ผู้เข้าร่วมงานประชุมควรเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับสูงในสาขา

วิชาวิทยาศาสตร์, ปศุสัตว์, หรือมีประสบการณ์การทำงานบริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะช่วยต่อยอดความคิดและสร้างไอเดียใหม่ๆ ในการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจปศุสัตว์อย่างทันสมัยต่อไป

ยิ่งไปกว่านั้นผู้เข้าร่วมงานประชุมจะได้พบปะกับผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าของอุตสาหกรรมและเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมจากทั่วเอเชีย ซึ่งนับเป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่ทรงประสิทธิภาพอย่างยิ่ง

งานประชุมวิชาการทางเทคนิคชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมสุกร, สัตว์ปีก และโคนม หรือ “Pig, Poultry & Dairy Focus Asia” (PP&DFA 2018) กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ อัตราค่าลงทะเบียนผู้ที่สนใจสามารถชำระได้ทั้งสกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐ, เงินบาทไทย และเงินปอนด์อังกฤษ

โดยมีค่าลงทะเบียนดังนี้ Pig Focus Asia หรือ Poultry Focus Asia 2018 (3 วัน) อัตราการลงทะเบียนราคาท่านละ 22,750 บาท และ Dairy Focus Asia (2 วัน) อัตราการลงทะเบียนราคาท่านละ 16,000 บาท ค่าลงทะเบียนรวมถึงค่าของว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารการประชุมทั้งหมด

พิเศษ สำหรับการลงทะเบียนเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อ คุณชนิทประภา เมนะสูต – ผู้จัดการฝ่ายขาย อาวุโส บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด โทร. 02-6700900 ต่อ 103 อีเมล์

เทศบาลตำบลทัพทัน เตรียมจัดงานวันเด็กแห่งชาติ พร้อมสอดแทรกการเรียนรู้ตามศาตร์พระราชา เพื่อให้เด็กเยาวชนได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยจะจัดขึ้นที่บริเวณศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามศาตร์พระราชา ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยเปิดให้เข้าชมสัตว์ป่าหลากหลายชนิด และเพลิดเพลินกับการแสดงบนเวทีและการตอบปัญหาชิงรางวัล

นางสรัญญา ประสงค์ดี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทัพทัน กล่าวว่า เทศบาลตำบลทัพทันได้มีความพร้อมในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติที่จะถึงวันที่ 13 มกราคมนี้ โดยได้ระดมเจ้าหน้าที่และคนงานของเทศบาล จัดสถานที่ เวที กลางเต๊นท์ ตั้งจุดบริการรองรับเด็กๆเยาวชน และผู้ปกครองที่จะพาบุตรหลานมาท่องเที่ยวในงานวันเด็กแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งปีนี้จะจัดขึ้นที่บริเวณศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ตามศาตร์พระราชา ตำบลหนองหญ้าปล้อง เขตพื้นที่เทศบาลตำบลทัพทัน อำเภอทัพทัน

จึงทำให้งานวันเด็กปีนี้มีคอนเซ็ปต์ขึ้นว่า เยาวชนไทยหัวใจสีเขียว ซึ่งการจัดงานของเทศบาลตำบลทัพทัน อาจจะแปลกไปกว่าที่อื่นที่ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่การจัดงานวันเด็กของที่นี่จะเน้นการสอดแทรกความพอเพียง เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้หลักของเกษตรทฤษฎีใหม่ตามศาสตร์พระราชา ซึ่งจะมีฐานเรียนรู้ต่างๆ เช่น เกษตรผสมผสานพืชผักสวนครัวต่างๆ แปลงนาสาธิต และฐานประมง ที่จะให้ความรู้ในการเลี้ยงปลานิล ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มอบพันธุ์ปลานิลซึ่งเป็นพันธุ์ปลาที่มีวิตามินที่ราคาถูกที่สุดให้กับคนไทย และยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนไทยมาถึงปัจจุบัน รวมทั้งฐานการเรียนรู้พลังงานแสงอาทิตย์ และฐานการเลี้ยงปศุสัตว์อื่นๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ทางเทศบาลยังเปิดโอกาสให้เด็ก เยาววชน และผู้ปกครองที่พาบุตรหลานมาท่องเที่ยวในงานวันเด็กแห่งชาติในครั้งนี้ ได้เข้าชมสวนสัตว์ขนาดย่อมๆ ซึ่งจะมีสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยได้ทำเอ็มโอยูกันไว้ว่า หากมีการเพาะพันธุ์ออกลูกออกหลานจะคืนพันธุ์สัตว์ป่าให้กับศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และมีการขยายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เช่น เก้ง กวาง กวางดาว เนื้อทราย เป็นต้น รวมทั้งจะได้เข้าชมสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เช่น แพะ แกะ และวัว ให้ได้ศึกษาเรียนรู้อีกด้วย และนอกจากจากยังมีหุ่นสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในป่าห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี อีกมากมายให้ได้เข้าชม เช่น เสือโคร่ง กระทิงป่า วัวแดง เป็นต้น

ส่วนความเพลิดเพลินสนุกสนาน ก็จะมีการจัดเวทีกลางการแสดงดนตรีของเยาวชน การแสดงของนักเรียน ซุ้มและบูธการจัดงานของหน่วยราชการต่างๆ ที่จะมาให้ความรู้ความสนุกสนาน ในการตอบปัญหาชิงรางวัล การแจกรางวัลต่างๆมากมาย รวมทั้งมีการจัดซุ้มเลี้ยงอาหารฟรี ให้แก่ผู้มาร่วมงานทุกคนอีกด้วย

ไก่โต้งเบตงลงทุน 17 ล้านบาท ส่ง “ไก่เบตง” ของดี 3 จังหวัดชายแดนใต้ ขายโมเดิร์นเทรดกลางปี 2561 ตั้งเป้าเดือนละ 6,000 ตัว รายได้เดือนละ 2 ล้านบาท เผยระบบการผลิตมาตรฐาน GMP จ่อขอเครื่องหมายฮาลาล

นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไก่โต้งเบตง ยะลา จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทางบริษัท ไก่โต้งเบตง ยะลา จำกัด ใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 17 ล้านบาท ในการผลิตแปรรูปไก่สายพันธุ์เบตงเพื่อเป็นเมนูอาหาร โดยขอกู้จากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวทางประชารัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จำนวน 7 ปี สำหรับระยะแรกเลี้ยงประมาณ 1,000 แม่พันธุ์

สำหรับโรงงานตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ ประกอบไปด้วย โรงเรือน โรงเชือด ห้องเย็น ครบวงจร ด้วยระบบการเลี้ยงทันสมัย GMP มาตรฐานอาหารปลอดภัย และต่อจากนี้เตรียมขอเครื่องหมายตราฮาลาล แต่ถึงอย่างไร ขณะนี้ในการเลี้ยงดู รักษาและเชือดโดยชาวมุสลิมอยู่แล้ว

“ในฐานะเป็นผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธุ์เบตงมาก่อนประมาณ 1 ปี จึงเห็นโอกาสที่จะพัฒนา เพราะไก่สายพันธุ์เบตงมีความต่างจากไก่พันธุ์อื่น ๆ มีเอกลักษณ์ มีแบรนด์เป็นของตนเอง ที่สำคัญคือมีผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ ที่สามารถบริโภคได้ และมีความต้องการสูง และยังสามารถทำ และขยายตลาดได้อย่างกว้างขวาง จึงมีแนวโน้มทิศทางที่ดี ในระยะต่อไปจะรวบรวมผู้เลี้ยงไก่สายพันธุ์เบตง ก่อตั้งสมาคมผู้เลี้ยงไก่เบตง เพื่อรวบรวมสมาชิก รวบรวมการเลี้ยง การผลิต การจัดจำหน่าย อย่างเป็นระบบ เพื่อการบริหารจัดการทางด้านการตลาดดีมานด์ซัพพลายได้อย่างถูกทิศทาง” นายเกรียงศักดิ์กล่าว

นายเกรียงศักดิ์กล่าวอีกว่า ขณะนี้ไก่เบตงอยู่ระหว่างการเลี้ยง คาดว่าประมาณกลางปี 2561 สินค้าจะออกสู่ตลาด โดยวางจำหน่ายตามห้างโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศ เช่น เทสโก้ โลตัส บิ๊กซี และแม็คโคร เป็นต้น มีเป้าหมายประมาณ 6,000 ตัว/เดือน วันละ 200 ตัว โดยแต่ละตัวขนาดน้ำหนัก 1.50-1.80 กิโลกรัม ราคาประมาณ 250 บาท/กิโลกรัม ซึ่งสามารถทำเงินกว่า 2 ล้านบาท/เดือน และจะทำรายได้กว่า 240 ล้านบาท/ปี

สำหรับไก่สายพันธุ์เบตง จังหวัดยะลา เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดยะลา มีความแตกจากสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วยเนื้อนุ่ม รสหวาน หนังกรอบ เป็นเมนูอาหารโปรตีน และการเลี้ยงไก่สายพันธุ์เบตง จะเป็นทางเลือกของคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะสร้างรายได้ที่ดี เพราะขณะนี้ปริมาณไก่สายพันธุ์เบตง ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งต่อไปผู้บริโภคไม่ต้องเดินทางมารับประทานไก่เบตงถึงยะลา ก็สามารถหาซื้อได้ตามห้างโมเดิร์นเทรดใกล้บ้านได้

เปิดแล้ว !! กยท. รับเพิ่มผู้ร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางฯพร้อมชดเชยดอกเบี้ย เน้นดูดซับปริมาณ – กระตุ้นการแปรรูปยางในประเทศ

กยท. เปิดรับสมัครผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯ วงเงิน 15,000 ล้านบาท เพิ่มเติม พร้อมชดเชยดอกเบี้ยแก่ผู้ประกอบการฯ มุ่งเน้นให้เกิดการดูดซับปริมาณผลผลิตยางในตลาด พร้อมทั้งกระตุ้นการนำยางในประเทศมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มมูลค่า

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ครม. มีมติเห็นชอบให้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 15,000 ล้านบาท (เพิ่มเติม) เพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ครอบคลุมการใช้จ่ายในส่วนของค่าที่ดินและค่าก่อสร้างอาคารแก่ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายน้ำ โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการร้อยละ 3 ตลอดระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2559 – 2564 สำหรับปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 29 ราย และได้รับอนุมัติสินเชื่อจำนวน 16 ราย วงเงินประมาณ 8,887 ล้านบาท ซึ่งสามารถดูดซับปริมาณยางในตลาดไปใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางได้ถึง 35,550 ตัน

“โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง มีวงเงินสินเชื่อคงเหลือประมาณ 6,113 ล้านบาท กยท. จึงเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเติม ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2561 โดยใช้หลักเกณฑ์ เงื่อนไขเดิม ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับสินเชื่อได้จากธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารสามารถเข้าร่วมโครงการได้”

นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยมากกว่า ร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว โดยต้องเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางประเภทต่าง ๆ ทั้งจากน้ำยางข้นและยางแห้ง เน้นการนำผลผลิตยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพื่อมูลค่ายางให้สูงขึ้น ซึ่งการยางแห่งประเทศไทยให้การรับรอง เช่น ถุงมือยาง ยางยืด ยางล้อ ยางที่ใช้ในด้านวิศกรรม โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับสนับสนุนสินเชื่อ จะต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยาง 4 ตันต่อปี/เงินลงทุน 1 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถยื่นคำขอพร้อมเอกสารที่ การยางแห่งประเทศไทย ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-940-5712

“โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางฯ เป็นอีกโครงการซึ่งดำเนินการตามนโยบายดูดซับปริมาณยาง ที่เร่งรัดให้มีการเพิ่มปริมาณการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางภายในประเทศ เป็นกลไกที่ช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคาและความยั่งยืนในการประกอบอาชีพการทำสวนยางอีกทางหนึ่ง” รองผู้ว่าการ กยท. กล่าวทิ้งท้าย

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กล่าวถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวไทยในปี 2560 ที่ผ่านมา ว่า ส่งออกได้มาถึง 11.48 ล้านตัน ถือเป็นการส่งออกข้าวที่สูงสุดในประวัติการณ์ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.88% จากปีก่อน รวมมูลค่ากว่า 5,106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน่าจะทำให้ไทยสามารถเป็นผู้นำการส่งออกข้าวของโลกได้

ส่วนในปี 2561 นี้ คาดว่าการส่งออกข้าวน่าจะได้ถึง 9.5 ล้านตัน รวมมูลค่า 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปีนี้ผลผลิตข้าวมีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากสภาพอากาศ ประกอบกับรัฐได้ระบายข้าวในสต๊อกออกหมดแล้ว ทำให้ลดแรงกดดันด้านราคาได้

นอกจากนี้ ในปีนี้กรมยังมีแผนจะขยายตลาดข้าวไปต่างประเทศ ด้วยการเจรจาเพื่อซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ โดยขณะนี้ ไทยกับรัฐบาลจีนมีสัญญาซื้อขายข้าวกับ COFCO ปริมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งได้ส่งมอบไปแล้วกว่า 4 แสนตัน และขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงราคาข้าวงวดที่ 5 ปริมาณ 1 แสนตัน ส่วนของบังคลาเทศนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมการลงนามในสัญญาซื้อขายข้าวปริมาณ 150,000 ตัน และคาดว่าจะเริ่มส่งมอบได้ในต้นปีนี้ และการรักษาความสัมพันธ์ทางการค้าเพื่อรักษาตลาดเดิมและเพิ่มตลาดใหม่ให้กับประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไนจีเรีย อิรัก

รวมทั้งจัดคณะผู้แทนภาคการค้าภาครัฐและภาคเอกชนไปเจรจาขยายตลาดข้าวกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสำคัญๆ ที่จัดขึ้นทั่วภูมิภาคของโลกและการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร ซูเปอร์มาร์เก็ต โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กว่า 15 โครงการ ในตลาดสำคัญ ทั่วโลก เช่น จีน ไต้หวัน สเปน อิตาลี เยอรมัน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก เปรู ชิลี

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง “การบริหารจัดการโรคและแมลงศัตรูกุหลาบ และผักโดยชีววิธี” ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริงและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ (ศช.) มีหน้าที่สำคัญในการวิจัยและพัฒนา วิจัยส่งเสริมขั้นพื้นฐานและขั้นประยุกต์ รวมทั้งการฝึกอบรม

การบริการด้านการส่งเสริมและที่ปรึกษาการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี และการบริหารศัตรูพืชแบบบูรภาพเพื่อคงไว้ซึ่งการเป็นผู้นำทางด้านการบริหารศัตรูพืชที่มีพื้นฐานด้านชีววิทยา และการควบคุมการจัดการแมลงศัตรูพืช วัชพืช และแมลงพาหะที่มีความสำคัญทางการเกษตร การแพทย์ และสาธารณสุขโดยไม่ใช้สารเคมีเพื่อลดภาวะในสภาพแวดล้อม

เนื่องมาจากสารกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร โดยทางศูนย์ฯได้กำหนดจัดการอบรมเรื่อง “การบริหารจัดการโรคและแมลงศัตรูกุหลาบโดยชีววิธี” ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง “การบริหารจัดการโรคและแมลงศัตรูผักโดยชีววิธี” ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการนำความรู้ด้านการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีไปเผยแพร่และถ่ายทอดให้ผู้รับการอบรม ได้มีความรู้เรื่องการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี สามารถเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติและเพาะขยายเชื้อราปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช เพื่อการผลิตพืชคุณภาพสูง ปลอดภัยแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมกับการติดตามการใช้ชีวภัณฑ์

วช. โดยกลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ ได้เห็นถึงความสำคัญของโครงการดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่อง “การบริหารจัดการโรคและแมลงศัตรูกุหลาบ และผักโดยชีววิธี” เพื่อให้สื่อมวลชนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวและเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงาน และกิจกรรมดังกล่าว ไปสู่ชุมชนและสาธารณชนเพื่อให้ได้ทราบและนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อไป

หรอยจังฮู้…“น้ำพริกเนื้อแพะ” รสเด็ด!หนึ่งเดียวในตรัง สูตรปากีสถานดั้งเดิม และสูตรสมุนไพร จิ้มกับโรตี กินกับขนมปัง คลุกข้าวสวยร้อนๆ ก็อร่อย วันนี้ต่อยอดเตรียมขยับทำเป็นธุรกิจส่งขายในตลาด ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มพี่น้องมุสลิมเป็นของขายดีรายได้งาม ยอดออเดอร์สั่งจองผลิตไม่ทัน

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดตรัง englishdefenceleague.org ได้เดินทางไปที่ฟาร์มแพะซาชา ม.7 ต.บางเป้า อ.กันตัง จ.ตรัง วันนี้ 10 ม.ค. 61 พบ นายสุดดีน ซาชา อายุ 42 ปี ชาว ต.บางเป้า อ.กันตัง จ.ตรัง ลูกชายเจ้าของฟาร์มแพะ เกษตรกรหนุ่มชาวมุสลิม สืบเชื้อสายมาจากปากีสถาน ทำฟาร์มเลี้ยงแพะยึดเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ทำครบวงจรตั้งแต่ขายแม่พันธุ์พ่อพันธุ์แพะหลากหลายสายพันธุ์ ชำแหละเนื้อขายและรับสั่งทำเมนูต่างๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ และรีดนมแพะขายด้วย ฟาร์มแห่งนี้ใหญ่สุดเป็นที่รู้จักของคนทั่วเมืองตรัง

นายสุดดีน หรือ บังดีน เผยว่า ถึงตอนนี้ ทางฟาร์มซาชาได้ต่อยอดทำ “น้ำพริกเนื้อแพะ” เป็นสูตรดั้งเดิมของที่บ้านตั้งแต่นานมาแล้ว สูตรปากีสถานดั้งเดิม และสูตรสมุนไพร ได้รับการถ่ายทอดความรู้และสั่งสมประสบการณ์จากคุณแม่ นางบีบีอาเสี้ยะ ซาชา อายุ 67 ปี จึงได้ปรับปรุงสูตรมาเรื่อยๆ ทำทานกันเองอยู่แล้วที่บ้าน ต่อมา “บังดีน” ได้ไปเข้าบรมหลักสูตรด้านปศุสัตว์เกี่ยวกับเลี้ยงแพะ และก่อนจบหลักสูตรให้คิดค้นทำโปรเจ็คผลิตภัณฑ์มาอย่างหนึ่งเกี่ยวกับชิ้นส่วนของแพะ

“ที่ผ่านมาผมเห็นเขาทำกันหลายอย่างแล้ว เช่น แกงแพะ มัสมั่นแพะ ต้มซุปแพะ แพะหั่นย่าง ผมคิดว่าคนใต้บ้านเราชอบทานน้ำพริก จึงคิดทำน้ำพริกเนื้อแพะ คิดว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าของเนื้อแพะได้อีกทางหนึ่ง เพราะเราสามารถพกพาติดตัวไปที่ต่างๆได้ เช่น เดินทางไปต่างประเทศ อย่างประเทศซาอุดิอาระเบีย ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ทำมาประมาณ 2 ปี กว่าๆ ลองผิดลองถูกมาก็หลายครั้ง ปรับปรุงมาตลอดจนได้รสชาติที่พอใจลงตัวคงเดิมที่สุด”

ตอนแรกทำตาม order ที่สั่งไม่ได้ทำวางจำหน่าย เพราะจะมีราคาค่อนข้างสูง ลูกค้าอาจจะมองว่าราคาสูงเกินไป แต่คุณภาพจะดีกว่าน้ำพริกอื่นๆ เพราะเป็นเนื้อแพะล้วนๆ ส่วนผสมประกอบด้วย พริกสดบดละเอียด มะเขือเทศปั่น หอมแดงปั่น น้ำตาลแว่นตาลโตนด และวัถุดิบต่างๆ ตั้งไฟผัดปรุงจนแห้งตามสูตรที่ต้องการกินแล้วได้รสชาติจะเอารสหวาน เผ็ดมาก เผ็ดน้อย สามารถนำไปรังสรรค์ทำเมนูได้หลายอย่าง เช่น จิ้มกับโรตี กินกับขนมปัง หรือจะทานกับข้าวสวยร้อนๆ ก็อร่อย

นายสุดดีน หรือ “บังดีน” เล่าว่า ตอนนี้ทางฟาร์มได้ทำเป็นแพ็คเกจ และทำเป็นถุงที่ซีลด้วยสุญญากาศ สามารถเก็บได้นานเพราะน้ำพริกแพะไม่ใส่สารกันบูด ถ้าแบบกระปุกสามารถเก็บได้ประมาณ 10 วัน ถ้าเก็บในตู้เย็นสามารถเก็บได้ประมาณหนึ่งเดือน…น้ำพริกเนื้อแพะ หนึ่งเดียวตรัง รับทำตามออเดอร์ (order) ลูกค้าจะเอารสชาติแบบไหน สามารถบอกได้เลย แวะเที่ยว มาเยี่ยวตรัง ลองแวะมาฟาร์มแพะซาชา ชิมน้ำพริกเนื้อแพะ หร๊อยจังฮู้!!!….โทรติดต่อสอบถามได้ที่ 081-2726028 (บังดีน)

การปรับคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 5 ที่ผ่านมา ชื่อ “ชุติมา บุณยประภัศร” หรือ “รมช.ปาน” กลายเป็นรัฐมนตรีหญิงเพียงหนึ่งเดียวใน ครม. ด้วยสไตล์การทำงานถึงลูกถึงคน กล้าพูด-กล้าคิด-กล้าตัดสินใจ ทำให้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นับตั้งแต่เกษียณราชการจากตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์เมื่อปี 2559 ก่อนจะโยกกลับมาเป็น “รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์” “ประชาชาติธุรกิจ” มีโอกาสสัมภาษณ์หลักคิดการทำงานรวมถึงเส้นทางสู่รัฐมนตรีหญิงเพียงหนึ่งเดียวใน ครม.ประยุทธ์ 5

“ไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน แต่พอมีกระแสแรงมากขึ้น ได้คุยกับ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ถ้าท่านฉัตรชัยไม่อยู่แล้ว ดิฉันก็ไม่อยู่เหมือนกัน (หัวเราะ) ซึ่งตอนที่นายกฯให้ทุกคนเขียนถึงคุณสมบัติของแต่ละคน ก็ไม่ได้ขอมากระทรวงนี้ แต่นายกฯจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเองว่าจะให้ใครไปอยู่ตำแหน่งอะไร”

หลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ ชุติมาได้รับโจทย์ใหญ่ จากนายกฯในทันทีว่า “ขอให้ทำให้ราคาสินค้าเกษตรให้ดีขึ้น” รมช.ชุติมามองว่า หากราคาสินค้าเกษตรจะดี สินค้าต้องดีด้วย เรื่องนี้มีกระทรวงที่เกี่ยวข้องถึงสองกระทรวงคือ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งนายกฯมีความหวังกับราคาสินค้าเกษตรมาก โดยเฉพาะข้าว