ผู้เขียนมีไอเดียเสนอให้คอนโดมิเนียมจำนวนมากในกรุงเทพฯ

และปริมณฑล โดยเฉพาะตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า BTS และ MRT ลองทำการเพาะปลูกผักแนวตั้งตามแนวทางการเกษตรในร่ม ผลผลิตที่ได้ก็จัดจำหน่ายภายในโครงการหรือชุมชนละแวกใกล้เคียง จะได้ผักผลไม้ที่สดใหม่ หรือหากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังขึ้นโครงการต่างๆ อาจจะเอาการเกษตรในร่มไปทำเสริมเพื่อเป็นจุดขาย หรือเป็นการสร้างภาพลักษณ์องค์กร หรือทำเป็น CSR (Corporate Social Responsibility) เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ข้อพึงระวังสำหรับผลผลิตจากการเกษตร แม้ได้รับการเพาะปลูกแบบปลอดจากสารเคมีแล้ว แต่เมื่อผ่านกระบวนการบรรจุหรือขนส่งและประสบสภาวะการปนเปื้อน ก็ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภคได้เช่นเดียวกัน

ตัวอย่างในเมืองไทย มีกลุ่ม noBitter สร้างโรงเรือนปลูกผักขนาดเล็กกลางเมือง เป็นโครงการทดลองปลูกผักขึ้นมา ณ จุดขาย สาขาแรกอยู่ใจกลางสยามสแควร์ ปลูกผักเคล (Kale) ซึ่งเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมาก แต่หาซื้อได้ยากในประเทศไทย

noBitter มองว่า การปลูกผักในปัจจุบัน ระบบการขนส่งผักมายังตัวเมืองจะใช้เวลามาก และอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสิ่งต่างๆ หรือเน่าเสีย จึงนำเสนอแนวคิดใหม่ด้วยการปลูกผักขึ้นมาแล้วให้ผู้บริโภคมาซื้อ ณ จุดขาย ได้เลย แม้ตอนนี้จะอยู่ในช่วงทดลองแต่ก็ได้รับการสั่งล่วงหน้าเป็นเดือน

EIC มองว่า ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนการเกษตรในร่ม ให้มีบทบาทเชิงพาณิชย์มากขึ้นนั้น อยู่ที่การส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถเพาะปลูกพืชได้หลากหลายประเภท ควบคู่ไปกับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีของสินค้าเกษตรแบบนี้ เช่น ปลอดภัยจากสารพิษ ประหยัดทรัพยากรในการเพาะปลูก เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจและหันมาบริโภคสินค้ากลุ่มนี้ในวงกว้างยิ่งขึ้น

ผู้เขียนหวังว่า เหตุการณ์ในภาพยนตร์ไซไฟ (ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์) แสดงวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ต้องอาศัยอยู่ในโดมขนาดใหญ่มหึมา มีการควบคุมสภาพอากาศเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และหากใครออกไปจากพื้นที่นี้ ก็ต้องเสียชีวิตจากมลภาวะอากาศเป็นพิษ คงจะไม่เกิดขึ้นกับโลกของเรา

ในแวดวงคนปลูกผักด้วยกันย่อมรู้ดีว่าผักคะน้าเป็นผักที่ปลูกค่อนข้างยากเพราะนอกจากจะเป็นโรคได้ง่ายแล้วยังเป็นที่นิยมของหนอนอีกด้วย แต่ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ผักคะน้ามี ราคาสูงกว่าผักชนิดอื่น ๆ อันเป็นเหตุจูงใจให้ ปฐพี พวงสุวรรณ์ เกษตรกรชุมชนนาคู จ.พระนครศรีอยุธยา มุ่งมั่นศึกษาพัฒนาวิธีการปลูกผักคะน้ามา อย่างต่อเนื่องโดยไม่ใช้สารเคมีจนเกิดความชำนาญ กระทั่งค้นพบเคล็ดลับการปลูกคะน้านอกฤดูกาลเป็นผลสำเร็จ

“ผมเลือกปลูกคะน้าเพราะมีคนปลูกน้อยเนื่องจากเป็นผักที่มีโรคและแมลงเยอะ แต่ในทางกลับกันหากเราทำได้โอกาสได้กำไรก็เยอะกว่าผักชนิดอื่น…” ปฐพีเริ่มต้นเกริ่นนำแล้วบอกต่อว่า “…ผมอาศัยการรู้จักนิสัยใจคอของพืชเป็นหลัก เราเป็นคนปลูกผักเราต้องรู้จักผักที่เราปลูก ไม่งั้นไม่มีวันที่เราจะทำสำเร็จ เมื่อปลูกคะน้าผมก็หาตำรามาอ่านว่ามันเป็นพืชแบบไหน เป็นโรคอะไร มีวิธีป้องกันแก้ไขอย่างไร รวมถึงธรรมชาติในการเจริญเติบโตของมัน พอลงมือทำจริงเรา ต้องคอยดูแล สังเกตและทดลองเปรียบเทียบพิสูจน์ผลดูอย่างเช่นการให้ปุ๋ยบำรุงต้นใบนั้น หลังหว่านแล้ว ไม่ต้องให้ปุ๋ยบำรุงต้น ให้ปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งต้นจะแดง ๆ แต่แข็งแรงแมลงไม่กวน ไม่เป็นโรค หลังจาก 37 วันไปแล้วค่อยให้ปุ๋ยบำรุงต้น บำรุงใบ รับรองไม่ว่าต้นเล็กต้นใหญ่ก็โตเท่ากันหมด”

สำหรับที่มาของการปลูกคะน้านอกฤดูนั้น ปฐพีบอกว่า “ผมเห็นว่าในช่วงหลังสงกรานต์ราคาคะน้าจะสูง ถ้าใครปลูกช่วงนี้ได้ผล ได้ตังค์แน่นอน ผมเลยพยายามศึกษาจนพบว่าสาเหตุสำคัญคือคะน้าเป็นผักเมืองหนาวไม่ทนร้อนในขณะที่บ้านเรานั้นช่วงเมษายนอากาศจะร้อนมากแต่เกษตรกรมักจะรดน้ำผักในตอนเช้าจนชุ่ม โดยลืมนึกไปว่า น้ำจะคายความร้อนช้ากว่าดิน ฉะนั้นตอนกลางวันอุณหภูมิจะสูงขึ้นไป เรื่อย ๆ ถึงประมาณ 60-70 องศา รากจะเน่าและตาย พอรู้อย่างนี้ผมก็เปลี่ยนใหม่ โดยตอนเย็นราดน้ำให้โชกนิดหนึ่ง ตอนเช้าจะเอาเรือมารดน้ำ ซึ่งการรดตอนเช้ามีประโยชน์คือ ล้างน้ำค้างเพราะน้ำค้างอาจทำให้เกิดเชื้อราทางใบได้พอประมาณ 10 โมงดินเริ่มร้อน รดน้ำอีกครั้งแบบโฉบ ๆ พอบ่ายสองโมงก็โฉบ ๆ อีกครั้ง เพื่อลดอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดทั้งวัน พอทำแบบนี้แล้วก็ได้ผลจริง ๆ”

ปฐพีบอกว่าในพื้นที่ 3 งาน หากปลูกคะน้านอกฤดูจะได้กำไรประมาณ 7-8 หมื่นบาท ซึ่งเมื่อรวมกับคะน้าในฤดูอีก 2 ครั้งในปีหนึ่ง ๆ จะมีรายได้ร่วม 2 แสนบาท นี่ยังไม่รวมรายได้จากพืชผักสวนครัวชนิดอื่น ๆ ที่ปลูกแทรกในแปลงและรอบ ๆ แปลงซึ่งมีตลอดทั้งปี

“นอกจากผลผลิตจะสร้างรายได้เพิ่มให้แล้ว ต้นทุนที่ลดลงก็นับว่าเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งซึ่งเกษตรกรสามารถทำได้ด้วยการหันมาใช้สารชีวภาพแทนการใช้สารเคมีและการใช้สารชีวภาพยิ่งใช้ก็ยิ่งช่วยฟื้นฟูสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์มากขึ้น เท่านั้น” ปฐพี กล่าว.

ข้าวโพด เป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อนำเมล็ดมาเป็นส่วนผสมการทำอาหารสัตว์ ตามมติคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดหลังการทำนาหรือในช่วงฤดูนาปรัง เพื่อปรับปริมาณการผลิตการตลาดข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีความสมดุล เพื่อให้อุตสาหกรรมของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีเสถียรภาพในการผลิตสินค้าและลดการพึ่งพาจากภายนอกประเทศ ที่สำคัญคือส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพ มีรายได้ 6,000 บาท ต่อไร่ มั่นคง และวิถียั่งยืน

คุณสว่าง กาลพัฒน์ เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทำการเกษตร ประมาณ 3.8 ล้านไร่ มีเกษตรกร ประมาณ 2.2 แสนครัวเรือน พืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว ทุเรียน มันสำปะหลัง พริก ยางพารา หอมแดง อ้อยโรงงานหรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีสินค้าเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางพันธุศาสตร์ GI (Geographical Indications) ได้แก่ ข้าวหอมมะลิเขตทุ่งกุลาร้องไห้ และทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

จากสาเหตุที่เกษตรกรทำนาแบบต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณผลผลิตข้าวมาก ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้และการยังชีพ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติและอนุมัติหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา ปี 62 เพื่อปรับปริมาณการผลิตการตลาดของข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีความสมดุล เพื่อให้อุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีเสถียรภาพในการผลิตและลดการพึ่งพาจากภายนอกประเทศ และให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูนาปรังมีรายได้มั่นคงยั่งยืน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คุณภาพปลูกหลังการทำนาโครงการสานพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา จังหวัดศรีสะเกษ มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ 4,184 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวโพด 35,013 ไร่ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานเกษตรอำเภอจะเข้าไปสนับสนุนการปลูกและพัฒนาคุณภาพร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่

คาดว่าจากพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 35,013 ไร่ จะได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,300 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือได้ผลผลิต 45,516,900 กิโลกรัม ข้าวโพดแห้ง ความชื้น 14.5% จะขายได้ 7.50 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ 341,376,750 บาท

ถ้าเกษตรกรปลูกข้าวโพด 1 ไร่ จะใช้ต้นทุนการผลิต เป็นค่าเตรียมดิน 500 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ 540 บาท ค่าปุ๋ยเคมี 1,500 บาท ค่าปลูก 350 บาท ค่าเก็บเกี่ยว 700 บาท และค่าไฟฟ้า 300 บาท รวมเงินทุน 3,690 บาท พื้นที่ปลูก 35,013 ไร่ จะได้เงิน 129,197,970 บาท และเมื่อบวกลบคูณหารจากรายได้และต้นทุนการผลิต คาดว่ามีเหลือกำไรสุทธิ 212,178,780 บาทหรือเกษตรกรจะมีรายได้ 6,060 บาท ต่อไร่

ได้ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา ในพื้นที่ปลูกข้าวในเขตชลประทานที่มีศักยภาพ 893 ไร่ และพื้นที่ปลูกข้าวนอกเขตชลประทานที่มีศักยภาพ มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก 34,120 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตออกสู่ตลาด 35,000 ตัน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในฤดูแล้ง มูลค่าไม่น้อยกว่า 280 ล้านบาท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายภารกิจให้ 5 หน่วยงานหลัก ในพื้นที่ ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกันบูรณาการในพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา และมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เป็นหน่วยงานสนับสนุน เพื่อขับเคลื่อนโครงการให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

การถ่ายทอดเทคโนโลยี ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันดำเนินการถ่ายทอดความรู้ในด้านการปลูก การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาไปกระทั่งถึงการเก็บเกี่ยว และปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวโพดคุณภาพ

การปลูกภาครัฐจะสนับสนุนจัดหาแหล่งปัจจัยราคาถูกมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือร่วมจัดหาตลาดขายข้าวโพดให้ได้ในราคาที่เหมาะสม ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวโพดคุณภาพปลอดภัย ให้เกษตรกรมีรายได้นำไปสู่การยังชีพที่มั่นคง

คุณมังกร วงศ์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า ในหลายพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า มีเกษตรกรเลี้ยงวัวและควาย เฉลี่ย 1-5 ตัว ต่อราย เพื่อนำมาเป็นแรงงานภาคการเกษตร หรือซื้อขายในเชิงการค้า เพื่อพัฒนาการผลิตวัวคุณภาพ จึงสนับสนุนพ่อพันธุ์วัว 1 ตัว ให้เกษตรกรในชุมชน เพื่อนำมาผสมพันธุ์กับแม่วัวพันธุ์พื้นเมือง 30 ตัว ซึ่งเกษตรกรต้องช่วยกันเลี้ยงปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาให้พ่อพันธุ์วัวมีสุขภาพแข็งแรง

อีกด้านหนึ่งได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพด เพื่อเก็บเกี่ยวฝักแก่ขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นอาหารสัตว์และส่งเสริมการปลูกเพื่อตัดต้นสดมาเป็นอาหารวัวหรือจำหน่าย

ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อนำเมล็ดมาเป็นส่วนผสมทำเป็นอาหารสัตว์ หรือขายข้าวโพดฝักแก่ให้โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ลูกผสม อายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน มักจะปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีลักษณะทางการเกษตรคือ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกไหมและเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตและคุณภาพสูง ผลผลิตจึงเป็นที่ต้องการของตลาด

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัดต้นสด พื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิต 5-6 ตัน ขายได้ 2 บาท ต่อกิโลกรัม หรือมีรายได้ 10,000-12,000 บาท ต่อไร่ ต้นข้าวโพดที่ดูแลบำรุงรักษาดี 1 ต้น จะได้น้ำหนัก 4 กิโลกรัม

การตัดต้นข้าวโพดต้นสด จะตัดเมื่อต้นข้าวโพดอายุ 85-90 วัน ซึ่งเป็นช่วงต้นข้าวโพดติดฝักในระยะน้ำนม ประมาณ 50% ตัดแล้วนำมาสับบด ใส่ถังทำการหมักให้สมบูรณ์ จากนั้นนำไปให้วัวกิน การย่อยอาหารของวัวทำได้ง่าย ประโยชน์คือวัวจะได้รับทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ วัวมีสุขภาพแข็งแรงและเติบโตไว เป็นทางเลือกที่ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และครัวเรือนเกษตรกรมีรายได้มั่นคง

การ “ปลูกข้าวโพดหลังการทำนา…ในโครงการสานพลังประชารัฐ ลดทุน ลดเสี่ยง รายได้มั่นคง วิถียั่งยืน” เป็นการปลูกพืชเศรษฐกิจหลังฤดูทำนา ปลูกเป็นพืชหมุนเวียนเพื่อให้ดินมีคุณภาพดี ได้กำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาศัยอยู่ในดิน ทำให้ลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงด้านการผลิตและตลาด ให้เกษตรกรมั่นคงในด้านอาชีพและรายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุริยา บุญเย็น สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ โทร. 045-616-829 หรือ โทร. 085-312-5070 ก็ได้ครับ กรมวิชาการเกษตร ผลิตชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีคุมไส้เดือนฝอยรากปมระบาดพริกและฝรั่งส่งตรงเกษตรกรนำไปใช้ได้ผลแล้วกว่า 800 กิโลกรัม ตั้งเป้า ปี 63 เป็นพี่เลี้ยงหนุนเกษตรกรผลิตใช้เอง อุบลราธานีและสมุทรสาครเกษตรกรรวมกลุ่มนำร่องขอรับเทคโนโลยีผลิตใช้เองได้แล้ว

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในปี 2550 ได้เกิดปัญหาการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมอย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ มากกว่า 1,629 ไร่ ส่งผลให้พริกมีผลผลิตและคุณภาพลดลง ที่สำคัญโรครากปมสามารถแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ในเขตอื่นๆ ได้ ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดอย่างถูกวิธี เนื่องจากไส้เดือนฝอยรากปมมีพืชอาศัยที่กว้างมาก เช่น ฝรั่ง เมล่อน มัลเบอร์รี่ มันฝรั่ง และมันสำปะหลัง

ไส้เดือนฝอยรากปมเป็นศัตรูพืชที่มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า 1 ตัว สามารถสร้างกลุ่มไข่ได้ 400-500 ฟอง ภายในระยะเวลา 30 วัน จัดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญติด 1 ใน 5 อันดับที่ทำความเสียหายให้กับพืชเศรษฐกิจมากกว่า 4,500 ชนิด โดยไส้เดือนฝอยรากปมจะไปแย่งกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปเลี้ยงลำต้นได้ ทำให้ลำต้นแคระแกร็น ผลผลิตลดลง และต้นพืชตายในที่สุด

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ศึกษาวิจัยวิธีการป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยรากปมโดยชีววิธีเพื่อลดการใช้สารเคมี พบเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีผลต่อการตายของตัวอ่อน ระยะที่ 2 ของไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งถือได้ว่าเป็นระยะสำคัญที่ก่อให้พืชเป็นโรค จึงได้นำเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีมาทดสอบกับสาเหตุของโรคพืช โดยนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบการผลิตเป็นก้อนเชื้อเห็ด นำไปทดสอบด้วยวิธีรองก้นหลุมก่อนปลูกพริก พบว่า ก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสงสามารถควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ จากนั้นได้นำไปทดสอบในแปลงทดลองขนาดเล็กในสภาพโรงเรือน ด้วยวิธีรองก้นหลุมก่อนปลูกพริก พบว่า การใช้ก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสง อัตรา 10 กรัมต่อต้น มีประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมได้ดีที่สุด จึงได้ขยายผลงานวิจัยไปในแปลงปลูกพริกของเกษตรกรที่มีการระบาดของโรครากปมที่อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา

กรมวิชาการเกษตร ได้นำก้อนเชื้อเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรครากปมในพริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง มันสำปะหลัง พริกไทย และพืชผัก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรลดการใช้สารเคมี ช่วยลดต้นทุนการผลิต และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค โดย พริก มะเขือเทศ ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 10 กรัม ต่อต้น มันฝรั่ง ใช้อัตรา 220 กิโลกรัม ต่อไร่ พริกไทย ใช้อัตรา 50 กรัมต่อต้น มันสำปะหลังหว่านเชื้อเห็ดเรืองแสง อัตรา 160 กิโลกรัม ต่อไร่ พืชในวงศ์ผักชี และผักกาด ใช้อัตรา 40 กรัม ต่อตารางเมตร

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร ได้แจกจ่ายชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงให้เกษตรกรได้นำไปใช้แล้ว จำนวน 868 กิโลกรัม และได้ขยายผลโดยถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชีวภัณฑ์ให้แก่กลุ่มเกษตรกรนำไปผลิตใช้เองได้แล้วที่จังหวัดอุบลราชธานีและสมุทรสาคร โดยเกษตรกรนำไปใช้กำจัดไส้เดือนฝอยรากปมในฝรั่ง เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีเพิ่มเติมได้ ที่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร .02-579-9581

เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี เป็นเห็ดเรืองแสงชนิดหนึ่งที่มีการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ ปี 2544 ในเขตพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่โคกภูตากา อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น และได้รับพระราชทานชื่อเห็ดเรืองแสงชนิดนี้ว่า “สิรินรัศมี” มีลักษณะคล้ายเห็ดนางรม แต่จัดเป็นเห็ดพิษ ในสภาพตอนกลางวัน ก้าน ดอก และครีบมีสีขาว แต่ในสภาพกลางคืนหรือที่ไม่มีแสง ดอกเห็ดจะเปล่งแสงสีเขียวอมเหลือง

สภาพอากาศเย็นลง มีหมอกในตอนเช้า และมีฝนตกบางพื้นที่ ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟเฝ้าระวังการระบาดของโรคแอนแทรคโนส จะพบในระยะที่ต้นกาแฟเริ่มติดผลจนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต อาการที่ใบ พบได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อกลางแผลตาย ถ้ารุนแรงแผลขยายขนาดเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบแห้งไหม้ทั้งใบ อาการที่กิ่ง จะพบบนกิ่งเขียวไหม้ ทำให้ใบเหลืองและร่วง กิ่งเหี่ยวและแห้งทั้งกิ่ง อาการที่ผล พบได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่

เริ่มแรกผลจะมีจุดสีน้ำตาลเข้ม หากรุนแรง จุดขยายรวมกันเป็นแผลรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อเยื่อแผลยุบตัว กรณีพบที่ผลอ่อนจะทำให้ผลไม่พัฒนาเป็นเมล็ดและเปลี่ยนเป็นสีดำ แต่ผลยังคงติดอยู่บนกิ่งต้นกาแฟ ส่วนพบที่ผลแก่จะทำให้ผลสุกแก่เร็วขึ้น

สำหรับต้นกาแฟในระยะติดผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจและป้องกันกำจัดมอดเจาะผลกาแฟอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมอดเจาะผลกาแฟจะทำให้ผลเกิดบาดแผลที่เป็นช่องทางให้เชื้อราเข้าทำลายผลได้มากขึ้น จากนั้น เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกและเก็บผล ตัดแต่งกิ่ง ใบ ดอก และส่วนที่เป็นโรคที่ร่วงอยู่ใต้ต้น นำไปทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งควรรักษาระดับร่มเงาให้เหมาะสม เพื่อรักษาระดับความชื้นและช่วยป้องกันการเกิดโรค

กรณีพบโรคเริ่มระบาดที่บริเวณใบ กิ่ง ดอก และผลอ่อน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และควรหยุดพ่นสารเมื่อผลกาแฟเริ่มแก่จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตกาแฟเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่ม ใบ และเก็บผลที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อให้โล่ง โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดดลอดผ่านได้ จากนั้นให้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น เพื่อให้ต้นกาแฟมีความแข็งแรง

คนที่ลุกขึ้นยืนหายใจชนิดเต็มปอดพร้อมก้าวเดินด้วยสองเท้าของตัวเองไปทุกการย่างก้าวของชีวิตไม่เคยท้อ หรือยอมแพ้ ก้าวไปอย่างมั่นคง มั่นใจในทุกฝีก้าว คนนั้นคือคนที่โลกที่น่ารักน่าอยู่ใบนี้อนุญาตให้เขามีเส้นทางเดินได้อย่างมีความสุขตามที่ต้องการ มีก้าวแรกที่ออกเดินย่อมมีก้าวที่เพิ่มขึ้นๆ จึงจำเป็นอย่างมากที่ทุกก้าวต้องให้ความสำคัญพร้อมเดินไปกับหัวใจที่แกร่งเข้มแข็งตลอดเวลา ที่สำคัญอย่างมากคือต้องนำความขยันและอดทนติดตัวไปเสมอตลอดเวลา ห้ามขาดหายไปไหนอย่างเด็ดขาด สุดท้ายการเดินทางนั้นจะไม่สูญเปล่าเมื่อถึงวันหนึ่งจะเกิดเรื่องที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งแก่ชีวิต และจะได้พบกับเส้นทางที่สามารถ เดินห่าง…จากความจน ได้ตามที่ต้องการจริงๆ เพราะคุณคือนักสู้ชีวิตที่แท้จริง

สวัสดีครับแฟนๆ ขอต้อนรับด้วยคำว่า สวัสดี และขอบพระคุณอย่างมากมายจากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและผู้เขียนเป็นเบื้องแรก คอลัมน์นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแฟนๆ เรียกได้ว่าเป็นแฟนประจำ มีการส่งเสียงไปให้แรงใจ โทร. (081) 846-0652 หรือทางเฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อ สมยศ ศรีสุโร หรือ ID Line. Janyos กันอย่างต่อเนื่อง ต้องขอขอบพระคุณอีกครั้งที่ให้แรงใจกันตลอดมา รักคอลัมน์นี้เพียงน้อยๆ แต่ขอให้นานๆ นะครับ

ปักษ์นี้มีความยินดีอย่างมากที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวของเธออีกครั้ง ผู้หญิงคนนี้ที่ครบเครื่องเรื่องไส้เดือนจริงๆครับ คุณนิรัชพร ธรรมศิริ หรือ “ต่าย” เลขที่ 332/14 ถนนเทศา 2 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง กำแพงเพชร หลังจากผ่านมา 3 ปี ที่คอลัมน์นี้ได้นำเสนอเรื่องราวของเธอมาถึง 4 ปักษ์ ขอเรียนให้แฟนๆ ด้วยความเคารพทราบว่า เรื่องราวของเธอได้รับการตอบรับจากแฟนๆ เยอะมากจริงๆ เขียนได้เลยว่าทั่วประเทศจริงๆ ชนิดผมนี้ตลึงไปหมด ชนิดคิดไม่ถึง เธอบอกผมไปว่า แฟนๆ ส่วนมากที่ติดต่อไปหาเธอล้วนได้ติดตามจากคอลัมน์นี้ ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ในวันนี้ยังคงมีติดต่อมาหาชนิดต่อเนื่องตลอด

ในที่สุดผมจึงได้กลับไปเยี่ยมหาเธออีกครั้ง เพราะเธอคือผู้ประกอบการสายพันธุ์ใหม่ที่ตรงกับความต้องการของคอลัมน์นี้จริงๆ เธอมีพร้อมความขยันและอดทนอย่างเยี่ยมยอดมากๆ แม้ว่าในบางครั้งจะท้อแท้ไปบ้างแต่เธอคนนี้ขอบอกว่าไม่เคยยอมแพ้ จะสู้ และสู้ตลอดเวลา จึงสามารถทำให้เธอมีวันนี้วันที่ทำให้แฟนๆ ได้รู้จักว่าเธอคนนี้ครบเครื่องเรื่องไส้เดือนเพื่อจะได้ไปสัมผัสว่างานที่เธอตัดสินใจมอบให้กับทุกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับน้องเดือนนี้

เธอมีความคิดอะไรอีกบ้างที่ต้องการจะนำเสนอต่อแฟนๆ สมัครจีคลับ ที่สนใจในเรื่องของการเลี้ยงดูน้องเดือน และพร้อมกับต้องการให้แรงใจเธออีกด้วย เนื่องจากกำลังใจนั้นไม่ว่าจะมาจากคำพูดหรือตัวหนังสือย่อมที่มีความหมายและยิ่งใหญ่เสมอสำหรับเธอ ที่ใช้ชีวิตสนุกการเรียนรู้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

ก่อนอื่นมารู้จักกับเรื่องราวของเธอแบบย่อๆ กันก่อนนะครับ เธอเริ่มลงมือแค่เลี้ยงไส้เดือนแค่ 4 กะละมัง ในเบื้องต้น โดยใช้ไส้เดือนสายพันธุ์อัฟริกันไนต์ครอเลอร์ (AF) จำนวน 2 กิโลกรัม เมื่อปี 2548 เพื่อต้องการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ก่อนตัดสินใจ เมื่อได้สัมผัสด้วยตัวเองถึงข้อดีของไส้เดือนสายพันธุ์นี้ว่ากินอาหารเก่ง โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง ขยายพันธุ์ได้เร็ว มีลูกดก แถมตัวโต อีกทั้งเป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำไปใช้เป็นอาหารโปรตีนสำหรับเลี้ยงกบ นก และปลาได้ ส่วนมูลไส้เดือนที่ได้นั้นก็สามารถนำไปใส่ต้นไม้ หรือพืชผักได้อีกด้วย

จนมาได้ระยะเวลาหนึ่งหลังจากที่เธอได้รับทราบถึงปัญหาเรื่องราวของน้องเดือนว่ามีอะไรบ้างที่เกิดขึ้น ทั้งข้อดีข้อเสียที่ต้องนำมาแก้ไขต่อไป โดยเฉพาะประโยคนี้ที่เธอบอกผมอย่างสุดยอดจริงๆ ครับว่า “ประสบการณ์ที่ผ่านมาสามารถสอนคนได้จริงๆ นะค่ะอาจารย์” เมื่อเวลาผ่านไปจึงทำให้เธอมีความมั่นใจมากเพิ่มขึ้นในที่เกี่ยวข้องกับน้องเดือน หลังจากคอลัมน์นี้นำมาเสนอ ในที่สุดแฟนๆ ที่สนใจเรื่องราวการเลี้ยงไส้เดือนจึงได้ติดต่อมาหาเธอในทุกเรื่องราวที่เป็นข้อข้องใจ และเธอสามารถตอบได้อย่างเป็นที่ถูกใจของแฟนๆ ทุกคำตอบเช่นกัน

ต่อไปนี้คือเรื่องราวที่เธอต้องการจะมอบให้กับแฟนๆ ที่ต้องการเลี้ยงน้องเดือน ส่วนตัวเธอนั้นมีความคิดในเบื้องต้นว่า ก่อนอื่นน่าจะมี ชุดทดลองเลี้ยงไส้เดือนแบบง่ายๆ เป็นการเริ่มต้นเสียก่อน ชุดนี้เธอบอกว่าจะสามารถเหมาะกับมือใหม่หัดเลี้ยงที่คิดว่าตัวเองเลี้ยงไส้เดือนไม่ได้ จึงได้นำเสนอแนะนำให้แฟนๆ ทดลองเลี้ยงแค่นี้ดูก่อน อย่าเพิ่งรีบร้อน เพราะประสบการณ์จะสามารถสอนเราได้เสมอ ลองดูสักระยะหนึ่งเสียก่อน เพราะน้องเดือนนั้นจะเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดความชำนาญหรือทราบว่าปัญหาที่พบมีอะไรบ้าง จึงค่อยวางแผนเลี้ยงเพิ่มขึ้นหากต้องการเป็นอันดับต่อไป

ชุดทดลองเลี้ยงไส้เดือนแบบง่ายชุดนี้ของเธอ ประกอบด้วย
1. กล่องเลี้ยงสีดำ ขนาดกว้าง 20 ยาว 27 สูง 15 เซนติเมตร มีล้อ 4 ล้อเล็กๆ อยู่ด้านล่าง เจาะรูด้านข้างและด้านบน สำหรับไว้ระบายน้ำและอากาศไม่ให้อบก้าวจนเกินไป ฝาปิดพร้อมเจาะรูไว้ด้วย ที่ต้องเป็นกล่องสีดำเนื่องจากสีดำสามารถช่วยพรางแสงได้อย่างดี เนื่องจากตัวคุณเดือนนั้นชอบอยู่ในความมืดสลัว จะช่วยให้ผสมพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและจะสามารถผลิตปุ๋ยได้จำนวนมากอีกด้วย