ผู้ใหญ่บ้าน ต.วังเย็น ปลูกมะนาวหอมแปดริ้ว เปลือกบาง น้ำเยอะ

นายทองพูล โฉมสอาด (ผู้ใหญ่สันต์) อยู่บ้านเลขที่ 18/1หมู่6 ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เล่าให้ฟังว่า เดิมที่ตนเป็นเกษตรกรปลูกพริก ปลูกมะนาวเป็นอาชีพหลักอยู่แล้ว แต่มะนาวที่ปลูกเป็นมะนาวตลาดพันธุ์ทั่วไป ตนเพิ่งเริ่มปลูกมะนาวหอมแปดริ้วได้ 3 ปี ปรากฎว่าได้ผลดี ลักษณะเด่นของมะนาวพันธุ์นี้คือ ให้ผลดก เก็บลูกได้เร็ว ทันราคา ลูกใหญ่ น้ำเยอะ เปลือกบาง กลิ่นหอมแม่กระทั่งใบ และเป็นที่ต้องการของประเทศลาว

ผู้ใหญ่สันต์ ปลูกมะนาวพันธุ์หอมแปดริ้วประมาณ 30 ไร่ มะนาวให้ผลผลิตดีมาก เก็บตรงโน้นตรงนี้เหลือง จึงต้องหาตลาดส่งออกที่ประเทศลาว ซึ่งทางประเทศลาวเขาชอบมากสั่งรอบละ 6-10 ตัน ราคาขายขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด แต่ที่เคยขายไปอยู่ที่ กก.ละ 35 บาท มีอย่างทุกวันนี้ได้เพราะมะนาว ซื้อรถเงินสดทุกคน เงินโผล่มาจากดินทั้งนั้นเลย ผู้ใหญ่สันต์กล่าว

วิธีการปลูกไม่ยาก ผู้ใหญ่สันต์ บอกว่า ตนปลูกลงดินไม่ต้องมีอะไรมาล้อม ขุดหลุมไม่ต้องกว้าง ปลูกมะนาวไม่ต้องขุดหลุมลึก มะนาวกินแค่รากผิวดิน ใช้กิ่งตอนปลูกวางลงหลุมลึกประมาณ 2 นิ้ว เมื่อปลูกเสร็จให้กักน้ำไว้ใช้ตอนหน้าแล้ง มะนาวจะไม่ตาย

ใส่ปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ไก่ปนแกลบ ส่วนสาเหตุว่าทำไมมะนาวถึงลูกใหญ่ขนาด 7-8 ลูกต่อกิโลกรัม ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแค่ปรับปรุงดินให้ดี ใส่ขี้วัว ขี้ไก่ ต้นละกระสอบ แล้วต้นจะโตสมบูรณ์ ลูกจะดกและใหญ่ที่ลูกใหญ่ขนาดนี้ไม่ได้อยู่ที่สายพันธุ์ แต่อยู่ที่การปรับปรุงดิน

มะนาวพันธุ์หอมแปดริ้ว เป็นที่ต้องการของตลาดที่ประเทศลาว เพราะที่นั่นชอบมะนาวไซต์จัมโบ้ ตลาดของผู้ใหญ่สันต์มีทั้งในประเทศ และประเทศลาว ที่ประเทศไทยจะส่งเฉพาะที่อำเภอแปลงยาว และที่กรุงเทพฯ อีกนิดหน่อย

และนอกจากปลูกมะนาวขายผลแล้ว ผู้ใหญ่ยังมีการใช้ประโยชน์จากการที่มะนาวลูกใหญ่ น้ำเยอะ นำมาแปรรูปเป็นน้ำมะนาวใส่ขวดขาย รสชาติดี ไม่ใส่สารกันบูด ขายในราคา 1 โหล 100 บาท (ใหญ่สันต์บอกว่า น้ำมะนาวของตนอร่อย และได้คุณภาพแน่นอน เพราะวัตถุดิบที่ตนใช้เป็นของดีทั้งสิ้น

สำหรับท่านที่สนใจอยากเรียนรู้วิธีการปลูกมะนาว หรือสนใจกิ่งพันธุ์มะนาวพันธุ์หอมแปดริ้ว ติดต่อผู้ใหญ่สันต์ได้ที่เบอร์โทร . 085-2843002

ปัญหาการทำนาของเกษตรกรที่มักพบได้บ่อยๆ คือ ต้องซื้อปุ๋ยราคาแพง ราคาข้าวตกต่ำ การใช้ดินทำนามายาวนาน ดินเสื่อมไม่เหมาะสม และที่สำคัญการใส่ปุ๋ยในปริมาณมาก ไม่ตรงสูตร ไม่ตรงตามอัตราส่วน และไม่ใส่ตามระยะเวลา จึงเป็นเงื่อนไขให้ต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูง แต่การรู้ว่าในพื้นที่แปลงนามีธาตุอาหารใด? บ้าง ก็จะช่วยให้การจัดการใช้ปุ๋ยทำได้อย่างถูกต้องและรู้ค่า ได้รับผลตอบแทนคุ้มทุน เป็นหนึ่งวิธีการที่น่าสนใจ วันนี้จึงได้นำเรื่องการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนใส่ปุ๋ย ทำนา ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ มาเล่าสู่กัน

คุณชมพูนุช หน่อทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท เล่าให้ฟังว่า ปัญหาการทำนาที่สำคัญของชาวนาคือ ถ้าน้ำไม่พอเพียงก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโต หรือใส่ปุ๋ยในนาข้าวที่ไม่คำนึงถึงสภาพดินในพื้นที่แปลงนาว่ามีธาตุอาหารอะไรบ้าง? ใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตรไม่ตรงกับความต้องการของต้นข้าว บางครั้งใส่ปุ๋ยน้อยไปก็ได้ผลผลิตน้อย หรือใส่มากไปก็ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงได้ผลตอบแทนไม่คุ้มทุน

ปุ๋ย เป็นปัจจัยสำคัญในการทำนา การตรวจวิเคราะห์ดินในแปลงนาก่อนแล้วนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มากำหนดสูตรปุ๋ยเพื่อใส่ปุ๋ยให้ตรงสูตร ถูกอัตราส่วนและใส่ตามระยะเวลา หรือจะผสมผสานใช้ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์สูตรปรับปรุงบำรุงดิน ก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ที่สำคัญต้องจัดการวางแผนใช้น้ำที่เหมาะสมไม่ว่าจะทำนาอยู่ในเขตชลประทานหรือการใช้น้ำฝน ก็จะส่งผลให้ต้นข้าวเจริญเติบโตและได้ผลผลิตข้าวคุ้มทุน

การตรวจวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ยในการทำนา ได้รับการสนับสนุนวิธีการจากสถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท หมอดินหมู่บ้าน หรือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ด้วยการขุดเก็บตัวอย่างดินตามหลักการส่งไปตรวจวิเคราะห์เพื่อจะได้รู้ว่าสภาพดินในพื้นที่แปลงปลูกมีธาตุอาหารอะไรบ้าง เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (N P K) และมีความเป็นกรดด่างในระดับใด แล้วนำผลการตรวจวิเคราะห์ดินมากำหนดสูตรปุ๋ยที่จะใช้ ซึ่งจากปฏิบัติการจริง ปรากฏว่าต้นทุนการผลิตลดลงมาก ได้ผลผลิตข้าวเพิ่ม เมื่อบวกลบคูณหารแล้วจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มและมีวิถีที่มั่นคง

คุณพิสมัย พิมพ์ขาว เกษตรกรทำนา เล่าว่า มีพื้นที่ 13 ไร่ พื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกพืชแบบผสมผสาน และแบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 5 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์ กข 41 อายุการเก็บเกี่ยว 105 วัน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่

เมื่อก่อนหน้านี้ได้ทำนาด้วยวิธีการที่คล้ายกับเพื่อนบ้านคือ เตรียมดินแปลงนาไม่ละเอียด ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกกว่า 30 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเต็มที่เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวมากๆ แต่ปรากฏว่าได้ผลผลิตข้าวเพียง 50 ถัง ต่อไร่ หรือบางครั้งก็ได้ผลผลิตข้าว 35 ถัง ต่อไร่ หรือ 2-3 เกวียน ต่อ 5 ไร่ เมื่อบวกลบคูณหารแล้วไม่คุ้มทุน

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อได้รับคำแนะนำจากหมอดินหมู่บ้าน สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่ให้ชาวนาขุดเก็บตัวอย่างดินส่งไปตรวจวิเคราะห์เพื่อให้รู้ว่าคุณภาพดินในแปลงนามีธาตุอาหาร เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในปริมาณเท่าไร หรือมีค่าความเป็นกรดด่างระดับใด แล้วนำผลที่ได้จากการตรวจวิเคราะห์ดินมาจัดการใส่ปุ๋ยในการทำนาให้ถูกต้องจึงจะลดต้นทุนการผลิตและได้ผลตอบแทนคุ้มทุน

การเตรียมดินแปลงนา ได้เปิดน้ำเข้าแปลงนาหรือถ้าแปลงนามีน้ำอยู่แล้วก็กักน้ำไว้อย่างน้อย 2 วัน เพื่อหมักตอซังและฟางข้าวให้ย่อยสลายเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ จากนั้นจึงทำการไถ

เตรียมรถไถ นำถังพลาสติกกลมที่เจาะเป็นรูขนาดเล็กมีฝาเปิด-ปิดเพื่อให้น้ำจุลินทรีย์ไหลออกได้ ผูกมัดถังยึดกับตัวรถไถให้แน่น ใส่น้ำจุลินทรีย์ลงไปในถังพลาสติก นำรถไถลงแปลงนาทำการไถเตรียมดินพร้อมกับเปิดฝาให้น้ำจุลินทรีย์ไหลลงกระจายทั่วแปลงนา โดยเฉลี่ยใช้จุลินทรีย์ 5 ลิตร ต่อไร่ หรือใช้วิธีเทน้ำจุลินทรีย์ลงไปให้กระจายทั่วแปลงนาก่อนก็ได้ จากนั้นจึงนำรถไถลงไปไถเตรียมดิน การใส่จุลินทรีย์จะช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ได้คุณภาพและลดปริมาณการใส่ปุ๋ยเคมี ทำให้ต้นข้าวแตกกอดีขึ้น

หลังการหว่านข้าวปลูกไป 8 วัน เมล็ดข้าวก็เริ่มงอก ได้ปล่อยน้ำเข้าแปลงนา กักน้ำไว้ 20 วัน แล้วใส่จุลินทรีย์อีกครั้งในอัตรา 5 ลิตร ต่อไร่ หลังจากนั้น 20 วัน ได้นำจุลินทรีย์ในอัตรา 500 ซีซี ผสมลงไปในน้ำ 200 ลิตร นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนาทุก 7 วัน เพื่อช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรงเจริญเติบโตได้ดี

การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือใส่ปุ๋ยสั่งตัด ได้จัดการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-60 อัตรา 9 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 18-46-0 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่

ต้นทุนการทำนา 5 ไร่ ได้แบ่งเป็นค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 2,050 บาท ค่าเตรียมดิน 3,250 บาท ค่าปุ๋ย 2,050 บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 2,600 บาท รวมเป็นต้นทุน 9,950 บาท บวกลบแล้วต้นทุนการผลิตลดลงและได้ผลตอบแทนคุ้มทุน

คุณพิสมัย เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า การใช้จุลินทรีย์ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินด้วยการใส่ปุ๋ยได้ถูกสูตร ตามอัตราส่วนและระยะเวลา จัดการแปลงนาให้ได้รับน้ำพอเพียง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ที่สำคัญคือ ได้ผลผลิตข้าว 80 ถัง ต่อไร่ หรือได้ผลผลิตข้าว 1 เกวียน ต่อไร่ หรือได้ผลผลิตข้าวเพิ่มมากกว่าเดิม

หลังการเก็บเกี่ยวข้าวได้ปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยเป็นพืชหมุนเวียน เช่น ปลูกถั่วเขียว ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก 5-8 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อพืชเจริญเติบโตสมบูรณ์ได้ไถกลบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งจากการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้จุลินทรีย์ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง มีรายได้เพิ่มและยังชีพได้แบบพอเพียงและมั่นคง

จากแนวทางการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนใส่ปุ๋ย ทำนา ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เป็นการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาปรับใช้ในการทำนาเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ยังชีพได้แบบพอเพียง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิสมัย พิมพ์ขาว เลขที่ 19/1 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท โทร. (083) 760-3028 หรือที่ คุณชมพูนุช หน่อทอง สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท โทร. (056) 476-720 ก็ได้เช่นกันครับ

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จัดทำเว็บไซต์ www.dgtfarm.com ตลาดแมทชิ่งออนไลน์ เพื่อเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ทำการตลาดให้เป็นเรื่องง่าย

นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรไทย ที่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะมีเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์ออกมาให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้ขายและกระจายสินค้าเกษตรและแปรรูปแก่ผู้บริโภคได้สะดวก รวดเร็ว ขยายฐานลูกค้าได้เป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องด้วยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. ได้มีการจัดทำเว็บไซต์ ตลาดแมทชิ่งออนไลน์ เพื่อเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค โดยใช้ชื่อ www.dgtfarm.com ซึ่งจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตและผู้ประกอบ ในการซื้อขายสินค้าต่อไป

ทางนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้รับเกียรติเชิญให้สัมภาษณ์ คุณกฤษ อุตตมะเวทิน เลขานุการกรม เป็นที่แรกเกี่ยวกับการเปิดตัวเว็บไซต์ www.dgtfarm.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อช่วยเกษตรกรไทยโดยเฉพาะ

บทบาทหน้าที่ของ มกอช. หรือสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. เป็นหน่วยงานกลางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานระดับกรม ทำหน้าที่แทนกระทรวงเกี่ยวกับกระบวนการมาตรฐานสินค้าเกษตร Food safety อาหารปลอดภัยทั้งหมด

ความเป็นมาของการสร้างเว็บไซต์ www.dgtfarm.com

สืบเนื่องจากที่เราพัฒนาภาคการเกษตรมาตลอดระยะเวลาหลาย 10 ปีที่ผ่านมา โดยมากแล้วกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเน้นไปที่ภาคการผลิตเราสามารถเพิ่มคุณภาพการผลิต เราสามารถเพิ่มเทคโนโลยีและประสิทธิภาพในการผลิตได้มากแล้ว แต่ปัญหาที่เป็นเหมือนปัญหาอมตะของเราเลยคือ เรื่องของการตลาด ดังนั้น ในยุคสมัยปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีมันก้าวล้ำนำสมัยมากขึ้นก็เลยเป็นช่องทาง เป็นโอกาสที่เราจะเริ่มเข้าไปสู่ด้านการตลาดมากขึ้น เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนในการทำงานด้านการผลิตต่อไป เช่น เมื่อก่อนเราอาจจะพูดถึงแค่การผลิตให้มีคุณภาพ แต่เราไม่รู้จะไปขายที่ไหน แต่ตอนนี้เราใช้เทคโนโลยี ยุคไทยแลนด์ 4.0 ให้เป็นประโยชน์ด้วยการทำระบบการตลาดออนไลน์ขึ้นมา ในเรื่องของการจับคู่ระหว่างผู้อยากขายและผู้อยากซื้อ ในชื่อของเว็บไซต์ www.dgtfarm.com ซึ่งมาจากคำว่า ดิจิตอลฟาร์ม

เว็บไซต์นี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งตอนนี้พัฒนาแล้วเสร็จในเฟสที่ 1 เมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้ว ขณะนี้กำลังพัฒนาเฟส 2 เพื่อให้ครอบคลุมฟังก์ชั่นของการใช้งานให้มากขึ้น เฟสที่ 1 เหมือนการก่อสร้างขึ้นโครง เพื่อให้เกิดโครงสร้างในการพัฒนาจึงไม่ได้เปิดตัวในการใช้งาน แต่ในเฟสที่ 2 กำลังจะเสร็จในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ เว็บไซต์จะเริ่มเปิดตัว ซึ่งเว็บไซต์นี้ใครก็สามารถใช้ได้ขอให้เป็นเกษตรกรที่สนใจในระบบคุณภาพก็ถือเป็นบันไดขั้นแรก อันนี้นับว่าจากตัวโปรแกรมเราใช้มาหลายปีแล้ว เราพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ทั้งหมดนี้ฟรี เป็นการบริหารของภาครัฐที่สนับสนุนพี่น้องเกษตรกร และเรายังมีระบบอนุญาตนำเข้าและส่งออก ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกอช. เป็นตัวกลางเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งสำหรับสินค้าที่กฎหมายกำหนดให้เป็นมาตรฐานบังคับ การนำเข้าส่งออกก็ต้องยอมรับกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้บริการนำเข้าส่งออกทางออนไลน์เลย นอกจากนั้น เราก็ยังมีศูนย์บริการไอที พัฒนาเพื่อรองรับกระบวนการให้ทันสมัยมากขึ้น

คิดว่าจะมีผู้เข้าร่วมเว็บไซต์มากน้อยขนาดไหน

ถ้าเปิดตัวคิดว่าน่าจะได้รับความสนใจมากทีเดียว ณ ปัจจุบันพื้นฐานของลูกค้าในเว็บไซต์ คือกลุ่มเกษตรกร กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ค้า ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ประกอบการที่ใช้ระบบ QR Trace อยู่แล้ว ซึ่งมีมากกว่า 1,000 ราย ที่เป็นสมาชิกของระบบ มกอช. อยู่ นอกจากนั้น ก็ยังมีเครือข่ายผู้ผลิตรวมแล้วเป็น 10,000 ราย ครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ ถ้าหากว่าเราเปิดตัวแล้วทุกคนได้ร่วมกันมาใช้ ระบบบก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุณกฤษยังอธิบายเพิ่มอีกว่า นอกจากฐานที่จะมาใช้ระบบเป็นจำนวนมากแล้ว ก็ยังมีฐานของผู้ประกอบการซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบริหาร เชิงบริหารภาครัฐ ในลักษณะประชารัฐ เช่น โมเดิร์นเทรด ผู้ส่งออก ซึ่งเป็นเครือข่ายของ มกอช. เหมือนกัน ก็สามารถมาใช้บริการเว็บไซต์แห่งนี้ได้ฟรี

ภาพรวมขององค์การเกษตรถ้ามีเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว คาดหวังว่าจะพัฒนาไปได้ในระดับใด

ตัวเว็บไซต์ถือว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้คนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตั้งแต่ผู้ผลิต ถึงผู้บริโภคที่สนใจจะเข้าสู่กระบวนการการค้าในสินค้ามาตรฐาน เพราะว่าสินค้ามาตรฐานก็มีการผลิตอย่างกว้างขวาง แต่ผู้บริโภคอาจจะยังไม่รู้ ถ้าผู้บริโภคไม่รู้ ผู้ค้า ผู้ประกอบการอาจจะไม่ทำธุรกิจเสาะหาสินค้ามาจำหน่าย ดังนั้น เมื่อเราเอาสินค้าเหล่านั้นมารวมไว้ใน ลักษณะการทำงานคือท่านใดสนใจที่จะบริโภค

ซื้อสินค้าไปจำหน่าย หรือใช้ ท่านก็สามารถระบุความสนใจ ความต้องการ ปริมาณ และระดับราคาที่สนใจลงไว้ในระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไปจับคู่กับข้อมูลการผลิต ข้อมูลการขาย ที่มีอยู่ในระบบจากเครือข่ายเกษตรกรของเรา ซึ่งมาจากแหล่งผลิตที่เรารับรองมาตรฐาน เมื่อระบบค้นเจอว่าใครตรงกับใครก็จะทำการแจ้งเตือนไปยังผู้ที่มีความต้องการเหมือนกัน ก็จะสามารถติดต่อค้าขายระหว่างกันได้ โดยที่ มกอช.

มีทางเจ้าหน้าที่มาช่วยดูแลในชื่อของพนักงานเกษตรดิจิตอล ไว้คอยอำนวยความสะดวกในระยะต้นๆ ด้วย เพราะว่าอาจยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย อาจจะต้องช่วยกันหน่อย แต่ถ้าทุกคนรู้จักต่างเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกก็จะค่อยๆ ทำฐานข้อมูลนั้นใหญ่ขึ้น ระบบการทำงานก็จะครอบคลุมและแม่นยำขึ้นไปเรื่อยๆ ทำแบบนี้ก็ช่วยให้เกษตรกรมีความหวัง จากที่ต้องรอลูกค้าเจ้าเดิมๆ

ก็อาจจะมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน พ่อค้าที่หาสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศหรือในประเทศ จากที่ไม่เคยรู้ว่าแหล่งผลิตอยู่ไหนก็จะกล้ารับจากตลาดเพราะจะมั่นใจว่าตัวเองหาสินค้าได้ง่ายขึ้น แต่ก็ย่อมดีกว่าถ้าหากท่านรู้ว่าผลไม้ถุงนี้มาจากที่ไหน ฟาร์มใด ท่านอาจจะไปเยี่ยมชมที่สวนยังได้ ถ้าเข้าเปิดให้เยี่ยมชมก็ยิ่งดี นี่คือประโยชน์ข้อกลาง ประโยชน์ข้อสุดท้ายที่คาดหวังเป็นจริงเป็นจังเลยคือลูกหลานของเกษตรกรที่เราพี่น้องเกษตรกรส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือแต่ลูกหลานก็ไม่ได้กลับมาช่วยที่บ้าน

และเกิดหวั่นเกรงว่าอีกหน่อยใครจะมาปลูกข้าวให้เรากินทำผลไม้ให้เราซื้อหา เพราะลูกหลานเกษตรกรไม่มาเป็นเกษตรกร จะเป็นเกษตรกรทำไมงานก็เหนื่อย ไม่โก้ด้วย ค้าขายก็ลำบาก แต่ถ้าวันหนึ่งมีเครื่องมือนี้ช่วยทำการค้าลูกหลานที่ถูกส่งไปเรียนหนังสือมีความรู้ความสามารถมากขึ้นแล้วพบว่าตลาดมีอยู่ตรงนั้น มีความน่าสนใจ เขาก็นึกถึงแหล่งผลิตที่บ้านเขาได้ เราจะสร้างผู้ประกอบการเกษตรรายใหม่ จะเกิดธุรกิจใหม่ให้เกษตรกรในอนาคตได้นับจากยุค 4.0 เป็นต้นไป ถือว่าเป็นความพยายามในจุดเริ่มต้นที่เราสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

สำหรับผู้ผลิตหรือผู้ซื้อถ้าอยากเข้ามาตรงนี้ สามารถเข้ามาได้อย่างไร

เบื้องต้นวิธีการเข้ามาเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ ขณะนี้เน้นเรื่องของการตรวจสอบแหล่งที่มาของผู้ผลิตที่จะเข้าสู่ระบบ คือต้องมีความเชื่อมโยงกับการตรวจสอบของภาครัฐได้ เช่น เป็นเกษตรกรซึ่งได้รับรองมาตรฐานใดๆ ไว้ เช่น ได้มาตรฐาน GAP หรือเป็นเกษตรกรอยู่ในโครงการเกษตรอินทรีย์ เป็นสมาชิกของโครงการเกษตรแปลงใหญ่ หรือใช้ระบบ QR Trace ของ มกอช. ก็มีสิทธ์เป็นสมาชิก แต่ยังไม่ได้เปิดกว้างให้กับใครก็ได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นบริการทางภาครัฐ กรมการเกษตร และ มกอช. พัฒนา ผู้ซื้อพ่อค้าและผู้บริโภคท่านสามารถเป็นสมาชิกได้เลย เพียงแต่ต้องลงทะเบียนในระบบ แจ้งข้อมูล ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ไหม เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งสองฝ่าย

มีโครงการใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยียุค 4.0 อย่างไรบ้าง

เทคโนโลยีใหม่ๆ ในปัจจุบันก็คงจะหนีไม่พ้นการใช้ประโยชน์จากการสื่อสารในยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง รัฐบาลเองก็มีนโยบายที่จะให้ใช้ไอทีมากขึ้น เป็นองค์ประกอบของไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งอาจจะหมายความถึงหลายๆ อย่างที่ทันสมัยขึ้น แต่เรื่องไอทีก็ไม่ใช่ทั้งหมด เรื่องของการทำงานของเทคโนโลยีดิจิตอลในปัจจุบัน มกอช. เองก็พัฒนาและจัดระบบ เรียกว่าระบบ Traceability หรือระบบตามสอบย้อนกลับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับตรวจสอบคุณภาพ แหล่งกำเนิด ที่มาของการผลิต เราเรียกว่าระบบ QR Trace ระบบนี้ผู้บริโภคสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสแกนไปที่คิวอาร์โค้ดที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ แล้วทราบได้เลยว่าผลิตมาจากฟาร์มใด ได้รับเครื่องหมายรับรองใด มีมาตรฐานคุณภาพการผลิตแบบใด มีสตอรี่ในการผลิตมาอย่างไร รวมถึงข้อมูลหลากหลายอย่าง แม้กระทั่งโลเคชั่น แหล่งผลิตอยู่ตรงไหนก็สามารถตรวจสอบได้ ทีนี้ภาพที่แสดงออกมาจาก QR code อาจจะเหมือนที่ใช้กันทั่วไป แต่จริงๆ เบื้องหลังที่อยู่คือผู้ผลิตได้บันทึกข้อมูล แหล่งผลิต คุณสมบัติของสินค้านั้นๆ เอาไว้หากเกิดปัญหาขึ้นกับสินค้าในล็อตนั้นๆ ผู้บริโภคสามารถป้องกันได้ ผู้ผลิตก็ป้องกันขีดความเสียหายได้ ภาคราชการเองก็สามารถขีดวงปัญหา ตรวจสอบจนเจอต้นตอของปัญหาได้รวดเร็วขึ้น

เชิญชวนสำหรับเกษตรกรที่สนใจเข้ามาดูเว็บไซต์

ฝากถึงพี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคที่สนใจ เข้ามาทดลองใช้ อาจจะเจอข้อบกพร่องบ้าง สามารถแจ้งเข้ามาได้ เรายินดีพัฒนาปรับปรุง ขั้นแรกขอเชิญพี่น้องเกษตรกรท่านเข้ามาสมัครเถอะครับถ้าท่านมีคุณสมบัติตรงคือ อยู่ในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ อยู่ในโครงการเกษตรอินทรีย์ มีการผลิตคุณภาพมาตรฐานหรือใช้ระบบรับรอง QR Trace มกอช. เปรียบเสมือนท่านมาเปิดแผงเตรียมตัวค้าขาย ร้านนี้เปิดเมื่อไร ถ้าผู้บริโภค ผู้ประกอบการมาเดินซื้อเยอะในระบบ ท่านก็จะมีโอกาสเปิดตลาดได้มากขึ้น โฆษณาฟาร์มให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็สามารถทำได้ ส่วนผู้ประกอบการ ผู้ค้าเมื่อก่อนอาจจะต้องไปวิ่งหาตามสวน ตอนนี้ไม่ต้องไปแล้ว ถูกใจก็ติดต่อกันผ่านเว็บไซต์ สะดวก ง่าย ลดต้นทุน หรือรายเล็กเมื่อก่อนอาจไปแย่งซื้อของรายใหญ่ไม่ทัน เดี๋ยวนี้ไม่ต้องกลัวแล้ว ท่านสามารถเจอแหล่งผลิตของท่านได้ง่ายขึ้น ส่วนรายใหญ่ถ้าท่านยังค้าขายแบบเดิมไม่พัฒนาอันนี้ท่านก็ลำบากล่ะ เพราะรายเล็กเขาก็จะมาช่วยกันซื้อ อาจจะฟังดูแล้วคนโน้นได้คนนี้เสีย แต่รวมๆ แล้วประเทศได้

การสัมมนา “กล้วยหอมทอง-กล้วยน้ำว้า” ปลูกกินเองได้ ปลูกขายทำเงิน ในหลายตอนที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านที่ติดตามมาตลอดจะได้รับสาระความรู้จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ทั้งเรื่องการปลูก การดูแล การผลิตกล้วยเพื่อส่งออกขายต่างประเทศ ซึ่งแต่ละท่านต่างมีมุมมองกันคนละแบบ แล้วในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายทุกท่าน

การนำเสนอเนื้อหาการสัมมนากล้วยในตอนนี้ เป็นตอนที่ 5 และเป็นตอนสุดท้ายของท่านวิทยากรในภาคเช้า โดยวิทยากรท่านนี้นับว่ามีความสามารถแล้วประสบความสำเร็จจากการปลูกกล้วยหอมแบบครบวงจร เพราะท่านได้เริ่มต้นบนเส้นทางกล้วยหอมด้วยการปลูกอย่างเดียว

จากนั้นต่อยอดด้วยการตัดขาย แล้วพัฒนามาถึงการเป็นผู้จัดส่งเอง แถมท้ายด้วยการมีแผงขายกล้วยอยู่ที่ตลาดไทอีก ดังนั้น บทบาทของท่านบนเส้นทางกล้วยที่มีมายาวนานกว่า 30 ปี น่าจะมีหลักคิดที่เกิดประโยชน์กับท่านผู้อ่านอย่างมาก

สำหรับวิทยากรท่านนี้คือ คุณวิไล ประกอบบุญกุล เป็นเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีมานานกว่า 30 ปี อีกทั้งในปัจจุบันยังยึดอาชีพแบบครบวงจร ทั้งปลูกเอง ติดต่อขายเองแล้วจัดส่งลูกค้า นอกจากนั้น ยังมีแผงขายกล้วยหอมอยู่ที่ตลาดไท

คุณวิไล กล่าวว่า ก่อนอื่นมาเริ่มที่การปลูกกล้วยหอมกันก่อน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีนิยมปลูกกล้วยหอมแบบระบบร่อง เพราะสมัยก่อนเคยเป็นสวนส้มมาก่อน แต่พอเลิกทำส้มจึงปรับสวนเดิมมาปลูกกล้วยหอมแทน ทั้งนี้ ได้นำเทคนิคหลายวิธีมาใช้ อย่างแรกใช้หน่อจากต้นกล้วยที่ตัดเครือไปแล้วซึ่งจะได้ผลดีและมีความสมบูรณ์ ทั้งนี้ ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกกล้วยได้จำนวน 300 หน่อ ใช้ระยะปลูก 1.50 เมตร แต่ละร่องปลูก 3 แถว

กล้วยหอมสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ควรเลือกพื้นที่ให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เพราะต้องใช้น้ำรดตลอด ขณะเดียวกัน ควรวางแผนปลูกให้ได้ผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น ตรุษจีนควรเริ่มปลูกในเดือนมีนาคม-เมษายน โดยใช้เวลาประมาณ 9 เดือน สามารถเก็บผลขายได้ตรงเวลา กับอีกเทศกาลสำคัญคือสารทจีน ซึ่งควรลงมือปลูกในราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน

วิธีปลูกกล้วยหอมจะต้องรองก้นหลุมด้วยมูลวัวและกระดูกป่น จากนั้น 1 เดือน จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 หรือยูเรีย ประมาณครึ่งกำมือ ใส่บริเวณรอบโคนแต่อย่าให้ชิดต้น จากนั้น 2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 จำนวน 1 กำมือ รอบโคนเช่นกัน พอเข้าเดือนที่ 3 จะตักเลนจากร่องขึ้นมาใส่ที่โคนต้นเพื่อเรียกรากและป้องกันต้นโค่นล้ม

หลังจากเห็นว่าเลนที่ตักใส่เริ่มแห้งสนิท จึงกลับมาใส่ปุ๋ยเช่นเดิม แล้วให้ใส่ทุกเดือน พอเข้าเดือนที่ 5 ให้ตัดเลนในร่องใส่อีกรอบ แล้วพอเลนแห้งจึงใส่ปุ๋ยเช่นเดิมอีก ขณะเดียวกัน ในช่วงนี้กล้วยจะออกใบสั้นและแทงปลี จึงต้องจัดการล้างคอกล้วยเพื่อเตรียมความพร้อมกับการสร้างคุณภาพผลผลิต อย่างไรก็ตาม วิธีการล้างคอกล้วยจะเป็นการช่วยกำจัดโรคแมลงที่อาศัยอยู่บริเวณรอบคอกล้วย พร้อมกับใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 จำนวน 2 กำมือ พร้อมกับการตัดแต่งใบ

อย่าปล่อยให้บริเวณโคนต้นรก เพราะจะส่งผลต่อการเกิดโรค/แมลง เนื่องจากแสงแดดส่องไม่ถึงผิวหน้าดิน ควรตัดใบกล้วยออกประมาณ 10-12 ใบ ต่อต้น ทั้งนี้ เพราะในช่วงที่ตกเครือจะไม่มีการแทงใบใหม่ออกมา ดังนั้น ใบที่มีความสมบูรณ์จะช่วยในเรื่องการปรุงอาหารได้อย่างดี

ในช่วงเข้าเดือนที่ 6 จะต้องเริ่มค้ำต้นกล้วย เพราะเป็นช่วงที่กล้วยออกปลีจึงต้องค้ำต้นล่วงหน้าเสียก่อนมิเช่นนั้นอาจทำให้ต้นกล้วยล้มแล้วเสียหายได้ โดยเฉพาะถ้าในช่วงนั้นมีลมพัดแรง สำหรับไม้ที่ใช้ค้ำต้นนั้นเป็นไม้รวกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 5 เมตร โดยตำแหน่งค้ำยันควรอยู่บริเวณคอกล้วยใบสุดท้าย

ส่วนอีกด้านของไม้ค้ำให้ปักลงดินลึกอย่างน้อย 20 เซนติเมตร แล้วใช้เชือกมัดบริเวณกลางกล้วย ในช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพื่อเป็นการเร่งผลผลิตให้โต พร้อมกับการสร้างรสชาติ ขณะเดียวกัน ช่วงเวลานี้จะต้องใช้ถุงห่อกล้วยด้วยเพื่อป้องกันแสงแดดที่จะทำให้ผิวเปลือกเสีย ทั้งนี้ ข้อดีของการห่อจะช่วยทำให้ผลกล้วยมีสีสวยเท่ากัน มีผิวสวยโดยการห่อผลจะเริ่มห่อตั้งแต่ผลกล้วยมีขนาดเท่านิ้วโป้ง และควรใช้ถุงห่อสีฟ้าเพราะทดสอบแล้วว่าดีที่สุด

พอถึงช่วงเก็บเกี่ยวจะตัดเครือกล้วยใส่บรรทุกลงในเรือที่อยู่ตามร่อง แล้วนำไปหั่นเป็นหวีล้างทำความสะอาด ขณะเดียวกัน จะมีการคัดแบ่งเกรดเป็นไซซ์ขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก สำหรับการขายให้ลูกค้าที่สั่งไว้จะใส่กล้วยไว้ในเข่ง จำนวนเข่งละ 7 หวี สำหรับกล้วยที่คัดตกเกรดจะมีคนมารับซื้อเพื่อนำไปแปรรูปเป็นขนมชนิดต่างๆ ส่วนสถานที่ขายจะมีแผงร้านขายอยู่ที่ตลาดไท ใช้ชื่อว่า “พรวิไลกล้วยหอม” จะขายทุกวัน

คุณวิไล มีสวนกล้วยหอมที่จังหวัดปทุมธานีจำนวนเนื้อที่ 100 ไร่ นอกจากผลผลิตกล้วยในสวนตัวเองแล้วยังรับซื้อกล้วยจากลูกไร่ที่ปลูกอยู่อีกหลายรายนับเป็นพันไร่ โดยจะรับซื้อ-ขายกล้วยแบบเป็นเครือโดยเป็นการซื้อแบบเหมาสวน จะตีราคาเป็นเครือตามความสมบูรณ์ ทั้งนี้ เครือที่ความสมบูรณ์มากราคาประมาณ 200 บาท ส่วนความสมบูรณ์น้อยราคาก็จะลดต่ำลงมา และการเข้าซื้อแต่ละสวนเจ้าของสวนจะขอมัดจำไว้ล่วงหน้า หรือบางรายอาจต่อรองเป็นค่าไม้ค้ำยันแทนเงินมัดจำ

อย่างไรก็ตาม ราคาไม้รวกต่อเที่ยวรถบรรทุกประมาณ 10,000-20,000 บาท และมีราคาต่อลำประมาณ 16 บาท เป็นไม้รวกทางปราจีนบุรี ซึ่งถ้าเป็นไม้เลี้ยงราคาจะแพงหน่อยแต่มีคุณภาพเนื้อไม้และอยู่ได้นาน แต่ถ้าเป็นไม้รวกธรรมดาที่ราคาไม่แพงจะอยู่ได้ราวปีเศษเท่านั้น

คุณวิไล บอกว่า อาชีพของตัวเองจะต้องมีสวนกล้วยด้วยเนื่องจากเราสามารถปลูกอย่างมีคุณภาพได้ กำหนดได้ แต่ความเป็นจริงคงไม่ทันเพราะเรามีแผงขายและมีลูกค้าจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องหาเครือข่ายที่ปลูกกล้วยแบบมีคุณภาพเพื่อช่วยบรรเทาความต้องการของลูกค้าในกรณีที่ไม่พอ

“ในปัจจุบันตลาดกล้วยมีความต้องการทั้งในและต่างประเทศ สมัครแทงบอลสเต็ป ที่ผ่านมาแม้จะมีพื้นที่ปลูกกล้วยเพิ่มขึ้น แต่ในบางคราวยังมีสภาพขาดแคลนอยู่ ถ้าตลาดในประเทศยังมีความต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง แล้วมีการส่งเข้าห้างใหญ่หรือร้านสะดวกซื้อด้วย แต่ถ้าปลูกแบบเน้นคุณภาพเพื่อส่งออกก็ยังเป็นตลาดที่สนใจ แต่ต้องคุณภาพจริงๆ ดังนั้น ขอสรุปว่าตอนนี้ตลาดกล้วยยังไปได้ เพียงแต่ขอให้เกษตรกรรักษามาตรฐานการปลูกควบคู่ไปด้วย” คุณวิไล กล่าว

สำหรับเนื้อหาการบรรยายในช่วงแรกของการสัมมนากล้วยคงมีเท่านี้ ในครั้งต่อไปอยากเชิญชวนท่านให้ติดตามอ่านประเด็นคำถามที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาสงสัย ทั้งในเรื่องการปลูก ปัญหาจากการปลูก พื้นที่แบบใดเหมาะสม หรือกล้วยประเภทใดเหมาะปลูกในพื้นที่แบบใด ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้จะมีคำตอบจากวิทยากรในครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สหกรณ์การเกษตรในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำกัด หมู่ 12 ต.ค้อเหนือ อ.เมือง จ.ยโสธร โดยสมาชิกสหกรณ์กำลังเร่งผลิตเห็ดโคนและไข่มดแดงด้วยวิธีแช่น้ำเกลือ มีทั้งแบบบรรจุขวดแก้วกับแบบบรรจุกระป๋อง ส่งขายในราคา 160-350 บาท สามารถสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่มรายละ 300-400 บาทต่อวัน

นางโสม สายโรจน์ อายุ 67 ปี สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง กล่าวว่า กลุ่มสหกรณ์จะรับซื้อเห็ดโคนและไข่มดแดงจากชาวบ้านในพื้นที่ป่าดงมันราคากิโลกรัมละ 350 บาท โดยวันหนึ่งจะมีคนนำมาขายให้ประมาณ 30-40 กิโลกรัม จากนั้นจะนำเห็ดมาล้างทำความสะอาด ก่อนนำไปลวกในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที นำขึ้นไปแช่ในน้ำเย็นจัด พักเห็ดไว้แล้วนำมาบรรจุใส่ขวดแก้วและกระป๋องตามปริมาณ จากนั้นเติมน้ำเกลือเพื่อให้เห็ดเก็บไว้ได้นาน ก่อนจะนำเข้าหม้อนึ่งเพื่อไล่อากาศ ต่อมานำกระป๋องและขวดแก้วเข้าเครื่องนึ่งความดันเพื่อไล่อากาศและฆ่าเชื้อ ทำให้สามารถเก็บไว้นาน นำออกจำหน่ายในราคากระป๋องละ 180 บาท ส่วนราคาขวดแก้วอยู่ที่ขวดละ 350 บาท และในหนึ่งปีสหกรณ์จะสามารถจำหน่ายสินค้าแปรรูปต่างๆ ได้ประมาณ 7 แสน-1ล้านบาท