมชวนชม ได้แก่ คุณเทวินทร แสงทอง ประเภทโกสน จำนวน 2 รางวัล 1. รางวัลยอดเยี่ยมโกสน (ลำต้นเดี่ยว) ได้แก่ คุณทรงธรรม อรัญยกานนท์

2. รางวัลยอดเยี่ยมโกสน (ลำต้นทรงพุ่ม) ได้แก่ คุณทรงธรรม อรัญยกานนท์ ประเภทแค็กตัส จำนวน 2 รางวัล 1. รางวัลยอดเยี่ยมแค็กตัส ได้แก่ สวนขจี 2. รางวัลยอดเยี่ยมไม้อวบน้ำ ได้แก่ สวนขจี ประเภทโป๊ยเซียน จำนวน 2 รางวัล 1. รางวัลยอดเยี่ยมโป๊ยเซียน (ไม้เดี่ยว) ได้แก่ คุณพงศกร พรชัยเจริญ 2. รางวัลยอดเยี่ยมโป๊ยเซียน (ไม้กลุ่ม) ได้แก่ คุณพงศกร พรชัยเจริญ ประเภทสับปะรดสี จำนวน 1 รางวัล 1. รางวัลยอดเยี่ยมสับปะรดสี ได้แก่ คุณปรีญาพัชญ์ สุวรรณโชติภัทร์ ประเภทบอนไซ จำนวน 4 รางวัล 1. รางวัลยอดเยี่ยมบอนไซ (ไม้ซาก) ได้แก่ คุณสุทธารี เขื่อนแก้ว 2. รางวัลยอดเยี่ยมบอนไซ (ไม้ทรงมาตรฐาน) ได้แก่ คุณณัชชา สมปรารถนา

3. รางวัลยอดเยี่ยมบอนไซ (ไม้ทรง) ได้แก่ คุณศิรินทิพย์ มณีจักร 4. รางวัลยอดเยี่ยมบอนไซ (ไม้ตอ) ได้แก่ คุณสุทธารี เขื่อนแก้ว ประเภทเฟิร์น จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ 1. รางวัลยอดเยี่ยมเฟิร์น (ชายผ้าสีดา) ได้แก่ คุณพงศธร จี่สม 2. รางวัลยอดเยี่ยมเฟิร์น (ทั่วไป) ได้แก่ คุณดามวรรณ วงษ์แตง ประเภทไม้ด่าง จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ รางวัลยอดเยี่ยม (ไม้ด่าง ) ได้แก่ คุณณัฐพงศ์ ชนะวงษา ประเภทไม้ประดับ จำนวน 2 รางวัล 1. รางวัลยอดเยี่ยมประเภทไม้ประดับ (อะโกลนีมา) ได้แก่ คุณสมศักดิ์ สวัสดิรักษ์ 2. รางวัลยอดเยี่ยมประเภทไม้ประดับ (กลุ่มอื่น ๆ) ได้แก่ คุณณัฐพงศ์ ชนะวงษา รางวัลยอดเยี่ยมการประกวดกล้วยไม้ 1. สกุลรีแนนเธอร่า และลูกผสม ได้แก่ พันโทบัญชา มนูญญา 2. สกุลกล้วยไม้ดิน และสกุลใกล้เคียง ได้แก่ คุณสันติ กระจาดทอง 3. สกุลซิมบิเดียม และสกุลใกล้เคียง ได้แก่ คุณพงศธร จี่สม

4. สกุลออนซิเดียม และสกุลใกล้เคียง ได้แก่ คุณณัฐพล ชมคำ 5. สกุลคัทลียา และสกุลใกล้เคียง ได้แก่ คุณวุฒิพันธ์ กี่สง่า 6. สกุลหวาย ได้แก่ พันโทบัญชา มนูญญา 7. สกุลช้าง ได้แก่ คุณสมจิตร์ ยาดี 8. สกุลรองเท้านารี และสกุลใกล้เคียง ได้แก่ คุณธนวัฒน์ รอดขาว 9. สกุลแวนด้า ได้แก่ คุณวุฒิพันธ์ กี่สง่า 10. สกุลสิงโตกรอกตา และสกุลใกล้เคียง ได้แก่ คุณชารี ศรีคงศรี 11. สกุลฟาแลนนอฟซีส และสกุลใกล้เคียง ได้แก่ คุณณัฐพล ชมคำ 12. สกุลออนซิเดียม และสกุลใกล้เคียง ได้แก่ คุณบุญเสริม พุ่มเพลินพิศ 13. กล้วยไม้พันธุ์แท้ชนิดอื่นๆ ได้แก่ คุณชารี ศรีคงศรี 14. กล้วยไม้ลูกผสมชนิดอื่นๆ ได้แก่ พันโทบัญชา มนูญญา 15. กล้วยไม้หมู่ หมู่ละ 5 ต้น/ยอด ได้แก่ คุณณัฐนันท์ พรมบุญชู

“แก้วพะเนาว์ ออร์แกนิค ฟาร์ม” ซึ่งตั้งอยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 2 ตำบลนาภู อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ของ “ปลิว” หรือ คุณพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ ซึ่งเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ในโครงการ “Young Smart Farmer”

ปัจจุบัน คุณปลิว อายุ 26 ปี เขาเรียนจบปริญญาตรี สาขาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ความจริง พ่อแม่เขาไม่มีใครสนับสนุนให้ลูกทำอาชีพเกษตรกรรม เพราะมองว่าอาชีพเกษตรกรรมมีอนาคตที่ลำบาก แต่เขากลับมองเห็นความยั่งยืนของอาชีพนี้ หากสามารถพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เข้ามาใช้ในการทำงาน คุณปลิว บอกว่า การทำการเกษตรให้ประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้เรื่องการวิเคราะห์ดิน ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะเกษตรกรต้องรู้เข้าใจดินก่อน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับพืชผลที่ลงทุนไป นอกจากนี้ ต้องเรียนรู้เข้าใจเรื่องตลาดทั้งในประเทศและส่งออก หากจำเป็นต้องค้าขายกับต่างประเทศในอนาคต จึงยิ่งต้องยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรมากขึ้น

ความสำเร็จในเส้นทางอาชีพเกษตรกรรมในวันนี้ คุณปลิว บอกว่า เขาได้รับแรงบันดาลใจจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในเรื่องความพอเพียง โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาผสมผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มาปรับใช้ จนเกิดความแม่นยำในการเก็บเกี่ยว รวมถึงระบบน้ำหยดเพื่อให้น้ำกระจายไปสู่พืชอย่างสม่ำเสมอ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การทำปุ๋ยหมัก และเพาะปลูกพืช เพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติ การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการกัดเซาะหน้าดินรวมถึงการอนุรักษ์น้ำ

ขณะเดียวกัน คุณปลิวได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง โดยการแบ่งปันวิธีการเพาะปลูก และเก็บเกี่ยวพืชผลไปจนถึงวิธีสร้างกำไรตลอดทั้งปีด้วยการวางแผนอย่างชาญฉลาด โดยคุณปลิวคิดว่า ทุกคนควรรักในสิ่งที่ตัวเองทำและมีความมุ่งมั่น เพื่อจะได้นำไปสู่ความสำเร็จและไปถึงจุดหมายที่ต้องการ ผมรักในสิ่งที่ตัวเองทำและพร้อมมุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในชุมชน

ทุกวันนี้ คุณปลิว ตื่นตั้งแต่ตี 3 เพื่อมาขายผลผลิต เขาใช้วิธีการจัดส่งผักให้สดตลอดเวลา และได้แบ่งปันวิธีนี้ให้กับเกษตรกรผู้อื่น เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี เขาหวังว่าสิ่งที่ทำจะช่วยสร้างเครือข่ายของเกษตรกรในชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้เกษตรกรรุ่นต่อไปมีอาชีพที่ยั่งยืนและมีชีวิตที่ดีขึ้น

แก้วพะเนาว์ ออร์แกนิค ฟาร์มคุณปลิว ลงนามความร่วมมือกับ หอการค้ามหาสารคาม จัดทำ โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ที่บ้านหนองบัว ตำบลนาภู อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม จนประสบผลสำเร็จ มีผลผลิตขายได้ทุกวัน และมีเงินหมุนจากผลผลิตตลอด 365 วัน

คุณปลิว เล่าว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนและเกษตรกรรักบ้านเกิด โดยทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทาง รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการศึกษาดูงาน และเพิ่มขีดความสามารถให้เกษตรกร เยาวชน และผู้สนใจที่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม

บนพื้นที่ 22 ไร่ ของคุณปลิวใช้ปลูกผัก ปลูกไผ่นอกฤดู เพาะเห็ดในโรงเรือน ซึ่งทุกกิจกรรมจะเน้นความปลอดภัยไปจนถึงขั้นมาตรฐานอินทรีย์ รวมทั้งเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และสร้างเครือข่ายให้สมาชิกในหมู่บ้านได้เดินตามรอยพ่อหลวง เพื่อชีวิตที่มีความสุขและยั่งยืน คุณปลิวได้แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและได้จุดประกายให้เข้าใจถึงกลยุทธ์การเก็บเกี่ยว แบบระบุช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมในการปลูกพืชผัก และสร้างปฏิทินเพาะปลูกตลอดปี 365 วัน โดยปลูกพืชคละชนิดกัน ไล่ไปตามอายุเก็บเกี่ยว โดยอาศัยปฏิทินเพาะปลูกที่คิดขึ้นเอง ทำให้โรคและแมลง “งง” จนมากินผักไม่ถูก

เคล็ดลับปลูกผัก 365 วัน ของคุณปลิวอยู่ที่ แบ่งพื้นที่ปลูกออกเป็น 60 แปลง แปลงละครึ่งงาน ในพื้นที่ดังกล่าวจะยกร่องปลูกพืชสลับชนิดกัน 7 แปลง แต่ละแปลงปลูกพืชสลับแถว สลับแปลงกัน เช่น ขึ้นฉ่าย ผักสลัด หอมแบ่ง ผักโขมแดง ผักบุ้งจีน กะเพรา โหระพา ผักพื้นบ้าน เป็นต้น โดยทยอยปลูกพืชแต่ละชนิดห่างกัน แปลงละ 1 วัน จนครบ 60 วัน

นอกจากนี้ ยังปลูกพืช 7 ชนิด 7 แถว ห่างกัน 1 สัปดาห์ เริ่มจากสัปดาห์แรก ปลูกขึ้นฉ่าย ที่มีอายุเก็บเกี่ยว 60 วัน สัปดาห์ที่ 2 ปลูกผักสลัด อายุเก็บเกี่ยว 50 วัน สัปดาห์ที่ 3 ปลูกหอมแบ่ง อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน สัปดาห์ที่ 4 ปลูกผักโขมแดง อายุเก็บเกี่ยว 35 วัน สัปดาห์ที่ 5 ปลูกผักบุ้งจีน อายุเก็บเกี่ยว 30 วัน สัปดาห์ที่ 6 ปลูกผักสวนครัวที่มีอายุเก็บเกี่ยว 6 เดือน เช่น กะเพรา โหระพา สัปดาห์ที่ 7 ปลูกผักพื้นบ้าน เช่น สะระแหน่ พริก ฯลฯ

เมื่อครบระยะเวลาเก็บเกี่ยวพืชผักเสร็จ คุณปลิวจะพลิกดินกลบตอทิ้งไว้ 3 วัน เพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินก่อนเริ่มปลูกผักรอบใหม่ โดยไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำที่เดิม เพื่อป้องกันโรคแมลงรบกวน ผลผลิตที่ได้คุณปลิวป้อนเข้าสู่ตลาดใน 3 ช่องทาง คือ ขายในแบรนด์ ออร์แกนิค เฟรช ในห้างเดอะมอลล์ และแมกซ์แวลลูทั่วประเทศ แบรนด์แก้วพะเนาว์ ออร์แกนิค ฟาร์ม ขายในจังหวัดมหาสารคาม และตลาดหน้าฟาร์ม ส่วนแบรนด์ The Kreenana ขายส่งถึงบ้านในจังหวัดนครราชสีมา วางแผนการผลิตและการตลาดในลักษณะนี้ สร้างรายได้เข้ากระเป๋าสูงถึง 8 แสนบาท/ไร่ ทีเดียว

อบรมยุวเกษตร ทำโครงการ “ธนาคารใบไม้”

คุณปลิว และสำนักงานเกษตรอำเภอยางสีสุราช ได้ร่วมกันส่งเสริมให้กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านเหล่าหมากดำ ตำบลนาภู อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม จัดทำโครงการธนาคารใบไม้ โดยมอบหมายให้เด็กนักเรียนเก็บใบไม้นำมาทำปุ๋ยหมัก ขายในราคากิโลกรัมละ 5 บาท สร้างรายได้เสริมแก่นักเรียนและโรงเรียนได้อีกทางหนึ่ง

คุณปลิว บอกว่า การจัดสร้างธนาคารใบไม้ เป็นการหยุดเผาใบไม้ ลดปัญหามลพิษ เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมาเก็บใบไม้เพื่อทำปุ๋ยหมักแบบไม่ต้องพลิกกอง ตามสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ เป็นเรื่องง่ายที่เด็กทุกเพศทุกวัยทำได้ โดยใช้เศษใบไม้ทุกชนิด จำนวน 3 ส่วน นำมาหมักรวมกับปุ๋ยคอก 1 ส่วน ใช้ระยะเวลาหมักประมาณ 2 เดือน โดยไม่ต้องพลิกกอง เพราะหมักในตะกร้าตาข่าย ช่วยระบายความร้อน เมื่อหมักครบระยะเวลาที่กำหนด จะได้ปุ๋ยใบไม้สำหรับใช้ปรุงดินสำหรับปลูกพืชผักอินทรีย์

คุณปลิว กล่าวว่า การปลูกผักอินทรีย์ ต้องใช้ ดิน 1 ส่วน และ ปุ๋ยใบไม้ 1 ส่วน จึงจะช่วยให้พืชเติบโตได้ดี ปัจจุบัน คุณปลิวรับซื้อปุ๋ยใบไม้ทั่วไป ขายในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ล่าสุด คุณปลิวได้แนะนำให้ทางโรงเรียนแยกหมักปุ๋ยตามชนิดของพืช เช่น ปุ๋ยใบก้ามปู เพราะใบไม้ชนิดนี้จะให้ธาตุไนโตรเจนสูง ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างดี รวมทั้งแนะนำให้ผลิตปุ๋ยใบมะขาม เพราะใบไม้ชนิดนี้มีธาตุโพแทสเซียม (K) ช่วยเพิ่มความหวานผลไม้ได้ดีเยี่ยม โดยคุณปลิวยินดีรับซื้อปุ๋ยใบก้ามปู และปุ๋ยใบมะขาม ในราคาสูงกว่าปกติ คือ กิโลกรัมละ 8-9 บาท ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย และเพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการ นิสสันได้สมทบ 999 เท่า ของยอดขายของใบไม้ที่ได้ให้แก่ชมรมยุวเกษตรของโรงเรียนท้องถิ่นอีกด้วย

หากใครสนใจอยากแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการทำเกษตร สามารถติดต่อกับคุณปลิวได้ ทางอีเมล :pong.pat2010@hotmail.com หรือทางเฟซบุ๊ก Pongpat Kaewpanao, นายพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ หรือทางแฟนเพจ (Fanpage) : แก้วพะเนาว์ Organic Fram

อาหารเผ็ดร้อน เช่น ลาบขม ต้มแซ่บ ยำน้ำตก ผัดเผ็ดกบ แกงเผ็ดไก่ และน้ำพริกสารพัด รสเผ็ดร้อนของอาหาร ได้จากพืชผัก สมุนไพรหลายชนิดรวมกัน หรือชนิดเดียวโดดๆ เช่น พริกไทย ขิง ข่า กระชาย และที่รู้จักกันมาแต่เนิ่นนาน จนคิดว่าเป็นพืชพื้นเมืองของไทยซะเอง คือ “พริก” มีคนเขาเล่าว่า พริกที่ปลูกไว้ให้เราเอามาประกอบอาหารให้มีรสเผ็ดนั้น สันนิษฐานว่าเข้ามาให้คนไทยรู้จักสมัยอยุธยาตอนปลาย ว่ากันว่าฝรั่งชาติโปรตุเกส เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี หรือว่าเข้ามาไม่ทราบเจตนาเบื้องต้น เขาว่าเจริญสัมพันธไมตรี ก็ว่าตามเขา เหตุการณ์นานมาแล้ว

คงเอาเรือใหญ่เข้ามาทางทะเลเข้าปากน้ำเจ้าพระยาละกระมัง เข้ามามีการปรับทุกข์ผูกมิตร มี “พริก” ติดมาทำอาหาร คนไทยได้มีวาสนาได้ชิมอาหารที่ชาวโปรตุเกสนำมา ชิมรสพริกก็อยากรู้ว่ามันคืออะไร? ฝรั่งว่าไอก็ไม่รู้ แต่ที่อเมริกาใต้ แถบ เปรู บราซิล เขาเรียก “ปริ้กก้า” อ๋อ…ปริ้กก้า ปริ้กก้า…ปริ้ก ปริก ออกเสียงยาก เรียกมันว่า “พริก” ดีกว่า

พริกขี้นก พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกหยวก เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ หรือแฟมิลี่ solanaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum Frutescens Linn. พริกที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้ ที่เป็นเม็ดใหญ่ ยาว ผิวมัน เรียกว่า พริกมัน หรือพริกใหญ่ หรือเรียกพริกสด ที่เม็ดใหญ่ๆ อ้วนป้อม ไม่เผ็ดนัก เรียกพริกหวาน ที่ออกลูกออกเม็ดเล็กยาว ปลายชี้ขึ้น เรียกพริกชี้ฟ้า หรือพริกแจว ที่มีเม็ดสีขาว เหลือง เรียกพริกเหลือง ถ้าเป็นขาว เหลือง แบบเม็ดขนาดกลาง ปลูกต้นหนึ่ง เก็บเม็ดกินไม่ทัน กิ่งหักเหยียบลงดิน ขึ้นต้นใหม่ ทนเป็นปี เรียกพริกกะเหรี่ยง หรือพริกแม้วที่มีเม็ดเล็กๆ บ้างใหญ่บ้าง ขึ้นอยู่ตามสวนตามไร่ ใต้ต้นไม้ ไม่ได้ปลูกเอง เรียกว่า พริกขี้นก ที่ปลูกไว้ตามสวนครัว สวนหลังบ้าน ใบใหญ่ เม็ดเล็กๆ เผ็ดสะเด็ดยาดเรียก พริกขี้หนู

พริกขี้นกขี้หนู มีขึ้นอยู่ทั่วไปตามสวนตามไร่ เมื่อก่อนไม่ค่อยมีใครรู้ว่า มีพันธุ์อะไรบ้าง รู้แต่ว่า เป็นพริกที่ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ใช้เป็นส่วนประกอบปรุงรสอาหารสารพัด เมื่อแรกที่ขึ้นซึ่งงอกมาจากเมล็ด ที่คนนำมาเพาะ หรือที่นกถ่ายมูลแล้วขึ้นต้นเอง แรกเริ่มก่อนติดดอกออกผล จะมีต้นที่สมบูรณ์ ใบใหญ่ ยอดอวบอ้วน และใบ ยอดจะเล็กลงเมื่อติดดอกออกผล ยิ่งนานวันยิ่งใบเล็กลง ส่วนพริกขี้นก เป็นพริกที่เรียกว่าไม่ค่อยสมบูรณ์แต่แรก ต้นแคระแกร็น เม็ดผลพริกเล็กจิ๋ว แต่โรยหน้าถ้วยน้ำพริกกะปิ น่ากิ้นน่ากิน