ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มมีหน้าที่ต้องดูแลลูกกลุ่ม ถ้าใครฝ่าฝืน

นำสารเคมีมาใช้จะถูกตัดออกทันที เพราะทุกวันนี้เกษตรกรส่วนใหญ่มักง่าย จะนิยมใช้สารเคมีต่างๆ ในการทำนาข้าว เพราะง่าย สะดวกดี หรือพูดง่ายๆ ว่า ขี้เกียจ เอาง่ายเข้าไว้ ดังนั้น การผลิตข้าวทุกวันนี้มีสารเคมีปนเปื้อนมากมาย ทั้งลงไปในท้องนา กุ้ง หอย ปู ปลา ตายหมด แทบไม่มีให้เก็บกิน ต่างใช้สารเคมีซึ่งมีพิษรุนแรง พ่นฆ่าเพลี้ย ฆ่าหนอนที่มากัดกินข้าว

แถมพิษของสารเคมีเหล่านั้นยังตกมาถึงคนทำนาและคนกินข้าวด้วย บ้างก็พูดว่า พ่นแต่ภายนอก เวลาสีข้าวเอาเปลือกข้าวออกแล้ว เมล็ดข้าวสารไม่มีสารเคมีติดมาหรอก ชาวนาเขาพูดกันแบบนี้ อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ ยังไม่มีนักวิจัยคนไหนออกมายืนยันให้แน่ชัด ชาวบ้านซื้อข้าวกินก็ฝืนกินกันต่อไปแล้วแต่โชคชะตาก็แล้วกัน

ด้วยเหตุนี้ คนรุ่นใหม่จึงหันมาช่วยกันห้ามปรามแก้ไข…ขณะเดียวกันก็ให้ทำนาแบบอินทรีย์เช่นเดียวกับ คุณไพฑูรย์ ฝางคำ หัวหน้ากลุ่มเกษตรอินทรีย์แห่งตำบลผักไหม

คุณไพฑูรย์ อยู่ในวัย 40 ปีเศษ เรียกว่าเป็น Young smart farmer เต็มตัว คุณไพฑูรย์ มีที่นาทั้งหมด 40 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของพ่อแม่ ส่วนที่ทำนาอีก 10 ไร่ แบ่งเป็นไร่นาสวนผสม มีครบทุกอย่าง ทั้งฟาร์มไก่ โค กระบือ บ่อเลี้ยงปลาทับทิม เรียกว่าแทบไม่ต้องไปตลาดสด เพราะในสวนมีครบ ไข่ไก่ ไข่เป็ด ก็ไม่ต้องซื้อ เก็บมาทอดให้ลูกๆ กินเป็นอาหารประจำวันก่อนไปโรงเรียน กล้วย มะม่วง มะนาว ก็มีครบ คุณไพฑูรย์มีครอบครัวอบอุ่น พ่อแม่ซึ่งก็อยู่ในวัยชรา 70 กว่าปี แต่คนแก่ในชนบทเขาทำงานไหว

พ่อคุณไพฑูรย์เลี้ยงวัวทั้งหมด 30 กว่าตัว ปีหนึ่งก็ขายได้ เรียกได้ว่าครอบครัวเกษตรกรอย่างคุณไพฑูรย์ไม่เดือดร้อนอะไรมาก หนี้สินก็มีเพียงน้อยนิด แต่รายได้หลักคือ การขายข้าวเปลือกเมล็ดพันธุ์ให้สหกรณ์ คำนวณง่ายๆ 1 ไร่ จะได้ข้าวเปลือกเมล็ดพันธุ์หอมมะลิ ประมาณ 400 กิโลกรัม 40 ไร่ ก็จะได้ 16,000-20,000 กิโลกรัม ขายได้กิโลกรัมละ 22 บาท

จะได้เงินประมาณ 400,000 กว่าบาท หักต้นทุนออกไปครึ่งหนึ่งก็จะเหลือประมาณ 200,000 บาท ต่อปี เพราะข้าวหอมมะลิเมล็ดพันธุ์จะทำได้ปีละครั้งเท่านั้น เพราะเป็นข้าวนาปี พอเกี่ยวข้าวออกแล้วก็จะลงพืชไร่ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เพราะเป็นพืชใช้น้ำน้อย ถั่วเหลือง 20 ไร่ ถั่วเขียว 20 ไร่ พืชตระกูลถั่วจะช่วยเรื่องฟื้นฟูดินให้มีปุ๋ยอินทรีย์ แม้จะได้น้อย ถั่วเหลือง จะได้ไร่ละ 300 กิโลกรัม 20 ไร่ จะได้ 6,000 กิโลกรัม ขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท หักต้นทุนต่างๆ ออก ก็เหลือเงินเก็บอยู่มากเหมือนกัน เรียกว่าผืนดิน 40 ไร่ ไม่มีวันหยุด

อยากได้ข้อมูลเรื่องการปลูกข้าวหอมมะลิทำเมล็ดพันธุ์ ติดต่อ คุณไพฑูรย์ ฝางคำ ได้ที่ โทร. 081-579-3108 วิธีปลูกข้าวหอมมะลิ เพื่อทำเมล็ดพันธุ์

โดยทั่วไปขั้นตอนการปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ตามหลัก GAP ที่บริษัทแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติ เริ่มจากการคัดเลือกพื้นที่ปลูกข้าว เพราะสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิ จะต้องมีค่า pH ประมาณ 5.5-6.5 ภายใน 3 ปี เกษตรกรจะต้องคอยวิเคราะห์ดินอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดิน

นอกจากนี้ เกษตรกรต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ตรงตามสายพันธุ์ ที่มีอัตราความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดยนาหว่านข้าวแห้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์ ประมาณ 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนนาปักดำมือ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 6-8 กิโลกรัม ต่อไร่

การเตรียมดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิ 105 สำหรับนาหว่านข้าวแห้ง เกษตรกรจะไถพรวน ผาล 3-6 ให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร เพื่อกลบตอซัง พลิกดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ และหว่านเมล็ดข้าวในอัตรา 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยหว่านให้สม่ำเสมอและกระจายทั่วทั้งแปลง จากนั้นจะใช้โรตารี่ปั่นตีดินในสภาพดินแห้ง ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อกลบเมล็ดข้าวที่หว่านไว้ให้แน่นพอเหมาะ และกระจายตัวสม่ำเสมอ หรือใช้รถไถเดินตาม ผาล 2 ไถกลบเมล็ดข้าวที่หว่านไว้ แล้วจึงใช้คราดเกลี่ยดินเพื่อให้ได้ระดับเดียวกัน เหมาะสมต่อการงอกของข้าว

ด้าน นาปักดำมือ การเตรียมแปลงตกกล้า ชาวนาจะไถพรวน ผาล 3-6 ทิ้งไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้นขังน้ำให้ได้ประมาณ 3 เซนติเมตร ไถพรวน ผาล 2 แล้วคราดดินให้ละเอียด เพาะเมล็ดให้งอกตุ่มตายาว 1-2 มิลลิเมตร หว่านเมล็ดพันธุ์ที่งอกแล้ว ค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำจนต้นกล้าข้าวอายุ 25-30 วัน จึงนำไปปักดำได้ ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ในอัตรา 1.5 กิโลกรัม ต่อไร่ ก่อนถอนกล้า 5-7 วัน เพื่อให้ง่ายต่อการถอน

ส่วนการเตรียมแปลงเพื่อการปักดำมือ ชาวนาจะใช้วิธีการไถพรวน ผาล 3-6 ทิ้งไว้ 7-10 วัน หลังจากนั้น ขังน้ำให้ได้ ประมาณ 3 เซนติเมตร ไถพรวน ผาล 3-6 อีกครั้ง แล้วคราดดินให้ละเอียด ขังน้ำให้ได้ประมาณ 3-5 เซนติเมตร และรอปักดำ สำหรับพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จะใช้วิธีปักดำที่ระยะ 25×25 เซนติเมตร ชาวนาจะถอนกล้าโดยไม่ต้องตัดใบและไม่ฟาดมัดกล้า เพราะจะทำให้ต้นกล้าช้ำ นำต้นกล้าที่เตรียมไว้ไปปักดำ 3-5 ต้น ต่อกอ ลึก 3-5 เซนติเมตร ระดับน้ำขณะปักดำต้องไม่เกิน 10 เซนติเมตร

การใช้ปุ๋ย เกษตรกรบอกว่า จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นก่อน ให้ใส่ก่อนไถพรวน ผาล 3-6 โดยใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 40-50 กิโลกรัม ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สำหรับนาหว่านข้าวแห้ง ต้องใส่ในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ (ต้นเดือนสิงหาคม) โดยใช้ปุ๋ย สูตร 16-16-8 ในอัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับนาดินทราย หรือสูตร 16-20-0 (นาดินเหนียว) ส่วนนาปักดำมือ ให้ใส่หลังปักดำ 10-12 วัน หรือในช่วงที่ข้าวเริ่มแตกกอ โดยใช้ปุ๋ย สูตร 16-16-8 ในอัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ สำหรับนาดินทราย หรือสูตร 16-20-0 (นาดินเหนียว)

ขณะที่การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ชาวนาจะใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกดอก ประมาณ 30 วัน (ประมาณ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี) โดยใช้ปุ๋ย สูตร 46-0-0 ในอัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยจะต้องมีน้ำขังในแปลงนา ประมาณ 3-8 เซนติเมตร เพื่อให้ข้าวสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อรักษาคุณภาพข้าวพันธุ์ดี กลุ่มเพื่อนชาวนาจะใส่ใจดูแลการตัดข้าวปน โดยสำรวจต้นข้าวใน 2 ระยะ คือ ระยะแตกกอ โดยตรวจดูลักษณะการแตกกอ การชูใบ ขนาดความสูงของใบ หากพบต้นผิดปกติให้ถอนทิ้งทันที ส่วนระยะออกดอกก็ต้องคอยตรวจดูความสูงของต้นข้าวในระยะออกดอก การออกดอกก่อนหรือหลัง ลักษณะของดอก สี ขนาดของเกสรตัวผู้ ถ้าพบต้นผิดปกติให้ตัดทิ้งทันทีเช่นกัน

ส่วนขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ต้องทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยบันทึกวันออกดอก (เมื่อข้าวออกดอก ร้อยละ 80 ของแปลง) การกำหนดวันเก็บเกี่ยว จะนับจากวันออกดอกไปไม่น้อยกว่า 25 วัน และไม่เกิน 35 วัน เพราะการเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ได้น้ำหนักเมล็ดสูง เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดดี และมีคุณภาพการสีดี

ก่อนเก็บเกี่ยว ประมาณ 10 วัน ชาวนาในชุมชนแห่งนี้จะระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน ทุกวันนี้ชาวนาส่วนใหญ่นิยมใช้รถเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อประหยัดเวลาและต้นทุนแรงงาน ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ ทำให้ข้าวร่วงหล่นน้อย ภายหลังการเก็บเกี่ยวที่นี่จะไม่นิยมเผาฟางหลังการทำนา แต่จะใช้วิธีการไถกลบตอซัง พอฝนตกลงมา ตอซังที่ไถกลบก็จะย่อยสลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินต่อไป

แตงโมยักษ์ไต้หวัน ปลูกมากที่จังหวัดอิ๋นหลิน (Yunlin) ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของไต้หวัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของไต้หวัน พื้นที่ปลูกเฉพาะจังหวัดอิ๋นหลิน ประมาณ 6,250 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ 16,000 ตัน โดยมีช่วงฤดูกาลปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนสิงหาคมของทุกปี สภาพพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย

ลักษณะเด่น จัดเป็นแตงโมขนาดผลใหญ่ หากมีการบำรุงรักษาที่ดี น้ำหนักผลจะมีน้ำหนักได้ถึง 20 กิโลกรัม รูปทรงผลรีคล้ายลูกรักบี้ เปลือกมีสีเขียวอ่อนและมีลายทั่วผล เนื้อมีสีแดงเข้ม การขายผลผลิตแตงโมยักษ์ในไต้หวันแบบยกผล จะมีราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 15-20 บาท

การเพาะกล้า นำเมล็ดแตงโมมาแช่ในน้ำอุ่น นานประมาณ 30 นาที จากนั้นให้นำเมล็ดมาบ่มในผ้าขาวบางที่เก็บความชื้นเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ประมาณ 2-3 วัน เมล็ดจะเริ่มแทงรากออกมา นำเมล็ดไปเพาะในกระบะเพาะกล้า รดน้ำทุกวัน จนต้นกล้ามีอายุได้ 10-13 วัน จึงย้ายต้นกล้าแตงโมยักษ์ลงปลูกในแปลง

การเตรียมแปลง ขึ้นแปลงแบบคู่กัน โดยให้มีความกว้างของแปลง ประมาณ 1 เมตร สำหรับความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แปลงปลูกแตงโมแต่ละคู่จะให้ห่างกัน ประมาณ 7-10 เมตร ก่อนย้ายต้นกล้าลงปลูกควรจะรองก้นหลุมด้วยสารสตาร์เกิล จี อัตรา 2 กรัม ต่อหลุม

การไว้เถาและการเด็ดตาข้าง หลังจากที่ปลูกต้นกล้าแตงโมยักษ์ลงแปลง มีการแตกใบใหม่ออกมา 2-3 ใบ ให้เด็ดยอดแตงโมออก เพื่อให้แตกออกเป็น 2 ตา ในการเด็ดตาข้าง จะเด็ดตาข้างตั้งแต่ตาข้างที่ 1-19 ของทั้ง 2 เถา

เกษตรกรรม เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน อาจเรียกได้ว่าอยู่ในสายเลือดของคนไทยทุกคนก็ว่าได้ เพราะอย่างน้อยผู้ที่อาศัยอยู่ยังต่างจังหวัด ก็จะต้องเห็นการทำกสิกรรมของเกษตรกรในทุกสาขา เพื่อเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว และยังสร้างแหล่งของอาหารเลี้ยงทั้งคนในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย

จึงทำให้เป็นงานในความฝันของใครหลายๆ คน ที่จะได้ทำอาชีพทางด้านนี้ เพราะไม่เพียงได้อยู่กับธรรมชาติ แต่กลับสร้างความสุขให้กับผู้ได้ทำอาชีพด้านนี้อีกด้วย เหมือนเช่น คุณธีร์วศิษฐ์ วงค์ปัญญา เจ้าของ ไร่ปลูกฝัน หมู่ที่ 9 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผันชีวิตมาทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพ สามารถสร้างรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญความสุขที่เขามีก็เต็มเปี่ยมล้นใจด้วยเช่นกันทีเดียว

คุณธีร์วศิษฐ์ หนุ่มคลื่นลูกใหม่ไฟแรง วัย 27 ปี เล่าให้ฟังว่า เมื่อได้เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้มีโอกาสเข้าทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาบริษัทเกิดปัญหาทำให้ต้องปิดกิจการลง ทำให้เขาต้องถูกเลิกจ้างจากบริษัทในขณะนั้นทันที จึงได้กลับมาอยู่บ้านและมีความคิดที่อยากจะสร้างอาชีพอิสระเป็นของตนเอง โดยไม่กลับไปเป็นลูกจ้างเหมือนที่เคย

“ช่วงที่มาอยู่บ้านก็สมัครงาน หางานทิ้งไว้เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่มีที่ไหนติดต่อมา ก็เลยรู้สึกว่าไม่อยากที่จะกลับไปอยู่ในวังวนเดิมๆ เพราะถ้าจะไปทำที่กรุงเทพฯ ก็ไกลบ้านไม่ได้อยู่ใกล้ครอบครัว ที่นี้ก็มามองดูว่า มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้ ในที่ดินของเราเอง เพราะส่วนตัวผมเองชอบทำการเกษตรอยู่แล้ว จึงได้ตัดสินใจที่อยากจะทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผักในแบบที่ฝันไว้อย่างตั้งใจแน่วแน่ จะทำกับสิ่งนี้มาตลอดสมัยยังเด็กคือชีวิตเกษตรกร” คุณธีร์วศิษฐ์ เล่าถึงที่มา

ในช่วงแรกที่เริ่มวิถีชีวิตเกษตรกรใหม่ๆ เขาบอกว่ายังจับต้นชนปลายไม่ค่อยถูกมากนัก โดยเน้นผลิตผักสวนครัวเพียงอย่างเดียว ที่เป็นชนนิดเดียวตลาดยังไม่สอดคล้อง ต่อมาจึงเป็นกังวลในเรื่องของตลาดจึงได้ตัดสินใจสำรวจตลาด เพื่อวางแผนผลิตให้ตรงกับกลุ่มลูกค้า โดยเน้นทำการค้าแบบตลาดนำโดยไม่ปลูกพืชตามใจตนเอง ทำให้เขามีการปลูกพืชหลากหลายมากขึ้นและที่สำคัญตลาดมีความต้องการอีกด้วย

ในเรื่องของการทำสวนที่เป็นอาชีพสำหรับสร้างรายได้ของคุณธีร์วศิษฐ์นั้น เขาบอกว่า มีการจัดสรรแบ่งพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำแบบเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อมาปรับใช้กับที่ดินของตนเอง

โดยแบ่งเป็นพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ พื้นที่แปลงผัก และสร้างโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าไม้ และอนาคตได้คิดวางแผนไว้ว่าจะมีพื้นที่ปลูกข้าว สำหรับเป็นผลผลิตอินทรีย์ตอบโจทย์ให้กับลูกค้าอีกด้วย

“วิธีการเตรียมแปลง สำหรับปลูกผักที่สวนผม เริ่มแรกก็จะตากดินก่อนประมาณ 7-10 วัน จากนั้นก็จะย่อยดินให้เป็นเม็ดเล็กๆ พร้อมกับผสมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ขี้เถ้าแกลบลงไปด้วย เพื่อให้ดินภายในแปลงระบายอากาศได้ดี เพราะว่าดินในแปลงผมมันมีลักษณะเป็นดินเหนียว จึงจำเป็นต้องเพิ่มอินทรียวัตถุเหล่านี้ลงไปช่วย ก็จะทำให้สภาพดินในแปลงจากที่ดินเหนียว มีความร่วนซุยระบายน้ำอากาศได้ดี และรากของพืชสามารถชอนไชได้ดี พืชก็จะเจริญเติบโตให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ” คุณธีร์วศิษฐ์ บอก

ซึ่งแปลงสำหรับปลูกผักภายในสวน คุณธีร์วศิษฐ์ บอกว่า จะยกร่องให้แปลงมีความสูง 15-20 เซนติเมตร มีความกว้างที่ 1 เมตร ความยาวแปลงอยู่ที่ 10-12 เมตร เมื่อแปลงที่เตรียมไว้ได้ระยะเวลาที่กำหนด จากนั้นจะนำต้นกล้าผักที่เพาะไว้มาปลูกลงภายในแปลง เช่น ต้นกล้าผักสลัด ต้นกล้าพริก ต้นกล้ามะเขือ แต่ถ้าเป็นผักพวกคะน้า กวางตุ้ง จะใช้วิธีหว่านลงไปภายในแปลง เมื่อผักเริ่มงอกจุดไหนที่เห็นว่าหนาแน่นจนเกินไปจะนำไปปลูกตรงบริเวณอื่น เพื่อจัดระยะการปลูกให้เหมาะสม

โดยกล้าผักสลัดอายุก่อนปลูกลงแปลงอยู่ที่ 20 วัน ส่วนกล้าของพริกมะเขือ ก่อนที่จะปลูกลงแปลงจะเพาะให้มีอายุอยู่ที่ 1-1.5 เดือน

“ระยะห่างระหว่างต้นมะเขือและพริกอยู่ที่ 40-50 เซนติเมตร ส่วนผักสลัดจะให้มีระยะห่างประมาณ 1 คืบ โดยปลูกให้เป็นสลับฟันปลาเพื่อให้จำนวนปลูกในหนึ่งแปลงได้จำนวนมากขึ้น หลังปลูกเสร็จแล้วก็จะรดน้ำตามปกติ ถ้าวันนั้นสภาพอากาศดี แต่ถ้าวันไหนร้อนมากเกินไป ก็จะรดน้ำมาขึ้นในช่วงเที่ยงด้วย การดูแลเมื่อปลูกได้สัก 7 วัน ก็จะมีการใส่ปุ๋ยยูเรียเข้ามาช่วยสำหรับพืชกินใบเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าเป็นพืชให้ผล เช่น มะเขือ พริก ช่วงแรกจะใส่สูตรเสมอ 15-15-15 ก่อน พอเริ่มจะติดดอกให้ผลก็จะเปลี่ยนเป็นสูตร 8-24-24 อัตราส่วนที่ใช้ก็ประมาณ 300-400 กรัม ต่อแปลง จากนั้นก็รอเก็บผลผลิตขายต่อไป” คุณธีร์วศิษฐ์ บอก

การดูแลป้องกันโรคและแมลงนั้น คุณธีร์วศิษฐ์ เล่าว่า จะเน้นฉีดพ่นด้วยสารชีววิถีที่เป็นมิตรกับตัวเขาเอง โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าและเชื้อราขาวบิวเวอเรีย เข้ามาช่วยโดยจะให้มีประสิทธิภาพที่ดีนั้น จะต้องเน้นฉีดพ่นในช่วงที่เวลาเย็นหรือเวลากลางคืน เพราะจะทำให้เชื้อรามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและแมลงได้ดี ไม่เพียงแต่ปลอดภัยกับตัวเขาเองเพียงอย่างเดียว ยังช่วยในเรื่องของการประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย

การทำตลาดสำหรับจำหน่ายนั้น คุณธีร์วศิษฐ์ ได้สำรวจตลาดจนมีความรู้และเข้าใจอย่างท่องแท้ ในความต้องการของลูกค้าในชุมชน จึงทำให้ผลผลิตที่มีออกมาจำหน่ายนั้นไม่มีล้นตลาด และที่สำคัญในเรื่องของราคายังได้ผลกำไรดีอีกด้วย เพราะสินค้าจะส่งให้กับลูกค้าโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

“ผลผลิตที่ออกจากสวน เรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่เน้นคุณภาพก็ว่าได้ โดยเราไม่ได้เน้นที่ปริมาณ เป็นผักที่ปลอดสารพิษ มีความปลอดภัยต่อลูกค้า ดังนั้นจึงสามารถทำราคาที่สูงขึ้นมาได้ อย่างกวางตุ้งและผักสวนครัวต่างๆ ราคาขายกิโลกรัมละ 17 บาท ผักสลัดกิโลกรัมละ 80 บาท ที่ทำเยอะสุดจะเป็นผักสวนครัว ตอนนี้ผมก็เพาะกล้าไม้เสริมเข้ามาช่วยด้วย เป็นการเสริมรายได้อีกทาง เพื่อให้กับเกษตรกรที่ปลูกลดเวลาเรื่องการเพาะต้นกล้าออกไป ซื้อไปแล้วปลูกลงในแปลงของเขาได้เลย เช่น ต้นกล้าดอกดาวเรือง ต้นกล้าพริก ต้นมะเขือ ราคาขายอยู่ตั้งแต่ถาดละ 200-500 บาท จึงถือเป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้เพิ่ม” คุณธีร์วศิษฐ์ บอกถึงเรื่องการทำตลาด

จากกระแสสังคมของคนในปัจจุบันที่มีการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก เขาไม่ได้เน้นทำการตลาดจากการส่งจำหน่ายให้กับพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการโพสต์สินค้าลงทางเฟซบุ๊ก ก็สามารถสร้างฐานลูกค้าออนไลน์ให้กับเขาได้อีกด้วย เพราะแม้แต่การขนส่งเองก็มีความทันสมัยมากขึ้น แม้จะอยู่คนละจังหวัดก็สามารถซื้อสินค้าจากสวนของเขาไปถึงที่บ้านได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว

สำหรับผู้ที่สนใจอยากทำอาชีพทางการเกษตร คุณธีร์วศิษฐ์ บอกว่า การทำเกษตรไม่ใช่เรื่องยุ่งยากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะยังไม่ต้องลาออกจากงานประจำมาทำ เพียงก็ได้ เพียงแต่ค่อยๆ เริ่มเป็นแบบอาชีพเสริมรายได้รองจากอาชีพหลัก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำเกษตรคือต้องมีใจรัก เมื่อมีใจในการทำเสียแล้วทำอะไรก็จะประสบผลสำเร็จแน่นอน

“ทุกวันนี้บอกเลยว่า ผมมีความสุขมาก ที่ได้มาทำงานเกี่ยวกับการเกษตร เพราะทำให้ผมได้อยู่กับครอบครัว ถึงแม้จะมีบางช่วงที่เหนื่อย ในเรื่องของลงแรงในการทำ วิ่งส่งผลผลิตให้กับลูกค้า แต่มันก็มีความสุขกับสิ่งที่ทำ สำหรับผมการเกษตรไม่ใช่สิ่งที่เป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว ยังสร้างความสุขให้กับผมอีกด้วย” คุณธีร์วศิษฐ์ กล่าวแนะนำ

สำหรับผู้ที่สนใจสินค้าจากสวนไร่ปลูกฝัน ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณธีร์วศิษฐ์ วงค์ปัญญา หมายเลขโทรศัพท์ จำปาดะ เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับ ขนุน หรือสาเก ภาษาอังกฤษก็ใช้คำนี้ Champedak ไม่รู้ใครลอกใคร แต่มาเลเซียเรียกอีกชื่อหนึ่ง ภาษาใต้ เรียกว่า จำดะ นิยมปลูกมากในภาคใต้ ออกผลปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมตอนต้นฤดูฝนของทุกปี ในช่วงหน้าอื่นมีผลบ้างแต่ไม่มากนัก

ผลของจำปาดะจะเล็กกว่าขนุน สมัครเก็นติ้งคลับ ผิวสีเข้มกว่าผิวขนุนและไม่ค่อยสวยเหมือนผิวขนุน ลักษณะผลจะเป็นทรงกระบอกยาว เนื้อในนิ่มและเหนียวไม่กรอบเหมือนขนุน รสหวานจัด เด็กเล็กและคนชราควรบริโภคอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเนื้อเหนียวจะเคี้ยวไม่ค่อยขาด ตอนกลืนจะติดคอ ครั้งตอนเด็กๆ เมื่อกินจำปาดะผู้ใหญ่จะคอยดูให้กินทีละเมล็ดกลืนเข้าไปแล้วค่อยกินเมล็ดต่อไป จริงๆ แล้วถ้าไม่มีการห้าม เด็กๆ ก็จะกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด เพราะความหวานหอมอร่อยของมัน ซึ่งการกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด โอกาสติดคอได้ง่าย กลิ่นของจำปาดะค่อนข้างแรงน้องๆ ทุเรียน สมัยก่อนที่ใช้บริการรถทัวร์เขาห้ามนำทุเรียนและจำปาดะขึ้นบนรถเด็ดขาด ดมนานๆ บางคนถึงกับเป็นลมทีเดียว

สวนเก่าแก่ในจังหวัดพังงาส่วนใหญ่ยังเป็นสวนประเภทสมรมอยู่ คือมีการปลูกผลไม้รวมๆ กันหลายชนิด เพื่อนฝูงที่นั่นแนะนำว่า มีจำปาดะพันธุ์หนึ่งโด่งดังมากในจังหวัด เลยพากันฝ่าฝนที่กำลังตกชุกทีเดียวไปที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ดุ่มๆ ถามไปเรื่อยจนกระทั่งเจอ คุณจรินทร์ พุทธกลับ หรือ ตาปาน ปัจจุบัน อายุ 65 ปี เจ้าของจำปาดะชื่อดัง ตาปาน เล่าให้ฟังว่า “สมัยพ่อได้สร้างสวนผลไม้ไว้ มีผลไม้หลายอย่าง รวมถึงยางพาราด้วย แต่ที่ปลูกมากที่สุดคือ จำปาดะ กับ มังคุด ส่วนปาล์มเพิ่งปลูกได้ไม่กี่ปีมานี้เอง เฉพาะในส่วนที่เป็นที่ลุ่มมีพรุน้ำ เพราะปลูกผลไม้อย่างอื่นไม่ได้ สวนผลไม้นี้สร้างมาตั้งแต่สมัยพ่อผม มีอายุหลายสิบปี เพราะลืมตามาก็เห็นสวนแล้ว ตอนนั้นพ่อได้ปลูกจำดะด้วยเมล็ดไว้มาก แต่ละต้นมีรสชาติแตกต่างกัน มีต้นหนึ่งที่มีความแตกต่างกับต้นอื่น คนมากินก็ติดใจว่าอร่อยไม่เหมือนกับจำดะทั่วๆ ไป คนซื้อก็ต้องการแต่จำปาดะต้นนี้”

พรรคพวกตาปานเลยตั้งชื่อจำปาดะต้นนี้ว่า “ทองตาปาน” เพราะว่าจำปาดะต้นนี้มีลักษณะแตกต่างกับจำปาดะอื่นทั่วไป ประการแรก ผิวของผลจะมีสีเหลืองอมแดงเรื่อๆ ผิวเรียบตึง หนามไม่แหลม ไม่เหมือนจำปาดะทั่วไปที่มีสีเหลืองออกน้ำตาลหนามแหลมกว่า สองคือ เนื้อในจำปาดะทองตาปานเนื้อมีสีเหลืองทอง ผลและเมล็ดมีขนาดใหญ่ รสชาติดี และเปลือกค่อนข้างบาง

ปัจจุบัน ในสวนประมาณ 30 ไร่ ที่เป็นสวนผลไม้นี้อยู่ที่บ้านในไร่ ตำบลเหมาะ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ได้ปลูกจำปาดะไว้ ประมาณ 100 ต้น แต่ละต้นมีอายุประมาณ 20 ปี ต้นที่ปลูกเป็นพันธุ์ทองตาปานทั้งหมด เนื่องจากได้เสียบยอดขยายพันธุ์ไว้ ส่วนอีกแปลงเป็นแปลงปลูกใหม่ ปลูกเฉพาะจำปาดะพันธุ์นี้ไว้ ประมาณ 200 ต้น เนื่องจากผลผลิตไม่พอจำหน่าย ส่วนต้นจำปาดะทองตาปานต้นดั้งเดิมจริงๆ ตายไปแล้ว เนื่องจากอายุมากหลายสิบปี ตาปาน บอกว่า เรามาช้าไป 15 ปี เลยไม่ได้ดูต้นจำปาดะทองตาปานต้นแรก